คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3334/2558
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131 ถึง มาตรา 134 การสอบสวน มาตรา 158 บรรยายฟ้อง - ข้อมูลย่อ คำฟ้องโจทก์บรรยายในความผิดฐานหมิ่นประมาทมีข้อความ ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) โดยระบุข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ พร้อมทั้งข้อความ อันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาทซึ่งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ดี แล้วว่า พ. ก. พนักงานบริษัท อ. และบุคคลทั่วไปเข้าใจได้ว่าบุคคล ที่จำเลยกล่าวถึงในข้อความอันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาทหมายถึง ผู้เสียหาย คำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131 ถึงมาตรา 134 การสอบสวนคดีเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงาน สอบสวนที่จะสืบหาพยานหลักฐานมาประกอบในการดำเนินคดีตามที่ ได้รับแจ้ง และเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะเรียกบุคคลใด มาเป็นพยานหรือหมายเรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องมาเป็นพยาน การที่ พนักงานสอบสวนสอบปากคำและรวบรวมพยานหลักฐานแล้วมี ความเห็นควรสั่งฟ้องจำเลยในข้อหาตามที่แจ้งข้อกล่าวหา เนื่องจาก ผู้เสียหายยืนยันว่าบุคคลที่ระบุไว้ในอีเมล์เข้าใจได้ว่าเป็นผู้เสียหาย โดยไม่ได้สืบสวนสอบสวนพยานหลักฐานอื่นอีก ย่อมเป็นดุลพินิจของ พนักงานสอบสวน การสอบสวนคดีชอบด้วยกฎหมายแล้ว - รายละเอียด โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2553 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 1 กันยายน 2553 เวลากลางวันต่อเนื่องกัน จำเลยกระทำ ความผิดหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ จำเลยนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีข้อความกล่าวนางสาวสุกัญญา รัฐภูมิ ผู้เสียหายตามเอกสาร ท้ายคำฟ้องโดยสรุปว่า “นังมารร้ายไม่ชอบพี่เปิ้ลค่ะ เลยถือโอกาส เหมาะโยนความผิดให้พ้นตัว โบ้ยไปที่พี่เปิ้ลยังไม่พอ โบ้ยมาที่จ๋า โบ้ยไปที่แฟนจ๋า โบ้ยไปหาคนอื่น ยกเว้นตัวเอง” “ตัวจ๋าที่ผ่านมาก็โดน ข่าวลือต่าง ๆ นานา จากผู้ไม่หวังดี คอยใส่ร้ายจ๋าหลาย ๆ เรื่อง เป็นระลอกคลื่น เช่น เรื่องการเมือง เรื่องที่จ๋าป่วย เรื่องผู้ตาย เรื่องทุกอย่างที่นางมารร้ายจะสรรหามาทำลายได้ ด้วยจุดประสงค์ เดียวเพื่อให้จ๋าเสียหายค่ะ อย่าไปหลงกลมันนะค่ะ พี่น้องผู้ชาญฉลาด ทั้งหลาย นางมารร้ายและเพื่อนสนิทไม่เคยชอบผู้หญิงคนไหนในดูเอ้ห์ ค่ะ ผู้ตายหงำเหงือกหรืองี่เง่าก็โดนนะค่ะ อย่านึกว่ารอด มีผู้หญิงหลาย คนที่โดนเล่นงานค่ะ พี่เปิ้ลก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง” “นังยักษ์ขมูขีคอย ปล่อยข่าวลือเสีย ๆ หาย ๆ ใส่จ๋าด้วยจุดประสงค์เดียวคือความอิจฉา ริษยา จ๋าไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมและแกร่งพอที่จะต่อสู้กับเสือ สิงห์ กระทิง แรด ได้จึงขอโบกธงลา แต่ชีก็ยังตามเล่นงานไม่เลิก และฉวยโอกาสนี้ ให้เป็นประโยชน์โยนความผิดให้คนอื่น ถือโอกาสกำจัดทีเดียวยกแผง ยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว” “จ๋ารู้ว่านางยักษ์ไม่อยากโดนข้อหา รังแกเด็ก ใส่ความเด็ก เป็นมือที่สามและกระหายผู้ชาย ชีเลยหาเหยื่อ คือพี่เปิ้ลซึ่งชีไม่ชอบเป็นทุนเดิมอยู่แล้วรับผิดไปเต็ม ๆ” “นางมารร้าย ชอบยั่วแฟนจ๋า ชัดมั้ยค่ะ หนีไม่ตบมันก็ดีแค่ไหนแล้วค่ะ แล้วดูมันทำ กับหนูซิค่ะ แกล้งหนูสารพัดเลยค่ะ ที่ผ่านมาหนูได้แต่เก็บความแค้น เอาไว้นะค่ะ แฟนจ๋าก็ไม่อยากมีเรื่อง เขาเป็นคนเงียบ ๆ แต่มันชอบ เอาไปพูดให้เป็นประเด็นให้คนรักทะเลาะกัน เพราะมันชอบแฟนจ๋าค่ะ แต่มันมีผัวแล้วนี่ค่ะ ผิดศีลนะค่ะ นอกใจผัว แล้วยุแหย่คนรักแตกแยก กัน ขี้นินทา ชอบใส่ไฟคนอื่น เลยค่ะ ชอบมาถาม มายุ่ง มายุแหย่ ปล่อยข่าว พยายามเป็นมือที่สามให้ความรักจ๋าล้มเหลวให้ได้ สาธุ ขอให้กรรมตามสนองมันค่ะ แล้วตอนนี้ยังมาโบ้ยให้เป็นความผิดของ แฟนจ๋าด้วย จ๋าบอกได้เลยว่าจ๋าโดนมันแกล้งตั้งแต่เริ่มทำงานที่อูเด้ห์ ตั้งแต่ยังไมู่ร้จักกับแฟนเลยค่ะ ไม่ใช่ว่าพอมาคบกันแล้วเลยไม่ถูกกับ นางมารร้ายค่ะ มันหาเรื่องจ๋ามาก่อนหน้านานแล้วค่ะ” “นังยักษ์ขมูขี เคยเป็นลูกน้องพี่จรัล แล้ววันไม่ชอบทำงานเอาแต่เจ๊าะแจ๊ะเรื่องฝรั่ง พี่จรัลเลยจะให้ชีออก แต่โชคดีมีฝรั่งมาหนุนนำ ชีเลยรอดตัวไปพร้อม กับความแค้นหัวหน้าเก่า พอได้ทีก็จวกแทงข้างหลัง” “ที่สำคัญจ๋ามี คุณธรรมและจริยธรรมมากพอที่จะไม่ประพฤติผิดศีล 5 แบบนางยักษ์ ค่ะ” “อ้อ จ๋าขอแนะนำว่า อูเด้ห์ ควรเอาพนักงานหญิงออกให้หมด แล้วรับแต่พนักงานชาย ยังหนุ่ม ๆ ยังดี เอาไว้สังเวยเจ้าแม่กาลีประจำ ออฟฟิศ ออฟฟิศจะได้สงบสุขและไม่มีเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายอีก (ยกเว้น ผู้ตายโดนยักษ์กิน)” ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นความเท็จและเป็นการนำ ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จดังกล่าวเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของ จำเลยและบริษัทอูเด้ห์ เชดเด้น (ประเทศไทย) จำกัด แล้วจำเลยได้ส่ง ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จดังกล่าว (จดหมายอิเล็กทรอนิกส์) ไปให้ แก่นายพีระศักดิ์ โพธิ์ศรี นางสาวกุลรภัส ผกาหอม และพนักงานบริษัท อูเด้ห์ เชดเด้น (ประเทศไทย) จำกัด และบุคคลทั่วไป อันเป็นการนำ ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยประการที่ น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ผู้อื่นหรือประชาชน และจำเลย ได้นำส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(ข้อมูลคอมพิวเตอร์) ซึ่งมีข้อความ หมิ่นประมาทผู้เสียหายดังกล่าวมาข้างต้น ไปให้นายพีระศักดิ์ โพธิ์ศรี นางสาวกุลรภัส ผกาหอม และพนักงานบริษัทอูเด้ห์ เชดเด้น (ประเทศ ไทย) จำกัด และบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ คำว่า “นังมารร้าย” “นางมารร้าย” “นังยักษ์ขมูขี” “นางยักษ์” และคำว่า “ชี” ทั้งหมด หมายถึงตัวผู้เสียหาย และข้อความดังกล่าวที่ปรากฏนั้นก็เป็นความเท็จ เป็นการใส่ความ ผู้เสียหายต่อบุคคลที่สาม และประชาชนทั่วไปที่ได้อ่านข้อความใน จดหมายอิเล็กทรอนิกส์(ข้อมูลคอมพิวเตอร์) ให้เข้าใจไปในทางที่ว่า ผู้เสียหายเป็นบุคคลที่ชอบใส่ร้ายป้ายสีคนอื่น กลั่นแกล้งคนอื่นให้เกิด ความเสียหาย เป็นบุคคลที่มีความประพฤติยุแหย่ให้คนอื่นทะเลาะกัน เข้าใจผิดกัน ชอบนินทาคนอื่นด้วยเรื่องเสีย ๆ หาย ๆ เป็นคนไม่มีศีล ธรรม และประพฤติผิดในเรื่องกามารมณ์ เป็นบุคคลที่นอกใจสามี เป็น ชู้กับผู้อื่น ชอบแย่งแฟนคนอื่น มักมากในกามารมณ์เป็นคนเจ้าคิด เจ้าแค้น คอยแต่จะแก้แค้นผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา เป็นคนที่ไม่น่าคบหา สมาคมด้วย ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด อันเป็นการใส่ความ ผู้เสียหายต่อบุคคลที่สามโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร โดยประการ ที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง จาก ผู้ที่ได้รับและอ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(ข้อมูลคอมพิวเตอร์) ดังกล่าว ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) จำเลย ให้การ ปฏิเสธ ระหว่างพิจารณา นางสาวสุกัญญา รัฐภูมิ ผู้เสียหาย ยื่นคำร้อง ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสื่อมเสียชื่อเสียง เป็นเงิน 20,000 บาท และให้เขียนอีเมลขอโทษผู้เสียหายและส่งไป ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องและผู้รับอีเมล์ที่กล่าวหาใส่ความทุกคน จำเลยให้การในคดีส่วนแพ่งว่า คำร้องของผู้ร้องไม่อยู่ใน หลักเกณฑ์ที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 วรรคสอง โดยคำร้องมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง อีกทั้งคำร้องมิได้แสดงรายละเอียดตามสมควร เกี่ยวกับความเสียหายและค่าสินไหมทดแทน ไม่อาจทำให้จำเลยเข้าใจ ข้อหาและคำขอบังคับตามคำร้องของผู้ร้องได้ คำร้องจึงเคลือบคลุม จำเลยไม่ได้กระทำละเมิด ผู้ร้องจึงไม่ได้รับความเสียหายไม่มีอำนาจ ยื่นคำร้อง และผู้ร้องไม่อาจขอให้บังคับจำเลยให้ส่งอีเมลขอโทษได้ เนื่องจากไม่ต้องด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา มาตรา 44/1 และไม่ใช่โทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 ขอให้ยกคำร้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 พระราชบัญญัติว่าด้วยการ กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฯ อันเป็น กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 3 เดือน และให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 20,000 บาท แก่ผู้เสียหาย คำขออื่นให้ยก จำเลย อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับจำเลย 30,000 บาท อีกสถานหนึ่ง ให้รอการลงโทษจำคุกไว้มีกำหนด 2 ปี ให้คุณความประพฤติของจำเลยไว้ตลอดระยะเวลาที่รอการลงโทษ ให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก ๆ 4 เดือน และ ให้จำเลยกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่ พนักงานคุมประพฤติและจำเลยเห็นสมควร มีกำหนด 20 ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไป ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลย ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัย ตามฎีกาของจำเลยข้อแรกว่า ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานหมิ่นประมาท ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) หรือไม่ เห็นว่า คำฟ้องที่โจทก์บรรยายในความผิดฐานหมิ่นประมาท นั้นมีข้อความครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 158 (5) แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ต้องบรรยายฟ้องให้จำเลยเข้าใจได้ว่าบุคคลที่จำเลยกล่าวถึง คือ นังมารร้าย นางมารร้าย นังยักษ์ขมูขี นางยักษ์ ชี ตามที่โจทก์อ้างมา ในฟ้องนั้น ทำให้นายพีระศักดิ์ โพธิ์ศรี นางสาวกุลรภัส ผกาหอม พนักงานบริษัทอูเด้ห์ เชดเด้น (ประเทศไทย) จำกัด และบุคคลทั่วไป เข้าใจได้ว่าหมายถึงผู้เสียหายนั้น เห็นว่า ฟ้องโจทก์ได้ระบุข้อเท็จจริง และรายละเอียดต่าง ๆ พร้อมทั้งข้อความอันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาท ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ดีแล้วว่านายพีระศักดิ์ นางสาว กุลรภัส พนักงานบริษัทอูเด้ห์ เชดเด้น (ประเทศไทย) จำกัด และบุคคล ทั่วไปเข้าใจได้ว่าบุคคลที่จำเลยกล่าวถึงในข้อความอันเกี่ยวกับ ข้อหมิ่นประมาทนั้น หมายถึงผู้เสียหาย โดยไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้อง ให้ชัดเจนดังที่จำเลยฎีกา ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้ ฟังไม่ขึ้น มีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลย ข้อต่อไปว่า การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า พนักงานสอบสวนไม่ได้สอบสวนตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ว่า อีเมลตาม เอกสารหมาย จ.1 ไม่ได้หมายถึงผู้เสียหาย และไม่ได้สอบสวนว่า ข้อมูลที่จำเลยอ้างเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเท็จนั้นมีความจริง ประการใดนั้น เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131 ถึงมาตรา 134 การสอบสวนคดีเป็นอำนาจหน้าที่ของ พนักงานสอบสวนที่จะสืบหาพยานหลักฐานมาประกอบในการดำเนิน คดีตามที่ได้รับแจ้ง และเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะเรียก บุคคลใดมาเป็นพยานหรือหมายเรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องมาเป็นพยาน การที่พันตำรวจโทไชยาจิตต์ จันทะเสน พนักงานสอบสวนสอบปากคำ และรวบรวมพยานหลักฐานแล้วมีความเห็นควรสั่งฟ้องจำเลยในข้อหา ตามที่แจ้งข้อกล่าวหาเนื่องจากผู้เสียหายยืนยันว่าบุคคลที่ระบุไว้ ในอีเมล์เข้าใจได้ว่าเป็นผู้เสียหายดังคำเบิกความของพันตำรวจโท ชยาจิตต์ โดยไม่ได้สืบสวนสอบสวนพยานหลักฐานอื่นอีกดังที่จำเลย ฎีกา จึงเป็นดุลพินิจของพันตำรวจโทไชยาจิตต์พนักงานสอบสวน การสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน ” พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น