ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2564

ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282 / 2563  วินิจฉัยว่า “ .......... แม้ผู้เสียหายทั้งสามสิบสองจะหลงเชื่อคำหลอกลวงของจำเลยทั้งสาม จึงมอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสามเพื่อให้จำเลยทั้งสามนำเงินไปลงทุนเพื่อให้ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในอัตราที่สูงโดยจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้เข้าร่วมลงทุนในหลายลักษณะคิดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 72, 144 , 192 , 240, 288 และ 432  ต่อปี ของจำนวนเงินที่ผู้ร่วมทุนให้จำเลยทั้งสามกู้ยืม จะมีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนในทุก 2 ถึง 3 วัน หรือทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน ซึ่งผลตอบแทนที่ผู้เสียหายทั้งสามสิบสองจะได้รับล้วนต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 มาตรา 4(1) ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654  ถือว่า เป็นกิจการที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายทั้งสามสิบสองรับข้อเสนอดังกล่าวโดยมีเจตนาร้ายมุ่งประสงค์ต่อผลประโยชน์อันเกิดจากการกระทำที่ผิดกฎหมาย ผู้เสียหายทั้งสามสิบสองจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสามในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนคดีนี้ และพนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาควาอาญา มาตรา 2 (4) (7) และมาตรา 120 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง มานั้นชอบแล้ว

พิพากษายืน  ( ศาลฎีกายกฟ้องฐาน ร่วมกันฉ้อโกง เหมือนกับศาลอุทธรณ์)

ข้อกฎหมายที่ได้จากคำพิพากษาศาลฎีกานี้

       คดีนี้แม้ผู้เสียหายทั้ง 32 คน จะถูกหลอกให้นำเงินไปร่วมลงทุนกับจำเลยทั้งสาม และในท้ายที่สุดก็ไม่ได้รับเงินคืนก็ตาม และได้รับความเสียหาย ความสูญเสียจากการกระทำผิด (ฉ้อโกง) ของจำเลยทั้งสามก็ตาม  ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา  341  บัญญัติว่า  ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกแจ้งให้ทราบและโดยการหลอกลวงดังกล่าวได้ไปซึ่งทรัพย์สินของผู้ถูกหลอกหรือบุคคลที่สามฯ  ผู้นั้นกระทำผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงแห่งคดีแล้ว ก็อาจเข้าองค์ประกอบความผิดฐาน ร่วมกันฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา  341 ประกอบมาตรา 83 ก็ตาม ( ถูกหลอกให้ร่วมนำเงินมาลงทุนและสูญเสียเงินไป)

ไม่มีความคิดเห็น: