ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

อาญา มาตรา ๒๐๐ - ๒๐๕

หมวด 2 ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม

มาตรา 200 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาหรือจัดการให้เป็นไปตามหมายอาญา กระทำการ หรือไม่กระทำการอย่างใด ๆ ในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบ เพื่อจะช่วยบุคคลหนึ่งบุคคลใดมิให้ต้องโทษ หรือให้รับโทษน้อยลง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท

ถ้าการกระทำหรือไม่กระทำนั้น เป็นการ เพื่อจะแกล้งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดต้องรับโทษ รับโทษหนักขึ้น หรือต้องถูกบังคับตามวิธีการเพื่อความปลอดภัย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท

- กรณีกระทำการ หรือไม่กระทำการ เพื่อจะช่วยฯ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 211/2501 พลตำรวจสมคบกับผู้อื่นลักทรัพย์ ไม่มีความผิด ฐานช่วยให้ผู้กระทำผิดพ้นอาญา Ø แม้จำเลยเป็นตำรวจมีหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายก็ตาม ก็ลงโทษจำเลยฐานใช้อำนาจและตำแหน่งหน้าที่ในทางทุจริตตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 142 (ตรงกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200) ไม่ได้ ในเมื่อจำเลยสมคบกับพวก พยายามลักทรัพย์ทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์เสียเอง จึงมิได้ใช้ตำแหน่งหน้าที่ช่วยเหลือจำเลยอื่นกระทำผิด หรือช่วยเหลือให้พ้นอาญา Ø บทบัญญัติตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 142 เป็นกรณีเจ้าพนักงานช่วยเหลือผู้กระทำผิดมิให้ต้องรับอาญา มิใช่เอาผิดแก่เจ้าพนักงานผู้กระทำผิดเสียเอง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1670/2509 จำเลยเป็นตำรวจประจำกองบังคับการตำรวจดับเพลิง ได้สมคบ กับจำเลยอื่นแสดงตัวกับผู้เสียหายว่าเป็นตำรวจ จะจับตัวผู้เสียหาย ฐานขายยาผิดประเภท แต่จำเลยกลับเรียกเอาเงินจากผู้เสียหาย เพื่อไม่จับกุมดำเนินคดีดังกล่าว จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยจะอ้างว่าเป็นตำรวจดับเพลิง มีหน้าที่ดับเพลิงเท่านั้น ไม่มีอำนาจสอบสวนสืบสวนเพื่อจับกุมผู้กระทำผิดอาญาหาได้ไม่ เพราะหน้าที่การดับเพลิงนั้นเป็นหน้าที่เฉพาะตามที่ทางราชการแต่งตั้งให้ปฏิบัติ แต่โดยทั่วไปแล้ว จำเลยย่อมมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เมื่อจำเลยได้เรียกและรับเอาเงินจากผู้เสียหาย เพื่อไม่จับกุมดำเนินคดีอาญา ฐานขายยาผิดประเภท จำเลยย่อมมีความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่

- คำพิพากษาฎีกาที่ 717/2511 จำเลยมีปากเสียงกับพวกผู้ตายก่อนเกิดเหตุ เมื่อผู้ตายเดินมาหาพวก ซึ่งพากันออกมายืนหน้าร้านพร้อมกับจำเลย ผู้ตายก้มลงเก็บของตกห่างจำเลยประมาณ 2 วา จำเลยซึ่งมีอาการเมาสุราอยู่ด้วยสำคัญผิดว่าผู้ตายจะทำร้ายตนจึงชักปืนยิงผู้ตายเช่นนี้เป็นการเข้าใจ โดยไม่มีเหตุอันควร และแม้ความสำคัญผิดจะเกิดจากความประมาทก็เป็น การกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตัวที่เกินสมควรแก่เหตุ Ø ความผิดฐานลอบฝัง ซ่อนเร้น ย้ายหรือทำลายศพตาม มาตรา199 จะต้องกระทำด้วยความมุ่งหมายเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตาย จึงจะเข้าองค์ประกอบความผิด Ø ความผิดตามมาตรา 200 ฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำหรือละเว้นกระทำในตำแหน่งอันมิชอบ จะต้องมีความมุ่งหมายเพื่อช่วยบุคคลอื่น จึงจะเป็นความผิดตามมาตรานี้ หากเพื่อช่วยเหลือตัวผู้กระทำผิดเอง และเกิดเสียหายแก่ผู้อื่น ย่อมเป็นความผิดตาม มาตรา 157

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2631 - 2532/2515 กำนัน ปลัดอำเภอ เป็นพนักงานฝ่ายปกครอง มีหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดเสมียนปกครองไม่ใช่พนักงานฝ่ายปกครองไม่มีหน้าที่จับผู้กระทำผิด Ø จำเลยทั้งสามเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำบัตรประจำตัวให้ประชาชนได้ร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบเรียก และรับเงินจากราษฎร ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติบัตรประชาชน .. 2505 เพื่อจะได้ทำบัตรประจำตัวประชาชนให้ และทั้งนี้เพื่อช่วยให้ราษฎรผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินั้นไม่ต้องรับโทษด้วย จำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 จำเลยที่เป็นกำนันและปลัดอำเภอเป็นพนักงานฝ่ายปกครอง มีหน้าที่สืบสวนมีความผิดตามมาตรา 200 ด้วย ส่วนเสมียนปกครอง เป็นผู้สนับสนุนตามมาตรา 200 ประกอบด้วย มาตรา 86

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1202/2520 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 232 ที่บัญญัติห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานนั้น หมายถึงห้ามโจทก์อ้างตัวจำเลยเป็นพยานของโจทก์เท่านั้น ฉะนั้นถึงแม้ร้อยเอกจุลจะเคยถูกฟ้องร่วมกับจำเลยทั้งสามมาก่อนศาลก็ได้สั่งให้แยกฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ต่างหาก จากคดีที่ร้อยเอกจุลเคยถูกฟ้องร่วมกับจำเลยทั้งสาม โจทก์จึงอ้างร้อยเอกจุลเป็นพยานได้ โดยขณะที่ร้อยเอกจุลเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้ ร้อยเอกจุลมิได้อยู่ในฐานะเป็นจำเลย Ø การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจสืบสวนสอบสวนและจับกุมผู้กระทำผิด ได้ทราบแล้วว่านายเซ่งเป็นคนยิงนายชาญตาย แต่ไม่ทำการจับกุมอันเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 200 ทั้งยังร่วมกันขนย้ายศพนายชาญผู้ตายไปทิ้งเพื่อปิดบังการตายอันเป็นความผิดตาม มาตรา 199 นอกจากนี้ยังร่วมกันโกยเลือดนายชาญไปทิ้งที่อื่นอันเป็นความผิดฐานทำลายพยานหลักฐานในการกระทำผิดตามมาตรา 184 เช่นนี้ แม้การกระทำของจำเลยทั้งสามจะเป็นการกระทำหลายอย่าง แต่ก็ด้วยเจตนาอันเดียวกัน คือเพื่อช่วยเหลือมิให้ผู้กระทำผิดต้องรับโทษและเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นกรรมเดียวกัน แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1623/2521 การช่วยบุคคลหนึ่งบุคคลใด ที่กระทำผิดกฎหมาย มิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง อันเป็นความผิดตาม มาตรา 200 นั้น หมายถึงการช่วยเหลือผู้กระทำผิด ทั้งที่ได้ตัวมาเป็นผู้ต้องหาแล้ว และที่ยังไม่ได้ตัวมาเป็นผู้ต้องหาด้วย

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3278/2522 กรณีจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติเฉพาะแต่ตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรง ตามที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่นั้น ๆ เท่านั้น Ø การที่จะมีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องผู้ต้องหาตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจนั้น เป็นอำนาจของอธิบดีกรมอัยการตาม ป.วิ.. มาตรา 145 เมื่อได้ความว่าจำเลยได้ลอบทำบันทึกสั่งไม่ฟ้อง จ. กับพวก และมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องไปยังอธิบดีกรมตำรวจ ภายหลังจากวันที่จำเลยพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 Ø จำเลยเป็นพนักงานอัยการตำแหน่งรองอธิบดีกรมอัยการ แม้จะพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว แต่รู้อยู่แล้วว่าอธิบดีกรมอัยการคนก่อนได้มีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้อง จ. กับพวก ตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจ ระหว่างที่จำเลยยังไม่ได้มอบงานให้ ก. รองอธิบดีกรมอัยการซึ่งจะเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแทนจำเลย จำเลยย่อมมีหน้าที่ดูแลปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน ซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน ซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่จำเลยกลับลอบทำบันทึกสั่งไม่ฟ้อง จ. กับพวก แล้วลอบแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องนั้นไปยังอธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีเจตนาป้องกันหรือขัดขวางมิให้การเป็นไปตามคำสั่งของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน เพื่อจะช่วย จ. กับพวกมิให้ ต้องโทษ จนอธิบดีกรมตำรวจได้แจ้งคำสั่งของจำเลยดังกล่าว ให้ผู้ร้องทุกข์และผู้ต้องหาทราบทุกคนแล้วเช่นนี้จำเลยจึงต้องมี ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 165, 200 Ø เมื่ออธิบดีกรมอัยการชี้ขาดให้ฟ้องคดีตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจแล้ว คำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการเป็นอันถึงที่สุด ตาม ป.วิ.. มาตรา 145 พนักงานอัยการต้อง ฟ้องคดีไปตามนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีไปตามนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติ แห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาชี้ขาด ใหม่ได้ อธิบดีกรมอัยการจึงไม่มีอำนาจที่จะชี้ขาดกลับคำสั่ง ของตนได้อีก Ø . เป็นพนักงานอัยการ กรมอัยการ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการสั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้ช่วยอัยการพิเศษฝ่ายคดี (อาญา) รับผิดชอบงานอุทธรณ์ส่วน ย. เป็นพนักงานอัยการได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการได้สั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่หัวหน้าพนักงานอัยการกอง7 กับมีระเบียบว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาชั้นอุทธรณ์และฎีกาในส่วนราชการใดของกรมอัยการให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมอัยการมีคำสั่ง การที่อธิบดีกรมอัยการสั่งในคำชี้ขาดให้ฎีกาว่าให้ พ. และ ย. ร่วมกันทำฎีกาส่งมารับรองเพื่อส่งศาลฎีกาต่อไป ถือได้ว่าอธิบดี กรมอัยการทำคำสั่งเรื่องตาม พ...พนักงานอัยการ พ..2498 มาตรา 15 ให้ พ. และ ย. มีอำนาจดำเนินคดีในชั้นฎีกา ตามนัยดังกล่าว พ.จึงมีอำนาจลงชื่อเป็นผู้ฎีกา และ พ. กับ ย. มีอำนาจลงชื่อ เป็นผู้เรียงได้ในคำฟ้องฎีกา

- คำพิพากษาฎีกาที่ 929/2525 การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวน เอาไปเสียซึ่งคำให้การฉบับ เดิมของผู้ต้องหาและผู้กล่าวหาซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ปกครองดูแลรักษา โดยเจตนาเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหามิให้ต้องโทษ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2212/2526 พนักงานสอบสวนไม่ดำเนินการต่อไปตามหน้าที่ โดยเห็นว่านายอำเภอจะเอาไม้ไปทำฝายกั้นน้ำเพื่อสาธารณประโยชน์ จึงปล่อยตัวผู้ต้องหาและของกลางไป มีความผิดตาม ป.. มาตรา 157 , 200

- คำพิพากษาฎีกาที่ 300/2527 จำเลยที่ 1 เป็นนายอำเภอ จึงเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 และเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วยในการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับป่าสงวนแห่งชาติจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจสืบสวน สอบสวนความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ ความผิดต่อพระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ หรือความผิดอาญาอื่นใดที่เกิดขึ้นภายในเขตอำนาจของตนได้ระเบียบของกระทรวงมหาดไทยที่ให้ตำรวจเป็นผู้ทำการสอบสวนฝ่ายเดียวนั้นเป็นแต่ระเบียบภายในกระทรวง หาได้ลบล้างอำนาจตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ Ø จำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปจับกุมผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ ป่าไม้และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติด้วยตนเองได้ทั้งผู้ต้องหาและไม้กับรถยนต์มาเป็นของกลาง การที่จำเลยที่ 1 สั่งให้สิบตำรวจเอกพ. ทำบันทึกว่าได้แต่ไม้ของกลางอย่างเดียว แสดงว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์จะช่วยผู้กระทำความผิดไม่ให้ต้องรับโทษและในการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยผู้ต้องหาไปนั้น จำเลยที่ 1 ได้เป็นผู้สั่งการและรู้เห็นด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 Ø จำเลยที่ 2 เป็นป่าไม้อำเภอ ได้ร่วมไปจับกุมผู้ต้องหากับจำเลยที่ 1 ด้วย ชั้นแรกจำเลยที่ 2 ได้ให้สิบตำรวจเอก พ. เขียนบันทึกการจับกุมว่าได้ผู้ต้องหา 7 คน แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้สั่งให้ทำบันทึกการจับกุมขึ้นใหม่ว่าจับผู้ต้องหาไม่ได้เลย และให้ผู้ร่วมจับกุมรวมทั้งจำเลยที่ 2 ลงชื่อไว้ การที่จำเลยที่ 2 ยอมลงชื่อในบันทึกการจับกุมฉบับหลังนั้น จำเลยที่ 2 ย่อมทราบอยู่แล้วว่าบันทึกฉบับนี้ทำขึ้นฝ่าฝืนต่อความจริงเพื่อจะช่วยเหลือผู้ต้องหาที่ถูกจับมิให้ต้องรับโทษ จำเลยที่ 2 ทราบดีว่าคำสั่งของจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 จะอ้างว่ากระทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาหาได้ไม่ จำเลยที่ 2 ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ด้วย Ø ทั้งจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นสารวัตรปกครองป้องกัน และจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนต่างทราบแล้วว่า ผู้ต้องหาทั้ง 7 คนที่ถูกจับมาต้องหาว่ากระทำผิดฐานลักลอบตัดไม้ในป่า แต่แทนที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 จะดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาในข้อหาดังกล่าว จำเลยที่ 3 กลับตั้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหาเหล่านี้ว่ากระทำผิดฐานขับขี่รถยนต์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่และไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนติดตัวและให้จำเลยที่ 4 ทำการเปรียบเทียบปรับแล้วปล่อยผู้ต้องหาและรถของกลางไป การกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 4จึงเป็นการกระทำการในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบเพื่อจะช่วยเหลือผู้กระทำผิดมิให้ต้องรับโทษ จำเลยที่ 3 ที่ 4 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 และที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 อ้างว่าปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชานั้น เมื่อคำสั่งของผู้บังคับบัญชาในเรื่องนี้มิใช่คำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจำเลยที่ 3 ที่ 4 ทราบดีอยู่แล้วจึงจะอ้างมาเป็นเหตุยกเว้นโทษหาได้ไม่ Ø จำเลยที่ 5 เป็นสารวัตรใหญ่ซึ่งทราบดีว่าในการจับกุมผู้ลักลอบตัดไม้รายนี้ นอกจากไม้แล้วยังได้ตัวผู้ต้องหาและได้รถยนต์บรรทุกไม้มาเป็นของกลางด้วย แต่จำเลยที่ 5 กลับบิดเบือนข้อเท็จจริง ว่าไม่มีผู้กระทำผิด และให้มีการเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาในข้อหาอื่นที่มิใช่ข้อหาเกี่ยวกับการลักลอบตัดไม้ และเป็นผู้สรุปความเห็นให้งดการสอบสวนเสนอต่อผู้กำกับการตำรวจว่าจับไม้ไม่ได้ตัวผู้กระทำผิด ได้แต่ไม้ของกลาง การกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าวจึงเป็นการร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ช่วยเจ้าของรถยนต์ เจ้าของไม้ และช่วยผู้ต้องหาที่ถูกจับมิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลงอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200

- คำพิพากษาฎีกาที่ 4436/2531 การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจสืบสวนสอบสวนคดีอาญา ได้รับแจ้งความจาก ช. ว่ามีคนร้ายลักเรือและเครื่องยนต์ของผู้เสียหายไป แต่ไม่ยอมลงรับแจ้งความในประจำวันเป็นหลักฐาน และเมื่อจับคนร้ายที่ลักทรัพย์ดังกล่าวแล้ว จำเลยกลับปล่อยตัวคนร้ายไปเสีย ถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายตาม มาตรา 157 และยังเป็นการกระทำการในตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการมิชอบ เพื่อจะช่วยคนร้ายมิให้ต้องโทษตามมาตรา 200 วรรคแรก การกระทำของจำเลย เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษ ตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทหนัก

- คำพิพากษาฎีกาที่ 929/2537 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 139 บัญญัติว่า ให้พนักงานสอบสวนบันทึกการสอบสวนตามหลักทั่วไปในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยการสอบสวนและให้เอาบันทึกเอกสารอื่นซึ่งได้มา อีกทั้งบันทึกและเอกสารทั้งหลายซึ่งเจ้าพนักงานอื่นผู้สอบสวนคดีเดียวกันนั้นส่งมารวมเข้าสำนวนไว้ดังนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะพนักงานสอบสวนจึงต้องนำบันทึกคำให้การซึ่งเป็นบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาและผู้กล่าวหาฉบับเดิมที่จำเลยที่ 1 เป็นคนร่วมสอบสวนและบันทึกรวมเข้าสำนวนไว้ จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าได้ทำบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาและผู้กล่าวหาใหม่แล้ว ของเดิมไม่สำคัญ หรือผู้ให้ถ้อยคำไม่ประสงค์จะใช้ของเดิมจึงไม่นำเข้ารวมสำนวนไว้ ย่อมไม่อาจกระทำได้ / การเอาไปเสียซึ่งคำให้การฉบับเดิมของผู้ต้องหาและผู้กล่าวหาซึ่งจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งพนักงานสอบสวน มีหน้าที่ปกครองดูแลรักษา โดยเจตนาเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหามิให้ต้องโทษ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการโดยมิชอบ เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหา ตาม ป.อ. มาตรา 200 วรรคแรก และทำให้ผู้กล่าวหาและกรมตำรวจเสียหาย อันเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามมาตรา 157 ด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดกรรมเดียว

- กรณีไม่ใช่กระทำการ หรือไม่กระทำการ เพื่อจะช่วยฯ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1620/2506 จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นเจ้าพนักงาน(ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน) ร่วมกันละเว้นไม่นำปืน(ของกลาง)มีทะเบียนของผู้อื่นที่ตกอยู่กับคนร้ายซึ่ง ถูกเจ้าทรัพย์กับพวกยิงตาย ส่งพนักงานสอบสวนตามหน้าที่ โดยทุจริต ก็เป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 แล้ว ส่วนที่ยังร่วมกันกล่าวหาว่าเจ้าของปืนกระทำผิดส่งปืนนั้นให้คนร้าย ให้เจ้าของปืนหาเงินมามอบให้จำเลยและจำเลยยังได้ขูดลบเลขทะเบียนปืนเดิมออก ตอกเลขใหม่โดยว่าเพื่อจะช่วยมิให้พนักงานสอบสวนรู้ว่าปืนของกลางเป็นของเจ้าของปืน โดยความจริงจำเลยก็รู้อยู่ว่าเจ้าของปืนมิได้กระทำผิดในเรื่องคนร้ายเอาอาวุธปืนไปเลยนั้น การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เพื่อช่วยเจ้าของปืนมิให้ต้องรับโทษ หรือให้รับโทษน้อยลงด้วยจึงคงเป็นผิดตามมาตรา 148 และมาตรา 265 อีกเท่านั้น และไม่เป็นผิดตามมาตรา 184 และมาตรา 200

- คำพิพากษาฎีกาที่ 717/2511 มาตรา 200 ต้องมุ่งหมาย เพื่อช่วย บุคคลอื่นถ้าช่วยเหลือตนเองและเกิดเสียหายแก่บุคคลอื่น ถือว่าเป็นความผิดอาญามาตรา 157

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2707/2530 การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจปล่อยตัวนาย ข. ที่ เข้าไปคว้าเงินของผู้เสียหายภายในร้าน โดยไม่ส่งตัวไปให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีเพราะจำเลยเห็นว่า นาย ข. เป็นสายลับตำรวจเข้าไปยึดเงินดังกล่าวเพื่อเป็นหลักฐานในการเล่นการพนันนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยเข้าใจและใช้ดุลพินิจว่านาย ข. ไม่ได้กระทำผิดฐานชิงทรัพย์ การกระทำของจำเลยจึงไม่มีเจตนาจะช่วยเหลือนาย ข. มิให้ต้องรับโทษ ยังไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200.

- กรณีกระทำการ หรือไม่กระทำการ เพื่อจะแกล้งฯ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 398/2503 กำนันจับผู้อื่น เพื่อจะแกล้งให้ต้องรับโทษทางอาญา ผิด มาตรา 200

- คำพิพากษาฎีกาที่ 177/2508 การที่โจทก์ถูกจำเลยควบคุมในข้อหาเป็นบุคคลอันธพาลตาม ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 นั้น มิใช่เป็นโทษหรือเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 และ39 แม้จำเลยจะกระทำเพื่อแกล้งโจทก์ก็ไม่เป็นผิดตาม มาตรา 200

- กรณีไม่ใช่กระทำการ หรือไม่กระทำการ เพื่อจะแกล้งฯ

- คำพิพากษาฎีกาที่ 975/2531 จำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ในข้อหาดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ โดยบรรยายฟ้องเป็นสองตอน คือตอนแรกเป็นข้อความที่อ้างว่าโจทก์เป็นผู้กล่าวซึ่งได้ระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศส่วนตอนหลังมีใจความเป็นการแปลหรืออธิบายความหมายของข้อความในตอนแรก ดังนี้ เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) ประกอบด้วยแล้ว แสดงว่าข้อความที่พนักงานอัยการระบุไว้ในเครื่อง - หมายอัญประกาศ คือ "ถ้อยคำพูด" ที่พนักงานอัยการต้องกล่าวไว้ในฟ้องตามบทกฎหมายดังกล่าว และข้อความตอนหลังเป็นการอธิบายความหมายเท่านั้น เมื่อข้อความที่โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยบรรยายฟ้อง อันเป็นความเท็จเป็นส่วนหนึ่งของคำบรรยายฟ้อง ในตอนหลังและมีลักษณะเป็นการอธิบายความหมายด้วยเช่นกัน จึงเห็นได้ว่าข้อความที่โจทก์อ้างว่าเป็นเท็จนั้น พนักงานอัยการมีความประสงค์ จะอธิบายความหมายของถ้อยคำพูดของโจทก์เท่านั้น แม้จะใช้ถ้อยคำผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปบ้าง กรณีก็ไม่อาจถือได้ว่าพนักงานอัยการยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 และจำเลยย่อมไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์แต่อย่างใด กับไม่มีมูลเป็นความผิดตาม มาตรา 157 ด้วย

- ประเด็นตามกฎหมายวิธีพิจารณาความ ผู้เสียหาย + การร่างฟ้อง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2281/2534 คำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงองค์ประกอบอันเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 การเพิ่มเติมเฉพาะบทมาตรา 200 ในคำขอท้ายฟ้อง จึงไม่มีผลทำให้ศาลลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้ กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมฟ้องได้ Ø จำเลยละเว้นไม่จับกุมผู้ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจร แม้เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่จำเลยมิได้กระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง Ø .บอกจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจว่าโจทก์หยิบอาวุธปืนสั้นออกมาจากรถ การที่จำเลยตรวจค้นรถโจทก์จึงเป็นการกระทำโดยมีเหตุอันสมควรที่จะตรวจค้น มิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ

- ผู้เสียหายในความผิดที่ผู้ต้องหาถูกดำเนินคดีถือเป็นผู้เสียหาย ในความผิดที่เจ้าพนักงานช่วยเหลือผู้กระทำผิดด้วย ฎ 2294/2517 / หากไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดที่ผู้ต้องหาถูกดำเนินคดี ก็ไม่อาจเป็นผู้เสียหายในความผิดที่เจ้าพนักงานช่วยเหลือผู้ต้องหา ฎ 2239/252

- กฎหมายที่เกี่ยวข้อง / / 148-149 + 200-201 จพ เรียกสินบน / 157 ตาม ม 148-149 / 288-289 ชีวิต / 295-298 ร่างกาย / 309-313 เสรีภาพ / 337 บททั่วไป / 392 / ปวิอ ม 17 พนักงานสืบสวนคดีอาญา (พอ))

มาตรา 201 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการ พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี หรือพนักงานสอบสวน เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการ หรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือประหารชีวิต

มาตรา 202 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการ พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี หรือพนักงานสอบสวน กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด ๆ ในตำแหน่ง โดยเห็นแก่ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งตนได้เรียก รับหรือยอมจะรับไว้ ก่อนที่ตนได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือประหารชีวิต

มาตรา 203 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาล ป้องกันหรือขัดขวางมิให้การเป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


มาตรา 204 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีตำแหน่งหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ที่ต้องคุมขังตามอำนาจศาล ของพนักงานสอบสวนหรือของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ผู้ที่อยู่ในระหว่างคุมขังนั้น หลุดพ้นจากการคุมขังไป ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท

ถ้าผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังไปนั้น เป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากษาของศาลหนึ่งศาลใดให้ลงโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไป หรือมีจำนวนตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึงสองหมื่นบาท

- ข้อสังเกต

- มาตรา 204 ต่างกับ มาตรา 191 ตรงที่ มาตรา 191 เจ้าพนักงานตาม มาตรา 191 มีอำนาจควบคุม แต่ไม่มีหน้าที่โดยเฉพาะในการควบคุมดูแล

- การควบคุมตัว

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1008/2499 (จากหมายเหตุ ท้าย ฎ 3598/2531 สต) หมายจับซึ่งออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมใช้ไม่ได้ ผู้ถูกจับหลบหนีจากการควบคุม อันเป็นกรณีปลายเหตุของต้นเหตุที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมไม่มีความผิด

- คำพิพากษาฎีกาที่ 298/2509 หากการควบคุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ต้องหาไม่มีความผิดฐานหลบหนีตาม ม 190 (ควบคุมเกินกำหนดเวลาตาม ปวิอ ม 87)

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2159/2518 นายสิบตำรวจพบกัญชาที่ ว แต่เรียกเอาเงินจาก ว.เพื่อไม่จับดำเนินคดี เป็นการรับสินบนตาม ม 149 ไม่ใช่ ม 148 เช่นแกล้งจับโดย ไม่มีความผิดแล้วเรียกเอาเงิน ทั้ง ไม่ต้องปรับด้วย ม 157” ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก แต่การเรียกเงิน เพื่อไม่จับ ยังไม่เป็นการคุมขัง จึงไม่เป็นความผิดตาม ม 204 อันเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ส่วนราษฎร ผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตาม ม 149 , 86

- คำพิพากษาฎีกาที่ 3598/2531 แม้การที่พนักงานสอบสวนจะรับตัวผู้ต้องหาควบคุมไว้ โดยมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลของหมายขัง อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 ก็ตาม แต่การควบคุมนั้น ก็ยังคงเป็นการควบคุมตามอำนาจของพนักงานสอบสวนอยู่ ดังนั้นจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ต้องคุมขัง ตามอำนาจของพนักงานสอบสวน ได้ปล่อยตัวผู้ต้องคุมขังไป จึงเป็นการกระทำให้ผู้ที่อยู่ในระหว่างคุมขังนั้น หลุดพ้นจากการคุมขัง จำเลยจึงมีความผิดตาม มาตรา 204

- คำพิพากษาฎีกาที่ 4677/2534 (ผิด ม 204 ไม่ผิด ม 157) จำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนปล่อยตัวผู้ต้องหารวม 3 คน แล้ว นำผู้มีชื่อเข้าเป็นผู้ต้องหาแทนขณะควบคุมผู้ต้องหาทั้งสามดังกล่าวกับพวก จากศาลจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อไปคุมขังที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอพระประแดง แต่จำเลยมิได้เรียกหรือรับเงินจากผู้ต้องหา เป็นการตอบแทนที่จำเลยปล่อยผู้ต้องหาดังกล่าวไป ทั้งผู้มีชื่อที่จำเลยนำเข้ามาแทนผู้ต้องหาทั้งสามที่จำเลยปล่อยตัวไป ก็ไม่ปรากฏว่าเข้ามาแทนที่โดยไม่สมัครใจ ส่วนศาลจังหวัดสมุทรปราการ แม้จะได้อนุญาตให้ผัดฟ้องฝากขังผู้ต้องหาตามคำร้องของพนักงานสอบสวน ก็เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้เพื่อควบคุมการดำเนินคดีของพนักงานสอบสวนให้เป็นไปโดยถูกต้อง มิใช่ผู้ที่จะเข้าไปมีส่วนรับผิดชอบจากการดำเนินคดีหรือไม่ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาแต่อย่างใด คดีจึงยังไม่พอฟังว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ ผู้มีชื่อ หรือโดย เจตนาทุจริต อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 204 วรรคสอง เท่านั้น

- กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ผู้ที่อยู่ในระหว่างคุมขังนั้น หลุดพ้นจากการคุมขังไป

- คำพิพากษาฎีกาที่ 2/2503 จำเลยเป็นตำรวจอยู่เวรรักษาการอยู่ที่สถานีตำรวจ ได้พาผู้ต้องขังตามหมายของศาล ไปเสียจากที่คุมขังบนสถานีตำรวจ ไปเที่ยวหาความสำราญในตลาด แม้จำเลยจะไปกับผู้ต้องขังด้วย ก็ไม่ถือว่าเป็นการควบคุม ผิด ม 204


มาตรา 205 ถ้าการกระทำดังกล่าวในมาตรา 204 เป็นการกระทำ โดยประมาท ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังไปด้วยการกระทำโดยประมาทนั้น เป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากษาของศาลหนึ่งศาลใดให้ลงโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไป หรือมีจำนวนตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าผู้กระทำความผิด จัดให้ได้ตัวผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขัง คืนมาภายในสามเดือน ให้งดการลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดนั้น

- ประเด็นเรื่องการควบคุมตัว

- คำพิพากษาฎีกาที่ 298/2509 ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 43 มีความมุ่งหมายว่าไม่ประสงค์จะให้ควบคุมบุคคลไว้ตลอดไป โดยไม่มีกำหนดระยะเวลา จึงกำหนดให้คณะกรรมการพิจารณาและมีคำสั่งทุกระยะ 3 เดือนว่าให้ควบคุมต่อไปหรือให้ปล่อยไป คณะกรรมการมิได้พิจารณาและมีคำสั่งให้ควบคุมตัว การควบคุมในช่วงระยะเวลานั้น จึงไม่ชอบ แต่การที่คณะกรรมการไม่มีคำสั่งให้ทันเมื่อครบ 3 เดือน จนเวลาล่วงมาระยะหนึ่งดังกล่าว จึงได้พิจารณา มีคำสั่งให้ควบคุมตัว ป. ไว้ต่อไป ต้องถือว่า ป. ได้กลับถูกควบคุมไว้โดยชอบด้วยประกาศดังกล่าวอีก เมื่อ ป. หลบหนีการควบคุม จำเลยซึ่งมีหน้าที่ควบคุมต้องมีความผิดตาม มาตรา 205

- การกระทำโดยประมาท

- คำพิพากษาฎีกาที่ 1116/2508 จำเลยที่ 1 เป็นเวรควบคุมนักโทษในแดน 1 ตั้งแต่ 12.00 - 18.00 นาฬิกา ก่อนจะออกเวรพ้นหน้าที่จะต้องมอบหน้าที่ให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นยามภายในแดน 1 มอบหน้าที่ยามภายนอกและลูกกุญแจตึกขังให้ ส. ผู้มารับหน้าที่ต่อ แต่เมื่อใกล้ 18.00 นาฬิกา จำเลยที่ 2 มารับหน้าที่คนเดียว จำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นยามภายในห้องขังใส่กุญแจตึกขังแล้ว ฝากลูกกุญแจตึกขังไว้กับจำเลยที่ 2 แล้วจะทิ้งหน้าที่ไป เป็นช่องทางให้นักโทษใช้อุบายออกจากห้องขังแล้วจับหรือบังคับจำเลยที่ 2 ให้มอบลูกกุญแจไขตึกขังหลบหนีการควบคุมไปได้ดังนี้เป็นเพราะความประมาทปราศจากความระมัดระวังอย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 1 ผิดตามมาตรา 205 / จำเลยที่ 2 รู้ดีว่า ส.จะต้องมารับยามภายนอกและรักษาลูกกุญแจตึกขัง ตามวิสัยและพฤติการณ์ไม่สมควรรับฝากลูกกุญแจตึกขังไว้ เพราะนักโทษอาจออกจากห้องขังมาบังคับเอาลูกกุญแจตึกขังหนีไปได้ และน่าจะรู้ดีว่า ทางเรือนจำวางระเบียบให้มียามภายนอกในเวลากลางคืน ก็เนื่องจากจะให้มีเจ้าหน้าที่ช่วยกันดูแลเป็นชั้น ๆ เมื่อมีเหตุร้ายจะได้ช่วยกันระงับได้ทันท่วงที การยอมรับฝากลูกกุญแจจึงเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ละทิ้งหน้าที่เป็นเหตุให้นักโทษหลบหนีที่คุมขังออกไป ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 2 ยอมรับฝากลูกกุญแจตึกขังไว้จากจำเลยที่ 1 นับว่าเป็นความประมาทอย่างร้ายแรง นักโทษได้ลูกกุญแจจากจำเลยที่ 2 ไขประตูตึกขังหลบหนีไปได้ จึงเป็นเพราะความประมาทปราศจากความระมัดระวังอย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 2 ด้วย / ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 205 วรรคท้าย เป็นเรื่องให้งดการลงโทษผู้กระทำผิด ในเมื่อผู้กระทำผิดสามารถจัดให้ได้ตัวผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังคืนมาภายในใน 3 เดือน จะจัดโดยวิธีใดก็ได้ มิใช่จะต้องให้โอกาสผู้กระทำผิดไปติดตามผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังเสียก่อน แล้วจึงจะสอบสวนฟ้องร้องลงโทษจำเลยได้

- คำพิพากษาฎีกาที่ 13/2525 จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ราชภัณฑ์อยู่เวรควบคุมผู้ต้องขัง ซึ่งออกมารักษาตัวทีโรงพยาบาลกลาง มิได้ปฏิบัติตามระเบียบของกรมราชทัณฑ์ ที่ให้ล่ามโซ่ผู้ต้องขังไว้กับเตียงในตอนกลางคืน และยังนั่งหลับอยู่ที่ระเบียงนอกห้องคุมขังด้วย เมื่อผู้ต้องขังหลบหนีไป จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.. .205

- การควบคุมตัว

- คำพิพากษาฎีกาที่ 298/2509 การควบคุมในช่วงระยะเวลานั้น จึง ไม่ชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว หาก ป. หลบหนีการควบคุมในช่วงระยะเวลานั้น ป. ก็ไม่มีความผิดฐานหลบหนีการควบคุม แต่การที่คณะกรรมการไม่มีคำสั่งให้ทัน เมื่อครบ 3 เดือน จนเวลาล่วงมาระยะหนึ่งดังกล่าว จึงได้พิจารณามีคำสั่ง ให้ควบคุมตัว ป. ไว้ต่อไป เช่นนี้ ไม่เป็นเหตุทำให้คำสั่งหลัง ๆ นั้นไม่ชอบ ด้วยประการใด เพราะตัว ป. ก็ยังต้องควบคุมอยู่ตลอดมา เมื่อคณะกรรมการ ได้พิจารณาและมีคำสั่งตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 43 ข้อ 2 ให้ควบคุมไว้ต่อไป ก็ต้องถือว่า ป. ได้กลับถูกควบคุมไว้ โดยชอบด้วยประกาศดังกล่าวอีก เมื่อ ป. หลบหนีการควบคุม จำเลยซึ่งมีหน้าที่ควบคุมต้องมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 205

- ประเด็นตามกฎหมายวิธีพิจารณาความ การบรรยายฟ้อง

- คำพิพากษาฎีกาที่ 753/2510 จำเลยที่ 1 เป็นพัสดีเรือนจำ จำเลยที่ 2 เป็นผู้คุมชั้น 2 จำเลยที่ 2 คุมนักโทษไปทำงานนอกเรือนจำแล้วนักโทษเกิดหลบหนีไป จำเลยที่ 2 รายงานให้จำเลยที่ 1 ทราบ จำเลยที่ 1 ให้ปกปิดไว้ก่อน เพื่อติดตามตัวเมื่อติดตามไม่ได้ จำเลยทั้งสองมิได้จัดการอย่างไร คงปกปิดไว้มิได้รายงานต่อผู้บัญชาการเรือนจำตามระเบียบ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงถือว่าเป็นการละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.. 2502 มาตรา 13 / ครั้นเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ จำเลยทั้งสองได้ร่วมกัน ลงชื่อนักโทษที่หลบหนีนั้นในบัญชีรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษ เสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาลดโทษ คณะกรรมการฯ หลงเชื่อว่า นักโทษผู้นั้นยังมีตัวอยู่ในเรือนจำจึงลงมติลดโทษให้ 1 ใน 5 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 (1) / เมื่อถึงเวลาครบกำหนดที่นักโทษผู้นั้นจะพ้นโทษตามหมายจำคุกของศาล จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำ ดังนี้ (1) สลักหลังหมายจำคุกของนักโทษผู้นั้น รับรองว่าได้ตรวจสอบถูกต้องแล้ว เสนอปล่อยตัวในวันที่ 1 เมษายน 2507 โดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนลงนาม (2) ร่วมกันปลอมเอกสารใบสุทธิของนักโทษผู้นั้น โดยจำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนเองแทนนักโทษและจำเลยที่ 1 ลงนาม ตรวจรับรอง (3) จำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนแทนนักโทษ ในช่องเมื่อพ้นโทษ ในทะเบียนรายตัวผู้ต้องคุมขังของนักโทษผู้นั้น (4) จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำหนังสือของผู้บัญชาการเรือนจำถึงนายอำเภอสามเงาว่านักโทษผู้นั้นพ้นโทษจะกลับไปอยู่อำเภอสามเงา ภูมิลำเนาเดิม แล้วเสนอหนังสือนั้นให้ผู้บัญชาการลงนามโดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนตรวจรับรอง การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวย่อมมีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161, 264, 265 อีกกระทงหนึ่ง แต่ให้ลงโทษจำเลยทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นกระทงหนักที่สุด กระทงเดียว โดยจำคุกคนละ 2 ปี

- คำพิพากษาฎีกาที่ 5211/2540 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149, 157 และตามคำฟ้องโจทก์บรรยายยืนยันว่า จำเลยเรียกและรับเงินจำนวน 20,000 บาท จาก อ. สำหรับตนเองโดยมิชอบ เพื่อจะได้เปิดกุญแจห้องขัง และปล่อยตัว อ. ให้หลบหนีไปจากห้องควบคุม เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวน กรมตำรวจ ซึ่งเห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษ จำเลยฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เมื่อปรากฎข้อเท็จจริงว่า จำเลยกระทำการโดยประมาท หลับนอนขณะมีหน้าที่ควบคุมผู้ต้องขัง เป็นเหตุให้ อ. หลบหนีการควบคุมไปอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 205 ซึ่งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องและขอให้ศาลพิพากษาลงโทษไว้ ข้อแตกต่างตามคำฟ้องกับที่พิจารณาได้ความ มิใช่ข้อแตกต่างระหว่างความผิดโดยเจตนาหรือประมาท แต่เป็นข้อแตกต่างที่ถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญที่โจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 205 ตามที่พิจารณาได้ความไม่ได้ เพราะเกินคำขอ / การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ อ. หลุดพ้นจากการคุมขังโดยที่จำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้นั้น เมื่อปรากฏว่าคดีนี้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 204, 205 แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย ในความผิดฐานดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อที่โจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษ กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง

- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 205

- (ขส เน 2512/ 6) พลตำรวจ ทำให้ผู้ต้องหาสองคน หลบหนีไปได้ โดยความประมาท ต่อมา 1 เดือน พลตำรวจพบผู้ต้องหาที่หลบหนี จับคนหนึ่งมาได้ ส่วนอีกคนหนึ่ง ถูกยิงตายเพราะต่อสู้ขัดขวางการจับกุม ต้องรับโทษฐานใดหรือไม่ / พลตำรวจไม่ต้องรับโทษ ตาม ม 205 เพราะ วรรคสาม ให้งดการลงโทษ โดยที่ได้จัดให้ได้ตัวผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังคืนมาภายใน 3 เดือน แม้ยิงตายในการต่อสู้ขัดขวาง ถือเป็นการได้ตัว ฎ 1116/2508 (แม้ได้มาแต่ตัว ไม่ได้วิญญาณมาด้วย)

- (ขส พ 2528/ 6) นายชอบถูกขังระหว่างสอบสวน สตอ ช่วยพาไปจากที่คุมขัง ซึ่งไม่มีอำนาจทำได้ แม้ สตอ ช่วย พาไปด้วย ก็ไม่ถือเป็นการควบคุม เพราะไปเที่ยวหาความสำราญในตลาด ถือว่าทำให้หลุดพ้นจากการคุมขังตาม ม 204 ฎ 2/2503 / สตอ ช่วย ทิ้งเวรยาม พลฉาบ นอนหลับขณะปฏิบัติหน้าที่เวร ผิด ม 205 ว 1 เมื่อจัดให้ได้ตัวมาภายใน ๓ เดือน แม้จะยิงตายเพราะขัดขวางการจับกุม ก็ไม่ต้องรับโทษตาม ม 205 ว 3 ฎ 1116/2508

ไม่มีความคิดเห็น: