ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์มีลักษณะที่ใกล้เคียงกับฐานชิงทรัพย์
และยังใกล้เคียงกับความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ จึงขอสรุปความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ ดังนี้
1. การขู่เข็ญจะทำอันตรายนั้น จะทำกับตัวผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สามก็ได้
2. ถ้าขู่จะทำร้ายในทันทีต้องเอาทรัพย์ในภายหน้า
ขู่จะเอาทรัพย์ในขณะนั้นต้องจะทำร้ายในภาพหน้า
คือต้องมีช่วงเวลาระหว่างการเอาทรัพย์กับการทำร้ายหรือขู่ว่าจะทำร้าย
ถ้าเอาทรัพย์ไปในทันทีและทำร้ายหรือขู่จะทำร้ายทันทีเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
แต่ถ้าขู่จะทำอันตรายแก่ทรัพย์ในทันทีและได้ทรัพย์ไปในขณะนั้นไม่เป็นชิงทรัพย์
แต่เป็นกรรโชกทรัพย์ เพราะมิใช่ขู่จะทำอันตรายแก่บุคคล
3. สิ่งที่ยอมให้หรือยอมจะให้
ไม่จำกัดเฉพาะทรัพย์สิน แต่รวมถึงประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินด้วย
4. การใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะทำอันตราย
ไม่จำกัดเฉพาะตัวบุคคลเท่านั้น
แต่รวมถึงชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สามด้วย
5. ขู่ให้ส่งบุตรสาวไปเป็นภรรยา
ไม่ใช่ประโยชน์ในลักษณะเป็นทรัพย์สินไม่ผิดฐานกรรโชก แต่เป็นความผิดต่อเสรีภาพ
ข่มขืนใจให้ได้มาซึ่งประโยชน์ที่ไม่ใช่ทรัพย์สินไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก ดูฎีกาที่
1147/2513
6. เมื่อผู้ถูกข่มขืนใจยอมให้หรือยอมจะให้ตามที่ถูกข่มขืนใจแล้ว
ย่อมเป็นความผิดสำเร็จทันที แม้ผู้ถูกข่มขืนใจจะยังไม่ได้รับประโยชน์นั้นมาก็ตาม
แต่ถ้าผู้ถูกข่มขืนใจไม่ยอมให้หรือไม่ยอมจะให้ ไม่ว่าเพราะเหตุใด เช่นไม่กลัว
เป็นความผิดพยายามกรรโชก
แม้ผู้ถูกข่มขืนใจยอมให้เพราะตำรวจให้นำไปให้เพื่อเป็นพยานหลักฐานในการจับกุมผู้ข่มขู่ก็ตาม
ก็เป็นความผิดเพียงพยายามกรรโชกทรัพย์
แต่ถ้าผู้เสียหายรู้ตัวว่าจะมีคนร้ายมาขู่เรียกเงิน จึงได้แจ้งความเจ้าพนักงานตำรวจไว้ก่อน
เจ้าพนักงานตำรวจได้มาอารักขาอยู่แล้ว จึงเข้าจับกุมจำเลย
ดังนี้ย่อมไม่ผิดฐานกรรโชก แต่ศาลลงโทษความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพ
ตามฎีกาที่ 396/2503
7. การข่มขู่ว่าจะให้ตำรวจจับผู้ที่กระทำผิดต่อเรา
เช่น มีคนมาลักสิ่งของของเราไป แล้วเราขู่ว่าให้ผู้นั้นใช้ราคาสิ่งของและเรียกค่าเสียหาย
เป็นสิทธิตามกฎหมายที่จะกระทำได้
ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์เพราะเป็นการข่มขู่จะใช้สิทธิตามกฎหมายและเป็นการใช้สิทธิของตนโดยสุจริต
ดูฎีกาที่ 2688/2530 , 5599/2531
แต่ถ้าเขาไม่ได้กระทำอะไรต่อเราเลย ถ้าไปขู่เขาโดยเจตนาไม่สุจริตย่อมเป็นความผิดกรรโชกทรัพย์
เพราะไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ แต่ถ้าเราเชื่อว่าเขากระทำผิดต่อเรา จึงไปขู่เข็ญ
เป็นการสำคัญผิด ยังไม่เป็นความผิดกรรโชกทรัพย์เช่นกัน
8. แม้การขู่เข็ญนั้นจะเกิดจากการกระทำที่ร่วมกันฉ้อโกงมิได้ตั้งใจจะขู่เข็ญอย่างจริงจังก็ตาม
หากผู้ถูกขู่เข็ญไม่ทราบความจริง ผู้ขู่เข็ญก็ยังต้องมีความผิดฐานกรรโชก ดูฎีกาที่
1278/2503
9. การที่เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ
ให้เขาหามาให้ซึ่งทรัพย์สิน ย่อมเป็นความผิดฐานกรรโชกด้วย แต่ความผิดตาม ป.อาญา
มาตรา 148 มีโทษ สูงกว่า ส่วนเจ้าพนักงานกระทำผิดตาม มาตรา 149
เป็นการกระทำในอำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ ไม่ผิดกรรโชกทรัพย์ ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น