ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2565

อำนาจฝากขังของศาลชั้นต้น

 คําพิพากษาฎีกาที่ 4265/2561

	คู่กรณี
ผู้ร้อง
	พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิด 
	เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
ผู้ต้องหา
	นายวัฒนา เมืองสุข 
-
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
	ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 
	มาตรา 193		อุทธรณ์ฎีกา 
-
ข้อมูลย่อ
	คําสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาตามคําร้อง 
ของพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 
มาตรา 71 ประกอบมาตรา 66 ไม่ใช่เรื่องที่กฏหมายมีความ 
ประสงค์จะให้ผู้ต้องหายื่นอุทธรณ์คัดค้านได้ ตามประมวลกฎหมายวิธี 
พิจารณาความอาญา มาตรา 193 ผู้ต้องหาจึงไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ 
-
รายละเอียด
	คดีสืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2560 ศาลชั้นต้นมี 
คําสั่งอนุญาตให้ขังผู้ต้องหามีกําหนด 12 วัน ไว้เพื่อดําเนินการ 
สอบสวนดําเนินคดีผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 
และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 
พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (2) (3) (5) 
	ผู้ต้องหาอุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขังผู้ต้องหา 
ตามคําร้องของผู้ร้อง 
	ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ต้องหา 
	ผู้ต้องหาฎีกา 
	ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของ 
ผู้ต้องหาว่า การที่ศาลชั้นต้นมีคําสั่งอนุญาตให้ขังผู้ต้องหามีกําหนด12 วัน 
ตามคําร้องของผู้ร้อง ผู้ต้องหามีสิทธิยื่นอุทธรณ์คําสั่งศาลชั้นต้น หรือไม่ 
เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 
134 วรรคห้าบัญญัติว่า “เมื่อได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว ถ้าผู้ต้องหา 
ไม่ใช่ผู้ถูกจับและยังไม่ได้มีการออกหมายจับ แต่พนักงานสอบสวน 
เห็นว่ามีเหตุที่จะออกหมายขังผู้นั้นได้ตามมาตรา 71 พนักงานสอบสวน 
มีอํานาจสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อออกหมายขังโดยทันที กรณีเช่นว่า 
นี้ให้นํามาตรา 87 มาใช้บังคับแก่การพิจารณาออกหมายขังโดย อนุโลม” 
มาตรา 71 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “เมื่อได้ตัวผู้ต้องหาหรือ จําเลยมาแล้ว 
ในระยะใดระหว่างสอบสวนไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา 
ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาหรือจําเลยไว้ตามมาตรา 87 หรือมาตรา
 88 ก็ได้ และให้นําบทบัญญัติในมาตรา 66 มาใช้บังคับโดยอนุโลม” 
มาตรา 66 บัญญัติว่า “เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อ 
มีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทําความผิดอาญาซึ่งมี 
อัตราโทษจําคุกอย่างสูงเกินสามปี” ตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น 
ให้อํานาจศาลที่จะขังผู้ต้องหาระหว่างสอบสวนหากมีเหตุตามมาตรา 
66 ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา 
มาตรา 116 ซึ่งต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินเจ็ดปี จึงเป็นกรณี 
ที่ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา 
ความอาญา มาตรา 71 ประกอบมาตรา 66 บทบัญญัติดังกล่าวเป็น 
กระบวนการก่อนฟ้องซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ต้องหาอยู่ในอํานาจของศาล 
เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีตัวจําเลยในการพิจารณาคดีของศาลทั้งตาม 
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 106 บัญญัติให้ 
ผู้ต้องหามีสิทธิยื่นคําร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวได้อยู่แล้ว 
แสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างชัดเจนว่า มีวัตถุประสงค์ 
จะให้กระบวนการยุติธรรมในชั้นฝากขังระหว่างสอบสวนเป็นอํานาจ 
ของผู้พิพากษาศาลชั้นต้นและยุติไปในระดับศาลชั้นต้นเท่านั้น ไม่ใช่ 
เรื่องที่กฏหมายมีความประสงค์จะให้ผู้ต้องหายื่นอุทธรณ์คัดค้าน 
คําสั่งอนุญาตให้ฝากขังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ 
อาญามาตรา 193 ด้วยเหตุผลดังวินิจฉัยมาแล้ว ผู้ต้องหาจึงไม่มีสิทธิ 
ยื่นอุทธรณ์คําสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาตามคําร้อง 
ของผู้ร้อง ที่ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของผู้ต้องหาจึงชอบแล้ว ฎีกา 
ผู้ต้องหาฟังไม่ขึ้น” 
	พิพากษายืน 

ไม่มีความคิดเห็น: