ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2560

“ข่มขืนแล้วสมรส”

๑.ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปี ถ้าเป็นการกระทำที่ชายกระทำแก่เด็กหญิงอายุกว่า ๑๓ ปีแต่ไม่เกิน ๑๕ ปี โดยหญิงยินยอม และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและหญิงนั้นสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษตาม ปอ มาตรา ๒๗๗วรรคแรก(เดิม)และวรรคท้าย(เดิม) มีความหมายว่า ในกรณีที่ชายหญิงอายุไม่เกิน ๑๗ ปีบริบรูณ์ยังไม่อาจที่จะสมรสกันได้ หากจะสมรสต้องมีคำสั่งศาลอนุญาตให้ทำการสมรสได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๔๔๘ หรือกรณีที่ชายหรือเด็กหญิงเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามและมีภูมิลำเนาในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูลทำการสมรสถูกต้องตามหลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวมรดก ซึ่งมีพรบ.ให้ใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูล พ.ศ. ๒๔๙๘ อันเป็นกฎหมายพิเศษใช้บังคับแก่ผู้นับถือกฎหมายอิสลามในส่วนที่เกี่ยวกับครอบครัวมรดกเฉพาะในเขต ๔ จังหวัดดังกล่าวแทนบทบัญญัติแห่ง ปพพ บรรพ ๕ บรรพ ๖ จึงมีผลให้ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษ จำเลยกับผู้เสียหายที่ ๒นับถือศาสนาอิสลามมีภูมิลำเนาในจังหวัดสตูลทำการสมรสโดยถูกต้องตามกฎหมายอิสลาม จึงไม่ต้องรับโทษตาม ปอ มาตรา ๒๗๗วรรคแรก(เดิม) แม้จำเลยไม่ฏีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฏีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๕,๒๒๕ คำพิพากษาฏีกาที่ ๘๕๒๓/๒๕๕๒
๒. จำเลยที่ ๑ กระทำชำเราผู้เสียหายขณะผู้เสียหายอายุยังไม่เกิน ๑๕ ปีโดยผู้เสียหายยินยอมเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๗๗วรรคแรก ส่วนในวรรคท้ายที่บัญญัติว่า ความผิดดังกล่าวถ้าเป็นการกระทำที่ชายกระทำแก่เด็กหญิงอายุกว่า ๑๓ ปี แต่ไม่เกิน ๑๕ ปีโดยเด็กหญิงนั้นยินยอม และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายหญิงสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ หมายความว่าในกรณีที่ชายหญิงอายุไม่ครบ ๑๗ ปีบริบรูณ์ ยังไม่อาจสมรสกันได้ต้องรอคำสั่งศาลอนุญาตให้ทำการสมรส(ปพพ มาตรา ๑๔๔๘) มีผลให้ชายผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ แต่เมื่อจำเลยที่ ๑ และผู้เสียหายมีอายุครบ ๑๗ ปีบริบรูณ์แล้วก็ย่อมจดทะเบียนสมรสกันได้เองโดยไม่ต้องรับอนุญาตจากศาลก่อน ถือว่าจำเลยที่ ๑ กับผู้เสียหายเป็นสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยที่ ๑ จึงไม่ต้องรับโทษ คำพิพากษาฏีกา ๖๔๘๔/๒๕๔๕
ข้อสังเกต ๑.กระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปี(คือน้อยกว่าหรือเท่ากับ ๑๕ ปี)ซึ่งไม่ใช่ภรรยาโดยเด็กนั้นยินยอมหรือไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย( ปอ มาตรา ๒๗๗ วรรคแรก) หากผู้กระทำผิดอายุไม่เกิน ๑๘ ปี(คืออายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ ๑๘ ปี)กระทำชำเราต่อเด็กอายุกว่า ๑๓ ปี(คืออายุมากกว่า ๑๓ ปีขึ้นไปตั้งแต่ ๑ วัน) แต่ยังไม่เกิน ๑๕ ปี (คือยังไม่ถึง ๑๕ ปีบริบรูณ์ คือน้อยกว่า ๑๕ ปี หรือ ๑๕ ปีบริบรูณ์) โดยเด็กนั้นยินยอม ต่อมาศาลอนุญาตให้ทำการสมรส ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษตาม ปอ มาตรา ๒๗๗ วรรคท้าย หากศาลอนุญาตให้ทำการสมรสขณะที่กำลังรับโทษอยู่ ให้ศาลปล่อยตัวผู้กระทำผิดไป
๒.คำว่า “ ไม่ต้องรับโทษ” หมายความว่า ยังเป็นความผิดอยู่เพียงแต่ไม่ต้องรับโทษเท่านั้น หากสำนวนอยู่ในชั้นของพนักงานอัยการน่าจะปรับได้ตาม ปวอ มาตรา ๓๙(๗) ที่บัญญัติว่า สิทธิ์นำคดีอาญามาฟ้องระงับ เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ ซึ่งตามระเบียบสนง.อัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญา ข้อ ๕๔ ให้พนักงานอัยการมีคำสั่ง “ยุติการดำเนินคดี” โดยให้เหตุผลว่า มีกฎหมายยกเว้นโทษ โดยไม่ต้องปฏิบัติตาม ปวอ มาตรา ๑๔๕และ น่าจะรวมถึง๑๔๕/๑ด้วย ที่ต้องส่งสำนวนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โดยพนักงานอัยการผู้มีอำนาจในการดำเนินคดีเป็นผู้สั่งแล้วเสนอผู้บังคับบัญชาถัดไปอีกหนึ่งชั้นทราบ พร้อมแจ้งคำสั่งยุติการดำเนินคดีแก่พนักงานสอบสวนเพื่อแจ้งผู้ต้องหาหรือผู้ร้องทุกข์ทราบ หากปรากฏในภายหลังว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้อง ให้หัวหน้าพนักงานอัยการทำความเห็นแล้วส่งสำนวนพร้อมความเห็นไปให้อธิบดีเป็นผู้สั่งเพิกถอนคำสั่งนั้น หากอธิบดีเป็นผู้สั่งให้ทำความเห็นเสนอตามลำดับชั้นไปให้อัยการสูงสุดหรือรองอัยการสูงสุดที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้สั่ง
๓.ชายหญิงอายุ ๑๗ ปีบรูณ์แล้วจึงจะทำการสมรสกันได้ เว้นแต่ในกรณีมีเหตุอันควร ศาลอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้ ปพพ มาตรา ๑๔๔๘ โดยในการสมรสของผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจาก
๓.๑บิดามารดา ในกรณีที่มีบิดามารดา
๓.๒บิดาหรือมารดา ในกรณีที่บิดาหรือมารดาตายหรือถูกถอนอำนาจปกครอง หรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่จะให้ความยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจร้องขอความยินยอมจากบิดามารดาได้
๓.๓ผู้รับบุตรบุญธรรมกรณีผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม
๓.๔ผู้ปกครอง ในกรณีที่ไม่มีบุคคลตามข้อสังเกตที่ ๓.๑, ๓.๒, ๓.๓ หรือมีแต่ถูกถอนอำนาจปกครอง
๔.การสมรสที่กระทำไปโดยปราศจากความยินยอมจากบุคคลตามข้อสังเกตที่ ๓.๑ถึง ๓..๔ตกเป็นโมฆียะ ปพพ มาตรา ๑๔๕๔,๑๔๓๖,๑๕๐๙
๕.ผู้ใช้อำนาจปกครองอาจถูกถอนอำนาจปกครองได้ หากเป็นคนไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ หรือใช้อำนาจปกครองโดยไม่ชอบ ประพฤติชั่วร้าย ศาลอาจถอนอำนาจปกครอง หรือญาติหรือพนักงานอัยการร้องขอ ตาม ปพพ มาตรา ๑๕๘๒
๖..ความเป็นผู้ปกครองสิ้นสุดลงเมื่อตาย ลาออกโดยได้รับอนุญาตจากศาล เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ เป็นบุคคลล้มละลายหรือถูกถอนโดยคำสั่งศาล ปพพ มาตรา ๑๕๙๘/๗
๗.”ผู้ปกครอง” แตกต่างกับ “ ผู้ใช้อำนาจปกครอง”..
“ ผู้ปกครอง” หรือ “อำนาจปกครอง” เป็นไปตาม บทบัญญัติใน ปพพ มาตรา ๑๒๕๖๖ ที่บุตรผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส ปพพ มาตรา ๒๐ หรือไม่บรรลุนิติภาวะโดยอายุครบ ๒๐ ปีบริบรูณ์ ตาม ปพพ มาตรา ๑๙.อำนาจปกครองบุตรย่อมตกแก่บิดามารดาหรือตกแก่บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่ง ตาม ปพพ มาตรา ๑๕๖๖ กรณีบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ตาย ไม่แน่ว่ายังมีชีวิตอยู่หรือตายแล้ว ถูกศาลสั่งเป็นคนไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ หรือต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน หรือศาลมีคำสั่งให้อำนาจปกครองตกแก่บิดาหรือมารดา หรือบิดามารดาตกลงกันตามที่กฎหมายบัญญัติให้ตกลงกันได้
ส่วน “ผู้ปกครอง” เป็นกรณีที่ เด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะ และไม่มีบิดามารดา หรือมีแต่ถูกถอนอำนาจปกครอง ศาลจะตั้งผู้ปกครองขึ้นตาม ปพพ มาตรา ๑๕๘๕.ซึ่งใครก็ได้ที่บรรลุนิติภาวะแล้วสามารถเป็น “ ผู้ปกครองเด็กได้ เว้นแต่เข้าข้อห้ามตาม ปพพ มาตรา ๑๕๕๗ โดยบุคคลนั้นเป็นคนไร้ความสามารรถหรือเสมือนไร้ความสามารถ เป็นคนล้มละลาย หรือไม่เหมาะที่จะปกครองผู้เยาว์หรือทรัพย์สินของผู้เยาว์ หรือมี เคยมีคดีในศาลกับผู้เยาว์ บุพการีหรือพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดาเดียวกับผู้เยาว์ หรือบุคคลที่บิดามารดาที่ตายทำหนังสือระบุห้ามไม่ให้เป็นผู้ปกครอง....
.๘.ความสมบรูณ์ของการสมรสตามกฎหมายอิสลาม (หลักกฎหมายข้อ ๔๖)
๘.๑ต้องมีคู่สมรสชายและคู่สมรสหญิง
๘.๒มีวลีของคู่สมรสหญิง (วลีใน หมายถึง ผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามกฎหมายซึ่งเป็นผู้ให้ความยินยอมในพิธีนิกะห์)
๘.๓มีพยานอย่างน้อย ๒ คน โดยพยานต้องมีคุณสมบัติตามกฎหมายด้วย
๘.๔มีการเปล่งวาจา “เสนอ” การสมรสของ “วลี” ฝ่ายหญิง (เรียก อีญาบ) และมีการเปล่งวาจา “สนองรับ” การสมรสของฝ่ายชาย( เรียก กอบูล”) หลักกกหมายข้อ ๕๔
๘.๕เงื่อนไขอื่นๆอีก ซึ่งบางข้อมีข้อความเหมือนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยมีการเพิ่มเติมลายละเอียดตามบทบัญญัติของศาสนา ซึ่งต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด การไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายก็เหมือนการปฏิบัติผิดบทบัญญัติของศาสนา ทำให้ตกเป็นโมฆะ แล้วยังเป็นบาปอีก เพราะกฏหมายอิสลามและบทบัญญัติเรื่องศาสนาอิสลามเป็นเรื่องเดียวกัน เพราะมีการเพิ่มเติมบทบัญญัติในทางศาสนาเข้าไปในตัวบทกฏหมาย
๙. ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปี ถ้าเป็นการกระทำที่ชายกระทำแก่เด็กหญิงอายุกว่า ๑๓ ปีแต่ไม่เกิน ๑๕ ปี โดยหญิงยินยอม และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและหญิงนั้นสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษตาม ปอ มาตรา ๒๗๗วรรคแรก(เดิม)และวรรคท้าย(เดิม) มีความหมายว่า ในกรณีที่ชายหญิงอายุไม่เกิน ๑๗ ปีบริบรูณ์ยังไม่อาจที่จะสมรสกันได้ หากจะสมรสต้องมีคำสั่งศาลอนุญาตให้ทำการสมรสได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๔๔๘ หรือกรณีที่ชายหรือเด็กหญิงเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามและมีภูมิลำเนาในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูลทำการสมรสถูกต้องตามหลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวมรดก ซึ่งมีพรบ.ให้ใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูล พ.ศ. ๒๔๙๘ อันเป็นกฎหมายพิเศษใช้บังคับแก่ผู้นับถือกฎหมายอิสลามในส่วนที่เกี่ยวกับครอบครัวมรดกเฉพาะในเขต ๔ จังหวัดดังกล่าวแทนบทบัญญัติแห่ง ปพพ บรรพ ๕ บรรพ ๖ จึงมีผลให้ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษ
๑๐.จำเลยกับผู้เสียหายที่ ๒นับถือศาสนาอิสลามมีภูมิลำเนาในจังหวัดสตูลทำการสมรสโดยถูกต้องตามกฎหมายอิสลาม คือต้องสมรสโดยผ่านพิธีนิกะห์(คือพิธีการผูกนิติสัมพันธ์ทางการสมรสระหว่างชายหญิง เพื่อเป็นสามีภรรยากันตามกฎหมาย) จึงจะเป็นการสมรสที่สมบรูณ์ (หมวด ๒ ข้อ ๓๒) เมื่อทำพิธีนิกะห์เรียบร้อยแล้วจึงไปทำการจดทะเบียนสมรสตามกฏหมายแพ่งและพาณิชย์สำทับอีกทีที่อำเภอ เพื่อให้เกิดความสมบรูณ์กล่าวอ้างความเป็นสามีภรรยาต่อคนทั้งประเทศได้ ชายสามารถมีภรรยาได้ไม่เกิน ๔ คน ภายใต้เงื่อนไข คือต้องมีเหตุผลและความจำเป็นที่ชัดเจน และมีความสามารถที่จะให้ความเป็นธรรมในการปกครอง หรือในการแบ่งเวรอยู่กินกับภรรยาอื่นได้ ( ข้อ ๔๐) มีข้อน่าสังเกตคือ ตาม ปพพ มาตรา ๑๔๔๘กำหนดอายุของชายหญิงที่จะทำการสมรสกันไว้ว่าต้อง ๑๗ ปีบริบรูณ์ แต่กฎหมายอิสลามไม่ได้กำหนดอายุไว้ตายตัวเพียงใช้คำว่า “ คู่สมรสบรรลุศาสนภาวะและมีสติเยี่ยงวิญญูชน ซึ่งการบรรลุศาสนภาวะ หมายถึง การพ้นจากการเป็นผู้เยาว์ เมื่อมีอายุ ๑๕ ปีบริบรูณ์ หรือน้ำกามเคลื่อนด้วยเหตุใดๆ หรือหญิงมีประจำเดือน ดังนั้นแม้อายุเพียง ๑๒ ปี หากมีประจำเดือน หรือชายที่มีน้ำกาม(อสุจิ)หลังก็สามารถเข้าพิธีนิกะห์ได้ ข้อ ๔๗(๔),๑(๑๕)
๑๑.เมื่อผู้กระทำผิดได้ทำการสมรสตามกฏหมายแพ่งและพาณิชย์คือมีการจดทะเบียนสมรสตาม ปพพ มาตรา ๑๔๕๗ โดยไม่คำนึงว่าจะมีการหมั้นหรือไม่ ไม่คำนึงว่าจะมีการแต่งงานกันตามประเพณีหรือไม่ คำนึงว่ามีการจดทะเบียนสมรสกันถือได้สมรสกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ส่วนบุคคลที่นับถือศาสนาอิสลามได้ทำการสมรสโดยถูกต้องตามกฎหมายอิสลามแล้ว ผู้กระทำผิด จึงไม่ต้องรับโทษตาม ปอ มาตรา ๒๗๗วรรคแรก(เดิม)
๑๒.ปัญหาว่า “ผู้กระทำความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปีซึ่งไม่ใช่ภรรยาหรือสามีของตน โดยผู้กระทำผิดอายุไม่เกิน ๑๘ ปีบริบรูณ์กระทำต่อเด็กอายุกว่า ๑๓ ปี แต่ไม่เกิน ๑๕ ปีโดยเด็กยินยอม และศาลอนุญาตให้ทำการสมรส” อันมีผลให้ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษตาม ปอ มาตรา ๒๗๗ นั้น เป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน แม้จำเลยไม่ฏีกาหรือไม่ได้เป็นข้อที่ว่ากันมาแล้วในชั้นศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ ศาลฏีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๕,๒๒๕
๑๓. จำเลยที่ ๑ กระทำชำเราผู้เสียหายขณะผู้เสียหายอายุยังไม่เกิน ๑๕ ปีโดยผู้เสียหายยินยอมเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๗๗วรรคแรก ส่วนในวรรคท้ายที่บัญญัติว่า ความผิดดังกล่าวถ้าเป็นการกระทำที่ชายกระทำแก่เด็กหญิงอายุกว่า ๑๓ ปี แต่ไม่เกิน ๑๕ ปีโดยเด็กหญิงนั้นยินยอม และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายหญิงสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ หมายความว่าในกรณีที่ชายหญิงอายุไม่ครบ ๑๗ ปีบริบรูณ์ ยังไม่อาจสมรสกันได้ต้องรอคำสั่งศาลอนุญาตให้ทำการสมรส(ปพพ มาตรา ๑๔๔๘) มีผลให้ชายผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ แต่เมื่อจำเลยที่ ๑ และผู้เสียหายมีอายุครบ ๑๗ ปีบริบรูณ์แล้วก็ย่อมจดทะเบียนสมรสกันได้เองโดยไม่ต้องรับอนุญาตจากศาลก่อน เมื่อทำการสมรสกันระหว่างชายหญิง อายุ ๑๗ กับ ๑๗ ปีบริบรูณ์ ถือว่าจำเลยที่ ๑ กับผู้เสียหายเป็นสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยที่ ๑ จึงไม่ต้องรับโทษ
๑๔.โดยใน ปพพ มาตรา ๑๔๔๘ ชายหญิงจะทำการสมรสได้เมื่อมีอายุ ๑๗ ปีบริบรูณ์ เว้นแต่มีเหตุอันควรเช่น หญิง อายุ ๑๕ ปี แต่ตั้งครรถ์ ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนอายุครบ ๑๗ ปีบริบรูณ์ได้ การที่กฏหมายบัญญัติให้ชายหญิงที่มีอายุครบ ๑๗ ปีบริบรูณ์ทำการสมรสกันได้ ก็หมายความว่าให้ชายหญิงที่มีอายุครบ ๑๗ ปีบริบรูณ์สามารถจดทะเบียนสมรสกันได้ เพราะใน ปพพ มาตรา ๑๔๕๗ บัญญัติให้ การสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะมีได้แต่เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนสมรสกันแล้วเท่านั้น เมื่อนำบทบัญญัติในกฎหมายสองมาตราดังกล่าวมาประกอบกันจึงตีความว่า อายุ ๑๗ ปีบริบรูณ์ทั้งชายหญิงสามารถจดทะเบียนสมรสกันได้แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลตามข้อสังเกตข้อ ๓.๑ถึง ๓.๔ เสียก่อน ซึ่งคงไม่หมายความเฉพาะอายุ ๑๗ ปีบริบรูณ์แล้วสามารถแต่งงานกันได้เท่านั้นเพราะการแต่งงานไม่ใช่การสมรสตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นเพียงประเพณีพิธีกรรมที่กระทำกันเท่านั้น หากไม่มีการจดทะเบียนสมรสกันก็ถือไม่ได้ว่าชายหญิงเป็นสามีภรรยากัน หญิงถือว่าอยู่ในฐานะนางบำเรอของชายเท่านั้น แต่ไมได้อยู่ในฐานะเป็นภรรยาโดยถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการที่ชายหญิงอายุ ๑๗ปีบริบรูณ์ยังไม่อายุ ๒๐ ปีบริบรูณ์ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามปพพ มาตรา ๑๙ก็ตามแต่สามารถทำการสมรสกันได้ โดยการสมรสระหว่างชายหญิงที่อายุ ๑๗ ปีบริบรูณ์นั้นคู่สมรสซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลตามข้อสังเกตที่ ๓.๑ถึง ๓.๔ด้วย มิเช่นนั้นการสมรสดังกล่าวตกเป็นโมฆียะ สมบรูณ์จนกว่าจะถูกบอกล้าง เมื่อถูกบอกล้างแล้วถือว่าเป็นโมฆะมาแต่แรกตาม ปพพ มาตรา ๑๗๖
๑๒.ขอเป็นกบนอกกะลาหน่อย เมื่อสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมตกเป็นโมฆียะสมบรูณ์จนกว่าจะถูกบอกล้าง ตราบใดยังไม่ถูกบอกล้างถือว่าการสมรสยังสมบรูณ์อยู่ ดังนั้นโทษในทางอาญาในความผิดฐานกระทำชำเรา ฯ ตาม ปอ มาตรา ๒๗๗ย่อมระงับไปด้วยเพราะมีการสมรสกันแล้ว แต่อาจมีคนเห็นต่างเห็นว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายคงประสงค์ว่าต้องทำการสมรสให้ถูกต้องตามกฏหมายคือมีการจดทะเบียนโดยได้รับความยินยอมจากบุคคลตามข้อสังเกตข้อ ๓.๑ถึง ๓.๔แล้วจึงทำให้โทษระงับไป
๑๓.ในความเห็นส่วนตัวไม่ค่อยเห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้ การที่ฝ่ายชายยอมแต่งงานเพราะมีความรักในตัวผู้หญิงหรือแต่งงานเพื่อไม่ต้องถูกดำเนินคดี หากคิดจะแต่งงานยกย่องฝ่ายหญิงอย่างแท้จริงก็น่าจะให้ผู้ให้มาสู่ขอให้เป็นเรื่องเป็นราวไม่ใช่มาลักลอบได้เสียกันพอจะถูกดำเนินคดีก็มาสมรสกัน การสมรสที่เกิดนี้เกิดจากความสมัครใจหรือไม่อย่างไร ในภายภาคหน้าจะมีการจดทะเบียนหย่าหรือมีการฟ้องหย่ากันอีกหรือไม่อย่างไร ปัญหาที่ตามมาคือสินสมรสที่ต้องแบ่งกัน และปัญหาเรื่องลูกที่ไมได้รับความอบอุ่นเพราะพ่อแม่แยกทางกันและเกิดปัญหาว่าเด็กจะอยู่กับใครระหว่างพ่อกับแม่ นักร่างกฎหมายอาจมองว่าไหนๆก็เสียไปแล้วก็มาทำให้ถูกต้องตามประเพณี เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวได้ หากจะดำเนินคดีไป ฝ่ายหญิงอาจช่วยฝ่ายชายด้วยการไม่ยอมมาศาลจนศาลตัดพยานแล้วยกฟ้องเพราะไม่มีประจักษ์พยานมาเบิกความที่ศาล ซึ่งปัญหาตามมาคือ ต้องมีการดำเนินคดีฐานขัดหมายเรียกอีกหรือไม่อย่างไร หรือหญิงมาเบิกความที่ศาลก็เบิกความให้ต่างจากที่ให้การในชั้นสอบสวนว่าจำเลยไม่เคยร่วมประเวณีกับตน ซึ่งต้องมาดำเนินคดีกับเด็กฐานเบิกความเท็จหรือแจ้งความเท็จอีก สู้ตัดปัญหาไปเลยว่ามาสมรสกันภายหลังแล้ว ไม่ต้องรับโทษดีกว่าไหม?

ไม่มีความคิดเห็น: