ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

อยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่

๑.คำว่า บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร “กระทำผิดด้วยกัน” นั้น ไม่จำต้องเป็นเรื่องทหารและพลเรือน “ร่วมกัน” กระทำผิดตาม ปอ. มาตรา ๘๓เสมอไป แม้ทหารและพลเรือนกระทำผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้คนตาย ก็เป็นเรื่อง “ กระทำผิดด้วยกัน” จึงไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร คำพิพากษาฏีหกา๑๑๐๔/๒๕๑๓
๒.กระทำผิดร่วมกันตามมาตรา ๑๔(๑)พรบ.ธรรมนูญทหาร ฯ มีความหมายกว้างกว่าร่วมกันกระทำผิดตามมาตรา ๘๓ แห่งประมวลกฎหมายอาญา บุคคลที่กระทำผิด “ หาจำต้องมีเจตนาร่วมกันเสมอไปไม่ “ การที่ทหารและพลเรือนใช้อาวุธปืนและมีดทำร้ายร่างกายกันต่อกัน แม้ต่างคนต่างไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย แต่ก็ถือได้ว่าการทำร้ายร่างกายกันและกันกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเป็นส่วนรวม บ้านเมืองที่มีหน้าที่รักษาความสงบสุขในหมู่ประชาชนย่อมเป็นผู้เสียหาย ซึ่งเป้นความเสียหายที่เกิดจากการกระทำผิดของทหารและพลเรือนกระทำด้วยกัน กรณีต้องด้วยมาตรา ๑๔(๑) เป็นอำนาจศาลพลเรือนที่จะพิจารณา คำพิพากษาฏีกา ๑๖๘๔/๒๕๒๑
ข้อสังเกต ๑. คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
๑.๑ บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร “ กระทำผิดด้วยกัน”
๑.๒คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
๑.๓คดีที่ต้องดำเนินการในศาลเยาวชนและครอบครัว
๑.๔คดีที่ศาลทหารเห็นว่า ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
๒.ความผิดที่อยู่ในเขตอำนาจศาลทหารยามบ้านเมืองปกติ
๒.๑นายทหารสัญญาบัตรประจำการ
๒.๒ นายทหารสัญญาบัตรนอกประจำการ เฉพาะกระทำความผิดต่อคำสั่ง ข้อบังคับ ตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร
๒.๓นายทหารประทวนและพลทหารกองประจำการหรือประจำการ หรือบุคคลที่รับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
๒.๔นักเรียนทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด
๒.๕ทหารกองเกินที่ถูกเข้ากองประจำการซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้รับตัวไว้เพื่อให้เข่ารับราชการประจำอยู่ในหน่วยทหาร
๒.๖พลเรือนที่สังกัดในราชการทหาร เมื่อกระทำผิดในหน้าที่ราชการทหาร หรือกระทำผิดอย่างอื่นเฉพาะ ใน หรือ บริเวณ อาคาร ที่ตั้งหน่วยทหาร ที่พักร้อน พักแรม เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะใดๆในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
๒.๗บุคคลที่ต้องขังหรืออยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ทหารโดยชอบด้วยกฎหมาย หากเป็นการควบคุมหรือขังที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายของเจ้าหน้าที่ทหาร ย่อมไม่อยู่ในความหมายนี้
๒.๘เชลยศึก หรือชนชาติศัตรู ซึ่งอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
๓.คำว่า “กระทำผิดด้วยกัน” นั้น ไม่จำต้องเป็นเรื่องทหารและพลเรือนร่วมกันกระทำผิดตาม ปอ. มาตรา ๘๓เสมอไป คือไม่จำเป็นต้องเป็น “ ตัวการร่วมกัน” ในการกระทำผิด แม้ทหารและพลเรือนกระทำผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้คนตาย ก็เป็นเรื่อง “ กระทำผิดด้วยกัน” นั้นก็คือ แม้ทั้งทหารและพลเรือนต่างคนต่างประมาทด้วยกันทั้งสอง( ไม่ใช่ประมาทร่วม เพราะการกระทำโดยประมาทร่วมกันมีไม่ได้ คงมีได้แต่ต่างคนต่างกระทำโดยประมาท” เท่านั้น เมื่อทหารและพลเรือนต่างคนต่างประมาทและผลของความประมาทเป็นเหตุให้คนตาย ก็ถือว่า “ เป็น “การกระทำร่วมกัน” ของทหารและพลเรือนแล้ว จึงไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
๔.กระทำผิดร่วมกันตามมาตรา ๑๔(๑)พรบ.ธรรมนูญทหาร ฯ มีความหมายกว้างกว่าร่วมกันกระทำผิดตามมาตรา ๘๓ แห่งประมวลกฎหมายอาญา โดยในพระธรรมนูญศาลทหาร นั้น บุคคลที่ ”กระทำผิดร่วมกัน” “ หาจำต้องมีเจตนาร่วมกันในการกระทำผิดร่วมกันเสมอไปไม่ “ แม้แต่ละคนต่างมีเจตนากระทำความผิดเป็นของตัวเอง แต่เมื่อทั้งสองฝ่ายกระทำความผิดต่อกันและกัน ถือมีเจตนาร่วมกันในการกระทำความผิดแล้ว การที่ทหารและพลเรือนต่างคนต่างมีเจตนาทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน แม้ไม่ได้มีเจตนาร่วมกันในการไปทำร้ายคนอื่นก็ตาม แต่เมื่อมีเจตนาทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน ถือมีเจตนา “ร่วมกัน” ในการกระทำความผิด จึงเป็นกรณีที่ทหารและพลเรือนร่วมกันกระทำความผิดจึงอยู่ในอำนาจศาลพลเรือนที่จะพิจารณาพิพากษา
๕.การที่ทหารและพลเรือนต่างใช้อาวุธปืนและมีดทำร้ายร่างกายกันต่อกัน แม้ต่างคนต่างไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย เป็นเพียงผู้เสียหายโดยพฤตินัย เพราะมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าการทำร้ายร่างกายกันและกันกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเป็นส่วนรวม บ้านเมืองที่มีหน้าที่รักษาความสงบสุขในหมู่ประชาชนย่อมเป็นผู้เสียหาย ซึ่งเป็นความเสียหายที่เกิดจากการกระทำผิดของทหารและพลเรือนกระทำด้วยกัน กรณีต้องด้วยมาตรา ๑๔(๑) เป็นอำนาจศาลพลเรือนที่จะพิจารณา การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาว่าไม่ใช่ผู้เสียหายเพราะทั้งทหารและพลเรือน ไม่ได้กระทำต่อ “ ผู้อื่น หรือสิ่งอื่น” นั้นศาลฏีกาไม่เห็นด้วย โดยศาลฏีกาเห็นว่าการต่อสู้ทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ที่แผ่นดินมีหน้าที่รักษาความสงบสุขในบ้านเมือง การที่ปล่อยให้ทหารและพลเรือนใช้อาวุธทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันโดยต่างถือว่าทั้งคู่ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะดำเนินคดีแก่กันและกันหาได้ไม่มิเช่นนั้นแล้วจะเกิดความวุ่นวายในแผ่นดิน ซึ่งในกรณีนี้ถือว่าแผ่นดินเป็นผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีกับทั้งทหารและพลเรือนที่ศาลพลเรือน

ไม่มีความคิดเห็น: