คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2563
คู่กรณี
โจทก์ พนักงานอัยการจังหวัดเชียงคำ โจทก์ร่วม เด็กหญิง พ. โดยนาย ท. ผู้แทนโดยชอบธรรม จำเลย นาย บ. - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มาตรา 158 (5) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง มาตรา 252 ที่แก้ไขใหม่ - ข้อมูลย่อ โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นครูกระทำอนาจารเด็กหญิงอายุ 6 ปีเศษ และเป็นศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล โดยระบุเวลาในการกระทำความผิดระหว่างเดือน ใดถึงเดือนใด ปี พ.ศ. อะไร เวลากลางวัน เพราะไม่อาจทราบวันกระทำความผิดที่ แน่ชัดได้ แต่ก็ถือเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ว่าการกระทำ ความผิดเกิดขึ้นในวันที่โรงเรียนมีการเรียนการสอนตามปกติในเวลาราชการขณะ ที่จำเลยรับราชการอยู่ที่โรงเรียนนั้น จึงเป็นการกล่าวถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียด เกี่ยวกับเวลากระทำความผิดดังที่ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) บัญญัติบังคับไว้ ซึ่งเพียง พอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลดค่าสินไหมทด แทนที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์ร่วม การที่จำเลยกลับฎีกาใน ปัญหาการกำหนดค่าสินไหมทดแทนขึ้นมาอีกจึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากัน มาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ที่แก้ไขใหม่ ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาจึงไม่ รับวินิจฉัย - รายละเอียด โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 279, 285 และนับโทษต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 143 ถึง 146/2561 และหมายเลขดำที่ 148 ถึง 154/2561 ของศาลชั้นต้น จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ ขอให้นับโทษต่อ ระหว่างพิจารณาเด็กหญิง พ. ผู้เสียหาย โดยนาย ท. ผู้แทนโดยชอบธรรม ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต กับยื่นคำร้องและแก้ไขคำร้องขอ ให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายต่อร่างกาย จิตใจและชื่อเสียง 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันกระทำความผิดเป็นต้น ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ร่วม จำเลยให้การในคดีส่วนแพ่งขอให้ยกคำร้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคสอง (เดิม) (ที่ถูก มาตรา 279 วรรคสอง (เดิมและที่แก้ไขใหม่)) ประกอบมาตรา 285 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลง โทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำ คุกกระทงละ 2 ปี รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 4 ปี และให้นับโทษต่อจากโทษจำคุก ของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 598/2561, 635/2561, 657/2561, 661/2561, 671/2561, 689/2561 และ 699/2561 ของศาลชั้นต้น ส่วนที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 150/2561 และหมายเลขดำที่ 152 ถึง 154/2561 ของศาล ชั้นต้นให้ยก เนื่องจากคดีดังกล่าวศาลยังมิได้มีคำพิพากษา ให้จำเลยใช้ค่าสินไหม ทดแทนแก่โจทก์ร่วม 40,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน ดังกล่าวนับแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2559 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ค่าฤชา ธรรมเนียมในคดีส่วนแพ่งให้เป็นพับ จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 1 ปี จำเลยกระทำความผิด 2 กระทง รวมจำคุก 2 ปี นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำ พิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาล อุทธรณ์ภาค 5 อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยไม่ฎีกาโต้แย้งรับฟังยุติในเบื้อง ต้นว่า เด็กหญิง พ. โจทก์ร่วม เป็นบุตรของนาย ท. และนาง ร. เรียนอยู่โรงเรียน บ. โดยเป็นศิษย์อยู่ในความดูแลของจำเลยซึ่งเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนดังกล่าว ขณะเกิด เหตุมีอายุระหว่าง 6 ปีเศษ ถึง 7 ปีเศษ อยู่ในความปกครองดูแลของนาง ส. ผู้เป็นย่า คดีมีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยก่อนว่า ฟ้องโจทก์ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า แม้โจทก์บรรยายฟ้องระบุเวลากระทำความผิด ของจำเลยว่า เหตุเกิดเมื่อประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน 2559 เวลากลางวัน ถึง เดือนมีนาคม 2560 เวลากลางวันต่อเนื่องกัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด และเมื่อ ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคม 2560 เวลากลางวัน ถึงเดือนสิงหาคม 2560 เวลากลาง วันต่อเนื่องกัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด ซึ่งรวมเอาวันเสาร์และวันอาทิตย์ และช่วง ปิดภาคเรียนที่ 1 กับรวมเอาวันที่ 29 สิงหาคม 2560 ซึ่งมีคำสั่งให้ย้ายจำเลยไปช่วย ราชการที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 เข้าไปด้วยก็ตาม แต่ก็เป็นเพราะโจทก์ไม่อาจทราบวันกระทำความผิดที่แน่ชัดของจำเลยได้ อย่างไร ก็ดีถือเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ว่า การกระทำความผิดนั้น เกิดขึ้นในวันที่โรงเรียนมีการเรียนการสอนตามปกติในเวลาราชการขณะที่จำเลยยัง คงรับราชการอยู่ที่โรงเรียน พ. ในช่วงเวลาซึ่งบรรยายไว้ในฟ้องข้างต้น อันเป็น เพียงรายละเอียดเท่านั้น การบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอีกลักษณะหนึ่ง ของการกล่าวถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลากระทำความผิด ดังที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) บัญญัติบังคับไว้ ซึ่งเพียง พอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ส่วนที่จำเลยฎีกา อ้างว่า โจทก์บรรยายฟ้องรวมเอาวันปิดภาคเรียนที่ 2 ในช่วงวันที่ 11 ถึง 31 ตุลาคม 2560 เข้าไปในวันกระทำความผิดด้วยนั้น เห็นว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ ฟ้องระบุวันกระทำความผิดถึงเดือนสิงหาคม 2560 ฟ้องที่แก้ไขจึงหาได้รวมช่วง เวลาที่จำเลยอ้าง กรณีย่อมไม่เป็นเหตุทำให้จำเลยสับสนหรือไม่เข้าใจข้อหาได้ดี และไม่สามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้องดังที่อ้าง ฎีกาของจำเลยในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น สำหรับข้อฎีกาของจำเลยที่ขอให้ลดค่าสินไหมทดแทนที่ศาลชั้นต้น กำหนดให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์ร่วมให้น้อยกว่า 40,000 บาท นั้น เมื่อปรากฏว่าใน ชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องนี้ การที่จำเลย กลับฎีกาในปัญหาการกำหนดค่าสินไหมทดแทนขึ้นมาอีก จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ที่แก้ไขใหม่ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนฎีกาของจำเลยที่ขอให้ลงโทษสถานเบานั้น เห็นว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ใช้ ดุลพินิจในการกำหนดโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 1 ปี นั้น หนักเกินไป ศาลฎีกาเห็น สมควรแก้ไขให้เหมาะสมกับพฤติการณ์แห่งคดี และที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลง โทษจำคุกให้นั้น เห็นว่า จำเลยเป็นครูบาอาจารย์สมควรประพฤติตัวเป็นแบบอย่าง ที่ดีแก่เด็กนักเรียน ยิ่งเฉพาะกับศิษย์ซึ่งอยู่ในความปกครองดูแลที่เป็นเด็กเล็ก ซึ่ง บิดามารดาให้ความไว้วางใจมอบหมายหน้าที่ให้จำเลยคอยให้การศึกษาและช่วย เหลือกล่อมเกลาอบรมบ่มนิสัยให้เป็นคนดี แต่จำเลยฉวยโอกาสที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็ก มุ่งสนองอารมณ์ใคร่ของตนเองโดยอาศัยความอ่อนแอและไม่ประสาต่อโลกของ เด็กนักเรียนผู้เป็นศิษย์ พฤติการณ์จึงเป็นเรื่องร้ายแรง ประกอบกับจำเลยอุทธรณ์ และฎีกาต่อสู้คดีมาโดยตลอด หาได้สำนึกในความผิดที่ตนเองได้กระทำ จึงไม่มีเหตุ สมควรที่ศาลฎีกาจะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น อนึ่ง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่ม เติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2562 มาตรา 9 ให้แก้ไขบทบัญญัติใน มาตรา 279 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2560 มาตรา 11 โดยบัญญัติความผิดฐาน กระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีและแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี โดยขู่ เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยเด็กนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถ ขัดขืนได้ หรือโดยทำให้เด็กนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ไว้ในวรรคสามของ มาตราดังกล่าวว่า ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่สอง หมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หนักกว่าโทษในความผิดฐานเดียว กันที่กำหนดไว้ในมาตรา 279 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบห้าปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องปรับ บทลงโทษจำเลยตามกฎหมายซึ่งใช้บังคับในขณะจำเลยกระทำความผิดซึ่งเป็นคุณ แก่จำเลยมากกว่าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคสอง (เดิม) ประกอบมาตรา 285 ทั้งสองกระทง โดยให้จำ คุกกระทงละ 6 เดือน เป็นจำคุก 12 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ค่าฤชาธรรมเนียมส่วนแพ่งในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น