ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

“ปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อย”

๑.ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ คำพิพากษาฎีกา ๘๒๒/๒๕๔๑
๒.เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือไม่ คำพิพากษาฎีกา ๑๐๙๐/๒๕๔๒
๓.การปรับบทลงโทษ คำพิพากษาฎีกา ๔๑๒๙/๒๕๔๓
๔.บรรยายฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิด คำขอท้ายฟ้องไม่ได้ขอให้ลงโทษ คำพิพากษาฏีกา ๒๙๒๑/๒๕๔๑
๕.ลงโทษต่ำกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด คำพิพากษาฎีกา ๘๑๐๒/๒๕๔๓
๖.กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทหรือเป็นความผิดหลายกรรม คำพิพากษาฎีกา ๕๑๓๓/๒๕๔๕
๗.พิพากษาเกินคำขอ คำพิพากษาฎีกา ๖๐๙๗/๒๕๓๔
๘.ไม่ได้นำสืบว่าเป็นการกระทำความผิดกลางวันหรือกลางคืน ซึ่งเหตุอาจเกิดกลางวันก็ได้ คำพิพากษาฏีกา ๔๘๐๗/๒๕๔๕
๙.แม้รับสารภาพ แต่นำสืบไม่ได้ว่ากระทำผิด คำพิพากษาฎีกา ๓๖๖๘/๒๕๔๕
๑๐.พิพากษาเกินคำขอ คำพิพากษาฎีกา ๓๔๐๐/๒๕๔๑
๑๑.ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะนำโทษที่รอมาบวกแล้วศาลนำโทษที่รอมาบวก คำพิพากษาฎีกา๓๕๒๓/๒๕๔๕
๑๒.ลงโทษหนักไปไม่เหมาะสมกับความผิด คำพิพากษาฎีกา ๔๑๘๐/๒๕๓๙
๑๓.มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายหรือไม่ คำพิพากษาฎีกา ๓๘๗๙/๒๕๔๖
๑๔.พิพากษาไม่ครบองค์คณะ คำพิพากษาฎีกา ๔๓๑๓/๒๕๔๕
๑๕.เพิ่มโทษได้หรือไม่ คำพิพากษาฎีกา ๒๒๓/๒๕๔๐
๑๖.ขาดอายุความฟ้องร้อง คำพิพากษาฎีกา ๕๔๓/๒๔๙๘
๑๗.ฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย คำพิพากษาฎีกา ๗๔/๒๕๐๓
๑๘.ฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิด คำพิพากษาฎีกา ๕๔๐/๒๕๐๑
๑๙.ศาลลงโทษไม่ถูกต้อง คำพิพากษาฎีกา ๒๐๗/๒๕๐๙
๒๐.การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันหรือไม่ คำพิพากษาฎีกา ๖๒๑/๒๕๑๓
๒๑.ข้อเท็จจริงทางพิจารณาต่างจากฟ้องในข้อสาระสำคัญหรือไม่ คำพิพากษาฎีกา ๑๒๘๑/๒๕๑๙
ข้อสังเกต ๑.การดำเนินคดีในศาล หากต้องการจะใช้สิทธิ์ในการอุทธรณ์ฎีกาต้องเป็นเรื่องที่ว่ามาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์จึงสามารถฎีกาได้ การว่ากันมาแล้วในศาลล่าง อาจเกิดจากการยื่นฟ้อง การยื่นคำให้การ การสืบพยาน การซักถาม การถามค้านหรือถามติงพยานบุคคลหรือคัดค้านพยานเอกสารว่าไม่ถูกต้องอย่างไรเพื่อประโยชน์ในการอุทธรณ์ฎีกา แต่หากว่าปัญหานั้นเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความจะไม่ได้โต้แย้งในปัญหาดังกล่าวไว้ ก็สามารถอุทธรณ์ฎีกาได้หากเป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชน และหากศาลอุทธรณ์ฎีกาพบเห็นก็สามารถยกขึ้นมาเองได้ แม้ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาก็ตาม
๒.กฎหมายไม่ได้ให้นิยามศัพท์คำว่า “ ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีงามของประชาชน” นั้นมีความหมายเพียงไหนอย่างไร จึงต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆไป ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นปัญหาที่กระทบต่อความสงบสุขความเรียบร้อยในการดำเนินคดีอาญา เพื่อไม่ให้เกิดการเอาเปรียบกันในทางคดีหรือจำเลยต้องรับโทษเกินควรกว่าที่ต้องรับโทษหรือต้องรับโทษในเมื่อตนไม่ได้กระทำผิด ดังนั้นกฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นที่มีโทษทางอาญามักเกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีงามของประชาชน ดังนั้นการไม่ปฏิบัติตามบทกฎหมายเหล่านั้นมักเป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชน
๓.ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ ไม่ว่าจะเคลือบคลุมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวันเวลาสถานที่บุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องที่พอทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี หากเป็นฟ้องที่ทำให้จำเลยอ่านแล้วไม่เข้าใจ อ่านไม่รู้เรื่อง มีความขัดแย้งกันอยู่ในตัวไม่รู้ว่าจะไปทิศทางใด ย่อมทำให้จำเลยหลงต่อสู้ ซึ่งเป็นผลร้ายต่อจำเลย จึงเป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงามของประชาชนเพราะ
๔.เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือไม่ หากมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วยย่อมเป็นเพียงผู้เสียหายโดยพฤตินัยเท่านั้นไม่สามารถดำเนินคดีในทางศาลได้เพราะมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วยจึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายที่จะสามารถดำเนินคดีได้และไม่สามารถร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการได้
๕การปรับบทลงโทษ ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานใด ซึ่งบทลงโทษของความผิดแต่ละฐานอาจมีกำหนดลงโทษที่แตกต่างกัน อาจทำให้จำเลยได้รับโทษสูงเกินกว่าความผิดที่ตนกระทำและบทลงโทษบางบทอัตราโทษอาจต้องห้ามในการอุทธรณ์หรือฎีกา. ทำให้โจทก็หรือจำเลยเสียสิทธิ์ในการอุทธรณ์ฏีกาได้
๖.บรรยายฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิด ศาลไม่อาจลงโทษได้เพราะฟ้องบรรยายไม่ครบองค์ประกอบของกฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดตามกฎหมาย ตาม ป.ว.อ. มาตรา ๑๕๘(๕) และการที่ในคำขอท้ายฟ้องไม่ได้อ้างมาตราที่ขอให้ลงโทษ ย่อมเป็นการบรรยายฟ้องที่ขัดต่อ ป.ว.อ. มาตรา ๑๕๘((๖) ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน เพราะเมื่อไม่ได้ขอให้ลงโทษ ไม่ได้อ้างมาตราที่ขอให้ลงโทษ ป.ว.อ. มาตรา ๑๙๒วรรคแรกห้ามไม่ให้ศาลพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่ไม่ได้กล่าวมาในฟ้อง
๗.ลงโทษต่ำกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้เสียหายและทำให้จำเลยได้รับโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด ปัญหานี้จึงเป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชน
๘.การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำความผิดที่เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทหรือเป็นความผิดหลายกรรม ต่างกันย่อมมีผลแตกต่างกัน เพราะการกระทำที่เป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามบทหนัก ตาม ป.อ. มาตรา ๙๐ แต่หากเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต้องลงโทษทุกกรรมที่เป็นความผิด ป.อ. มาตรา ๙๑ ปัญหานี้จึงมีผลต่อการรับโทษของจำเลยว่าจะได้รับโทษมากน้อยแตกต่างกันไป ปัญหานี้จึงเป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชน
๙.การที่ศาลมีคำพิพากษาเกินคำขอ ที่โจทก์ไม่ได้กล่าวมาในฟ้อง เป็นผลร้ายต่อจำเลย เพราะการที่โจทก์ไม่ได้ขอมาแสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ดำเนินคดีหรือไม่ต้องการมีคำขอแบบนี้ เช่นให้คืนหรือใช้ราคา เมื่อโจทก์ไม่ได้ขอมาแต่ศาลไปพิพากษาให้จึงเป็นการพิพากษาหรือสั่งที่ขัดต่อกฎหมาย (ป.ว.อ. มาตรา ๑๙๒)
๑๐.เมื่อฟ้องว่าลักทรัพย์ในช่วงเวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา และมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา ๓๓๔,๓๓๕(๑)แต่ไม่ได้นำสืบว่าเวลา ๑๘.๐๐นาฬิกานั้นเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน เป็นช่วงระหว่างเวลาที่พระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นตาม ป.อ. มาตรา ๑(๑๑) หรือไม่ เมื่อไม่นำสืบว่าเป็นการกระทำความผิดกลางวันหรือกลางคืน ซึ่งเหตุอาจเกิดกลางวันก็ได้ ศาลย่อมยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ป.ว.อ. มาตรา ๒๒๗ วรรคสอง ศาลไม่อาจลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนได้ ปัญหานี้จึงเป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชน
๑๐ความผิดที่มีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป หรือโทษสถานหนักกว่านี้ เมื่อจำเลยรับสารภาพก็เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบจนศาลแน่ใจว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดศาลจึงลงโทษจำเลยได้ ป.ว.อ. มาตรา ๒๒๗ วรรคแรก.ในความผิดดังกล่าวแม้จำเลยรับสารภาพ แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิด ศาลก็ลงจำเลยไม่ได้ ปัญหานี้จึงเป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชน
๑๑.การที่ศาลมีคำพิพากษาเกินคำขอ เป็นการที่ศาลไม่ปฏิบัติตาม ป.ว.อ. มาตรา ๑๙๒ เป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ศาลลงโทษจำเลยโดยที่โจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษ ปัญหานี้จึงเป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชน
๑๒.ไม่เข้าหลักเกณฑ์จะนำโทษที่รอมาบวกแล้วศาลนำโทษที่รอมาบวก ทำให้จำเลยได้รับโทษหนักขึ้น ทั้งที่ไม่สามารถนำโทษที่รอมาบวกได้ เพราะความผิดที่กระทำในครั้งหลังเป็นการกระทำความผิดโดยประมาทหรือเป็นความผิดลหุโทษ หรือพ้นระยะเวลาที่ศาลในคดีก่อนรอการลงโทษไปแล้ว หรือในคดีหลังศาลไม่ได้ลงโทษจำคุก จึงไม่อาจนำโทษที่รอไว้ในคดีก่อนมาบวกกับโทษของจำเลยในคดีนี้ได้ตาม ป.อ. มาตรา ๕๘ ปัญหานี้จึงเป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชน
๑๓.ลงโทษหนักไปไม่เหมาะสมกับความผิด พฤติการณ์ในการกระทำความผิดไม่ร้ายแรงแต่ศาลลงโทษสูงเกินไปหรือลงโทษตามอัตราโทษสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ ย่อมทำให้จำเลยรับโทษมากเกินความเป็นจริง เช่น ลักแก้วน้ำ ๑ ใบราคา ๕ บาท โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยกระทำความผิดมาก่อน การที่ ศาลลงโทษจำคุก ๓ ปี ย่อมไม่เหมาะสมแก่พฤติการณ์ ปัญหานี้จึงเป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชน
๑๔.มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายหรือไม่ เช่น ไม่ใช่คู่สมรสที่จดทะเบียนสมรส หรือผู้เสียหายมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด ทำให้ผู้เสียหายไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย หรือผู้เสียหายไม่ได้ถูกทำร้ายถึงแก่ความตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้จนต้องให้มีผู้จัดการแทนผู้เสียหายตาม ป.ว.อ. มาตรา ๕(๒) ดังนั้นผู้จัดการแทนผู้เสียหายจึงไม่ใช่ผู้จัดการแทนผู้เสียหายตาม ป.ว.อ. มาตรา ๕ ที่จะสามารถดำเนินการแทนผู้เสียหายได้ ปัญหานี้จึงเป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชน
๑๕.การที่กฎหมายกำหนดองค์คณะผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาคดีเพื่อความรอบคอบในการพิจารณาพิพากษา ดังนั้นการพิจารณาพิพากษาที่ไม่ครบองค์คณะ ย่อมมีผลเสียต่อคู่ความ ปัญหานี้จึงเป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชน
๑๖.การเพิ่มโทษจำเลยเพราะจำเลยกระทำความผิดแล้วมากระทำความผิดทางอาญาอีกครั้งในระหว่างต้องคำพิพากษาหรือภายในเวลา ๕ปีนับแต่วันพ้นโทษ(ป.อ. มาตรา ๙๒) หรือภายในเวลา๓ ปีนับแต่วันพ้นโทษตาม ป.อ. มาตรา ๙๓ หรือเป็นการเพิ่มโทษตามกฎหมายอื่นเช่นพรบ.ยาเสพติดฯที่ให้เพิ่มโทษกึ่งหนึ่งแก่ผู้กระทำความผิดเกี่ยวยาเสพติดซ้ำอีก หรือกรณีที่มีฐานะบุคคลเป็นเจ้าพนักกระทำความผิดเกี่ยวยาเสพติด หรือเป็นบิดามารดาครูอาจารย์ ผู้พิทักษ์ผู้อนุบาลกระทำความผิดต่อบุคคลที่อยู่ในความดูแลของตนตาม ป.อ. มาตรา๒๘๕ เป็นต้น หากไม่เข้าเกณฑ์ที่จะขอเพิ่มโทษได้เพราะความผิดครั้งหลังเป็นการกระทำความผิดโดยประมาท หรือเป็นความผิดลหุโทษ หรือกระทำความผิดในครั้งก่อนหรือในครั้งหลังอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ไม่สามารถเพิ่มโทษได้ตาม ป.อ. มาตรา ๙๔ แต่ศาลไปเพิ่มโทษจำเลยทำให้จำเลยต้องรับโทษเพิ่มขึ้น ๑ใน ๒ หรือ ๑ ใน ๓ แล้วแต่กรณี ดังนั้น ปัญหาเรื่อง.เพิ่มโทษได้หรือไม่จึง ปัญหานี้จึงเป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชน
๑๗.คดีขาดอายุความฟ้องร้อง สิทธิ์ในการนำคดีมาฟ้องระงับไปตาม ป.ว.อ. มาตรา ๓๙(๖) ดังนั้นปัญหานี้จึงเป็น ปัญหานี้จึงเป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชน
๑๘.ฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย.ฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิด ศาลลงโทษจำเลยไม่ได้ ปัญหานี้จึงเป็นปัญหานี้จึงเป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชน
๑๙..ศาลลงโทษไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้จำเลยรับโทษหนักเกินกว่าที่ควรได้รับ ปัญหานี้จึงเป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชน
๒๐.การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันหรือไม่ หากใช่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หรือเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุเกินกว่ากรณีจำเป็นต้องป้องกันหรือไม่ ซึ่งหากใช่อาจทำให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด หรือศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด ป.อ. มาตรา ๖๘,๖๙ หากเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๔๔๙ ปัญหานี้จึงเป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชน
๒๒.ข้อเท็จจริงทางพิจารณาต่างจากฟ้องในข้อสาระสำคัญหรือไม่ หากใช่และทำให้จำเลยหลงต่อสู้ ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง ปัญหานี้จึงเป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชน

ไม่มีความคิดเห็น: