ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

อาญา มาตรา ๘๓

- หมวด 6 ตัวการ ผู้ใช้ และผู้สนับสนุน มาตรา 83 - 89

- ผู้กระทำผิดอาญา (อ เกียรติขจร คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 ครั้งที่ 8/2546 น 116)

- ผู้กระทำผิดเอง รวมถึง ใช้ สัตว์หรือใช้ บุคคลที่ไม่มีการกระทำเป็นเครื่องมือ (อก/86)

- ผู้กระทำผิดทางอ้อม (อ เกียรติขจร ฯ 8/117)

- ผู้ใช้ หลอกบุคคลที่มีการกระทำ แต่ไม่มีเจตนากระทำผิด ตาม ม 59 ให้กระทำความผิด ผู้ใช้รับผิดเสมือนทำเอง

- ผู้ถูกหลอก เป็น Innocent agent (IA) ไม่ต้องรับผิด เพราะไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด

- ผู้ถูกหลอก ไม่ต้องรับผิด เพราะมีกฎหมายยกเว้นความผิดที่ทำโดยเจตนา เช่น หลอกให้ยิงป้องกัน ม 68 ผู้ถูกหลอกเป็น IA แต่หากมีเหตุให้ยิงป้องกันจริง โดยไม่สำคัญผิด หรือถูกหลอก ผู้ซึ่งมีเจตนากระทำผิดเอง แต่แจ้งให้ผู้อื่นยิงป้องกันตัว ผู้แจ้งไม่ต้องรับผิด (อ เกียรติขจร ฯ 8/119-120) (น่าจะต้องรับผิด มีเจตนาฆ่า และมีการกระทำ โดยการบอกให้ผู้อื่นป้องกันตัว ต่างกับกรณีไม่มีเจตนาฆ่า แต่บอกด้วยเจตนาดี ก็ขาดเจตนาฆ่า ไม่ต้องรับผิด)

- หลอกให้ เจ้าพนักงานจับผู้อื่น

- กรณีเจ้าพนักงาน ใช้ดุลพินิจได้ (แอบเอาสิ่งผิดกฎหมายไปไว้ในบ้านผู้อื่น แล้วแจ้งตำรวจจับ) ผู้หลอก จึงไม่ผิด ม 310 แต่ผิด ม 137 172 – 174 ได้ ฎ 527/2484 (อ เกียรติขจร ฯ 8/120) (อก ว่า ไม่ผิด ม 310 เพราะการจับชอบด้วยกฎหมาย ผู้หลอกจึงไม่ต้องรับผิด)

- กรณีใช้สำเนาหมาย มาหลอกให้จับ โดยเหตุที่จะจับ หมดไปแล้ว ผู้หลอก ผิด ม 310 + 84 2060/2521 (อก เห็นว่า เป็น ia เพราะตำรวจไม่รู้) (การจับของตำรวจ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่ตัดผลการกระทำของจำเลย / จับไม่ชอบ เพราะไม่มีเหตุจับ เพียงแต่ตำรวจขาดเจตนาจึงไม่ต้องรับผิด) (อก /238)

- ผู้ถูกหลอก กระทำโดยประมาท

- หลอกว่าปืนไม่มีลูก ผู้ถูกหลอกยิง ผิด ม 291 ผู้หลอกผิด ม 289 (4) เป็นผู้กระทำผิดทางอ้อม (อ เกียรติขจร ฯ 8/120)

- ผู้ถูกใช้ ไม่มี คุณสมบัติที่จะเป็นผู้กระทำผิดในฐานความผิดนั้น (อ เกียรติขจร ฯ 8/121)

- เจ้าพนักงาน ใช้ราษฎร ปลอมเอกสารในหน้าที่ เจ้าพนักงาน ผิด ม 161 ในฐานะผู้ทำผิดโดยอ้อม ราษฎรผิด ม 86+161

- แต่มี ฎ 2907/2526 ลงโทษ เจ้าพนักงาน ฐาน ม 84+161 (อก แย้งว่า ราษฎรไม่ผิด ม 161 แล้ว เจ้าพนักงาน ไม่อาจผิด ม 84+161 ได้ แต่ถือว่า เจ้าพนักงาน ผิด ม 161 เป็นผู้กระทำโดยอ้อม) (อก/89)

- เจ้าพนักงาน ไม่ผิด ม 84 + 161 เพราะผู้ถูกใช้จะต้องทำผิดนั้นได้เอง แต่ผิด ม 84 + 265 ได้ (อก/89)

- หาก ราษฎรกระทำโดยเจตนา ผิด ม 86+161 และ ม 256 เจ้าพนักงาน ผิด ม 161 โดยอ้อม และ ม 84 + 256

- หาก ราษฎรไม่กระทำโดยเจตนา เป็น IA ไม่ผิด ส่วน เจ้าพนักงาน ผิด ม 161 และ ม 265 โดยอ้อม

- ใช้ผู้ที่การกระทำ ไม่เป็นความผิด เพราะขาดองค์ประกอบ (อ เกียรติขจร ฯ 8/123)

- แดงจำนำแหวนไว้ ใช้ให้เหลืองไปทำลาย / เหลือง เป็น IA ไม่ผิด ม 349 เพราะไม่ใช่แหวนที่เหลืองจำนำไว้กับผู้อื่น แต่ผิด ม 86+349 ส่วนแดงเป็นผู้กระทำผิดทางอ้อม

- บังคับหรือหลอกให้ผู้เสียหาย ทำต่อตัว ผู้เสียหายเอง (อก/91)

- ผู้ที่ขู่ หรือหลอก ให้ผู้อื่นดื่มยาพิษ เป็นผู้กระทำผิดโดยทางอ้อม

- หากผู้กระทำ ทำโดยประมาท ม 59 4 ผู้หลอก ไม่เป็นผู้ทำผิดโดยทางอ้อม แต่ถือเป็นผู้กระทำผิดเอง (อก/91)

- สั่งให้ขับรถเร็ว ผิด ม 291 ทั้งคนขับและคนสั่ง

- ขู่ให้ขับรถเร็ว กรณีคนขับไม่ ประมาท เพราะตกใจ ผู้ขู่ ผิด ม 291 ในฐานะทำผิดเอง (อก/91)

- เมื่อหลอก IA แล้ว ถือว่าถึงลงมือ (เริ่มขั้นพยายาม ม 80 ทันที) (อก/94) หาก ใช้ตาม ม 84 จะถึงขั้นพยายาม ตาม ม 80 เมื่อผู้ถูกใช้ลงมือ (ตอนใช้ รับผิด ม 84 ตอนผู้ถูกใช้ลงมือ รับผิด ม 80 หรือความผิดสำเร็จ ตามที่ผู้ถูกใช้กระทำจริง) (อก/94)

- ผู้ร่วมกระทำความผิด 83-86 (อก/91)

- ผู้ใช้ตาม ม 84 หากผู้ถูกใช้ ทำโดยเจตนาผู้ใช้รับผิดเอง แม้กรณีผู้ถูกใช้ ไม่ต้องรับโทษเพราะ ม 73-74 / 65-66 / 67

- IA ใช้กับกรณีไม่มีเจตนาทำผิด แม้กรณีที่ IA ต้องรับผิด เพราะเป็นการกระทำโดยประมาท

- ผู้ใช้ตาม ม 84 ใช้กรณี ผู้ถูกใช้มี เจตนาทำผิดเท่านั้น หากเป็นเรื่อง ประมาท” (ใช้ให้ขับรถเร็ว) ไม่ถือเป็น ผู้ใช้ตาม ม 84 เพราะผู้ขับรถไม่มีเจตนาต่อ ผส (อก/93)


- หลักในเรื่องความรับผิดในฐานะตัวการ ผู้ใช้ และผู้สนับสนุน มีลักษณะเหมือนกันในกรณีดังต่อไปนี้

- ความรับผิดในฐานะตัวการ ผู้ใช้ และผู้สนับสนุน ใช้กับกรณีความผิดที่ได้กระทำโดยเจตนาเท่านั้น

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1211/2530 ...เมื่อเกิดเพลิงไหม้ขึ้นเนื่องจากวิธีการในการลักทรัพย์ของจำเลยทั้งสอง ซึ่งกระทำด้วยความประมาท ต้องถือว่าเป็นผลอันเกิดจากการกระทำของจำเลยทุกคนที่ร่วมกันลักทรัพย์ ดังนั้น แม้จำเลยที่ 3 จะมิได้เป็นผู้ถอดสายไฟฟ้าจากขั้วแบตเตอรี่ ก็ต้องฟังว่าจำเลยที่ 3 ร่วมกระทำด้วย จำเลยที่ 3 จึงต้องมีความผิดฐานทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท (จำเลยทุกคนรับผิดในข้อหาทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท แต่ไม่ต้องปรับมาตรา 83 เพราะไม่ใช่การรับผิดในฐานตัวการ)

- ข้อสอบความรู้ชั้นเนติบัณฑิต สมัยที่ 44 ประจำปี พ.ศ. 2534 วิชากฎหมายอาญา คำถามข้อ 2 / มาตรา 84 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดนั้น ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ นั้น หมายถึงกรณีที่ผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดตามที่ใช้โดยเจตนาเท่านั้น การกระทำโดยประมาทจะมีการใช้ให้กระทำความผิดไม่ได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1337/2534 (จำเลยที่ 1 ขับรถลาก จำเลยที่ 2 ถือพวงมาลัยรถพ่วง จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าหากต้องรับผิด ก็เป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำโดยประมาท) ผู้สนับสนุนในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดนั้น มีได้เฉพาะการสนับสนุนผู้ลงมือกระทำความผิดโดยเจตนาเท่านั้น ผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดโดยประมาท ไม่อาจมีได้ตามกฎหมาย เพราะผู้สนับสนุน ต้องมีเจตนาประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลในการสนับสนุนด้วย โดยสภาพจึงไม่อาจมีการช่วย เหลือหรือให้ความสะดวกในการกระทำผิดโดยประมาทได้ / จำเลยทั้งสองร่วมกันควบคุมรถยนต์บรรทุกสองคันลากจูงกัน โดยจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกลากจูงรถยนต์บรรทุกอีกคันหนึ่ง ซึ่งจำเลยที่ 2 ขับควบคุมถือพวงมาลัย จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ร่วมกันตามกฎหมาย ที่จะต้องร่วมกันจัดทำแผ่นป้ายแสดงข้อความ ว่ารถกำลังลากจูง และต้องจัดให้มีและเปิดโคมไฟ หรือจุดไฟแสงสาดส่องที่ป้ายดังกล่าว ฯลฯ เพื่อให้แสงสว่างเพียงพอสำหรับผู้ใช้ถนน หรือผู้ที่ขับรถยนต์ตามหลังมามองเห็นได้ว่ามีการลากจูง จำเลยทั้งสองสามารถกระทำ และใช้ความระมัดระวังดังกล่าว แต่ไม่ได้กระทำ เป็นการละเว้นการปฏิบัติตามกฎหมาย

- การพยายามจะเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน ไม่อาจมีได้ ให้พิจารณาขั้นที่จะต้องรับผิด โดยหากไม่ถึงขั้นต้องรับผิด ไม่ต้องปรับพยายามเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน

- ข้อสอบความรู้ชั้น เนติบัณฑิต สมัยที่ 24 ประจำปี พ.ศ. 2514 วิชากฎหมายอาญา คำถามข้อ 1 / นายสีใช้นายขำให้ไปจ้างนายจอนฆ่านายสงบ นายขำตกลงรับใช้นายสี แต่ต่อมาได้เปลี่ยนใจไม่ไปจ้างนายจอนตามที่ตกลงไว้ / การที่ผู้ใช้จะต้องรับโทษตามมาตรา 84 จะต้องมีการใช้ให้กระทำความผิดตามเจตนาของผู้ใช้เกิดขึ้นแล้ว การที่นายสีใช้ให้นายขำไปจ้างนายจอนฆ่าผู้อื่น ตราบใดที่นายขำยังไม่ได้ไปจ้างนายจอน ก็ยังไม่มีการใช้ให้กระทำความผิดเกิดขึ้น นายสีและนายขำจึงยังไม่ต้องรับโทษ จะถือว่าการที่นายสีใช้นายขำให้ไปจ้างนายจอน เป็นการที่นายสีใช้ให้นายขำกระทำความผิดแล้วไม่ได้ เป็นเพียงการตระเตรียมการใช้ให้นายจอนกระทำความผิดเท่านั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ 392/2496)

- ข้อสอบความรู้ชั้น เนติบัณฑิต สมัยที่ 37 ประจำปี พ.ศ. 2527 วิชากฎหมายอาญา คำถามข้อ 3 / ก. ต้องการฆ่า . แต่ไม่รู้ว่าจะไปจ้างมือปืนที่ไหน . จึงแนะนำ . ไปจ้าง . ซึ่งเป็นมือปืนไปฆ่า . . ไปจ้าง . ตามที่ . แนะนำ . ไปยิง . ตาย / กรณี . ไม่ยอมตกลงรับจ้างฆ่านั้น ค. ย่อมไม่มีความผิดอะไร . ก็ไม่มีความผิดเช่นกัน เพราะความผิดที่ตนสนับสนุนไม่ได้กระทำลง จึงถือไม่ได้ว่ามีการสนับสนุน จะถือว่า . พยายามสนับสนุนก็ไม่ได้ เพราะการพยายามสนับสนุนมีไม่ได้

- สำหรับความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ เมื่อผู้กระทำต้องรับผิดในฐานะตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน แล้ว ไม่ต้องรับผิดข้อหารับของโจรอีก

- ข้อสอบความรู้ชั้น เนติบัณฑิต สมัยที่ 10 ประจำปี พ.ศ. 2500 วิชากฎหมายอาญา คำถามข้อ 9 / หากนาย ง. ช่วยเหลือนาย ก. ก่อน หรือขณะกระทำผิด แล้วช่วยต้อนกระบือต่อไป ผิดฐานสนับสนุนลักทรัพย์แล้ว ไม่ต้องรับผิดฐานรับของโจรอีก

- คำพิพากษาฎีกาที่ 325/2520 จำเลยร่วมกับพวกปล้นทรัพย์ รุ่งขึ้นจำเลยจูงกระบือที่ปล้นไปนั้น การจูงกระบือในวันรุ่งขึ้น ไม่เป็นความผิดฐานรับของโจรขึ้นใหม่


- หลักในเรื่องความรับผิดในฐานะตัวการ ผู้ใช้ และผู้สนับสนุน ไม่ต้องนำมาใช้กับกรณีดังต่อไปนี้อีก

- กรณีที่มี กฎหมายบัญญัติให้ต่างรับผิดในการกระทำของตน

- มาตรา 143 ผู้ใดเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด / มาตรา 144 ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าพนักงาน / มาตรา 149 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 435/2520 ราษฎรให้สินบนเจ้าพนักงานเพื่อ ทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ เจ้าพนักงานรับไว้ ราษฎรมีความผิดตาม ป.อ. ม.144 เจ้าพนักงานผิด มาตรา 144 ราษฎรไม่มีความผิดฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานรับสินบน ตามมาตรา 149 อีก

- มาตรา 301 หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ผู้กระทำ เป็นหญิงที่มีครรภ์นั้นเอง / หากเป็นผู้อื่นกระทำ ผิด มาตรา 302 ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูก โดยหญิงนั้นยินยอม มาตรา 303 ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูก โดยหญิงนั้นไม่ยินยอม / ไม่ต้องรับผิดในการสนับสนุนหญิงที่ทำให้ตนเองแท้งลูกอีก)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 394/2502 ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันตามบัญชี ข. โดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นได้มี พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4, 12 บัญญัติความผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่มีผิดฐานสมรู้สนับสนุนผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 อีก

- กรณีที่มี กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับโทษหนักขึ้น อันเป็นเหตุฉกรรจ์ เพราะคุณสมบัติของผู้กระทำผิด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3595/2532 ประชุมใหญ่ การที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอก มิใช่ผู้มีอาชีพหรือธุรกิจ อันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ได้ร่วมกับผู้จัดการและสมุห์บัญชีของธนาคารยักยอกทรัพย์ของธนาคาร จำเลยย่อมมีความผิดฐานเป็นตัวการยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 352 ประกอบด้วยมาตรา 83 แม้จำเลยจะร่วมกระทำผิดกับผู้มีอาชีพ หรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน เป็นเหตุเฉพาะตัวผู้กระทำผิดแต่ละคน จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 354 ประกอบด้วยมาตรา 86

- กรณีที่กฎหมายนั้น มุ่งคุ้มครองผู้ใดแล้ว ผู้นั้นไม่ต้องร่วมรับผิดในฐานะตัวการ ผู้ใช้ และผู้สนับสนุน

- มาตรา 277 ผู้ใดกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม / กรณีที่เด็กหญิงนั้นเอง เป็นฝ่ายก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดตามมาตรานี้ หรือร่วมกระทำผิด หรือสนับสนุน โดยยินยอมและให้ความสะดวกในการกระทำผิด เด็กหญิงนั้นไม่ต้องร่วมรับผิดในฐานะตัวการ ผู้ใช้ และผู้สนับสนุน


- หลักในเรื่องความรับผิดในฐานะตัวการ ผู้ใช้ และผู้สนับสนุน มีข้อสังเกตเพิ่มเติมดังต่อไปนี้อีก

- ความรับผิดในฐานะตัวการ ผู้ใช้ ต้องดูคุณสมบัติของผู้กระทำ และองค์ประกอบความผิดในส่วนของคุณสมบัติของผู้กระทำ ส่วนความรับผิดในฐานะผู้สนับสนุน ไม่ต้องดูคุณสมบัติของผู้กระทำ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 657/2513 จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งทางอำเภอแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสำรวจที่ดิน ได้เรียกประชุมลูกบ้านให้มาแจ้งการสำรวจ และได้เรียกให้จำเลยอื่นอีก 4 คนซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และราษฎรมาช่วยในการนี้ แล้วจำเลยทั้งหมดนี้ได้ร่วมกันเรียกร้องเอาเงินจากราษฎร อ้างว่าเป็นค่าธรรมเนียม ถ้าไม่ให้ก็จะไม่รับแจ้ง ดังนี้จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 ส่วนจำเลยนอกนั้นมีความผิดเพียงฐานเป็นผู้สนับสนุน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 5299/2533 ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา 44 (7) , 71 และมาตรา 76 ได้บัญญัติเอาผิดและลงโทษแก่โรงงานและผู้แทนนิติบุคคล ที่ขนย้ายน้ำตาลทรายที่ผลิตได้ออกนอกบริเวณโรงงาน โดยฝ่าฝืนระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด เมื่อจำเลยเป็นเพียงลูกจ้างของ ม.เจ้าของรถยนต์บรรทุกคันที่บรรทุกน้ำตาลทรายออกนอกบริเวณโรงงาน จำเลยจึงมิใช่โรงงาน หรือบุคคลที่กฎหมายระบุ ให้ถือว่าเป็นผู้กระทำผิดเช่นเดียวกับนิติบุคคล ซึ่งได้กระทำความผิด จำเลยย่อมขาดลักษณะ หรือคุณสมบัติเฉพาะตัว อันเป็นองค์ประกอบความผิด จึงไม่อาจเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับโรงงานได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2079/2536 จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่กรอกข้อความ และรับรองเอกสารแบบ บ.ป.2 ซึ่งเป็นใบรับคำขอมีบัตร หรือเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน แต่ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยกรอกข้อความและรับรองเอกสาร เป็นหลักฐานอันเป็นเท็จ เพื่อให้จำเลยที่ 1 ได้รับบัตรประจำตัวประชาชน และจำเลยที่ 1 ก็ได้รับบัตรประจำตัวประชาชนไปแล้ว ความผิดตาม มาตรา 157, 162 (1) เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่เจ้าพนักงาน เป็นผู้ใช้จ้างวานให้จำเลยที่ 2 กระทำผิดดังกล่าว ย่อมไม่สามารถรับโทษเสมือนเป็นตัวการได้ จำเลยที่ 1 คงเป็นได้แต่เพียงผู้สนับสนุนการกระทำผิดเท่านั้น จึงต้องรับโทษเพียงเป็นผู้สนับสนุน


มาตรา 83 ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็น ตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

- สรุป มาตรา 83 (อ เกียรติขจร คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 ครั้งที่ 8 /2546 น 144)

1. เป็นการกระทำผิดโดยเจตนา

2. มีบุคคลร่วมกระทำตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป

3. มีการกระทำร่วมกัน ขณะกระทำความผิด

- การร่วมกระทำส่วนหนึ่ง ของความผิด ซึ่งการกระทำของแต่ละคน เป็นความผิดในตัวเอง

- การแบ่งหน้าที่กันทำ ซึ่งการกระทำของบางคน ยังไม่เป็นความผิดในตัวเอง เช่น ดูต้นทาง คอยให้สัญญาณ

- การอยู่ร่วม หรือใกล้เคียงในที่เกิดเหตุ ในลักษณะพร้อมที่จะช่วยเหลือกันได้ทันที

- การอยู่ร่วมในที่เกิดเหตุ และก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด

4. มีเจตนาร่วมกัน ขณะกระทำผิด

- พิจารณาว่าเจตนาจะกระทำผิดฐานใด และเจตนาดังกล่าวนั้น เป็นเจตนาร่วมกัน หรือเจตนาที่แตกต่างกับผู้เกี่ยวข้องในการกระทำผิดนั้น

- เมื่อผลเกิด พิจารณาถึงเจตนาของผู้กระทำ ประกอบความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล

- เจตนาร่วมกระทำผิด กรณีนิติบุคคลและผู้แทนนิติบุคคล

- คำพิพากษาฎีกาที่ 584/2508 นิติบุคคลอาจรับผิดทางอาญา ร่วมกับบุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นกรรมการดำเนินการของนิติบุคคลได้ ถ้าการกระทำผิดทางอาญานั้น กรรมการดำเนินการกระทำไป เกี่ยวกับกิจการตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล ที่ได้จดทะเบียนไว้ และเพื่อให้นิติบุคคลได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้น / จำเลยเติมข้อความในเอกสารที่จำเลยทำขึ้นเอง แต่จำเลยหมดอำนาจที่จะเติมเช่นนั้นแล้ว เพราะได้นำไปใช้เป็นหลักฐานในการขายสินค้าเชื่อให้แก่ ส.จน ส.กับโจทก์ที่ 2 ได้ตรวจรับสิ่งของและเซ็นชื่อไว้ในบิลส่งของที่ซื้อแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 378,379/2517 นายอำเภอมีหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 118 และ พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรคสาม ที่จะต้องตรวจตราและจัดการรักษาทางบกทางน้ำ ให้ไปมาโดยสะดวกตามที่จะเป็นได้ทุกฤดูกาล จึงมีอำนาจประกาศห้ามรถยนต์วิ่งรับส่งผู้โดยสารในเส้นทางที่กำลังก่อสร้าง เพื่อป้องกันอันตรายแก่ผู้โดยสาร และอำนวยความสะดวกในการก่อสร้างให้เสร็จโดยเร็วได้ / จำเลยที่ 1 ทราบคำสั่งดังกล่าวแล้วยังฝ่าฝืนเดินรถรับส่งผู้โดยสารในเส้นทางนั้น จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368 / จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลแสดงเจตนาออกโดยจำเลยที่ 2 และ จำเลยที่ 3 เป็นคนขับรถได้ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 จึงถือได้ว่าจำเลยทั้ง 3 ร่วมกันกระทำผิด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3620/2537 ความรับผิดทางอาญานั้น หากนิติบุคคลกระทำความผิด นอกจากนิติบุคคลนั้นจะต้องรับผิดแล้ว ผู้ที่มีส่วนในการกระทำความผิดนั้นย่อมต้องรับผิดด้วย โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้นั้น จะเป็นกรรมการของนิติบุคคลนั้นหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการของบริษัท ก.ที่กระทำความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น จำเลยจึงมีความผิดด้วย แม้จำเลยจะมีหนังสือรับรองการจดทะเบียนมาแสดง ว่าจำเลยมิใช่กรรมการของบริษัท ก. ก็ตาม

- กรณีไม่ใช่การร่วมกระทำความผิด เพราะขาดเจตนาที่ร่วมกระทำผิด ในการวางแผนล่อให้กระทำผิดเพื่อจับกุม

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1674/2520 จำเลยเรียกสินบน โจทก์ร่วมผู้ถูกเรียกกับตำรวจวางแผนให้เงินจำเลย แล้วจับพร้อมด้วยเงินของกลาง เป็นการแสวงหาหลักฐานผูกมัดจำเลย ถือเป็นการร่วมมือกระทำผิด หรือสนับสนุนไม่ได้ ไม่เป็นการรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด จึงขอคืนเงินของกลางได้ โดยไม่ต้องอุทธรณ์คำพิพากษาที่ให้ริบของกลาง

- กรณีไม่ใช่การร่วมกระทำความผิด เพราะขาดเจตนาที่ร่วมกระทำผิด ในความผิดต่อชีวิตและร่างกาย กรณีไม่ต้องรับผิด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3595/2527 เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมานำสืบแสดงว่า ก่อนจำเลยจะขับรถจักรยานยนต์มารอรับคนร้าย จำเลยได้รู้เห็นหรือมีเหตุการณ์ที่จำเลยควรจะรู้ว่าคนร้ายจะไปฆ่าผู้ตาย แล้วให้จำเลยรอรับเพื่อพาหลบหนี อันเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำลำพัง เพียงจำเลยมารอรับคนร้ายและพาหลบหนีไป จะถือว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดกับคนร้ายหาได้ไม่ เพราะจำเลยอาจเพิ่งทราบว่าคนร้ายยิงผู้ตายภายหลังเกิดเหตุก็ได้ ทั้งการที่จำเลยมิได้มาทำงานตามปกติ หาใช่เหตุผลแสดงว่าจำเลยร่วมกับคนร้าย แต่อาจเนื่องมาจากกลัวความผิดที่พาคนร้ายหลบหนีก็ได้ ดังนี้ จำเลยไม่มีความผิด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1129/2531 จำเลยรู้ว่า จ.กับพวกจะไปทำร้ายผู้เสียหาย จึงเดินตาม จ. กับพวกไปที่บ้าน ม. ซึ่งผู้เสียหายกำลังซ้อมดนตรีอยู่กับ ม. และพวก จ.กับพวกอีก 2 คน ขึ้นไปบนบ้านและใช้ไม้ตีทำร้ายผู้เสียหาย ส่วนจำเลยยืนดูอยู่เฉย ๆ ข้างล่างห่างที่เกิดเหตุประมาณ 6-10 เมตร ไม่ได้แสดงกิริยาอาการจะเข้าร่วมทำร้ายผู้เสียหาย เมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยเป็นพรรคพวกของ จ. และมีเจตนาร่วมกับ จ. ทำร้ายผู้เสียหายมาแต่แรก แม้หลังจากเกิดเหตุแล้วจำเลยจะเดินตาม จ.กับพวกไปก็ตาม ยังถือไม่ได้ว่าจำเลย มีเจตนาร่วมกับ จ.ทำร้ายผู้เสียหาย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 566/2539 ผู้ตายเปิดวิทยุเทปฟังเพลงเสียงดัง ทำให้มีการขว้างปาหลังคาบ้านผู้ตาย และมีเสียงด่า เมื่อนาย ส กับจำเลยทั้งสองข้ามรั้วเข้าไปในบริเวณบ้านของผู้ตาย นาย ส คนเดียวที่ถืออาวุธปืน จำเลยทั้งสองไม่มีอาวุธปืนหรืออาวุธใดติดตัวไปด้วย นาย ส ได้พูดต่อว่าเรื่องที่บ้านผู้ตายเปิดวิทยุเสียงดัง ก็มีเสียงผู้หญิงตอบมาจากบนบ้านผู้ตายว่า "ทำไมล่ะกูเปิดบ้านกู ค่าไฟ กูก็เสีย" นาย ส จึงยิงปืนไปที่หน้าต่างบนบ้านผู้ตาย 1 นัด จากนั้นนาย ส พูดว่า “อีแววมึงตายเสียเถอะ" แล้วยิงปืนไปที่ผู้ตาย พฤติการณ์แห่งคดีแสดงว่า ที่นาย ส ยิงปืนไปที่หน้าต่างบนบ้านผู้ตาย เพราะมีเสียงตอบโต้มาจากบนบ้านดังกล่าว ดังนี้ ในเหตุการณ์ทำนองเดียวกัน จึงมีเหตุผลให้น่าเชื่อว่าเหตุที่นาย ส หันไปยิงผู้ตาย เป็นเพราะผู้ตายได้พูดตอบโต้นาย ส ไป การที่ ส. ยิงปืนไปที่หน้าต่างบ้านผู้ตาย โดยเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ในขณะนั้น จะฟังว่าจำเลยรู้เห็นหรือคบคิดกับ ส. มาก่อนหาได้ไม่

- คำพิพากษาฎีกาที่ 5578/2543 การกระทำอันจะถือว่าร่วมกันกระทำนั้น นอกจากร่วมกันในส่วนของการกระทำแล้ว ยังต้องมีเจตนาร่วมกันด้วย แต่จากทางนำสืบของโจทก์ได้ความเพียงว่า คำพูดของผู้ตาย ทำให้จำเลยกับพวกทุกคนเกิดความไม่พอใจ ซึ่งเป็นความไม่พอใจของแต่ละคน ทำให้ทุกคนโกรธและเจตนาทำร้ายต่อผู้ตายเหมือนกัน กรณีเป็นเรื่องต่างคน ต่างทำร้ายผู้ตาย เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทำร้ายผู้ตายแต่อย่างใด พยานหลักฐานโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกับพวกฆ่าผู้ตาย

- กรณีไม่ใช่การร่วมกระทำความผิด เพราะขาดเจตนาที่ร่วมกระทำผิด ในความผิดต่อชีวิตและร่างกาย กรณีรับผิดเฉพาะการกระทำในส่วนของตนเอง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1439/2510 ขณะที่ผู้ตายต่อยกับน้องภริยาจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ได้ยิงไปก่อน 1 นัดถูกผู้ตาย แล้วต่อมาจำเลยที่ 1 จึงได้ยิงไปตามพฤติการณ์ดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองยิงไปนั้น เป็นการกระทำที่เกิดขั้นในทันทีทันใด โดยต่างคนต่างกระทำลงไป มิได้สมคบร่วมคิดกันมาก่อน จะฟังว่าจำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2 ฆ่าผู้ตายไม่ได้ ผู้ตายมีบาดแผลถูกยิงแผลเดียว และฟังได้ว่าแผลที่ถูกยิงนั้นเป็นผลแห่งการกระทำของจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียว ฉะนั้นจำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานฆ่าผู้ตาย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1246/2526 ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับ บ. คบคิดกันมาก่อน แม้ขณะเกิดเหตุ ก็ไม่ปรากฏพฤติการณ์อันแสดงว่าร่วมกันกระทำโดยเจตนาฆ่า กรณีเกิดขึ้นเป็นไปโดยกระทันหันต่อเนื่องมาจากการวิวาท ผู้เสียหายซึ่งเป็นตำรวจเข้าไปห้าม จำเลยกับ บ. ต่างคนต่างกระทำ โดยจำเลยเอาขวดตี บ. ใช้มีดแทง แม้หลบหนีไปด้วยกัน ก็ไม่พอฟังว่าร่วมกระทำความผิดด้วยกัน ตามรายงานการชันสูตรบาดแผล ไม่มีรอยฟกช้ำที่ท้ายทอย คงมีบาดแผลเฉพาะถูกแทง ที่ผู้เสียหายล้มคว่ำ น่าจะเป็นเพราะถูกชนเสียหลัก มิใช่เกิดจากถูกตี โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ.ม.288, 289, 80, 83 เมื่อทางพิจารณาปรากฏว่า การกระทำของจำเลย เป็นความผิดเพียงฐานทำร้ายผู้เสียหาย โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ศาลก็ลงโทษจำเลยตาม ม.391 ได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1473/2526 ขณะ จ. แทงผู้เสียหาย จำเลยยืนห่าง จ. 2 เมตร ยืนอยู่เฉย ๆ ไม่ได้เข้าช่วยเหลือหรือยุ่งเกี่ยว แต่วิ่งหนีไปพร้อม จ. ซึ่งอาจเป็นเพราะความตกใจ หรือถูกไล่ทำร้าย เพราะเข้าใจว่าเป็นพวก จ. ก็ได้ ดังนี้ จำเลยไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับ จ.

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1679/2526 จำเลยกับพวก รุมชกต่อยผู้ตาย ข้อเท็จจริงไม่พอฟังว่าเป็นการร่วมทำร้าย โดยเจตนาฆ่า / อ. ยิงผู้ตาย จำเลยไม่ได้บอกให้ยิง ความตายไม่ได้เกิดจากผลการทำร้ายของจำเลย จำเลยควรรับผิดเพียงเท่าที่ตนกระทำ ตาม ม 391 เท่านั้น (เทียบ ฎ 1014/2535 หาก ร่วมกันจำเลยต้องรับผิดในการกระทำของตัวการด้วย จำเลยเจตนาชก แต่เพื่อนใช้มีดฟันผู้เสียหาย)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2810/2526 จำเลยแทงถูกผู้ตายล้มลง แต่ฟังไม่ได้ว่าแทงถูกอวัยวะส่วนไหนของผู้ตาย หลังจากนั้นมีชาวบ้านหลายคนช่วยกันแทงผู้ตาย บาดแผลที่ทำให้ตายเกิดจากการกระทำของพวกชาวบ้าน เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยได้ร่วมกับพวกฆ่าผู้ตาย ทั้งทางพิจารณาก็ไม่ปรากฏเช่นนั้น ดังนี้ จะนำการกระทำของผู้อื่น ซึ่งจำเลยไม่ได้ร่วมด้วย มาลงโทษจำเลยหาได้ไม่ จำเลยคงมีความผิดตาม ป.อ.ม.295 เท่านั้น

- คำพิพากษาฎีกาที่ 4149/2528 ฟ้องจำเลยทั้งสามฆ่าผู้อื่นถึงแก่ความตาย แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่มีเจตนาร่วมกันฆ่า เพียงแต่ต่างเจตนาทำร้าย เป็นผลให้ผู้ตายได้รับอันตรายแก่กายเท่านั้น และลักษณะบาดแผลที่เกิดจากการทำร้ายของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่อาจทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. ม.290 คงมีความผิดตาม ม.295 เท่านั้น

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3321/2533 จำเลยชกที่กกหูของ ส. โจทก์ร่วม 1 ปี แล้วพวกของจำเลยวิ่งเข้ามาทำร้ายพวกโจทก์ร่วม โดยใช้มีดฟันและใช้ขวดตี เป็นเหตุให้ ค.โจทก์ร่วมอีกคนหนึ่งได้รับอันตรายแก่กายสาหัส ส. และ พ. โจทก์ร่วมได้รับอันตรายแก่กาย โดยจำเลยกับพวก มิได้นัดหมายให้ช่วยกันทำร้าย หรือจำเลยบอกให้พวกทำร้ายโจทก์ร่วม และเมื่อโจทก์ร่วมบางคนวิ่งหนี จำเลยหรือพวกจำเลย ก็มิได้เข้าไปทำร้ายซ้ำเติม ค.โจทก์ร่วมซึ่งได้รับบาดเจ็บนอนอยู่หน้าร้านจำเลยอีก แต่วิ่งออกจากร้านตาม พ. และพวกโจทก์ร่วมไป โดยมิได้แสดงท่าทางว่าจะทำร้ายอีก ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยเป็นตัวการร่วมในความผิดฐานทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วม เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส หรือได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยคงมีความผิดตาม มาตรา 391 เท่านั้น

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3913/2534 ขณะเกิดเหตุคนที่มาในงานเลี้ยงโกรธผู้ตายที่ยิงปืน จึงต่างคนต่างทำร้ายผู้ตาย โดยจำเลยเพียงเข้าไปเตะ และกระทืบผู้ตาย เหตุที่ผู้ตายตายเนื่องจากถูกตี จำเลยมีความผิด ตาม ม 391 เท่านั้น

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1583/2535 ป.พวกของจำเลยไม่พอใจผู้เสียหายเพราะ ป. ขับขี่รถจักรยานยนต์เฉี่ยวผู้เสียหาย ผู้เสียหายยกศอกขึ้นกันถูกศีรษะ ป. สาเหตุดังกล่าวเป็นเหตุเพียงเล็กน้อย ไม่ทำให้ ป. กับพวกโกรธแค้นถึงกับจะต้องฆ่าผู้เสียหายเมื่อ ป. กับพวกและจำเลยพบกับผู้เสียหาย ป.ได้พูดจาโต้เถียงแล้วพวกของ ป.ชกผู้เสียหาย ห.ใช้มีดปลายแปลมแทงผู้เสียหาย จำเลยกับพวกที่เหลือเข้ามารุมต่อย แสดงว่าพวก ป. มีความโกรธเกิดขึ้นในปัจจุบันทันที ทั้งไม่ปรากฏว่าได้สมคบกันมาก่อนต่างคนต่างมีเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ดังนั้น แต่ละคนจึงมีความผิดตามผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของแต่ละคน เมื่อจำเลยเพียงแต่ชกต่อยผู้เสียหายแต่ผู้เสียหายไม่มีแผลฟกช้ำซึ่งแสดงว่าถูกต่อย จำเลยจึงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตาม ป.อ. มาตรา 391

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1991/2537 พฤติการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นไปโดยปัจจุบันทันด่วน ต่อเนื่องจากการที่ผู้ตายใช้ศอกกระแทกหน้าอกจำเลย เป็นเหตุให้จำเลยชกต่อยผู้ตาย 1 ที แล้ววิ่งหนี จากนั้น ส. จึงเข้าซ้ำเติม ใช้มีดปลายแหลมแทงผู้ตาย ซึ่งจำเลยและ ส. ต่างคนต่างทำร้ายผู้ตายโดยมิได้สมคบกันมาก่อน ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกับ ส. ฆ่าผู้ตาย คงฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยทำร้ายผู้ตายโดยชกผู้ตาย 1 ที จำเลยจึงต้องมีความผิดแต่เฉพาะการกระทำของตนเอง ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น ไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตาม ป.อ. มาตรา 391 เท่านั้น

- คำพิพากษาฎีกาที่ 4949/2540 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติในเบื้องต้นว่าตาม วันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง นายนิยม เขียวจีน ผู้เสียหายถูกทำร้ายด้วยมีด นิ้วก้อยข้างซ้ายขาดได้รับอันตรายสาหัส คดีมีปัญหาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาเฉพาะ จำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 หรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า ก่อนเกิดเหตุที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายจนนิ้วก้อยข้างซ้ายขาดนั้น ผู้เสียหาย ไม่ได้มีสาเหตุหรือทะเลาะกับจำเลยที่ 2 มาก่อนแต่ประการใด ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมสมคบหรือวางแผนเพื่อทำร้ายผู้เสียหาย และขณะผู้เสียหายถูกทำร้ายนั้น จำเลยที่ 2 ก็มิได้อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุพอที่จะช่วยเหลือจำเลยที่ 1 และที่ 3 คงได้ความแต่ เพียงว่า เมื่อผู้เสียหายวิ่งหลบหนี ภายหลังถูกจำเลยที่ 1 และที่ 3 ทำร้ายแล้วมาพบ จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้จับชายผ้าขาวม้าที่ผู้เสียหายคาดเอวไว้ และจำเลยที่ 2 กับพวก รุมชกต่อยผู้เสียหายจนกระทั่งจำเลยที่ 1 และที่ 3 ตามมาทัน จำเลยที่ 1 จึงใช้มีดฟัน ผู้เสียหาย แต่พลาดไปถูกขาจำเลยที่ 2 ได้รับบาดเจ็บ พฤติการณ์และการกระทำของ จำเลยที่ 2 ดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังผู้เสียหายถูกทำร้ายจนได้รับอันตรายสาหัสไปแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ชกต่อยทำร้ายผู้เสียหายในตอนหลัง และข้อเท็จจริงได้ความแต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 มางานเลี้ยงที่บ้านนายดีมพร้อมกับจำเลยที่ 1 ยังไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 2 ร่วม กับจำเลยที่ 1 และที่ 3 ทำร้ายผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสจำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 คงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 เท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาจำเลยที่ 2 ฟังขึ้น"

- กรณีไม่ใช่การร่วมกระทำความผิด เพราะขาดเจตนาที่ร่วมกระทำผิด ในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2923/2540 พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ดึงใบสมัครงานทั้งสองฉบับไปจากมือของผู้เสียหาย เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นในทันทีทันใดโดยจำเลยที่ 1 กระทำลงไปตามลำพัง จำเลยที่ 2 มิได้สมคบร่วมรู้เห็นมาก่อน ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะเห็นการโต้ตอบระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยที่ 1 และเห็นจำเลยที่ 1 แย่งเอกสารจากผู้เสียหายอยู่ และจำเลยที่ 2 ยอมรับเอกสารดังกล่าวมาเก็บรักษาไว้ก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมมือกับจำเลยที่ 1 โดยยอมรับผลของการกระทำของจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 2 มิได้มีการกระทำการใดๆ ที่ส่อแสดงว่ามีการยอมรับการกระทำของจำเลยที่ 1 หรือร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำต่อผู้เสียหาย ทั้งจำเลยที่ 2 ก็มิได้มีหน้าที่จักต้องกระทำ เพื่อป้องกันผลร้ายจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ด้วย ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 2 เพียงแต่รับเอกสารจากจำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างมาเก็บรักษาไว้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1

- กรณีไม่ใช่การร่วมกระทำความผิด เพราะไม่มีการกระทำในลักษณะของการสมคบ ในความผิดอื่น

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1366/2526 จำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ลงตีพิมพ์ข้อความใส่ความโจทก์ในหนังสือพิมพ์ เพื่อจำหน่ายตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ผู้เดียว การที่จำให้จำเลยที่ 1 รับผิดในทางอาญาจะต้องได้ความว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการอันใดอันหนึ่งซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด เพียงแต่จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ โดยมิได้กระทำการอันใด จะให้ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วยหาได้ไม่

- กรณีไม่ใช่การร่วมกระทำความผิด กรณีขาดคุณสมบัติ ที่เป็นองค์ประกอบความผิดในข้อหานั้น

- คำพิพากษาฎีกาที่ 5299/2533 ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา 44 (7) , 71 และมาตรา 76 ได้บัญญัติเอาผิดและลงโทษแก่โรงงานและผู้แทนนิติบุคคล ที่ขนย้ายน้ำตาลทรายที่ผลิตได้ออกนอกบริเวณโรงงาน โดยฝ่าฝืนระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด เมื่อจำเลยเป็นเพียงลูกจ้างของ ม.เจ้าของรถยนต์บรรทุกคันที่บรรทุกน้ำตาลทรายออกนอกบริเวณโรงงาน จำเลยจึงมิใช่โรงงาน หรือบุคคลที่กฎหมายระบุ ให้ถือว่าเป็นผู้กระทำผิดเช่นเดียวกับนิติบุคคล ซึ่งได้กระทำความผิด จำเลยย่อมขาดลักษณะ หรือคุณสมบัติเฉพาะตัว อันเป็นองค์ประกอบความผิด จึงไม่อาจเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับโรงงานได้

- กรณีไม่ใช่การร่วมกระทำความผิด กรณีพิเศษ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3323/2522 จอดรถปิดกั้นทางหลวง เป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่จอดรถ ผู้ที่มาร่วมด้วยภายหลัง ไม่เป็นตัวการร่วมกระทำผิดด้วย

- ประเด็นเรื่องตัวการในความผิดต่อเจ้าพนักงาน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3891/2530 จำเลยนั่งดื่มสุราอยู่ในกลุ่มวัยรุ่น 5-6 คน เมาสุราส่งเสียงเอะอะ เจ้าพนักงานเข้าไปตักเตือนห้ามปราม และจะขอจับกุม วัยรุ่นกลุ่มนั้นกลุ้มรุมทำร้ายเจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยไม่ได้ลงมือทำร้ายร่างกายด้วย แต่การที่จำเลยยืนดูอยู่ห่างประมาณ 5 เมตร ยกเก้าอี้เหล็กขึ้น เพื่อคอยช่วยเหลือเพื่อนของจำเลยในการต่อสู้ทำร้ายเจ้าพนักงานตำรวจ ถือได้ว่าได้ร่วมกับพวกทำร้ายร่างกายและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ในการปฏิบัติการตามหน้าที่แล้ว

- ประเด็นเรื่องตัวการในความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 6612-6613/2542 จำเลยที่ 2 ถือกระป๋องน้ำมันมา และมีผู้ถือคบเพลิง 10 ถึง 20 คน เข้าไปรายล้อมจำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 2 เทน้ำมันจากกระป๋องลงไปที่คบเพลิง จำเลยที่ 2 เป็นคนราดน้ำมันลงในคบเพลิงที่ใช้โยนขึ้นไปเผาหลังคาอาคารเก็บพัสดุ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับผู้ที่จุดไฟคบเพลิงโยนขึ้นไปบนหลังคาอาคารเก็บพัสดุ อันเป็นการวางเพลิงเผาอาคารดังกล่าวแล้ว

- ประเด็นเรื่องตัวการในความผิดเกี่ยวกับเอกสาร

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3894/2525 แม้ลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรม ในพินัยกรรมมีลักษณะลายเส้นนูนเลอะเลือน จนผู้ชำนาญการพิเศษตรวจพิสูจน์ลงความเห็นไม่ได้ มีพยานลงชื่อรับรองสองคน ก็มีสภาพเป็นพินัยกรรม แต่เป็นพินัยกรรมที่จำเลยกับ บ. ร่วมกันทำปลอมขึ้น เมื่อนำส่งอ้างเป็นพยานต่อศาลสำเร็จลงแล้ว ต้องมีความผิดฐานใช้พินัยกรรมปลอมอีกกระทงหนึ่ง มิใช่การพยายามกระทำความผิดที่เป็นไปไม่ได้ตาม ป.อ. ม.81 แม้จำเลยจะได้กระทำในฐานะทนายความของ บ. จำเลยในคดีแพ่ง จำเลยก็มีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันใช้พินัยกรรมปลอมตาม ป.อ. ม.83

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1970/2530 น.กู้เงินผู้เสียหายโดย ส.ใช้หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของ ส. ซึ่งเป็นเอกสารปลอมไปค้ำประกันหนี้เงินกู้ แม้จำเลยจะมิได้ร่วมไปบ้านผู้เสียหายในวันทำสัญญากู้ แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยร่วมกับ น. และ ส.มาแต่ต้นในลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำ โดยในวันเกิดเหตุจำเลยพา น. และ ส.ไปพบ ว. เพื่อให้พาบุคคลทั้งสองไปพบผู้เสียหาย ส่วนจำเลยรออยู่เพื่อคอยรับเงินส่วนแบ่งจาก น. พฤติการณ์ดังกล่าว ฟังได้ว่าจำเลยเป็นตัวการในการใช้เอกสารปลอมด้วย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 176/2537 ที่โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันเงินกู้แต่จำเลยที่ 1 กลับกรอกข้อความว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 อันเป็นการกระทำ โดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์ และจำเลยที่ 1 ได้นำหนังสือมอบอำนาจไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงเป็นการปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม / จำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยที่ 1 ได้กรอกข้อความ โดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการ ปลอมหนังสือมอบอำนาจ ด้วย แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ไปด้วยในวันที่นำหนังสือมอบอำนาจปลอมไปจดทะเบียนโอนที่ดิน แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 มาตั้งแต่ต้น ทั้งเป็นสามีภรรยากันมีส่วนได้เสียในที่ดินที่รับโอน จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วม ในการ ใช้เอกสารปลอม ด้วย

- ประเด็นเรื่องตัวการในความผิดเกี่ยวกับเพศ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1235/2509 ขณะจำเลยที่ 1 ลงไปฉุดผู้เสียหายขึ้นรถ จำเลยที่ 2 จอดรถติดเครื่องรอคอยอยู่ในระยะใกล้ แล้วจำเลยที่ 2 ได้ออกรถขับไปทันที การกระทำตั้งแต่แรกที่จำเลยที่ 1 ฉุดผู้เสียหายขึ้นมารถ ตลอดจนพาผู้เสียหายไปหลังจากผู้เสียหายขึ้นรถแล้ว ยังคงถือว่าเป็นการกระทำผิด ฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารอยู่ตลอดเวลา การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ขับรถพาผู้เสียหายกับจำเลยที่ 1 ไป จึงเป็นการกระทำส่วนหนึ่งของการพาผู้เสียหายไป เป็นการร่วมกระทำผิดด้วยกันตามมาตรา 83

- ความผิดฐานพาหญิงไปเพื่ออนาจาร สำเร็จทันที ตั้งแต่จำเลยที่ 1 ฉุดผู้เสียหาย แต่ยังต่อเนื่องมา จำเลยที่ 2 ขับรถพาไป ถือเป็นตัวการ ในข้อหาพาหญิงไปเพื่ออนาจาร

- ความผิดสำเร็จเกิดขึ้นเมื่อใด กับ การกระทำเสร็จสิ้น เมื่อใด เป็นคนละประเด็นกัน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2200/2527 ผู้เสียหายไปเที่ยวงาน จำเลยที่ 2 ซึ่งผู้เสียหายไม่เคยรู้จักมาก่อนได้เข้ามาทักทายและไปเที่ยวงานด้วยกัน จนกระทั่งดึกผู้เสียหายจะกลับบ้านก็ขอให้จำเลยที่ 2 กับพวกไปส่ง จำเลยที่ 2 ทำรีรอว่าจะรอเพื่อนก่อน แต่เมื่อเสียหายเดินออกจากบริเวณงาน ก็เห็นจำเลยที่ 2 กับพวกเดินนำหน้าไปก่อน ครั้นถึงที่เกิดเหตุผู้เสียหายก็ถูกชายวัยรุ่นซึ่งมีจำเลยที่ 1 รวมอยู่ด้วยฉุดไปข่มขืนกระทำชำเราที่ข้างทาง ส่วนจำเลยที่ 2 ถอดกางเกงรออยู่ ผู้เสียหายขอร้องว่าอย่าทำหนูเลย จำเลยที่ 2 ตอบว่าอีกคนหนึ่ง แต่มีคนเดินมาคนร้ายจึงอุ้มผู้เสียหายไปที่อื่น แล้วข่มขืนกระทำชำเรา จนผู้เสียหายสลบไป ตามพฤติการณ์ส่อว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับพวกเพื่อกระทำความผิดมาแต่ต้น / การร่วมกันข่มขืนกระทำชำเรา อันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงนั้น จะต้องก่อนหลังกันอยู่ พวกของจำเลยบางคนได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายแล้ว บางคนกำลังข่มขืนกระทำชำเราอยู่ จำเลยที่ 2 ซึ่งได้ถอดกางเกงพร้อมที่จะข่มขืนกระทำชำเราเป็นคนต่อไป แม้จะยังไม่ทันได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย เพราะมีผู้อื่นมายังที่เกิดเหตุ จึงหลบหนีไปเสียก่อน ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดแล้ว

- คำพิพากษาฎีกาที่ 4502/2528 จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันฉุดโจทก์ร่วมที่ 3 จากรถยนต์โดยสารพาไปขึ้นรถยนต์ปิกอัพซึ่งเตรียมไว้ไปเพื่อการอนาจาร การกระทำผิดของจำเลยที่ 1 หาได้สำเร็จเด็ดขาดเพียงพาโจทก์ร่วมที่ 3 ขึ้นรถยนต์ปิกอัพไม่ แต่ยังคงเป็นความผิดตลอดเวลาที่พาไป จำเลยที่ 2 ได้วิ่งออกมาจากบ้านพักยามใกล้ที่เกิดเหตุ แล้วกระโดดขึ้นรถยนต์ปิกอัพไปกับจำเลยที่ 1 พาโจทก์ร่วมที่ 3 ไปที่บ้าน ม.น้องเขยจำเลยที่ 2 ระหว่างอยู่ที่บ้าน ม.จำเลยที่ 2 ร่วมเฝ้าโจทก์ร่วมมิให้ออกไปไหน เป็นการแบ่งหน้าที่กับจำเลยที่ 1 ทำตลอดเวลาที่พาโจทก์ร่วมที่ 3 ไปจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284, 83

- คำพิพากษาฎีกาที่ 4796/2530 การที่จำเลยที่ 1 พาผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 17 ปี ไปให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กับพวกผลัดกันข่มขืนกระทำชำเรานั้น จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดา โดยผู้เยาว์นั้นไม่เต็มใจไปด้วยกรรมหนึ่ง และจำเลยที่ 1 ยังมีความผิดฐานนำหญิงไปเพื่อการอนาจารอีกกรรมหนึ่งด้วย / แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 1 พาผู้เสียหายไปให้พวกของตนข่มขืนกระทำชำเราเสร็จ แล้วจึงพาผู้เสียหายกลับไปนั้น ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกกระทำผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย อันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 6541/2542 การที่จำเลยขับเรือยนต์ไปตามคำสั่งของ ช. โดยขับแล่นเข้าไปจอดเทียบกับเรือบดของผู้เสียหาย เมื่อ ช. และ ป. ฉุดผู้เสียหายลงเรือยนต์ของจำเลยแล้ว จำเลยก็เป็นคนขับพาผู้เสียหายไป ทั้งที่ ช. และ ป. ไม่ได้ขู่บังคับจำเลย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ร่วมกับ ช. และ ป. กระทำผิดฐานร่วมกันพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร ตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก

- ประเด็นเรื่องตัวการในความผิดเกี่ยวกับเพศ เกี่ยวพันกับความผิดต่อชีวิตและร่างกาย (สังเกตประเด็นเกี่ยวเนื่อง มาตรา 87)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1972/2516 จำเลยฉุดคร่าหญิงไปเพื่อการอนาจาร พวกของจำเลยซึ่งคอยคุ้มกันขัดขวางไม่ให้ใครช่วยหญิง ได้ใช้ปืนยิงผู้ที่จะเข้ามาขัดขวาง ถือว่าจำเลยได้ร่วมกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เข้าขัดขวางนั้นด้วย

- ประเด็นเรื่องตัวการในความผิดต่อชีวิตและร่างกาย กรณีมีเจตนาร่วมและมีการร่วมกระทำความผิด อันเป็นตัวการ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1062/2499 เพียงแต่สันนิษฐานตามท้องสำนวน ว่าผู้ตายอาจตาย เพราะอาการป่วยอย่างอื่น เช่นนี้ไม่เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกินสำนวน / เมื่อเห็นผู้ตายชุลมุนกับเพื่อนของตน ก็ส่งมีดให้จำเลยอีกคนหนึ่ง จำเลยคนนั้นก็โดดเข้าแทงผู้ตาย ดังนี้ได้ชื่อว่าสมคบในการทำร้ายรายนี้ / พอเพื่อนของตนถูกผู้ตายเตะจำเลยก็ลุกขึ้นก่อนผู้ตายและพูดว่าอ้ายนี้มันเก่งเอาให้ตาย และต่อไปได้ความว่าเมื่อจำเลยอีกคนหนึ่งเข้าไปแทงผู้ตายดิ้นจะให้หลุดก็ไม่ยอมปล่อยจนจำเลยอีกคนหนึ่งได้แทงผู้ตายถึง 4 ที จึงได้ปล่อย พฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าจำเลยมีเจตนาสมคบในการทำร้ายรายนี้ด้วย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1215/2508 จำเลยที่ 1 ใช้ให้จำเลยที่ 2, 3 ไปตามผู้ตายให้ไปกินข้าวที่บ้านถึง 2 ครั้ง ผู้ตายจึงยอมไป ส่วนจำเลยที่ 1 แทนที่จะคอยต้อนรับผู้ตายที่บ้าน กลับไปรออยู่กลางทาง เมื่อจำเลยที่ 1 ยกปืนจะยิงผู้ตาย ผู้ตายปัดกระบอกปืน จำเลยที่ 2, 3, 4 ก็กลุ้มรุมทำร้ายผู้ตายทันที โดยจำเลยที่ 1 มิได้ขอร้องให้ช่วย พฤติการณ์ จึงส่อแสดงว่าจำเลยวางแผนการหลอกผู้ตายมาทำร้ายระหว่างทาง เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว ยังได้ไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานว่าผู้ตายกับพวกมาฉุดลูกสาวจำเลยที่ 1 ไป อันเป็นแผนต่อไปที่จะสู้คดี ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยได้ร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยเจตนา และโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 40/2509 จำเลยทั้งสองร่วมวงเสพสุรากับจำเลยที่ 2 พูดว่าจะทำร้ายผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 ไปหาผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 ตามไปด้วย และยืนอยู่ด้วยเป็นการสมทบกำลังให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ถือมีดไล่แทงผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 วิ่งไล่ เป็นการร่วมกัน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 334/2509 จำเลยกับพวกถือปืนขึ้นไปหาผู้ตายบนเรือนของ ส.เพื่อจะทำร้ายผู้ตาย เพราะโกรธเคืองผู้ตาย แม้ผู้ตายถูกกระสุนปืนของพวกจำเลยยิง มิใช่กระสุนปืนที่จำเลยยิง ไม่เป็นเหตุให้จำเลยพ้นความผิดไปได้ เพราะจำเลยกับพวกร่วมขึ้นไปจะทำร้ายผู้ตาย เป็นการร่วมกันกระทำผิด จำเลยต้องมีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันฆ่าผู้ตาย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 883/2509 ขณะที่จำเลยที่ 1 กำลังยื้อแย่งปืนกับผู้ตาย จำเลยที่ 1 ได้ร้องบอกจำเลยที่ 2 ว่า เทยิง ๆ นายเทจำเลยที่ 2 ก็ได้ใช้ปืนยิงผู้ตาย การที่จำเลยที่ 1 ร้องบอกให้จำเลยที่ 2 ยิงผู้ตายเช่นนี้ เป็นการร้องบอกให้ช่วยกันทำร้ายผู้ตาย ตามมูลกรณีที่จำเลยที่ 1 มีต่อผู้ตาย การที่จำเลยที่ 2 ได้ใช้ปืนยิงผู้ตาย ก็เป็นการแสดงว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งสองจึงเป็นตัวการด้วยกัน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1701/2526 ส. บอกจำเลยว่ามีเรื่องกับคนอื่นให้ไปช่วยระหว่างทาง ส.มอบปืนให้ เมื่อถึงที่เกิดเหตุจำเลยเดินตาม ส. ไปใกล้ ๆ คอยมองดูรอบ ๆ บริเวณ ทำนองเป็นการคุ้มกัน เมื่อ ส. ยิงผู้ตายแล้วจำเลยก็หนีไปด้วยกันแม้จำเลยมิได้ยิงผู้ตาย แต่พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกับ ส. ยิงผู้ตาย เป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ จำเลยจึงเป็นตัวการฆ่าผู้ตายด้วย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2426/2526 ผู้ตายถูกแทงมีบาดแผลที่บริเวณสีข้างซ้ายทะลุเข้าช่องท้องถูกลำไส้เล็ก ม้าม และกระเพาะอาหารทะลุ มีโลหิตตกในช่องท้อง ถึงแก่ความตายเกือบจะทันทีทันใด ส่วนผู้เสียหายศีรษะด้านขวาแตกยาว 3 ซม. หน้าอกแถบขวาและซ้ายระดับราวนมมีบาดแผลยาว 1 ซม. ลึกเข้าภายใน มีโลหิตออกในช่องปอด แสดงว่าจำเลยกับพวกตีและแทงผู้ตาย และผู้เสียหาย ที่อวัยวะสำคัญ ถ้าผู้ถูกทำร้ายปอดแฟบหรือโลหิตออกมามากก็อาจทำให้ตายได้ ซึ่งจำเลยกับพวกย่อมสามารถเล็งเห็นผลในการกระทำของตน จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตาย และพยายามฆ่าผู้เสียหาย / จำเลยทั้งสองร่วมกับพวกพากันไปทำร้ายพนักงานขับรถ ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพที่มีเรื่องกับพวกจำเลย เมื่อพบผู้ตายและผู้เสียหายซึ่งแต่งเครื่องแบบพนักงานองค์การก็ร่วมกันเข้าทำร้ายทันที แม้จำเลยทั้งสองจะไม่ได้แทงผู้ตายและผู้เสียหาย ก็ถือว่าจำเลยทั้งสองเป็นตัวการในการแทงทำร้ายด้วย เพราะจำเลยทั้งสองกับพวกมีเจตนาร่วมกันมาแต่แรก ไม่ใช่กรณีต่างคนต่างทำร้ายโดยไม่ได้นัดหมายกันมาก่อน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3266/2526 จำเลยทั้งสองกับพวกโกรธผู้เสียหายจึงเดินตามไป แล้วเข้าทำร้ายผู้เสียหายทันที ย่อมเป็นการติดตามไป โดยมีเจตนาร่วมกันที่จะทำร้าย และจะต้องทราบดีว่าใครมีอาวุธพกไปบ้าง เพราะเป็นพวกเดียวกัน ต่างมีเจตนาร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายด้วยวิธีการต่าง ๆ เมื่อจำเลยที่ 1 ชกต่อยและใช้มีดพกแทงทำร้ายผู้เสียหายแล้ว ป. จะเข้าไปช่วยเหลือ จำเลยที่ 2ไดใช้เก้าอี้ตี ป. ทันที เพื่อมิให้ ป. เข้าช่วยผู้เสียหาย แล้วจำเลยทั้งสองกับพวกหลบหนีไป ดังนี้ ย่อมเล็งเห็นเจตนาของจำเลยที่ 2 ได้ว่าร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดทำร้ายผู้เสียหายด้วยกัน จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวการในการที่จำเลยที่ 1 พยายามฆ่าผู้เสียหายด้วย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1577/2529 จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ไปที่ร้านซึ่งผู้ตายเป็นลูกจ้างขายอาหาร ต่อมาผู้ตายกับจำเลยที่ 2 โต้เถียงวิวาทกัน ประจักษ์พยานโจทก์ว่าจำเลยทั้งสามใช้ไม้กับเหล็กแป๊ปน้ำตีผู้ตาย แต่ตามรายงานการชันสูตรพลิกศพมีว่า ศีรษะได้รับความกระทบกระเทือนอย่างแรง ไม่ปรากฏบาดแผลตามตัวอีก คงมีแต่บาดแผลที่ศีรษะเท่านั้น ซึ่งจำเลยที่ 2 ให้การว่าใช้เหล็กแป๊บน้ำตีผู้ตาย ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิได้ร่วมฆ่าผู้ตายด้วย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 4230/2530 จำเลยเป็นชู้กับภรรยาผู้ตาย แล้วจำเลยมาพบกับภรรยาผู้ตาย ที่บ้านผู้ตายในเวลากลางคืน โดยให้เพื่อนผู้ชาย 2 คน ไปเฝ้าที่หน้าห้องนอนผู้ตาย เพื่อผู้ตายตื่นขึ้นมา จำเลยจะได้ออกไปทางประตูหน้าได้ทัน แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะให้เพื่อนของตนขัดขวาง ไม่ให้ผู้ตายพบเห็นจำเลยเป็นชู้กับภรรยาผู้ตาย ดังนี้เมื่อเพื่อนของจำเลย ซึ่งนำอาวุธมีดติดตัวมาแทงผู้ตาย จนถึงแก่ความตาย จึงอยู่ในวัตถุประสงค์ของจำเลย ที่มีเจตนาไม่ให้ผู้ตายมาพบเห็นการกระทำของจำเลย ถือได้ว่าจำเลยร่วมกับเพื่อน 2 คนนั้นฆ่าผู้ตาย / แต่การกระทำของเพื่อนจำเลยดังกล่าวเป็นการฆ่าผู้ตาย ขณะลุกจากที่นอนมาที่ประตูห้องนอน เป็นเหตุการณ์เฉพาะหน้า มิได้เกิดจากการไตร่ตรองไว้ก่อน จึงไม่เป็นการฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 5402/2530 ผู้ตายด่า ล.และจำเลยก่อน ล.จึงใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย แม้จำเลยจะไม่ได้พูดจาตกลงกับ ล.ในการที่จะฆ่าผู้ตาย แต่เมื่อ ล.ยิงผู้ตายล้มลง แล้วจำเลยได้วิ่งเข้ามาใช้มีดแทงผู้ตายที่หน้าอก ระหว่างนม เป็นบาดแผลกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 2 เซนติเมตร ลึก 2 เซนติเมตรครึ่ง ในเวลาใกล้เคียงกับเวลาที่ผู้ตายถูกยิง และพูดในลักษณะที่มีความประสงค์จะให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย แสดงว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกับ ล. ในการที่จะฆ่าผู้ตายจำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกับ ล. ฆ่าผู้ตาย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3814/2530 ก่อนเกิดเหตุ จำเลยอยู่ด้วยกันกับพวกของจำเลยและได้วิ่งหนีไปด้วยกัน หลังจากพวกจำเลยได้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย ต่อมาอีก 1 ชั่วโมง จำเลยได้กลับเข้ามาในซอยเกิดเหตุกับพวกของจำเลยซึ่งมีอาวุธปืนยาวติดตัวมา เช่นเดียวกับเหตุการณ์ก่อนหน้านั้น และยังร่วมวิ่งหนีออกจากซอยเกิดเหตุไปด้วยกัน หลังจากจำเลยได้ใช้อาวุธปืนยาวยิงมาที่ผู้เสียหายและพวก กรณีย่อมฟังได้ว่าจำเลยได้ร่วมมาและรู้เห็นกับพวกโดยตลอด ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งสองครั้ง มิใช่เป็นการมาพบกับพวกจำเลยในที่เกิดเหตุโดยบังเอิญ และแม้จำเลยมิได้มีอาวุธปืนติดตัวมาด้วย ทั้งมิได้กล่าวถ้อยคำยุยงให้พวกกระทำการดังกล่าว การกระทำของจำเลย ก็เท่ากับเป็นการสมทบกำลังให้แก่พวกซึ่งเป็นผู้ลงมือกระทำความผิด และเป็นพฤติการณ์อันต้องถือว่าเป็นการร่วมกันกระทำความผิด โดยมีเจตนาประสงค์ต่อผล หรือเล็งเห็นผลที่อาจเกิดขึ้นร่วมกัน จึงเป็นตัวการ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1325/2531 ผู้ตายหยอดเหรียญที่ตู้เพลงในร้านอาหาร แต่เพลงไม่ดัง เพราะจำเลยทั้งสองกับ ว. และ อ. พวกของจำเลยถอดปลั๊กตู้เพลงออก ผู้ตายจึงขอเงินคืน แล้วเกิดเรื่องกันโดย ว. ใช้มีดแทงผู้ตายหลายครั้งจำเลยที่ 1 กับ อ.ใช้ขวดสุราตี ส่วนจำเลยที่ 2 ใช้เก้าอี้ตีผู้ตายผู้เสียหายเข้าไปห้าม ก็ถูกทำร้ายสลบอยู่ในร้านอาหาร เมื่อผู้ตายหนีออกจากร้านอาหารจำเลยทั้งสอง และ อ.ไล่ ตามและตะโกนว่าฆ่ามันให้ตาย และยังได้ตามมาทำร้ายผู้ตายห่างจากที่เกิดเหตุครั้งแรกประมาณ 3 เส้น จนผู้ตายถึงแก่ความตาย แล้วจำเลยทั้งสองยังกลับมาทำร้ายผู้เสียหายซึ่งนอนสลบอยู่อีก ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดฐานร่วมกับผู้อื่นฆ่าผู้ตาย และทำร้ายร่างกายผู้เสียหายรวม 2 กรรม

- คำพิพากษาฎีกาที่ 6029/2531 จำเลยทั้งสองกับพวกใช้รถยนต์เป็นพาหนะไปที่บ้านผู้ตายโดยจำเลยที่ 2 แสร้งทำเป็นพ่อค้าเร่ขายจักรเย็บผ้า จำเลยที่ 1 กวักมือเรียกผู้ตายให้ออกจากบ้านแล้วยิงผู้ตาย ในขณะที่จำเลยที่ 2 ถือปืนคุ้มกัน แล้วจำเลยทั้งสองขึ้นรถหลบหนีไปด้วยกัน ดังนี้ เป็นการแบ่งหน้าที่กันทำโดยมีการเตรียมอาวุธ ยานพาหนะและวางแผนไว้ก่อนแล้ว การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3393/2532 จำเลยโกรธผู้ตาย จึงพาพวกมาแก้แค้นผู้ตาย จำเลยทราบดีว่าพวกของจำเลยมีมีดและท่อนไม้ เป็นอาวุธติดตัวไปด้วย เมื่อพวกของจำเลยเข้าชกต่อยผู้ตายลงไปในคลอง แล้วตามไปใช้ไม้ตี และใช้มีดแทงฆ่าผู้ตายถึงแก่ความตาย แม้จำเลยจะไม่ได้ลงมือฆ่าผู้ตาย แต่การที่จำเลยเฝ้าดูพวกของจำเลยฆ่าผู้ตาย และฉุดมือภริยาผู้ตาย มิให้เข้าไปช่วยเหลือผู้ตาย ปล่อยให้พวกของจำเลยฆ่าผู้ตายจนถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าจำเลยได้ร่วมเป็นตัวการ ฐานร่วมกับพวกฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาแล้ว

- คำพิพากษาฎีกาที่ 231/2542 การที่จำเลยร่วมกับพวกอีก 2 คน มีลูกระเบิดติดตัว บุกรุกเข้าไปในบ้านของผู้เสียหายที่ 1 ดึง ส. ออกไปที่ประตูรั้วหน้าบ้าน เมื่อ ส. สะบัดตัวหลุดและผู้เสียหายที่ 1 บอกให้จำเลยกับพวกมาพูดกันใหม่ในวันหลัง จำเลยกับพวกย่อมมีความไม่พอใจ การที่จำเลยกับพวกขว้างลูกระเบิดมาที่หน้าบ้านของผู้เสียหายที่ 1 ภายหลังจากที่พากันขับรถจักรยานยนต์ออกไปได้เล็กน้อย พฤติการณ์ของจำเลยแสดงว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกับพวกกระทำความผิดด้วยกัน

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2642/2542 จำเลยที่ 2 ที่ 5 และที่ 8 มีเจตนาร่วมวิวาททำร้ายผู้ตายกับพวกมาแต่แรก อีกทั้งได้ลงมือทำร้ายผู้ตายกับพวกโดยร่วมกันชกต่อยและใช้ไม้ตี ถึงแม้ผู้ตายจะถึงแก่ความตาย เพราะถูกแทง โดยไม่รู้ว่าจำเลยคนไหนเป็นคนแทง จำเลยที่ 2 ที่ 5 และที่ 8 ก็มีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันทำร้าย จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย การที่จำเลยกับพวกฝ่ายหนึ่งและผู้ตายกับพวกอีกฝ่ายหนึ่ง สมัครใจวิวาทต่อสู้ทำร้ายกัน แม้แต่ละฝ่ายมีหลายคน แต่เมื่อสามารถรู้และแบ่งพวกกันได้ หาใช่เป็นความผิดฐานเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้กันเป็นเหตุให้มีบุคคลถึงแก่ความตายไม่

ไม่มีความคิดเห็น: