ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2565

พยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์

 คำพิพากษาฎีกาที่ 8087/2556

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง	
	ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
	มาตรา 653		กู้ยืม 
	มาตรา 654		กู้ยืม ดอกเบี้ย 
	มาตรา 224		ผิดนัด ดอกเบี้ย 
	พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
	พ.ศ. 2544 
	มาตรา 4 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9
	พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
	พ.ศ. 2475 
	มาตรา 3
-
ข้อมูลย่อ
	จำเลยนำบัตรกดเงินสดไปใช้เบิกถอนเงินสด ซึ่งการถอนเงินสด
จำเลยจะต้องทำดามขั้นตอนที่ระบุในคู่มือการใช้บริการต้องใส่รหัสผ่าน
4 หลัก เลือกรายการถอนเงินจากบัญชีสินเชื่อเงินสด เลือกระยะเวลา
การผ่อนชำระ 6 ถึง 36 เดือน ระบุจำนวนเงินที่ต้องการ (5,000 ถึง
20,000 บาท ต่อรายการ) และรับเงินสดพร้อมสลิปไว้เป็นหลักฐาน
ซึ่งในสลิปจะปรากฏอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินใน
แต่ละครั้งอยู่ด้วย แสดงว่าจำเลยสมัครใจกู้ยืมเงินจากโจทก์ตามเงื่อนไข
ที่โจทก์กำหนด ถือเป็นธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ดำเนินการโดย
ใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทาง
อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 4 มีผลใช้บังคับตามมาตรา 7 ซึ่ง
บัญญัติว่าห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทาง
กฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของ
ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับมาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ภาย
ใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 9 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใด
ต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้
มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำ
กลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำ
เป็นหนังสือมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว และมาตรา
9 บัญญัติว่า ในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่าข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้ว ถ้า (1) ใช้วิธีการที่สามารถ
ระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อ
รับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน เมื่อโจทก์มีใบ
บันทึกรายการกดเงินสดมาแสดงประกอบใบคู่มือการใช้บริการ อันเป็น
หลักฐานที่รับฟังได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. 2544 การที่จำเลยนำบัตรกดเงินสดไปถอนเงินและใส่รหัส
ส่วนตัวเสมือนลงลายมือชื่อตนเอง ทำรายการถอนเงินตามที่จำเลย
ประสงค์ และกดยืนยันทำรายการพร้อมรับเงินสดและสลิป การกระทำ
ดังกล่าวจึงถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินจากโจทก์ ทั้งจำเลยขอขยาย
ระยะเวลาผ่อนชำระหนี้สินเชื่อเงินสดที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ ซึ่งมี
ข้อความชัดว่าจำเลยรับว่าเป็นหนี้โจทก์ขอขยายเวลาชำระหนี้ โดย
จำเลยลงลายมือชื่อท้ายเอกสารมาแสดง จึงรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการ
กู้ยืมได้อีกโสดหนึ่ง
	จำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์โดยโจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ0.65
ต่อเดือนหรือคิดเป็นดอกเบี้ยแบบปกติ(Effectiverate) เท่ากับอัตราร้อยละ
13.82 ต่อปี และคิดค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินอัตราร้อยละ 0.65 ต่อ
เดือนหรือคิดเป็นดอกเบี้ยแบบปกติ (Effective rate) เท่ากับอัตราร้อยละ
13.82 ต่อปี รวมกับค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ แล้ว
ไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี (Effective rate) จึงมีผลใช้บังคับระหว่างกันได้
ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์
อธิการและเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ
สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน ฉบับลงวันที่ 20 มิถุนายน
2548 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป
และฉบับลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2549 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1
มกราคม 2550 เป็นต้นไป ขณะที่จำเลยรับบัตรกดเงินสดเป็นเวลา
หลังจากที่หลักเกณฑ์ดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบ
ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลอาจเรียกเก็บดอกเบี้ยได้ไม่เกินกว่าอัตราที่
กฎหมายกำหนดไว้ (ร้อยละ 15 ต่อปี) โดยอัตรารวมสูงสุดของดอกเบี้ย
ค่าปรับค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ รวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ
28 ต่อปี (Effective rate) และผู้ประกอบธุรกิจอาจเรียกเก็บค่าใช้จ่าย
ตามที่ได้จ่ายไปจริงและพอสมควรแก่เหตุนอกเหนือไปจากดอกเบี้ยและ
ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้อีกด้วย เมื่อคำนวณแล้วอัตราดอกเบี้ยและ
ค่าธรรมเนียมที่โจทก์เรียกเก็บไม่เกินกว่าอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศ
ไทยประกาศกำหนด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระต้นเงินพร้อม
ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้ตามที่ตกลงกันไว้
	ตามใบแจ้งยอดบัญชีจำเลยผิดนัดชำระหนี้รอบบัญชีประจำ
วันที่ 28 พฤษภาคม 2550 ที่โจทก์กำหนดให้ชำระทันที แต่จำเลยไม่
ชำระ หลังจากนั้นจำเลยไม่ได้ถอนเงินหรือนำเงินชำระหนี้แก่โจทก์อีก
และโจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยใช้บัตรเบิกถอนเงินต่อไป แสดงให้เห็นว่า
คู่สัญญาต่างตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายจึงถือว่าสัญญาเป็นอันเลิก
กันในวันที่ 28 พฤษภาคม 2550 ในวันดังกล่าวจำเลยค้างชำระ
เป็นต้นเงิน 249,337.76 บาท ดอก เบี้ย 5,733.67 บาท
ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน 5,683.67 บาท และค่าธรรมเนียมด่าง ๆ
269.02 บาท รวมเป็นเงิน 261,024.12 บาท จำเลยจึงต้องรับผิด
แก่ โจทก์
	เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมการใช้
วงเงิน ค่าปรับ และค่าธรรมเนียมอื่นใดตามสัญญาจากจำเลยอีก คงมี
สิทธิเรียกดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
วรรคหนึ่ง ที่ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดซึ่งต่อปี แต่ถ้า
เจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบ
ด้วยกฎหมาย ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น แม้โจทก์ฟ้องเรียก
ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งเป็นไปตามประกาศธนาคารแห่ง
ประเทศไทย เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการ
ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ
ที่มิใช่สถาบันการเงิน ที่ให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินกว่าอัตราที่
กฎหมายกำหนดไว้ (ร้อยละ 15 ต่อปี) แต่ก่อนสัญญาเลิกกันโจทก์คิด
ดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 13.82 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิด
ดอกเบี้ยจากต้นเงินค้างชำระได้ในอัตราร้อยละ 13.82 ต่อปี
-
รายละเอียด
	โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2546 จำเลยทำสัญญากู้
ยืมเงินสินเชื่อเงินสดควิกแคชจากโจทก์ ซึ่งอนุมัติเงินกู้ให้130,000บาท
คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ3 ต่อเดือน (คิดเฉพาะเดือนแรก) ค่าธรรมเนียม
การใช้วงเงินอัตราร้อยละ 1.35 ต่อเดือน และค่าธรรมเนียมจัดการ
เงินกู้ร้อยละ 0.5 ของยอดเงินกู้แต่ไม่ต่ำกว่า 1,500 บาท แบ่งชำระ
เป็นงวดรายเดือนจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วต่อมา
วันที่23 พฤศจิกายน2548โจทก์ส่งบัตรกดเงินสดควิกแคชหมายเลข
1288 4003 5237 9005 ให้แก่จำเลยพร้อมรหัสประจำตัวเพื่อให้
ถอนเงินสดจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ (ตู้เอทีเอ็ม) ของธนาคาร
กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) จำเลยนำบัตรกดเงินสดดังกล่าวไปใช้
เบิกถอนเงินสดรวม 4 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2549 จำนวนเงิน
200,004 บาท แบ่งชำระ 24 งวด งวดละ 1,093 บาท วันที่ 2
พฤศจิกายน 2549 จำนวนเงิน 17,000 บาท แบ่งชำระ 24 งวด
งวดละ429บาทวันที่22พฤศจิกายน2549จำนวนเงิน10,000 บาท
แบ่งชำระ 24 งวด งวดละ 547 บาท และวันที่ 21 ธันวาคม 2549
จำนวนเงิน 121,000 บาท แบ่งชำระ 24 งวด งวดละ 656 บาท
หลังจากนั้นวันที่ 25 ธันวาคม 2549 จำเลยขอขยายระยะเวลา
ผ่อนชำระหนี้สินเชื่อเงินสดควิกแคชที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ รวม 11
รายการดังนี้ยอดสินเชื่อ 23,486.09บาทขอผ่อนชำระ36งวดงวดละ
983 บาท ยอดสินเชื่อ 13,359.71 บาท ขอผ่อนชำระ36 งวดงวดละ
555บาท ยอดสินเชื่อ 14,102.30 บาท ขอผ่อนชำระ36 งวด งวดละ
586 บาท ยอดสินเชื่อ 11,653.34บาท ขอผ่อนชำระ36 งวดงวดละ
484บาท ยอดสินเชื่อ 16,968.78บาท ขอผ่อนชำระ36 งวดงวดละ
707บาท ยอดสินเชื่อ 13,588.11 บาท ขอผ่อนชำระ36 งวดงวดละ
566 บาท ยอดสินเชื่อ 19,299.36 บาท ขอผ่อนชำระ36 งวดงวดละ
802 บาท ยอดสินเชื่อ 19,148.32 บาท ขอผ่อนชำระ36 งวด งวดละ
796 บาท ยอดสินเชื่อ 19,148.32 บาท ขอผ่อนชำระ36 งวดงวดละ
796 บาทยอดสินเชื่อ20,000 บาทขอผ่อนชำระ36งวดงวดละ831
บาท และยอดสินเชื่อ 20,000 บาท ขอผ่อนชำระ36 งวดงวดละ827
บาท รวมผ่อนชำระ 11 รายการ งวดละ 7,933 บาท และเมื่อวันที่ 27
กุมภาพันธ์ 2550 จำเลยใช้บัตรกดเงินสดถอนเงิน 20,000 บาท
ตกลงผ่อนชำระ 36 งวด งวดละ 816 บาท วันที่ 7 มีนาคม 2550
จำเลยถอนเงิน 20,000 บาท ตกลงผ่อนชำระ 36 งวด งวดละ 816
บาทวันที่3เมษายน2550จำเลยถอนเงิน 6,000บาท ตกลงผ่อนชำระ
18งวดงวดละ411 บาทและวันที่23 เมษายน2550 จำเลยถอนเงิน
6,000 บาท ตกลงผ่อนชำระ 18 งวด งวดละ 343 บาท จำเลยได้รับ
เงินไปครบถ้วนแล้ว แต่จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์เพียงบางส่วน โจทก์
นำไปหักทอนบัญชีปรากฏว่า ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2550 จำเลย
เป็นหนี้โจทก์คิดเป็นต้นเงิน249,337.76 บาทดอกเบี้ย23,089.42
บาท และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน 23,758.44 บาท รวมเป็นเงิน
296,185.62 บาท โจทก์ทวงถามแล้วแต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับ
จำเลยชำระเงิน318,933.42บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15ต่อปี
ของต้นเงิน 249,337.76 บาท นับถัดจากฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะ
ชำระเสร็จแก่โจทก์
	จำเลยให้การว่า การกู้ยืมเงินของจำเลยโดยการเบิกเงินกู้จาก
เครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่าง
ใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์คิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินของแต่ละสัญญาเกิน
กว่าร้อยละ 28 ต่อปี จึงเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดย่อมตกเป็น
โมฆะและโจทก์ไม่มีสิทธินำเงินที่จำเลยชำระแล้วไปหักดอกเบี้ยและ
ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินที่โจทก์ไม่มีสิทธิคิดได้ จึงต้องนำไปหักชำระ
ต้นเงิน คิดหักแล้วจำเลยค้างชำระไม่เกิน 106,221.72 บาท โจทก์
โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยไม่เกินอัตราร้อยละ7.5ต่อปีขอให้ยกฟ้อง
	ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องกับให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทน
จำเลย โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท
	โจทก์ อุทธรณ์
	ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์
261,024.12 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 13.82 ต่อปี ของ
ต้นเงิน 249,337.76 บาท นับถัดจากวันที่ 28 พฤษภาคม 2550
เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ กับให้จำเลยให้ค่าฤชาธรรมเนียมใน
ศาลชั้นต้นแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท
ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
	จำเลย ฎีกา
	ศาลฎีกาวินิจฉัยวา “พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังยุติ
ว่า จำเลยเคยกู้ยืมเงินโดยเป็นสมาชิกบริการสินเชื่อ “สินเชื่อเงินสดควิก
แคช” ของโจทก์ ต่อมาโจทก์ส่งบัตรสมาชิก (บัตรกดเงินสด ควิกแคช)
พร้อมทั้งคู่มือการใช้งานให้แก่จำเลยเพื่อประกอบการเบิกถอนเงินสดจาก
เครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) ในวงเงินสินเชื่อที่โจทก์อนุมัติและ
เมื่อจำเลยได้รับบัตรสมาชิกพร้อมเลขรหัสประจำตัวแล้วได้ติดต่อมายัง
โจทก์เพื่อขอเปิดใช้บริการบัตรดังกล่าว จำเลยตกลงให้บริการตามคู่มือ
เอกสารหมาย จ.6 มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรก
ว่า การเบิกเงินสดจากเครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติของจำเลยเป็นการกู้
ยืมที่ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมอันจะทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เห็น
ว่า เมื่อจำเลยนำบัตรกดเงินสดดังกล่าวไปใช้เบิกถอนเงินสดรวม 8 ครั้ง
ตามเอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.10 และ จ.12 ถึง จ.15 ซึ่งการถอนเงิน
สดดังกล่าวจำเลยจะต้องทำตามขั้นตอนที่ระบุในคู่มือการใช้บริการ
เอกสารหมาย จ.6 ต้องใส่รหัสผ่าน 4 หลัก เลือกรายการถอนเงินจาก
บัญชีสินเชื่อเงินสด เลือกระยะเวลาการผ่อนชำระ 6 ถึง 36 เดือน ระบุ
จำนวนเงินที่ต้องการ (5,000 ถึง 20,000 บาท ต่อรายการ) และรับ
เงินสดพร้อมสลิปไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งในสลิปจะปรากฏอัตราดอกเบี้ย
และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินในแต่ละครั้งอยู่ด้วย แสดงว่าจำเลย
สมัครใจกู้ยืมเงินจากโจทก์ตามเงื่อนไขที่โจทก์กำหนด กรณีดังกล่าวถือ
เป็นธุรกรรมในทาง แพ่ง และพาณิชย์ที่ดำ เน้นการโดยใช้ข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์พ.ศ.
2544 มาตรา 4 มีผลใช้บังคับตามมาตรา 7 ซึ่งบัญญัติว่า ห้ามมิให้
ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใด
เพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ประกอบกับมาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ภายใต้บังคับบทบัญญัติ
แห่งมาตรา 9 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ
มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความ
ขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดย
ความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มี
หลักฐานเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว และมาตรา 9บัญญัติว่า
ในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้ว ถ้า (1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของ
ลายมือชื่อ และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความใน
ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน... เมื่อโจทก์มีเอกสารหมายจ.7ถึง
จ.10 และ จ.12 ถึง จ.15 มาแสดงประกอบใบคู่มือการใช้บริการ
เอกสารหมาย จ.6 อันเป็นหลักฐานที่รับฟังได้ตามพระราชบัญญัติว่า
ด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 การที่จำเลยนำบัตรกด
เงินสดควิกแคชไปถอนเงินและใส่รหัสส่วนตัวเสมือนลงลายมือชื่อตนเอง
ทำรายการถอนเงินตามที่จำเลยประสงค์ และกดยืนยันทำรายการ
พร้อมรับเงินสดและสลิป การกระทำดังกล่าวจึงถือเป็นหลักฐานการกู้
ยืมเงินจากโจทก์ ประกอบทั้งจำเลยมีการขอขยายระยะเวลาผ่อนชำระ
หนี้สินเชื่อเงินสดควิกแคชที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ รวม 11 รายการ
โจทก์มีเอกสารหมาย จ.11 ซึ่งมีข้อความชัดว่าจำเลยรับว่าเป็นหนี้
โจทก์ขอขยายเวลาชำระหนี้โดยจำเลยลงลายมือชื่อท้ายเอกสารมาแสดง
จึงรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้อีกโสดหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
	ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยต่อไปมีว่าจำเลยต้องรับผิด
เพียงใด โดยจำเลยฎีกาว่า ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินที่กำหนดไว้ใน
สัญญาที่แท้จริงแล้วคือดอกเบี้ย เมื่อรวมดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลย
อีกต่างหากแล้ว จึงเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ต้องห้ามตาม
พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 (ก)
ข้อตกลงเรื่องดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะนั้น เห็นว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์
และรับเงินไปแล้ว 8 ครั้ง ตามเอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.10 และ จ.12 ถึง
จ.15และสินเชื่อที่ขอขยายระยะเวลาผ่อนชำระตามเอกสารหมายจ.11
โดยโจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 0.65 ต่อเดือน หรือคิดเป็นดอกเบี้ย
แบบปกติ (Effective rate) เท่ากับอัตราร้อยละ 13.82 ต่อปี และคิด
ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินอัตราร้อยละ 0.65 ต่อเดือนหรือคิดเป็น
ดอกเบี้ยแบบปกติ (Effective rate) เท่ากับอัตราร้อยละ 13.82 ต่อปี
รวมกับค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ แล้ว จึงไม่เกินร้อยละ
28 ต่อปี (Effective rate) จึงมีผลใช้บังคับระหว่างกันได้ ตามประกาศ
ธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและ
เงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับสำหรับ
ผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินฉบับลงวันที่ 20 มิถุนายน 2548
ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป และฉบับละ
วันที่ 20 กรกฎาคม 2549 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม
2550 เป็นต้นไป ดังนั้น ขณะที่จำเลยได้รับบัตรกดเงินสดเมื่อวันที่ 23
พฤศจิกายน 2548 จึงเป็นเวลาหลังจากที่หลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น
มีผลใช้บังคับแล้ว จึงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วน
บุคคลอาจเรียกเก็บดอกเบี้ยได้ไม่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้
(ร้อยละ 15 ต่อปี) โดยอัตรารวมสูงสุดของดอกเบี้ยค่าปรับค่าบริการ
และค่าธรรมเนียมใด ๆ ดังกล่าวรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี
(Effective rate) และผู้ประกอบธุรกิจอาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่าย
ไปจริงและพอสมควรแก่เหตุนอกเหนือไปจากดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
ต่าง ๆ ได้อีกด้วย เมื่อคำนวณแล้วอัดราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
ที่โจทก์เรียกเก็บไม่เกินกว่าอัตราทีธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศ
กำหนด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยและ
ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้ ตามที่ตกลงกันไว้ ปรากฏตามใบแจ้งยอดบัญชี
เอกสารหมาย จ.16 ว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้รอบบัญชีประจำวันที่ 28
พฤษภาคม 2550 ที่โจทก์กำหนดให้ชำระทันที แต่จำเลยไม่ชำระ
หลังจากนั้นจำเลยไม่ได้ถอนเงินหรือนำเงินชำระหนี้แก่โจทก์อีก และ
โจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยใช้บัตรเบิกถอนเงินต่อไป แสดงให้เห็นว่า
คู่สัญญาต่างตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายจึงถือว่าสัญญาเป็นอันเลิก
กันในวันที่ 28 พฤษภาคม 2550 ในวันดังกล่าวจำเลยค้างชำระ
เป็นต้นเงิน 249,337.76 บาท ดอกเบี้ย 5,733.67 บาท
ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน 5,683.67 บาท และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
269.02 บาท รวมเป็นเงิน 261,024.12 บาท จำเลยจึงต้องชำระ
เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ส่วนที่โจทก์ขอคิดค่าปรับและค่าธรรมเนียม
อื่น ๆ ภายหลังจากวันดังกล่าวนั้น เห็นว่า เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว โจทก์
ไม่มีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน ค่าปรับ และค่าธรรมเนียมอื่นใด
ตามสัญญาจากจำเลยอีก โจทก์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ให้คิดดอกเบี้ยใน
ระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แต่ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้
สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ให้คงส่งดอกเบี้ย
ต่อไปตามนั้น แม้โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งเป็น
ไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การ
กำกับสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินที่ให้โจทก์เรียก
ดอกเบี้ยได้ไม่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ (ร้อยละ 15 ต่อปี) แต่
ก่อนสัญญาเลิกกันโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 13.82
ต่อปี เท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินค้างชำระจำนวน
244,337.76 บาท ได้ในอัตราร้อยละ 13.82 ต่อปี นับถัดจากวันที่
28 พฤษภาคม 2550 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้แก่โจทก์
เสร็จสิ้น ส่วนคำพิพากษาศาลฎีกาที่อ้างมานั้นข้อเท็จจริงไม่ตรงกับ
ข้อเท็จจริงในคดีนี้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย
ฎีกาของจำเลยทุกข้อฟังไม่ขึ้น”
	พิพากษายืนค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ

ไม่มีความคิดเห็น: