ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2560

“ประมาทหรือเจตนา”

๑. จำเลยที่ ๒ ใช้ปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงยิงไปที่กลุ่มผู้เสียหายซึ่งมีประมาณ ๑๐ คน โดยไม่ใยดีว่ากระสุนจะถูกใครหรือไม่ แม้เป็นการยิงเพียงนัดเดียวก็อาจถูกผู้อื่นถึงแก่ความตายได้ กระสุนปืนดังกล่าวถูกแขนขว่าผู้เสียหาย เป็นการกระทำที่เล็งเห็นผลของกากรกระทำ เป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่าตาม ปอ มาตรา ๕๙ วรรคสอง คำพิพากษาฏีกา ๓๔๓๑/๒๕๓๕
๒. จำเลยใช้ปืนที่มีอนุภาพร้ายแรงยิงเข้าไปในกลุ่มผู้ตาย ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่ากระสุนปืนอาจถูกบุคคลหนึ่งบุคคลใดภายในกลุ่มถึงแก่ความตายได้ เมื่อกระสุนปืนถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา คำพิพากษาฏีกาที่ ๔๙๒๔/๒๕๔๗
๓. จำเลยใช้ไม้สนที่เป็นไม้เนื้อแข็ง เส้นผ่าศนูย์กลาง ๖ เซ็นติเมตร ยาว ๗๐ เซนติเมตร มีขนาดโตพอดี ตีศรีษะผู้เสียหาย ๑ ที โดยเลือกตีที่ศีรษะผู้เสียหายซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ กะโหลกแต่เลือดคลั่งในสมองจากการตี แสดงตีโดยแรง จำเลยย่อมเล็งเห็นผลแห่งการกระทำของตนว่าอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ แพทย์ผู้รักษายืนยันว่า หากไม่ผ่าตัดสมองรักษาให้ทันท่วงที ผู้เสียหายอาจถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า จำเลยกับผู้เสียหายรับจ้างก่อสร้างสะพานด้วยกัน ก่อนเกิดเหตุจำเลยเร่งให้เพื่อร่วมงานคนหนึ่งและผู้เสียหายทำงาน แล้วโต้เถียงกับผู้เสียหาย จำเลยท้าทายให้ผู้เสียหายขึ้นมาชกต่อยกันบนคันคลอง แต่ผู้เสียหายยังคงนั่งก้มหน้าทำงานและพูดว่า “ จะลุ้นกับรุ่นพ่อ” หมายความว่าอยากชกต่อยกับจำเลยที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับพ่อผู้เสียหาย แม้คำพูดของผู้เสียหายนี้ไม่เหมาะสมบ้าง แต่ก็เป็นเพียงการยั่วโทสะจำเลยเท่านั้น การที่จำเลยหยิบไม้เดินลงไปตีศีรษะผู้เสียหายในขณะนั้น ไม่ใช่การกระทำโดยบันดาลโทสะ คำพิพากษาฏีกาที่ ๗ / ๒๕๔๙
๔. ฏีกาของโจทก์ไม่ได้มีข้อความตอนใดโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่วินิจฉัยว่าพยานโจทก์และโจทก์ร่วมฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดฐานปลอมตั๋วเงินเพราะข้อความในฏีกาของโจทก์ล้วนแต่ยกเหตุผลโต้แย้งว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดฐานใช้ตั๋วเงินปลอม แต่มีข้อความตอนท้ายฏีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกับพวกปลอมตั๋วเงิน ฏีกาของโจทก์ในข้อหาร่วมกันปลอมตั๋วเงินเป็นฏีกาไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปวอ มาตรา ๒๑๖วรรคแรก จำเลยนำเช็คซึ่งเป็นตั๋วเงินปลอมเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินแทนนางยุพาโดยไม่ทราบว่าเป็นตั๋วเงินปลอม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกระทำโดยไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด ขาดเจตนาในการกระทำความผิดฐานใช้ตั๋วเงินปลอมตาม ปอ มาตรา๒๖๘วรรคแรก ,๒๖๖(๔),๕๙วรรคสาม,วรรคสองและวรรคหนึ่ง จำเลยไม่มีความผิดฐานร่วมกับพวกใช้ตั๋วเงินปลอม คำพิพากษาฏีกาที่ ๑๗๖๑/๒๕๕๒
๕. คำเบิกความและคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยได้ความว่า ผู้ตายชอบเล่นอาวุธปืน บางครั้งเอากระสุนออกจากลูกโม้แล้วมาจ่อศีรษะตนเองหรือผู้อื่น วันเกิดเหตุผู้ตายเอาอาวุธปืนมาเล่นอีก ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะที่ผู้ตายเอาอาวุธปืนมาจ่อที่ศีรษะตัวเอง จำเลยเข้าแย่งปืนเป็นเหตุให้ปืนลั่นนั้น ผู้ตายจะยิงตนเองหรือผู้ตายเมาสุราไม่ได้สติ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้หรือไม่รู้ว่าอาวุธปืนดังกล่าวบรรจุกระสุนปืนหรือไม่ ดังนั้น การที่จำเลยเข้าแย่งอาวุธปืนในสถานะการณ์ดังกล่าว ถือว่าจำเลยกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาใช้ให้เพียงพอไม่ อันเป็นการกระทำโดยประมาทตาม ปอ มาตรา ๕๙ วรรคสี่ การที่จะอ้างว่าเป็นการกระทำความผิดด้วยความจำเป็นนั้น ต้องเป็นเรื่องการกระทำความผิดโดยเจตนา แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดโดยประมาทจึงไม่ใช่การกระทำความผิดด้วยความจำเป็น คำพิพากษาฏีกาที่ ๗๒๒๗/๒๕๕๓
๖. ก่อนเกิดเหตุจำเลยขับรถกระบะแซงรถจักรยานยนต์ของ ป. ล้ำเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนเข้าไปในช่องทางเดินรถของจำเลย ๕๐ เซนติเมตร เป็นเหตุให้รถชนกัน จำเลยจึงขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหายและผู้อื่นถึงแก่ความตาย แม้ผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดไป ผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยสำหรับความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๙๑ ตาม ปวอ มาตรา ๒(๔) มารดาผู้ตายจึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ปวอ มาตรา ๕(๒) ไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ปวอ มาตรา ๓๐ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีฝ่ายใดฏีกา ศาลฏีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๕วรรคสอง,๒๒๕ คำพิพากษาฏีกาที่ ๒๘๖๙/๒๕๕๓
๗. จำเลยขับรถจักรยานยนต์ไม่มีไฟส่องหน้ารถในเวลาพลบค่ำมีแสงส่องไม่เพียงพอด้วยความเร็วสูงโดยประมาทไม่ลดความเร็วเมื้อใกล้ทางโค้งเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนถูกถังน้ำที่ผู้ตายถืออยู่เป็นเหตุให้ผู้ตายล้มไปถูกรถยนต์อื่นชนและทับถึงแก่ความตาย กรณีเช่นนี้ถือว่าความตายเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลย จำเลยมีความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาท คำพิพากษาฏีกาที่ ๒๓๓๖/๒๕๔๘
๘. จำเลยจอดรถบรรทุกสิบล้อบรรทุกรถแมคโฮ โดยมีแขนของรถแมคโฮยื่นออกมาด้านท้ายรถ เกินความยาวตัวรถบริเวณริมถนน โดยไม่จัดให้มีโคมไฟสัญญาณหรือเครื่องหมายที่ต้องแสดงในกรณีจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถในลักษณะกีดขวางทางจราจร เป็นเหตุให้ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนแขนแม็คโฮอย่างแรงได้รับอันตรายสาหัส แสดงจำเลยจอดรถด้วยความประมาทขาดจิตสำนึก ขาดความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้ร่วมใช้ถนนรายอื่นจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายผู้อื่น พฤติการณ์เป็นเรื่องร้ายแรง ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษเหมาะสมแล้ว เมื่อจำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายเป็นการบรรเทาผลร้าย ประกอบจำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อนเห็นควรลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก การที่จำเลยไม่จัดให้มีโคมไฟสัญญาณแสงแดงที่ตอนปลายสุดของรถบรรทุกและจอดรถบรรทุกดังกล่าวไม่ได้ติดโคมไฟสัญญาณแสงแดงไว้ข้างทางริมถนนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ชนทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส การที่จำเลยไม่ได้จัดโคมไฟสัญญาณเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส เป็นกรรมเดียวผิดกฏหมายหลายบทต้องลงโทษตามบทกฏหมายที่หนักสุด ตาม ปอ มาตรา ๙๐ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตาม ปอ มาตรา ๓๐๐ และฐานไม่จัดโคมไฟสัญญาณตามพรบ.จราจรทางบกฯ มาตรา ๖๑,๑๕๑ เป็นสองกรรมไม่ถูกต้อง ศาลฏีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญญาหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน ศาลฏีกาหยิบยกวินิจฉัยเองได้ แม้ไม่มีคู่ความฏีกา ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๕,๒๒๕ คำพิพากษาฏีกาที่ ๑๒๐๐๙/๒๕๔๗
๙. จำเลยและ ส. จุดไฟเผาหญ้าในสวนของตนโดยจุดแล้วดับในร่องสวนทีละร่องไล่กันไปจนถึงร่องทีไล่กันไปจนถึงร่องที่เกิดเหตุ จำเลยกลับไปก่อนปล่อยให้ ส. กับ ต.ช่วยกันดับไฟที่จุด ไม่ปรากฏว่าการดับไฟที่เหลือเกินกำลังของ ต และ ส ที่จะช่วยกันดับไฟได้ การที่เกิดไฟลุกขึ้นภายหลังลุกลามไหม้สวนข้างเคียงเสียหายเกิดจากความประมาทของ ส ที่ไม่ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอในการดับไฟ หาใช่เกิดจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิด คำพิพากษาฏีกา๖๕๑๑/๒๕๓๔
๑๐. จำเลยขับรถบรรทุกเสาไฟฟ้าโดยใช้รถพ่วง เมื่อล้อรถพ่วงหลุดทำให้เสาตกลงมาข้างถนนจนกระทั้งค่ำแล้ว จำเลยไม่ได้จัดให้มีโคมไฟหรือเครื่องสัญญาณอย่างอื่นเพื่อให้ผู้ใช้ถนนเห็นเสาที่ขวางถนนนั้นอยู่ เป็นเหตุให้รถที่แล่นมาชนเสาไฟฟ้ามีคนตายและบาดเจ็บ ถือได้ว่าจำเลยทำโดยประมาท ผลการกระทำเกิดที่จำเลยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นได้ แต่จำเลยไม่กระทำ จำเลยมีความผิด คำพิพากษากีกาที่ ๑๙๐๙/๒๕๑๖
ข้อสังเกต ๑.การกระทำโดยเจตนา หมายถึง การกระทำที่ผู้กระทำรู้สำนึกในการกระทำและ “ในขณะเดียวกัน “ ผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลว่าเมื่อกระทำการนั้นแล้วผลย่อมเกิดขึ้น นั้นคือเป็นทฤษฏีผลโดยตรงที่ หากไม่ทำ ผลของการกระทำไม่เกิด เมื่อผลเกิดถือเป็นผลโดยตรงจากการกระทำ
๒.การกระทำโดยประมาท เป็นการกระทำโดยไม่เจตนาแต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุบคลในภาวะนั้นต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ ปอ มาตรา ๕๙ วรรค สี่
๓., ปืนเป็นอาวุธร้ายแรงซึ่งอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ เมื่อนำมาใช้ยิงถือมีเจตนาฆ่า ดังนั้นการนำอาวุธปืนไปยิงใส่ในกลุ่มผู้เสียหายซึ่งมีประมาณ ๑๐ คน โดยไม่เจาะจงว่าประสงค์ยิงผู้ใด การกระทำของจำเลยจึงไม่ใช่การกระทำโดย “ ประสงค์ต่อผล “ ว่า “ตั้งใจ” จะยิงให้ถูกบุคคลใดบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะ แต่การที่ยิงเข้าไปในกลุ่มคนโดยไม่ใยดีว่ากระสุนจะถูกใครหรือไม่ แม้เป็นการยิงเพียงนัดเดียวก็อาจถูกบุคคลใดบุคคลหนึ่งภายในกลุ่มให้ถึงแก่ความตายได้ เมื่อกระสุนปืนดังกล่าวกระสุนปืนดังกล่าวถูกแขนผู้เสียหาย จึงเป็นการกระทำที่เล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่า เมื่อยิงเข้าไปในกลุ่มคนจำนวนมาก กระสุนปืนย่อมถูกคนใดคนหนึ่งภายในกลุ่มได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าโดยเจตนาเล็งเห็นผล ตามปอ มาตรา ๕๙วรรคสอง ๘๐, ๒๘๘ แต่ไม่เป็นความผิดฐานกระทำการโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะใช้ปืนเช่นจำเลยจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์โดยไม่เล็งหรือหันปากกระบอกไปไปที่นั้น จำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาใช่ให้เพียงพอไม่ เพราะการกระทำโดยประมาทต้องเป็นการกระทำที่”ไม่มีเจตนา” กระทำ ดังนั้นเมื่อจำเลย “มีเจตนา” ยิงเข้าไปในกลุ่มคนแม้ไม่ประสงค์ให้ถูกบุคคลหนึ่งบุคคลใดก็ตาม ก็เป็นการกระทำแล้วโดยเป็นการกระทำโดยเจตนาย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำได้ หาใช่เป็นการกระทำโดยประมาทแต่อย่างใดไม่
๔.การยิงปืนเข้าไปในกลุ่มคนแล้วถูกบุคคลหนึ่งบุคคลใดถึงแก่ความตาย ถือว่า “เป็นการกระทำของผู้ยิงแล้วจะอ้างว่าไม่เจตนายิงผู้ตายหาได้ไม่ เพราะการยิงเข้าไปในกลุ่มบุคคลย่อม “ เล็งเห็นผล” ได้ว่ากระสุนปืนอาจถูกบุคคลหนึ่งบุคคลใดภายในกลุ่ม การที่มีคนในกลุ่มถูกกระสุนปืนถือเป็น “ ผลโดยตรง” จากการที่จำเลยยิงอาวุธปืนเข้าไปในกลุ่ม หากจำเลยไม่ยิงปืนเข้าไปในกลุ่มคน กระสุนปืนคงไม่ถูกผู้หนึ่งผู้ใด แต่เมื่อจำเลยยิงปืนเข้าไปในกลุ่มคนแล้วกระสุนถูกคนในกลุ่ม ถือเป็น “ ผลโดยตรง” จากการกระทำของจำเลย จำเลยต้องรับผิด 
๕.เมื่อยิงเข้าไปในกลุ่มบุคคลที่หลายคนยืนอยู่ใกล้กันย่อมเล็งเห็นผลได้ว่ากระสุนปืนอาจถูกบุคคลหนึ่งบุคคลใดภายในกลุ่มนั้นได้ เมื่อยิงเข้าไปแล้วถูกบุคคลหนึ่งบุคคลใดภายในกลุ่มถึงแก่ความตายย่อมเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาย่อมเล็งเห็นผลได้ แต่กรณีดังกล่าวไม่ใช่การกระทำต่อต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลเกิดแก่บุคคลหนึ่งโดยพลาดตาม ปอ มาตรา ๖๐ แต่อย่างใดไม่เพราะการกระทำโดยพลาดเป็นกรณีที่มุ่งกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทำเกิดขึ้นแก่บุคคลที่อยู่ห่างไกลออกไปมิใช่ยืนใกล้กันหรือยืนติดกัน ถือเป็นการกระทำโดยพลาด แต่หากยิงไปในกลุ่มคนที่ยืนอยู่ใกล้กันย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าอาจถูกบุคคลใดภายในกลุ่มได้ ถือเป็นการฆ่าโดยเจตนาย่อมเล็งเห็นผล ไม่ใช่การฆ่าโดยพลาด 
๖.จำเลยใช้ไม้สนที่เป็นไม้เนื้อแข็ง เส้นผ่าศนูย์กลาง ๖ เซ็นติเมตร ยาว ๗๐ เซนติเมตร มีขนาดโตพอดี ขนาดไม้บอกให้รู้ว่ามีเจตนาเพียงทำร้ายหรือเจตนาฆ่า ดังนั้นในการบรรยายฟ้องต้องบรรยายฟ้องให้ศาลเห็นขนาดความกว้างยาวของไม้ที่ใช้เป็นอาวุธในการตีทำร้ายและต้องนำพยานสืบให้เห็นถึงขนาดของไม้ด้วยว่ามีขนาดกว้างยาวอย่างไร หากนำมาใช้ตีที่ศีรษะแล้วมีผลอย่างไร อาจทำให้ถึงแก่ความตายได้หรือไม่อย่างไร 
๗ การตีที่ ตีศีรษะผู้เสียหาย ๑ ที โดยเลือกตีที่ศีรษะผู้เสียหายซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ ทั้งที่มีโอกาสเลือกตีที่อื่นได้เพราะผู้เสียหายนั่งอยู่ ส่อให้เห็นว่ามีเจตนาฆ่า ต้องบรรยายฟ้องและนำสืบให้ศาลเห็นว่าศีรษะเป็นอวัยวะสำคัญอย่างไร หากถูกตีที่ศีรษะโดยแรงผลเป็นอย่างไร
๘. การที่ กะโหลกมีเลือดคลั่งในสมองจากการตี แสดงตีโดยแรง เมื่อตีโดยแรงที่ศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญทำให้ถึงแก่ความตายได้ ส่อให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย. จำเลยย่อมเล็งเห็นผลแห่งการกระทำของตนว่าอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ แพทย์ผู้รักษายืนยันว่า หากไม่ผ่าตัดสมองรักษาให้ทันท่วงที ผู้เสียหายอาจถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า
๙.ด้วยความเครารพในคำพิพากษาศาลฏีกา ขอมีความเห็นต่างจากคำพิพากษาโดยความเห็นส่วนตัวเห็นว่า ,การที่จำเลยโต้เถียงกับผู้เสียหาย จำเลยท้าทายให้ผู้เสียหายขึ้นมาชกต่อยกัน แม้ผู้เสียหายยังคงนั่งก้มหน้าทำงานและพูดว่า “ จะลุ้นกับรุ่นพ่อ” หมายความว่าอยากชกต่อยกับจำเลยที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับพ่อผู้เสียหาย คำพูดนี้ไม่ใช่เป็นเพียงการยั่วโทสะหรือท้าทายเท่านั้น แต่ยังเป็นการพูดทำนองว่าคิดดูให้ดีก่อนที่จะมาชกกับคนที่สูงอายุกว่าซึ่งผ่านอะไรมามากกว่ารวมทั้งผ่านการต่อสู้มามากกว่า หากคิดไม่ดีอาจเจ็บตัวได้ ในความเห็นส่วนตัวไม่น่าเป็นเพียงการยั่วโทสะเท่านั้นที่จะถือว่าผู้เสียหายไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดโดยน่าถือเป็นการยั่วยุท้าทายจำเลยให้ออกมาต่อสู้ ซึ่งน่าถือว่ามีส่วนร่วมในการกระทำความผิดเสียด้วยซ้ำไป แต่ศาลฏีกาวินิจฉัยว่าเป็น, คำพูดของที่ไม่เหมาะสมโดยเป็นการพูดยั่วโทสะจำเลยเท่านั้น ซึ่งแสดงว่าศาลมองว่าข้อความนี้ผู้เสียหายไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดอันจะทำให้ไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย แต่ผู้เสียหายไม่ได้มีส่วนร่วมในการทะเลาะวิวาทด้วยการยั่วยุด้วยคำพูด การที่จำเลยหยิบไม้เดินลงไปตีศีรษะผู้เสียหายในขณะนั้น ไม่ใช่การกระทำโดยบันดาลโทสะ เพราะถูกข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมจึงได้กระทำต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้นตาม ปอ มาตรา ๗๒ ที่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฏหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ 
๑๐. การอุทธรณ์ฏีกาคำพิพากษาต้องโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาว่ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งว่าไม่ชอบด้วยกฏหมายหรือข้อเท็จจริงอะไร ขัดกับพยานบุคคลหรือพยานเอกสารหรือพยานหลักฐานอื่นอย่างไร เพราะใน ปวอ มาตรา ๒๑๖ใช้คำว่า,”คัดค้าน” คำพิพากษาหรือคำสั่ง นั้นก็คือ การยื่นอุทธรณ์ฏีกาต้องคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ขัดกับข้อกฎหมายหรือขัดกับพยานหลักฐานใด ขัดกับพยานบุคคลใด การอุทธรณ์ฏีกาที่ไม่คัดค้านคำพิพากษาว่าไม่ชอบอย่างไรย่อมไม่เป็นอุทธรณ์ฏีกาที่ศาลสูงจะวินิจฉัยให้ เมื่อฏีกาของโจทก์ไม่ได้มีข้อความตอนใดโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่วินิจฉัยว่าพยานโจทก์และโจทก์ร่วมฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดฐานปลอมตั๋วเงินเพราะข้อความในฏีกาของโจทก์ล้วนแต่ยกเหตุผลโต้แย้งว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดฐานใช้ตั๋วเงินปลอม เมื่อไม่ได้โต้แย้งว่าคำพิพากษาไม่ชอบอย่างไรเท่ากับยอมรับ แม้ในตอนท้ายฏีกามีเพียงข้อความ ขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกับพวกปลอมตั๋วเงิน ฏีกาของโจทก์ในข้อหาร่วมกันปลอมตั๋วเงินเป็นฏีกาไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปวอ มาตรา ๒๑๖วรรคแรก 
๑๑.จำเลยนำเช็คซึ่งเป็นตั๋วเงินปลอมเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินแทนนางยุพาโดย “ไม่ทราบว่า “ เป็นตั๋วเงินปลอม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกระทำโดยไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด จะถือว่าจำเลยประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลแห่งการกระทำไม่ได้ ถือขาดเจตนาในการกระทำความผิดฐานใช้ตั๋วเงินปลอมตาม ปอ มาตรา๒๖๘วรรคแรก ,๒๖๖(๔),๕๙วรรคสาม,วรรคสองและวรรคหนึ่ง จำเลยไม่มีความผิดฐานร่วมกับพวกใช้ตั๋วเงินปลอม 
๑๒. เจตนาฆ่าหรือกระทำโดยประมาทต้องดูพฤติกรรมแต่ละคดีเป็นเรื่องๆไป ผู้ตายชอบเล่นอาวุธปืน บางครั้งเอากระสุนออกจากลูกโม้แล้วมาจ่อศีรษะตนเองหรือผู้อื่น วันเกิดเหตุผู้ตายเอาอาวุธปืนมาเล่นอีก ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะที่ผู้ตายเอาอาวุธปืนมาจ่อที่ศีรษะตัวเองนั้น จำเลยจะเข้าแย่งปืนเป็นเหตุให้ปืนลั่นนั้น หรือผู้ตายจะยิงตนเองหรือผู้ตายเมาสุราไม่ได้สติ หรือมีผู้อื่นยิงผู้ตาย จึงเป็นการวินิจฉัยในเชิงเป็นคุณกับจำเลยด้วยการยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ปวอ มาตรา ๒๒๗ เพราะไม่มีพยานยืนยันว่าผู้ตายเอาปืนจ่อศีรษะตัวเองเล่นหรือต้องการฆ่าตัวตายหรือจำเลยเอาปืนจ่อศีรษะผู้ตายแล้วผู้ตายต่อสู้ เมื่อไม่มีพยานยืนยันจึงต้องฟังในเชิงเป็นคุณแก่จำเลยหรือยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
๑๓. เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้หรือไม่รู้ว่าอาวุธปืนดังกล่าวบรรจุกระสุนปืนหรือไม่ เมื่อไม่ทราบแน่ชัดว่าอาวุธปืนมีกระสุนปืนหรือไม่ต้อง “สันนิษฐาน” ไว้ก่อนว่าอาวุธปืนมีกระสุนปืนซึ่งเป็นไปตามหลักสากลผู้ที่ใช้ปืนให้พึงละลึกอยู่เสมอว่าอาวุธปืนมีลุกกระสุนอยู่ไม่ว่าอาวุธปืนนั้นจะมีลูกกระสุนปืนหรือไม่ก็ตาม เป็นไปตามหลักแห่งความปลอดภัยตามกฎสากลของผู้ใช้ปืนโดยทั่วไป การที่จำเลยเข้าแย่งอาวุธปืนในสถานการณ์ดังกล่าวจึงต้องคิดหรือคาดหมายได้ว่ามีกระสุนปืนบรรจุในตัวปืน การเข้าไปแย่งปืนอาจทำให้ปืนลั่นได้ และเมื่อปืนลั่นกระสุนปืนอาจถูกจำเลยหรือบุคคลอื่นในบริเวณดังกล่าวได้ การที่จำเลยเข้าไปแย่งปืน ถือว่าจำเลยกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะผู้ใช้ปืนโดยทั่วไปจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้โดยไม่เข้าแย่งปืนที่อยู่ในมือของบุคคลอื่นทั้งที่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าอาวุธปืนดังกล่าวมีกระสุนปืนบรรจุอยู่หรือไม่ การที่จำเลยเข้าไปแย่งปืนถือเป็นการใช้ความระมัดระวังไม่เพียงพอ อันเป็นการกระทำโดยประมาทตาม ปอ มาตรา ๕๙ วรรคสี่ เมื่อเป็นการกระทำโดยประมาทคือไม่มีเจตนาในการกระทำความผิดแต่กระทำไปโดยปราศจากความระมัดระวังจึงไม่อาจอ้างว่ากระทำความผิดด้วยความจำเป็นได้ เพราะการกระทำความผิดด้วยความจำเป็น ต้องเป็นเรื่องการกระทำความผิดโดยเจตนา แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดโดยประมาทจึงไม่อาจอ้างว่าการกระทำความผิดด้วยความจำเป็นได้ 
๑๔. การที่จำเลยขับรถกระบะแซงรถจักรยานยนต์ของ ป. ล้ำเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนเข้าไปในช่องทางเดินรถของจำเลย ๕๐ เซนติเมตร เป็นเหตุให้รถชนกัน เป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะผู้ขับขี่รถจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ของการขับขี่รถและอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้โดยไม่ขับแซงรถคันหน้าล้ำเข้าไปในทางเดินรถที่แล่นสวนมา แต่จำเลยหาใช้ให้เพียงพอไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหายและผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตาม พรบ.จราจรทางบกฯมาตรา ๔๓,(๔),และปอ มาตรา ๒๙๑ มีข้อที่น่าสังเกตคือ ความผิดฐานประมาททำให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายในทางอาญานั้นมีไม่ได้หรือไม่มี นั้นก็คือในทางอาญาไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์โดยประมาทมีไม่ได้ในทางอาญา แต่ในทางแพ่งการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์ผู้อื่นเสียหายเป็นการละเมิดตาม ปพพ มาตรา ๔๒๐ แม้ผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดไปเพียงแต่ในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหาย หากผู้เสียหายมีส่วนในการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่ก่อให้เกิดความเสียหายด้วยแล้ว ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นฝ่ายก่อให้เกิดหยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงใด ตาม ปพพ มาตรา ๒๒๓,๔๔๒ 
๑๕.เมื่อผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยสำหรับความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๙๑ ตาม ปวอ มาตรา ๒(๔) มารดาผู้ตายจึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ปวอ มาตรา ๕(๒) ไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ปวอ มาตรา ๓๐ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีฝ่ายใดฏีกา ศาลฏีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๕วรรคสอง,๒๒๕ 
๑๖. จำเลยขับรถจักรยานยนต์ไม่มีไฟส่องหน้ารถในเวลาพลบค่ำมีแสงส่องไม่เพียงพอด้วยความเร็วสูงและไม่ลดความเร็วเมื้อใกล้ทางโค้งเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะผู้ขับขี่รถโดยทั่วไปจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ของการขับขี่ และจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้โดยหากรถไม่มีโคมไฟส่องหน้าต้องแก้ไขหาโคมไฟส่องหน้ารถมาใช้หรือมิเช่นนั้นก็ไม่นำรถออกไปขับขี่ในเวลากลางคืนที่ไม่มีแสงไฟหรือมีแต่ไม่เพียงพอ และเมื่อขับรถเข้าทางโค้งต้องลดความเร็วของรถให้ลดลงเพื่อให้รถสามารถเข้าโค้งได้ จำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาใช้ให้เพียงพอไม่จนเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนถูกถังน้ำที่ผู้ตายถืออยู่เป็นเหตุให้ผู้ตายล้มไปถูกรถยนต์อื่นชนและทับถึงแก่ความตาย กรณีเช่นนี้ถือว่าความตายเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลย เพราะหากจำเลยไม่ขับรถด้วยประมาทแล้วคงไม่เฉี่ยวชนถูกถังน้ำที่ผู้ตายถือ หากรถไม่เฉี่ยวชนถังน้ำที่ผู้ตายถืออยู่ผู้ตายคงไม่ล้มไปถูกรถยนต์อื่นชนและทับ หากผู้ตายไม่ล้มลงไปถูกรถชนและทับผู้ตายคงไม่ถึงแก่ความตาย จึงต้องถือว่าการที่ผู้ตายล้มลงไปถูกรถยนต์อื่นชนและทับถึงแก่ความตายเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยตาม “ทฤษฏีผลโดยตรง” จำเลยจึงต้องรับผิดชอบ จำเลยมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตาม ปอ มาตรา ๒๙๑ หากเป็นข้อสอบตอบแค่นี้ไม่พอ คำถามไม่ได้ถามว่าศาลฏีกามีคำพิพากษาอย่างไร แต่ถามว่าผิดอะไร จึงต้องตอบว่ามีความผิดฐานนำรถที่มีเครื่องอุปกรณ์และหรือส่วนควบที่ใช้ประจำรถไม่ครบถ้วนมาใช้ในการเดินรถ ขับรถในที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็น ไม่เปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามประเภท ลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง นำรถจักรยานยนต์มาใช้ในการเดินรถโดยไม่มีโคมไฟติดหน้ารถให้เห็นชัดเจนได้ในระยะ ๕๐ เมตร ไม่ลดความเร็วของรถเมื่อรถแล่นเข้าทางโค้ง ตามพรบ.จราจรทางบกฯ มาตรา ๖,๑๑,๖๙,๘๐(๓),๑๔๗,๑๔๘ เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทลงฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตาม ปอ มาตรา ๙๐,๒๙๑ซึ่งเป็นบทหนัก
๑๗. จำเลยจอดรถบรรทุกสิบล้อบรรทุกรถแมคโฮ โดยมีแขนของรถแมคโฮยื่นออกมาด้านท้ายรถ เกินความยาวตัวรถบริเวณริมถนน โดยไม่จัดให้มีโคมไฟสัญญาณหรือเครื่องหมายที่ต้องแสดงในกรณีจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถในลักษณะกีดขวางทางจราจร เป็นความผิดฐานไม่จุดไฟสัญญาณแสงสีแดงกรณีที่รถบรรทุกของยื่นเกินความยาวของตัวรถในเวลากลางคืน หรือติดธงแดงไว้ตอนปลายสุดของสิ่งของที่บรรทุกนั้นให้เห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เมตร ตามมาตรา๑๕ จอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางในที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ผู้ขับขี่สามารถมองเห็นรถได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เมตร โดยไม่เปิดไฟหรือแสดงแสงสว่างตามประเภท ลักษณะ เงื่อนไขตามที่ปรากฎในกฎกระทรวง มาตรา ๖๑,๖๒,๑๔๘,๑๕๑เป็นเหตุให้ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนแขนแม็คโฮอย่างแรงได้รับอันตรายสาหัส เป็นความผิดฐานกระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายและผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ตามพรบ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๓(๔) ปอ มาตรา ๓๐๐ กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทลงบทหนักตาม ปอ มาตรา ๓๐๐
๑๘.จำเลยจอดรถบรรทุกสิบล้อบรรทุกรถแมคโฮ โดยมีแขนของรถแมคโฮยื่นออกมาด้านท้ายรถ เกินความยาวตัวรถบริเวณริมถนน โดยไม่จัดให้มีโคมไฟสัญญาณหรือเครื่องหมายที่ต้องแสดงในกรณีจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถในลักษณะกีดขวางทางจราจร แสดงจำเลยจอดรถด้วยความประมาทขาดจิตสำนึก ขาดความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้ร่วมใช้ถนนรายอื่นจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายผู้อื่น พฤติการณ์เป็นเรื่องร้ายแรง ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษเหมาะสมแล้ว เมื่อจำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายเป็นการบรรเทาผลร้าย ประกอบจำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อนเห็นควรลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก 
๑๙.การที่จำเลยจำเลยจอดรถบรรทุกสิบล้อบรรทุกรถแมคโฮ โดยมีแขนของรถแมคโฮยื่นออกมาด้านท้ายรถ เกินความยาวตัวรถบริเวณริมถนน โดยไม่จัดให้มีโคมไฟสัญญาณหรือเครื่องหมายที่ต้องแสดงในกรณีจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถในลักษณะกีดขวางทางจราจร ไม่จัดให้มีโคมไฟสัญญาณแสงแดงที่ตอนปลายสุดของรถบรรทุกและจอดรถบรรทุกดังกล่าวไม่ได้ติดโคมไฟสัญญาณแสงแดงไว้ข้างทางริมถนนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ชนทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส การที่จำเลยไม่ได้จัดโคมไฟสัญญาณเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส เป็นกรรมเดียวผิดกฏหมายหลายบทต้องลงโทษตามบทกฏหมายที่หนักสุด ตาม ปอ มาตรา ๙๐ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตาม ปอ มาตรา ๓๐๐ และฐานไม่จัดโคมไฟสัญญาณตามพรบ.จราจรทางบกฯ มาตรา ๖๑,๑๕๑ เป็นสองกรรมไม่ถูกต้อง ศาลฏีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญญาหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน ศาลฏีกาหยิบยกวินิจฉัยเองได้ แม้ไม่มีคู่ความฏีกา ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๕,๒๒๕
๒๐.ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่าการไม่ติดตั้งสัญญาณโคมไฟไว้ท้ายรถซึ่งเป็นความผิดตาม พรบ. จราจรทางบกฯนั้นความผิดสำเร็จแล้วตั้งแต่ไม่ปฏิบัติการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้และไม่แน่ว่าการไม่กระทำการตามที่กฏหมายบัญญัติไว้จะเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือไม่อย่างไร ส่วนที่ว่าเมื่อกระทำการฝ่าฝืนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้วเกิดผลอย่างไร มีความผิดอะไรเกิดขึ้นต้องไปว่าเป็นอีกกรณีหนึ่ง น่าเป็นความผิดสองกรรม เป็นความเห็นส่วนตัวครับ 
๒๑..จำเลยและ ส. จุดไฟเผาหญ้าในสวนของตนโดยจุดแล้วดับในร่องสวนทีละร่องไล่กันไปจนถึงร่องทีไล่กันไปจนถึงร่องที่เกิดเหตุ จำเลยกลับไปก่อนปล่อยให้ ส. กับ ต.ช่วยกันดับไฟที่จุด ไม่ปรากฏว่าการดับไฟที่เหลือเกินกำลังของ ต และ ส ที่จะช่วยกันดับไฟได้ การที่เกิดไฟลุกขึ้นภายหลังลุกลามไหม้สวนข้างเคียงเสียหายเกิดจากความประมาทของ ส ที่ไม่ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอในการดับไฟ หาใช่เกิดจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิด 
๒๑.จำเลยขับรถบรรทุกเสาไฟฟ้าโดยใช้รถพ่วง เมื่อล้อรถพ่วงหลุดทำให้เสาตกลงมาข้างถนนจนกระทั้งค่ำแล้ว จำเลยไม่ได้จัดให้มีโคมไฟหรือเครื่องสัญญาณอย่างอื่นเพื่อให้ผู้ใช้ถนนเห็นเสาที่ขวางถนนนั้นอยู่ เป็นเหตุให้รถที่แล่นมาชนเสาไฟฟ้ามีคนตายและบาดเจ็บ ถือได้ว่าจำเลยทำโดยประมาท ผลการกระทำเกิดที่จำเลยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นได้ แต่จำเลยไม่กระทำ ถือได้ว่าการ “ งดเว้น” ของจำเลยเป็น “การกระทำ” ผิดต่อกฎหมาย จึงต้องถือว่าจำเลยกระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำเลยมีความผิด ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายได้รับอันตรายกายตาม ปอ มาตรา ๒๙๑,๓๙๐ พรบ.จราจรทางบกฯ มาตรา ๔๓(๔),๑๕๗

ไม่มีความคิดเห็น: