๑. การที่พนักงานของผู้เสียหายผู้นำคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหายไปเก็บไว้ท้ายกระโปรงรถยนต์ของผู้เสียหายคันที่จำเลยนำไปใช้ในการทำงานนอกสถานที่โดยจำเลยไม่ทราบมาก่อน ผู้เสียหายไม่ได้สละการครอบครอง เครื่องคอมพิวเตอร์ยังอยู่ในความยึดถือของผู้เสียหาย และจำเลยควรรู้ว่าผู้เสียหายจะต้องมาติดตามเอาคืน การที่จำเลยยอมให้ ณ. นำเครื่องคอมพิวเตอร์ไปใช้ประโยชน์ส่วนตน จึงเป็นการที่จำเลยเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ไปจากการครอบครองของผู้เสียหายเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ คำพิพากษาฏีกา ๓๓๓๓/๒๕๔๕
๒. ความผิดฐานยักยอกเป็นเรื่องที่ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต คำว่า “ โดยทุจริต” หมายถึงการแสวงหาประโยชน์อันไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เมื่อจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกมีหน้าที่จัดการทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่ทายาททั้งหลายในการประชุมทายาท โจทก์ขอแบ่งทรัพย์มรดก แต่จำเลยไม่ยินยอม แสดงว่ามีเจตนาเบียดบังเอาทรัพย์มรดกเป็นของตนเอง มูลความเห็นคดีเกิดขึ้นในวันดังกล่าวและโจทก์รู้เรื่องความผิดนับแต่นั้นหาได้นับตั้งแต่โจทก์ทราบว่าจำเลยขายทรัพย์มรดก คำพิพากษาฏีกา ๓๒๘๑/๒๕๕๒
๓. การที่จำเลยที่ ๑ กับพวกและผู้เสียหายนั่งดื่มเบียรอยู่ด้วยกันแล้วจำเลยที่ ๑ ล้วงกระเป๋ากางเกงผู้เสียหายหยิบกระเป๋าเงินออกมา เมื่อเห็นว่าไม่มีเงินอยู่ในกระเป๋าจึงล้วงหยิบเอาโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายออกมา โดยจำเลยที่ ๑ บอกว่าถ้าไม่ให้โทรศัพท์จะทำร้าย หลังเกิดเหตุผู้เสียหายกลับไปบ้านพัก สักครู่จำเลยที่ ๑ ก็นำโทรศัพท์มาคืนให้ผู้เสียหาย แม้จะคืนโดยโยนลงพื้นเอาเท้าเหยียบแล้วบอกผู้เสียหายคลานมาเอา พฤติการณ์ดังกล่าวเห็นว่า จำเลยที่ ๑ ทำไปด้วยความคึกคะนองไม่ได้ประสงค์ต่อทรัพย์ โดยมีเจตนาทุจริตเพื่อเอาทรัพย์ไปเป็นของตนเองอันเป็นการขาดองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ จึงไม่เป้นความผิดฐานชิงทรัพย์ เป็นความผิดต่อเสรีภาพตาม ปอ มาตรา ๓๐๙ วรรคสอง คำพิพากษาฏีกา ๑๐๐๑๕/๒๕๕๓
๔. รองเท้าแตะโจทก์ร่วมตกอยู่บริเวณประตูบ้านของจำเลย เพราะโจทก์ร่วมทำหลุดไว้ เนื่องจากเหตุชกต่อยทะเลาะวิวาทชกต่อยระหว่างจำเลยกับ ส. จำเลยจึงถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐานแล้วเก็บรองเท้าเเตะของโจทก์ร่วมนำไปมอบให้พนักงานสอบสวน แสดงไม่มีเจตนาเอารองเท้าแตะไปเป็นของตนหรือผู้อื่นในลักษณะในลักษณะที่เป็นการประทุษร้ายต่อกรรมสิทธ์ในทรัพย์ของโจทก์ร่วม แม้จำเลยจะไม่มีสิทธิ์เก็บเอารองเท้าแตะของโจทก์ร่วมไว้ ก็ไม่ใช่เหตุที่จะถือว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นจึงไม่มีเจตนาทุจริต ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ คำพิพากษาฏีกา ๔๒๐๐/๒๕๔๕
๕. จำเลยทั้งสี่ชักชวนกันด้วยความคึกคะนองเนื่องจากมันเมาสุราว่า จะดักทำร้ายผู้ที่จะขับขี่รถจักรยานยนต์ผ่านมา เมื่อผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ผ่านมา จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายแล้วเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปทิ้งในคลอง โดยไม่ได้มีการพูดจาหรือตกลงกันว่าจะมาเอาในภายหลัง แสดงว่าจำเลยทั้งสี่มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายโดยไม่ได้ประสงค์ต่อทรัพย์ เพราะไม่ได้กระทำที่ส่อให้เห็นว่า จำเลยทั้งสี่มีเจตนาที่จะเอาไปเป็นของตนเองอันเป็นการแสดงเจตนาโดยทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์ที่เอาไป จึงไม่มีเจตนาลักทรัพย์ จึงไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ จำเลยที่ ๑ ต้องคำพิพากษารับของโจร ภายในเวลา ๓ ปี นับแต่วันพ้นโทษ จำเลยที่ ๑+ มากระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายจึงเพิ่มโทษตาม ปอ มาตรา ๙๓ ไม่ได้ แต่เพิ่มโทษ ตาม ปอ มาตรา ๙๒ แม้โจทก์จะขอเพิ่มโทษตาม ปอ มาตรา ๙๓ ไมได้ขอมาตรา ๙๒ มาด้วย ก็เพิ่มโทษตาม ปอ มาตรา ๙๒ ซึ่งเป็ยบทเบากว่าได้ คำพิพากษาฏีกา ๔๖๗๓/๒๕๓๖
๖. จำเลยขายรถยนต์และเครื่องนวดข้าวให้โจทก์ โจทก์ชำระเงินแล้วบางส่วน ยังคงค้างชำระส่วนที่เหลือ หลังจากนั้นเจ็ดเดือนเศษ จำเลยกับพวกไปหาโจทก์ที่บ้านแต่ไม่พบ ได้บอกภรรยา บุตรและน้องชายโจทก์ว่า จะเอารถยนต์และเครื่องนวดข้าวไป แล้วได้ยึดรถยนต์และเครื่องนวดข้าวไปเก็บไว้ที่บ้านจำเลยเพราะโจทก์ยังชำระราคาส่วนที่เหลือไม่ครบ การกระทำของจำเลยเป็นการใช้อำนาจบังคับตามสิทธิ์ของเจ้าหนี้โดยพลการไม่ได้ดำเนินการฟ้องร้องบังคับให้ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นการกระทำให้โจทก์ลูกหนี้ใช้หนี้ค่ารถยนต์และเครื่องนวดข้าวที่ค้างชำระ หาได้มีเจตนาลักทรัพย์ไปโดยทุจริตไม่ คำพิพากษาฏีกาที่ ๒๐๐/๒๕๔๔
๗. จำเลยเอาวิทยุมือถือของผู้เสียหายไปโดยปราศจากความรู้เห็นยินยอมของผู้เสียหายเพราะผู้เสียหายนอนหลับ แม้จำเลยจะรู้จักผู้เสียหาย แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีความสินทสนมกันถึงขนาดที่จะสามารถหยิบฉวยสิ่งของผู้เสียหายไปได้โดยพลการ แสดงว่าจำเลยเอาวิทยุมือถือของผู้เสียหายไปเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง การที่จำเลยลักเอาเครื่องส่งวิทยุไปเป็นความผิดสำเร็จกระทงหนึ่ง เมื่อจำเลยครอบครองเครื่องส่งวิทยุนั้นต่อมาย่อมเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่ง เป็นความผิดสองกรรมต่างหากจากกัน เมื่อโจทก์ไม่ได้ฏีกาขอให้ลงโทษในความผิดฐานมีเครื่องส่งวิทยุมือถือโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดกระทงนี้ได้ คำพิพากษาฏีกาที่ ๑๑๔๗/๒๕๔๐
๘. การที่จำเลยที่ ๑ เอาทรัพย์ผู้ตายไปฝังดินไว้ภายหลังการฆ่าผู้ตายโดยจะขุดมาแบ่งกับพวกเมื่อเรื่องเงียบแล้ว ถือได้ว่าเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต เป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยชอบกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๓๔ แล้ว แม้จำเลยที่ ๑ จะป่วยเป็นโรคจิตและเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล การที่จำเลยออกจากโรงพยาบาลดังกล่าวแล้ว หลังจากนั้นไม่ได้ติดต่อโรงพยาบาลดังกล่าวอีก และยังคงรับราชการตำรวจอยู่จนถึงวันเกิดเกตุ แสดงว่าจำเลยที่ ๑ ได้หายป่วยหรือมีอาการทุเลาขึ้นจนสามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้แล้ว ทั้งสาเหตุที่ฆ่าผู้ตายเนื่องจากผู้ตายดูหมิ่นเหยียดหยามอย่างร้ายแรงต่อบุพการี วงศ์ตระกูล และตำแหน่งหน้าที่จำเลยที่ ๑ ซึ่งย่อมเห็นได้ว่า จำเลยที่ ๑ รู้สึกต่อการกระทำของผู้ตายดังกล่าวจึงได้บันดาลโทสะฆ่าผู้ตาย นอกจากนี้ยังได้ความว่า จำเลยที่๑ ฆ่าผู้ตายแล้วจำเลยที่ ๑ ยังได้ร่วมกับจำเลยที่ ๒ ที่ ๓ซ่อนเร็นศพผู้ตายโดยทิ้งศพพร้อมรถยนต์กระบะของผู้ตายลงไปในบ่อดินลูกรังเพื่อปิดบังการตายและนำทรัพย์ต่างๆของผู้ตายที่ติดตัวผู้ตายมาฝังดินซ่อนไว้ แสดงว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ ๑ ยังคงความโกรธต่อการถูกด่าว่าและดูหมิ่นเหยียดหยามจากผู้ตาย มีความกลัวต่อการที่จะต้องรับโทษจากการกระทำความผิดของตนและมีความโลภที่จะได้ทรัพย์ของผู้อื่น ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ ๑ ฆ่าผู้ตายในขณะที่ยังไม่สามารถรู้สึกผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตัวเองได้เพราะมีจิตบกพร่องหรือโรคจิต คำพิพากษาฏีกา ๘๓๒๙/๒๕๔๐
๙. จำเลยเป็นข้าราชการครูมีหน้าที่ปฏิบัติราชการของวิทยาลัยเทคนิค ร ได้รับมอบหายจากผู้อำนวยการซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาให้มีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างต่อเติมวิทยาลัยอาชีวะศึกษา ส. ซึ่งเป็นงานราชการของวิทยาลัยเทคนิค ร. จำเลยจึงมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างปรับปรุงต่อเติมอาคารวิทยาลัยอาชีวศึกษา ส ดูแลรักษาวัสดุที่เหลือใช้จากการก่อสร้าง การที่จำเลยยอมให้ ก. นำเหล็กไลท์เกจอันเป็นวัสดุที่เหลือใช้ซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของจำเลยไปเก็บรักษาไว้ที่ร้าน ก. และให้ ก. เอาเหล็กดังกล่าวนั้นไปเสีย จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ ทำให้เกิดความเสียหายต่อกรมอาชีวศึกษาและเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ควรได้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ จำเลยรับราชการครูหน้าที่หลักคือการสอนหนังสือ การได้รับแต่งตั้งจากผู้บังคับบัญชาให้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่พิเศษในการควบคุมการก่อสร้างต่อเติมอาคารงานที่ได้รับมอบหมายดังกล่าวสำเร็จดุล่วงไปด้วยดี การที่จำเลยทุจริตร่วมกันเอาเหล็กไลท์เกจไปขายที่เป็นเหล็กที่เหลือจากการก่อสร้างต่อเติมอาคารและมีราคาไม่แพงมากนัก พฤติการณ์แห่งการกระทำผิดจึงไม่ร้ายแรง จำเลยรับสารภาพโดยไม่มีเรื่องเสื่อมเสียมาก่อน สมควรรอการลงโทษ คำพิพากษาฏีกา ๑๑๖๑/๒๕๓๘
ข้อสังเกต ๑.การกระทำการโดยมีเจตนาแสวงหาผลประโยชน์อันไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบย่อมเป็นการกระทำโดยทุจริตตาม ปอ มาตรา ๑(๑)
๒.แม้จำเลยไม่ทราบมาก่อนว่ามีคนนำคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหายไปเก็บไว้ท้ายกระโปรงรถยนต์ของผู้เสียหายคันที่จำเลยนำไปใช้ในการทำงานนอกสถานที่ ก็ตาม แต่ ผู้เสียหายไม่ได้สละการครอบครอง เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือไม่ยึดถือซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อไปอันจะทำให้การครอบครองสิ้นสุดลงตาม ปพพ มาตรา ๑๓๗๗ การครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์ยังอยู่ในความยึดถือครอบครองของผู้เสียหาย เมื่อจำเลยมาทราบภายหลังว่าท้ายกระโปรงรถที่จำเลยขับมีคอมพิวเตอร์อยู่ จำเลยย่อมทราบดีว่าผู้เสียหายต้องติดตามเอาคอมพิวเตอร์ดังกล่าวคืน การที่จำเลยนำคอมพิวเตอร์ดังกล่าวไปย่อมเป็นการ “แย่งการครอบครอง” ทรัพย์ของผู้เสียหายโดยจำเลยควรรู้ว่าผู้เสียหายจะต้องมาติดตามเอาคืน หาใช่เป็นกรณีที่ผู้เสียหายมอบการครอบครองทรัพย์ให้จำเลยแล้วจำเลยเบียดบังเอาทรัพย์นั้นไปเสียโดยเจตนาทุจริตแต่อย่างใดไม่
การที่จำเลยยอมให้ ณ. นำเครื่องคอมพิวเตอร์ไปใช้ประโยชน์ส่วนตน จึงเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ส่วน ณ. นั้น หากทราบว่าจำเลยนำคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหายมาให้ ณ. ได้ใช้ประโยชน์โดยผู้เสียหายไม่ได้ยินยอมหรืออนุญาต ย่อมเป็นการ “เอาไปเสีย” หรือ “ รับไว้ด้วยประการใดๆ” ซึ่งทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ การรับไว้ของ ณ. เป็นความผิดฐานรับของโจรได้
๓..ความผิดฐานยักยอกเป็นเรื่องที่ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต คำว่า “ โดยทุจริต” หมายถึงการแสวงหาประโยชน์อันไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
๔.เมื่อจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกมีหน้าที่จัดการทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่ทายาททั้งหลายในการประชุมทายาทตาม ปพพ มาตรา ๑๗๑๙, จึงเป็นการครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นโดยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาล(กรณีศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดก)หรือตามพินัยกรรม(กรณีพินัยกรรมตั้งเป็นผู้จัดการมรดก) การที่โจทก์ขอแบ่งทรัพย์มรดก แต่จำเลยไม่ยินยอม แสดงว่ามีเจตนาแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับจำเลย โดยเบียดบังเอาทรัพย์มรดกเป็นของตนเอง อันเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๕๓,๓๕๔ ถือว่าโจทก์ได้รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดในวันนั้นแล้วจึงต้องร้องทุกข์ภายใน ๓ เดือนนับแต่วันนั้น โดยมูลความเห็นคดีเกิดขึ้นในวันดังกล่าวและโจทก์รู้เรื่องความผิดนับแต่นั้น ความผิดหาได้เกิดขึ้นนับตั้งแต่โจทก์ทราบว่าจำเลยขายทรัพย์มรดกแต่อย่างใดไม่
ความผิดฐานได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์ผู้อื่นและกระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตตาม ปอ มาตรา ๓๕๓,๓๕๔ในหมวดความผิดฐานยักยอกทรัพย์(ผู้จัดการมรดกยักยอกทรัพย์มรดก)เป็นความผิดต่อส่วนตัวตาม ปอ มาตรา ๓๕๖ เมื่อไม่ได้ร้องทุกข์ภายใน ๓ เดือนนับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีเป็นอันขาดอายุความร้องทุกข์ตาม ปอ มาตรา ๙๖ สิทธิ์ในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ปวอ มาตรา ๓๙(๖)
๕. ล้วงกระเป๋ากางเกงผู้เสียหายหยิบกระเป๋าเงินออกมา เมื่อเห็นว่าไม่มีเงินอยู่ในกระเป๋าจึงล้วงหยิบเอาโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายออกมา โดยจำเลยที่ ๑ บอกว่าถ้าไม่ให้โทรศัพท์จะทำร้ายเป็นการข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ซึ่งทรัพย์สินโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายตาม ปอ มาตรา ๓๐๙แล้ว และในขณะเดียวกันก็เป็นการแย่งการครอบครองทรัพย์ของผู้เสียหายโดยขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้ยื่นให้และยึดถือซึ่งทรัพย์นั้นแล้วอัน “น่าจะเป็น” ความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่ศาลท่านคงมองพฤติการณ์ที่หลังเกิดเหตุผู้เสียหายกลับไปบ้านพัก สักครู่ ก็นำโทรศัพท์มาคืนให้ผู้เสียหาย โดยไม่ได้ประสงค์ที่จะครอบครองใช้สอยโทรศัพท์ดังกล่าว แม้จะคืนโดยโยนลงพื้นเอาเท้าเหยียบแล้วบอกผู้เสียหายคลานมาเอา ลักษณะส่อให้เห็นว่าไม่ต้องการโทรศัพท์แต่ทำไปเพื่อเหยียบศักดิ์ศรีของผู้เสียหายโดยหากผู้เสียหายอยากได้ทรัพย์คืนต้องคลานมาเอาไม่เหลือศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ ไม่เหลือศักดิ์ศรีในความเป็นผู้ชาย ศาลจึงมองว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำ ไปด้วยความคึกคะนองไม่ได้ประสงค์ต่อทรัพย์ โดยมีเจตนาทุจริตเพื่อเอาทรัพย์ไปเป็นของตนเองอันเป็นการขาดองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
๖. ด้วยความเครารพในคำพิพากษาฏีกา ในความเห็นส่วนตัวเห็นต่างจากในคำพิพากษาโดยเห็นว่า,การที่จำเลยที่ ๑ กับพวกและผู้เสียหายนั่งดื่มเบียรอยู่ด้วยกันแล้วจำเลยที่ ๑ ล้วงกระเป๋ากางเกงผู้เสียหายหยิบกระเป๋าเงินออกมา เมื่อเห็นว่าไม่มีเงินอยู่ในกระเป๋าจึงล้วงหยิบเอาโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายออกมา โดย บอกว่าถ้าไม่ให้โทรศัพท์จะทำร้าย หากจำเลยไม่ประสงค์ต่อทรัพย์ทำไมเจาะจงล้วงกระเป๋าสตางค์ก่อน ทำไมไม่เอาหัวเข็มขัดหรือสัญญาลักษณ์ของสถาบันของผู้เสียหายไป แต่กลับมุ่งที่จะดูที่กระเป๋าสตางค์ เพียงแต่ว่า เมื่อในกระเป๋าสตางค์ไม่มีเงินจึงมุ่งมาที่โทรศัพท์มือถือแทนซึ่งสามารถนำไปขายได้ หากจำเลยไม่ประสงค์ต่อทรัพย์เมื่อดูในกระเป๋าสตางค์ไม่มีเงินก็น่าจะจบไปไม่ควรที่จะมาเอาโทรศัพท์อีก เมื่อผู้เสียหายไม่ยอมก็พูดขู่เข็ญทำนองจะทำร้ายผู้เสียหาย แม้หลังเกิดเหตุผู้เสียหายกลับไปบ้านพัก สักครู่จำเลยที่ ๑ ก็นำโทรศัพท์มาคืนให้ผู้เสียหาย แม้จะคืนโดยโยนลงพื้นเอาเท้าเหยียบแล้วบอกผู้เสียหายคลานมาเอา เมื่อความผิดฐานลักทรัพย์เกิดแล้วแม้เอามาคืนก็ไม่ได้ทำให้ความผิดที่เกิดขึ้นแล้วไม่เป็นความผิดต่อไปไม่ พฤติการณ์ดังกล่าวน่าจะไม่ใช่ ทำไปด้วยความคึกคะนองและไม่ได้ประสงค์ต่อทรัพย์ แต่กระทำไปโดยมีเจตนาทุจริตเพื่อเอาทรัพย์ไปเป็นของตนเองอันเป็นการครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ จึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ และเป็นความผิดต่อเสรีภาพตาม ปอ มาตรา ๓๐๙ วรรคสอง เป็นความเห็นส่วนตัวครับ
๗.. การที่จำเลยถ่ายรูปรองเท้าแตะของ โจทก์ร่วมที่ตกอยู่บริเวณประตูบ้านของจำเลย เพราะโจทก์ร่วมทำหลุดไว้ เนื่องจากเหตุชกต่อยทะเลาะวิวาทชกต่อ ไว้เป็นหลักฐานแล้วเก็บรองเท้าเเตะของโจทก์ร่วมนำไปมอบให้พนักงานสอบสวน แสดงไม่มีเจตนาแสวงหาประโยชน์อันไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายโดยเอารองเท้าแตะไปเป็นของตนหรือผู้อื่นในลักษณะในลักษณะที่เป็นการประทุษร้ายต่อกรรมสิทธ์ในทรัพย์ของโจทก์ร่วม อีกทั้งราคารองเท้าแตะก็ไม่ได้มีราคามากมายอะไรที่จะนำไปใช้หรือนำไปขายต่อเพื่อให้ได้ราคา แม้จำเลยจะไม่มีสิทธิ์เก็บเอารองเท้าแตะของโจทก์ร่วมไว้ ก็ไม่ใช่เหตุที่จะถือว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นจึงไม่มีเจตนาทุจริต เพราะหากจำเลยมีเจตนาที่จะเอารองเท้าแตะดังกล่าวเป็นของจำเลย จำเลยคงไม่นำไปมอบให้พนักงานสอบสวน การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
๘. การดักทำร้ายผู้ที่จะขับขี่รถจักรยานยนต์ผ่านมาที่กระทำด้วยความคึกคะนองเนื่องจากเมาสุรา เมื่อทำร้ายแล้วได้นำรถไปทิ้งน้ำโดยไม่ได้มีการพูดจาหรือตกลงกันว่าจะมาเอาในภายหลัง แสดงว่าจำเลยทั้งสี่มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายด้วยความคึกคะนองโดยไม่ได้ประสงค์ต่อทรัพย์ เพราะไม่ได้กระทำที่ส่อให้เห็นว่า จำเลยทั้งสี่มีเจตนาที่จะเอาไปเป็นของตนเองอันเป็นการแสดงเจตนาโดยทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์ที่เอาไป แสดงว่า ไม่มีเจตนาแสวงหาประโยชน์อันไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น จึงไม่มีเจตนาทุจริต ไม่มีเจตนาลักทรัพย์ ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์ที่ต้องมีการลักทรัพย์เป็นองค์ประกอบรวมอยู่ด้วย เมื่อไม่ผิดลักทรัพย์ก็ไม่อาจเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ได้
การตกลงทำร้ายคนที่ขับรถจักรยานยนต์ผ่านมานั้นจะมีการตกลงให้เอารถไปด้วยหรือไม่ พยานฝ่ายโจทก์ไม่อาจทราบได้เพราะเป็นการร่วมตกลงกันในระหว่างพวกจำเลยด้วยกันมีแต่พวกจำเลยด้วยกันเท่านั้นที่จะรู้ว่ามีการตกลงจะเอารถไปด้วยหรือไม่ นั้นก็คือ เมื่อพยานโจทก์ไม่อาจยืนยันได้ว่าจำเลยกับพวกต้องการนำรถไปด้วยการเอาไปแอบทิ้งน้ำไว้แล้วมาเอาในภายหลังหรือไม่ จึงต้องฟังความในลักษณะเป็นคุณแก่จำเลยว่า เมื่อไม่มีพยานโจทก์ปากใดยืนยัน ไม่มีพยานจำเลยฝ่ายใดยอมรับ จึงต้องฟังความในลักษณะที่เป็นคุณแก่จำเลยว่าไม่มีเจตนาร่วมกันที่จะเอารถไป จึงไม่มีเจตนาทุจริตที่ประสงค์อยากได้ทรัพย์ของผู้เสียหาย จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เมื่อไม่ผิดฐานลักทรัพย์จึงไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์
แต่การที่นำรถไปทิ้งในคลองย่อมเล็งเห็นผลได้ว่ารถจะได้รับความเสียหาย เกิดความเสื่อมค่า ไร้ประโยชน์ในทรัพย์ดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ตาม ปอ มาตรา ๘๓,๓๕๘
๙..จำเลยที่ ๑ ต้องคำพิพากษารับของโจร ภายในเวลา ๓ ปี นับแต่วันพ้นโทษ จำเลยที่ ๑ มากระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายจึงเพิ่มโทษตาม ปอ มาตรา ๙๓ ไม่ได้ เพราะความผิดฐานทำร้ายร่างกายเป็นความผิดที่ระบุไว้ใน ปอ มาตรา ๙๓(๑๑) ส่วนความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๙๓(๑๓) จึงไม่ใช่กรณีเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก เมื่อพ้นโทษมาแล้วภายใน ๓ ปี กลับมากระทำความผิดซ้ำในอนุมาตราเดียวกันอีกตามที่บัญญัติไว้ในปอ มาตรา ๙๓.นั้นก็คือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ และความผิดเกี่ยวกับเนื้อตัวร่างกายเป็นความผิดคนละอนุมาตรากัน การมากระทำความผิดครั้งหลังจึงไม่ใช่การกลับมากระทำความผิดซ้ำในอนุมาตราเดียวกันที่จะขอเพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่งตาม ปอ มาตรา ๙๓ ได้ แต่อย่างไรก็ดีก็ถือว่านับแต่วันพ้นโทษในคดีก่อนแล้วกลับมากระทำผิดอีกภายในเวลา ๕ ปี นับแต่วันพ้นโทษ ศาลจึงเพิ่มโทษ ตาม ปอ มาตรา ๙๒ได้ อีกทั้งตาม ปอ มาตรา ๙๒ ไม่ได้บัญญัติว่าความผิดครั้งหลังต้องเป็นความผิดประเภทเดียวกับความผิดครั้งแรก ดังนั้นแม้เป็นความผิดคนละฐานความผิดกันก็ตามก็ขอเพิ่มโทษ ๑ ใน ๓ ตาม ปอ มาตรา ๙๒ได้ ซึ่งเป็นบทเบากว่าการเพิ่มโทษตาม ปอ มาตรา ๙๓ ที่เพิ่มโทษกึ่งหนึ่ง และเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า แม้โจทก์จะขอเพิ่มโทษตาม ปอ มาตรา ๙๓ ไมได้ขอตาม ปอ มาตรา ๙๒ มาด้วย ก็เพิ่มโทษตาม ปอ มาตรา ๙๒ ซึ่งเป็นบทเบากว่าได้..ถือว่าโจทก์ได้ “บรรยายมาในฟ้อง” เพื่อขอเพิ่มโทษจำเลยและมี “คำขอท้ายฟ้อง” แล้วศาลจึงเพิ่มโทษจำเลยได้ ไม่ถือเป็นการพิพากษาหรือมีคำสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ปวอ มาตรา ๑๙๒ วรรคแรก
๑๐. ซื้อขายทรัพย์โดยชำระราคาบางส่วน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายโอนไปยังผู้ซื้อนับแต่วันทำสัญญาซื้อขายกัน ปพพ มาตรา ๔๕๘ การส่งมอบการชำระราคาหาใช่สาระสำคัญในการซื้อขายแต่อย่างใดไม่ แม้จะยังคงค้างชำระราคากันอยู่แต่กรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์โอนไปยังผู้ซื้อแล้ว การที่ผู้ซื้อไปติดตามเอาคืนเพราะยังชำระราคาไม่ครบถ้วน,เป็นการใช้อำนาจบังคับตามสิทธิ์ของเจ้าหนี้โดยพลการไม่ได้ดำเนินการฟ้องร้องบังคับให้ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นการกระทำให้โจทก์ลูกหนี้ใช้หนี้ค่ารถยนต์และเครื่องนวดข้าวที่ค้างชำระ ศาลฏีกามองว่าไม่มีเจตนาทุจริตแสวงหาประโยชน์อันไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นไม่มีเจตนาทุจริต เพราะคงไม่รู้กฎหมายเข้าใจเอาเองว่าสามารถกระทำได้ จึงขาดเจตนาทุจริต จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ซึ่งในกรณีนี้เป็นการมองว่า แม้ปอ มาตรา ๖๔ จะบัญญัติว่า บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมาย,เพื่อให้ตนพ้นจากความรับผิดทางอาญาไม่ได้ คือ จะแก้ตัวว่า ไม่ทราบว่า การบังคับชำระหนี้ต้องทำโดยผ่านทางวิธีการทางศาลโดยมีฟ้องคดีเพื่อยึดทรัพย์นำมาชำระหนี้ แต่จะดำเนินการบังคับคดีเองโดยพละการไม่ได้ แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้วคนส่วนใหญ่ไม่รู้กฎหมาย ศาลจึงต้องนำหลักความเป็นธรรมมาใช้มากกว่าการนำตัวบทกฎหมายมาบังคับใช้ ผลของคำวินิจฉัยจึงเป็นแบบนี้ ซึ่งในสมัยก่อนก็เคยมีคำพิพากษาฏีกาวินิจฉัยเป็นอีกอย่างว่า การชำระหนี้ต้องกระทำทางศาลจะมาชำระหนี้กันเองตามอำเภอใจไม่ได้
๑๑..การที่ไม่มีความสนิทชิดเชื้อกันถึงขนาดที่จะหยิบฉวยสิ่งของมาโดยพละการโดยไม่ต้องบอกกล่าวเจ้าของ และทางปฏิบัติก่อนหน้านี้ก็ไม่เคยดำเนินการดังนี้มาก่อน ย่อมไม่อาจอ้างวิสาสะมาหยิบฉวยสิ่งของของบุคคลอื่นมาโดยเจ้าของไม่รู้เห็นยินยอมได้ หากถือวิสาสะดังกล่าวย่อมไม่อาจอ้างวิสาสะมาใช้ยันว่าไม่มีเจตนาหาได้ไม่ การถือวิสาสะหยิบฉวยสิ่งของบุคคลอื่นที่เราไม่สนิทชิดเชื้อส่อเจตนาที่จะทำการลักทรัพย์สิ่งนั้น
จำเลยเอาวิทยุมือถือของผู้เสียหายไปโดยปราศจากความรู้เห็นยินยอมของผู้เสียหายเพราะผู้เสียหายนอนหลับ แม้จำเลยจะรู้จักผู้เสียหาย แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีความสินทสนมกันถึงขนาดที่จะสามารถหยิบฉวยสิ่งของผู้เสียหายไปได้โดยพลการ การที่จำเลยเอาวิทยุมือถือของผู้เสียหายไปจึงเป็นการเอาไปเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง จึงเป็นความผิดฐานลักเอาเครื่องส่งวิทยุไปเป็นความผิดสำเร็จกระทงหนึ่ง เมื่อจำเลยครอบครองเครื่องส่งวิทยุนั้นต่อมาย่อมเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่ง ฐานมีไว้ในความครอบครองเครื่องรับวิทยุโดยไมได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดสองกรรมต่างหากจากกัน เมื่อโจทก์ไม่ได้ฏีกาขอให้ลงโทษในความผิดฐานมีเครื่องส่งวิทยุมือถือโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดกระทงนี้ได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่ไม่ได้กล่าวมาในฟ้อง และถือว่าเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ขอให้ลงโทษ ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๒วรรคแรก,วรรคสี่
๑๒.. การที่จำเลยที่ ๑ เอาทรัพย์ผู้ตายไปฝังดินไว้ภายหลังการฆ่าผู้ตายโดยจะขุดมาแบ่งกับพวกเมื่อเรื่องเงียบแล้ว ถือได้ว่าเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยการแย่งการครอบครองโดยแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายอันส่อให้เห็นถึงเจตนาทุจริตทุจริต เป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยชอบกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๓๔ แล้ว หากฆ่าเพื่อต้องการเอาทรัพย์ผู้เสียหายไปย่อมเป็นการฆ่าเพื่อความสะดวกในการกระทำความผิดฐานอื่นหรือฆ่าเพื่อจะเอาหรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดจากการที่ตนได้กระทำความผิดฐานอื่น ตาม ปอ มาตรา ๒๘๙(๖)(๗)
๑๓.. ผู้กระทำผิดที่อ้างว่าป่วยเป็นโรคจิตและต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ก็ต้องดูขณะกระทำความผิดว่ากระทำความผิดไปขณะมีจิตบกพร่องไม่สามารถรู้สึกตัวหรือเปล่า หรือยังสามารถรู้สึกตัวได้บ้าง การที่จำเลยออกจากโรงพยาบาลดังกล่าวแล้ว หลังจากนั้นไม่ได้ติดต่อโรงพยาบาลดังกล่าวอีก แต่ยังคงรับราชการตำรวจอยู่จนถึงวันเกิดเกตุ แสดงว่าจำเลยที่ ๑ ได้หายป่วยหรือมีอาการทุเลาขึ้นจนสามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้แล้ว เพราะปกติคนที่ป่วยเป็นโรคจิต หรือโรคซึมเศร้ามักต้องทานยาเพื่อระงับอาการ หากไม่ทานยาจะมีอาการคลุ้มคลังบังคับตัวเองไม่ได้ การที่จำเลยไม่ต้องทานยา ไม่มีอาการคลุ้มคลั้ง สามารถทำงานได้แสดงว่าจำเลยมีอาการหายจากโรคจิตแล้ว ทั้งสาเหตุที่ฆ่าผู้ตายเนื่องจากผู้ตายดูหมิ่นเหยียดหยามอย่างร้ายแรงต่อบุพการี วงศ์ตระกูล และตำแหน่งหน้าที่จำเลยที่ ๑ ซึ่งย่อมเห็นได้ว่า จำเลยที่ ๑ รู้สึกต่อการกระทำของผู้ตายดังกล่าวเป็นการข่มเหงใจอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกข่มเหงจึงได้กระทำตอบต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้นอันเป็นการบันดาลโทสะตาม ปอ มาตรา ๗๒ ซึ่งศาลสามารถลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีอาการโกรธเมื่อถูกดูหมิ่นเหยียดหยามอย่างร้ายแรงต่อบุพการี วงศ์ตระกูล และตำแหน่งหน้าที่จำเหยียดหยามอย่างร้ายแรงต่อบุพการี วงศ์ตระกูล และตำแหน่งหน้าที่ การที่จำเลยบันดาลโทสะแล้วฆ่าผู้ตาย แสดงว่าจำเลยรู้สึกตัว ไม่ได้กระทำผิดขณะป่วยเป็นโรคจิต จิตฟั่นเฟือน ทั้งเมื่อได้กระทำผิดแล้วจำเลยที่ ๑ ยังได้ร่วมกับจำเลยที่ ๒ ที่ ๓ซ่อนเร็นศพผู้ตายโดยทิ้งศพพร้อมรถยนต์กระบะของผู้ตายลงไปในบ่อดินลูกรังเพื่อปิดบังการตายและนำทรัพย์ต่างๆของผู้ตายที่ติดตัวผู้ตายมาฝังดินซ่อนไว้ แสดงว่าขณะกระทำความผิดยังสามารถรู้ผิดชอบชั่วดียังสามารถบังคับการกระทำของตนได้หาได้กระทำผิดในขณะวิกลจริตหรือทำผิดในขณะจิตฟั่นเฟือน ขณะ เกิดเหตุจำเลยที่ ๑ ยังคงความโกรธต่อการถูกด่าว่าและดูหมิ่นเหยียดหยามจากผู้ตาย มีความกลัวต่อการที่จะต้องรับโทษจากการกระทำความผิดของตนและมีความโลภที่จะได้ทรัพย์ของผู้อื่น ข้อเท็จจริง “ฟังไม่ได้ว่า” จำเลยที่ ๑ ฆ่าผู้ตายในขณะที่ยังไม่สามารถรู้สึกผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตัวเองได้เพราะมีจิตบกพร่องหรือโรคจิต จึงต้องถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายโดยเจตนา
๑๕.แม้จำเลยเป็นข้าราชการครูมีหน้าที่ปฏิบัติราชการของวิทยาลัยเทคนิค ร. แต่เมื่อได้รับมอบหายจากผู้อำนวยการซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาให้มีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างต่อเติมวิทยาลัยอาชีวะศึกษา ส. ซึ่งเป็นงานราชการของวิทยาลัยเทคนิค ร. จำเลยจึงมีฐานะเป็น “ เจ้าพนักงาน” ผู้มีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างปรับปรุงต่อเติมอาคารวิทยาลัยอาชีวศึกษา ส ดูแลรักษาวัสดุที่เหลือใช้จากการก่อสร้าง
การที่จำเลยยอมให้ ก. นำเหล็กไลท์เกจอันเป็นวัสดุที่เหลือใช้ซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของจำเลยไปเก็บรักษาไว้ที่ร้าน ก. และให้ ก. เอาเหล็กดังกล่าวนั้นไปเสีย จึงเป็นการแสวงหาผลประโยชน์โดยไม่ชอบด้วยกฏหมายสำหรับผู้อื่นเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ ทำให้เกิดความเสียหายต่อกรมอาชีวศึกษาและเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ควรได้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตาม ปอ มาตรา ๑๕๗
จำเลยรับราชการครูหน้าที่หลักคือการสอนหนังสือ แต่เมื่อได้รับแต่งตั้งจากผู้บังคับบัญชาให้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่พิเศษในการควบคุมการก่อสร้างต่อเติมอาคารงานที่ได้รับมอบหมายดังกล่าวสำเร็จดุล่วงไปด้วยดี การที่จำเลยทุจริตร่วมกันเอาเหล็กไลท์เกจไปขายที่เป็นเหล็กที่เหลือจากการก่อสร้างต่อเติมอาคารและมีราคาไม่แพงมากนัก พฤติการณ์แห่งการกระทำผิดจึงไม่ร้ายแรง จำเลยรับสารภาพโดยไม่มีเรื่องเสื่อมเสียมาก่อน สมควรรอการลงโทษ
ค้นหาบล็อกนี้
วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2560
“ประมาทหรือเจตนา”
๑. จำเลยที่ ๒ ใช้ปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงยิงไปที่กลุ่มผู้เสียหายซึ่งมีประมาณ ๑๐ คน โดยไม่ใยดีว่ากระสุนจะถูกใครหรือไม่ แม้เป็นการยิงเพียงนัดเดียวก็อาจถูกผู้อื่นถึงแก่ความตายได้ กระสุนปืนดังกล่าวถูกแขนขว่าผู้เสียหาย เป็นการกระทำที่เล็งเห็นผลของกากรกระทำ เป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่าตาม ปอ มาตรา ๕๙ วรรคสอง คำพิพากษาฏีกา ๓๔๓๑/๒๕๓๕
๒. จำเลยใช้ปืนที่มีอนุภาพร้ายแรงยิงเข้าไปในกลุ่มผู้ตาย ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่ากระสุนปืนอาจถูกบุคคลหนึ่งบุคคลใดภายในกลุ่มถึงแก่ความตายได้ เมื่อกระสุนปืนถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา คำพิพากษาฏีกาที่ ๔๙๒๔/๒๕๔๗
๓. จำเลยใช้ไม้สนที่เป็นไม้เนื้อแข็ง เส้นผ่าศนูย์กลาง ๖ เซ็นติเมตร ยาว ๗๐ เซนติเมตร มีขนาดโตพอดี ตีศรีษะผู้เสียหาย ๑ ที โดยเลือกตีที่ศีรษะผู้เสียหายซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ กะโหลกแต่เลือดคลั่งในสมองจากการตี แสดงตีโดยแรง จำเลยย่อมเล็งเห็นผลแห่งการกระทำของตนว่าอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ แพทย์ผู้รักษายืนยันว่า หากไม่ผ่าตัดสมองรักษาให้ทันท่วงที ผู้เสียหายอาจถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า จำเลยกับผู้เสียหายรับจ้างก่อสร้างสะพานด้วยกัน ก่อนเกิดเหตุจำเลยเร่งให้เพื่อร่วมงานคนหนึ่งและผู้เสียหายทำงาน แล้วโต้เถียงกับผู้เสียหาย จำเลยท้าทายให้ผู้เสียหายขึ้นมาชกต่อยกันบนคันคลอง แต่ผู้เสียหายยังคงนั่งก้มหน้าทำงานและพูดว่า “ จะลุ้นกับรุ่นพ่อ” หมายความว่าอยากชกต่อยกับจำเลยที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับพ่อผู้เสียหาย แม้คำพูดของผู้เสียหายนี้ไม่เหมาะสมบ้าง แต่ก็เป็นเพียงการยั่วโทสะจำเลยเท่านั้น การที่จำเลยหยิบไม้เดินลงไปตีศีรษะผู้เสียหายในขณะนั้น ไม่ใช่การกระทำโดยบันดาลโทสะ คำพิพากษาฏีกาที่ ๗ / ๒๕๔๙
๔. ฏีกาของโจทก์ไม่ได้มีข้อความตอนใดโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่วินิจฉัยว่าพยานโจทก์และโจทก์ร่วมฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดฐานปลอมตั๋วเงินเพราะข้อความในฏีกาของโจทก์ล้วนแต่ยกเหตุผลโต้แย้งว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดฐานใช้ตั๋วเงินปลอม แต่มีข้อความตอนท้ายฏีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกับพวกปลอมตั๋วเงิน ฏีกาของโจทก์ในข้อหาร่วมกันปลอมตั๋วเงินเป็นฏีกาไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปวอ มาตรา ๒๑๖วรรคแรก จำเลยนำเช็คซึ่งเป็นตั๋วเงินปลอมเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินแทนนางยุพาโดยไม่ทราบว่าเป็นตั๋วเงินปลอม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกระทำโดยไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด ขาดเจตนาในการกระทำความผิดฐานใช้ตั๋วเงินปลอมตาม ปอ มาตรา๒๖๘วรรคแรก ,๒๖๖(๔),๕๙วรรคสาม,วรรคสองและวรรคหนึ่ง จำเลยไม่มีความผิดฐานร่วมกับพวกใช้ตั๋วเงินปลอม คำพิพากษาฏีกาที่ ๑๗๖๑/๒๕๕๒
๕. คำเบิกความและคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยได้ความว่า ผู้ตายชอบเล่นอาวุธปืน บางครั้งเอากระสุนออกจากลูกโม้แล้วมาจ่อศีรษะตนเองหรือผู้อื่น วันเกิดเหตุผู้ตายเอาอาวุธปืนมาเล่นอีก ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะที่ผู้ตายเอาอาวุธปืนมาจ่อที่ศีรษะตัวเอง จำเลยเข้าแย่งปืนเป็นเหตุให้ปืนลั่นนั้น ผู้ตายจะยิงตนเองหรือผู้ตายเมาสุราไม่ได้สติ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้หรือไม่รู้ว่าอาวุธปืนดังกล่าวบรรจุกระสุนปืนหรือไม่ ดังนั้น การที่จำเลยเข้าแย่งอาวุธปืนในสถานะการณ์ดังกล่าว ถือว่าจำเลยกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาใช้ให้เพียงพอไม่ อันเป็นการกระทำโดยประมาทตาม ปอ มาตรา ๕๙ วรรคสี่ การที่จะอ้างว่าเป็นการกระทำความผิดด้วยความจำเป็นนั้น ต้องเป็นเรื่องการกระทำความผิดโดยเจตนา แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดโดยประมาทจึงไม่ใช่การกระทำความผิดด้วยความจำเป็น คำพิพากษาฏีกาที่ ๗๒๒๗/๒๕๕๓
๖. ก่อนเกิดเหตุจำเลยขับรถกระบะแซงรถจักรยานยนต์ของ ป. ล้ำเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนเข้าไปในช่องทางเดินรถของจำเลย ๕๐ เซนติเมตร เป็นเหตุให้รถชนกัน จำเลยจึงขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหายและผู้อื่นถึงแก่ความตาย แม้ผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดไป ผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยสำหรับความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๙๑ ตาม ปวอ มาตรา ๒(๔) มารดาผู้ตายจึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ปวอ มาตรา ๕(๒) ไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ปวอ มาตรา ๓๐ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีฝ่ายใดฏีกา ศาลฏีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๕วรรคสอง,๒๒๕ คำพิพากษาฏีกาที่ ๒๘๖๙/๒๕๕๓
๗. จำเลยขับรถจักรยานยนต์ไม่มีไฟส่องหน้ารถในเวลาพลบค่ำมีแสงส่องไม่เพียงพอด้วยความเร็วสูงโดยประมาทไม่ลดความเร็วเมื้อใกล้ทางโค้งเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนถูกถังน้ำที่ผู้ตายถืออยู่เป็นเหตุให้ผู้ตายล้มไปถูกรถยนต์อื่นชนและทับถึงแก่ความตาย กรณีเช่นนี้ถือว่าความตายเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลย จำเลยมีความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาท คำพิพากษาฏีกาที่ ๒๓๓๖/๒๕๔๘
๘. จำเลยจอดรถบรรทุกสิบล้อบรรทุกรถแมคโฮ โดยมีแขนของรถแมคโฮยื่นออกมาด้านท้ายรถ เกินความยาวตัวรถบริเวณริมถนน โดยไม่จัดให้มีโคมไฟสัญญาณหรือเครื่องหมายที่ต้องแสดงในกรณีจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถในลักษณะกีดขวางทางจราจร เป็นเหตุให้ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนแขนแม็คโฮอย่างแรงได้รับอันตรายสาหัส แสดงจำเลยจอดรถด้วยความประมาทขาดจิตสำนึก ขาดความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้ร่วมใช้ถนนรายอื่นจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายผู้อื่น พฤติการณ์เป็นเรื่องร้ายแรง ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษเหมาะสมแล้ว เมื่อจำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายเป็นการบรรเทาผลร้าย ประกอบจำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อนเห็นควรลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก การที่จำเลยไม่จัดให้มีโคมไฟสัญญาณแสงแดงที่ตอนปลายสุดของรถบรรทุกและจอดรถบรรทุกดังกล่าวไม่ได้ติดโคมไฟสัญญาณแสงแดงไว้ข้างทางริมถนนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ชนทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส การที่จำเลยไม่ได้จัดโคมไฟสัญญาณเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส เป็นกรรมเดียวผิดกฏหมายหลายบทต้องลงโทษตามบทกฏหมายที่หนักสุด ตาม ปอ มาตรา ๙๐ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตาม ปอ มาตรา ๓๐๐ และฐานไม่จัดโคมไฟสัญญาณตามพรบ.จราจรทางบกฯ มาตรา ๖๑,๑๕๑ เป็นสองกรรมไม่ถูกต้อง ศาลฏีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญญาหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน ศาลฏีกาหยิบยกวินิจฉัยเองได้ แม้ไม่มีคู่ความฏีกา ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๕,๒๒๕ คำพิพากษาฏีกาที่ ๑๒๐๐๙/๒๕๔๗
๙. จำเลยและ ส. จุดไฟเผาหญ้าในสวนของตนโดยจุดแล้วดับในร่องสวนทีละร่องไล่กันไปจนถึงร่องทีไล่กันไปจนถึงร่องที่เกิดเหตุ จำเลยกลับไปก่อนปล่อยให้ ส. กับ ต.ช่วยกันดับไฟที่จุด ไม่ปรากฏว่าการดับไฟที่เหลือเกินกำลังของ ต และ ส ที่จะช่วยกันดับไฟได้ การที่เกิดไฟลุกขึ้นภายหลังลุกลามไหม้สวนข้างเคียงเสียหายเกิดจากความประมาทของ ส ที่ไม่ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอในการดับไฟ หาใช่เกิดจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิด คำพิพากษาฏีกา๖๕๑๑/๒๕๓๔
๑๐. จำเลยขับรถบรรทุกเสาไฟฟ้าโดยใช้รถพ่วง เมื่อล้อรถพ่วงหลุดทำให้เสาตกลงมาข้างถนนจนกระทั้งค่ำแล้ว จำเลยไม่ได้จัดให้มีโคมไฟหรือเครื่องสัญญาณอย่างอื่นเพื่อให้ผู้ใช้ถนนเห็นเสาที่ขวางถนนนั้นอยู่ เป็นเหตุให้รถที่แล่นมาชนเสาไฟฟ้ามีคนตายและบาดเจ็บ ถือได้ว่าจำเลยทำโดยประมาท ผลการกระทำเกิดที่จำเลยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นได้ แต่จำเลยไม่กระทำ จำเลยมีความผิด คำพิพากษากีกาที่ ๑๙๐๙/๒๕๑๖
ข้อสังเกต ๑.การกระทำโดยเจตนา หมายถึง การกระทำที่ผู้กระทำรู้สำนึกในการกระทำและ “ในขณะเดียวกัน “ ผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลว่าเมื่อกระทำการนั้นแล้วผลย่อมเกิดขึ้น นั้นคือเป็นทฤษฏีผลโดยตรงที่ หากไม่ทำ ผลของการกระทำไม่เกิด เมื่อผลเกิดถือเป็นผลโดยตรงจากการกระทำ
๒.การกระทำโดยประมาท เป็นการกระทำโดยไม่เจตนาแต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุบคลในภาวะนั้นต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ ปอ มาตรา ๕๙ วรรค สี่
๓., ปืนเป็นอาวุธร้ายแรงซึ่งอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ เมื่อนำมาใช้ยิงถือมีเจตนาฆ่า ดังนั้นการนำอาวุธปืนไปยิงใส่ในกลุ่มผู้เสียหายซึ่งมีประมาณ ๑๐ คน โดยไม่เจาะจงว่าประสงค์ยิงผู้ใด การกระทำของจำเลยจึงไม่ใช่การกระทำโดย “ ประสงค์ต่อผล “ ว่า “ตั้งใจ” จะยิงให้ถูกบุคคลใดบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะ แต่การที่ยิงเข้าไปในกลุ่มคนโดยไม่ใยดีว่ากระสุนจะถูกใครหรือไม่ แม้เป็นการยิงเพียงนัดเดียวก็อาจถูกบุคคลใดบุคคลหนึ่งภายในกลุ่มให้ถึงแก่ความตายได้ เมื่อกระสุนปืนดังกล่าวกระสุนปืนดังกล่าวถูกแขนผู้เสียหาย จึงเป็นการกระทำที่เล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่า เมื่อยิงเข้าไปในกลุ่มคนจำนวนมาก กระสุนปืนย่อมถูกคนใดคนหนึ่งภายในกลุ่มได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าโดยเจตนาเล็งเห็นผล ตามปอ มาตรา ๕๙วรรคสอง ๘๐, ๒๘๘ แต่ไม่เป็นความผิดฐานกระทำการโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะใช้ปืนเช่นจำเลยจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์โดยไม่เล็งหรือหันปากกระบอกไปไปที่นั้น จำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาใช่ให้เพียงพอไม่ เพราะการกระทำโดยประมาทต้องเป็นการกระทำที่”ไม่มีเจตนา” กระทำ ดังนั้นเมื่อจำเลย “มีเจตนา” ยิงเข้าไปในกลุ่มคนแม้ไม่ประสงค์ให้ถูกบุคคลหนึ่งบุคคลใดก็ตาม ก็เป็นการกระทำแล้วโดยเป็นการกระทำโดยเจตนาย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำได้ หาใช่เป็นการกระทำโดยประมาทแต่อย่างใดไม่
๔.การยิงปืนเข้าไปในกลุ่มคนแล้วถูกบุคคลหนึ่งบุคคลใดถึงแก่ความตาย ถือว่า “เป็นการกระทำของผู้ยิงแล้วจะอ้างว่าไม่เจตนายิงผู้ตายหาได้ไม่ เพราะการยิงเข้าไปในกลุ่มบุคคลย่อม “ เล็งเห็นผล” ได้ว่ากระสุนปืนอาจถูกบุคคลหนึ่งบุคคลใดภายในกลุ่ม การที่มีคนในกลุ่มถูกกระสุนปืนถือเป็น “ ผลโดยตรง” จากการที่จำเลยยิงอาวุธปืนเข้าไปในกลุ่ม หากจำเลยไม่ยิงปืนเข้าไปในกลุ่มคน กระสุนปืนคงไม่ถูกผู้หนึ่งผู้ใด แต่เมื่อจำเลยยิงปืนเข้าไปในกลุ่มคนแล้วกระสุนถูกคนในกลุ่ม ถือเป็น “ ผลโดยตรง” จากการกระทำของจำเลย จำเลยต้องรับผิด
๕.เมื่อยิงเข้าไปในกลุ่มบุคคลที่หลายคนยืนอยู่ใกล้กันย่อมเล็งเห็นผลได้ว่ากระสุนปืนอาจถูกบุคคลหนึ่งบุคคลใดภายในกลุ่มนั้นได้ เมื่อยิงเข้าไปแล้วถูกบุคคลหนึ่งบุคคลใดภายในกลุ่มถึงแก่ความตายย่อมเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาย่อมเล็งเห็นผลได้ แต่กรณีดังกล่าวไม่ใช่การกระทำต่อต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลเกิดแก่บุคคลหนึ่งโดยพลาดตาม ปอ มาตรา ๖๐ แต่อย่างใดไม่เพราะการกระทำโดยพลาดเป็นกรณีที่มุ่งกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทำเกิดขึ้นแก่บุคคลที่อยู่ห่างไกลออกไปมิใช่ยืนใกล้กันหรือยืนติดกัน ถือเป็นการกระทำโดยพลาด แต่หากยิงไปในกลุ่มคนที่ยืนอยู่ใกล้กันย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าอาจถูกบุคคลใดภายในกลุ่มได้ ถือเป็นการฆ่าโดยเจตนาย่อมเล็งเห็นผล ไม่ใช่การฆ่าโดยพลาด
๖.จำเลยใช้ไม้สนที่เป็นไม้เนื้อแข็ง เส้นผ่าศนูย์กลาง ๖ เซ็นติเมตร ยาว ๗๐ เซนติเมตร มีขนาดโตพอดี ขนาดไม้บอกให้รู้ว่ามีเจตนาเพียงทำร้ายหรือเจตนาฆ่า ดังนั้นในการบรรยายฟ้องต้องบรรยายฟ้องให้ศาลเห็นขนาดความกว้างยาวของไม้ที่ใช้เป็นอาวุธในการตีทำร้ายและต้องนำพยานสืบให้เห็นถึงขนาดของไม้ด้วยว่ามีขนาดกว้างยาวอย่างไร หากนำมาใช้ตีที่ศีรษะแล้วมีผลอย่างไร อาจทำให้ถึงแก่ความตายได้หรือไม่อย่างไร
๗ การตีที่ ตีศีรษะผู้เสียหาย ๑ ที โดยเลือกตีที่ศีรษะผู้เสียหายซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ ทั้งที่มีโอกาสเลือกตีที่อื่นได้เพราะผู้เสียหายนั่งอยู่ ส่อให้เห็นว่ามีเจตนาฆ่า ต้องบรรยายฟ้องและนำสืบให้ศาลเห็นว่าศีรษะเป็นอวัยวะสำคัญอย่างไร หากถูกตีที่ศีรษะโดยแรงผลเป็นอย่างไร
๘. การที่ กะโหลกมีเลือดคลั่งในสมองจากการตี แสดงตีโดยแรง เมื่อตีโดยแรงที่ศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญทำให้ถึงแก่ความตายได้ ส่อให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย. จำเลยย่อมเล็งเห็นผลแห่งการกระทำของตนว่าอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ แพทย์ผู้รักษายืนยันว่า หากไม่ผ่าตัดสมองรักษาให้ทันท่วงที ผู้เสียหายอาจถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า
๙.ด้วยความเครารพในคำพิพากษาศาลฏีกา ขอมีความเห็นต่างจากคำพิพากษาโดยความเห็นส่วนตัวเห็นว่า ,การที่จำเลยโต้เถียงกับผู้เสียหาย จำเลยท้าทายให้ผู้เสียหายขึ้นมาชกต่อยกัน แม้ผู้เสียหายยังคงนั่งก้มหน้าทำงานและพูดว่า “ จะลุ้นกับรุ่นพ่อ” หมายความว่าอยากชกต่อยกับจำเลยที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับพ่อผู้เสียหาย คำพูดนี้ไม่ใช่เป็นเพียงการยั่วโทสะหรือท้าทายเท่านั้น แต่ยังเป็นการพูดทำนองว่าคิดดูให้ดีก่อนที่จะมาชกกับคนที่สูงอายุกว่าซึ่งผ่านอะไรมามากกว่ารวมทั้งผ่านการต่อสู้มามากกว่า หากคิดไม่ดีอาจเจ็บตัวได้ ในความเห็นส่วนตัวไม่น่าเป็นเพียงการยั่วโทสะเท่านั้นที่จะถือว่าผู้เสียหายไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดโดยน่าถือเป็นการยั่วยุท้าทายจำเลยให้ออกมาต่อสู้ ซึ่งน่าถือว่ามีส่วนร่วมในการกระทำความผิดเสียด้วยซ้ำไป แต่ศาลฏีกาวินิจฉัยว่าเป็น, คำพูดของที่ไม่เหมาะสมโดยเป็นการพูดยั่วโทสะจำเลยเท่านั้น ซึ่งแสดงว่าศาลมองว่าข้อความนี้ผู้เสียหายไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดอันจะทำให้ไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย แต่ผู้เสียหายไม่ได้มีส่วนร่วมในการทะเลาะวิวาทด้วยการยั่วยุด้วยคำพูด การที่จำเลยหยิบไม้เดินลงไปตีศีรษะผู้เสียหายในขณะนั้น ไม่ใช่การกระทำโดยบันดาลโทสะ เพราะถูกข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมจึงได้กระทำต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้นตาม ปอ มาตรา ๗๒ ที่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฏหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
๑๐. การอุทธรณ์ฏีกาคำพิพากษาต้องโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาว่ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งว่าไม่ชอบด้วยกฏหมายหรือข้อเท็จจริงอะไร ขัดกับพยานบุคคลหรือพยานเอกสารหรือพยานหลักฐานอื่นอย่างไร เพราะใน ปวอ มาตรา ๒๑๖ใช้คำว่า,”คัดค้าน” คำพิพากษาหรือคำสั่ง นั้นก็คือ การยื่นอุทธรณ์ฏีกาต้องคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ขัดกับข้อกฎหมายหรือขัดกับพยานหลักฐานใด ขัดกับพยานบุคคลใด การอุทธรณ์ฏีกาที่ไม่คัดค้านคำพิพากษาว่าไม่ชอบอย่างไรย่อมไม่เป็นอุทธรณ์ฏีกาที่ศาลสูงจะวินิจฉัยให้ เมื่อฏีกาของโจทก์ไม่ได้มีข้อความตอนใดโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่วินิจฉัยว่าพยานโจทก์และโจทก์ร่วมฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดฐานปลอมตั๋วเงินเพราะข้อความในฏีกาของโจทก์ล้วนแต่ยกเหตุผลโต้แย้งว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดฐานใช้ตั๋วเงินปลอม เมื่อไม่ได้โต้แย้งว่าคำพิพากษาไม่ชอบอย่างไรเท่ากับยอมรับ แม้ในตอนท้ายฏีกามีเพียงข้อความ ขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกับพวกปลอมตั๋วเงิน ฏีกาของโจทก์ในข้อหาร่วมกันปลอมตั๋วเงินเป็นฏีกาไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปวอ มาตรา ๒๑๖วรรคแรก
๑๑.จำเลยนำเช็คซึ่งเป็นตั๋วเงินปลอมเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินแทนนางยุพาโดย “ไม่ทราบว่า “ เป็นตั๋วเงินปลอม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกระทำโดยไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด จะถือว่าจำเลยประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลแห่งการกระทำไม่ได้ ถือขาดเจตนาในการกระทำความผิดฐานใช้ตั๋วเงินปลอมตาม ปอ มาตรา๒๖๘วรรคแรก ,๒๖๖(๔),๕๙วรรคสาม,วรรคสองและวรรคหนึ่ง จำเลยไม่มีความผิดฐานร่วมกับพวกใช้ตั๋วเงินปลอม
๑๒. เจตนาฆ่าหรือกระทำโดยประมาทต้องดูพฤติกรรมแต่ละคดีเป็นเรื่องๆไป ผู้ตายชอบเล่นอาวุธปืน บางครั้งเอากระสุนออกจากลูกโม้แล้วมาจ่อศีรษะตนเองหรือผู้อื่น วันเกิดเหตุผู้ตายเอาอาวุธปืนมาเล่นอีก ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะที่ผู้ตายเอาอาวุธปืนมาจ่อที่ศีรษะตัวเองนั้น จำเลยจะเข้าแย่งปืนเป็นเหตุให้ปืนลั่นนั้น หรือผู้ตายจะยิงตนเองหรือผู้ตายเมาสุราไม่ได้สติ หรือมีผู้อื่นยิงผู้ตาย จึงเป็นการวินิจฉัยในเชิงเป็นคุณกับจำเลยด้วยการยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ปวอ มาตรา ๒๒๗ เพราะไม่มีพยานยืนยันว่าผู้ตายเอาปืนจ่อศีรษะตัวเองเล่นหรือต้องการฆ่าตัวตายหรือจำเลยเอาปืนจ่อศีรษะผู้ตายแล้วผู้ตายต่อสู้ เมื่อไม่มีพยานยืนยันจึงต้องฟังในเชิงเป็นคุณแก่จำเลยหรือยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
๑๓. เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้หรือไม่รู้ว่าอาวุธปืนดังกล่าวบรรจุกระสุนปืนหรือไม่ เมื่อไม่ทราบแน่ชัดว่าอาวุธปืนมีกระสุนปืนหรือไม่ต้อง “สันนิษฐาน” ไว้ก่อนว่าอาวุธปืนมีกระสุนปืนซึ่งเป็นไปตามหลักสากลผู้ที่ใช้ปืนให้พึงละลึกอยู่เสมอว่าอาวุธปืนมีลุกกระสุนอยู่ไม่ว่าอาวุธปืนนั้นจะมีลูกกระสุนปืนหรือไม่ก็ตาม เป็นไปตามหลักแห่งความปลอดภัยตามกฎสากลของผู้ใช้ปืนโดยทั่วไป การที่จำเลยเข้าแย่งอาวุธปืนในสถานการณ์ดังกล่าวจึงต้องคิดหรือคาดหมายได้ว่ามีกระสุนปืนบรรจุในตัวปืน การเข้าไปแย่งปืนอาจทำให้ปืนลั่นได้ และเมื่อปืนลั่นกระสุนปืนอาจถูกจำเลยหรือบุคคลอื่นในบริเวณดังกล่าวได้ การที่จำเลยเข้าไปแย่งปืน ถือว่าจำเลยกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะผู้ใช้ปืนโดยทั่วไปจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้โดยไม่เข้าแย่งปืนที่อยู่ในมือของบุคคลอื่นทั้งที่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าอาวุธปืนดังกล่าวมีกระสุนปืนบรรจุอยู่หรือไม่ การที่จำเลยเข้าไปแย่งปืนถือเป็นการใช้ความระมัดระวังไม่เพียงพอ อันเป็นการกระทำโดยประมาทตาม ปอ มาตรา ๕๙ วรรคสี่ เมื่อเป็นการกระทำโดยประมาทคือไม่มีเจตนาในการกระทำความผิดแต่กระทำไปโดยปราศจากความระมัดระวังจึงไม่อาจอ้างว่ากระทำความผิดด้วยความจำเป็นได้ เพราะการกระทำความผิดด้วยความจำเป็น ต้องเป็นเรื่องการกระทำความผิดโดยเจตนา แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดโดยประมาทจึงไม่อาจอ้างว่าการกระทำความผิดด้วยความจำเป็นได้
๑๔. การที่จำเลยขับรถกระบะแซงรถจักรยานยนต์ของ ป. ล้ำเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนเข้าไปในช่องทางเดินรถของจำเลย ๕๐ เซนติเมตร เป็นเหตุให้รถชนกัน เป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะผู้ขับขี่รถจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ของการขับขี่รถและอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้โดยไม่ขับแซงรถคันหน้าล้ำเข้าไปในทางเดินรถที่แล่นสวนมา แต่จำเลยหาใช้ให้เพียงพอไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหายและผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตาม พรบ.จราจรทางบกฯมาตรา ๔๓,(๔),และปอ มาตรา ๒๙๑ มีข้อที่น่าสังเกตคือ ความผิดฐานประมาททำให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายในทางอาญานั้นมีไม่ได้หรือไม่มี นั้นก็คือในทางอาญาไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์โดยประมาทมีไม่ได้ในทางอาญา แต่ในทางแพ่งการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์ผู้อื่นเสียหายเป็นการละเมิดตาม ปพพ มาตรา ๔๒๐ แม้ผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดไปเพียงแต่ในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหาย หากผู้เสียหายมีส่วนในการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่ก่อให้เกิดความเสียหายด้วยแล้ว ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นฝ่ายก่อให้เกิดหยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงใด ตาม ปพพ มาตรา ๒๒๓,๔๔๒
๑๕.เมื่อผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยสำหรับความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๙๑ ตาม ปวอ มาตรา ๒(๔) มารดาผู้ตายจึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ปวอ มาตรา ๕(๒) ไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ปวอ มาตรา ๓๐ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีฝ่ายใดฏีกา ศาลฏีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๕วรรคสอง,๒๒๕
๑๖. จำเลยขับรถจักรยานยนต์ไม่มีไฟส่องหน้ารถในเวลาพลบค่ำมีแสงส่องไม่เพียงพอด้วยความเร็วสูงและไม่ลดความเร็วเมื้อใกล้ทางโค้งเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะผู้ขับขี่รถโดยทั่วไปจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ของการขับขี่ และจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้โดยหากรถไม่มีโคมไฟส่องหน้าต้องแก้ไขหาโคมไฟส่องหน้ารถมาใช้หรือมิเช่นนั้นก็ไม่นำรถออกไปขับขี่ในเวลากลางคืนที่ไม่มีแสงไฟหรือมีแต่ไม่เพียงพอ และเมื่อขับรถเข้าทางโค้งต้องลดความเร็วของรถให้ลดลงเพื่อให้รถสามารถเข้าโค้งได้ จำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาใช้ให้เพียงพอไม่จนเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนถูกถังน้ำที่ผู้ตายถืออยู่เป็นเหตุให้ผู้ตายล้มไปถูกรถยนต์อื่นชนและทับถึงแก่ความตาย กรณีเช่นนี้ถือว่าความตายเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลย เพราะหากจำเลยไม่ขับรถด้วยประมาทแล้วคงไม่เฉี่ยวชนถูกถังน้ำที่ผู้ตายถือ หากรถไม่เฉี่ยวชนถังน้ำที่ผู้ตายถืออยู่ผู้ตายคงไม่ล้มไปถูกรถยนต์อื่นชนและทับ หากผู้ตายไม่ล้มลงไปถูกรถชนและทับผู้ตายคงไม่ถึงแก่ความตาย จึงต้องถือว่าการที่ผู้ตายล้มลงไปถูกรถยนต์อื่นชนและทับถึงแก่ความตายเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยตาม “ทฤษฏีผลโดยตรง” จำเลยจึงต้องรับผิดชอบ จำเลยมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตาม ปอ มาตรา ๒๙๑ หากเป็นข้อสอบตอบแค่นี้ไม่พอ คำถามไม่ได้ถามว่าศาลฏีกามีคำพิพากษาอย่างไร แต่ถามว่าผิดอะไร จึงต้องตอบว่ามีความผิดฐานนำรถที่มีเครื่องอุปกรณ์และหรือส่วนควบที่ใช้ประจำรถไม่ครบถ้วนมาใช้ในการเดินรถ ขับรถในที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็น ไม่เปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามประเภท ลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง นำรถจักรยานยนต์มาใช้ในการเดินรถโดยไม่มีโคมไฟติดหน้ารถให้เห็นชัดเจนได้ในระยะ ๕๐ เมตร ไม่ลดความเร็วของรถเมื่อรถแล่นเข้าทางโค้ง ตามพรบ.จราจรทางบกฯ มาตรา ๖,๑๑,๖๙,๘๐(๓),๑๔๗,๑๔๘ เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทลงฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตาม ปอ มาตรา ๙๐,๒๙๑ซึ่งเป็นบทหนัก
๑๗. จำเลยจอดรถบรรทุกสิบล้อบรรทุกรถแมคโฮ โดยมีแขนของรถแมคโฮยื่นออกมาด้านท้ายรถ เกินความยาวตัวรถบริเวณริมถนน โดยไม่จัดให้มีโคมไฟสัญญาณหรือเครื่องหมายที่ต้องแสดงในกรณีจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถในลักษณะกีดขวางทางจราจร เป็นความผิดฐานไม่จุดไฟสัญญาณแสงสีแดงกรณีที่รถบรรทุกของยื่นเกินความยาวของตัวรถในเวลากลางคืน หรือติดธงแดงไว้ตอนปลายสุดของสิ่งของที่บรรทุกนั้นให้เห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เมตร ตามมาตรา๑๕ จอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางในที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ผู้ขับขี่สามารถมองเห็นรถได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เมตร โดยไม่เปิดไฟหรือแสดงแสงสว่างตามประเภท ลักษณะ เงื่อนไขตามที่ปรากฎในกฎกระทรวง มาตรา ๖๑,๖๒,๑๔๘,๑๕๑เป็นเหตุให้ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนแขนแม็คโฮอย่างแรงได้รับอันตรายสาหัส เป็นความผิดฐานกระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายและผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ตามพรบ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๓(๔) ปอ มาตรา ๓๐๐ กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทลงบทหนักตาม ปอ มาตรา ๓๐๐
๑๘.จำเลยจอดรถบรรทุกสิบล้อบรรทุกรถแมคโฮ โดยมีแขนของรถแมคโฮยื่นออกมาด้านท้ายรถ เกินความยาวตัวรถบริเวณริมถนน โดยไม่จัดให้มีโคมไฟสัญญาณหรือเครื่องหมายที่ต้องแสดงในกรณีจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถในลักษณะกีดขวางทางจราจร แสดงจำเลยจอดรถด้วยความประมาทขาดจิตสำนึก ขาดความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้ร่วมใช้ถนนรายอื่นจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายผู้อื่น พฤติการณ์เป็นเรื่องร้ายแรง ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษเหมาะสมแล้ว เมื่อจำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายเป็นการบรรเทาผลร้าย ประกอบจำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อนเห็นควรลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก
๑๙.การที่จำเลยจำเลยจอดรถบรรทุกสิบล้อบรรทุกรถแมคโฮ โดยมีแขนของรถแมคโฮยื่นออกมาด้านท้ายรถ เกินความยาวตัวรถบริเวณริมถนน โดยไม่จัดให้มีโคมไฟสัญญาณหรือเครื่องหมายที่ต้องแสดงในกรณีจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถในลักษณะกีดขวางทางจราจร ไม่จัดให้มีโคมไฟสัญญาณแสงแดงที่ตอนปลายสุดของรถบรรทุกและจอดรถบรรทุกดังกล่าวไม่ได้ติดโคมไฟสัญญาณแสงแดงไว้ข้างทางริมถนนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ชนทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส การที่จำเลยไม่ได้จัดโคมไฟสัญญาณเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส เป็นกรรมเดียวผิดกฏหมายหลายบทต้องลงโทษตามบทกฏหมายที่หนักสุด ตาม ปอ มาตรา ๙๐ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตาม ปอ มาตรา ๓๐๐ และฐานไม่จัดโคมไฟสัญญาณตามพรบ.จราจรทางบกฯ มาตรา ๖๑,๑๕๑ เป็นสองกรรมไม่ถูกต้อง ศาลฏีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญญาหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน ศาลฏีกาหยิบยกวินิจฉัยเองได้ แม้ไม่มีคู่ความฏีกา ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๕,๒๒๕
๒๐.ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่าการไม่ติดตั้งสัญญาณโคมไฟไว้ท้ายรถซึ่งเป็นความผิดตาม พรบ. จราจรทางบกฯนั้นความผิดสำเร็จแล้วตั้งแต่ไม่ปฏิบัติการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้และไม่แน่ว่าการไม่กระทำการตามที่กฏหมายบัญญัติไว้จะเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือไม่อย่างไร ส่วนที่ว่าเมื่อกระทำการฝ่าฝืนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้วเกิดผลอย่างไร มีความผิดอะไรเกิดขึ้นต้องไปว่าเป็นอีกกรณีหนึ่ง น่าเป็นความผิดสองกรรม เป็นความเห็นส่วนตัวครับ
๒๑..จำเลยและ ส. จุดไฟเผาหญ้าในสวนของตนโดยจุดแล้วดับในร่องสวนทีละร่องไล่กันไปจนถึงร่องทีไล่กันไปจนถึงร่องที่เกิดเหตุ จำเลยกลับไปก่อนปล่อยให้ ส. กับ ต.ช่วยกันดับไฟที่จุด ไม่ปรากฏว่าการดับไฟที่เหลือเกินกำลังของ ต และ ส ที่จะช่วยกันดับไฟได้ การที่เกิดไฟลุกขึ้นภายหลังลุกลามไหม้สวนข้างเคียงเสียหายเกิดจากความประมาทของ ส ที่ไม่ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอในการดับไฟ หาใช่เกิดจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิด
๒๑.จำเลยขับรถบรรทุกเสาไฟฟ้าโดยใช้รถพ่วง เมื่อล้อรถพ่วงหลุดทำให้เสาตกลงมาข้างถนนจนกระทั้งค่ำแล้ว จำเลยไม่ได้จัดให้มีโคมไฟหรือเครื่องสัญญาณอย่างอื่นเพื่อให้ผู้ใช้ถนนเห็นเสาที่ขวางถนนนั้นอยู่ เป็นเหตุให้รถที่แล่นมาชนเสาไฟฟ้ามีคนตายและบาดเจ็บ ถือได้ว่าจำเลยทำโดยประมาท ผลการกระทำเกิดที่จำเลยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นได้ แต่จำเลยไม่กระทำ ถือได้ว่าการ “ งดเว้น” ของจำเลยเป็น “การกระทำ” ผิดต่อกฎหมาย จึงต้องถือว่าจำเลยกระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำเลยมีความผิด ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายได้รับอันตรายกายตาม ปอ มาตรา ๒๙๑,๓๙๐ พรบ.จราจรทางบกฯ มาตรา ๔๓(๔),๑๕๗
๒. จำเลยใช้ปืนที่มีอนุภาพร้ายแรงยิงเข้าไปในกลุ่มผู้ตาย ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่ากระสุนปืนอาจถูกบุคคลหนึ่งบุคคลใดภายในกลุ่มถึงแก่ความตายได้ เมื่อกระสุนปืนถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา คำพิพากษาฏีกาที่ ๔๙๒๔/๒๕๔๗
๓. จำเลยใช้ไม้สนที่เป็นไม้เนื้อแข็ง เส้นผ่าศนูย์กลาง ๖ เซ็นติเมตร ยาว ๗๐ เซนติเมตร มีขนาดโตพอดี ตีศรีษะผู้เสียหาย ๑ ที โดยเลือกตีที่ศีรษะผู้เสียหายซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ กะโหลกแต่เลือดคลั่งในสมองจากการตี แสดงตีโดยแรง จำเลยย่อมเล็งเห็นผลแห่งการกระทำของตนว่าอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ แพทย์ผู้รักษายืนยันว่า หากไม่ผ่าตัดสมองรักษาให้ทันท่วงที ผู้เสียหายอาจถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า จำเลยกับผู้เสียหายรับจ้างก่อสร้างสะพานด้วยกัน ก่อนเกิดเหตุจำเลยเร่งให้เพื่อร่วมงานคนหนึ่งและผู้เสียหายทำงาน แล้วโต้เถียงกับผู้เสียหาย จำเลยท้าทายให้ผู้เสียหายขึ้นมาชกต่อยกันบนคันคลอง แต่ผู้เสียหายยังคงนั่งก้มหน้าทำงานและพูดว่า “ จะลุ้นกับรุ่นพ่อ” หมายความว่าอยากชกต่อยกับจำเลยที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับพ่อผู้เสียหาย แม้คำพูดของผู้เสียหายนี้ไม่เหมาะสมบ้าง แต่ก็เป็นเพียงการยั่วโทสะจำเลยเท่านั้น การที่จำเลยหยิบไม้เดินลงไปตีศีรษะผู้เสียหายในขณะนั้น ไม่ใช่การกระทำโดยบันดาลโทสะ คำพิพากษาฏีกาที่ ๗ / ๒๕๔๙
๔. ฏีกาของโจทก์ไม่ได้มีข้อความตอนใดโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่วินิจฉัยว่าพยานโจทก์และโจทก์ร่วมฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดฐานปลอมตั๋วเงินเพราะข้อความในฏีกาของโจทก์ล้วนแต่ยกเหตุผลโต้แย้งว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดฐานใช้ตั๋วเงินปลอม แต่มีข้อความตอนท้ายฏีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกับพวกปลอมตั๋วเงิน ฏีกาของโจทก์ในข้อหาร่วมกันปลอมตั๋วเงินเป็นฏีกาไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปวอ มาตรา ๒๑๖วรรคแรก จำเลยนำเช็คซึ่งเป็นตั๋วเงินปลอมเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินแทนนางยุพาโดยไม่ทราบว่าเป็นตั๋วเงินปลอม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกระทำโดยไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด ขาดเจตนาในการกระทำความผิดฐานใช้ตั๋วเงินปลอมตาม ปอ มาตรา๒๖๘วรรคแรก ,๒๖๖(๔),๕๙วรรคสาม,วรรคสองและวรรคหนึ่ง จำเลยไม่มีความผิดฐานร่วมกับพวกใช้ตั๋วเงินปลอม คำพิพากษาฏีกาที่ ๑๗๖๑/๒๕๕๒
๕. คำเบิกความและคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยได้ความว่า ผู้ตายชอบเล่นอาวุธปืน บางครั้งเอากระสุนออกจากลูกโม้แล้วมาจ่อศีรษะตนเองหรือผู้อื่น วันเกิดเหตุผู้ตายเอาอาวุธปืนมาเล่นอีก ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะที่ผู้ตายเอาอาวุธปืนมาจ่อที่ศีรษะตัวเอง จำเลยเข้าแย่งปืนเป็นเหตุให้ปืนลั่นนั้น ผู้ตายจะยิงตนเองหรือผู้ตายเมาสุราไม่ได้สติ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้หรือไม่รู้ว่าอาวุธปืนดังกล่าวบรรจุกระสุนปืนหรือไม่ ดังนั้น การที่จำเลยเข้าแย่งอาวุธปืนในสถานะการณ์ดังกล่าว ถือว่าจำเลยกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาใช้ให้เพียงพอไม่ อันเป็นการกระทำโดยประมาทตาม ปอ มาตรา ๕๙ วรรคสี่ การที่จะอ้างว่าเป็นการกระทำความผิดด้วยความจำเป็นนั้น ต้องเป็นเรื่องการกระทำความผิดโดยเจตนา แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดโดยประมาทจึงไม่ใช่การกระทำความผิดด้วยความจำเป็น คำพิพากษาฏีกาที่ ๗๒๒๗/๒๕๕๓
๖. ก่อนเกิดเหตุจำเลยขับรถกระบะแซงรถจักรยานยนต์ของ ป. ล้ำเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนเข้าไปในช่องทางเดินรถของจำเลย ๕๐ เซนติเมตร เป็นเหตุให้รถชนกัน จำเลยจึงขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหายและผู้อื่นถึงแก่ความตาย แม้ผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดไป ผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยสำหรับความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๙๑ ตาม ปวอ มาตรา ๒(๔) มารดาผู้ตายจึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ปวอ มาตรา ๕(๒) ไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ปวอ มาตรา ๓๐ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีฝ่ายใดฏีกา ศาลฏีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๕วรรคสอง,๒๒๕ คำพิพากษาฏีกาที่ ๒๘๖๙/๒๕๕๓
๗. จำเลยขับรถจักรยานยนต์ไม่มีไฟส่องหน้ารถในเวลาพลบค่ำมีแสงส่องไม่เพียงพอด้วยความเร็วสูงโดยประมาทไม่ลดความเร็วเมื้อใกล้ทางโค้งเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนถูกถังน้ำที่ผู้ตายถืออยู่เป็นเหตุให้ผู้ตายล้มไปถูกรถยนต์อื่นชนและทับถึงแก่ความตาย กรณีเช่นนี้ถือว่าความตายเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลย จำเลยมีความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาท คำพิพากษาฏีกาที่ ๒๓๓๖/๒๕๔๘
๘. จำเลยจอดรถบรรทุกสิบล้อบรรทุกรถแมคโฮ โดยมีแขนของรถแมคโฮยื่นออกมาด้านท้ายรถ เกินความยาวตัวรถบริเวณริมถนน โดยไม่จัดให้มีโคมไฟสัญญาณหรือเครื่องหมายที่ต้องแสดงในกรณีจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถในลักษณะกีดขวางทางจราจร เป็นเหตุให้ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนแขนแม็คโฮอย่างแรงได้รับอันตรายสาหัส แสดงจำเลยจอดรถด้วยความประมาทขาดจิตสำนึก ขาดความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้ร่วมใช้ถนนรายอื่นจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายผู้อื่น พฤติการณ์เป็นเรื่องร้ายแรง ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษเหมาะสมแล้ว เมื่อจำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายเป็นการบรรเทาผลร้าย ประกอบจำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อนเห็นควรลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก การที่จำเลยไม่จัดให้มีโคมไฟสัญญาณแสงแดงที่ตอนปลายสุดของรถบรรทุกและจอดรถบรรทุกดังกล่าวไม่ได้ติดโคมไฟสัญญาณแสงแดงไว้ข้างทางริมถนนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ชนทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส การที่จำเลยไม่ได้จัดโคมไฟสัญญาณเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส เป็นกรรมเดียวผิดกฏหมายหลายบทต้องลงโทษตามบทกฏหมายที่หนักสุด ตาม ปอ มาตรา ๙๐ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตาม ปอ มาตรา ๓๐๐ และฐานไม่จัดโคมไฟสัญญาณตามพรบ.จราจรทางบกฯ มาตรา ๖๑,๑๕๑ เป็นสองกรรมไม่ถูกต้อง ศาลฏีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญญาหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน ศาลฏีกาหยิบยกวินิจฉัยเองได้ แม้ไม่มีคู่ความฏีกา ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๕,๒๒๕ คำพิพากษาฏีกาที่ ๑๒๐๐๙/๒๕๔๗
๙. จำเลยและ ส. จุดไฟเผาหญ้าในสวนของตนโดยจุดแล้วดับในร่องสวนทีละร่องไล่กันไปจนถึงร่องทีไล่กันไปจนถึงร่องที่เกิดเหตุ จำเลยกลับไปก่อนปล่อยให้ ส. กับ ต.ช่วยกันดับไฟที่จุด ไม่ปรากฏว่าการดับไฟที่เหลือเกินกำลังของ ต และ ส ที่จะช่วยกันดับไฟได้ การที่เกิดไฟลุกขึ้นภายหลังลุกลามไหม้สวนข้างเคียงเสียหายเกิดจากความประมาทของ ส ที่ไม่ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอในการดับไฟ หาใช่เกิดจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิด คำพิพากษาฏีกา๖๕๑๑/๒๕๓๔
๑๐. จำเลยขับรถบรรทุกเสาไฟฟ้าโดยใช้รถพ่วง เมื่อล้อรถพ่วงหลุดทำให้เสาตกลงมาข้างถนนจนกระทั้งค่ำแล้ว จำเลยไม่ได้จัดให้มีโคมไฟหรือเครื่องสัญญาณอย่างอื่นเพื่อให้ผู้ใช้ถนนเห็นเสาที่ขวางถนนนั้นอยู่ เป็นเหตุให้รถที่แล่นมาชนเสาไฟฟ้ามีคนตายและบาดเจ็บ ถือได้ว่าจำเลยทำโดยประมาท ผลการกระทำเกิดที่จำเลยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นได้ แต่จำเลยไม่กระทำ จำเลยมีความผิด คำพิพากษากีกาที่ ๑๙๐๙/๒๕๑๖
ข้อสังเกต ๑.การกระทำโดยเจตนา หมายถึง การกระทำที่ผู้กระทำรู้สำนึกในการกระทำและ “ในขณะเดียวกัน “ ผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลว่าเมื่อกระทำการนั้นแล้วผลย่อมเกิดขึ้น นั้นคือเป็นทฤษฏีผลโดยตรงที่ หากไม่ทำ ผลของการกระทำไม่เกิด เมื่อผลเกิดถือเป็นผลโดยตรงจากการกระทำ
๒.การกระทำโดยประมาท เป็นการกระทำโดยไม่เจตนาแต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุบคลในภาวะนั้นต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ ปอ มาตรา ๕๙ วรรค สี่
๓., ปืนเป็นอาวุธร้ายแรงซึ่งอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ เมื่อนำมาใช้ยิงถือมีเจตนาฆ่า ดังนั้นการนำอาวุธปืนไปยิงใส่ในกลุ่มผู้เสียหายซึ่งมีประมาณ ๑๐ คน โดยไม่เจาะจงว่าประสงค์ยิงผู้ใด การกระทำของจำเลยจึงไม่ใช่การกระทำโดย “ ประสงค์ต่อผล “ ว่า “ตั้งใจ” จะยิงให้ถูกบุคคลใดบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะ แต่การที่ยิงเข้าไปในกลุ่มคนโดยไม่ใยดีว่ากระสุนจะถูกใครหรือไม่ แม้เป็นการยิงเพียงนัดเดียวก็อาจถูกบุคคลใดบุคคลหนึ่งภายในกลุ่มให้ถึงแก่ความตายได้ เมื่อกระสุนปืนดังกล่าวกระสุนปืนดังกล่าวถูกแขนผู้เสียหาย จึงเป็นการกระทำที่เล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่า เมื่อยิงเข้าไปในกลุ่มคนจำนวนมาก กระสุนปืนย่อมถูกคนใดคนหนึ่งภายในกลุ่มได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าโดยเจตนาเล็งเห็นผล ตามปอ มาตรา ๕๙วรรคสอง ๘๐, ๒๘๘ แต่ไม่เป็นความผิดฐานกระทำการโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะใช้ปืนเช่นจำเลยจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์โดยไม่เล็งหรือหันปากกระบอกไปไปที่นั้น จำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาใช่ให้เพียงพอไม่ เพราะการกระทำโดยประมาทต้องเป็นการกระทำที่”ไม่มีเจตนา” กระทำ ดังนั้นเมื่อจำเลย “มีเจตนา” ยิงเข้าไปในกลุ่มคนแม้ไม่ประสงค์ให้ถูกบุคคลหนึ่งบุคคลใดก็ตาม ก็เป็นการกระทำแล้วโดยเป็นการกระทำโดยเจตนาย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำได้ หาใช่เป็นการกระทำโดยประมาทแต่อย่างใดไม่
๔.การยิงปืนเข้าไปในกลุ่มคนแล้วถูกบุคคลหนึ่งบุคคลใดถึงแก่ความตาย ถือว่า “เป็นการกระทำของผู้ยิงแล้วจะอ้างว่าไม่เจตนายิงผู้ตายหาได้ไม่ เพราะการยิงเข้าไปในกลุ่มบุคคลย่อม “ เล็งเห็นผล” ได้ว่ากระสุนปืนอาจถูกบุคคลหนึ่งบุคคลใดภายในกลุ่ม การที่มีคนในกลุ่มถูกกระสุนปืนถือเป็น “ ผลโดยตรง” จากการที่จำเลยยิงอาวุธปืนเข้าไปในกลุ่ม หากจำเลยไม่ยิงปืนเข้าไปในกลุ่มคน กระสุนปืนคงไม่ถูกผู้หนึ่งผู้ใด แต่เมื่อจำเลยยิงปืนเข้าไปในกลุ่มคนแล้วกระสุนถูกคนในกลุ่ม ถือเป็น “ ผลโดยตรง” จากการกระทำของจำเลย จำเลยต้องรับผิด
๕.เมื่อยิงเข้าไปในกลุ่มบุคคลที่หลายคนยืนอยู่ใกล้กันย่อมเล็งเห็นผลได้ว่ากระสุนปืนอาจถูกบุคคลหนึ่งบุคคลใดภายในกลุ่มนั้นได้ เมื่อยิงเข้าไปแล้วถูกบุคคลหนึ่งบุคคลใดภายในกลุ่มถึงแก่ความตายย่อมเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาย่อมเล็งเห็นผลได้ แต่กรณีดังกล่าวไม่ใช่การกระทำต่อต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลเกิดแก่บุคคลหนึ่งโดยพลาดตาม ปอ มาตรา ๖๐ แต่อย่างใดไม่เพราะการกระทำโดยพลาดเป็นกรณีที่มุ่งกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทำเกิดขึ้นแก่บุคคลที่อยู่ห่างไกลออกไปมิใช่ยืนใกล้กันหรือยืนติดกัน ถือเป็นการกระทำโดยพลาด แต่หากยิงไปในกลุ่มคนที่ยืนอยู่ใกล้กันย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าอาจถูกบุคคลใดภายในกลุ่มได้ ถือเป็นการฆ่าโดยเจตนาย่อมเล็งเห็นผล ไม่ใช่การฆ่าโดยพลาด
๖.จำเลยใช้ไม้สนที่เป็นไม้เนื้อแข็ง เส้นผ่าศนูย์กลาง ๖ เซ็นติเมตร ยาว ๗๐ เซนติเมตร มีขนาดโตพอดี ขนาดไม้บอกให้รู้ว่ามีเจตนาเพียงทำร้ายหรือเจตนาฆ่า ดังนั้นในการบรรยายฟ้องต้องบรรยายฟ้องให้ศาลเห็นขนาดความกว้างยาวของไม้ที่ใช้เป็นอาวุธในการตีทำร้ายและต้องนำพยานสืบให้เห็นถึงขนาดของไม้ด้วยว่ามีขนาดกว้างยาวอย่างไร หากนำมาใช้ตีที่ศีรษะแล้วมีผลอย่างไร อาจทำให้ถึงแก่ความตายได้หรือไม่อย่างไร
๗ การตีที่ ตีศีรษะผู้เสียหาย ๑ ที โดยเลือกตีที่ศีรษะผู้เสียหายซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ ทั้งที่มีโอกาสเลือกตีที่อื่นได้เพราะผู้เสียหายนั่งอยู่ ส่อให้เห็นว่ามีเจตนาฆ่า ต้องบรรยายฟ้องและนำสืบให้ศาลเห็นว่าศีรษะเป็นอวัยวะสำคัญอย่างไร หากถูกตีที่ศีรษะโดยแรงผลเป็นอย่างไร
๘. การที่ กะโหลกมีเลือดคลั่งในสมองจากการตี แสดงตีโดยแรง เมื่อตีโดยแรงที่ศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญทำให้ถึงแก่ความตายได้ ส่อให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย. จำเลยย่อมเล็งเห็นผลแห่งการกระทำของตนว่าอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ แพทย์ผู้รักษายืนยันว่า หากไม่ผ่าตัดสมองรักษาให้ทันท่วงที ผู้เสียหายอาจถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า
๙.ด้วยความเครารพในคำพิพากษาศาลฏีกา ขอมีความเห็นต่างจากคำพิพากษาโดยความเห็นส่วนตัวเห็นว่า ,การที่จำเลยโต้เถียงกับผู้เสียหาย จำเลยท้าทายให้ผู้เสียหายขึ้นมาชกต่อยกัน แม้ผู้เสียหายยังคงนั่งก้มหน้าทำงานและพูดว่า “ จะลุ้นกับรุ่นพ่อ” หมายความว่าอยากชกต่อยกับจำเลยที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับพ่อผู้เสียหาย คำพูดนี้ไม่ใช่เป็นเพียงการยั่วโทสะหรือท้าทายเท่านั้น แต่ยังเป็นการพูดทำนองว่าคิดดูให้ดีก่อนที่จะมาชกกับคนที่สูงอายุกว่าซึ่งผ่านอะไรมามากกว่ารวมทั้งผ่านการต่อสู้มามากกว่า หากคิดไม่ดีอาจเจ็บตัวได้ ในความเห็นส่วนตัวไม่น่าเป็นเพียงการยั่วโทสะเท่านั้นที่จะถือว่าผู้เสียหายไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดโดยน่าถือเป็นการยั่วยุท้าทายจำเลยให้ออกมาต่อสู้ ซึ่งน่าถือว่ามีส่วนร่วมในการกระทำความผิดเสียด้วยซ้ำไป แต่ศาลฏีกาวินิจฉัยว่าเป็น, คำพูดของที่ไม่เหมาะสมโดยเป็นการพูดยั่วโทสะจำเลยเท่านั้น ซึ่งแสดงว่าศาลมองว่าข้อความนี้ผู้เสียหายไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดอันจะทำให้ไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย แต่ผู้เสียหายไม่ได้มีส่วนร่วมในการทะเลาะวิวาทด้วยการยั่วยุด้วยคำพูด การที่จำเลยหยิบไม้เดินลงไปตีศีรษะผู้เสียหายในขณะนั้น ไม่ใช่การกระทำโดยบันดาลโทสะ เพราะถูกข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมจึงได้กระทำต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้นตาม ปอ มาตรา ๗๒ ที่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฏหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
๑๐. การอุทธรณ์ฏีกาคำพิพากษาต้องโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาว่ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งว่าไม่ชอบด้วยกฏหมายหรือข้อเท็จจริงอะไร ขัดกับพยานบุคคลหรือพยานเอกสารหรือพยานหลักฐานอื่นอย่างไร เพราะใน ปวอ มาตรา ๒๑๖ใช้คำว่า,”คัดค้าน” คำพิพากษาหรือคำสั่ง นั้นก็คือ การยื่นอุทธรณ์ฏีกาต้องคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ขัดกับข้อกฎหมายหรือขัดกับพยานหลักฐานใด ขัดกับพยานบุคคลใด การอุทธรณ์ฏีกาที่ไม่คัดค้านคำพิพากษาว่าไม่ชอบอย่างไรย่อมไม่เป็นอุทธรณ์ฏีกาที่ศาลสูงจะวินิจฉัยให้ เมื่อฏีกาของโจทก์ไม่ได้มีข้อความตอนใดโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่วินิจฉัยว่าพยานโจทก์และโจทก์ร่วมฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดฐานปลอมตั๋วเงินเพราะข้อความในฏีกาของโจทก์ล้วนแต่ยกเหตุผลโต้แย้งว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดฐานใช้ตั๋วเงินปลอม เมื่อไม่ได้โต้แย้งว่าคำพิพากษาไม่ชอบอย่างไรเท่ากับยอมรับ แม้ในตอนท้ายฏีกามีเพียงข้อความ ขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกับพวกปลอมตั๋วเงิน ฏีกาของโจทก์ในข้อหาร่วมกันปลอมตั๋วเงินเป็นฏีกาไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปวอ มาตรา ๒๑๖วรรคแรก
๑๑.จำเลยนำเช็คซึ่งเป็นตั๋วเงินปลอมเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินแทนนางยุพาโดย “ไม่ทราบว่า “ เป็นตั๋วเงินปลอม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกระทำโดยไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด จะถือว่าจำเลยประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลแห่งการกระทำไม่ได้ ถือขาดเจตนาในการกระทำความผิดฐานใช้ตั๋วเงินปลอมตาม ปอ มาตรา๒๖๘วรรคแรก ,๒๖๖(๔),๕๙วรรคสาม,วรรคสองและวรรคหนึ่ง จำเลยไม่มีความผิดฐานร่วมกับพวกใช้ตั๋วเงินปลอม
๑๒. เจตนาฆ่าหรือกระทำโดยประมาทต้องดูพฤติกรรมแต่ละคดีเป็นเรื่องๆไป ผู้ตายชอบเล่นอาวุธปืน บางครั้งเอากระสุนออกจากลูกโม้แล้วมาจ่อศีรษะตนเองหรือผู้อื่น วันเกิดเหตุผู้ตายเอาอาวุธปืนมาเล่นอีก ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะที่ผู้ตายเอาอาวุธปืนมาจ่อที่ศีรษะตัวเองนั้น จำเลยจะเข้าแย่งปืนเป็นเหตุให้ปืนลั่นนั้น หรือผู้ตายจะยิงตนเองหรือผู้ตายเมาสุราไม่ได้สติ หรือมีผู้อื่นยิงผู้ตาย จึงเป็นการวินิจฉัยในเชิงเป็นคุณกับจำเลยด้วยการยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ปวอ มาตรา ๒๒๗ เพราะไม่มีพยานยืนยันว่าผู้ตายเอาปืนจ่อศีรษะตัวเองเล่นหรือต้องการฆ่าตัวตายหรือจำเลยเอาปืนจ่อศีรษะผู้ตายแล้วผู้ตายต่อสู้ เมื่อไม่มีพยานยืนยันจึงต้องฟังในเชิงเป็นคุณแก่จำเลยหรือยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
๑๓. เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้หรือไม่รู้ว่าอาวุธปืนดังกล่าวบรรจุกระสุนปืนหรือไม่ เมื่อไม่ทราบแน่ชัดว่าอาวุธปืนมีกระสุนปืนหรือไม่ต้อง “สันนิษฐาน” ไว้ก่อนว่าอาวุธปืนมีกระสุนปืนซึ่งเป็นไปตามหลักสากลผู้ที่ใช้ปืนให้พึงละลึกอยู่เสมอว่าอาวุธปืนมีลุกกระสุนอยู่ไม่ว่าอาวุธปืนนั้นจะมีลูกกระสุนปืนหรือไม่ก็ตาม เป็นไปตามหลักแห่งความปลอดภัยตามกฎสากลของผู้ใช้ปืนโดยทั่วไป การที่จำเลยเข้าแย่งอาวุธปืนในสถานการณ์ดังกล่าวจึงต้องคิดหรือคาดหมายได้ว่ามีกระสุนปืนบรรจุในตัวปืน การเข้าไปแย่งปืนอาจทำให้ปืนลั่นได้ และเมื่อปืนลั่นกระสุนปืนอาจถูกจำเลยหรือบุคคลอื่นในบริเวณดังกล่าวได้ การที่จำเลยเข้าไปแย่งปืน ถือว่าจำเลยกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะผู้ใช้ปืนโดยทั่วไปจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้โดยไม่เข้าแย่งปืนที่อยู่ในมือของบุคคลอื่นทั้งที่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าอาวุธปืนดังกล่าวมีกระสุนปืนบรรจุอยู่หรือไม่ การที่จำเลยเข้าไปแย่งปืนถือเป็นการใช้ความระมัดระวังไม่เพียงพอ อันเป็นการกระทำโดยประมาทตาม ปอ มาตรา ๕๙ วรรคสี่ เมื่อเป็นการกระทำโดยประมาทคือไม่มีเจตนาในการกระทำความผิดแต่กระทำไปโดยปราศจากความระมัดระวังจึงไม่อาจอ้างว่ากระทำความผิดด้วยความจำเป็นได้ เพราะการกระทำความผิดด้วยความจำเป็น ต้องเป็นเรื่องการกระทำความผิดโดยเจตนา แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดโดยประมาทจึงไม่อาจอ้างว่าการกระทำความผิดด้วยความจำเป็นได้
๑๔. การที่จำเลยขับรถกระบะแซงรถจักรยานยนต์ของ ป. ล้ำเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนเข้าไปในช่องทางเดินรถของจำเลย ๕๐ เซนติเมตร เป็นเหตุให้รถชนกัน เป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะผู้ขับขี่รถจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ของการขับขี่รถและอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้โดยไม่ขับแซงรถคันหน้าล้ำเข้าไปในทางเดินรถที่แล่นสวนมา แต่จำเลยหาใช้ให้เพียงพอไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหายและผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตาม พรบ.จราจรทางบกฯมาตรา ๔๓,(๔),และปอ มาตรา ๒๙๑ มีข้อที่น่าสังเกตคือ ความผิดฐานประมาททำให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายในทางอาญานั้นมีไม่ได้หรือไม่มี นั้นก็คือในทางอาญาไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์โดยประมาทมีไม่ได้ในทางอาญา แต่ในทางแพ่งการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์ผู้อื่นเสียหายเป็นการละเมิดตาม ปพพ มาตรา ๔๒๐ แม้ผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดไปเพียงแต่ในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหาย หากผู้เสียหายมีส่วนในการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่ก่อให้เกิดความเสียหายด้วยแล้ว ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นฝ่ายก่อให้เกิดหยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงใด ตาม ปพพ มาตรา ๒๒๓,๔๔๒
๑๕.เมื่อผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยสำหรับความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๙๑ ตาม ปวอ มาตรา ๒(๔) มารดาผู้ตายจึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ปวอ มาตรา ๕(๒) ไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ปวอ มาตรา ๓๐ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีฝ่ายใดฏีกา ศาลฏีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๕วรรคสอง,๒๒๕
๑๖. จำเลยขับรถจักรยานยนต์ไม่มีไฟส่องหน้ารถในเวลาพลบค่ำมีแสงส่องไม่เพียงพอด้วยความเร็วสูงและไม่ลดความเร็วเมื้อใกล้ทางโค้งเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะผู้ขับขี่รถโดยทั่วไปจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ของการขับขี่ และจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้โดยหากรถไม่มีโคมไฟส่องหน้าต้องแก้ไขหาโคมไฟส่องหน้ารถมาใช้หรือมิเช่นนั้นก็ไม่นำรถออกไปขับขี่ในเวลากลางคืนที่ไม่มีแสงไฟหรือมีแต่ไม่เพียงพอ และเมื่อขับรถเข้าทางโค้งต้องลดความเร็วของรถให้ลดลงเพื่อให้รถสามารถเข้าโค้งได้ จำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาใช้ให้เพียงพอไม่จนเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนถูกถังน้ำที่ผู้ตายถืออยู่เป็นเหตุให้ผู้ตายล้มไปถูกรถยนต์อื่นชนและทับถึงแก่ความตาย กรณีเช่นนี้ถือว่าความตายเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลย เพราะหากจำเลยไม่ขับรถด้วยประมาทแล้วคงไม่เฉี่ยวชนถูกถังน้ำที่ผู้ตายถือ หากรถไม่เฉี่ยวชนถังน้ำที่ผู้ตายถืออยู่ผู้ตายคงไม่ล้มไปถูกรถยนต์อื่นชนและทับ หากผู้ตายไม่ล้มลงไปถูกรถชนและทับผู้ตายคงไม่ถึงแก่ความตาย จึงต้องถือว่าการที่ผู้ตายล้มลงไปถูกรถยนต์อื่นชนและทับถึงแก่ความตายเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยตาม “ทฤษฏีผลโดยตรง” จำเลยจึงต้องรับผิดชอบ จำเลยมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตาม ปอ มาตรา ๒๙๑ หากเป็นข้อสอบตอบแค่นี้ไม่พอ คำถามไม่ได้ถามว่าศาลฏีกามีคำพิพากษาอย่างไร แต่ถามว่าผิดอะไร จึงต้องตอบว่ามีความผิดฐานนำรถที่มีเครื่องอุปกรณ์และหรือส่วนควบที่ใช้ประจำรถไม่ครบถ้วนมาใช้ในการเดินรถ ขับรถในที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็น ไม่เปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามประเภท ลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง นำรถจักรยานยนต์มาใช้ในการเดินรถโดยไม่มีโคมไฟติดหน้ารถให้เห็นชัดเจนได้ในระยะ ๕๐ เมตร ไม่ลดความเร็วของรถเมื่อรถแล่นเข้าทางโค้ง ตามพรบ.จราจรทางบกฯ มาตรา ๖,๑๑,๖๙,๘๐(๓),๑๔๗,๑๔๘ เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทลงฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตาม ปอ มาตรา ๙๐,๒๙๑ซึ่งเป็นบทหนัก
๑๗. จำเลยจอดรถบรรทุกสิบล้อบรรทุกรถแมคโฮ โดยมีแขนของรถแมคโฮยื่นออกมาด้านท้ายรถ เกินความยาวตัวรถบริเวณริมถนน โดยไม่จัดให้มีโคมไฟสัญญาณหรือเครื่องหมายที่ต้องแสดงในกรณีจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถในลักษณะกีดขวางทางจราจร เป็นความผิดฐานไม่จุดไฟสัญญาณแสงสีแดงกรณีที่รถบรรทุกของยื่นเกินความยาวของตัวรถในเวลากลางคืน หรือติดธงแดงไว้ตอนปลายสุดของสิ่งของที่บรรทุกนั้นให้เห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เมตร ตามมาตรา๑๕ จอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางในที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ผู้ขับขี่สามารถมองเห็นรถได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เมตร โดยไม่เปิดไฟหรือแสดงแสงสว่างตามประเภท ลักษณะ เงื่อนไขตามที่ปรากฎในกฎกระทรวง มาตรา ๖๑,๖๒,๑๔๘,๑๕๑เป็นเหตุให้ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนแขนแม็คโฮอย่างแรงได้รับอันตรายสาหัส เป็นความผิดฐานกระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายและผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ตามพรบ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๓(๔) ปอ มาตรา ๓๐๐ กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทลงบทหนักตาม ปอ มาตรา ๓๐๐
๑๘.จำเลยจอดรถบรรทุกสิบล้อบรรทุกรถแมคโฮ โดยมีแขนของรถแมคโฮยื่นออกมาด้านท้ายรถ เกินความยาวตัวรถบริเวณริมถนน โดยไม่จัดให้มีโคมไฟสัญญาณหรือเครื่องหมายที่ต้องแสดงในกรณีจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถในลักษณะกีดขวางทางจราจร แสดงจำเลยจอดรถด้วยความประมาทขาดจิตสำนึก ขาดความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้ร่วมใช้ถนนรายอื่นจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายผู้อื่น พฤติการณ์เป็นเรื่องร้ายแรง ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษเหมาะสมแล้ว เมื่อจำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายเป็นการบรรเทาผลร้าย ประกอบจำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อนเห็นควรลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก
๑๙.การที่จำเลยจำเลยจอดรถบรรทุกสิบล้อบรรทุกรถแมคโฮ โดยมีแขนของรถแมคโฮยื่นออกมาด้านท้ายรถ เกินความยาวตัวรถบริเวณริมถนน โดยไม่จัดให้มีโคมไฟสัญญาณหรือเครื่องหมายที่ต้องแสดงในกรณีจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถในลักษณะกีดขวางทางจราจร ไม่จัดให้มีโคมไฟสัญญาณแสงแดงที่ตอนปลายสุดของรถบรรทุกและจอดรถบรรทุกดังกล่าวไม่ได้ติดโคมไฟสัญญาณแสงแดงไว้ข้างทางริมถนนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ชนทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส การที่จำเลยไม่ได้จัดโคมไฟสัญญาณเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส เป็นกรรมเดียวผิดกฏหมายหลายบทต้องลงโทษตามบทกฏหมายที่หนักสุด ตาม ปอ มาตรา ๙๐ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตาม ปอ มาตรา ๓๐๐ และฐานไม่จัดโคมไฟสัญญาณตามพรบ.จราจรทางบกฯ มาตรา ๖๑,๑๕๑ เป็นสองกรรมไม่ถูกต้อง ศาลฏีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญญาหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน ศาลฏีกาหยิบยกวินิจฉัยเองได้ แม้ไม่มีคู่ความฏีกา ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๕,๒๒๕
๒๐.ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่าการไม่ติดตั้งสัญญาณโคมไฟไว้ท้ายรถซึ่งเป็นความผิดตาม พรบ. จราจรทางบกฯนั้นความผิดสำเร็จแล้วตั้งแต่ไม่ปฏิบัติการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้และไม่แน่ว่าการไม่กระทำการตามที่กฏหมายบัญญัติไว้จะเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือไม่อย่างไร ส่วนที่ว่าเมื่อกระทำการฝ่าฝืนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้วเกิดผลอย่างไร มีความผิดอะไรเกิดขึ้นต้องไปว่าเป็นอีกกรณีหนึ่ง น่าเป็นความผิดสองกรรม เป็นความเห็นส่วนตัวครับ
๒๑..จำเลยและ ส. จุดไฟเผาหญ้าในสวนของตนโดยจุดแล้วดับในร่องสวนทีละร่องไล่กันไปจนถึงร่องทีไล่กันไปจนถึงร่องที่เกิดเหตุ จำเลยกลับไปก่อนปล่อยให้ ส. กับ ต.ช่วยกันดับไฟที่จุด ไม่ปรากฏว่าการดับไฟที่เหลือเกินกำลังของ ต และ ส ที่จะช่วยกันดับไฟได้ การที่เกิดไฟลุกขึ้นภายหลังลุกลามไหม้สวนข้างเคียงเสียหายเกิดจากความประมาทของ ส ที่ไม่ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอในการดับไฟ หาใช่เกิดจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิด
๒๑.จำเลยขับรถบรรทุกเสาไฟฟ้าโดยใช้รถพ่วง เมื่อล้อรถพ่วงหลุดทำให้เสาตกลงมาข้างถนนจนกระทั้งค่ำแล้ว จำเลยไม่ได้จัดให้มีโคมไฟหรือเครื่องสัญญาณอย่างอื่นเพื่อให้ผู้ใช้ถนนเห็นเสาที่ขวางถนนนั้นอยู่ เป็นเหตุให้รถที่แล่นมาชนเสาไฟฟ้ามีคนตายและบาดเจ็บ ถือได้ว่าจำเลยทำโดยประมาท ผลการกระทำเกิดที่จำเลยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นได้ แต่จำเลยไม่กระทำ ถือได้ว่าการ “ งดเว้น” ของจำเลยเป็น “การกระทำ” ผิดต่อกฎหมาย จึงต้องถือว่าจำเลยกระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำเลยมีความผิด ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายได้รับอันตรายกายตาม ปอ มาตรา ๒๙๑,๓๙๐ พรบ.จราจรทางบกฯ มาตรา ๔๓(๔),๑๕๗
“ต่อสู้ขัดขวาง”
อำนาจตำรวจในการจับกุมตรวจค้น
๑.จำเลยที่ ๑ ฏีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต อ้างเหตุพยานโจทก์ที่นำมาสืบฟังไม่ได้ว่าอาวุธปืนที่จำเลยที่ ๑มีไว้ใช้ยิงได้หรือไม่ จึงฟังไม่ได้ว่าเป็นอาวุธปืนตามกฎหมาย จำเลยที่ ๑ ไม่มีความผิด ปัญหาว่าอาวุธปืนยิงได้หรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ปัญหาว่าจำเลยที่๑ ไม่ได้กระทำผิดตามฟ้องฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยอ้างว่าขณะที่เจ้าพนักงานเข้าตรวจค้นและจับกุมพวกลักลอบเล่นการพนัน ตำรวจไม่มีหมายค้นหมายจับจึงไม่อาจตรวจค้นจับกุมได้ จำเลยที่ ๑ เข้าขัดขวางการจับกุมไม่มีความผิด แม้ปัญหานี้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นกล่าวไว้ในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฏีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๕วรรคสอง,๒๒๕ ในขณะเข้าตรวจค้นจับกุมผู้ลักลอบเล่นการพนัน เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีหมายจับหมายค้น แต่เห็นว่ามีการเล่นการพนันอันเป็นความผิดซึ่งหน้า หากไม่เข้าจับกุมตรวจค้นทันทีตามที่พลเมืองดีแจ้ง ผู้ต้องหาอาจหลบหนีไปได้เป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งจึงตรวจค้นในเวลากลางคืนโดยไม่มีหมายค้นตาม ปวอ มาตรา ๙๒(๒),๙๖(๒) จึงเป็นการจับกุมตรวจค้นโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยเข้าขัดขวางการจับกุมโดยใช้มือดึงผู้เล่นการพนันให้ออกไปจึงมีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๓๘วรรคแรก การปรับบทความผิดและลงโทษจำเลยที่ ๑เป็นเหตุในลักษณะคดี แม้จำเลยที่ ๒ ไม่ได้ฏีกา ศาลฏีกาก็มีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ ๒ได้ตาม ปวอ มาตรา ๒๑๓,๒๒๕ คำพิพากษาฏีกา ๔๙๕๐/๒๕๔๐
๑. จำเลยใช้มือผลักและตัวดันเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อแย่งถุงพลาสติกที่มีเมทแอมเฟตตามีนบรรจุอยู่จากมือเจ้าหน้าที่ไปใส่ปากเคี้ยวเพื่อทำลายหลักฐานนั้นเป็นการขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่อรวบรวมสิ่งของที่ใช้เป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาหรือได้สืบทราบมา จึงเป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ การที่จำเลยใช้มือผลักเจ้าหน้าที่ตำรวจกระเด็นไปติดประตูแล้วใช้ตัวดันเพื่อแย่งถุงพลาสติกที่มีเมทแอมเฟตตามีนบรรจุอยู่มาใส่ปากเพื่อเคี้ยวทำลายหลักฐาน จำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการผลักและดันจำเลยว่าเป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจของเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ จึงเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายตามกฏหมายแล้วแม้จำเลยไม่ได้มีเจตนาประสงค์ต่อผลในการที่จะกระทำต่อร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งของเจ้าพนักงานก็ตามก็เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๓๘วรรคสอง คำพิพากษาฏีกาที่ ๓๘๕๐/๒๕๔๓
๒. จำเลยที่ ๑ ถูกตำรวจจับในข้อหาลักทรัพย์ ควบคุมตัวไปที่รถโดย สิบตำรวจโท ศ กับดาบตำรวจ อ. เดินขนาบข้างคล้องแขนจำเลยที่ ๑ ไว้คนละข้าง จำเลยที่ ๒กับพวก ๑๐ ถึง ๑๕ คน เข้ามาแย่งตัวจำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒เข้ามาดึงตัวจำเลยที่ ๑ออกไปและถีบ สิบตำรวจโท ศ กับดาบตำรวจ อ. จำเลยที่ ๑ ได้พยายามดิ้นรนให้พ้นจากการถูกควบคุมแม้ขณะดิ้นรนจะเป็นเหตุให้เท้าไปถูก โดย สิบตำรวจโท ศ กับดาบตำรวจ อ. ก็ตาม ก็ยังไม่ถึงขั้นเป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานตาม ปอ มาตรา ๑๔๐ คำพิพากษาฏีกาที่ ๕๙๘๐/๒๕๔๐
๓. สิบตำรวจตรี ส. เบิกความว่า วิ่งไล่ตามจำเลยจนทันแล้ว จำเลยหันกลับมาใช้มือปัดป้องไม่ยอมให้เข้าใกล้ เมื่อเข้าไปกอดและพยายามทำให้จำเลยคว่ำหน้าลง จำเลยล้มลงพร้อมพยาน พยานสั่งให้จำเลยนอนอยู่เฉยๆแล้วพยานใส่กุญแจมือแล้วให้จำเลยลุกขึ้นไม่ปรากฏจำเลยใช้เท้าถีบใช้มือผลักอกอันเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายแต่อย่างใด การที่จำเลยใช้มือปัดป้องไม่ให้สิบตำรวจตรี ส. เข้าใกล้ตัว ยังถือไม่ได้เป็นการต่อสู่ขัดขวางเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ คำพิพากษาฏีกาที่ ๘๑๙๘/๒๕๕๐
๔. จำเลยทั้งสามร่วมกันเพื่อประสงค์ในทางการค้าหรือโดยการค้าทำให้แพร่หลายด้วยการฉายภาพยนตร์ที่แสดงความสัมพันธ์ทางเพศอันเป็นภาพลามกอนาจาร อันเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๘๗(๑) การขัดขวางไม่ให้ตำรวจงัดกุญแจเข้าไปตรวจค้นภายในห้องซึ่งนำเครื่องฉายภาพยนต์และฟิลม์เก็บไว้ แสดงว่าประสงค์ไม่ให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการตรวจค้นจับกุมลุล่วงไปโดยสะดวก เป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ คำพิพากษาฏีกาที่ ๒๑๒๘/๒๕๓๓
๕. คำว่า “ เจ้าบ้าน “ ตาม ปวอ มาตรา ๙๒(๕) หมายถึงผู้เป็นหัวหน้าของบุคคลที่พักอาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น ตลอดถึงคู่สมรสของผู้เป็นหัวหน้าเท่านั้น เพราะบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบในการครอบครองบ้าน และปกครองผู้อยู่อาศัยภายในบ้านหลังนั้นหาได้รวมถึงทุกคนที่อยู่ในบ้านไม่ ทะเบียนบ้านหลังเกิดเหตุมี บ. บิดาจำเลยเป็นหัวหน้า มีชื่อจำเลยอยู่ในฐานะเป็นบุตร จำเลยจึงไม่ได้อยู่ในฐานะเป็นเจ้าบ้าน การที่ผู้เสียหายกับพวกเข้าไปจับกุมจำเลยในบ้านดังกล่าวตามหมายจับแต่ไม่มีหมายค้น ทั้งผู้เสียหายกับพวกก็ไม่ใช่พนักงานตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่จะทำการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมาย จึงเป็นการจับกุมโดยไม่ชอบ ตาม ปวอ มาตรา ๘๑ เป็นการจับโดยไม่มีอำนาจ จำเลยมีสิทธิ์ป้องกันตนให้พ้นจากภยันตรายที่เกิดจากการจับกุมโดยไม่ชอบ หากจำเลยต่อยผู้เสียหายจริงก็เป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิ์ของตนพอสมควรแก่เหตุ ไม่มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่และทำร้ายร่างกาย คำพิพากษาฏีกาที่ ๑๐๓๕/๒๕๓๖
๖. โรงไม้เป็นที่พักอาศัยของยามที่โรงไม้หยุดดำเนินการ ภายในบริเวณโรงไม้ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าหรือด้านหลังย่อมไม่ใช่ที่สาธารณะ แต่เป็นที่รโหฐานตาม ปวอ มาตรา ๒(๑๓) แม้โจทก์ร่วมมีอำนาจจับกุมจำเลยเพราะเป็นกรณีมีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่าจำเลยได้กระทำผิดและแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ตามระเบียบแล้วตาม ปวอ มาตรา๗๘(๔) แต่การจับกุมดังกล่าวต้องไม่ใช่การจับกุมในที่รโหฐาน เพราะตาม ปวอ มาตรา ๘๑ บัญญัติว่า จะมีหมายจับหรือไม่ก็ตามห้ามไม่ให้จับกุมในที่รโหฐานเว้นแต่ได้ทำตามบทบัญญัติว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน ซึ่งพฤติกรรมของโจทก์ร่วมก็ไม่เข้าข้อยกเว้น การที่โจทก์ร่วมกับพวกเข้าจับกุมจำเลยในที่รโหฐาน เป็นการกระทำโดยไม่ชอบ ปราศจากอำนาจที่จะกระทำได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ แม้จำเลยต่อสู้ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายโจทก์ร่วมจริง การกระทำของจำเลยก็เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฏหมาย คำพิพากษาฏีกาที่ ๒๙๑๔/๒๕๓๗
๗. สิบตำรวจตรี ส. กับพวกแต่งกายในเครื่องแบบร่วมกันจับกุมผู้ลักลอบเล่นการพนัน ก่อนจับกุมไปขอแบ่งรายได้ที่เก็บจากการเล่นการพนันจาก ก. แต่ ก. ปฏิเสธ สิบตำรวจตรี ส. จึงพูดทำนองข่มขู่ หลังจากนั้นจึงได้ไปในที่เล่นการพนัน โดยได้ร้องตะโกนให้พวกเล่นการพนันหลบหนี โดยไม่ได้เข้าจับกุมบุคคลเหล่านั้นแต่อย่างใด แต่ได้ยึดเครื่องมือในการเล่นการพนันและเงินสดโดยไม่ได้ทำบันทึกการยึดของกลางไว้ การกระทำดังกล่าวหาใช่การกระทำในหน้าที่ในการจับกุมผู้ลักลอบเล่นการพนันไม่ คำพิพากษาฏีกาที่ ๗๑๕๒/๒๕๓๘
๘. ผู้เสียหายที่ ๑ สวมกางเกงขายาวสีกากี สวมเสื้อยึดคอกลมสีขาวเข้าไปขอตรวจค้นตัวจำเลยโดยแจ้งว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยไม่ได้แต่งเครื่องแบบตำรวจหรือแสดงหลักฐานให้เห็นว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่กระทำการตามหน้าที่ ทำให้จำเลยเข้าใจผิดไปได้ แม้จำเลยชกต่อยใช้มีดแทงเพื่อขัดขวางไม่ให้เข้าตรวจค้นจับกุม ก็หามีความผิดฐานต่อสู่ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่และพยายามฆ่าเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ แม้ชั้นสอบสวนให้การรับสารภาพฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ แต่บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนเป็นพยานบอกเล่า โดยลำพังไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังลงโทษจำเลยได้ ศาลชั้นต้นลดโทษและกำหนดโทษให้จำเลย แต่คำนวณโทษไม่ถูกต้องครบถ้วน เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ฏีกาในปัญหานี้ ศาลฏีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามโทษจำคุกที่ถูกต้องได้เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มโทษต้องห้ามตาม ปวอ มาตรา ๒๑๒คำพิพากษาฏีกาที่ ๑๙๕๔/๒๕๔๖
๑๐.การกระทำที่จะเป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานทีกระทำการตามหน้าที่ ต้องเป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานที่มีอำนาจโดยได้รับการแต่งตั้งตามวิธีการที่กฎหมายให้อำนาจและกำหนดไว้ พรบ.กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. ๒๔๙๗ มาตรา ๑๖(๒) กองอาสารักษาดินแดนมีหน้าที่ทำหน้าที่ตำรวจรักษาความภายในท้องที่ร่วมกับพนักงานปกครองหรือตำรวจ มาตรา ๒๙ เจ้าหน้าที่หรือสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในระหว่างการทำการในหน้าที่ “ ให้ถือว่า “ เป็น “ เจ้าพนักงาน” ตามกฎหมายลักษณะอาญา บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ผู้เสียหายทำงานร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ จึงจะมีอำนาจตามกฎหมาย และให้ถือว่าผู้เสียหายเป็น “ เจ้าพนักงาน” เมื่อปรากฏ เมื่อปรากฏว่าผู้เสียหายมีเพียงหน้าที่ เพียงสกัดกั้นผู้กระทำความผิดต่อกฎหมาย แต่ไม่มีอำนาจจับกุม หากจะจับต้องมีเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานฝ่ายปกครองอยู่ด้วย การที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับผู้เสียหายในการจับกุมร่วมกับผู้เสียหาย ผู้เสียหายจึง “ไม่ใช่” เจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ คำพิพากษาฏีกาที่ ๗๙๘๕/๒๕๔๐
๑๑.จำเลยที่ ๑ เข้าไปเรียกผู้โดยสารในท่าอากาศยาน ไม่ปรากฏว่ารบกวนผู้โดยสารให้ได้รับความเดือดร้อนรำคาญแต่อย่างใด เป็นเพียงการชักชวนผู้โดยสารให้ใช้บริการแท็กซี่ของจำเลยที่ ๑ แม้ทำให้แท็กซี่ที่อยู่ในความควบคุมของท่าอากาศยานขาดรายได้ไปบ้าง ก็ไม่ถือมีความผิดรบกวนผู้โดยสารตามกฎกระทรวง ฉบับ ๒ พ.ศ. ๒๕๒๘ ข้อ ๘(๖)ง ออกตามความในพรบ. การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔(๒) นาย ต. หัวหน้าฝ่ายเวรรักษาความปลอดภัยเป็น “ พนักงาน” ตามประกาศกระทรวงคมนาคมา เรื่องแต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อปฏิบัติการตามพรบ.การท่าอากาศยานต์แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ วันที่ ๖ กพ ๒๕๓๐ ข้อ ๒.๑ แต่ตั้งให้หัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยเป็น “ เจ้าพนักงาน” ตามกฏหมาย นาย ต.รับทราบทางวิทยุว่า จำเลยทั้งหกเข้ามารบกวนผู้โดยสารที่บริเวณห้องโดยสารขาเข้า จึงสั่งให้ อ. กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยช่วยกันไล่จำเลยทั้งหกออกไปจากบริเวณดังกล่าว หากไม่ยอมออกไปให้ทำการจับกุม ต่อมา ๑๐ นาที ต. ได้รับแจ้งว่า อ. กำลังถูกรุมทำร้าย จึงไปที่เกิดเหตุ เมื่อถึงที่เกิดเหตุ พวกจำเลยหลบหนี แสดงว่า ต. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานไม่ได้เข้าจับกุมจำเลยทั้งหก เพียงแต่ ต. อนุญาตให้ อ. ณ. และ ย. ซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานเข้าทำการจับกุม ไม่อาจถือได้ว่า ต. เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือกระทำการตามหน้าที่ เพราะ ต. ไม่ได้เข้าจับกุมจำเลย เมื่อไม่มีเจ้าพนักงานปฏิบัติการหรือกระทำการตามหน้าที่ การที่ อ,ณและ ย,เข้าจับกุมจำเลยที่ ๑ จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานในการที่เจข้าพนักงานปฏิบัติหรือกระทำการตามหน้าที่ตาม ปอ มาตรา ๑๓๘วรรคสอง,๒๘๙(๓),๒๙๖ แต่เป็นการจับกุมที่ไม่มีอำนาจ แม้จำเลยทั้งหกต่อสู้ขัดขวาง ถือเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายไม่เกินสมควรกว่าเหตุ โดยปรากฏตามรายงานการชันสูตรบาดแผลว่าผู้เสียหายทั้งสามได้รับอันตรายจากการเข้าจับกุมเป็นรอยถลอกและบาดแผลเล็กน้อยบริเวณแขน ข้อมือและขมับ การกระทำจำเลยทั้งหกไม่เป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายผู้ต้องช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เพราะในการปฏิบัติการตามหน้าที่ไมได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานในอันที่จะมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนตน เหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้ เจ้าพนักงานต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการรบกวนผู้โดยสารที่จะต้องถูกจับกุมหรือไม่ บุคคลอื่นหรือผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานไม่อาจวินิจฉัยได้ ดังได้เห็นว่าในคดีนี้ผู้จับกุมวินิจฉัยผิดพลาดและเข้าจับกุมโดยไม่มีอำนาจ แม้คดีในส่วนจำเลยที่สามถึงที่สุด โดยจำเลยที่สามไม่อุทธรณ์ฏีกา แต่เป็นเหตุในลักษณะแห่งคดี ศาลฏีกาเห็นสมควรยกฟ้องไปถึงจำเลยที่สามได้ตาม ปวอ มาตรา ๒๑๓.๒๒๕ คำพิพากษาฏีกาที่ ๗๗/๒๕๔๑
๑๒.จำเลยกับ ศ. มีอาวุธปืนร้ายแรงคนละกระบอกไม่ได้ร่วมกันในการกระทำความผิดอื่น เมื่อถูกเจ้าพนักงานล้อมจับต่างก็วิ่งหลบหนีเจ้าพนักงานเพื่อให้พ้นการจับกุมโดยต่างคนต่างไป แม้จะไปในทิศทางเดียวกัน แต่ก็ไปคนละที่และไปห่างกัน การที่ ศ. ใช้อาวุธปืนยิงเจ้าพนักงานที่เข้าทำการจับกุมโดยจำเลยไม่ได้ใช้อาวุธปืนยิงด้วย จึงเป็นการกระทำเฉพาะตัวของ ศ. จำเลยไม่มีความผิดฐานร่วมกับ ศ.ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน คำพิพากษาฏีกาที่ ๓๙๐/๒๕๓๒
๑๓.ผู้ตายถูกกระสุนถึงแก่ความตายเนื่องจากจำเลยทั้งสองเป็นผู้ยิง แต่ไม่อาจระบุได้ว่าจำเลยคนใด แม้จะฟังว่าจำเลยคนหนึ่งคนใดเป็นคนยิง แต่การที่จำเลยทั้งสองต่างมีอาวุธปืนอาก้าไปร่วมชิงทรัพย์ ส่อให้เห็นเจตนาจำเลยทั้งสองว่าถ้ามีเหตุการณ์คับขันเกิดขึ้นในการชิงทรัพย์จำเลยทั้งสองจะใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้หรือขัดขวาง ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองอยู่ด้วยกัน เมื่อยิงแล้วก็วิ่งไปขึ้นรถจักรยานยนต์ขับขี่หลบหนีไปด้วยกันโดยยิงปืนอีกหนึ่งชุด พฤติการณ์ฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้ขัดขวางและยิงผู้ตายโดยเจตนาฆ่า คำพิพากษาฏีกาที่ ๑๕๙๕/๒๕๓๒
๑๔.จำเลยเป็นคนให้คนต่างด้าวสัญชาติลาว จำนวน ๒๐ คน โดยสารรถยนต์จากตำบลนาตาล กิ่งอำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อไปส่งจังหวัดปทุม โดยรู้ว่าคนเหล่านั้นเป็นคนต่างด้าวและเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมายจึงเป้นความผิดตาม พรบ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๖๔ วรรคแรกแล้ว ระหว่างทางเจ้าหน้าที่พบการกระทำผิดของจำเลยจึงเข้าจับกุมแต่จำเลยขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่โดยขับรถที่พาคนต่างด้าวพุ่งเข้าหารถทางราชการ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ต่างกรรมต่างวาระอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ปอ มาตรา ๙๑ การที่จำเลยร่วมกันขับรถหลบหนีและพุ่งเข้าชนรถยนต์ของทางราชการเสียหาย จำเลยมีเจตนาที่จะกระทำขึ้นในวาระเดียวกันอันเป็นวิธีการอย่างหนึ่งเพื่อหลบหนีการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่กับความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นกรรมเดียวผิดกฏหมายหลายบท ตาม ปอ มาตรา ๙๐ คำพิพากษาฏีกา ๔๐๔๕/๒๕๔๕
๑๕. จำเลยรู้ว่ากำลังถูกผู้เสียหายที่ ๒ กับ พวก ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามจับกุม จำเลยกอดปล้ำต่อสู้ใช้มีดแทงฟันผู้เสียหายที่ ๒ เป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ตาม ปอ มาตรา ๑๓๘,๑๔๐ เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ ๒ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่ด้วย การเป็นอันตรายสาหัสตาม ปอ มาตรา ๒๙๗(๘) ต้องป่วยเจ็บด้วยการทุกขเวทนาเกินกว่า ๒๐ วัน แต่ผู้เสียหายมีบาดแผลที่ต้นขาซ้ายด้านหลังรักษาตัวที่โรงพยาบาล ๑๑ วัน หลังจากนั้นกลับไปรักษาตัวที่บ้านและต้องไปทำแผลทุกวัน ในระหว่างรักษาบาดแผลผู้เสียหายที่ ๒ ยังสามารถทำงานได้ตามปกติแต่ต้องไปล้างแผลทุกวัน แสดงว่าไม่ได้ป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้ จึงไม่ได้รับอันตรายสาหัสตาม ปอ มาตรา ๒๙๗(๘) เพียงแต่เป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ปอ มาตรา ๒๙๕การที่จำเลยทำร้ายเจ้าพนักงานจึงเป้นความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๙๖ คำพิพากษาฏีกา ๗๗๔/๒๕๔๘
๑๖.เมื่อผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมจำเลย จำเลยกล่าวกับผู้เสียหายว่า เป็นนายจับอย่างไงก็ได้ และเรียกทำเย็ดแม่ คำว่า “ เป็นนายจับอย่างไงก็ได้ “ เป็นคำกล่าวในทำนองตัดพ้อต่อว่า ไม่ได้กล่าวว่า ผู้เสียหายกลั่นแกล้ง ไม่เป็นการดูหมิ่นผู้เสียหาย แต่ที่จำเลยกล่าวว่า ทำเย็ดแม่ เป็นคำด่า อันเป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ตาม ปอ มาตรา ๑๓๖ เมื่อผู้เสียหายจับกุมจำเลยในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่จำเลยดิ้นรนขัดขืนและชกหน้าผู้เสียหาย ๑ ครั้ง จนฟันหักมีเลือดไหลออกจากปาก จำเลยมีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย ตาม ปอ มาตรา ๑๓๘วรรคสอง และทำร้ายเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ ตาม ปอ มาตรา ๒๙๖ อีกกระทงหนึ่ง คำพิพากษาฏีกา๕๐๑/๒๕๓๗
๑๗.จำเลยไม่ยอมให้ ร้อยตำรวจโท ว. จับกุม ได้ชกต่อย ร้อยตำรวจโท ว.ที่จะเข้าจับกุมจำเลยซึ่งทำร้ายผู้อื่นซึ่งหน้า แม้ขณะเกิดเหตุร้อยตำรวจโท ว.จะเป็นร้อยเวรสอบสวนและไปนั่งในร้านอาหารที่เกิดเหตุ แต่ ร้อยตำรวจโท ว. ก็เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ย่อมมีอำนาจจับกุมจำเลยที่กระทำความผิดซึ่งหน้าได้ตาม ปวอ มาตรา ๗๘ การที่ ร้อยตำรวจโท ว. ทำหน้าที่ร้อยเวรสอบสวนและไปนั่งในร้ายขายอาหาร ไม่ทำให้ไม่มีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดซึ่งหน้า การกระทำจำเลยจึงเป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่และทำร้ายเจ้าพนักง่านที่กระทำการตามหน้าที่ คำพิพากษาฏีกา๒๓๓๕/๒๕๑๘
ข้อสังเกต ๑.ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ต้องช่วยเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เป็นความผิดตามกฎหมาย ปอ มาตรา ๑๓๘ หากการต่อสู้ขัดขวางมีการใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายต้องระวางโทษสูงขึ้น ปอ มาตรา ๑๓๘ วรรคสอง
๒.ทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานหรือผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๙๖,๒๘๙(๒)(๓)
๓.ตาม พรบ. อาวุธปืนฯนั้นไม่ได้นิยามศัพท์ว่า อาวุธปืนต้องสามารถใช้ยิงทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินได้ ทั้งในวิเคราะห์ศัพท์คำว่า “ อาวุธปืน” ตาม มาตรา ๔(๑) ยังบัญญัติให้ อาวุธปืนรวมถึงส่วนหนึ่งส่วนใดที่สำคัญที่รัฐมนตรีกำหนดไว้ในกฏกระทรวง ฃึ่งในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๙๑ ลงวันที่ ๖ สค ๒๔๙๑บัญญัติให้สิ่งต่อไปนี้ซึ่งเป็นอาวุธปืนด้วย เช่น ส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืนเป็นอาวุธปืน เช่น ลำกล้อง ลูกเลื่อน ส่วนประกอบลูกเลื่อน เครื่องลั่นไกล ส่วนประกอบเครื่องลั่นไกล เครื่องส่งกระสุน ซองกระสุนหรือส่วนประกอบของสิ่งเหล่านี้ เป็น “อาวุธปืน”
๔.กรณี “ฉุกเฉินอย่างยิ่ง” ตาม ปวอ มาตรา ๙๖(๒)เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงสามารถค้นในเวลากลางคืนโดยไม่มีหมายค้นตาม ปวอ มาตรา ๙๒(๒),๙๖(๒)
๕.การต่อสู้ว่า พยานโจทก์ที่นำมาสืบฟังไม่ได้ว่าอาวุธปืนที่จำเลยที่ ๑มีไว้ใช้ยิงได้หรือไม่ จึงฟังไม่ได้ว่าเป็นอาวุธปืนตามกฎหมาย จำเลยที่ ๑ ไม่มีความผิด นั้นเห็นว่าตาม พรบ.อาวุธปืนฯมาตรา ๔(๑) ไม่ได้ให้นิยามศัพท์ว่า “ อาวุธปืน “ ที่จะเป็น “ อาวุธปืน” ตาม พรบ. อาวุธปืนฯนั้นต้องสามารถใช้ยิงทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินได้ ทั้งในวิเคราะห์ศัพท์คำว่า “ อาวุธปืน” ตาม มาตรา ๔(๑) ยังบัญญัติให้ อาวุธปืนรวมถึงส่วนหนึ่งส่วนใดที่สำคัญที่รัฐมนตรีกำหนดไว้ในกฏกระทรวง ฃึ่งในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๙๑ ลงวันที่ ๖ สค ๒๔๙๑ บัญญัติให้สิ่งต่อไปนี้ซึ่งเป็นอาวุธปืน เช่น ส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืนเป็นอาวุธปืน เช่น ลำกล้อง ลูกเลื่อน ส่วนประกอบลูกเลื่อน เครื่องลั่นไกล ส่วนประกอบเครื่องลั่นไกล เครื่องส่งกระสุน ซองกระสุนหรือส่วนประกอบของสิ่งเหล่านี้ เป็น “อาวุธปืน”ดังนั้นแม้ส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืนกฎหมายยังถือว่าเป็นอาวุธปืน แม้โดยสภาพอาจใช้ยิงทำอันตรายไม่ได้ก็ตาม เมื่อส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืนเป็นอาวุธปืน ดังนั้นอาวุธปืนก็คืออาวุธปืน แม้ใช้ยิงได้หรือไม่ได้ก็ตาม เพียงแต่อาจเป็นดุลพินิจของศาลในการกำหนดโทษเท่านั้น
๖. ปัญหาว่า “อาวุธปืนยิงได้หรือไม่” เป็นปัญหาข้อเท็จจริง การที่จะสามารถอุทธรณ์ฏีกาได้หรือไม่จึงต้องอยู่ในบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ฏีกาในปัญหาข้อเท็จตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
๗.ปัญหาว่า “ไม่ได้กระทำผิดตามฟ้องฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน เพราะขณะที่เจ้าพนักงานเข้าตรวจค้นและจับกุม ตำรวจไม่มีหมายค้นหมายจับจึงไม่อาจตรวจค้นจับกุมได้ การเข้าขัดขวางการจับกุมไม่มีความผิด” ปัญหาว่าสามารถจับกุมตรวจค้นโดยไม่มีหมายจับได้หรือไม่ การเข้าต่อสู้ขัดขวางการจับกุมตรวจค้นที่ไม่ได้กระทำตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สามารถกระทำได้หรือไม่ นี้เป็น “ ปัญหาข้อกฎหมาย” แม้ปัญหานี้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นกล่าวไว้ในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฏีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๕วรรคสอง,๒๒๕
๘. แม้ในขณะเข้าตรวจค้นจับกุม เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีหมายจับหมายค้น แต่เห็นว่ามีการเล่นการพนันอันเป็นความผิดซึ่งหน้า ตาม ปวอ มาตรา ๘๐ เพราะเห็นขณะกระทำความผิด หากไม่เข้าจับกุมตรวจค้นทันทีตามที่พลเมืองดีแจ้ง ผู้ต้องหาอาจหลบหนีไปได้เป็นกรณี “ฉุกเฉินอย่างยิ่ง” ตาม ปวอ มาตรา ๙๖(๒)จึงสามารถค้นในเวลากลางคืนโดยไม่มีหมายค้นตาม ปวอ มาตรา ๙๒(๒),๙๖(๒) จึงเป็นการจับกุมตรวจค้นโดยชอบด้วยกฎหมาย
๙.การที่จำเลยเข้าขัดขวางการจับกุมโดยใช้มือดึงผู้เล่นการพนันให้ออกไปจึงเป็นการขัดขวางการจับกุมของเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๓๘วรรคแรก การปรับบทความผิดและลงโทษจำเลยที่ ๑เป็นเหตุในลักษณะคดี แม้จำเลยที่ ๒ ไม่ได้ฏีกา ศาลฏีกาก็มีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ ๒ได้ตาม ปวอ มาตรา ๒๑๓,๒๒๕
๑๐. การใช้มือผลักและตัวดันเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อแย่งถุงพลาสติกที่มีเมทแอมเฟตตามีนบรรจุอยู่จากมือเจ้าหน้าที่ไปใส่ปากเคี้ยวเพื่อทำลายหลักฐานนั้นเป็นการขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่อรวบรวมสิ่งของที่ใช้เป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาหรือได้สืบทราบมา จึงเป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่และหากการกระทำดังกล่าวเพื่อช่วยผู้อื่นไม่ให้ต้องรับโทษก็จะมีความผิดฐานเพื่อจะช่วยผู้อื่นไม่ให้ต้องรับโทษทำให้เสียหายทำลายทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งพยานหลักฐานในการกระทำผิด และฐานช่วยผู้อื่นที่เป็นผู้กระทำความผิดอันไม่ใช่ความผิดลหุโทษโดยช่วยด้วยประการใดๆไม่ให้ถูกจับกุม ตาม ปอ มาตรา ๑๓๘,๑๘๔,๑๘๙
๑๑. การที่จำเลยใช้มือผลักเจ้าหน้าที่ตำรวจกระเด็นไปติดประตูแล้วใช้ตัวดันเพื่อแย่งถุงพลาสติกที่มีเมทแอมเฟตตามีนบรรจุอยู่มาใส่ปากเพื่อเคี้ยวทำลายหลักฐาน จำเลยย่อม “เล็งเห็นผล” ของการผลักและดันจำเลยว่าเป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจของเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ จึงเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายตามกฏหมายแล้วแม้จำเลยไม่ได้มีเจตนาประสงค์ต่อผลในการที่จะกระทำต่อร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งของเจ้าพนักงานก็ตามก็เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๓๘วรรคสอง และเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ตาม ปอ มาตรา ๒๙๕,๒๙๖ เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทให้ลงตามบทหนักฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่
๑๒. การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ควบคุมตัวคนร้ายที่กระทำผิดฐานลักทรัพย์โดยเดินขนาบข้างคล้องแขน ไว้คนละข้าง พวกคนร้าย ๑๐ ถึง ๑๕ คน เข้ามาแย่งตัว โดยพวกคนร้ายเข้ามาดึงตัวคนร้ายออกไปและถีบ เจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งสองนาย คนร้ายได้พยายามดิ้นรนให้พ้นจากการถูกควบคุมแม้ขณะดิ้นรนจะเป็นเหตุให้เท้าไปถูก เจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งสองนายก็ตาม ก็ยังไม่ถึงขั้นเป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่สามคนขึ้นไปตาม ปอ มาตรา ๑๔๐ เท้าที่ไปถูกน่าจะเป็นการดิ้นรนเพื่อให้พ้นการจับกุมมากว่าที่จะเป็นเท้าที่ใช้ทำร้ายร่างกายโดยการถีบหรือเตะ เมื่อไม่มีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลในการกระทำแล้วจะถือว่ามีเจตนาทำร้ายร่างกายและต่อสู้ขัดขวางการจับกุมตาม ปอ มาตรา ๕๙ หาได้ไม่
๑๓.ส่วนพวกคนร้ายมีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมในการช่วยผู้อื่นซึ่งเป็นผู้กระทำผิดหรือต้องหาว่ากระทำความผิดซึ่งไม่ใช่ความผิดลหุโทษด้วยประการใดๆไม่ให้ถูกจับกุมตาม ปอ มาตรา ๘๓,๑๘๙และร่วมกันทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ตามปอ มาตรา ๘๓, ๒๙๕,๒๙๖และร่วมกันขัดขวางเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่สามคนขึ้นไป ตาม ปอ มาตรา ๑๓๘ วรรคสอง,๑๔๐
๑๔.การที่จำเลยใช้มือปัดป้องไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าใกล้ตัว โดยไม่ปรากฏมีการใช้เท้าถีบใช้มือผลักอกอันเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายแต่อย่างใด เพียงแค่นี้ยังถือไม่ได้เป็นการต่อสู่ขัดขวางเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ ทั้งยังได้ความว่าเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปกอดและพยายามทำให้คว่ำหน้าลง จนจำเลยล้มลงพร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจสั่งให้จำเลยนอนอยู่เฉยๆแล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจใส่กุญแจมือแล้วให้ลุกขึ้น ก็ไม่ได้มีการประทุษร้ายแก่กายหรือจิตใจโดยใช้แรงกายภาพหรือวิธีอื่นใดหรือกระทำการใดๆจนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ในภาวะที่ไม่อาจขัดขืนได้ จึงไม่มีการใช้กำลังประทุษร้ายตามความหมายใน ปอ มาตรา ๑(๖) ลำพังเพียงใช้มือปัดป้องไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าใกล้ตัวเท่านี้ จึงไม่ใช่การต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่แต่อย่างใด
๑๕.. การขัดขวางไม่ให้ตำรวจงัดกุญแจเข้าไปตรวจค้นภายในห้องซึ่งนำเครื่องฉายภาพยนต์และฟิลม์ภาพยนตร์ที่แสดงความสัมพันธ์ทางเพศอันเป็นภาพลามกอนาจารเก็บไว้ แสดงว่าประสงค์ไม่ให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการตรวจค้นจับกุมลุล่วงไปโดยสะดวก เป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่
๑๖..แต่ต้องพิจารณาด้วยว่าขณะเข้าตรวจค้นนั้นกำลังฉายภาพยนตร์ที่แสดงความสัมพันธ์ทางเพศอันเป็นภาพลามกอนาจารอยู่หรือไม่ หากใช่ก็เป็นความผิดซึ่งหน้าซึ่งเป็นความผิดที่เห็นซึ่งหน้าขณะกำลังกระทำความผิดตาม ปวอ มาตรา ๘๐ ซึ่งสามารถเข้าตรวจค้นในห้องฉายภาพยนตร์ซึ่งเป็นที่รโหฐานอันไม่ใช่สถานที่ที่เป็นสาธารณะสถานตาม ปอ มาตรา ๑(๓) และ ปวอ มาตรา ๒(๑๓) ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นตาม ปวอ มาตรา ๙๒(๒) การเข้าขัดขวางไม่ให้ตำรวจงัดกุญแจเข้าไปตรวจค้นภายในห้องซึ่งนำเครื่องฉายภาพยนต์และฟิลม์ภาพยนตร์ย่อม เป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่แล้ว
๑๗..แต่หากปรากฏว่าขณะเข้าทำการตรวจค้นไม่มีการฉายภาพยนตร์ลามกอนาจาร หากเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีหมายค้น ไม่มีหมายจับ การเข้าไปงัดห้องที่เก็บภาพยนตร์และฟิลม์ดังกล่าว ย่อมเป็นการทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า ทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งห้องดังกล่าวอันเป็นความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ตาม ปอ มาตรา ๘๓,๓๕๘ และเป็นการร่วมกันเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยกระทำการใดๆอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์โดยปกติสุขและโดยไม่มีเหตุอันควรเข้าไปในเคหสถานของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยไม่มีเหตุอันควรอันเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกตาม ปอ มาตรา ๘๓,๓๖๒,๓๖๔,๓๖๕(๒) อันเป็นภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดกฎหมาย เป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง การขัดขวางไม่ให้ตำรวจงัดกุญแจเข้าไปตรวจค้นภายในห้อง ย่อมเป็นการป้องกันตามกฎหมาย หากกระทำการพอสมควรแก่เหตุย่อมเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ ตาม ปอ มาตรา ๖๘ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้างัดห้องโดยไม่มีหมายจับหมายค้น ย่อมเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้หนึ่งผู้ใดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ หากปรากฏว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการแกล้งเพื่อให้บุคคลใดต้องรับโทษ ก็เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๐๐ วรรคสองได้
๑๘.คำว่า “ เจ้าบ้าน “ ตาม ปวอ มาตรา ๙๒(๕) หมายถึงผู้เป็นหัวหน้าของบุคคลที่พักอาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น ตลอดถึงคู่สมรสของผู้เป็นหัวหน้าเท่านั้น เพราะบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบในการครอบครองบ้าน และปกครองผู้อยู่อาศัยภายในบ้านหลังนั้นหาได้รวมถึงทุกคนที่อยู่ในบ้านไม่
๑๙. การค้นในที่รโหฐานซึ่งไม่ใช่ที่สาธารณะที่ประชาชนทุกคนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ โดยผู้ถูกจับเป็น “ เจ้าบ้าน” และการจับกุมนั้นมีหมายจับหรือเป็นกรณียกเว้นที่สามารถจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายจับตาม ปวอ มาตรา ๗๘ เป็นข้อยกเว้นที่สามารถเข้าตรวจค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นตาม ปวอ มาตรา ๙๒(๕) นั้น เมื่อตามทะเบียนบ้านเกิดเหตุ บิดาจำเลยเป็นหัวหน้า จึงเป็น “ เจ้าบ้าน” ส่วนจำเลยอยู่ในฐานะเป็นบุตร จำเลยจึง “ไม่” ได้อยู่ในฐานะเป็นเจ้าบ้าน กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ปวอ. มาตรา ๙๒(๕) ที่สามารถจับกุม “ เจ้าบ้าน” ได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น การที่ผู้เสียหายกับพวกเข้าไปจับกุมจำเลยในบ้านดังกล่าวตามหมายจับแต่ไม่มีหมายค้น ทั้งผู้เสียหายกับพวกก็ไม่ใช่พนักงานตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่จะทำการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมาย (คำพิพากษาฏีกานี้ตัดสินเมื่อพ.ศ.๒๕๓๖ซึ่งสมัยก่อนตำรวจชั้นผู้ใหญ่คือหัวหน้ากิ่งสถานีตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไปหรือหัวหน้าสถานีตำรวจที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่า ถือเป็นตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่สามารถตรวจค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น แต่นับแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ การเข้าตรวจค้นต้องมีหมายค้นจากศาลเว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตาม ปวอ มาตรา ๙๒(๑)ถึง(๕)) ในกรณีนี้จึงเป็นการเข้าตรวจค้นโดยไม่ชอบมีความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนียวกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายตาม ปอ มาตรา ๘๓,๓๑๐ และเป็นการร่วมกันรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตและโดยไม่มีเหตุอันควร ตาม ปอ มาตรา ๘๓,๓๖๒,๓๖๔,๓๖๕(๒) เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฏหมายเป็นเหตุให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้รับความเสียหายตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ เป็นการจับกุมโดยไม่ชอบ ตาม ปวอ มาตรา ๘๑ เป็นการจับโดยไม่มีอำนาจ เป็นภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฏหมาย เป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงและถึงแล้ว การที่จำเลยชกเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเป็นการป้องกันสิทธิ์ของตน เป็นวิถีทางน้อยที่สุดที่จะกระทำและการกระทำได้สัดส่วนโดยการชกต่อยเพื่อป้องการบุกรุกและกระทำความผิดต่อเสรีภาพ จำเลยมีสิทธิ์ป้องกันตนให้พ้นจากภยันตรายที่เกิดจากการจับกุมโดยไม่ชอบ หากจำเลยต่อยผู้เสียหายจริงก็เป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิ์ของตนพอสมควรแก่เหตุ ไม่มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่และทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่
๒๐. โรงไม้เป็นที่พักอาศัยของยามที่โรงไม้หยุดดำเนินการ ภายในบริเวณโรงไม้ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าหรือด้านหลังย่อมไม่ใช่ที่สาธารณะที่ประชาชนทั่วไปมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ตาม ปอ มาตรา ๑(๓) แต่เป็นที่รโหฐานตาม ปวอ มาตรา ๒(๑๓)
๒๑. แม้โจทก์ร่วมมีอำนาจจับกุมจำเลยเพราะเป็นกรณีมีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่าจำเลยได้กระทำผิดและแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ตามระเบียบแล้วตาม ปวอ มาตรา๗๘(๔)ตามกฎหมายเก่าก่อนปีพ.ศ. ๒๕๔๗ แต่การจับกุมดังกล่าวต้องไม่ใช่การจับกุมในที่รโหฐาน เพราะตาม ปวอ มาตรา ๘๑ บัญญัติว่า จะมีหมายจับหรือไม่ก็ตามห้ามไม่ให้จับกุมในที่รโหฐานเว้นแต่ได้ทำตามบทบัญญัติว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน คือเว้นแต่เข้าข้อยกเว้นที่สามารถตรวจค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นตาม ปวอ มาตรา ๙๒(๑)ถึง(๕)
๒๒.ซึ่งพฤติกรรมของโจทก์ร่วมก็ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะสามารถเข้าตรวจค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น การที่โจทก์ร่วมกับพวกเข้าจับกุมจำเลยในที่รโหฐาน เป็นการกระทำโดยไม่ชอบ ปราศจากอำนาจที่จะกระทำได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ แต่เป็นการร่วมกันรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตและโดยไม่มีเหตุอันควร ตาม ปอ มาตรา ๘๓,๓๖๒,๓๖๔,๓๖๕(๒) เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฏหมายเป็นเหตุให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้รับความเสียหายตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ เป็นการจับกุมโดยไม่ชอบ ตาม ปวอ มาตรา ๘๑ เป็นการจับโดยไม่มีอำนาจ เป็นภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฏหมาย เป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงและถึงแล้ว การที่จำเลยต่อสู้ขัดขวางและทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเป็นการป้องกันสิทธิ์ของตน เป็นวิถีทางน้อยที่สุดที่จะกระทำและการกระทำได้สัดส่วนโดยการชกต่อยเพื่อป้องการบุกรุกและกระทำความผิดต่อเสรีภาพ จำเลยมีสิทธิ์ป้องกันตนให้พ้นจากภยันตรายที่เกิดจากการจับกุมโดยไม่ชอบ หากจำเลยต่อยผู้เสียหายจริงก็เป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิ์ของตนพอสมควรแก่เหตุ ไม่มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่และทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ แม้จำเลยต่อสู้ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายโจทก์ร่วมจริง การกระทำของจำเลยก็เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฏหมาย
๒๓.. การที่สิบตำรวจตรี ส. กับพวกแต่งกายในเครื่องแบบร่วมกันจับกุมผู้ลักลอบเล่นการพนัน โดยก่อนจับกุมไปขอแบ่งรายได้ที่เก็บจากการเล่นการพนันจาก ก. แต่ ก. ปฏิเสธ สิบตำรวจตรี ส. จึงพูดทำนองข่มขู่ เป็นการเรียก รับ ทรัพย์สินอื่นใดสำหรับตนเองกับพวกโดยไม่ชอบ เพื่อละเว้นการกระทำการตามหน้าที่ที่จะเข้าจับกุมผู้ลักลอบเล่นการพนัน อันเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๔๙และเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยไม่ชอบ ข่มขืนใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองกับพวกตาม ปอ มาตรา ๑๔๘ เป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยทุจริตตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ เพื่อเป็นการตอบแทนในการที่จะไม่เข้าจับกุม การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ไปในที่มีการลักลอบเล่นการพนันโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้วร้องตะโกนให้พวกเล่นการพนันหลบหนี โดยไม่ได้เข้าจับกุมบุคคลเหล่านั้นแต่อย่างใด แต่ได้ยึดเครื่องมือในการเล่นการพนันและเงินสดโดยไม่ได้ทำบันทึกการยึดของกลางไว้ การกระทำดังกล่าวหาใช่การกระทำในหน้าที่ในการจับกุมผู้ลักลอบเล่นการพนันไม่ เพราะหากเป็นการกระทำตามหน้าที่ การร้องตะโกนให้ผู้กระทำความผิดหลบหนีไม่ใช่วิสัยที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะพึงกระทำ เพราะตนมีหน้าที่ในการจับกุมไม่ใช่ร้องเตือนให้คนกระทำความผิดหลบหนี แม้การตรวจยึดของกลางจะเป็นส่วนหนึ่งของการจับกุมก็ตาม แต่การร้องบอกให้ผู้กระทำผิดหลบหนีย่อมไม่ใช่การกระทำตามหน้าที่ เพราะตำรวจมีหน้าที่ต้องจับกุมผู้กระทำความผิดไม่ใช่ร้องเตือนให้ผู้กระทำผิดหลบหนี หากจะมีผู้หนึ่งผู้ใดขัดขืนหรือทำร้ายไม่ให้จับกุมย่อมไม่ใช่การต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่
๒๔. การไม่แต่งเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ตำรวจลำพังเพียง สวมกางเกงขายาวสีกากี สวมเสื้อยึดคอกลมสีขาวเข้าไปขอตรวจค้นตัวจำเลยโดยแจ้งว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยไม่ได้แต่งเครื่องแบบตำรวจหรือแสดงหลักฐานให้เห็นว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่กระทำการตามหน้าที่ ย่อมทำให้ผู้ถูกตรวจค้นเข้าใจผิดไปได้ เมื่อไม่รู้จักกันมาก่อน ไม่อาจทราบได้แน่นอนว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจจริงหรือไม่อย่างไร เป็นกรณีหากข้อเท็จจริงมีอยู่จริงว่าชายดังกล่าวไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจจริงแต่มาขอทำการตรวจค้นจับกุม จำเลยย่อมมีสิทธิป้องกันสิทธิ์ในเนื้อตัวร่างกายของจำเลยได้ หากเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุจำเลยไม่ต้องรับโทษ แม้ข้อเท็จจริงนั้นไม่มีอยู่จริงคือไม่มีคนร้ายที่ปลอมเป็นตำรวจแต่คนที่ขอตรวจค้นนั้นเป็นตำรวจจริงๆ แต่จำเลยสำคัญผิดว่าข้อเท็จจริงนั้นมีอยู่จริงคือสำคัญผิดว่าไม่ใช่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถตรวจค้นจับกุมได้ จึงได้เข้าทำร้าย การกระทำของจำเลยย่อมไม่มีความผิด ตาม ปอ มาตรา ๖๒ แม้จำเลยชกต่อยใช้มีดแทงเพื่อขัดขวางไม่ให้เข้าตรวจค้นจับกุม ก็หามีความผิดฐานต่อสู่ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่และพยายามฆ่าเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่
๒๕. แม้ชั้นสอบสวนให้การรับสารภาพฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ แต่บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนเป็นพยานบอกเล่า ไม่ได้ทำต่อหน้าศาลโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลยตาม ปวอ มาตรา ๑๗๒ วรรคแรก ไม่มีการถามค้านเพื่อกระจายข้อเท็จจริงดังกล่าวให้ปรากฏแก่ศาล โดยลำพังแล้วคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังลงโทษจำเลยได้
๒๖..การที่ศาลชั้นต้นลดโทษและกำหนดโทษให้จำเลย แต่คำนวณโทษไม่ถูกต้องครบถ้วน เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ฏีกาในปัญหานี้ จึงเป็นกรณีโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฏีกา “ ขอให้ศาลพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย “ ศาลฏีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามโทษจำคุกที่ถูกต้องได้เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มโทษต้องห้ามตาม ปวอ มาตรา ๒๑๒ และเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๒วรรคแรก เพราะโจทก์ไม่ได้ฏีกาขอให้เพิ่มโทษหรือปรับบทกฏหมายให้ถูกต้องเพื่อลงโทษจำเลยให้ถูกต้องตามฐานความผิดและถือว่าเป็นเรื่องโจทก์ไม่ประสงค์ขอให้ลงโทษ ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๒วรรค ๔
๒๗..การกระทำที่จะเป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ ต้องเป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานที่มีอำนาจโดยได้รับการแต่งตั้งตามวิธีการที่กฎหมายให้อำนาจและกำหนดไว้
๒๘. พรบ.กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. ๒๔๙๗ มาตรา ๑๖(๒) บัญญัติให้ กองอาสารักษาดินแดนมีหน้าที่ทำหน้าที่ตำรวจรักษาความภายในท้องที่ร่วมกับพนักงานปกครองหรือตำรวจ โดยใน มาตรา ๒๙ เจ้าหน้าที่หรือสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในระหว่างการทำการในหน้าที่ “ ให้ถือว่า “ เป็น “ เจ้าพนักงาน” ตามกฎหมายลักษณะอาญา บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ผู้เสียหายทำงานร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ จึงจะมีอำนาจตามกฎหมาย และให้ถือว่าผู้เสียหายเป็น “ เจ้าพนักงาน” เมื่อปรากฏว่าผู้เสียหายมีเพียงหน้าที่ เพียงสกัดกั้นผู้กระทำความผิดต่อกฎหมาย แต่ไม่มีอำนาจจับกุม หากจะจับต้องมีเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานฝ่ายปกครองอยู่ด้วย การที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับผู้เสียหายในการจับกุมร่วมกับผู้เสียหาย ผู้เสียหายจึง “ไม่ใช่” เจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ จึงไม่อาจเกิดความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ได้
๒๙.ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่าเมื่อไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานฝ่ายปกครองอยู่ด้วยในขณะจับกุม แต่เป็นการเข้าจับกุมโดยลำพัง เมื่อไม่มีเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่อยู่ด้วยก็ไม่อาจถือได้ว่ากองอาสารักษาดินแดนเป็น “ผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่” ตามปอ มาตรา ๑๓๘ และหากถูกทำร้ายขณะจับกุมก็ไม่ใช่การทำร้ายผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ตาม ปอ มาตรา ๒๘๙(๓),๒๙๖ได้ ทั้งเมื่อไม่มีอำนาจจับกุมการเข้าจับกุมหากไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าหรือเข้าข้อยกเว้นที่ราษฏร์สามารถจับราษฏร์ด้วยกันเองได้ตาม ปวอ มาตรา๗๙,๘๐,๘๒ แล้วย่อมเป็นความผิดฐานหน่วงเหนียวกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายตาม ปอ มาตรา ๓๑๐ เมื่อไม่ใช่ “ เจ้าพนักงาน” จึงไม่อาจมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฏหมายโดยประการให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ได้
๓๐. การชักชวนผู้โดยสารให้ใช้บริการแท็กซี่ของจำเลยที่ ๑ แม้ทำให้แท็กซี่ที่อยู่ในความควบคุมของท่าอากาศยานขาดรายได้ไปบ้าง เมื่อไม่ปรากฏว่ารบกวนผู้โดยสารให้ได้รับความเดือดร้อนรำคาญแต่อย่างใด เป็นเพียงการชักชวนผู้โดยสารให้ใช้บริการแท็กซี่ของจำเลยที่ ๑ แม้ทำให้แท็กซี่ที่อยู่ในความควบคุมของท่าอากาศยานขาดรายได้ไปบ้าง ก็ไม่ถือมีความผิดรบกวนผู้โดยสารตามกฎกระทรวง ฉบับ ๒ พ.ศ. ๒๕๒๘ ข้อ ๘(๖)ง ออกตามความในพรบ. การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔(๒)
๓๑.นาย ต. หัวหน้าฝ่ายเวรรักษาความปลอดภัยเป็น “ พนักงาน” ตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่องแต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อปฏิบัติการตามพรบ.การท่าอากาศยานต์แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ วันที่ ๖ กพ ๒๕๓๐ ข้อ ๒.๑ แต่งตั้งให้หัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยเป็น “ เจ้าพนักงาน” ตามกฏหมาย
๓๒.การที่นาย ต.สั่งให้ อ. กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยช่วยกันไล่จำเลยทั้งหกออกไปจากบริเวณดังกล่าว หากไม่ยอมออกไปให้ทำการจับกุม ต่อมา ได้รับแจ้งว่า อ. กำลังถูกรุมทำร้าย จึงไปที่เกิดเหตุ เมื่อถึงที่เกิดเหตุ พวกจำเลยหลบหนี แสดงว่า ต. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานไม่ได้เข้า “จับกุม” จำเลยทั้งหกหรือ “ควบคุม”การจับกุมด้วยตัวเอง” เพียงแต่ ต. อนุญาตให้ อ. ณ. และ ย. ซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานเข้าทำการจับกุม ไม่อาจถือได้ว่า ต. เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือกระทำการตามหน้าที่ เพราะ ต. ไม่ได้เข้าจับกุมจำเลย เมื่อไม่มีเจ้าพนักงานปฏิบัติการหรือกระทำการตามหน้าที่อยู่ด้วยขณะจับกุม การที่ อ,ณและ ย,เข้าจับกุมจำเลยที่ ๑ จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานในการที่เจ้าพนักงานปฏิบัติหรือกระทำการตามหน้าที่ตาม ปอ มาตรา ๑๓๘วรรคสอง,๒๘๙(๓),๒๙๖ แต่เป็นการจับกุมที่ไม่มีอำนาจ เป็นการประทุษร้ายอันละเมิดกฏหมาย เป็นภยันตรายที่ใกล้ถึงกำลังถึงแม้จำเลยทั้งหกต่อสู้ขัดขวาง ถือเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายไม่เกินสมควรกว่าเหตุ โดยปรากฏตามรายงานการชันสูตรบาดแผลว่าผู้เสียหายทั้งสามได้รับอันตรายจากการเข้าจับกุมเป็นรอยถลอกและบาดแผลเล็กน้อยบริเวณแขน ข้อมือและขมับ การกระทำจำเลยทั้งหกไม่เป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายผู้ต้องช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เพราะในการปฏิบัติการตามหน้าที่ไมได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานในอันที่จะมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนตน
๓๓. เหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้ เจ้าพนักงานต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการรบกวนผู้โดยสารที่จะต้องถูกจับกุมหรือไม่ บุคคลอื่นหรือผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานไม่อาจวินิจฉัยได้ ดังได้เห็นว่าในคดีนี้ผู้จับกุมวินิจฉัยผิดพลาดและเข้าจับกุมโดยไม่มีอำนาจ แม้คดีในส่วนจำเลยที่สามถึงที่สุด โดยจำเลยที่สามไม่อุทธรณ์ฏีกา แต่เป็นเหตุในลักษณะแห่งคดี ศาลฏีกาเห็นสมควรยกฟ้องไปถึงจำเลยที่สามที่ไมได้อุทธรณ์ฏีกาได้ได้ตาม ปวอ มาตรา ๒๑๓.๒๒๕
๓๔.เป็นอุทธาหรณ์สำหรับคนที่ไม่มีอำนาจแต่อยากมีอำนาจ เช่น อส ตำรวจบ้าน ทหาร หน่วย ๑๒๓ หรือคนที่เข้าช่วยตำรวจ โดยลำพังแล้วบุคคลเหล่านี้ไม่มีอำนาจในการจับกุม เว้นเป็นความผิดซึ่งหน้าที่คนทั่วไปก็สามารถเข้าจับกุมได้ การที่จะมีอำนาจในการจับกุมต้องมีเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานฝ่ายปกครองอยู่ด้วยจึงมีอำนาจในฐานะเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน สมัยผมรับราชการอยู่ที่จังหวัดหนึ่ง ตำรวจไม่ยอมจับกุมฝ่ายปกครองใช้ อส ช่วยในการจับกุม อส ขึ้นบนท้ายรถกระบะแล้วใช้อาวุธปืนไล่ยิงเพื่อจับกุมคิดว่าตนเองมีอำนาจ แม้แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจเองก็ยังไม่มีอำนาจแบบนี้ ผลที่สุด อส ถูกฟ้องพยายามฆ่า เป็นอุทธาหรณ์สำหรับคนที่ไม่มีอำนาจแต่อยากมีอำนาจคิดว่าตัวเองมีอำนาจทั้งที่ไม่มีกฏหมายรองรับ
๓๕.การที่จำเลยกับ ศ. มีอาวุธปืนร้ายแรงคนละกระบอกไม่ได้ร่วมกันในการกระทำความผิดอื่น เมื่อถูกเจ้าพนักงานล้อมจับต่างก็วิ่งหลบหนีเจ้าพนักงานเพื่อให้พ้นการจับกุมโดยต่างคนต่างไป แสดงว่าไม่มีเจตนาร่วมกันในการกระทำความผิด แม้จะไปในทิศทางเดียวกัน ก็เป็นเรื่องที่ไม่มีทางเลือกเพราะถูกไล่จับต้องพยายามหลบหนีให้ได้ เมื่อมีทางหนีได้ทางเดียวก็จำต้องไปในทิศทางเดียวกัน การไปในทิศทางเดียวกันไม่ได้แสดงว่ามีเจตนาร่วมกัน ทั้งยังได้ความว่าต่างคนต่างหลบหนีโดยไปคนละที่และไปห่างกัน ดังนั้นการที่ ศ. ใช้อาวุธปืนยิงเจ้าพนักงานที่เข้าทำการจับกุมโดยจำเลยไม่ได้ใช้อาวุธปืนยิงด้วย จึงเป็นการกระทำ “ เฉพาะตัว” ของ ศ. จำเลยไม่มีความผิดฐานร่วมกับ ศ.ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน
๓๖. แม้ไม่สามรถระบุได้ว่าผู้ตายถูกจำเลยคนใดยิงถึงแก่ความตาย คงรับฟังได้ว่าไม่จำเลยคนใดคนหนึ่งหรืออาจเป็นทั้งสองคนยิงผู้ตาย เมื่อผู้ตายถูกกระสุนถึงแก่ความตาย การที่จำเลยทั้งสองต่างมีอาวุธปืนอาก้าซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงใช้ในการสงครามไปร่วมชิงทรัพย์ ส่อให้เห็นเจตนาจำเลยทั้งสองมีเจตนาใช้อาวุธปืนในการชิงทรัพย์ หากเจ้าทรัพย์ต่อสู้หรือมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมก็พร้อมจะใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิงต่อสู้ ถ้ามีเหตุการณ์คับขันเกิดขึ้นในการชิงทรัพย์จำเลยทั้งสองย่อมจะใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้หรือขัดขวาง ทั้งยังได้ความว่า จำเลยทั้งสองอยู่ด้วยกัน เมื่อยิงแล้วก็วิ่งไปขึ้นรถจักรยานยนต์ขับขี่หลบหนีไปด้วยกันโดยยิงปืนอีกหนึ่งชุดเพื่อไม่ให้เจ้าทรัพย์หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตาม พฤติการณ์ฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้ขัดขวางและยิงผู้ตายโดยเจตนาฆ่า
๓๗..การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเข้าจับกุมจำเลยที่ลักลอบพาคนต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย โดยขึ้นรถสารรถยนต์ของจำเลยจาก จังหวัดหนึ่ง เพื่อไปส่งอีกจังหวัดหนึ่ง จำเลยขับรถที่พาคนต่างด้าวพุ่งเข้าชนรถทางราชการ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ต่างกรรมต่างวาระอันเป็นความผิดใหม่ที่เกิดขึ้นนอกจากความผิดฐาน รู้ว่าเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตช่วยด้วยประการใดให้คนต่างด้าวพ้นจากการถูกจับกุม ตาม พรบ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๖๔ วรรคแรก คือเป็นความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่และฐานทำให้เสียทรัพย์ ตาม ปอ มาตรา ๑๓๘,๓๕๘(ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ทางราชการหรือใช้ในทางราชการ ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดทางอาญา คงมีแต่ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์)จึงเป็นความผิดเฉพาะฐานทำให้เสียทรัพย์เท่านั้น)อันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ปอ มาตรา ๙๑
๓๘. การที่จำเลยร่วมกันขับรถหลบหนีและพุ่งเข้าชนรถยนต์ของทางราชการเสียหาย จำเลยมีเจตนาที่จะกระทำขึ้นในวาระเดียวกันอันเป็นวิธีการอย่างหนึ่งเพื่อหลบหนีการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่กับความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นกรรมเดียวผิดกฏหมายหลายบท ตาม ปอ มาตรา ๙๐
๓๙.การที่จำเลยขับรถพุ่งชนรถทางราชการเพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุมยังเป็นความผิดฐาน ช่วยผู้อื่นซึ่งเป็นผู้กระทำผิดหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอันไม่ใช่ความผิดลหุโทษโดยช่วยด้วยประการใดๆเพื่อไม่ให้ถูกจับกุมตาม ปอ มาตรา ๑๘๙ ด้วย เป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานฐาน รู้ว่าเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตช่วยด้วยประการใดให้คนต่างด้าวพ้นจากการถูกจับกุม ตาม พรบ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๖๔ วรรคแรก ด้วย หากเป็นข้อสอบตอบฐานใดฐานหนึ่งถือว่าตอบไม่ครบทุกประเด็น
๔๐. การเป็นอันตรายสาหัสตาม ปอ มาตรา ๒๙๗(๘) ต้องป่วยเจ็บด้วยการทุกขเวทนาเกินกว่า ๒๐ วัน แต่ผู้เสียหายมีบาดแผลที่ต้นขาซ้ายด้านหลังรักษาตัวที่โรงพยาบาล ๑๑ วัน หลังจากนั้นกลับไปรักษาตัวที่บ้านและต้องไปทำแผลทุกวัน ในระหว่างรักษาบาดแผลผู้เสียหายที่ ๒ ยังสามารถทำงานได้ตามปกติแต่ต้องไปล้างแผลทุกวัน แสดงว่าไม่ได้ป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้ จึงไม่ได้รับอันตรายสาหัสตาม ปอ มาตรา ๒๙๗(๘) เพียงแต่เป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ปอ มาตรา ๒๙๕ จึงไม่อาจเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนได้รับอันตรายสาหัสตาม ปอ มาตรา ๒๙๗(๘)ได้ เมื่อผู้เสียหายถูกทำร้ายในขณะปฏิบัติการตามหน้าที่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำร้ายเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ตาม ปอ มาตรา ๒๙๖,๒๘๙(๒) และฐาน ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ตาม ปอ มาตรา ๑๓๘,๑๔๐
๔๑. คำว่า “ เป็นนายจับอย่างไงก็ได้ “ เป็นคำกล่าวในทำนองตัดพ้อต่อว่า ไม่ได้กล่าวว่า ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจกลั่นแกล้งจับกุมโดยที่ตนเองไม่ได้กระทำความผิด ไม่เป็นการดูหมิ่นผู้เสียหาย แต่ที่จำเลยกล่าวว่า “ทำเย็ดแม่” เป็นคำด่า อันเป็นการ “ดูหมิ่น” เจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ตาม ปอ มาตรา ๑๓๖
๔๒. เมื่อผู้เสียหายจับกุมจำเลยในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่จำเลยดิ้นรนขัดขืนและชกหน้าผู้เสียหาย ๑ ครั้ง จนฟันหักมีเลือดไหลออกจากปาก จำเลยมีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย ตาม ปอ มาตรา ๑๓๘วรรคสอง และทำร้ายเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ ตาม ปอ มาตรา ๒๙๖ อีกกระทงหนึ่ง
๔๓.แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเป็นร้อยเวรสอบสวนไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่รับผิดชอบด้านการจับกุมปราบปรามก็ตามและแม้ไปนั่งในร้านอาหารที่เกิดเหตุอันไม่ใช่สถานีตำรวจที่ตนต้องเข้าเวรสอบสวนก็ตาม แต่ เมื่อเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ย่อมมีอำนาจจับกุมผู้ที่กระทำความผิดซึ่งหน้าได้ตาม ปวอ มาตรา ๗๘ การที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ว่าจะอยู่ในชั้นยศใดหรือทำหน้าที่ใดย่อมมีอำนาจในการจับกุมผู้ที่กระทำความผิดซึ่งหน้าได้ แม้ขณะเกิดเหตุจะ ทำหน้าที่ร้อยเวรสอบสวนและไปนั่งในร้ายขายอาหารที่ไม่ใช่สถานีตำรวจก็ตามก็ ไม่ทำให้อำนาจจับกุมผู้กระทำผิดซึ่งหน้าหมดไป การที่คนร้ายเข้าชกต่อยไม่ยอมให้จับกุมย่อมเป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่และทำร้ายเจ้าพนักง่านที่กระทำการตามหน้าที่
๑.จำเลยที่ ๑ ฏีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต อ้างเหตุพยานโจทก์ที่นำมาสืบฟังไม่ได้ว่าอาวุธปืนที่จำเลยที่ ๑มีไว้ใช้ยิงได้หรือไม่ จึงฟังไม่ได้ว่าเป็นอาวุธปืนตามกฎหมาย จำเลยที่ ๑ ไม่มีความผิด ปัญหาว่าอาวุธปืนยิงได้หรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ปัญหาว่าจำเลยที่๑ ไม่ได้กระทำผิดตามฟ้องฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยอ้างว่าขณะที่เจ้าพนักงานเข้าตรวจค้นและจับกุมพวกลักลอบเล่นการพนัน ตำรวจไม่มีหมายค้นหมายจับจึงไม่อาจตรวจค้นจับกุมได้ จำเลยที่ ๑ เข้าขัดขวางการจับกุมไม่มีความผิด แม้ปัญหานี้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นกล่าวไว้ในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฏีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๕วรรคสอง,๒๒๕ ในขณะเข้าตรวจค้นจับกุมผู้ลักลอบเล่นการพนัน เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีหมายจับหมายค้น แต่เห็นว่ามีการเล่นการพนันอันเป็นความผิดซึ่งหน้า หากไม่เข้าจับกุมตรวจค้นทันทีตามที่พลเมืองดีแจ้ง ผู้ต้องหาอาจหลบหนีไปได้เป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งจึงตรวจค้นในเวลากลางคืนโดยไม่มีหมายค้นตาม ปวอ มาตรา ๙๒(๒),๙๖(๒) จึงเป็นการจับกุมตรวจค้นโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยเข้าขัดขวางการจับกุมโดยใช้มือดึงผู้เล่นการพนันให้ออกไปจึงมีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๓๘วรรคแรก การปรับบทความผิดและลงโทษจำเลยที่ ๑เป็นเหตุในลักษณะคดี แม้จำเลยที่ ๒ ไม่ได้ฏีกา ศาลฏีกาก็มีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ ๒ได้ตาม ปวอ มาตรา ๒๑๓,๒๒๕ คำพิพากษาฏีกา ๔๙๕๐/๒๕๔๐
๑. จำเลยใช้มือผลักและตัวดันเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อแย่งถุงพลาสติกที่มีเมทแอมเฟตตามีนบรรจุอยู่จากมือเจ้าหน้าที่ไปใส่ปากเคี้ยวเพื่อทำลายหลักฐานนั้นเป็นการขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่อรวบรวมสิ่งของที่ใช้เป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาหรือได้สืบทราบมา จึงเป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ การที่จำเลยใช้มือผลักเจ้าหน้าที่ตำรวจกระเด็นไปติดประตูแล้วใช้ตัวดันเพื่อแย่งถุงพลาสติกที่มีเมทแอมเฟตตามีนบรรจุอยู่มาใส่ปากเพื่อเคี้ยวทำลายหลักฐาน จำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการผลักและดันจำเลยว่าเป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจของเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ จึงเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายตามกฏหมายแล้วแม้จำเลยไม่ได้มีเจตนาประสงค์ต่อผลในการที่จะกระทำต่อร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งของเจ้าพนักงานก็ตามก็เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๓๘วรรคสอง คำพิพากษาฏีกาที่ ๓๘๕๐/๒๕๔๓
๒. จำเลยที่ ๑ ถูกตำรวจจับในข้อหาลักทรัพย์ ควบคุมตัวไปที่รถโดย สิบตำรวจโท ศ กับดาบตำรวจ อ. เดินขนาบข้างคล้องแขนจำเลยที่ ๑ ไว้คนละข้าง จำเลยที่ ๒กับพวก ๑๐ ถึง ๑๕ คน เข้ามาแย่งตัวจำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒เข้ามาดึงตัวจำเลยที่ ๑ออกไปและถีบ สิบตำรวจโท ศ กับดาบตำรวจ อ. จำเลยที่ ๑ ได้พยายามดิ้นรนให้พ้นจากการถูกควบคุมแม้ขณะดิ้นรนจะเป็นเหตุให้เท้าไปถูก โดย สิบตำรวจโท ศ กับดาบตำรวจ อ. ก็ตาม ก็ยังไม่ถึงขั้นเป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานตาม ปอ มาตรา ๑๔๐ คำพิพากษาฏีกาที่ ๕๙๘๐/๒๕๔๐
๓. สิบตำรวจตรี ส. เบิกความว่า วิ่งไล่ตามจำเลยจนทันแล้ว จำเลยหันกลับมาใช้มือปัดป้องไม่ยอมให้เข้าใกล้ เมื่อเข้าไปกอดและพยายามทำให้จำเลยคว่ำหน้าลง จำเลยล้มลงพร้อมพยาน พยานสั่งให้จำเลยนอนอยู่เฉยๆแล้วพยานใส่กุญแจมือแล้วให้จำเลยลุกขึ้นไม่ปรากฏจำเลยใช้เท้าถีบใช้มือผลักอกอันเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายแต่อย่างใด การที่จำเลยใช้มือปัดป้องไม่ให้สิบตำรวจตรี ส. เข้าใกล้ตัว ยังถือไม่ได้เป็นการต่อสู่ขัดขวางเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ คำพิพากษาฏีกาที่ ๘๑๙๘/๒๕๕๐
๔. จำเลยทั้งสามร่วมกันเพื่อประสงค์ในทางการค้าหรือโดยการค้าทำให้แพร่หลายด้วยการฉายภาพยนตร์ที่แสดงความสัมพันธ์ทางเพศอันเป็นภาพลามกอนาจาร อันเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๘๗(๑) การขัดขวางไม่ให้ตำรวจงัดกุญแจเข้าไปตรวจค้นภายในห้องซึ่งนำเครื่องฉายภาพยนต์และฟิลม์เก็บไว้ แสดงว่าประสงค์ไม่ให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการตรวจค้นจับกุมลุล่วงไปโดยสะดวก เป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ คำพิพากษาฏีกาที่ ๒๑๒๘/๒๕๓๓
๕. คำว่า “ เจ้าบ้าน “ ตาม ปวอ มาตรา ๙๒(๕) หมายถึงผู้เป็นหัวหน้าของบุคคลที่พักอาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น ตลอดถึงคู่สมรสของผู้เป็นหัวหน้าเท่านั้น เพราะบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบในการครอบครองบ้าน และปกครองผู้อยู่อาศัยภายในบ้านหลังนั้นหาได้รวมถึงทุกคนที่อยู่ในบ้านไม่ ทะเบียนบ้านหลังเกิดเหตุมี บ. บิดาจำเลยเป็นหัวหน้า มีชื่อจำเลยอยู่ในฐานะเป็นบุตร จำเลยจึงไม่ได้อยู่ในฐานะเป็นเจ้าบ้าน การที่ผู้เสียหายกับพวกเข้าไปจับกุมจำเลยในบ้านดังกล่าวตามหมายจับแต่ไม่มีหมายค้น ทั้งผู้เสียหายกับพวกก็ไม่ใช่พนักงานตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่จะทำการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมาย จึงเป็นการจับกุมโดยไม่ชอบ ตาม ปวอ มาตรา ๘๑ เป็นการจับโดยไม่มีอำนาจ จำเลยมีสิทธิ์ป้องกันตนให้พ้นจากภยันตรายที่เกิดจากการจับกุมโดยไม่ชอบ หากจำเลยต่อยผู้เสียหายจริงก็เป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิ์ของตนพอสมควรแก่เหตุ ไม่มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่และทำร้ายร่างกาย คำพิพากษาฏีกาที่ ๑๐๓๕/๒๕๓๖
๖. โรงไม้เป็นที่พักอาศัยของยามที่โรงไม้หยุดดำเนินการ ภายในบริเวณโรงไม้ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าหรือด้านหลังย่อมไม่ใช่ที่สาธารณะ แต่เป็นที่รโหฐานตาม ปวอ มาตรา ๒(๑๓) แม้โจทก์ร่วมมีอำนาจจับกุมจำเลยเพราะเป็นกรณีมีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่าจำเลยได้กระทำผิดและแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ตามระเบียบแล้วตาม ปวอ มาตรา๗๘(๔) แต่การจับกุมดังกล่าวต้องไม่ใช่การจับกุมในที่รโหฐาน เพราะตาม ปวอ มาตรา ๘๑ บัญญัติว่า จะมีหมายจับหรือไม่ก็ตามห้ามไม่ให้จับกุมในที่รโหฐานเว้นแต่ได้ทำตามบทบัญญัติว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน ซึ่งพฤติกรรมของโจทก์ร่วมก็ไม่เข้าข้อยกเว้น การที่โจทก์ร่วมกับพวกเข้าจับกุมจำเลยในที่รโหฐาน เป็นการกระทำโดยไม่ชอบ ปราศจากอำนาจที่จะกระทำได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ แม้จำเลยต่อสู้ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายโจทก์ร่วมจริง การกระทำของจำเลยก็เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฏหมาย คำพิพากษาฏีกาที่ ๒๙๑๔/๒๕๓๗
๗. สิบตำรวจตรี ส. กับพวกแต่งกายในเครื่องแบบร่วมกันจับกุมผู้ลักลอบเล่นการพนัน ก่อนจับกุมไปขอแบ่งรายได้ที่เก็บจากการเล่นการพนันจาก ก. แต่ ก. ปฏิเสธ สิบตำรวจตรี ส. จึงพูดทำนองข่มขู่ หลังจากนั้นจึงได้ไปในที่เล่นการพนัน โดยได้ร้องตะโกนให้พวกเล่นการพนันหลบหนี โดยไม่ได้เข้าจับกุมบุคคลเหล่านั้นแต่อย่างใด แต่ได้ยึดเครื่องมือในการเล่นการพนันและเงินสดโดยไม่ได้ทำบันทึกการยึดของกลางไว้ การกระทำดังกล่าวหาใช่การกระทำในหน้าที่ในการจับกุมผู้ลักลอบเล่นการพนันไม่ คำพิพากษาฏีกาที่ ๗๑๕๒/๒๕๓๘
๘. ผู้เสียหายที่ ๑ สวมกางเกงขายาวสีกากี สวมเสื้อยึดคอกลมสีขาวเข้าไปขอตรวจค้นตัวจำเลยโดยแจ้งว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยไม่ได้แต่งเครื่องแบบตำรวจหรือแสดงหลักฐานให้เห็นว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่กระทำการตามหน้าที่ ทำให้จำเลยเข้าใจผิดไปได้ แม้จำเลยชกต่อยใช้มีดแทงเพื่อขัดขวางไม่ให้เข้าตรวจค้นจับกุม ก็หามีความผิดฐานต่อสู่ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่และพยายามฆ่าเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ แม้ชั้นสอบสวนให้การรับสารภาพฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ แต่บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนเป็นพยานบอกเล่า โดยลำพังไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังลงโทษจำเลยได้ ศาลชั้นต้นลดโทษและกำหนดโทษให้จำเลย แต่คำนวณโทษไม่ถูกต้องครบถ้วน เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ฏีกาในปัญหานี้ ศาลฏีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามโทษจำคุกที่ถูกต้องได้เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มโทษต้องห้ามตาม ปวอ มาตรา ๒๑๒คำพิพากษาฏีกาที่ ๑๙๕๔/๒๕๔๖
๑๐.การกระทำที่จะเป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานทีกระทำการตามหน้าที่ ต้องเป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานที่มีอำนาจโดยได้รับการแต่งตั้งตามวิธีการที่กฎหมายให้อำนาจและกำหนดไว้ พรบ.กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. ๒๔๙๗ มาตรา ๑๖(๒) กองอาสารักษาดินแดนมีหน้าที่ทำหน้าที่ตำรวจรักษาความภายในท้องที่ร่วมกับพนักงานปกครองหรือตำรวจ มาตรา ๒๙ เจ้าหน้าที่หรือสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในระหว่างการทำการในหน้าที่ “ ให้ถือว่า “ เป็น “ เจ้าพนักงาน” ตามกฎหมายลักษณะอาญา บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ผู้เสียหายทำงานร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ จึงจะมีอำนาจตามกฎหมาย และให้ถือว่าผู้เสียหายเป็น “ เจ้าพนักงาน” เมื่อปรากฏ เมื่อปรากฏว่าผู้เสียหายมีเพียงหน้าที่ เพียงสกัดกั้นผู้กระทำความผิดต่อกฎหมาย แต่ไม่มีอำนาจจับกุม หากจะจับต้องมีเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานฝ่ายปกครองอยู่ด้วย การที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับผู้เสียหายในการจับกุมร่วมกับผู้เสียหาย ผู้เสียหายจึง “ไม่ใช่” เจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ คำพิพากษาฏีกาที่ ๗๙๘๕/๒๕๔๐
๑๑.จำเลยที่ ๑ เข้าไปเรียกผู้โดยสารในท่าอากาศยาน ไม่ปรากฏว่ารบกวนผู้โดยสารให้ได้รับความเดือดร้อนรำคาญแต่อย่างใด เป็นเพียงการชักชวนผู้โดยสารให้ใช้บริการแท็กซี่ของจำเลยที่ ๑ แม้ทำให้แท็กซี่ที่อยู่ในความควบคุมของท่าอากาศยานขาดรายได้ไปบ้าง ก็ไม่ถือมีความผิดรบกวนผู้โดยสารตามกฎกระทรวง ฉบับ ๒ พ.ศ. ๒๕๒๘ ข้อ ๘(๖)ง ออกตามความในพรบ. การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔(๒) นาย ต. หัวหน้าฝ่ายเวรรักษาความปลอดภัยเป็น “ พนักงาน” ตามประกาศกระทรวงคมนาคมา เรื่องแต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อปฏิบัติการตามพรบ.การท่าอากาศยานต์แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ วันที่ ๖ กพ ๒๕๓๐ ข้อ ๒.๑ แต่ตั้งให้หัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยเป็น “ เจ้าพนักงาน” ตามกฏหมาย นาย ต.รับทราบทางวิทยุว่า จำเลยทั้งหกเข้ามารบกวนผู้โดยสารที่บริเวณห้องโดยสารขาเข้า จึงสั่งให้ อ. กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยช่วยกันไล่จำเลยทั้งหกออกไปจากบริเวณดังกล่าว หากไม่ยอมออกไปให้ทำการจับกุม ต่อมา ๑๐ นาที ต. ได้รับแจ้งว่า อ. กำลังถูกรุมทำร้าย จึงไปที่เกิดเหตุ เมื่อถึงที่เกิดเหตุ พวกจำเลยหลบหนี แสดงว่า ต. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานไม่ได้เข้าจับกุมจำเลยทั้งหก เพียงแต่ ต. อนุญาตให้ อ. ณ. และ ย. ซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานเข้าทำการจับกุม ไม่อาจถือได้ว่า ต. เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือกระทำการตามหน้าที่ เพราะ ต. ไม่ได้เข้าจับกุมจำเลย เมื่อไม่มีเจ้าพนักงานปฏิบัติการหรือกระทำการตามหน้าที่ การที่ อ,ณและ ย,เข้าจับกุมจำเลยที่ ๑ จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานในการที่เจข้าพนักงานปฏิบัติหรือกระทำการตามหน้าที่ตาม ปอ มาตรา ๑๓๘วรรคสอง,๒๘๙(๓),๒๙๖ แต่เป็นการจับกุมที่ไม่มีอำนาจ แม้จำเลยทั้งหกต่อสู้ขัดขวาง ถือเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายไม่เกินสมควรกว่าเหตุ โดยปรากฏตามรายงานการชันสูตรบาดแผลว่าผู้เสียหายทั้งสามได้รับอันตรายจากการเข้าจับกุมเป็นรอยถลอกและบาดแผลเล็กน้อยบริเวณแขน ข้อมือและขมับ การกระทำจำเลยทั้งหกไม่เป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายผู้ต้องช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เพราะในการปฏิบัติการตามหน้าที่ไมได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานในอันที่จะมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนตน เหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้ เจ้าพนักงานต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการรบกวนผู้โดยสารที่จะต้องถูกจับกุมหรือไม่ บุคคลอื่นหรือผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานไม่อาจวินิจฉัยได้ ดังได้เห็นว่าในคดีนี้ผู้จับกุมวินิจฉัยผิดพลาดและเข้าจับกุมโดยไม่มีอำนาจ แม้คดีในส่วนจำเลยที่สามถึงที่สุด โดยจำเลยที่สามไม่อุทธรณ์ฏีกา แต่เป็นเหตุในลักษณะแห่งคดี ศาลฏีกาเห็นสมควรยกฟ้องไปถึงจำเลยที่สามได้ตาม ปวอ มาตรา ๒๑๓.๒๒๕ คำพิพากษาฏีกาที่ ๗๗/๒๕๔๑
๑๒.จำเลยกับ ศ. มีอาวุธปืนร้ายแรงคนละกระบอกไม่ได้ร่วมกันในการกระทำความผิดอื่น เมื่อถูกเจ้าพนักงานล้อมจับต่างก็วิ่งหลบหนีเจ้าพนักงานเพื่อให้พ้นการจับกุมโดยต่างคนต่างไป แม้จะไปในทิศทางเดียวกัน แต่ก็ไปคนละที่และไปห่างกัน การที่ ศ. ใช้อาวุธปืนยิงเจ้าพนักงานที่เข้าทำการจับกุมโดยจำเลยไม่ได้ใช้อาวุธปืนยิงด้วย จึงเป็นการกระทำเฉพาะตัวของ ศ. จำเลยไม่มีความผิดฐานร่วมกับ ศ.ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน คำพิพากษาฏีกาที่ ๓๙๐/๒๕๓๒
๑๓.ผู้ตายถูกกระสุนถึงแก่ความตายเนื่องจากจำเลยทั้งสองเป็นผู้ยิง แต่ไม่อาจระบุได้ว่าจำเลยคนใด แม้จะฟังว่าจำเลยคนหนึ่งคนใดเป็นคนยิง แต่การที่จำเลยทั้งสองต่างมีอาวุธปืนอาก้าไปร่วมชิงทรัพย์ ส่อให้เห็นเจตนาจำเลยทั้งสองว่าถ้ามีเหตุการณ์คับขันเกิดขึ้นในการชิงทรัพย์จำเลยทั้งสองจะใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้หรือขัดขวาง ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองอยู่ด้วยกัน เมื่อยิงแล้วก็วิ่งไปขึ้นรถจักรยานยนต์ขับขี่หลบหนีไปด้วยกันโดยยิงปืนอีกหนึ่งชุด พฤติการณ์ฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้ขัดขวางและยิงผู้ตายโดยเจตนาฆ่า คำพิพากษาฏีกาที่ ๑๕๙๕/๒๕๓๒
๑๔.จำเลยเป็นคนให้คนต่างด้าวสัญชาติลาว จำนวน ๒๐ คน โดยสารรถยนต์จากตำบลนาตาล กิ่งอำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อไปส่งจังหวัดปทุม โดยรู้ว่าคนเหล่านั้นเป็นคนต่างด้าวและเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมายจึงเป้นความผิดตาม พรบ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๖๔ วรรคแรกแล้ว ระหว่างทางเจ้าหน้าที่พบการกระทำผิดของจำเลยจึงเข้าจับกุมแต่จำเลยขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่โดยขับรถที่พาคนต่างด้าวพุ่งเข้าหารถทางราชการ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ต่างกรรมต่างวาระอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ปอ มาตรา ๙๑ การที่จำเลยร่วมกันขับรถหลบหนีและพุ่งเข้าชนรถยนต์ของทางราชการเสียหาย จำเลยมีเจตนาที่จะกระทำขึ้นในวาระเดียวกันอันเป็นวิธีการอย่างหนึ่งเพื่อหลบหนีการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่กับความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นกรรมเดียวผิดกฏหมายหลายบท ตาม ปอ มาตรา ๙๐ คำพิพากษาฏีกา ๔๐๔๕/๒๕๔๕
๑๕. จำเลยรู้ว่ากำลังถูกผู้เสียหายที่ ๒ กับ พวก ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามจับกุม จำเลยกอดปล้ำต่อสู้ใช้มีดแทงฟันผู้เสียหายที่ ๒ เป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ตาม ปอ มาตรา ๑๓๘,๑๔๐ เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ ๒ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่ด้วย การเป็นอันตรายสาหัสตาม ปอ มาตรา ๒๙๗(๘) ต้องป่วยเจ็บด้วยการทุกขเวทนาเกินกว่า ๒๐ วัน แต่ผู้เสียหายมีบาดแผลที่ต้นขาซ้ายด้านหลังรักษาตัวที่โรงพยาบาล ๑๑ วัน หลังจากนั้นกลับไปรักษาตัวที่บ้านและต้องไปทำแผลทุกวัน ในระหว่างรักษาบาดแผลผู้เสียหายที่ ๒ ยังสามารถทำงานได้ตามปกติแต่ต้องไปล้างแผลทุกวัน แสดงว่าไม่ได้ป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้ จึงไม่ได้รับอันตรายสาหัสตาม ปอ มาตรา ๒๙๗(๘) เพียงแต่เป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ปอ มาตรา ๒๙๕การที่จำเลยทำร้ายเจ้าพนักงานจึงเป้นความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๙๖ คำพิพากษาฏีกา ๗๗๔/๒๕๔๘
๑๖.เมื่อผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมจำเลย จำเลยกล่าวกับผู้เสียหายว่า เป็นนายจับอย่างไงก็ได้ และเรียกทำเย็ดแม่ คำว่า “ เป็นนายจับอย่างไงก็ได้ “ เป็นคำกล่าวในทำนองตัดพ้อต่อว่า ไม่ได้กล่าวว่า ผู้เสียหายกลั่นแกล้ง ไม่เป็นการดูหมิ่นผู้เสียหาย แต่ที่จำเลยกล่าวว่า ทำเย็ดแม่ เป็นคำด่า อันเป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ตาม ปอ มาตรา ๑๓๖ เมื่อผู้เสียหายจับกุมจำเลยในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่จำเลยดิ้นรนขัดขืนและชกหน้าผู้เสียหาย ๑ ครั้ง จนฟันหักมีเลือดไหลออกจากปาก จำเลยมีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย ตาม ปอ มาตรา ๑๓๘วรรคสอง และทำร้ายเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ ตาม ปอ มาตรา ๒๙๖ อีกกระทงหนึ่ง คำพิพากษาฏีกา๕๐๑/๒๕๓๗
๑๗.จำเลยไม่ยอมให้ ร้อยตำรวจโท ว. จับกุม ได้ชกต่อย ร้อยตำรวจโท ว.ที่จะเข้าจับกุมจำเลยซึ่งทำร้ายผู้อื่นซึ่งหน้า แม้ขณะเกิดเหตุร้อยตำรวจโท ว.จะเป็นร้อยเวรสอบสวนและไปนั่งในร้านอาหารที่เกิดเหตุ แต่ ร้อยตำรวจโท ว. ก็เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ย่อมมีอำนาจจับกุมจำเลยที่กระทำความผิดซึ่งหน้าได้ตาม ปวอ มาตรา ๗๘ การที่ ร้อยตำรวจโท ว. ทำหน้าที่ร้อยเวรสอบสวนและไปนั่งในร้ายขายอาหาร ไม่ทำให้ไม่มีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดซึ่งหน้า การกระทำจำเลยจึงเป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่และทำร้ายเจ้าพนักง่านที่กระทำการตามหน้าที่ คำพิพากษาฏีกา๒๓๓๕/๒๕๑๘
ข้อสังเกต ๑.ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ต้องช่วยเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เป็นความผิดตามกฎหมาย ปอ มาตรา ๑๓๘ หากการต่อสู้ขัดขวางมีการใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายต้องระวางโทษสูงขึ้น ปอ มาตรา ๑๓๘ วรรคสอง
๒.ทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานหรือผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๙๖,๒๘๙(๒)(๓)
๓.ตาม พรบ. อาวุธปืนฯนั้นไม่ได้นิยามศัพท์ว่า อาวุธปืนต้องสามารถใช้ยิงทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินได้ ทั้งในวิเคราะห์ศัพท์คำว่า “ อาวุธปืน” ตาม มาตรา ๔(๑) ยังบัญญัติให้ อาวุธปืนรวมถึงส่วนหนึ่งส่วนใดที่สำคัญที่รัฐมนตรีกำหนดไว้ในกฏกระทรวง ฃึ่งในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๙๑ ลงวันที่ ๖ สค ๒๔๙๑บัญญัติให้สิ่งต่อไปนี้ซึ่งเป็นอาวุธปืนด้วย เช่น ส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืนเป็นอาวุธปืน เช่น ลำกล้อง ลูกเลื่อน ส่วนประกอบลูกเลื่อน เครื่องลั่นไกล ส่วนประกอบเครื่องลั่นไกล เครื่องส่งกระสุน ซองกระสุนหรือส่วนประกอบของสิ่งเหล่านี้ เป็น “อาวุธปืน”
๔.กรณี “ฉุกเฉินอย่างยิ่ง” ตาม ปวอ มาตรา ๙๖(๒)เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงสามารถค้นในเวลากลางคืนโดยไม่มีหมายค้นตาม ปวอ มาตรา ๙๒(๒),๙๖(๒)
๕.การต่อสู้ว่า พยานโจทก์ที่นำมาสืบฟังไม่ได้ว่าอาวุธปืนที่จำเลยที่ ๑มีไว้ใช้ยิงได้หรือไม่ จึงฟังไม่ได้ว่าเป็นอาวุธปืนตามกฎหมาย จำเลยที่ ๑ ไม่มีความผิด นั้นเห็นว่าตาม พรบ.อาวุธปืนฯมาตรา ๔(๑) ไม่ได้ให้นิยามศัพท์ว่า “ อาวุธปืน “ ที่จะเป็น “ อาวุธปืน” ตาม พรบ. อาวุธปืนฯนั้นต้องสามารถใช้ยิงทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินได้ ทั้งในวิเคราะห์ศัพท์คำว่า “ อาวุธปืน” ตาม มาตรา ๔(๑) ยังบัญญัติให้ อาวุธปืนรวมถึงส่วนหนึ่งส่วนใดที่สำคัญที่รัฐมนตรีกำหนดไว้ในกฏกระทรวง ฃึ่งในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๙๑ ลงวันที่ ๖ สค ๒๔๙๑ บัญญัติให้สิ่งต่อไปนี้ซึ่งเป็นอาวุธปืน เช่น ส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืนเป็นอาวุธปืน เช่น ลำกล้อง ลูกเลื่อน ส่วนประกอบลูกเลื่อน เครื่องลั่นไกล ส่วนประกอบเครื่องลั่นไกล เครื่องส่งกระสุน ซองกระสุนหรือส่วนประกอบของสิ่งเหล่านี้ เป็น “อาวุธปืน”ดังนั้นแม้ส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืนกฎหมายยังถือว่าเป็นอาวุธปืน แม้โดยสภาพอาจใช้ยิงทำอันตรายไม่ได้ก็ตาม เมื่อส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืนเป็นอาวุธปืน ดังนั้นอาวุธปืนก็คืออาวุธปืน แม้ใช้ยิงได้หรือไม่ได้ก็ตาม เพียงแต่อาจเป็นดุลพินิจของศาลในการกำหนดโทษเท่านั้น
๖. ปัญหาว่า “อาวุธปืนยิงได้หรือไม่” เป็นปัญหาข้อเท็จจริง การที่จะสามารถอุทธรณ์ฏีกาได้หรือไม่จึงต้องอยู่ในบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ฏีกาในปัญหาข้อเท็จตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
๗.ปัญหาว่า “ไม่ได้กระทำผิดตามฟ้องฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน เพราะขณะที่เจ้าพนักงานเข้าตรวจค้นและจับกุม ตำรวจไม่มีหมายค้นหมายจับจึงไม่อาจตรวจค้นจับกุมได้ การเข้าขัดขวางการจับกุมไม่มีความผิด” ปัญหาว่าสามารถจับกุมตรวจค้นโดยไม่มีหมายจับได้หรือไม่ การเข้าต่อสู้ขัดขวางการจับกุมตรวจค้นที่ไม่ได้กระทำตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สามารถกระทำได้หรือไม่ นี้เป็น “ ปัญหาข้อกฎหมาย” แม้ปัญหานี้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นกล่าวไว้ในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฏีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๕วรรคสอง,๒๒๕
๘. แม้ในขณะเข้าตรวจค้นจับกุม เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีหมายจับหมายค้น แต่เห็นว่ามีการเล่นการพนันอันเป็นความผิดซึ่งหน้า ตาม ปวอ มาตรา ๘๐ เพราะเห็นขณะกระทำความผิด หากไม่เข้าจับกุมตรวจค้นทันทีตามที่พลเมืองดีแจ้ง ผู้ต้องหาอาจหลบหนีไปได้เป็นกรณี “ฉุกเฉินอย่างยิ่ง” ตาม ปวอ มาตรา ๙๖(๒)จึงสามารถค้นในเวลากลางคืนโดยไม่มีหมายค้นตาม ปวอ มาตรา ๙๒(๒),๙๖(๒) จึงเป็นการจับกุมตรวจค้นโดยชอบด้วยกฎหมาย
๙.การที่จำเลยเข้าขัดขวางการจับกุมโดยใช้มือดึงผู้เล่นการพนันให้ออกไปจึงเป็นการขัดขวางการจับกุมของเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๓๘วรรคแรก การปรับบทความผิดและลงโทษจำเลยที่ ๑เป็นเหตุในลักษณะคดี แม้จำเลยที่ ๒ ไม่ได้ฏีกา ศาลฏีกาก็มีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ ๒ได้ตาม ปวอ มาตรา ๒๑๓,๒๒๕
๑๐. การใช้มือผลักและตัวดันเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อแย่งถุงพลาสติกที่มีเมทแอมเฟตตามีนบรรจุอยู่จากมือเจ้าหน้าที่ไปใส่ปากเคี้ยวเพื่อทำลายหลักฐานนั้นเป็นการขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่อรวบรวมสิ่งของที่ใช้เป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาหรือได้สืบทราบมา จึงเป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่และหากการกระทำดังกล่าวเพื่อช่วยผู้อื่นไม่ให้ต้องรับโทษก็จะมีความผิดฐานเพื่อจะช่วยผู้อื่นไม่ให้ต้องรับโทษทำให้เสียหายทำลายทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งพยานหลักฐานในการกระทำผิด และฐานช่วยผู้อื่นที่เป็นผู้กระทำความผิดอันไม่ใช่ความผิดลหุโทษโดยช่วยด้วยประการใดๆไม่ให้ถูกจับกุม ตาม ปอ มาตรา ๑๓๘,๑๘๔,๑๘๙
๑๑. การที่จำเลยใช้มือผลักเจ้าหน้าที่ตำรวจกระเด็นไปติดประตูแล้วใช้ตัวดันเพื่อแย่งถุงพลาสติกที่มีเมทแอมเฟตตามีนบรรจุอยู่มาใส่ปากเพื่อเคี้ยวทำลายหลักฐาน จำเลยย่อม “เล็งเห็นผล” ของการผลักและดันจำเลยว่าเป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจของเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ จึงเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายตามกฏหมายแล้วแม้จำเลยไม่ได้มีเจตนาประสงค์ต่อผลในการที่จะกระทำต่อร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งของเจ้าพนักงานก็ตามก็เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๓๘วรรคสอง และเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ตาม ปอ มาตรา ๒๙๕,๒๙๖ เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทให้ลงตามบทหนักฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่
๑๒. การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ควบคุมตัวคนร้ายที่กระทำผิดฐานลักทรัพย์โดยเดินขนาบข้างคล้องแขน ไว้คนละข้าง พวกคนร้าย ๑๐ ถึง ๑๕ คน เข้ามาแย่งตัว โดยพวกคนร้ายเข้ามาดึงตัวคนร้ายออกไปและถีบ เจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งสองนาย คนร้ายได้พยายามดิ้นรนให้พ้นจากการถูกควบคุมแม้ขณะดิ้นรนจะเป็นเหตุให้เท้าไปถูก เจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งสองนายก็ตาม ก็ยังไม่ถึงขั้นเป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่สามคนขึ้นไปตาม ปอ มาตรา ๑๔๐ เท้าที่ไปถูกน่าจะเป็นการดิ้นรนเพื่อให้พ้นการจับกุมมากว่าที่จะเป็นเท้าที่ใช้ทำร้ายร่างกายโดยการถีบหรือเตะ เมื่อไม่มีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลในการกระทำแล้วจะถือว่ามีเจตนาทำร้ายร่างกายและต่อสู้ขัดขวางการจับกุมตาม ปอ มาตรา ๕๙ หาได้ไม่
๑๓.ส่วนพวกคนร้ายมีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมในการช่วยผู้อื่นซึ่งเป็นผู้กระทำผิดหรือต้องหาว่ากระทำความผิดซึ่งไม่ใช่ความผิดลหุโทษด้วยประการใดๆไม่ให้ถูกจับกุมตาม ปอ มาตรา ๘๓,๑๘๙และร่วมกันทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ตามปอ มาตรา ๘๓, ๒๙๕,๒๙๖และร่วมกันขัดขวางเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่สามคนขึ้นไป ตาม ปอ มาตรา ๑๓๘ วรรคสอง,๑๔๐
๑๔.การที่จำเลยใช้มือปัดป้องไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าใกล้ตัว โดยไม่ปรากฏมีการใช้เท้าถีบใช้มือผลักอกอันเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายแต่อย่างใด เพียงแค่นี้ยังถือไม่ได้เป็นการต่อสู่ขัดขวางเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ ทั้งยังได้ความว่าเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปกอดและพยายามทำให้คว่ำหน้าลง จนจำเลยล้มลงพร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจสั่งให้จำเลยนอนอยู่เฉยๆแล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจใส่กุญแจมือแล้วให้ลุกขึ้น ก็ไม่ได้มีการประทุษร้ายแก่กายหรือจิตใจโดยใช้แรงกายภาพหรือวิธีอื่นใดหรือกระทำการใดๆจนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ในภาวะที่ไม่อาจขัดขืนได้ จึงไม่มีการใช้กำลังประทุษร้ายตามความหมายใน ปอ มาตรา ๑(๖) ลำพังเพียงใช้มือปัดป้องไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าใกล้ตัวเท่านี้ จึงไม่ใช่การต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่แต่อย่างใด
๑๕.. การขัดขวางไม่ให้ตำรวจงัดกุญแจเข้าไปตรวจค้นภายในห้องซึ่งนำเครื่องฉายภาพยนต์และฟิลม์ภาพยนตร์ที่แสดงความสัมพันธ์ทางเพศอันเป็นภาพลามกอนาจารเก็บไว้ แสดงว่าประสงค์ไม่ให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการตรวจค้นจับกุมลุล่วงไปโดยสะดวก เป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่
๑๖..แต่ต้องพิจารณาด้วยว่าขณะเข้าตรวจค้นนั้นกำลังฉายภาพยนตร์ที่แสดงความสัมพันธ์ทางเพศอันเป็นภาพลามกอนาจารอยู่หรือไม่ หากใช่ก็เป็นความผิดซึ่งหน้าซึ่งเป็นความผิดที่เห็นซึ่งหน้าขณะกำลังกระทำความผิดตาม ปวอ มาตรา ๘๐ ซึ่งสามารถเข้าตรวจค้นในห้องฉายภาพยนตร์ซึ่งเป็นที่รโหฐานอันไม่ใช่สถานที่ที่เป็นสาธารณะสถานตาม ปอ มาตรา ๑(๓) และ ปวอ มาตรา ๒(๑๓) ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นตาม ปวอ มาตรา ๙๒(๒) การเข้าขัดขวางไม่ให้ตำรวจงัดกุญแจเข้าไปตรวจค้นภายในห้องซึ่งนำเครื่องฉายภาพยนต์และฟิลม์ภาพยนตร์ย่อม เป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่แล้ว
๑๗..แต่หากปรากฏว่าขณะเข้าทำการตรวจค้นไม่มีการฉายภาพยนตร์ลามกอนาจาร หากเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีหมายค้น ไม่มีหมายจับ การเข้าไปงัดห้องที่เก็บภาพยนตร์และฟิลม์ดังกล่าว ย่อมเป็นการทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า ทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งห้องดังกล่าวอันเป็นความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ตาม ปอ มาตรา ๘๓,๓๕๘ และเป็นการร่วมกันเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยกระทำการใดๆอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์โดยปกติสุขและโดยไม่มีเหตุอันควรเข้าไปในเคหสถานของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยไม่มีเหตุอันควรอันเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกตาม ปอ มาตรา ๘๓,๓๖๒,๓๖๔,๓๖๕(๒) อันเป็นภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดกฎหมาย เป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง การขัดขวางไม่ให้ตำรวจงัดกุญแจเข้าไปตรวจค้นภายในห้อง ย่อมเป็นการป้องกันตามกฎหมาย หากกระทำการพอสมควรแก่เหตุย่อมเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ ตาม ปอ มาตรา ๖๘ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้างัดห้องโดยไม่มีหมายจับหมายค้น ย่อมเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้หนึ่งผู้ใดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ หากปรากฏว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการแกล้งเพื่อให้บุคคลใดต้องรับโทษ ก็เป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๐๐ วรรคสองได้
๑๘.คำว่า “ เจ้าบ้าน “ ตาม ปวอ มาตรา ๙๒(๕) หมายถึงผู้เป็นหัวหน้าของบุคคลที่พักอาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น ตลอดถึงคู่สมรสของผู้เป็นหัวหน้าเท่านั้น เพราะบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบในการครอบครองบ้าน และปกครองผู้อยู่อาศัยภายในบ้านหลังนั้นหาได้รวมถึงทุกคนที่อยู่ในบ้านไม่
๑๙. การค้นในที่รโหฐานซึ่งไม่ใช่ที่สาธารณะที่ประชาชนทุกคนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ โดยผู้ถูกจับเป็น “ เจ้าบ้าน” และการจับกุมนั้นมีหมายจับหรือเป็นกรณียกเว้นที่สามารถจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายจับตาม ปวอ มาตรา ๗๘ เป็นข้อยกเว้นที่สามารถเข้าตรวจค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นตาม ปวอ มาตรา ๙๒(๕) นั้น เมื่อตามทะเบียนบ้านเกิดเหตุ บิดาจำเลยเป็นหัวหน้า จึงเป็น “ เจ้าบ้าน” ส่วนจำเลยอยู่ในฐานะเป็นบุตร จำเลยจึง “ไม่” ได้อยู่ในฐานะเป็นเจ้าบ้าน กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ปวอ. มาตรา ๙๒(๕) ที่สามารถจับกุม “ เจ้าบ้าน” ได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น การที่ผู้เสียหายกับพวกเข้าไปจับกุมจำเลยในบ้านดังกล่าวตามหมายจับแต่ไม่มีหมายค้น ทั้งผู้เสียหายกับพวกก็ไม่ใช่พนักงานตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่จะทำการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมาย (คำพิพากษาฏีกานี้ตัดสินเมื่อพ.ศ.๒๕๓๖ซึ่งสมัยก่อนตำรวจชั้นผู้ใหญ่คือหัวหน้ากิ่งสถานีตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไปหรือหัวหน้าสถานีตำรวจที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่า ถือเป็นตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่สามารถตรวจค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น แต่นับแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ การเข้าตรวจค้นต้องมีหมายค้นจากศาลเว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตาม ปวอ มาตรา ๙๒(๑)ถึง(๕)) ในกรณีนี้จึงเป็นการเข้าตรวจค้นโดยไม่ชอบมีความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนียวกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายตาม ปอ มาตรา ๘๓,๓๑๐ และเป็นการร่วมกันรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตและโดยไม่มีเหตุอันควร ตาม ปอ มาตรา ๘๓,๓๖๒,๓๖๔,๓๖๕(๒) เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฏหมายเป็นเหตุให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้รับความเสียหายตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ เป็นการจับกุมโดยไม่ชอบ ตาม ปวอ มาตรา ๘๑ เป็นการจับโดยไม่มีอำนาจ เป็นภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฏหมาย เป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงและถึงแล้ว การที่จำเลยชกเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเป็นการป้องกันสิทธิ์ของตน เป็นวิถีทางน้อยที่สุดที่จะกระทำและการกระทำได้สัดส่วนโดยการชกต่อยเพื่อป้องการบุกรุกและกระทำความผิดต่อเสรีภาพ จำเลยมีสิทธิ์ป้องกันตนให้พ้นจากภยันตรายที่เกิดจากการจับกุมโดยไม่ชอบ หากจำเลยต่อยผู้เสียหายจริงก็เป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิ์ของตนพอสมควรแก่เหตุ ไม่มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่และทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่
๒๐. โรงไม้เป็นที่พักอาศัยของยามที่โรงไม้หยุดดำเนินการ ภายในบริเวณโรงไม้ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าหรือด้านหลังย่อมไม่ใช่ที่สาธารณะที่ประชาชนทั่วไปมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ตาม ปอ มาตรา ๑(๓) แต่เป็นที่รโหฐานตาม ปวอ มาตรา ๒(๑๓)
๒๑. แม้โจทก์ร่วมมีอำนาจจับกุมจำเลยเพราะเป็นกรณีมีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่าจำเลยได้กระทำผิดและแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ตามระเบียบแล้วตาม ปวอ มาตรา๗๘(๔)ตามกฎหมายเก่าก่อนปีพ.ศ. ๒๕๔๗ แต่การจับกุมดังกล่าวต้องไม่ใช่การจับกุมในที่รโหฐาน เพราะตาม ปวอ มาตรา ๘๑ บัญญัติว่า จะมีหมายจับหรือไม่ก็ตามห้ามไม่ให้จับกุมในที่รโหฐานเว้นแต่ได้ทำตามบทบัญญัติว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน คือเว้นแต่เข้าข้อยกเว้นที่สามารถตรวจค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นตาม ปวอ มาตรา ๙๒(๑)ถึง(๕)
๒๒.ซึ่งพฤติกรรมของโจทก์ร่วมก็ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะสามารถเข้าตรวจค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น การที่โจทก์ร่วมกับพวกเข้าจับกุมจำเลยในที่รโหฐาน เป็นการกระทำโดยไม่ชอบ ปราศจากอำนาจที่จะกระทำได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ แต่เป็นการร่วมกันรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตและโดยไม่มีเหตุอันควร ตาม ปอ มาตรา ๘๓,๓๖๒,๓๖๔,๓๖๕(๒) เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฏหมายเป็นเหตุให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้รับความเสียหายตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ เป็นการจับกุมโดยไม่ชอบ ตาม ปวอ มาตรา ๘๑ เป็นการจับโดยไม่มีอำนาจ เป็นภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฏหมาย เป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงและถึงแล้ว การที่จำเลยต่อสู้ขัดขวางและทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเป็นการป้องกันสิทธิ์ของตน เป็นวิถีทางน้อยที่สุดที่จะกระทำและการกระทำได้สัดส่วนโดยการชกต่อยเพื่อป้องการบุกรุกและกระทำความผิดต่อเสรีภาพ จำเลยมีสิทธิ์ป้องกันตนให้พ้นจากภยันตรายที่เกิดจากการจับกุมโดยไม่ชอบ หากจำเลยต่อยผู้เสียหายจริงก็เป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิ์ของตนพอสมควรแก่เหตุ ไม่มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่และทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ แม้จำเลยต่อสู้ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายโจทก์ร่วมจริง การกระทำของจำเลยก็เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฏหมาย
๒๓.. การที่สิบตำรวจตรี ส. กับพวกแต่งกายในเครื่องแบบร่วมกันจับกุมผู้ลักลอบเล่นการพนัน โดยก่อนจับกุมไปขอแบ่งรายได้ที่เก็บจากการเล่นการพนันจาก ก. แต่ ก. ปฏิเสธ สิบตำรวจตรี ส. จึงพูดทำนองข่มขู่ เป็นการเรียก รับ ทรัพย์สินอื่นใดสำหรับตนเองกับพวกโดยไม่ชอบ เพื่อละเว้นการกระทำการตามหน้าที่ที่จะเข้าจับกุมผู้ลักลอบเล่นการพนัน อันเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๔๙และเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยไม่ชอบ ข่มขืนใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองกับพวกตาม ปอ มาตรา ๑๔๘ เป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยทุจริตตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ เพื่อเป็นการตอบแทนในการที่จะไม่เข้าจับกุม การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ไปในที่มีการลักลอบเล่นการพนันโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้วร้องตะโกนให้พวกเล่นการพนันหลบหนี โดยไม่ได้เข้าจับกุมบุคคลเหล่านั้นแต่อย่างใด แต่ได้ยึดเครื่องมือในการเล่นการพนันและเงินสดโดยไม่ได้ทำบันทึกการยึดของกลางไว้ การกระทำดังกล่าวหาใช่การกระทำในหน้าที่ในการจับกุมผู้ลักลอบเล่นการพนันไม่ เพราะหากเป็นการกระทำตามหน้าที่ การร้องตะโกนให้ผู้กระทำความผิดหลบหนีไม่ใช่วิสัยที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะพึงกระทำ เพราะตนมีหน้าที่ในการจับกุมไม่ใช่ร้องเตือนให้คนกระทำความผิดหลบหนี แม้การตรวจยึดของกลางจะเป็นส่วนหนึ่งของการจับกุมก็ตาม แต่การร้องบอกให้ผู้กระทำผิดหลบหนีย่อมไม่ใช่การกระทำตามหน้าที่ เพราะตำรวจมีหน้าที่ต้องจับกุมผู้กระทำความผิดไม่ใช่ร้องเตือนให้ผู้กระทำผิดหลบหนี หากจะมีผู้หนึ่งผู้ใดขัดขืนหรือทำร้ายไม่ให้จับกุมย่อมไม่ใช่การต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่
๒๔. การไม่แต่งเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ตำรวจลำพังเพียง สวมกางเกงขายาวสีกากี สวมเสื้อยึดคอกลมสีขาวเข้าไปขอตรวจค้นตัวจำเลยโดยแจ้งว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยไม่ได้แต่งเครื่องแบบตำรวจหรือแสดงหลักฐานให้เห็นว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่กระทำการตามหน้าที่ ย่อมทำให้ผู้ถูกตรวจค้นเข้าใจผิดไปได้ เมื่อไม่รู้จักกันมาก่อน ไม่อาจทราบได้แน่นอนว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจจริงหรือไม่อย่างไร เป็นกรณีหากข้อเท็จจริงมีอยู่จริงว่าชายดังกล่าวไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจจริงแต่มาขอทำการตรวจค้นจับกุม จำเลยย่อมมีสิทธิป้องกันสิทธิ์ในเนื้อตัวร่างกายของจำเลยได้ หากเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุจำเลยไม่ต้องรับโทษ แม้ข้อเท็จจริงนั้นไม่มีอยู่จริงคือไม่มีคนร้ายที่ปลอมเป็นตำรวจแต่คนที่ขอตรวจค้นนั้นเป็นตำรวจจริงๆ แต่จำเลยสำคัญผิดว่าข้อเท็จจริงนั้นมีอยู่จริงคือสำคัญผิดว่าไม่ใช่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถตรวจค้นจับกุมได้ จึงได้เข้าทำร้าย การกระทำของจำเลยย่อมไม่มีความผิด ตาม ปอ มาตรา ๖๒ แม้จำเลยชกต่อยใช้มีดแทงเพื่อขัดขวางไม่ให้เข้าตรวจค้นจับกุม ก็หามีความผิดฐานต่อสู่ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่และพยายามฆ่าเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่
๒๕. แม้ชั้นสอบสวนให้การรับสารภาพฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ แต่บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนเป็นพยานบอกเล่า ไม่ได้ทำต่อหน้าศาลโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลยตาม ปวอ มาตรา ๑๗๒ วรรคแรก ไม่มีการถามค้านเพื่อกระจายข้อเท็จจริงดังกล่าวให้ปรากฏแก่ศาล โดยลำพังแล้วคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังลงโทษจำเลยได้
๒๖..การที่ศาลชั้นต้นลดโทษและกำหนดโทษให้จำเลย แต่คำนวณโทษไม่ถูกต้องครบถ้วน เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ฏีกาในปัญหานี้ จึงเป็นกรณีโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฏีกา “ ขอให้ศาลพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย “ ศาลฏีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามโทษจำคุกที่ถูกต้องได้เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มโทษต้องห้ามตาม ปวอ มาตรา ๒๑๒ และเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๒วรรคแรก เพราะโจทก์ไม่ได้ฏีกาขอให้เพิ่มโทษหรือปรับบทกฏหมายให้ถูกต้องเพื่อลงโทษจำเลยให้ถูกต้องตามฐานความผิดและถือว่าเป็นเรื่องโจทก์ไม่ประสงค์ขอให้ลงโทษ ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๒วรรค ๔
๒๗..การกระทำที่จะเป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ ต้องเป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานที่มีอำนาจโดยได้รับการแต่งตั้งตามวิธีการที่กฎหมายให้อำนาจและกำหนดไว้
๒๘. พรบ.กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. ๒๔๙๗ มาตรา ๑๖(๒) บัญญัติให้ กองอาสารักษาดินแดนมีหน้าที่ทำหน้าที่ตำรวจรักษาความภายในท้องที่ร่วมกับพนักงานปกครองหรือตำรวจ โดยใน มาตรา ๒๙ เจ้าหน้าที่หรือสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในระหว่างการทำการในหน้าที่ “ ให้ถือว่า “ เป็น “ เจ้าพนักงาน” ตามกฎหมายลักษณะอาญา บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ผู้เสียหายทำงานร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ จึงจะมีอำนาจตามกฎหมาย และให้ถือว่าผู้เสียหายเป็น “ เจ้าพนักงาน” เมื่อปรากฏว่าผู้เสียหายมีเพียงหน้าที่ เพียงสกัดกั้นผู้กระทำความผิดต่อกฎหมาย แต่ไม่มีอำนาจจับกุม หากจะจับต้องมีเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานฝ่ายปกครองอยู่ด้วย การที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับผู้เสียหายในการจับกุมร่วมกับผู้เสียหาย ผู้เสียหายจึง “ไม่ใช่” เจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ จึงไม่อาจเกิดความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ได้
๒๙.ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่าเมื่อไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานฝ่ายปกครองอยู่ด้วยในขณะจับกุม แต่เป็นการเข้าจับกุมโดยลำพัง เมื่อไม่มีเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่อยู่ด้วยก็ไม่อาจถือได้ว่ากองอาสารักษาดินแดนเป็น “ผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่” ตามปอ มาตรา ๑๓๘ และหากถูกทำร้ายขณะจับกุมก็ไม่ใช่การทำร้ายผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ตาม ปอ มาตรา ๒๘๙(๓),๒๙๖ได้ ทั้งเมื่อไม่มีอำนาจจับกุมการเข้าจับกุมหากไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าหรือเข้าข้อยกเว้นที่ราษฏร์สามารถจับราษฏร์ด้วยกันเองได้ตาม ปวอ มาตรา๗๙,๘๐,๘๒ แล้วย่อมเป็นความผิดฐานหน่วงเหนียวกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายตาม ปอ มาตรา ๓๑๐ เมื่อไม่ใช่ “ เจ้าพนักงาน” จึงไม่อาจมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฏหมายโดยประการให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ได้
๓๐. การชักชวนผู้โดยสารให้ใช้บริการแท็กซี่ของจำเลยที่ ๑ แม้ทำให้แท็กซี่ที่อยู่ในความควบคุมของท่าอากาศยานขาดรายได้ไปบ้าง เมื่อไม่ปรากฏว่ารบกวนผู้โดยสารให้ได้รับความเดือดร้อนรำคาญแต่อย่างใด เป็นเพียงการชักชวนผู้โดยสารให้ใช้บริการแท็กซี่ของจำเลยที่ ๑ แม้ทำให้แท็กซี่ที่อยู่ในความควบคุมของท่าอากาศยานขาดรายได้ไปบ้าง ก็ไม่ถือมีความผิดรบกวนผู้โดยสารตามกฎกระทรวง ฉบับ ๒ พ.ศ. ๒๕๒๘ ข้อ ๘(๖)ง ออกตามความในพรบ. การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔(๒)
๓๑.นาย ต. หัวหน้าฝ่ายเวรรักษาความปลอดภัยเป็น “ พนักงาน” ตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่องแต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อปฏิบัติการตามพรบ.การท่าอากาศยานต์แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ วันที่ ๖ กพ ๒๕๓๐ ข้อ ๒.๑ แต่งตั้งให้หัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยเป็น “ เจ้าพนักงาน” ตามกฏหมาย
๓๒.การที่นาย ต.สั่งให้ อ. กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยช่วยกันไล่จำเลยทั้งหกออกไปจากบริเวณดังกล่าว หากไม่ยอมออกไปให้ทำการจับกุม ต่อมา ได้รับแจ้งว่า อ. กำลังถูกรุมทำร้าย จึงไปที่เกิดเหตุ เมื่อถึงที่เกิดเหตุ พวกจำเลยหลบหนี แสดงว่า ต. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานไม่ได้เข้า “จับกุม” จำเลยทั้งหกหรือ “ควบคุม”การจับกุมด้วยตัวเอง” เพียงแต่ ต. อนุญาตให้ อ. ณ. และ ย. ซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานเข้าทำการจับกุม ไม่อาจถือได้ว่า ต. เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือกระทำการตามหน้าที่ เพราะ ต. ไม่ได้เข้าจับกุมจำเลย เมื่อไม่มีเจ้าพนักงานปฏิบัติการหรือกระทำการตามหน้าที่อยู่ด้วยขณะจับกุม การที่ อ,ณและ ย,เข้าจับกุมจำเลยที่ ๑ จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานในการที่เจ้าพนักงานปฏิบัติหรือกระทำการตามหน้าที่ตาม ปอ มาตรา ๑๓๘วรรคสอง,๒๘๙(๓),๒๙๖ แต่เป็นการจับกุมที่ไม่มีอำนาจ เป็นการประทุษร้ายอันละเมิดกฏหมาย เป็นภยันตรายที่ใกล้ถึงกำลังถึงแม้จำเลยทั้งหกต่อสู้ขัดขวาง ถือเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายไม่เกินสมควรกว่าเหตุ โดยปรากฏตามรายงานการชันสูตรบาดแผลว่าผู้เสียหายทั้งสามได้รับอันตรายจากการเข้าจับกุมเป็นรอยถลอกและบาดแผลเล็กน้อยบริเวณแขน ข้อมือและขมับ การกระทำจำเลยทั้งหกไม่เป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายผู้ต้องช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เพราะในการปฏิบัติการตามหน้าที่ไมได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานในอันที่จะมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนตน
๓๓. เหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้ เจ้าพนักงานต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการรบกวนผู้โดยสารที่จะต้องถูกจับกุมหรือไม่ บุคคลอื่นหรือผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานไม่อาจวินิจฉัยได้ ดังได้เห็นว่าในคดีนี้ผู้จับกุมวินิจฉัยผิดพลาดและเข้าจับกุมโดยไม่มีอำนาจ แม้คดีในส่วนจำเลยที่สามถึงที่สุด โดยจำเลยที่สามไม่อุทธรณ์ฏีกา แต่เป็นเหตุในลักษณะแห่งคดี ศาลฏีกาเห็นสมควรยกฟ้องไปถึงจำเลยที่สามที่ไมได้อุทธรณ์ฏีกาได้ได้ตาม ปวอ มาตรา ๒๑๓.๒๒๕
๓๔.เป็นอุทธาหรณ์สำหรับคนที่ไม่มีอำนาจแต่อยากมีอำนาจ เช่น อส ตำรวจบ้าน ทหาร หน่วย ๑๒๓ หรือคนที่เข้าช่วยตำรวจ โดยลำพังแล้วบุคคลเหล่านี้ไม่มีอำนาจในการจับกุม เว้นเป็นความผิดซึ่งหน้าที่คนทั่วไปก็สามารถเข้าจับกุมได้ การที่จะมีอำนาจในการจับกุมต้องมีเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานฝ่ายปกครองอยู่ด้วยจึงมีอำนาจในฐานะเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน สมัยผมรับราชการอยู่ที่จังหวัดหนึ่ง ตำรวจไม่ยอมจับกุมฝ่ายปกครองใช้ อส ช่วยในการจับกุม อส ขึ้นบนท้ายรถกระบะแล้วใช้อาวุธปืนไล่ยิงเพื่อจับกุมคิดว่าตนเองมีอำนาจ แม้แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจเองก็ยังไม่มีอำนาจแบบนี้ ผลที่สุด อส ถูกฟ้องพยายามฆ่า เป็นอุทธาหรณ์สำหรับคนที่ไม่มีอำนาจแต่อยากมีอำนาจคิดว่าตัวเองมีอำนาจทั้งที่ไม่มีกฏหมายรองรับ
๓๕.การที่จำเลยกับ ศ. มีอาวุธปืนร้ายแรงคนละกระบอกไม่ได้ร่วมกันในการกระทำความผิดอื่น เมื่อถูกเจ้าพนักงานล้อมจับต่างก็วิ่งหลบหนีเจ้าพนักงานเพื่อให้พ้นการจับกุมโดยต่างคนต่างไป แสดงว่าไม่มีเจตนาร่วมกันในการกระทำความผิด แม้จะไปในทิศทางเดียวกัน ก็เป็นเรื่องที่ไม่มีทางเลือกเพราะถูกไล่จับต้องพยายามหลบหนีให้ได้ เมื่อมีทางหนีได้ทางเดียวก็จำต้องไปในทิศทางเดียวกัน การไปในทิศทางเดียวกันไม่ได้แสดงว่ามีเจตนาร่วมกัน ทั้งยังได้ความว่าต่างคนต่างหลบหนีโดยไปคนละที่และไปห่างกัน ดังนั้นการที่ ศ. ใช้อาวุธปืนยิงเจ้าพนักงานที่เข้าทำการจับกุมโดยจำเลยไม่ได้ใช้อาวุธปืนยิงด้วย จึงเป็นการกระทำ “ เฉพาะตัว” ของ ศ. จำเลยไม่มีความผิดฐานร่วมกับ ศ.ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน
๓๖. แม้ไม่สามรถระบุได้ว่าผู้ตายถูกจำเลยคนใดยิงถึงแก่ความตาย คงรับฟังได้ว่าไม่จำเลยคนใดคนหนึ่งหรืออาจเป็นทั้งสองคนยิงผู้ตาย เมื่อผู้ตายถูกกระสุนถึงแก่ความตาย การที่จำเลยทั้งสองต่างมีอาวุธปืนอาก้าซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงใช้ในการสงครามไปร่วมชิงทรัพย์ ส่อให้เห็นเจตนาจำเลยทั้งสองมีเจตนาใช้อาวุธปืนในการชิงทรัพย์ หากเจ้าทรัพย์ต่อสู้หรือมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมก็พร้อมจะใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิงต่อสู้ ถ้ามีเหตุการณ์คับขันเกิดขึ้นในการชิงทรัพย์จำเลยทั้งสองย่อมจะใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้หรือขัดขวาง ทั้งยังได้ความว่า จำเลยทั้งสองอยู่ด้วยกัน เมื่อยิงแล้วก็วิ่งไปขึ้นรถจักรยานยนต์ขับขี่หลบหนีไปด้วยกันโดยยิงปืนอีกหนึ่งชุดเพื่อไม่ให้เจ้าทรัพย์หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตาม พฤติการณ์ฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้ขัดขวางและยิงผู้ตายโดยเจตนาฆ่า
๓๗..การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเข้าจับกุมจำเลยที่ลักลอบพาคนต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย โดยขึ้นรถสารรถยนต์ของจำเลยจาก จังหวัดหนึ่ง เพื่อไปส่งอีกจังหวัดหนึ่ง จำเลยขับรถที่พาคนต่างด้าวพุ่งเข้าชนรถทางราชการ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ต่างกรรมต่างวาระอันเป็นความผิดใหม่ที่เกิดขึ้นนอกจากความผิดฐาน รู้ว่าเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตช่วยด้วยประการใดให้คนต่างด้าวพ้นจากการถูกจับกุม ตาม พรบ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๖๔ วรรคแรก คือเป็นความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่และฐานทำให้เสียทรัพย์ ตาม ปอ มาตรา ๑๓๘,๓๕๘(ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ทางราชการหรือใช้ในทางราชการ ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดทางอาญา คงมีแต่ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์)จึงเป็นความผิดเฉพาะฐานทำให้เสียทรัพย์เท่านั้น)อันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ปอ มาตรา ๙๑
๓๘. การที่จำเลยร่วมกันขับรถหลบหนีและพุ่งเข้าชนรถยนต์ของทางราชการเสียหาย จำเลยมีเจตนาที่จะกระทำขึ้นในวาระเดียวกันอันเป็นวิธีการอย่างหนึ่งเพื่อหลบหนีการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่กับความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นกรรมเดียวผิดกฏหมายหลายบท ตาม ปอ มาตรา ๙๐
๓๙.การที่จำเลยขับรถพุ่งชนรถทางราชการเพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุมยังเป็นความผิดฐาน ช่วยผู้อื่นซึ่งเป็นผู้กระทำผิดหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอันไม่ใช่ความผิดลหุโทษโดยช่วยด้วยประการใดๆเพื่อไม่ให้ถูกจับกุมตาม ปอ มาตรา ๑๘๙ ด้วย เป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานฐาน รู้ว่าเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตช่วยด้วยประการใดให้คนต่างด้าวพ้นจากการถูกจับกุม ตาม พรบ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๖๔ วรรคแรก ด้วย หากเป็นข้อสอบตอบฐานใดฐานหนึ่งถือว่าตอบไม่ครบทุกประเด็น
๔๐. การเป็นอันตรายสาหัสตาม ปอ มาตรา ๒๙๗(๘) ต้องป่วยเจ็บด้วยการทุกขเวทนาเกินกว่า ๒๐ วัน แต่ผู้เสียหายมีบาดแผลที่ต้นขาซ้ายด้านหลังรักษาตัวที่โรงพยาบาล ๑๑ วัน หลังจากนั้นกลับไปรักษาตัวที่บ้านและต้องไปทำแผลทุกวัน ในระหว่างรักษาบาดแผลผู้เสียหายที่ ๒ ยังสามารถทำงานได้ตามปกติแต่ต้องไปล้างแผลทุกวัน แสดงว่าไม่ได้ป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้ จึงไม่ได้รับอันตรายสาหัสตาม ปอ มาตรา ๒๙๗(๘) เพียงแต่เป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ปอ มาตรา ๒๙๕ จึงไม่อาจเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนได้รับอันตรายสาหัสตาม ปอ มาตรา ๒๙๗(๘)ได้ เมื่อผู้เสียหายถูกทำร้ายในขณะปฏิบัติการตามหน้าที่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำร้ายเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ตาม ปอ มาตรา ๒๙๖,๒๘๙(๒) และฐาน ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ตาม ปอ มาตรา ๑๓๘,๑๔๐
๔๑. คำว่า “ เป็นนายจับอย่างไงก็ได้ “ เป็นคำกล่าวในทำนองตัดพ้อต่อว่า ไม่ได้กล่าวว่า ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจกลั่นแกล้งจับกุมโดยที่ตนเองไม่ได้กระทำความผิด ไม่เป็นการดูหมิ่นผู้เสียหาย แต่ที่จำเลยกล่าวว่า “ทำเย็ดแม่” เป็นคำด่า อันเป็นการ “ดูหมิ่น” เจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ตาม ปอ มาตรา ๑๓๖
๔๒. เมื่อผู้เสียหายจับกุมจำเลยในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่จำเลยดิ้นรนขัดขืนและชกหน้าผู้เสียหาย ๑ ครั้ง จนฟันหักมีเลือดไหลออกจากปาก จำเลยมีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย ตาม ปอ มาตรา ๑๓๘วรรคสอง และทำร้ายเจ้าพนักงานที่กระทำการตามหน้าที่ ตาม ปอ มาตรา ๒๙๖ อีกกระทงหนึ่ง
๔๓.แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเป็นร้อยเวรสอบสวนไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่รับผิดชอบด้านการจับกุมปราบปรามก็ตามและแม้ไปนั่งในร้านอาหารที่เกิดเหตุอันไม่ใช่สถานีตำรวจที่ตนต้องเข้าเวรสอบสวนก็ตาม แต่ เมื่อเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ย่อมมีอำนาจจับกุมผู้ที่กระทำความผิดซึ่งหน้าได้ตาม ปวอ มาตรา ๗๘ การที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ว่าจะอยู่ในชั้นยศใดหรือทำหน้าที่ใดย่อมมีอำนาจในการจับกุมผู้ที่กระทำความผิดซึ่งหน้าได้ แม้ขณะเกิดเหตุจะ ทำหน้าที่ร้อยเวรสอบสวนและไปนั่งในร้ายขายอาหารที่ไม่ใช่สถานีตำรวจก็ตามก็ ไม่ทำให้อำนาจจับกุมผู้กระทำผิดซึ่งหน้าหมดไป การที่คนร้ายเข้าชกต่อยไม่ยอมให้จับกุมย่อมเป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่และทำร้ายเจ้าพนักง่านที่กระทำการตามหน้าที่
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)