ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559

"ค่าเครื่องดื่มและบริการ”

๑.ผู้เสียหายทั้งสี่เข้าไปเที่ยวบาร์ที่มีการแสดงได้สั่งเครื่องดื่ม ๔ แก้ว จำเลยซึ่งเป็นพนักงานของบาร์มาเรียกเก็บค่าเครื่องดื่ม ๒๐๐ บาท ค่าชมการแสดง ๘๐๐ บาท รวม ๑๐๐๐บาท ผู้เสียหายทั้งสี่ขอชำระแต่เครื่องดื่ม แต่ไม่ขอชำระค่าดูการแสดง เพราะได้รับคำบอกเล่าจากผู้ที่ชักชวนว่า ไม่ต้องชำระ จำเลยบอก “หากไม่ชำระจะไม่ให้ออกจากบาร์” พร้อมสั่งคนปิดประตูบาร์ เรียกพนักงานชาย ๕ ถึง ๖ คน ยืนคุมเชิงข้างโต๊ะผู้เสียหาย แล้วพูดว่า “จะชำระหรือไม่ หากไม่ชำระมีเรื่องแน่ “ ผู้เสียหายกลัวถูกทำร้ายจึงยอมจ่ายเงินถือเป็นการขมขืนใจผู้เสียหายทั้งสี่ให้ยอมให้ประโยชน์ในลักษณะในทางทรัพย์สิน โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อร่างกายหรือเสรีภาพของผู้เสียหายทั้งสี่ จนผู้เสียหายทั้งสี่ยอมจ่ายค่าชมการแสดง แม้ว่าการกระทำของจำเลยจะสืบเนื่องมาจากการทวงค่าชมการแสดงที่ผู้เสียหายทั้งสี่ได้รับไปแล้วก็ตาม แต่จำเลยไม่มีอำนาจที่จะบังคับให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินโดยไม่ชอบด้วยการขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อผู้เสียหายทั้งสี่ จำเลยมีคตวามผิดฐานกรรโชกทรัพย์ คำพิพากษาฏีกา ๒๐๑๓/๒๕๓๖
๒จำเลยเป็น.เจ้าของบาร์เปลือยคิดเงินจากผู้เสียหายทั้งสอง ๘,๖๐๐บาท ผู้เสียหายทั้งสองไม่ยอมรับว่าเป็นราคาค่าเครื่องดื่มดังกล่าว จำเลยควรแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ การที่พนักงานเก็บเงินกับจำเลยตบหน้าและผลักหน้าท้องผู้เสียหายที่ ๒ ซึ่งกำลังตั้งครรถ์ได้ ๕ เดือน เป็นการใช้แรงกายภาพและกระทำทุกทางให้ได้ทรัพย์ของผู้เสียหายที่ ๑ โดยทุจริต จนผู้เสียหายที่ ๑ ยื่นเงิน ๑๐๐ ดอลลาร์สหรัฐให้พนักงานเก็บเงินอันเป็นผลมาจากการที่จำเลยใช้กำลังประทุษร้าย เป็นการชิงทรัพย์ เมื่อร่วมกันตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไปจึงมีความผิดฐานปล้นทรัพย์ คำพิพากษาฏีกา ๑๕๔๓/๒๕๔๐
ข้อสังเกต๑.สั่งซื้อหรือบริโภคอาหารโดยรู้ว่าตนไม่สามารถชำระเงินค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม เป็นความผิดฐานฉ้อโกงค่าอาหารค่าเครื่องดื่มตาม ปอ มาตรา ๓๔๕ ส่วนค่าชมการแสดงไม่มีกฏหมายบัญญัติไว้ว่าหากเข้าชมการแสดงแล้วไม่ยอมจ่ายเป็นความผิดกฏหมายที่มีโทษทางอาญาเหมือนกรณีสั่งซื้อหรือบริโภคอาหารโดยรู้ว่าตนไม่สามารถชำระเงินค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม แต่การเข้าชมการแสดงแล้วไม่ยอมจ่ายเป็นเรื่องความรับผิดทางแพ่ง
๒. เงินค่าชมการแสดงที่ผู้เสียหายเข้าไปชมการแสดงในร้านของจำเลย เป็นประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินแล้ว แม้เป็นสิทธิ์เรียกร้องของจำเลยที่จะเรียกเก็บจากผู้เสียหาย และผู้เสียหายจำต้องจ่ายก็ตามอันเป็นสิทธิ์ที่เรียกร้องได้ตามกฎหมายก็ตาม ส่วนพฤติการณ์ที่จำเลยพูดว่า“หากไม่ชำระจะไม่ให้ออกจากบาร์” พร้อมสั่งคนปิดประตูบาร์ เรียกพนักงานชาย ๕ ถึง ๖ คน ยืนคุมเชิงข้างโต๊ะผู้เสียหาย แล้วพูดว่า “จะชำระหรือไม่ หากไม่ชำระมีเรื่องแน่ “ เป็นการขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายแก่ผู้เสียหายทั้งสี่หากผู้เสียหายไม่ยอมจ่ายเงินค่าชมการแสดง
๓.แม้เป็นค่าบริการที่เรียกเก็บหากผู้ใช้บริการไม่จ่ายก็มีวิธีอื่นที่สามารถกระทำได้เช่นให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาดำเนินการไกล่เกลี่ยไม่มีความจำเป็นต้องปิดประตูบาร์ เรียกพนักงานชาย ๕ ถึง ๖ คน ยืนคุมเชิงข้างโต๊ะผู้เสียหาย แล้วพูดว่า “จะชำระหรือไม่ หากไม่ชำระมีเรื่องแน่ “
๔.แม้ประโยชน์ในลักษณะในทางทรัพย์สิน จะสืบเนื่องเกี่ยวเนื่องมาจากการใช้บริการของผู้เสียหายทั้งสี่ก็ตาม แม้ว่าจำเลยจะไม่ได้ประโยชน์ในตัวเงินตามที่ข่มขู่นั้นก็ตามเพราะจำเลยเป็นเพียงพนักงานของร้านไม่ใช่เจ้าของร้านก็ตาม การกระทำดังกล่าวทำเพื่อให้ทางร้านได้รับประโยชน์จากการเก็บค่าใช้บริการการเข้าชมการแสดงก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่มีอำนาจที่จะข่มขืนใจผู้เสียหายทั้งสี่ ให้ยอมให้ หรือ ยอมจะให้ ประโยชน์ในลักษณะในทางทรัพย์สิน โดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายให้เกิดอันตรายต่อ ชีวิต ร่างกาย ของผู้เสียหายทั้งสี่ จนผู้เสียหายทั้งสี่จำยอมตามที่ขู่เข็ญ
๕. จำเลยยังมีทางเลือกทางอื่นที่จะเรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจมาไก่ลเกลี่ยได้ ไม่ใช่ลงมือกระทำการเสียเอง นั้นก็คือแม้เป็นสิทธิ์เรียกร้องที่สามารถเรียกร้องได้ตามกฎหมาย แต่การใช้สิทธิ์ดังกล่าวต้องกระทำตามที่กฎหมายบัญญัติรองรับไว้ เช่น การฟ้องร้อง หาใช่จะมาบังคับการชำระหนี้เองตามอำเภอใจ
๖..การกระทำของจำเลยจึงเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายทั้งสี่ให้ยอมให้ หรือยอมจะให้ ตน หรือ ผู้อื่น ได้ประโยชน์ในลักษณะในทางทรัพย์สิน โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆว่าจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของผู้เสียหายทั้งสี่จนผู้เสียหายทั้งสี่ผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ตาม ปอ มาตรา ๓๓๗
๖.จำเลยเป็น.เจ้าของบาร์เปลือยคิดเงินจากผู้เสียหายทั้งสอง ๘,๖๐๐บาท ผู้เสียหายทั้งสองไม่ยอมรับว่าเป็นราคาค่าเครื่องดื่มดังกล่าว แม้จะเป็นหนี้ค่าอาหารหรือหนี้ค่าบริการอื่นที่เป็นหนี้กันอยู่จริง จำเลยควรแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อเข้าดำเนินการ เพราะการที่สั่งซื้อหรือบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มโดยรู้ว่าตนไม่สามารถนำเงินมาชำระค่าอาหารหรือเครื่องดื่ม ย่อมเป็นการฉ้อโกงค่าอาหาร ตาม ปอ มาตรา ๓๔๕
๗.การที่พนักงานเก็บเงินกับจำเลยตบหน้าและผลักหน้าท้องผู้เสียหายที่ ๒ ซึ่งกำลังตั้งครรถ์ได้ ๕ เดือน เป็นการใช้แรงกายภาพโดยใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายและกระทำทุกทางให้ได้ทรัพย์ของผู้เสียหายที่ ๑ โดยทุจริต จนผู้เสียหายที่ ๑ ยื่นเงิน ๑๐๐ ดอลลาร์สหรัฐให้พนักงานเก็บเงินอันเป็นผลมาจากการที่จำเลยใช้กำลังประทุษร้าย เป็นการชิงทรัพย์ เมื่อร่วมกันตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไปจึงมีความผิดฐานปล้นทรัพย์
๘.ที่น่าสังเกตคือมูลเหตุของการทำร้ายร่างกายก็เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินหรือทรัพย์สิน
๘.๑เพื่อมาชำระราคาค่าอาหารหรือบริการในร้าน ไม่ได้มีเถยจิตเป็นโจร และ
๘.๒เงินค่าอาหารหรือบริการที่เรียกเก็บก็ไม่ได้เรียกเก็บเกินหนี้ค่าอาหารและหนี้ค่าเครื่องที่จำต้องจ่าย
๘.๓.แต่อย่างไรก็ดี จำเลยเองก็ไม่มีสิทธิ์ใช้กำลังทำร้ายเพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่มหรือบริการ หากลูกค้าไม่ยอมชำระต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าดำเนินการ เมื่อการทวงค่าอาหารเครื่องดื่มและบริการกระทำโดยใช้กำลังประทุษร้ายด้วยการตบหน้าและผลักอกผู้เสียหาย แล้วนำเงินผู้เสียหายมาจึงเป็นการแย่งการครอบครองเงินของผู้เสียหาย จึงเป็นการร่วมกันลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์ ยึดถือเอาทรัพย์นั้น การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์ แต่เมื่อมีผู้ร่วมกระทำผิดติดแต่ ๓ คนขึ้นไป การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์
๘.๔การกระทำดังกล่าวจะอ้างว่าทำเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ์ของตนที่จะเรียกเก็บค่าสินค้าหรือบริการจากผู้เสียหายโดยตนไม่มีเจตนาแสวงหาผลประโยชน์อันไม่ควรชอบด้วยกฏหมายหาได้ไม่ แม้จะเรียกเก็บเท่าที่ค้างชำระก็ตาม เพราะแม้เป็นสิทธิ์เรียกร้องที่มีอยู่จริงแต่เมื่อเรียกร้องแล้ว คู่กรณีอีกฝ่ายไม่ยอมชำระ เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ต้องกระทำการให้ขำระหนี้ด้วยการใช้สิทธิ์เรียกร้องทางศาล หาใช่ดำเนินการเองแต่อย่างใดไม่ ไม่งั้นก็จะเกิดศาลเตี้ยขึ้นเต็มบ้านเต็มเมือง เมื่อผู้เสียหายไม่ยอมชำระหนี้ จำเลยเข้าบังคับชำระหนี้เสียเอง ก็จะเกิดความวุ่นวายและการทะเลาะกันเกิดขึ้น กฎหมายจึงมุ่งประสงค์ว่าหากใครต้องการรับชำระหนี้จากกรณีที่คู่กรณีอีกฝ่ายมีหน้าที่ต้องชำระหนี้แล้วไม่ชำระหนี้ ให้นำความขึ้นฟ้องร้อง หาใช่เข้าบังคับชำระหนี้เสียเอง

ไม่มีความคิดเห็น: