๑. โจทก์ทั้งสองซื้อที่พิพาทจาก อ. โดยมอบให้ อ. ครอบครองแทน แม้ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าที่ พรบ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน ฯ มาตรา ๙ จะโอนที่ดินมือเปล่าให้แก่กันไม่ได้ แต่ที่ดินมือเปล่าเจ้าของมีสิทธิ์ครอบครอง โดย ปพพ มาตรา ๑๓๗๘ การโอนไปซึ่งสิทธิ์ครอบครองนั้นย่อมกระทำโดยส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครอง ซึ่งมาตรา ๑๓๘๐ วรรคแรก บัญญัติรองรับว่าด้วยการโอนไปซึ่งการครอบครองเป็นผลแม้ผู้โอนยังยึดถือทรัพย์สินอยู่ ถ้าผู้โอนแสดงเจตนาต่อไปว่าจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้รับโอน เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ฏีกาโต้แย้งในประเด็นว่า โจทก์ทั้งสองไม่ได้มอบหมายให้ อ. ครอบครองแทน โจทก์ทั้งสองจึงได้สิทธิ์ครอบครองที่พิพาทมาจาก อ. โดยการโอนและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทกันตาม ปพพ มาตรา ๑๓๗๘ , ๑๓๘๐วรรคหนึ่ง ,๑๓๗๕วรรคสอง ที่บัญญัติให้ผู้ถูกแย่งการครอบครองต้องฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน ๑ ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองนั้นเป็นบทบัญญัติที่กำหนดระยะเวลาฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองกรณีที่ถูกแย่งการครอบครองเท่านั้น การที่จำเลยที่ ๒ ดำเนินการออก พรก.เพิกถอนสภาพที่ดินสาธารณะและทำแผนที่ท้าย พรก. เป็นการกระทำตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ จึงหาใช่การแย่งสิทธิ์ครอบครอง โจทก์ทั้งสองต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน ๑ ปี คำพิพากษาฏีกาที่ ๒๑๔๐/๒๕๓๒
๒. จำเลยทำสัญญาขายที่นาให้โจทก์โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่เมื่อที่นานั้นเป็นที่ดินมือเปล่ามีแค่สิทธิ์ครอบครอง และจำเลยที่เคยครอบครองอยู่ได้ขอเช่าได้ขอเช่าที่นานั้นจากโจทก์หลังจากทำสัญญาซื้อขายแล้ว กรณีต้องด้วย ปพพ มาตรา ๑๓๘๑วรรคหนึ่ง ว่า การโอนไปซึ่งการครอบครองย่อมเป็นผล ถ้าผู้โอนแสดงเจตนาว่าต่อไปจะยึดถือทรัพย์สินไว้แทนผู้รับโอน ถือได้ว่ามีการครอบครองให้โจทก์โดยถูกต้อง คำพิพากษาฏีกาที่ ๔๗๙/๒๕๑๔
๓. จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทรวมทั้งสิทธิ์การเช่าที่ดินที่ตึกพิพาทตั้งอยู่ใช้หนี้โจทก์โดยยอมให้โจทก์เข้าทำสัญญาเช่าที่ดินกับเจ้าของที่ดิน และจำเลยขออยู่ในตึกพิพาทต่อไปอีก ๒ เดือน แม้การโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทจะไม่บริบรูณ์เพราะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ก็ไม่ได้เป็นโมฆะ การที่จำเลยโอนสิทธิ์การเช่าที่ดินให้โจทก์ เป็นการแสดงเจตนาโอนการครอบครองตึกพิพาทให้โจทก์แล้ว การที่จำเลยอยู่ในตึกพิพาท ต่อมาก็โดยอาศัยสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์มีบุคลสิทธิ์ที่จะบังคับจำเลยให้ออกกจากตึกพิพาทซึ่งโจทก์มีสิทธิ์ครอบครองได้ โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่ คำพิพากษาฏีกาที่ ๔๓๕/๒๕๑๙
๔. การจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน มีแต่หนังสือรับรองการทำประโยชน์แบบ นส ๓ ต้องจดทะเบียนที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอ ตามหลักเกณท์และวิธีที่กำหนดในกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๗ พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๕ การโอนที่ดินชำระหนี้ไม่เข้ากรณีที่ไม่ต้องประกาศตามกฎกระทรวงข้อ ๖ แม้จำเลยตกลงโอนที่พิพาทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้และทำบันทึกข้อตกลงกันไว้ นิติกรรมนั้นยังจดทะเบียนไม่ได้จนกว่าจะได้ประกาศตามความในกฎกระทรวงข้อ ๕เสียก่อน เมื่อไม่ทำตามหลักเกณท์ที่กฎหายกำหนดไว้ การจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมย่อมไม่สมบรูณ์ หาทำให้โจทก์ได้ที่พิพาททางนิติกรรมไม่ จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของที่นาพิพาทร่วมกัน โอนที่นาชำระหนี้จำนองแล้ว จำเลยที่๑ เช่าที่นาพิพาทจากโจทก์ แม้การโอนโดยนิติกรรมไม่สมบรูณ์ แต่การที่จำเลยตกลงโอนที่นาชำระหนี้เป็นการแสดงเจตนาโอนการครอบครอง ให้โจทก์แล้ว การโอนการครอบครองแม้ผู้โอน แม้ผู้โอนยังยึดถือทรัพย์สินอยู่ ถ้าผู้โอนแสดงเจตนาว่าต่อไปจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้โอน การโอนมีผลตาม ปพพ มาตรา ๑๓๘๐ เมื่อจำเลยที่ ๑ทำสัญญาเช่านาพิพาทจากโจทก์แสดงว่าการทำนาต่อไปโดยเสียค่าเช่าให้โจทก์ เป็นการยึดถือที่นาพิพาทแทนโจทก์ โจทก์จึงเป็นเจ้าของนาพิพาทโดยการรับโอนการครอบครอง เมื่อจำเลยที่ ๑ ทำสัญญาเช่านาพิพาทโดยการรับโอนการครอบครอง เมื่อจำเลยที่ ๑ ทำสัญญาเช่านาพิพาทจากโจทก์เต็มทั้งแปลง จำเลยที่ ๑ ก็เป็นผู้ยึดทั้งแปลงแทนโจทก์ ทำให้โจทก์ได้ที่นาโดยการรับโอนการครอบครองจากจำเลยที่ ๒ ด้วยเช่นกัน กับจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๑จะให้ผู้ใดทำนาต่อก็เป็นบริวารของจำเลยที่ ๑เท่านั้น นาพิพาทเป็นของโจทก์ นาพิพาทจึงเป็นของโจทก์เต็มทั้งแปลง จำเลยที่ ๑ เช่านาโจทก์ทำปีเดียว เมื่อครบกำหนดแล้วไม่ส่งนาคืนแก่โจทก์และไม่ยอมออกไปจากที่พิพาท โจทก์มีสิทธิ์ฟ้องขับไล่เรียกค่าเช่าที่ไม่ชำระและค่าเสียหายเพราะเหตุที่จำเลยทั้งสองขัดขวางและขืนทำนาของโจทก์ต่อไปโดยละเมิดได้ สัญญาเช่าได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญาไว้แล้ว หาจำต้องบอกเลิกสัญญาอีกไม่ จำเลยที่ ๒ ไม่ได้นำหลักฐานเป็นหนังสือเช่านาโจทก์จะบังคับให้เสียค่าเช่าไม่ได้ คำพิพากษาฏีกาที่ ๕๕๘/๒๕๑๐
๕. จำเลยครอบครองที่ดินมือเปล่า ทำบันทึกยกที่ดินให้ทางราชการจัดตลาดสาธารณะตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป จำเลยยังเก็บประโยชน์ตามอัตราที่ทางการกำหนดเพื่อใช้ทำความสะอาด ถ้าทางราชการจะดำเนินการเองเมื่อใด จำเลยจะถอนตัวออกไปทันที เป็นกรณีจำเลนครอบครองแทนทางราชการ ที่พิพาทเป็นของแผ่นดินแล้ว คำพิพากษาฏีกาที่ ๑๒๒/๒๕๑๘
ข้อสังเกต ๑.ที่ดินมือเปล่าที่ พรบ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน ฯ มาตรา ๙ จะโอนที่ดินมือเปล่าให้แก่กันไม่ได้ โดยบทกฏหมายดังกล่าวบัญญัติให้ ที่ดินที่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้วให้โอนแก่กันได้ นั้นก็คือที่ดินที่ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว โดยยังคงเป็นที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้จับจองแต่ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอตามมาตรา ๘ แห่งกฎหมายดังกล่าว ไม่สามารรถโอนให้แก่กันได้เว้นแต่ตกทอดทางมรดก แม้จะโอนแก่กันไม่ได้ แต่ที่ดินมือเปล่าเจ้าของมีสิทธิ์ครอบครอง การโอนไปซึ่งสิทธิ์ครอบครองนั้นย่อมกระทำโดยส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครองตาม ปพพ มาตรา ๑๓๗๘ ซึ่ง ปพพ มาตรา ๑๓๘๐ วรรคแรก บัญญัติรองรับว่าด้วยการโอนไปซึ่งการครอบครองเป็นผลแม้ผู้โอนยังยึดถือทรัพย์สินอยู่ ถ้าผู้โอนแสดงเจตนาต่อไปว่าจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้รับโอน
๒.โจทก์ทั้งสองซื้อที่พิพาทจาก อ. โดยมอบให้ อ. ครอบครองแทน การครอบครองของ อ. จึงไม่ใช่การยึดถือเพื่อตนอันจะได้มาซึ่งสิทธิ์ครอบครอง ตาม ปพพ มาตรา ๑๓๖๗ แม้ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าที่ พรบ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน ฯ มาตรา ๙ จะโอนที่ดินมือเปล่าให้แก่กันไม่ได้ โดยที่ดินมือเปล่าเจ้าของยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ คงมีเพียงสิทธิ์ครอบครอง โดย ปพพ มาตรา ๑๓๗๘ การโอนไปซึ่งสิทธิ์ครอบครองนั้นย่อมกระทำโดยส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครอง ซึ่งมาตรา ๑๓๘๐ วรรคแรก บัญญัติรองรับว่าด้วยการโอนไปซึ่งการครอบครองเป็นผลแม้ผู้โอนยังยึดถือทรัพย์สินอยู่ ถ้าผู้โอนแสดงเจตนาต่อไปว่าจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้รับโอน
๓.เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ฏีกาโต้แย้งในประเด็นว่า “ โจทก์ทั้งสองไม่ได้มอบหมายให้ อ. ครอบครองแทน “ เท่ากับยอมรับว่า โจทก์ได้มอบหมายให้ อ. ครอบครองแทน ประเด็นใดที่ไม่มีการโต้แย้งเท่ากับยอมรับและไม่เกิดประเด็นข้อพิพาทตาม ปวพ มาตรา ๑๘๓ เพราะไม่มีข้อโต้แย้งข้ออ้างหรือมีข้อเถียงในข้ออ้างนั้นอย่างไร เมื่อไม่ได้ต่อสู้ว่า โจทก์ไม่มีสิทธิ์ครอบครองเป็นเพียงครอบครองแทนจำเลยเท่านั้น เมื่อไม่ได้ฏีกาโต้แย้งในประเด็นดังกล่าวไว้ เท่ากับยอมรับว่า โจทก์ไม่ได้ครอบครองแทนจำเลยแต่โจทก์มีสิทธิ์ครอบครองโดย อ. เป็นคนครอบครองแทนโจทก์
๔. เมื่อเป็นที่ดินมือเปล่า แม้พรบ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน ฯ มาตรา ๙ ห้ามไม่ให้มีการโอนก็ตาม แต่ การโอนไปซึ่งสิทธิ์ครอบครองที่ดินมือเปล่านั้นย่อมกระทำโดยส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครอง การโอนไปซึ่งการครอบครองเป็นผลแม้ผู้โอนยังยึดถือทรัพย์สินอยู่ ถ้าผู้โอนแสดงเจตนาต่อไปว่าจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้รับโอน โจทก์ทั้งสองจึงได้สิทธิ์ครอบครองที่พิพาทมาจาก อ. โดยการโอนและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทกันตาม ปพพ มาตรา ๑๓๗๘ , ๑๓๘๐วรรคหนึ่ง ,ซึ่งตาม ปพพ มาตรา ๑๓๗๕วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ถูกแย่งการครอบครองต้องฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน ๑ ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองนั้นเป็นบทบัญญัติที่กำหนดระยะเวลาฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองกรณีที่ถูกแย่งการครอบครองเท่านั้น จำเลยทั้งสองผู้ถูกแย่งการครอบครองต้องฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนดระยะเวลาที่กำหมายบัญญัติไว้
๕.ลำพังเพียงจำเลยที่ ๒ ดำเนินการออก พรก.เพิกถอนสภาพที่ดินสาธารณะและทำแผนที่ท้าย พรก. เป็นการกระทำตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ จึงหาใช่การแย่งสิทธิ์ครอบครอง ที่โจทก์ทั้งสองต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน ๑ ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง
๖. แม้จำเลยทำสัญญาขายที่นาให้โจทก์โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ปพพ มาตรา ๔๕๖ ก็ตาม แต่เมื่อที่นานั้นเป็นที่ดินมือเปล่ามีแค่สิทธิ์ครอบครอง การที่จำเลยเคยครอบครองอยู่ได้ขอเช่าที่นานั้นจากโจทก์หลังจากทำสัญญาซื้อขายแล้ว กรณีต้องด้วย ปพพ มาตรา ๑๓๘๑วรรคหนึ่ง ว่า การโอนไปซึ่งการครอบครองย่อมเป็นผล ถ้าจำเลยผู้โอนขายที่ดินแสดงเจตนาว่าต่อไปจะยึดถือทรัพย์สินไว้แทนโจทก์ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้รับโอนโดยจำเลยขอเช่าที่นานั้น ถือได้ว่าจำเลยมีการครอบครองที่นาแทนโจทก์ด้วยการเช่า ถือว่าจำเลยครอบครองแทนโจทก์โดยถูกต้องแล้ว
๗.จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทรวมทั้งสิทธิ์การเช่าที่ดินที่ตึกพิพาทตั้งอยู่ใช้หนี้โจทก์โดยยอมให้โจทก์เข้าทำสัญญาเช่าที่ดินกับเจ้าของที่ดิน และจำเลยขออยู่ในตึกพิพาทต่อไปอีก ๒ เดือน แม้การโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทจะไม่บริบรูณ์เพราะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางนิติกรรมซึ่งต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิเช่นนั้นไม่บริบรูณ์ ตาม ปพพ มาตรา ๑๒๙๙วรรคแรก แต่ก็ไม่ได้เป็นโมฆะ เป็นบุคคลสิทธิ์ที่ใช้บังคับระหว่างคู่กรณีได้ แม้ไม่บริบรูณ์เพราะไม่ได้ทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ก็ตาม ก็มีผลเพียงหาอาจใช้ยันบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนสิทธิ์โดยสุจริตไม่ได้เท่านั้น การที่จำเลยโอนสิทธิ์การเช่าที่ดินให้โจทก์ เป็นการแสดงเจตนาสละการครอบครองในตึกพิพาท โดยโอนการครอบครองตึกพิพาทให้โจทก์แล้ว การที่จำเลยอยู่ในตึกพิพาท ต่อมาก็โดยอาศัยสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์มีบุคลสิทธิ์ที่จะบังคับจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาให้ออกจากตึกพิพาทซึ่งโจทก์มีสิทธิ์ครอบครองได้ โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่
๘. การจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน มีแต่หนังสือรับรองการทำประโยชน์แบบ นส ๓ ต้องจดทะเบียนที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอ ตามหลักเกณท์และวิธีที่กำหนดในกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๗ พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๕ คือ ต้องทำในรูปหนังสือสัญญาทำเป็นคู่ฉบับเก็บไว้ที่สำนักงานที่ดิน ๑ ฉบับ มอบให้อีกฝ่ายหนึ่ง ๑ ฉบับหรือ ๒ ฉบับแล้วแต่กรณีและต้องประกาศการขอจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมมีกำหนด ๓๐ วัน ณ.ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ ๑ ฉบับ ที่บ้านกำนัน ๑ ฉบับ ณ.ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น ๑ ฉบับ หากเป็นในเขตเทศบาลให้ปิดไว้ที่สนง.เขตเทศบาลอีก ๑ ฉบับ
๙. การโอนที่ดินชำระหนี้ เป็นกรณีชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งเป็นเหตุให้หนี้ระงับไปตาม ปพพ มาตรา ๓๒๑ วรรคแรก กรณีนี้ไม่เข้ากรณีตามกฎกระทรวงฯ ข้อ ๖ที่ไม่ต้องประกาศตามกฎกระทรวงข้อ ๕ เพราะการโอนที่ดินชำระหนี้ ไม่ใช่การเลิกเช่า เลิกภาระจำยอม การไถ่ถอนจำนอง การขายฝาก การขึ้นเงินหรือผ่อนต้นจากการจำนอง การโอนสิทธิ์การรับจำนอง การโอนสิทธิ์หลุดจากการรับจำนองปลดเงื่อนไขการไถ่หรือโอนสิทธิ์การไถ่จากการขายฝาก การไถ่ถอนจากผู้รับจำนองหรือผู้รับซื้อฝาก เมื่อไม่ใช่กรณีดังกล่าวตามกฎกระทรวง ฯ ข้อ ๖แล้ว แต่เป็นการโอนที่ดินชำระหนี้ อันเป็นกรณีชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งเป็นเหตุให้หนี้ระงับไปตาม ปพพ มาตรา ๓๒๑ วรรคแรก เมื่อกรณีนี้ไม่เข้ากรณีที่ไม่ต้องประกาศตามกฎกระทรวงข้อ ๖ โดยเป็นกรณีที่การจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมที่ดินที่มีแต่หนังสือรับรองการทำประโยชน์จึงต้องมีการประกาศตามความในกฎกระทรวงข้อ ๕เสียก่อน แม้จำเลยตกลงโอนที่พิพาทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้และทำบันทึกข้อตกลงกันไว้ การตกลงโอนที่พิพาทนั้นยังจดทะเบียนไม่ได้จนกว่าจะได้ประกาศตามความในกฎกระทรวงข้อ ๕เสียก่อน เมื่อไม่ทำตามหลักเกณท์ที่กฎหมายกำหนดไว้ การจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมย่อมไม่สมบรูณ์ หาทำให้โจทก์ได้ที่พิพาททางนิติกรรมโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงแต่อย่างใดไม่
๑๐. จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของที่นาพิพาทร่วมกัน โอนที่นาชำระหนี้จำนองแล้ว จำเลยที่๑ เช่าที่นาพิพาทจากโจทก์ แม้การโอนโดยนิติกรรมไม่สมบรูณ์ เพราะไม่ได้ทำตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยใน ปพพ มาตรา ๗๔๖ บัญญัติไว้ว่า ในการชำระหนี้ไม่ว่าสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน การระงับแห่งหนี้จำนองก็ดี การเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนองหรือหนี้ที่จำนองเป็นประกันต้องนำความไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิเช่นนั้นยกเป็นคู่ตจ่อสู้บุคคลภายนอกไม่ได้ แม้การโอนที่นาชำระหนี้จำนองไม่สมบรูณ์ (คำพิพากษาฏีกาใช้คำว่า “ ไม่บริบรูณ์” ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่าน่าตกเป็นโมฆะเพราะไม่ได้ทำตามแบบที่กฎหมายบัญญัติไว้ใน ปพพ มาตรา ๗๔๖,๑๕๑.๑๕๒) แต่การที่จำเลยตกลงโอนที่นาชำระหนี้เป็นการแสดงเจตนาโอนการครอบครอง ให้โจทก์แล้ว การโอนการครอบครองแม้ผู้โอนยังยึดถือทรัพย์สินอยู่ ถ้าผู้โอนแสดงเจตนาว่าต่อไปจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้รับโอน การโอนมีผลตาม ปพพ มาตรา ๑๓๘๐ แล้ว แม้ผู้โอนยังคงยึดถือทรัพย์สินอยู่ก็ตาม
๑๑.ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ ๑ทำสัญญาเช่านาพิพาทจากโจทก์แสดงว่า มีการทำนาต่อไปโดยเสียค่าเช่าให้โจทก์ เป็นการยึดถือที่นาพิพาทแทนโจทก์ตามสัญญาเช่า โจทก์จึงเป็นเจ้าของนาพิพาทโดยการรับโอนการครอบครองโดยจำเลยที่ ๑ ครอบครองแทนตาม ปพพ มาตรา ๑๓๘๐ เมื่อจำเลยที่ ๑ ทำสัญญาเช่านาพิพาทจากโจทก์เต็มทั้งแปลง จำเลยที่ ๑ ก็เป็นผู้ยึดถือที่นาทั้งแปลงแทนโจทก์ ทำให้โจทก์ได้ที่นาโดยการรับโอนการครอบครองจากจำเลยที่ ๒ ด้วยเช่นกัน จำเลยที่ ๑จะให้ผู้ใดทำนาต่อก็เป็นบริวารของจำเลยที่ ๑เท่านั้น นาพิพาทเป็นของโจทก์เต็มทั้งแปลง จำเลยที่ ๑ เช่านาโจทก์ทำปีเดียว เมื่อครบกำหนดแล้วสัญญาเช่าย่อมระงับไป โดยมิพักต้องบอกกล่าว ตามปพพ มาตรา ๕๖๔
๑๒.การที่จำเลยที่ ๑ไม่ส่งนาคืนแก่โจทก์และไม่ยอมออกไปจากที่พิพาท โจทก์มีสิทธิ์ฟ้องขับไล่เรียกค่าเช่าที่ไม่ชำระและค่าเสียหายเพราะเหตุที่จำเลยทั้งสองขัดขวางและขืนทำนาของโจทก์ต่อไปโดยละเมิดได้ สัญญาเช่าได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญาไว้แล้ว หาจำต้องบอกเลิกสัญญาอีกไม่ ตาม ปพพ มาตรา ๕๖๔ เมื่อจำเลยที่ ๒ ไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือเช่านา(คงมีเพียงจำเลยที่ ๑ เท่านั้นที่ทำสัญญาเช่ากับโจทก์) โจทก์จะบังคับให้จำเลยที่ ๒ เสียค่าเช่าไม่ได้ ตาม ปพพ มาตรา ๕๓๘
๑๓.จำเลยครอบครองที่ดินมือเปล่า ทำบันทึกยกที่ดินให้ทางราชการจัดตลาดสาธารณะตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป เท่ากับจำเลยสละเจตนาครอบครอง ไม่ยึดถือที่ดินดังกล่าวต่อไป การครอบครองในที่พิพาทย่อมตกเป็นของแผ่นดินตาม ปพพ มาตรา ๑๓๗๗ การที่ จำเลยยังเก็บประโยชน์ตามอัตราที่ทางการกำหนดเพื่อใช้ทำความสะอาด ถ้าทางราชการจะดำเนินการเองเมื่อใด จำเลยจะถอนตัวออกไปทันที เป็นกรณีจำเลยครอบครองแทนทางราชการ ตาม ปพพ มาตรา ,๑๓๖๘,๑๓๘๐ โดยจำเลยยึดถือทรัพย์สินนั้นแทนทางราชการ โดยไม่ใช่การยึดถือเพื่อตนอันจะทำให้ได้ไปซึ่งสิทธิ์ครอบครองตาม ปพพ มาตรา ๑๓๖๗ ที่พิพาทเป็นของแผ่นดินแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น