ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564

บทสันนิษฐานตาม พรบ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคสาม (2) เป็นบทสันนิษฐานไม่เด็ดขาด

 

ครอบครองยาเสพติด 4,000 เม็ด ต่อสู้ว่ามีไว้ในความครอบครองโดยผิดกฎหมาย ไม่ได้มีไว้เพื่อจำหน่าย หากไม่มีพฤติการณ์จำหน่าย


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896 / 2563

       ทั้งเมื่อจำเลยที่ 2  ครอบครองเมทแอมเฟตามีน 4,000 เม็ดของกลางแล้วจำเลยที่ 2 ได้นำไปซุกซ่อนไว้  โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 มีพฤติการณ์ขาย  จ่าย  แจก   แลกเปลี่ยน หรือให้เมทแอมเฟตามีน 4,000 เม็ด ของกลางแก่ผู้ใด  เจตนาที่แท้จริงและพฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวเชื่อว่าจำเลยที่ 2   มีเจตนาครอบครองเมทแอมเฟตามีน 4,000 เม็ด ของกลางไว้เป็นของตนเองเท่านั้น

      พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบจึงสามารถพิสูจน์ให้เห็นว่ากรณีของจำเลยที่ 2 ไม่เข้าเงื่อนไขตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่สองมีเมทแอมเฟตามีน 4,000 เม็ด ของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย 

      จำเลยที่สองจึงไม่มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่การกระทำของจำเลยที่สองเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง 

      สรุป  ข้อต่อสู้ของจำเลยคดีนี้ จึงสามารถพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2) ได้ว่า  แม้จะมียาบ้าหรือเมทฯ เกินกว่า 15 เม็ด

( กรณียาไอซ์ 0.375 กรัม) ก็ไม่ได้มีไว้เพื่อจำหน่าย แต่อย่างใด  ผิดเพียงฐานมีไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมายเท่านั้น ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่ากันมาก

        อนึ่ง เดิมก่อนมีการแก้ไขพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ นั้นปริมาณยาเสพติดที่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด เช่น ยาบ้าเกิน 15 เม็ด ไอซ์สารบริสุทธิ์เกิน 375 มิลลิกรัม จะถือว่าเป็นการครอบครองเพื่อจำหน่าย จะเป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาด ไม่สามารถปฏิเสธนำสืบหักล้างได้ว่าไม่ได้มีไว้เพื่อจำหน่าย แต่ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้มีการแก้ไขกฎหมายมาตรา 15 จากเดิมใช้คำว่า “ให้ถือว่า” เปลี่ยนเป็นใช้คำว่า “ให้สันนิษฐานว่า...” จึงสามารถนำสืบพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานได้ว่ามิได้ครอบครองเพื่อจำหน่าย

 

ไม่มีความคิดเห็น: