ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2560

“ได้มาระหว่างสมรสหรือไม่”

๑. เงินชดเชยเป็นเงินที่เกิดขึ้นเนื่องจากความตายได้มาหลังถึงแก่กรรม ไม่เป็นสินสมรส และไม่ใช่มรดก สิทธิ์ในการได้รับเงินช่วยเหลือเพื่อนเนื่องจากความตาย ไม่ใช่เงินที่มีอยู่แล้วในระหว่างที่มีชีวิตหรือถึงแก่กรรม แม้วิธีการที่จะได้เงินจำนวนนี้มาผู้ตายต้องชำระเงินในอัตราร่วมกับพนักงานคนอื่นๆเพื่อรวบรวมส่งให้ทายาทของพนักงานที่ถึงแก่กรรมรายก่อนๆ ก็ไม่ใช่มรดกที่ทายาทจะมาขอแบ่ง ส่วนเงินประกันชีวิตเกิดจากสัญญาระหว่างผู้ตายกับบุคคลภายนอกและจำเลยเพื่อใช้เงินแก่ผู้รับประโยชน์เนื่องจากการมรณะของผู้ตาย เป็นการประกันชีวิต สิทธิ์ตามสัญญาเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกันชีวิตถึงแก่กรรมจึงไม่ใช่มรดกของผู้ตายที่มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตายที่จะขอใช้สิทธิ์แบ่งได้ สัญญาประกันชีวิตระบุให้บุคคลภายนอกที่ไม่ใช่คู่สมรสเป็นผู้รับประโยชน์อันต้องบังคับตาม ปพพ มาตรา ๘๗๙วรรคสอง(ที่ถูกต้องน่าเป็นมาตรา ๘๙๗วรรคสอง)ที่กำหนดแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันเอาไว้ที่ได้ส่งไปแล้วจะเป็นทรัพย์สินส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกอันเจ้าหนี้จะเอาชดใช้หนี้ได้ เมื่อไม่ได้ฟ้องเรียกเอาเบี้ยประกันภัย โดยกล่าวอ้างมาในฟ้องขอเรียกเงินประกันชีวิต จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อย คำพิพากษาฏีกา ๔๗๑๔/๒๕๔๒
๒. โจทก์จำเลยที่ ๑ จดทะเบียนหย่ากันโดยถูกต้องตามกฎหมาย การสมรสย่อมสิ้นสุดลง ขาดจากความเป็นสามีภรรยากัน ปพพ มาตรา ๑๕๐๑โดยมีผลสมบรูณ์เมื่อจดทะเบียนหย่า ปพพ มาตรา ๑๕๑๕ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทเฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์สินว่า โจทก์มีทรัพย์สินกึ่งหนึ่งตามที่ระบุท้ายฟ้องหรือไม่ การโอนขายที่ดินโฉนดพิพาทพร้อมบ้านระหว่างจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ เป็นการแสดงเจตนาลวงหรือไม่เท่านั้น โดยไม่มีประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องรวมทั้งการแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์ จำเลยที่ ๑ การที่ศาลอุทธรณ์ยกประเด็นเรื่องอายุความว่าโจทก์จำเลยที่ ๑ ไม่ได้หย่าขาดจากกัน จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์สิน จึงเป็นการวินิจฉัยไม่ชอบ การที่โจทก์จำเลยที่ ๑ ขาดจากการเป็นสามีภรรยากันแล้วทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ระหว่างอยู่ร่วมกันและไม่ได้แบ่งกันต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยกรรมสิทธิ์ ถือโจทก์ จำเลยที่ ๑ เป็นเจ้าของร่วมกันและไม่ได้แบ่งกันต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยกรรมสิทธิ์ถือว่าโจทก์และจำเลยที่ ๑เป็นเจ้าของร่วมและสันนิษฐานว่ามีส่วนเท่าๆกันตาม ปพพมาตรา ๑๓๕๗ โจทก์ฟ้องออขอให้ใส่ชื่อโจทก์ในคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ แม้คู่มือดังกล่าวไมใช่เอกสารสำคัญที่แสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์เป็นเพียงพยานหลักฐานอันหนึ่งแสดงการเสียภาษีประจำปี ซึ่งแสดงว่าผู้มีชื่อในคู่มือจดทะเบียนรถน่าจะเป็นเจ้าของเท่านั้น แต่ในกรณีที่เจ้าของขายรถยนต์แล้ว กรรมสิทธิ์ในรถโอนไปยังผู้ซื้อทันทีแม้ไม่จดทะเบียนโอนก็ใช้ได้ แต่ ปพพ มาตรา ๑๓๖๑วรรคสอง บัญญัติว่า ตัวทรัพย์นั้นจะจำหน่ายได้ก็แต่โดยความยินยอมแห่งเจ้าของร่วมทุกคน การที่มีชื่อเจ้าของร่วมไว้ในคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ย่อมเป็นการคุ้มครองประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการซื้อรถคันที่มีเจ้าของร่วมให้ทราบว่าการซื้อขายรถดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของร่วมทุกคนก่อน เป็นการตัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่รถยนต์เป็นทรัพย์ของบุคคลหลายคน แต่มีชื่อเจ้าของรวมเพียงคนเดียวในคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ซึ่งผู้ซื้อซื้อไปโดยไม่ทราบว่ามีเจ้าของร่วมที่ไม่ให้ความยินยอม ผู้ซื้อได้รับความเสียหายที่จะต้องฟ้องและถูกเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายตามพรบ.รถยนต์ ๒๕๒๒ ไม่มีบทบัญญัติห้ามลงชื่อเจ้าของร่วมไว้ในคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ นอกจากไม่ขัดกฎหมายแล้วยังมีประโยชน์มากกว่าการไม่ลงชื่อไว้ในคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ ได้ความว่า โจทก์ จำเลยที่ ๑ เป็นเจ้าของร่วมในรถยนต์คันพิพาท จึงสมควรพิพากษาให้โจทก์ลงชื่อเป็นเจ้าของร่วมไว้ในคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ได้ตามคำขอ การที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ ๑ ส่งมอบการครอบครองสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องแก่โจทก์ แต่เดิมสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ ๑โดยอาศัยสิทธิ์แห่งการเป็นเจ้าของร่วม ไม่ปรากฏว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธ์การเป็นเจ้าของร่วม และไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้เจ้าของร่วมจำต้องครอบครองทรัพย์ที่ตนมีกรรมสิทธิ์ร่วม โจทก์จึงไม่มีสิทธิ์ฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบการครอบครองสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องแก่โจทก์ คำพิพากษาฏีกา ๖๐๘๐/๒๕๔๐
๓. แม้ผู้ร้องกับพันตรี ป. จดทะเบียนสมรสกันในขณะที่พันตรี ป. มีคู่สมรสกันอยู่แล้ว อันมีผลทำให้การสมรสตกเป็นโมฆะตาม ปพพ มาตรา ๑๔๕๒,๑๔๙๖ แต่ ปพพ มาตรา ๑๕๐๑ บัญญัติว่า การสมรสสิ้นสุดลงด้วยการตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาเพิกถอน เมื่อฟังได้ว่า การสมรสสิ้นสุดลงด้วยการหย่าก่อนที่ผู้ร้องจะมาร้องขอในคดีนี้ การสมรสซ้อนระหว่างผู้ร้องกับพันตรี ป. จึงไม่มีผลกระทบหรือโต้แย้งสิทธิ์ของผู้ร้อง ทั้งตามคำร้องก็ไม่ได้กล่าวว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นเหตุให้มีผู้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิ์หรือหน้าของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงร้องขอต่อศาลให้พิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ร้องกับพันตรี ป เป็นโมฆะไม่ได้คำพิพากษาฏีกา๑๒๒๕/๒๕๓๕
ข้อสังเกต ๑.มรดกต้องเป็นทรัพย์ที่ผู้ตายมีอยู่ “ก่อน” ถึงแก่ความตายหรือ “ในขณะ” ถึงแก่ความตาย สิทธิ์เรียกร้องใดๆหรือทรัพย์ใดที่ได้มา “หลัง” จากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้วทรัพย์สินนั้นไม่ใช่มรดกที่จะตกทอดแก่ทายาท ส่วนเงินหรือทรัพย์สินนั้นจะตกก็ใครก็เป็นไปตามสัญญาหรือกฎระเบียบตามที่หน่วยงานนั้นๆกำหนดไว้
๒.ทรัพย์ใดได้มา “หลัง” การตายของคู่สมรส เมื่อไม่ได้มาระหว่างสมรสทรัพย์นั้นไม่ใช่สินสมรส เพราะสินสมรสต้องเป็นทรัพย์สินที่ “ได้มาระหว่างสมรส” ตาม ปพพ มาตรา ๑๔๗๔(๑) เมื่อคู่สมรสถึงแก่ความตาย การสมรสสิ้นสุดลงตาม ปพพ มาตรา ๑๕๐๑ ทรัพย์สินที่เกิดหลังจากการตายของคู่สมรสที่ทำให้การสมรสสิ้นสุดลงจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงไม่ใช่สินสมรสที่เมื่อเวลาตายจะต้องแยกสินสมรสของคู่สมรสอีกฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ออกก่อนครึ่งหนึ่ง โดยครึ่งหนึ่งเป็นของคู่สมรสที่ถึงแก่ความตาย อีกครึ่งเป็นของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ในส่วนครึ่งหนึ่งของคู่สมรสที่ถึงแก่ความตายจึงตกเป็นมรดกที่ต้องนำมาแบ่งกันซึ่งคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่มีสิทธิ์ได้รับมรดกในส่วนนี้ด้วยเป็นไปตามส่วนแบ่งที่กฎหมายบัญญัติไว้ ปพพ มาตรา๑๖๒๙วรรคท้าย,๑๖๓๕ แต่เมื่อทรัพย์ได้มาหลังการตายไม่ได้ได้มาระหว่างสมรสจึงไม่ใช่สินสมรสที่จะตกแก่คู่สมรสอีกฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่กึ่งหนึ่ง แต่ทรัพย์ที่ได้มาจะตกแก่ใครหรือไม่อย่างไรแล้วแต่ข้อกำหนดในสัญญา ระเบียบข้อบังคับที่ผู้ตายมีต่อหน่วยงานนั้นๆ
๓.เงินชดเชยเป็นเงินที่เกิดขึ้นเนื่องจากความตายได้มาหลังถึงแก่กรรม ไม่เป็นสินสมรส และไม่ใช่มรดก
๔.สิทธิ์ในการได้รับเงินช่วยเหลือเพื่อนเนื่องจากความตาย ไม่ใช่เงินที่มีอยู่แล้วในระหว่างที่มีชีวิตหรือถึงแก่กรรม แม้วิธีการที่จะได้เงินจำนวนนี้มาผู้ตายต้องชำระเงินในอัตราร่วมกับพนักงานคนอื่นๆเพื่อรวบรวมส่งให้ทายาทของพนักงานที่ถึงแก่กรรมรายก่อนๆ ก็ไม่ใช่มรดกที่ทายาทจะมาขอแบ่ง
๕.เงินประกันชีวิตเกิดจากสัญญาระหว่างผู้ตายกับบุคคลภายนอกและจำเลยเพื่อใช้เงินแก่ผู้รับประโยชน์เนื่องจากการมรณะของผู้ตาย เป็นการประกันชีวิต สิทธิ์ตามสัญญาเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกันชีวิตถึงแก่กรรมจึงไม่ใช่ทรัพย์ที่มีก่อนถึงแก่ความตาย จึงไม่ใช่มรดกของผู้ตายที่มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตายที่จะขอใช้สิทธิ์แบ่งได้
๖.สัญญาประกันชีวิตระบุให้บุคคลภายนอกที่ไม่ใช่คู่สมรสเป็นผู้รับประโยชน์เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกตาม ปพพ มาตรา๓๗๔ อันต้องบังคับตาม ปพพ มาตรา ๘๙๗ วรรคสองที่กำหนดแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันเอาไว้ที่ได้ส่งไปแล้วจะเป็นทรัพย์สินส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกอันเจ้าหนี้จะเอาชดใช้หนี้ได้ เมื่อไม่ได้ฟ้องเรียกเอาเบี้ยประกันภัย โดยกล่าวอ้างมาในฟ้องขอเรียกเงินประกันชีวิต จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อย นั้นก็คือ การตั้งรูปเรื่องบรรยายฟ้องผิดไป เป็นการตั้งประเด็นในการฟ้องผิดไปโดยไปฟ้องขอเรียก “เงินประกันชีวิต” ว่าเป็นมรดกที่เจ้าหนี้เจ้าหนี้จะเรียกให้ชดใช้ได้ จึงเป็นการฟ้องผิดประเด็น จริงๆแล้วต้องฟ้องเรียก “ จำนวนเงินเบี้ยประกัน” ที่ผู้เอาประกันได้ส่งไปแล้ว ซึ่งตามกฎหมายถือว่า เป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งของกองมรดกที่เจ้าหนี้จะนำมาใช้หนี้ได้ เมื่อฟ้องขอเรียก “ เงินประกันชีวิต” ไม่ได้ฟ้องขอเรียก “ จำนวนเงินเบี้ยประกันที่ผู้เอาประกันได้ส่งไปแล้ว” จึงเป็นการฟ้องผิดประเด็น ศาลไม่อาจพิพากษาให้นำเงินเบี้ยประกัน ที่ผู้เอาประกันได้ส่งไปแล้วมาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้ เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่ไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้องตาม ปวพ มาตรา ๑๔๒ เป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น ตาม ปวพ มาตรา ๑๘๓ เมื่อไม่ได้ฟ้องหรือตั้งเรื่องในเรื่องจำนวนเงินเบี้ยประกันที่ผู้เอาประกันได้ส่งไปแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องที่ว่ามาแล้วในศาลชั้นต้นหรือในศาลอุทธรณ์ที่จะสามารถนำเรื่องดังกล่าวมาฏีกาได้ต้องห้ามตาม ปวพ มาตรา ๒๔๙ ทั้งปัญหาดังกล่าวก็ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีงามของประชาชนที่ศาลฏีกาสามารถยกขึ้นเองได้ ตาม ปวพ มาตรา ๑๔๒(๕) แต่เป็นเรื่องที่คู่ความต้องรักษาสิทธ์ของตัวเอง
๗. โจทก์จำเลยที่ ๑ จดทะเบียนหย่ากันโดยถูกต้องตามกฎหมาย การสมรสย่อมสิ้นสุดลง ขาดจากความเป็นสามีภรรยากัน ตาม ปพพ มาตรา ๑๕๐๑โดยมีผลสมบรูณ์เมื่อจดทะเบียนหย่าตาม ปพพ มาตรา ๑๕๑๕ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทเฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์สินว่า “โจทก์มีทรัพย์สินกึ่งหนึ่งตามที่ระบุท้ายฟ้องหรือไม่ การโอนขายที่ดินโฉนดพิพาทพร้อมบ้านระหว่างจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ เป็นการแสดงเจตนาลวงหรือไม่” เท่านั้น โดยไม่มีประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องรวมทั้งการแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์ จำเลยที่ ๑ การที่ศาลอุทธรณ์ยกประเด็นเรื่องอายุความว่าโจทก์จำเลยที่ ๑ ไม่ได้หย่าขาดจากกัน จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์สิน จึงเป็นการวินิจฉัยเกินคำขอหรือที่ไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้อง ตาม ปวพ มาตรา ๑๔๒ เป็นพิพากษานอกประเด็นข้อพิพาทตาม ปวพ มาตรา ๑๘๓เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
๘. การที่โจทก์จำเลยที่ ๑ ขาดจากการเป็นสามีภรรยากันแล้วทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ระหว่างอยู่ร่วมกันและไม่ได้แบ่งกันต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยกรรมสิทธิ์ ถือโจทก์ จำเลยที่ ๑ เป็นเจ้าของร่วมกัน เมื่อไม่ได้แบ่งกันต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยกรรมสิทธิ์ถือว่าโจทก์และจำเลยที่ ๑เป็นเจ้าของร่วมและสันนิษฐานว่ามีส่วนเท่าๆกันตามมาตรา ๑๓๕๗
๙.โจทก์ฟ้องขอให้ใส่ชื่อโจทก์ในคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ แม้คู่มือดังกล่าวไมใช่เอกสารสำคัญที่แสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์เป็นเพียงพยานหลักฐานอันหนึ่งแสดงการเสียภาษีประจำปี ซึ่งแสดงว่าผู้มีชื่อในคู่มือจดทะเบียนรถ “น่าจะ” เป็นเจ้าของเท่านั้น
๑๐.แต่ในกรณีที่เจ้าของขายรถยนต์แล้ว กรรมสิทธิ์ในรถโอนไปยังผู้ซื้อทันทีนับแต่ได้ทำสัญญาซื้อขายกัน แม้ไม่จดทะเบียนโอนก็ใช้ได้ ปพพ มาตรา ๔๕๘ แต่มาตรา ๑๓๖๑วรรคสอง บัญญัติว่า ตัวทรัพย์ที่มีเจ้าของร่วมหลายนั้นจะจำหน่ายได้ก็แต่โดยความยินยอมแห่งเจ้าของร่วมทุกคน การที่มีชื่อเจ้าของร่วมไว้ในคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ย่อมเป็นการคุ้มครองประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการซื้อรถคันที่มีเจ้าของร่วมให้ทราบว่าการซื้อขายรถดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของร่วมทุกคนก่อน เป็นการตัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่รถยนต์เป็นทรัพย์ของบุคคลหลายคน แต่มีชื่อเจ้าของรวมเพียงคนเดียวในคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ซึ่งผู้ซื้อซื้อไปโดยไม่ทราบว่ามีเจ้าของร่วมที่ไม่ให้ความยินยอม ผู้ซื้อได้รับความเสียหายที่จะต้องฟ้องและถูกเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายตามพรบ.รถยนต์ ๒๕๒๒ ตามหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิ์ดีกว่าผู้โอน เมื่อการโอนทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมไม่ได้กระทำโดยเจ้าของร่วมทุกคน จึงเป็นการโอนโดยไม่มีอำนาจไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ผู้รับโอนจากการขายย่อมไม่มีสิทธิ์ดีกว่าผู้โอนแต่อย่างใด ทั้งอาจถูกเพิกถอนจากเจ้าของร่วมคนอื่นที่ไม่รู้เห็นยินยอมในการโอนได้
๑๑. ไม่มีบทบัญญัติห้ามลงชื่อเจ้าของร่วมไว้ในคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ นอกจากไม่ขัดกฎหมายแล้วยังมีประโยชน์มากกว่าการไม่ลงชื่อไว้ในคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ เมื่อได้ความว่า โจทก์ จำเลยที่ ๑ เป็นเจ้าของร่วมในรถยนต์คันพิพาท จึงสมควรพิพากษาให้โจทก์ลงชื่อเป็นเจ้าของร่วมไว้ในคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ได้ตามคำขอ
๑๒.การที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ ๑ ส่งมอบการครอบครองสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องแก่โจทก์ โดยแต่เดิมสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ ๑โดยอาศัยสิทธิ์แห่งการเป็นเจ้าของร่วม ไม่ปรากฏว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธ์การเป็นเจ้าของร่วม และไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้เจ้าของร่วมจำต้องครอบครองทรัพย์ที่ตนมีกรรมสิทธิ์ร่วม โจทก์จึงไม่มีสิทธิ์ฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบการครอบครองสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องแก่โจทก์ ถือได้ว่ายังไม่มีข้อข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิ์หรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์ต้องมาใช้สิทธิ์ทางศาลตาม ปวพ มาตรา ๕๕
๑๓.. แม้ผู้ร้องกับพันตรี ป. จดทะเบียนสมรสกันในขณะที่พันตรี ป. มีคู่สมรสกันอยู่แล้ว อันมีผลทำให้การสมรสตกเป็นโมฆะตาม ปพพ มาตรา ๑๔๕๒,๑๔๙๖ ตาม แต่ ปพพ มาตรา ๑๕๐๑ บัญญัติว่า การสมรสสิ้นสุดลงด้วยการตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาเพิกถอน เมื่อฟังได้ว่า การสมรสสิ้นสุดลงด้วยการหย่าก่อนที่ผู้ร้องจะมาร้องขอในคดีนี้ การสมรสซ้อนระหว่างผู้ร้องกับพันตรี ป. จึงไม่มีผลกระทบหรือโต้แย้งสิทธิ์ของผู้ร้อง ทั้งตามคำร้องก็ไม่ได้กล่าวว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นเหตุให้มีผู้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิ์หรือหน้าของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงร้องขอต่อศาลให้พิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ร้องกับพันตรี ป เป็นโมฆะไม่ได้ นั้นก็คือ เมื่อทำการหย่ากันแล้ว การสมรสสิ้นสุดลง ประเด็นว่ามีการสมรสซ้อนหรือไม่ ไม่สำคัญแล้ว ทั้งไม่ได้มีการกล่าวอ้างว่า การสมรสซ้อนดังกล่าวมีผลกระทบหรือโต้แย้งสิทธิ์ของผู้ร้องอย่างไรโดยในคำร้องก็ไม่ได้กล่าวว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นเหตุให้มีผู้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิ์หรือหน้าของผู้ร้อง จึงไม่เกิดประโยชน์และไม่มีความจำเป็นต้องให้ศาลมีคำสั่งว่า การสมรสระหว่างที่ฝ่ายชายมีคู่สมรสอยู่แล้วมาจดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่นอีกเป็นการสมรสซ้อนหรือไม่อย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น: