ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2560

“ได้มาระหว่างสมรสหรือไม่”

๑. เงินชดเชยเป็นเงินที่เกิดขึ้นเนื่องจากความตายได้มาหลังถึงแก่กรรม ไม่เป็นสินสมรส และไม่ใช่มรดก สิทธิ์ในการได้รับเงินช่วยเหลือเพื่อนเนื่องจากความตาย ไม่ใช่เงินที่มีอยู่แล้วในระหว่างที่มีชีวิตหรือถึงแก่กรรม แม้วิธีการที่จะได้เงินจำนวนนี้มาผู้ตายต้องชำระเงินในอัตราร่วมกับพนักงานคนอื่นๆเพื่อรวบรวมส่งให้ทายาทของพนักงานที่ถึงแก่กรรมรายก่อนๆ ก็ไม่ใช่มรดกที่ทายาทจะมาขอแบ่ง ส่วนเงินประกันชีวิตเกิดจากสัญญาระหว่างผู้ตายกับบุคคลภายนอกและจำเลยเพื่อใช้เงินแก่ผู้รับประโยชน์เนื่องจากการมรณะของผู้ตาย เป็นการประกันชีวิต สิทธิ์ตามสัญญาเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกันชีวิตถึงแก่กรรมจึงไม่ใช่มรดกของผู้ตายที่มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตายที่จะขอใช้สิทธิ์แบ่งได้ สัญญาประกันชีวิตระบุให้บุคคลภายนอกที่ไม่ใช่คู่สมรสเป็นผู้รับประโยชน์อันต้องบังคับตาม ปพพ มาตรา ๘๗๙วรรคสอง(ที่ถูกต้องน่าเป็นมาตรา ๘๙๗วรรคสอง)ที่กำหนดแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันเอาไว้ที่ได้ส่งไปแล้วจะเป็นทรัพย์สินส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกอันเจ้าหนี้จะเอาชดใช้หนี้ได้ เมื่อไม่ได้ฟ้องเรียกเอาเบี้ยประกันภัย โดยกล่าวอ้างมาในฟ้องขอเรียกเงินประกันชีวิต จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อย คำพิพากษาฏีกา ๔๗๑๔/๒๕๔๒
๒. โจทก์จำเลยที่ ๑ จดทะเบียนหย่ากันโดยถูกต้องตามกฎหมาย การสมรสย่อมสิ้นสุดลง ขาดจากความเป็นสามีภรรยากัน ปพพ มาตรา ๑๕๐๑โดยมีผลสมบรูณ์เมื่อจดทะเบียนหย่า ปพพ มาตรา ๑๕๑๕ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทเฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์สินว่า โจทก์มีทรัพย์สินกึ่งหนึ่งตามที่ระบุท้ายฟ้องหรือไม่ การโอนขายที่ดินโฉนดพิพาทพร้อมบ้านระหว่างจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ เป็นการแสดงเจตนาลวงหรือไม่เท่านั้น โดยไม่มีประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องรวมทั้งการแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์ จำเลยที่ ๑ การที่ศาลอุทธรณ์ยกประเด็นเรื่องอายุความว่าโจทก์จำเลยที่ ๑ ไม่ได้หย่าขาดจากกัน จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์สิน จึงเป็นการวินิจฉัยไม่ชอบ การที่โจทก์จำเลยที่ ๑ ขาดจากการเป็นสามีภรรยากันแล้วทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ระหว่างอยู่ร่วมกันและไม่ได้แบ่งกันต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยกรรมสิทธิ์ ถือโจทก์ จำเลยที่ ๑ เป็นเจ้าของร่วมกันและไม่ได้แบ่งกันต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยกรรมสิทธิ์ถือว่าโจทก์และจำเลยที่ ๑เป็นเจ้าของร่วมและสันนิษฐานว่ามีส่วนเท่าๆกันตาม ปพพมาตรา ๑๓๕๗ โจทก์ฟ้องออขอให้ใส่ชื่อโจทก์ในคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ แม้คู่มือดังกล่าวไมใช่เอกสารสำคัญที่แสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์เป็นเพียงพยานหลักฐานอันหนึ่งแสดงการเสียภาษีประจำปี ซึ่งแสดงว่าผู้มีชื่อในคู่มือจดทะเบียนรถน่าจะเป็นเจ้าของเท่านั้น แต่ในกรณีที่เจ้าของขายรถยนต์แล้ว กรรมสิทธิ์ในรถโอนไปยังผู้ซื้อทันทีแม้ไม่จดทะเบียนโอนก็ใช้ได้ แต่ ปพพ มาตรา ๑๓๖๑วรรคสอง บัญญัติว่า ตัวทรัพย์นั้นจะจำหน่ายได้ก็แต่โดยความยินยอมแห่งเจ้าของร่วมทุกคน การที่มีชื่อเจ้าของร่วมไว้ในคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ย่อมเป็นการคุ้มครองประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการซื้อรถคันที่มีเจ้าของร่วมให้ทราบว่าการซื้อขายรถดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของร่วมทุกคนก่อน เป็นการตัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่รถยนต์เป็นทรัพย์ของบุคคลหลายคน แต่มีชื่อเจ้าของรวมเพียงคนเดียวในคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ซึ่งผู้ซื้อซื้อไปโดยไม่ทราบว่ามีเจ้าของร่วมที่ไม่ให้ความยินยอม ผู้ซื้อได้รับความเสียหายที่จะต้องฟ้องและถูกเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายตามพรบ.รถยนต์ ๒๕๒๒ ไม่มีบทบัญญัติห้ามลงชื่อเจ้าของร่วมไว้ในคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ นอกจากไม่ขัดกฎหมายแล้วยังมีประโยชน์มากกว่าการไม่ลงชื่อไว้ในคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ ได้ความว่า โจทก์ จำเลยที่ ๑ เป็นเจ้าของร่วมในรถยนต์คันพิพาท จึงสมควรพิพากษาให้โจทก์ลงชื่อเป็นเจ้าของร่วมไว้ในคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ได้ตามคำขอ การที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ ๑ ส่งมอบการครอบครองสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องแก่โจทก์ แต่เดิมสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ ๑โดยอาศัยสิทธิ์แห่งการเป็นเจ้าของร่วม ไม่ปรากฏว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธ์การเป็นเจ้าของร่วม และไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้เจ้าของร่วมจำต้องครอบครองทรัพย์ที่ตนมีกรรมสิทธิ์ร่วม โจทก์จึงไม่มีสิทธิ์ฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบการครอบครองสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องแก่โจทก์ คำพิพากษาฏีกา ๖๐๘๐/๒๕๔๐
๓. แม้ผู้ร้องกับพันตรี ป. จดทะเบียนสมรสกันในขณะที่พันตรี ป. มีคู่สมรสกันอยู่แล้ว อันมีผลทำให้การสมรสตกเป็นโมฆะตาม ปพพ มาตรา ๑๔๕๒,๑๔๙๖ แต่ ปพพ มาตรา ๑๕๐๑ บัญญัติว่า การสมรสสิ้นสุดลงด้วยการตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาเพิกถอน เมื่อฟังได้ว่า การสมรสสิ้นสุดลงด้วยการหย่าก่อนที่ผู้ร้องจะมาร้องขอในคดีนี้ การสมรสซ้อนระหว่างผู้ร้องกับพันตรี ป. จึงไม่มีผลกระทบหรือโต้แย้งสิทธิ์ของผู้ร้อง ทั้งตามคำร้องก็ไม่ได้กล่าวว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นเหตุให้มีผู้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิ์หรือหน้าของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงร้องขอต่อศาลให้พิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ร้องกับพันตรี ป เป็นโมฆะไม่ได้คำพิพากษาฏีกา๑๒๒๕/๒๕๓๕
ข้อสังเกต ๑.มรดกต้องเป็นทรัพย์ที่ผู้ตายมีอยู่ “ก่อน” ถึงแก่ความตายหรือ “ในขณะ” ถึงแก่ความตาย สิทธิ์เรียกร้องใดๆหรือทรัพย์ใดที่ได้มา “หลัง” จากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้วทรัพย์สินนั้นไม่ใช่มรดกที่จะตกทอดแก่ทายาท ส่วนเงินหรือทรัพย์สินนั้นจะตกก็ใครก็เป็นไปตามสัญญาหรือกฎระเบียบตามที่หน่วยงานนั้นๆกำหนดไว้
๒.ทรัพย์ใดได้มา “หลัง” การตายของคู่สมรส เมื่อไม่ได้มาระหว่างสมรสทรัพย์นั้นไม่ใช่สินสมรส เพราะสินสมรสต้องเป็นทรัพย์สินที่ “ได้มาระหว่างสมรส” ตาม ปพพ มาตรา ๑๔๗๔(๑) เมื่อคู่สมรสถึงแก่ความตาย การสมรสสิ้นสุดลงตาม ปพพ มาตรา ๑๕๐๑ ทรัพย์สินที่เกิดหลังจากการตายของคู่สมรสที่ทำให้การสมรสสิ้นสุดลงจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงไม่ใช่สินสมรสที่เมื่อเวลาตายจะต้องแยกสินสมรสของคู่สมรสอีกฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ออกก่อนครึ่งหนึ่ง โดยครึ่งหนึ่งเป็นของคู่สมรสที่ถึงแก่ความตาย อีกครึ่งเป็นของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ในส่วนครึ่งหนึ่งของคู่สมรสที่ถึงแก่ความตายจึงตกเป็นมรดกที่ต้องนำมาแบ่งกันซึ่งคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่มีสิทธิ์ได้รับมรดกในส่วนนี้ด้วยเป็นไปตามส่วนแบ่งที่กฎหมายบัญญัติไว้ ปพพ มาตรา๑๖๒๙วรรคท้าย,๑๖๓๕ แต่เมื่อทรัพย์ได้มาหลังการตายไม่ได้ได้มาระหว่างสมรสจึงไม่ใช่สินสมรสที่จะตกแก่คู่สมรสอีกฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่กึ่งหนึ่ง แต่ทรัพย์ที่ได้มาจะตกแก่ใครหรือไม่อย่างไรแล้วแต่ข้อกำหนดในสัญญา ระเบียบข้อบังคับที่ผู้ตายมีต่อหน่วยงานนั้นๆ
๓.เงินชดเชยเป็นเงินที่เกิดขึ้นเนื่องจากความตายได้มาหลังถึงแก่กรรม ไม่เป็นสินสมรส และไม่ใช่มรดก
๔.สิทธิ์ในการได้รับเงินช่วยเหลือเพื่อนเนื่องจากความตาย ไม่ใช่เงินที่มีอยู่แล้วในระหว่างที่มีชีวิตหรือถึงแก่กรรม แม้วิธีการที่จะได้เงินจำนวนนี้มาผู้ตายต้องชำระเงินในอัตราร่วมกับพนักงานคนอื่นๆเพื่อรวบรวมส่งให้ทายาทของพนักงานที่ถึงแก่กรรมรายก่อนๆ ก็ไม่ใช่มรดกที่ทายาทจะมาขอแบ่ง
๕.เงินประกันชีวิตเกิดจากสัญญาระหว่างผู้ตายกับบุคคลภายนอกและจำเลยเพื่อใช้เงินแก่ผู้รับประโยชน์เนื่องจากการมรณะของผู้ตาย เป็นการประกันชีวิต สิทธิ์ตามสัญญาเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกันชีวิตถึงแก่กรรมจึงไม่ใช่ทรัพย์ที่มีก่อนถึงแก่ความตาย จึงไม่ใช่มรดกของผู้ตายที่มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตายที่จะขอใช้สิทธิ์แบ่งได้
๖.สัญญาประกันชีวิตระบุให้บุคคลภายนอกที่ไม่ใช่คู่สมรสเป็นผู้รับประโยชน์เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกตาม ปพพ มาตรา๓๗๔ อันต้องบังคับตาม ปพพ มาตรา ๘๙๗ วรรคสองที่กำหนดแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันเอาไว้ที่ได้ส่งไปแล้วจะเป็นทรัพย์สินส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกอันเจ้าหนี้จะเอาชดใช้หนี้ได้ เมื่อไม่ได้ฟ้องเรียกเอาเบี้ยประกันภัย โดยกล่าวอ้างมาในฟ้องขอเรียกเงินประกันชีวิต จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อย นั้นก็คือ การตั้งรูปเรื่องบรรยายฟ้องผิดไป เป็นการตั้งประเด็นในการฟ้องผิดไปโดยไปฟ้องขอเรียก “เงินประกันชีวิต” ว่าเป็นมรดกที่เจ้าหนี้เจ้าหนี้จะเรียกให้ชดใช้ได้ จึงเป็นการฟ้องผิดประเด็น จริงๆแล้วต้องฟ้องเรียก “ จำนวนเงินเบี้ยประกัน” ที่ผู้เอาประกันได้ส่งไปแล้ว ซึ่งตามกฎหมายถือว่า เป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งของกองมรดกที่เจ้าหนี้จะนำมาใช้หนี้ได้ เมื่อฟ้องขอเรียก “ เงินประกันชีวิต” ไม่ได้ฟ้องขอเรียก “ จำนวนเงินเบี้ยประกันที่ผู้เอาประกันได้ส่งไปแล้ว” จึงเป็นการฟ้องผิดประเด็น ศาลไม่อาจพิพากษาให้นำเงินเบี้ยประกัน ที่ผู้เอาประกันได้ส่งไปแล้วมาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้ เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่ไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้องตาม ปวพ มาตรา ๑๔๒ เป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น ตาม ปวพ มาตรา ๑๘๓ เมื่อไม่ได้ฟ้องหรือตั้งเรื่องในเรื่องจำนวนเงินเบี้ยประกันที่ผู้เอาประกันได้ส่งไปแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องที่ว่ามาแล้วในศาลชั้นต้นหรือในศาลอุทธรณ์ที่จะสามารถนำเรื่องดังกล่าวมาฏีกาได้ต้องห้ามตาม ปวพ มาตรา ๒๔๙ ทั้งปัญหาดังกล่าวก็ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีงามของประชาชนที่ศาลฏีกาสามารถยกขึ้นเองได้ ตาม ปวพ มาตรา ๑๔๒(๕) แต่เป็นเรื่องที่คู่ความต้องรักษาสิทธ์ของตัวเอง
๗. โจทก์จำเลยที่ ๑ จดทะเบียนหย่ากันโดยถูกต้องตามกฎหมาย การสมรสย่อมสิ้นสุดลง ขาดจากความเป็นสามีภรรยากัน ตาม ปพพ มาตรา ๑๕๐๑โดยมีผลสมบรูณ์เมื่อจดทะเบียนหย่าตาม ปพพ มาตรา ๑๕๑๕ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทเฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์สินว่า “โจทก์มีทรัพย์สินกึ่งหนึ่งตามที่ระบุท้ายฟ้องหรือไม่ การโอนขายที่ดินโฉนดพิพาทพร้อมบ้านระหว่างจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ เป็นการแสดงเจตนาลวงหรือไม่” เท่านั้น โดยไม่มีประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องรวมทั้งการแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์ จำเลยที่ ๑ การที่ศาลอุทธรณ์ยกประเด็นเรื่องอายุความว่าโจทก์จำเลยที่ ๑ ไม่ได้หย่าขาดจากกัน จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์สิน จึงเป็นการวินิจฉัยเกินคำขอหรือที่ไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้อง ตาม ปวพ มาตรา ๑๔๒ เป็นพิพากษานอกประเด็นข้อพิพาทตาม ปวพ มาตรา ๑๘๓เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
๘. การที่โจทก์จำเลยที่ ๑ ขาดจากการเป็นสามีภรรยากันแล้วทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ระหว่างอยู่ร่วมกันและไม่ได้แบ่งกันต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยกรรมสิทธิ์ ถือโจทก์ จำเลยที่ ๑ เป็นเจ้าของร่วมกัน เมื่อไม่ได้แบ่งกันต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยกรรมสิทธิ์ถือว่าโจทก์และจำเลยที่ ๑เป็นเจ้าของร่วมและสันนิษฐานว่ามีส่วนเท่าๆกันตามมาตรา ๑๓๕๗
๙.โจทก์ฟ้องขอให้ใส่ชื่อโจทก์ในคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ แม้คู่มือดังกล่าวไมใช่เอกสารสำคัญที่แสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์เป็นเพียงพยานหลักฐานอันหนึ่งแสดงการเสียภาษีประจำปี ซึ่งแสดงว่าผู้มีชื่อในคู่มือจดทะเบียนรถ “น่าจะ” เป็นเจ้าของเท่านั้น
๑๐.แต่ในกรณีที่เจ้าของขายรถยนต์แล้ว กรรมสิทธิ์ในรถโอนไปยังผู้ซื้อทันทีนับแต่ได้ทำสัญญาซื้อขายกัน แม้ไม่จดทะเบียนโอนก็ใช้ได้ ปพพ มาตรา ๔๕๘ แต่มาตรา ๑๓๖๑วรรคสอง บัญญัติว่า ตัวทรัพย์ที่มีเจ้าของร่วมหลายนั้นจะจำหน่ายได้ก็แต่โดยความยินยอมแห่งเจ้าของร่วมทุกคน การที่มีชื่อเจ้าของร่วมไว้ในคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ย่อมเป็นการคุ้มครองประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการซื้อรถคันที่มีเจ้าของร่วมให้ทราบว่าการซื้อขายรถดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของร่วมทุกคนก่อน เป็นการตัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่รถยนต์เป็นทรัพย์ของบุคคลหลายคน แต่มีชื่อเจ้าของรวมเพียงคนเดียวในคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ซึ่งผู้ซื้อซื้อไปโดยไม่ทราบว่ามีเจ้าของร่วมที่ไม่ให้ความยินยอม ผู้ซื้อได้รับความเสียหายที่จะต้องฟ้องและถูกเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายตามพรบ.รถยนต์ ๒๕๒๒ ตามหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิ์ดีกว่าผู้โอน เมื่อการโอนทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมไม่ได้กระทำโดยเจ้าของร่วมทุกคน จึงเป็นการโอนโดยไม่มีอำนาจไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ผู้รับโอนจากการขายย่อมไม่มีสิทธิ์ดีกว่าผู้โอนแต่อย่างใด ทั้งอาจถูกเพิกถอนจากเจ้าของร่วมคนอื่นที่ไม่รู้เห็นยินยอมในการโอนได้
๑๑. ไม่มีบทบัญญัติห้ามลงชื่อเจ้าของร่วมไว้ในคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ นอกจากไม่ขัดกฎหมายแล้วยังมีประโยชน์มากกว่าการไม่ลงชื่อไว้ในคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ เมื่อได้ความว่า โจทก์ จำเลยที่ ๑ เป็นเจ้าของร่วมในรถยนต์คันพิพาท จึงสมควรพิพากษาให้โจทก์ลงชื่อเป็นเจ้าของร่วมไว้ในคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ได้ตามคำขอ
๑๒.การที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ ๑ ส่งมอบการครอบครองสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องแก่โจทก์ โดยแต่เดิมสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ ๑โดยอาศัยสิทธิ์แห่งการเป็นเจ้าของร่วม ไม่ปรากฏว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธ์การเป็นเจ้าของร่วม และไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้เจ้าของร่วมจำต้องครอบครองทรัพย์ที่ตนมีกรรมสิทธิ์ร่วม โจทก์จึงไม่มีสิทธิ์ฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบการครอบครองสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องแก่โจทก์ ถือได้ว่ายังไม่มีข้อข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิ์หรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์ต้องมาใช้สิทธิ์ทางศาลตาม ปวพ มาตรา ๕๕
๑๓.. แม้ผู้ร้องกับพันตรี ป. จดทะเบียนสมรสกันในขณะที่พันตรี ป. มีคู่สมรสกันอยู่แล้ว อันมีผลทำให้การสมรสตกเป็นโมฆะตาม ปพพ มาตรา ๑๔๕๒,๑๔๙๖ ตาม แต่ ปพพ มาตรา ๑๕๐๑ บัญญัติว่า การสมรสสิ้นสุดลงด้วยการตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาเพิกถอน เมื่อฟังได้ว่า การสมรสสิ้นสุดลงด้วยการหย่าก่อนที่ผู้ร้องจะมาร้องขอในคดีนี้ การสมรสซ้อนระหว่างผู้ร้องกับพันตรี ป. จึงไม่มีผลกระทบหรือโต้แย้งสิทธิ์ของผู้ร้อง ทั้งตามคำร้องก็ไม่ได้กล่าวว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นเหตุให้มีผู้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิ์หรือหน้าของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงร้องขอต่อศาลให้พิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ร้องกับพันตรี ป เป็นโมฆะไม่ได้ นั้นก็คือ เมื่อทำการหย่ากันแล้ว การสมรสสิ้นสุดลง ประเด็นว่ามีการสมรสซ้อนหรือไม่ ไม่สำคัญแล้ว ทั้งไม่ได้มีการกล่าวอ้างว่า การสมรสซ้อนดังกล่าวมีผลกระทบหรือโต้แย้งสิทธิ์ของผู้ร้องอย่างไรโดยในคำร้องก็ไม่ได้กล่าวว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นเหตุให้มีผู้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิ์หรือหน้าของผู้ร้อง จึงไม่เกิดประโยชน์และไม่มีความจำเป็นต้องให้ศาลมีคำสั่งว่า การสมรสระหว่างที่ฝ่ายชายมีคู่สมรสอยู่แล้วมาจดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่นอีกเป็นการสมรสซ้อนหรือไม่อย่างไร

“เปลี่ยนลักษณะการยึดถือ”

๑. โจทก์ทั้งสองซื้อที่พิพาทจาก อ. โดยมอบให้ อ. ครอบครองแทน แม้ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าที่ พรบ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน ฯ มาตรา ๙ จะโอนที่ดินมือเปล่าให้แก่กันไม่ได้ แต่ที่ดินมือเปล่าเจ้าของมีสิทธิ์ครอบครอง โดย ปพพ มาตรา ๑๓๗๘ การโอนไปซึ่งสิทธิ์ครอบครองนั้นย่อมกระทำโดยส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครอง ซึ่งมาตรา ๑๓๘๐ วรรคแรก บัญญัติรองรับว่าด้วยการโอนไปซึ่งการครอบครองเป็นผลแม้ผู้โอนยังยึดถือทรัพย์สินอยู่ ถ้าผู้โอนแสดงเจตนาต่อไปว่าจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้รับโอน เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ฏีกาโต้แย้งในประเด็นว่า โจทก์ทั้งสองไม่ได้มอบหมายให้ อ. ครอบครองแทน โจทก์ทั้งสองจึงได้สิทธิ์ครอบครองที่พิพาทมาจาก อ. โดยการโอนและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทกันตาม ปพพ มาตรา ๑๓๗๘ , ๑๓๘๐วรรคหนึ่ง ,๑๓๗๕วรรคสอง ที่บัญญัติให้ผู้ถูกแย่งการครอบครองต้องฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน ๑ ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองนั้นเป็นบทบัญญัติที่กำหนดระยะเวลาฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองกรณีที่ถูกแย่งการครอบครองเท่านั้น การที่จำเลยที่ ๒ ดำเนินการออก พรก.เพิกถอนสภาพที่ดินสาธารณะและทำแผนที่ท้าย พรก. เป็นการกระทำตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ จึงหาใช่การแย่งสิทธิ์ครอบครอง โจทก์ทั้งสองต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน ๑ ปี คำพิพากษาฏีกาที่ ๒๑๔๐/๒๕๓๒
๒. จำเลยทำสัญญาขายที่นาให้โจทก์โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่เมื่อที่นานั้นเป็นที่ดินมือเปล่ามีแค่สิทธิ์ครอบครอง และจำเลยที่เคยครอบครองอยู่ได้ขอเช่าได้ขอเช่าที่นานั้นจากโจทก์หลังจากทำสัญญาซื้อขายแล้ว กรณีต้องด้วย ปพพ มาตรา ๑๓๘๑วรรคหนึ่ง ว่า การโอนไปซึ่งการครอบครองย่อมเป็นผล ถ้าผู้โอนแสดงเจตนาว่าต่อไปจะยึดถือทรัพย์สินไว้แทนผู้รับโอน ถือได้ว่ามีการครอบครองให้โจทก์โดยถูกต้อง คำพิพากษาฏีกาที่ ๔๗๙/๒๕๑๔
๓. จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทรวมทั้งสิทธิ์การเช่าที่ดินที่ตึกพิพาทตั้งอยู่ใช้หนี้โจทก์โดยยอมให้โจทก์เข้าทำสัญญาเช่าที่ดินกับเจ้าของที่ดิน และจำเลยขออยู่ในตึกพิพาทต่อไปอีก ๒ เดือน แม้การโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทจะไม่บริบรูณ์เพราะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ก็ไม่ได้เป็นโมฆะ การที่จำเลยโอนสิทธิ์การเช่าที่ดินให้โจทก์ เป็นการแสดงเจตนาโอนการครอบครองตึกพิพาทให้โจทก์แล้ว การที่จำเลยอยู่ในตึกพิพาท ต่อมาก็โดยอาศัยสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์มีบุคลสิทธิ์ที่จะบังคับจำเลยให้ออกกจากตึกพิพาทซึ่งโจทก์มีสิทธิ์ครอบครองได้ โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่ คำพิพากษาฏีกาที่ ๔๓๕/๒๕๑๙
๔. การจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน มีแต่หนังสือรับรองการทำประโยชน์แบบ นส ๓ ต้องจดทะเบียนที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอ ตามหลักเกณท์และวิธีที่กำหนดในกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๗ พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๕ การโอนที่ดินชำระหนี้ไม่เข้ากรณีที่ไม่ต้องประกาศตามกฎกระทรวงข้อ ๖ แม้จำเลยตกลงโอนที่พิพาทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้และทำบันทึกข้อตกลงกันไว้ นิติกรรมนั้นยังจดทะเบียนไม่ได้จนกว่าจะได้ประกาศตามความในกฎกระทรวงข้อ ๕เสียก่อน เมื่อไม่ทำตามหลักเกณท์ที่กฎหายกำหนดไว้ การจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมย่อมไม่สมบรูณ์ หาทำให้โจทก์ได้ที่พิพาททางนิติกรรมไม่ จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของที่นาพิพาทร่วมกัน โอนที่นาชำระหนี้จำนองแล้ว จำเลยที่๑ เช่าที่นาพิพาทจากโจทก์ แม้การโอนโดยนิติกรรมไม่สมบรูณ์ แต่การที่จำเลยตกลงโอนที่นาชำระหนี้เป็นการแสดงเจตนาโอนการครอบครอง ให้โจทก์แล้ว การโอนการครอบครองแม้ผู้โอน แม้ผู้โอนยังยึดถือทรัพย์สินอยู่ ถ้าผู้โอนแสดงเจตนาว่าต่อไปจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้โอน การโอนมีผลตาม ปพพ มาตรา ๑๓๘๐ เมื่อจำเลยที่ ๑ทำสัญญาเช่านาพิพาทจากโจทก์แสดงว่าการทำนาต่อไปโดยเสียค่าเช่าให้โจทก์ เป็นการยึดถือที่นาพิพาทแทนโจทก์ โจทก์จึงเป็นเจ้าของนาพิพาทโดยการรับโอนการครอบครอง เมื่อจำเลยที่ ๑ ทำสัญญาเช่านาพิพาทโดยการรับโอนการครอบครอง เมื่อจำเลยที่ ๑ ทำสัญญาเช่านาพิพาทจากโจทก์เต็มทั้งแปลง จำเลยที่ ๑ ก็เป็นผู้ยึดทั้งแปลงแทนโจทก์ ทำให้โจทก์ได้ที่นาโดยการรับโอนการครอบครองจากจำเลยที่ ๒ ด้วยเช่นกัน กับจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๑จะให้ผู้ใดทำนาต่อก็เป็นบริวารของจำเลยที่ ๑เท่านั้น นาพิพาทเป็นของโจทก์ นาพิพาทจึงเป็นของโจทก์เต็มทั้งแปลง จำเลยที่ ๑ เช่านาโจทก์ทำปีเดียว เมื่อครบกำหนดแล้วไม่ส่งนาคืนแก่โจทก์และไม่ยอมออกไปจากที่พิพาท โจทก์มีสิทธิ์ฟ้องขับไล่เรียกค่าเช่าที่ไม่ชำระและค่าเสียหายเพราะเหตุที่จำเลยทั้งสองขัดขวางและขืนทำนาของโจทก์ต่อไปโดยละเมิดได้ สัญญาเช่าได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญาไว้แล้ว หาจำต้องบอกเลิกสัญญาอีกไม่ จำเลยที่ ๒ ไม่ได้นำหลักฐานเป็นหนังสือเช่านาโจทก์จะบังคับให้เสียค่าเช่าไม่ได้ คำพิพากษาฏีกาที่ ๕๕๘/๒๕๑๐
๕. จำเลยครอบครองที่ดินมือเปล่า ทำบันทึกยกที่ดินให้ทางราชการจัดตลาดสาธารณะตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป จำเลยยังเก็บประโยชน์ตามอัตราที่ทางการกำหนดเพื่อใช้ทำความสะอาด ถ้าทางราชการจะดำเนินการเองเมื่อใด จำเลยจะถอนตัวออกไปทันที เป็นกรณีจำเลนครอบครองแทนทางราชการ ที่พิพาทเป็นของแผ่นดินแล้ว คำพิพากษาฏีกาที่ ๑๒๒/๒๕๑๘
ข้อสังเกต ๑.ที่ดินมือเปล่าที่ พรบ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน ฯ มาตรา ๙ จะโอนที่ดินมือเปล่าให้แก่กันไม่ได้ โดยบทกฏหมายดังกล่าวบัญญัติให้ ที่ดินที่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้วให้โอนแก่กันได้ นั้นก็คือที่ดินที่ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว โดยยังคงเป็นที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้จับจองแต่ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอตามมาตรา ๘ แห่งกฎหมายดังกล่าว ไม่สามารรถโอนให้แก่กันได้เว้นแต่ตกทอดทางมรดก แม้จะโอนแก่กันไม่ได้ แต่ที่ดินมือเปล่าเจ้าของมีสิทธิ์ครอบครอง การโอนไปซึ่งสิทธิ์ครอบครองนั้นย่อมกระทำโดยส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครองตาม ปพพ มาตรา ๑๓๗๘ ซึ่ง ปพพ มาตรา ๑๓๘๐ วรรคแรก บัญญัติรองรับว่าด้วยการโอนไปซึ่งการครอบครองเป็นผลแม้ผู้โอนยังยึดถือทรัพย์สินอยู่ ถ้าผู้โอนแสดงเจตนาต่อไปว่าจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้รับโอน
๒.โจทก์ทั้งสองซื้อที่พิพาทจาก อ. โดยมอบให้ อ. ครอบครองแทน การครอบครองของ อ. จึงไม่ใช่การยึดถือเพื่อตนอันจะได้มาซึ่งสิทธิ์ครอบครอง ตาม ปพพ มาตรา ๑๓๖๗ แม้ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าที่ พรบ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน ฯ มาตรา ๙ จะโอนที่ดินมือเปล่าให้แก่กันไม่ได้ โดยที่ดินมือเปล่าเจ้าของยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ คงมีเพียงสิทธิ์ครอบครอง โดย ปพพ มาตรา ๑๓๗๘ การโอนไปซึ่งสิทธิ์ครอบครองนั้นย่อมกระทำโดยส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครอง ซึ่งมาตรา ๑๓๘๐ วรรคแรก บัญญัติรองรับว่าด้วยการโอนไปซึ่งการครอบครองเป็นผลแม้ผู้โอนยังยึดถือทรัพย์สินอยู่ ถ้าผู้โอนแสดงเจตนาต่อไปว่าจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้รับโอน
๓.เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ฏีกาโต้แย้งในประเด็นว่า “ โจทก์ทั้งสองไม่ได้มอบหมายให้ อ. ครอบครองแทน “ เท่ากับยอมรับว่า โจทก์ได้มอบหมายให้ อ. ครอบครองแทน ประเด็นใดที่ไม่มีการโต้แย้งเท่ากับยอมรับและไม่เกิดประเด็นข้อพิพาทตาม ปวพ มาตรา ๑๘๓ เพราะไม่มีข้อโต้แย้งข้ออ้างหรือมีข้อเถียงในข้ออ้างนั้นอย่างไร เมื่อไม่ได้ต่อสู้ว่า โจทก์ไม่มีสิทธิ์ครอบครองเป็นเพียงครอบครองแทนจำเลยเท่านั้น เมื่อไม่ได้ฏีกาโต้แย้งในประเด็นดังกล่าวไว้ เท่ากับยอมรับว่า โจทก์ไม่ได้ครอบครองแทนจำเลยแต่โจทก์มีสิทธิ์ครอบครองโดย อ. เป็นคนครอบครองแทนโจทก์
๔. เมื่อเป็นที่ดินมือเปล่า แม้พรบ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน ฯ มาตรา ๙ ห้ามไม่ให้มีการโอนก็ตาม แต่ การโอนไปซึ่งสิทธิ์ครอบครองที่ดินมือเปล่านั้นย่อมกระทำโดยส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครอง การโอนไปซึ่งการครอบครองเป็นผลแม้ผู้โอนยังยึดถือทรัพย์สินอยู่ ถ้าผู้โอนแสดงเจตนาต่อไปว่าจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้รับโอน โจทก์ทั้งสองจึงได้สิทธิ์ครอบครองที่พิพาทมาจาก อ. โดยการโอนและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทกันตาม ปพพ มาตรา ๑๓๗๘ , ๑๓๘๐วรรคหนึ่ง ,ซึ่งตาม ปพพ มาตรา ๑๓๗๕วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ถูกแย่งการครอบครองต้องฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน ๑ ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองนั้นเป็นบทบัญญัติที่กำหนดระยะเวลาฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองกรณีที่ถูกแย่งการครอบครองเท่านั้น จำเลยทั้งสองผู้ถูกแย่งการครอบครองต้องฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนดระยะเวลาที่กำหมายบัญญัติไว้
๕.ลำพังเพียงจำเลยที่ ๒ ดำเนินการออก พรก.เพิกถอนสภาพที่ดินสาธารณะและทำแผนที่ท้าย พรก. เป็นการกระทำตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ จึงหาใช่การแย่งสิทธิ์ครอบครอง ที่โจทก์ทั้งสองต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน ๑ ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง
๖. แม้จำเลยทำสัญญาขายที่นาให้โจทก์โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ปพพ มาตรา ๔๕๖ ก็ตาม แต่เมื่อที่นานั้นเป็นที่ดินมือเปล่ามีแค่สิทธิ์ครอบครอง การที่จำเลยเคยครอบครองอยู่ได้ขอเช่าที่นานั้นจากโจทก์หลังจากทำสัญญาซื้อขายแล้ว กรณีต้องด้วย ปพพ มาตรา ๑๓๘๑วรรคหนึ่ง ว่า การโอนไปซึ่งการครอบครองย่อมเป็นผล ถ้าจำเลยผู้โอนขายที่ดินแสดงเจตนาว่าต่อไปจะยึดถือทรัพย์สินไว้แทนโจทก์ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้รับโอนโดยจำเลยขอเช่าที่นานั้น ถือได้ว่าจำเลยมีการครอบครองที่นาแทนโจทก์ด้วยการเช่า ถือว่าจำเลยครอบครองแทนโจทก์โดยถูกต้องแล้ว
๗.จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทรวมทั้งสิทธิ์การเช่าที่ดินที่ตึกพิพาทตั้งอยู่ใช้หนี้โจทก์โดยยอมให้โจทก์เข้าทำสัญญาเช่าที่ดินกับเจ้าของที่ดิน และจำเลยขออยู่ในตึกพิพาทต่อไปอีก ๒ เดือน แม้การโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทจะไม่บริบรูณ์เพราะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางนิติกรรมซึ่งต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิเช่นนั้นไม่บริบรูณ์ ตาม ปพพ มาตรา ๑๒๙๙วรรคแรก แต่ก็ไม่ได้เป็นโมฆะ เป็นบุคคลสิทธิ์ที่ใช้บังคับระหว่างคู่กรณีได้ แม้ไม่บริบรูณ์เพราะไม่ได้ทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ก็ตาม ก็มีผลเพียงหาอาจใช้ยันบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนสิทธิ์โดยสุจริตไม่ได้เท่านั้น การที่จำเลยโอนสิทธิ์การเช่าที่ดินให้โจทก์ เป็นการแสดงเจตนาสละการครอบครองในตึกพิพาท โดยโอนการครอบครองตึกพิพาทให้โจทก์แล้ว การที่จำเลยอยู่ในตึกพิพาท ต่อมาก็โดยอาศัยสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์มีบุคลสิทธิ์ที่จะบังคับจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาให้ออกจากตึกพิพาทซึ่งโจทก์มีสิทธิ์ครอบครองได้ โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่
๘. การจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน มีแต่หนังสือรับรองการทำประโยชน์แบบ นส ๓ ต้องจดทะเบียนที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอ ตามหลักเกณท์และวิธีที่กำหนดในกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๗ พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๕ คือ ต้องทำในรูปหนังสือสัญญาทำเป็นคู่ฉบับเก็บไว้ที่สำนักงานที่ดิน ๑ ฉบับ มอบให้อีกฝ่ายหนึ่ง ๑ ฉบับหรือ ๒ ฉบับแล้วแต่กรณีและต้องประกาศการขอจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมมีกำหนด ๓๐ วัน ณ.ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ ๑ ฉบับ ที่บ้านกำนัน ๑ ฉบับ ณ.ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น ๑ ฉบับ หากเป็นในเขตเทศบาลให้ปิดไว้ที่สนง.เขตเทศบาลอีก ๑ ฉบับ
๙. การโอนที่ดินชำระหนี้ เป็นกรณีชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งเป็นเหตุให้หนี้ระงับไปตาม ปพพ มาตรา ๓๒๑ วรรคแรก กรณีนี้ไม่เข้ากรณีตามกฎกระทรวงฯ ข้อ ๖ที่ไม่ต้องประกาศตามกฎกระทรวงข้อ ๕ เพราะการโอนที่ดินชำระหนี้ ไม่ใช่การเลิกเช่า เลิกภาระจำยอม การไถ่ถอนจำนอง การขายฝาก การขึ้นเงินหรือผ่อนต้นจากการจำนอง การโอนสิทธิ์การรับจำนอง การโอนสิทธิ์หลุดจากการรับจำนองปลดเงื่อนไขการไถ่หรือโอนสิทธิ์การไถ่จากการขายฝาก การไถ่ถอนจากผู้รับจำนองหรือผู้รับซื้อฝาก เมื่อไม่ใช่กรณีดังกล่าวตามกฎกระทรวง ฯ ข้อ ๖แล้ว แต่เป็นการโอนที่ดินชำระหนี้ อันเป็นกรณีชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งเป็นเหตุให้หนี้ระงับไปตาม ปพพ มาตรา ๓๒๑ วรรคแรก เมื่อกรณีนี้ไม่เข้ากรณีที่ไม่ต้องประกาศตามกฎกระทรวงข้อ ๖ โดยเป็นกรณีที่การจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมที่ดินที่มีแต่หนังสือรับรองการทำประโยชน์จึงต้องมีการประกาศตามความในกฎกระทรวงข้อ ๕เสียก่อน แม้จำเลยตกลงโอนที่พิพาทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้และทำบันทึกข้อตกลงกันไว้ การตกลงโอนที่พิพาทนั้นยังจดทะเบียนไม่ได้จนกว่าจะได้ประกาศตามความในกฎกระทรวงข้อ ๕เสียก่อน เมื่อไม่ทำตามหลักเกณท์ที่กฎหมายกำหนดไว้ การจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมย่อมไม่สมบรูณ์ หาทำให้โจทก์ได้ที่พิพาททางนิติกรรมโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงแต่อย่างใดไม่
๑๐. จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของที่นาพิพาทร่วมกัน โอนที่นาชำระหนี้จำนองแล้ว จำเลยที่๑ เช่าที่นาพิพาทจากโจทก์ แม้การโอนโดยนิติกรรมไม่สมบรูณ์ เพราะไม่ได้ทำตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยใน ปพพ มาตรา ๗๔๖ บัญญัติไว้ว่า ในการชำระหนี้ไม่ว่าสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน การระงับแห่งหนี้จำนองก็ดี การเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนองหรือหนี้ที่จำนองเป็นประกันต้องนำความไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิเช่นนั้นยกเป็นคู่ตจ่อสู้บุคคลภายนอกไม่ได้ แม้การโอนที่นาชำระหนี้จำนองไม่สมบรูณ์ (คำพิพากษาฏีกาใช้คำว่า “ ไม่บริบรูณ์” ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่าน่าตกเป็นโมฆะเพราะไม่ได้ทำตามแบบที่กฎหมายบัญญัติไว้ใน ปพพ มาตรา ๗๔๖,๑๕๑.๑๕๒) แต่การที่จำเลยตกลงโอนที่นาชำระหนี้เป็นการแสดงเจตนาโอนการครอบครอง ให้โจทก์แล้ว การโอนการครอบครองแม้ผู้โอนยังยึดถือทรัพย์สินอยู่ ถ้าผู้โอนแสดงเจตนาว่าต่อไปจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้รับโอน การโอนมีผลตาม ปพพ มาตรา ๑๓๘๐ แล้ว แม้ผู้โอนยังคงยึดถือทรัพย์สินอยู่ก็ตาม
๑๑.ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ ๑ทำสัญญาเช่านาพิพาทจากโจทก์แสดงว่า มีการทำนาต่อไปโดยเสียค่าเช่าให้โจทก์ เป็นการยึดถือที่นาพิพาทแทนโจทก์ตามสัญญาเช่า โจทก์จึงเป็นเจ้าของนาพิพาทโดยการรับโอนการครอบครองโดยจำเลยที่ ๑ ครอบครองแทนตาม ปพพ มาตรา ๑๓๘๐ เมื่อจำเลยที่ ๑ ทำสัญญาเช่านาพิพาทจากโจทก์เต็มทั้งแปลง จำเลยที่ ๑ ก็เป็นผู้ยึดถือที่นาทั้งแปลงแทนโจทก์ ทำให้โจทก์ได้ที่นาโดยการรับโอนการครอบครองจากจำเลยที่ ๒ ด้วยเช่นกัน จำเลยที่ ๑จะให้ผู้ใดทำนาต่อก็เป็นบริวารของจำเลยที่ ๑เท่านั้น นาพิพาทเป็นของโจทก์เต็มทั้งแปลง จำเลยที่ ๑ เช่านาโจทก์ทำปีเดียว เมื่อครบกำหนดแล้วสัญญาเช่าย่อมระงับไป โดยมิพักต้องบอกกล่าว ตามปพพ มาตรา ๕๖๔
๑๒.การที่จำเลยที่ ๑ไม่ส่งนาคืนแก่โจทก์และไม่ยอมออกไปจากที่พิพาท โจทก์มีสิทธิ์ฟ้องขับไล่เรียกค่าเช่าที่ไม่ชำระและค่าเสียหายเพราะเหตุที่จำเลยทั้งสองขัดขวางและขืนทำนาของโจทก์ต่อไปโดยละเมิดได้ สัญญาเช่าได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญาไว้แล้ว หาจำต้องบอกเลิกสัญญาอีกไม่ ตาม ปพพ มาตรา ๕๖๔ เมื่อจำเลยที่ ๒ ไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือเช่านา(คงมีเพียงจำเลยที่ ๑ เท่านั้นที่ทำสัญญาเช่ากับโจทก์) โจทก์จะบังคับให้จำเลยที่ ๒ เสียค่าเช่าไม่ได้ ตาม ปพพ มาตรา ๕๓๘
๑๓.จำเลยครอบครองที่ดินมือเปล่า ทำบันทึกยกที่ดินให้ทางราชการจัดตลาดสาธารณะตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป เท่ากับจำเลยสละเจตนาครอบครอง ไม่ยึดถือที่ดินดังกล่าวต่อไป การครอบครองในที่พิพาทย่อมตกเป็นของแผ่นดินตาม ปพพ มาตรา ๑๓๗๗ การที่ จำเลยยังเก็บประโยชน์ตามอัตราที่ทางการกำหนดเพื่อใช้ทำความสะอาด ถ้าทางราชการจะดำเนินการเองเมื่อใด จำเลยจะถอนตัวออกไปทันที เป็นกรณีจำเลยครอบครองแทนทางราชการ ตาม ปพพ มาตรา ,๑๓๖๘,๑๓๘๐ โดยจำเลยยึดถือทรัพย์สินนั้นแทนทางราชการ โดยไม่ใช่การยึดถือเพื่อตนอันจะทำให้ได้ไปซึ่งสิทธิ์ครอบครองตาม ปพพ มาตรา ๑๓๖๗ ที่พิพาทเป็นของแผ่นดินแล้ว

“ผัวเมียแบ่งมรดก”

๑.จำเลยทั้งสองให้การว่า คดีขาดอายุความเนื่องจากจำเลยทั้งสองได้รับโอนที่ดินพิพาทเป็นเวลาเกิน ๑๐ ปีทำประโยชน์ในที่พิพาทโดยสงบเปิดเผยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมา ไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน คำให้การจำเลยทั้งสองไม่ได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ชัดแจ้งว่า คดีขาดอายุความเรื่องฟ้องคดีมรดก โจทก์ที่ ๑ มีสิทธิ์เรียกร้องตั้งแต่เมื่อใด นับแต่วันใดถึงวันฟ้องคดีจึงขาดอายุความไปแล้วคำให้การจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วย ปวพ มาตรา ๑๗๗ วรรคสอง คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยคดีโจทก์ขาดอายุความตาม ปพพ มาตรา ๑๗๕๔วรรคท้าย เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ปวพ มาตรา ๑๔๒วรรคแรก เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีงามของประชาชน ศาลฏีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีผู้ใดกล่าวอ้าง ปวพ มาตรา ๑๔๒(๕) เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทได้แก่ภรรยาและบุตรทั้งเจ็ด โดยภรรยามีสิทธิ์ได้รับมรดกเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตรตาม ปพพ มาตรา ๑๖๓๕(๑) ภรรยารับโอนที่พิพาทแทนทายาทและยกที่ดินให้จำเลยทั้งสองถือกกรมสิทธิ์ในที่พิพาทแทนโจทก์ที่ ๑ ที่เป็นทายาทคนหนึ่งด้วย จำเลยทั้งสองเป็นผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิ์ในที่พิพาทดีไปกว่าภรรยาเจ้ามรดกผู้โอน โจทก์ที่ ๑ จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ๑ ใน ๘ ส่วนชอบที่จะฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นตัวแทนจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ที่ ๑ ลงในโฉนดที่พิพาทได้ตาม ปพพ มาตรา ๘๑๐ วรรคแรก คำพิพากษาฏีกาที่ ๕๖๙๑/๒๕๕๔
๒. แม้ไม่ปรากฏใบแต่งทนายสำหรับ อ. แต่ อ. ได้เรียงคำฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์จนเสร็จการพิจารณาศาลชั้นต้น โดยโจทก์ยอมรับเอาผลของการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นตลอดมา จำเลยก็ไม่ได้คัดค้านประการใดมาแต่ต้น ตามพฤติการณ์เชื่อว่าโจทก์ให้ อ. เป็นทนายความในคดีนี้ เมื่อปรากฏยังไม่มีใบแต่งทนายสำหรับ อ. ในสำนวน ศาลมีอำนาจที่จะอนุญาตให้แก้ไขจัดทำเสียใหม่ให้ถูกต้องตาม ปวพ มาตรา ๒๗ แม้ศาลชั้นต้นไมได้แก้ไขข้อบกพร่องก่อนพิพากษาคดี แต่โจทก์ก็ได้ยื่นใบแต่งตั้ง อ เป็นทนายความในคดีพร้อมกับยื่นอุทธรณ์อันเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว การดำเนินกระบวนพิจารณาของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ที่ ย และ จ ได้มาระหว่างเป็นสามีภรรยากัน เมื่อ ย. ถึงแก่ความตาย การสมรสสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมาย ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาต้องแบ่งกันคนละครึ่ง ดังนั้น จ จึงยกที่พิพาทให้จำเลยได้เฉพาะส่วนของ จ. เท่านั้น แต่ส่วนที่เป็นของ ย ต้องเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม โจทก์ทั้งห้าและจำเลยเป็นบุตรของ ย ซึ่งเป็นเจ้ามรดก โจทก์ทั้งห้าและจำเลยจึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ ๑ จ เป็นคู่สมรสเป็นทายาทโดยธรรมตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๙ มีสิทธิ์รับมรดกเสมือนเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา ๑๖๓๕ ที่ดินพิพาทที่เป็นมรดกของ ย.ต้องแบ่งออกเป็น ๗ ส่วนเท่าๆกัน เพื่อแบ่งแก่โจทก์ทั้งห้าจำเลยและ จ คนละ ๑ ส่วน จำเลยฏีกาว่าคดีขาดอายุความนั้นในชั้นอุทธรณ์จำเลยไม่ได้ยกขึ้นอ้างเป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ในประเด็นเรื่องอายุความจึงไม่ใช่ข้อที่ว่ามาแล้วในศาลอุทธรณ์ และไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามไม่ให้ฏีกาตาม ปวพ มาตรา ๒๔๙ วรรครแรก ศาลฏีกาไม่รับวินิจฉัยให้ คำพิพากษาฏีกา ๕๓๕๐/๒๕๓๖
ข้อสังเกต ๑.หลักกฎหมายที่ต้องเกี่ยวข้อง
๑.๑ครอบครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยสงบ เปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของ หากครอบครองติดต่อกันมาเป็นเวลา ๑๐ ปี บุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ตาม ปพพ มาตรา ๑๓๘๒ เป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม หากยังไม่ได้จดทะเบียนจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้ และห้ามไม่ให้ยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิ์มาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิ์โดยสุจริตตาม ปพพ มาตรา ๑๒๙๙ วรรคสอง อย่างไรก็ตามก็เป็นบุคคลที่อยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิ์ได้ก่อนตาม ปพพ มาตรา ๑๓๐๐
๑.๒จำเลยต้องแสดงโดยแจ้งชัดในคำให้การว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นด้วย ปวพ มาตรา ๑๗๗ วรรคสอง หากไม่ได้ให้การโดยแจ้งชัดในคำให้การว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นแล้วย่อมไม่เกิดประเด็นข้อพิพาทตาม ปวพ มาตรา ๑๘๓ เพราะไม่มีการยอมรับ หรือโต้แย้งข้ออ้างข้อเถียงแต่อย่างใด
๑.๓ อายุความมรดกต้องฟ้องเรียกมรดกซึ่งมีอายุความ ๑ ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย หรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้เรื่องความตายเจ้ามรดก ตาม ปพพ มาตรา ๑๗๕๔ ซึ่งอายุความมรดกเป็นคนละเรื่องกับระยะเวลา ๑๐ ปีของการครอบครองปรปักษ์ตาม ปพพ มาตรา ๑๓๘๒
๑.๔ปวพ มาตรา ๑๔๒ ห้ามไม่ให้พิพากษาหรือมีคำสั่งเกินกว่าที่ปรากฏหรือเกินกว่าในคำฟ้อง เว้นแต่เป็น
ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีงามของประชาชน ศาลฏีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีผู้ใดกล่าวอ้าง ปวพ มาตรา ๑๔๒(๕)
๑.๕ ทรัพย์ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรส ตาม ปพพ มาตรา ๑๔๗๔(๑) เป็นกรรมสิทธิ์ร่วม คู่สมรสมีส่วนแบ่งคนละครึ่ง ปพพ มาตรา ๑๓๕๗ เมื่อคู่สมรสตายการสมรสสิ้นสุดลง ปพพ มาตรา ๑๕๐๑ คู่สมรสมีส่วนแบ่งตาม ปพพ มาตรา ๑๖๓๕(๑) เมื่อคู่สมรสเป็นทายาทชั้นบุตร จึงเป็นกรณีมีทายาทอยู่ในลำดับเดียวกันจึงมีสิทธิ์รับมรดกในส่วนเท่าๆกัน ปพพ มาตรา ๑๖๓๓
๑.๖กรณีไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม หรือเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการยื่น การเขียน การส่งคำคู่ความหรือเอกสารใดประกอบการพิจารณาของศาล อันเป็นการกระทำที่ผิดระเบียบตาม ปวพ มาตรา ๒๗ ซึ่งศาลสามารถเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือมีคำสั่งให้แก้ไขตามที่ศาลเห็นสมควรได้
๑.๗ ๖. การแต่งตั้งทนายต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อตัวความ และยื่นต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวนความตาม ปวพ มาตรา ๖๑ ทนายความจึงมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนคู่ความเพื่อรักษาประโยชน์ของตัวความได้ ตาม ปวพ มาตรา ๖๒
๒.จำเลยทั้งสองให้การว่า “คดีขาดอายุความเนื่องจากจำเลยทั้งสองได้รับโอนที่ดินพิพาทเป็นเวลาเกิน ๑๐ ปีทำประโยชน์ในที่พิพาทโดยสงบเปิดเผยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมา ไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน” เป็นการต่อสู้ทำนองว่าจำเลยทั้งสองครอบครองปรปักษ์ในที่พิพาท ตาม ปพพ มาตรา ๑๓๘๒ ในระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองแล้วจำเลยทั้งสองได้ไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิทธิ์เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมแม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนสิทธิ์ ก็มีผลเพียงไม่ให้ยกเป็นคู่ต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิ์มาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิ์โดยสุจริตตาม ปพพ มาตรา ๑๒๙๙วรรรคสองเท่านั้น แต่ในระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองนั้น จำเลยทั้งสองอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิ์ได้ก่อนตาม ปพพ มาตรา ๑๓๐๐ เท่านั้น เมื่อจำเลยครอบครองโดยสงบเปิดเผยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า ๑๐ ปีแล้ว จำเลยย่อมอยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิ์ได้ก่อน แต่ในคดีนี้เป็นการฟ้องเรียกมรดกซึ่งมีอายุความ ๑ ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย หรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้เรื่องความตายเจ้ามรดก ตาม ปพพ มาตรา ๑๗๕๔ คำให้การจำเลยทั้งสองจึงไม่ได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความในคดีมรดกให้ชัดแจ้งว่า คดีขาดอายุความเรื่องฟ้องคดีมรดกเมื่อใด โจทก์ที่ ๑ มีสิทธิ์เรียกร้องในทรัพย์มรดกตั้งแต่เมื่อใด นับแต่วันใด เมื่อนับจากวันนั้นถึงวันฟ้องคดีจึงขาดอายุความไปแล้วหรือไม่อย่างไร คำให้การจำเลยทั้งสองจึงเป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดในคำให้การว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการยอมรับหรือปฏิเสธนั้น เป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ปวพ มาตรา ๑๗๗ วรรคสอง คดีไม่มีข้ออ้างข้อถียงในประเด็นเรื่องอายุความ ตาม ปวพ มาตรา ๑๘๓ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยคดีโจทก์ขาดอายุความตาม ปพพ มาตรา ๑๗๕๔วรรคท้าย เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท ไม่ชอบด้วย ปวพ มาตรา ๑๔๒วรรคแรก ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีงามของประชาชน ศาลฏีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีผู้ใดกล่าวอ้าง ปวพ มาตรา ๑๔๒(๕)
๓. ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่า จำเลยทั้งสองน่าที่จะไปฟ้องเป็นอีกคดีต่างหากว่าตนได้ครอบครองปรปักษ์ในทรัพย์มรดกแล้วตนได้กรรมสิทธิ์ตาม ปพพ มาตรา ๑๓๘๒ และตนอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิ์การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมได้ก่อน เมื่อตนอยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิ์ดังกล่าวได้ก่อนโดยทรัพย์นั้นไม่ใช่มรดกตกทอดแก่ทายาทผู้ตาย เพราะผู้ตายซึ่งเป็นเจ้ามรดกยอมให้ถูกแย่งการครอบครองปรปักษ์จนล่วงเลยเวลาที่จะสามารถฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองแล้ว ตนได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์ แล้วจึงนำผลคดีดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาในคดีที่ฟ้องมรดก หรือมิเช่นนั้นก็ต่อสู้ในคดีมรดกเลยว่าทรัพย์ดังกล่าวไม่ใช่มรดกแต่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนที่ได้จากการแย่งการครอบครองปรปักษ์
๔.เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทได้แก่ภรรยาและบุตรทั้งเจ็ด โดยภรรยามีสิทธิ์ได้รับมรดกเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตรตาม ปพพ มาตรา ๑๖๓๕(๑) ซึ่งในที่นี้หมายถึงภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายที่มีการจดทะเบียนสมรสกับผู้ตายเท่านั้น หากไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ตายย่อมไม่ใช่ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายที่จะนำความตาม ปพพ มาตรา ๑๖๓๕(๑)มาใช้บังคับได้
๕.ภรรยารับโอนที่พิพาทแทนทายาทและยกที่ดินให้จำเลยทั้งสองถือกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทแทนโจทก์ที่ ๑ ที่เป็นทายาทคนหนึ่งด้วย จำเลยทั้งสองเป็นผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิ์ในที่พิพาทดีไปกว่าภรรยาเจ้ามรดกผู้โอน เพราะภรรยามีสิทธิ์ในทรัพย์มรดกเพียง๑ ส่วนเท่านั้น ไม่ได้มีสิทธิ์ในที่พิพาททั้งแปลงแต่อย่างใดไม่คือไม่ได้มีสิทธิ์ในที่ดินทั้ง ๘ ส่วน (ทายาทผู้ตายมีบุตร ๗ คน และภรรยา ๑ คน ได้รับส่วนแบ่งคนละเท่าๆกันตาม ปพพ มาตรา ๑๖๓๕(๑),๑๖๓๓) ดังนั้น โจทก์ที่ ๑ ในฐานะบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายจึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ๑ ใน ๘ ส่วนชอบที่จะฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นตัวแทนจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ที่ ๑ ลงในโฉนดที่พิพาทได้ตาม ปพพ มาตรา ๘๑๐ วรรคแรก โดยถือว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ที่จำเลยทั้งสองในฐานะตัวแทนของภรรยาผู้ตายรับไว้เกี่ยวเนื่องจากการเป็นตัวแทนจึงต้องส่งให้แก่ตัวการตามจำนวนที่ตัวการแต่ละคนมีสิทธิ์
๖. การแต่งตั้งทนายต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อตัวความ และยื่นต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวนความตาม ปวพ มาตรา ๖๑ ทนายความจึงมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนคู่ความเพื่อรักษาประโยชน์ของตัวความได้ ตาม ปวพ มาตรา ๖๒ เมื่อไม่ปรากฏใบแต่งทนายสำหรับ อ. แต่ อ. ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล จึงเป็นกรณีไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม หรือเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการยื่น การเขียน การส่งคำคู่ความหรือเอกสารใดประกอบการพิจารณาของศาล อันเป็นการกระทำที่ผิดระเบียบตาม ปวพ มาตรา ๒๗ ซึ่งศาลสามารถเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือมีคำสั่งให้แก้ไขตามที่ศาลเห็นสมควรได้
๗.เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า อ. ได้เรียงคำฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์จนเสร็จการพิจารณาศาลชั้นต้น โดยโจทก์ยอมรับเอาผลของการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นตลอดมา จำเลยก็ไม่ได้คัดค้านประการใดมาแต่ต้น จึงเป็นการยอมรับเอาผลแห่งการกระทำที่ผิดระเบียบและถือเป็นการให้สัตยาบันแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ปวพ มาตรา ๒๗ วรรคสองด้วย ตามพฤติการณ์จึงเชื่อว่าโจทก์ให้ อ. เป็นทนายความในคดีนี้ เมื่อปรากฏยังไม่มีใบแต่งทนายสำหรับ อ. ในสำนวน ศาลมีอำนาจที่จะอนุญาตให้แก้ไขจัดทำเสียใหม่ให้ถูกต้องตาม ปวพ มาตรา ๒๗ แม้ศาลชั้นต้นไมได้แก้ไขข้อบกพร่องก่อนพิพากษาคดี แต่โจทก์ก็ได้ยื่นใบแต่งตั้ง อ เป็นทนายความในคดีพร้อมกับยื่นอุทธรณ์อันเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว การดำเนินกระบวนพิจารณาของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
๘.ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ที่ ย และ จ ได้มาระหว่างเป็นสามีภรรยากัน จึงเป็นสินสมรสตาม ปพพ มาตรา ๑๔๗๔(๑)เมื่อ ย. ถึงแก่ความตาย ที่ดินดังกล่าวย่อมตกเป็นมรดก ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๐๐ เมื่อคู่สมรสถึงแก่ความตาย การสมรสสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมาย ปพพ มาตรา ๑๕๐๑ ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาต้องแบ่งกันคนละครึ่ง ตามปพพ มาตรา ๑๓๕๗ ดังนั้น จ จึงยกที่พิพาทให้จำเลยได้เฉพาะส่วนของ จ. เท่านั้น ปพพ มาตรา ๑๓๕๘,,๑๓๖๑วรรคแรก แต่ส่วนที่เป็นของ ย ต้องเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม ซึ่ง จ ในฐานะคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายก็มีส่วนแบ่งในฐานะทายาทโดยชอบธรรมตาม ปพพ มาตรา ๑๖๓๕(๑) คือเมื่อ ย ถึงแก่ความตายต้องแบ่งที่ดินพิพาทออกเป็นสองส่วน โดยทั้งผู้ตายและคู่สมรสที่มีชีวิตอยู่ได้รับส่วนแบ่งคนละครึ่งตามกฎหมายครอบครอง ในส่วนของผู้ตายนั้น เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายในส่วนนี้จึงตกเป็นมรดกซึ่งคู่สมรสอีกฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ก็จะได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกนี้ด้วยตาม ปพพ มาตรา ๑๖๓๕ นั้นก็คือ คู่สมรสที่มีชีวิตอยู่ได้ส่วนแบ่งครึ่งหนึ่งตามกฎหมายครอบครอง ส่วนอีกครึ่งที่ตกเป็นมรดกตนเองก็มีส่วนได้ตามจำนวนที่บัญญัติไว้ในปพพ มาตรา ๑๖๓๕
๙.โจทก์ทั้งห้าและจำเลยเป็นบุตรของ ย ซึ่งเป็นเจ้ามรดก โจทก์ทั้งห้าและจำเลยจึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ ๑ จ เป็นคู่สมรสเป็นทายาทโดยธรรมตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๙ มีสิทธิ์รับมรดกเสมือนเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา ๑๖๓๕(๑) เมื่อเป็นทายาทในลำดับเดียวกันจึงได้รับส่วนแบ่งเท่ากันตาม ปพพ มาตรา๑๖๓๓ ที่ดินพิพาทที่เป็นมรดกของ ย.ต้องแบ่งออกเป็น ๗ ส่วนเท่าๆกัน เพื่อแบ่งแก่โจทก์ทั้งห้าจำเลยและ จ คนละ ๑ ส่วน
๑๐. จำเลยฏีกาว่าคดีขาดอายุความนั้นในชั้นอุทธรณ์จำเลยไม่ได้ยกขึ้นอ้างเป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ในประเด็นเรื่องอายุความจึงไม่ใช่ข้อที่ว่ามาแล้วในศาลอุทธรณ์ และไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ปวพ มาตรา ๑๔๒(๕) จึงต้องห้ามไม่ให้ฏีกาตาม ปวพ มาตรา ๒๔๙ วรรครแรก ศาลฏีกาไม่รับวินิจฉัยให้

วันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2560

“ข่มขืนแล้วสมรส”

๑.ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปี ถ้าเป็นการกระทำที่ชายกระทำแก่เด็กหญิงอายุกว่า ๑๓ ปีแต่ไม่เกิน ๑๕ ปี โดยหญิงยินยอม และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและหญิงนั้นสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษตาม ปอ มาตรา ๒๗๗วรรคแรก(เดิม)และวรรคท้าย(เดิม) มีความหมายว่า ในกรณีที่ชายหญิงอายุไม่เกิน ๑๗ ปีบริบรูณ์ยังไม่อาจที่จะสมรสกันได้ หากจะสมรสต้องมีคำสั่งศาลอนุญาตให้ทำการสมรสได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๔๔๘ หรือกรณีที่ชายหรือเด็กหญิงเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามและมีภูมิลำเนาในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูลทำการสมรสถูกต้องตามหลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวมรดก ซึ่งมีพรบ.ให้ใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูล พ.ศ. ๒๔๙๘ อันเป็นกฎหมายพิเศษใช้บังคับแก่ผู้นับถือกฎหมายอิสลามในส่วนที่เกี่ยวกับครอบครัวมรดกเฉพาะในเขต ๔ จังหวัดดังกล่าวแทนบทบัญญัติแห่ง ปพพ บรรพ ๕ บรรพ ๖ จึงมีผลให้ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษ จำเลยกับผู้เสียหายที่ ๒นับถือศาสนาอิสลามมีภูมิลำเนาในจังหวัดสตูลทำการสมรสโดยถูกต้องตามกฎหมายอิสลาม จึงไม่ต้องรับโทษตาม ปอ มาตรา ๒๗๗วรรคแรก(เดิม) แม้จำเลยไม่ฏีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฏีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๕,๒๒๕ คำพิพากษาฏีกาที่ ๘๕๒๓/๒๕๕๒
๒. จำเลยที่ ๑ กระทำชำเราผู้เสียหายขณะผู้เสียหายอายุยังไม่เกิน ๑๕ ปีโดยผู้เสียหายยินยอมเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๗๗วรรคแรก ส่วนในวรรคท้ายที่บัญญัติว่า ความผิดดังกล่าวถ้าเป็นการกระทำที่ชายกระทำแก่เด็กหญิงอายุกว่า ๑๓ ปี แต่ไม่เกิน ๑๕ ปีโดยเด็กหญิงนั้นยินยอม และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายหญิงสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ หมายความว่าในกรณีที่ชายหญิงอายุไม่ครบ ๑๗ ปีบริบรูณ์ ยังไม่อาจสมรสกันได้ต้องรอคำสั่งศาลอนุญาตให้ทำการสมรส(ปพพ มาตรา ๑๔๔๘) มีผลให้ชายผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ แต่เมื่อจำเลยที่ ๑ และผู้เสียหายมีอายุครบ ๑๗ ปีบริบรูณ์แล้วก็ย่อมจดทะเบียนสมรสกันได้เองโดยไม่ต้องรับอนุญาตจากศาลก่อน ถือว่าจำเลยที่ ๑ กับผู้เสียหายเป็นสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยที่ ๑ จึงไม่ต้องรับโทษ คำพิพากษาฏีกา ๖๔๘๔/๒๕๔๕
ข้อสังเกต ๑.กระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปี(คือน้อยกว่าหรือเท่ากับ ๑๕ ปี)ซึ่งไม่ใช่ภรรยาโดยเด็กนั้นยินยอมหรือไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย( ปอ มาตรา ๒๗๗ วรรคแรก) หากผู้กระทำผิดอายุไม่เกิน ๑๘ ปี(คืออายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ ๑๘ ปี)กระทำชำเราต่อเด็กอายุกว่า ๑๓ ปี(คืออายุมากกว่า ๑๓ ปีขึ้นไปตั้งแต่ ๑ วัน) แต่ยังไม่เกิน ๑๕ ปี (คือยังไม่ถึง ๑๕ ปีบริบรูณ์ คือน้อยกว่า ๑๕ ปี หรือ ๑๕ ปีบริบรูณ์) โดยเด็กนั้นยินยอม ต่อมาศาลอนุญาตให้ทำการสมรส ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษตาม ปอ มาตรา ๒๗๗ วรรคท้าย หากศาลอนุญาตให้ทำการสมรสขณะที่กำลังรับโทษอยู่ ให้ศาลปล่อยตัวผู้กระทำผิดไป
๒.คำว่า “ ไม่ต้องรับโทษ” หมายความว่า ยังเป็นความผิดอยู่เพียงแต่ไม่ต้องรับโทษเท่านั้น หากสำนวนอยู่ในชั้นของพนักงานอัยการน่าจะปรับได้ตาม ปวอ มาตรา ๓๙(๗) ที่บัญญัติว่า สิทธิ์นำคดีอาญามาฟ้องระงับ เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ ซึ่งตามระเบียบสนง.อัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญา ข้อ ๕๔ ให้พนักงานอัยการมีคำสั่ง “ยุติการดำเนินคดี” โดยให้เหตุผลว่า มีกฎหมายยกเว้นโทษ โดยไม่ต้องปฏิบัติตาม ปวอ มาตรา ๑๔๕และ น่าจะรวมถึง๑๔๕/๑ด้วย ที่ต้องส่งสำนวนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โดยพนักงานอัยการผู้มีอำนาจในการดำเนินคดีเป็นผู้สั่งแล้วเสนอผู้บังคับบัญชาถัดไปอีกหนึ่งชั้นทราบ พร้อมแจ้งคำสั่งยุติการดำเนินคดีแก่พนักงานสอบสวนเพื่อแจ้งผู้ต้องหาหรือผู้ร้องทุกข์ทราบ หากปรากฏในภายหลังว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้อง ให้หัวหน้าพนักงานอัยการทำความเห็นแล้วส่งสำนวนพร้อมความเห็นไปให้อธิบดีเป็นผู้สั่งเพิกถอนคำสั่งนั้น หากอธิบดีเป็นผู้สั่งให้ทำความเห็นเสนอตามลำดับชั้นไปให้อัยการสูงสุดหรือรองอัยการสูงสุดที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้สั่ง
๓.ชายหญิงอายุ ๑๗ ปีบรูณ์แล้วจึงจะทำการสมรสกันได้ เว้นแต่ในกรณีมีเหตุอันควร ศาลอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้ ปพพ มาตรา ๑๔๔๘ โดยในการสมรสของผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจาก
๓.๑บิดามารดา ในกรณีที่มีบิดามารดา
๓.๒บิดาหรือมารดา ในกรณีที่บิดาหรือมารดาตายหรือถูกถอนอำนาจปกครอง หรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่จะให้ความยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจร้องขอความยินยอมจากบิดามารดาได้
๓.๓ผู้รับบุตรบุญธรรมกรณีผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม
๓.๔ผู้ปกครอง ในกรณีที่ไม่มีบุคคลตามข้อสังเกตที่ ๓.๑, ๓.๒, ๓.๓ หรือมีแต่ถูกถอนอำนาจปกครอง
๔.การสมรสที่กระทำไปโดยปราศจากความยินยอมจากบุคคลตามข้อสังเกตที่ ๓.๑ถึง ๓..๔ตกเป็นโมฆียะ ปพพ มาตรา ๑๔๕๔,๑๔๓๖,๑๕๐๙
๕.ผู้ใช้อำนาจปกครองอาจถูกถอนอำนาจปกครองได้ หากเป็นคนไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ หรือใช้อำนาจปกครองโดยไม่ชอบ ประพฤติชั่วร้าย ศาลอาจถอนอำนาจปกครอง หรือญาติหรือพนักงานอัยการร้องขอ ตาม ปพพ มาตรา ๑๕๘๒
๖..ความเป็นผู้ปกครองสิ้นสุดลงเมื่อตาย ลาออกโดยได้รับอนุญาตจากศาล เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ เป็นบุคคลล้มละลายหรือถูกถอนโดยคำสั่งศาล ปพพ มาตรา ๑๕๙๘/๗
๗.”ผู้ปกครอง” แตกต่างกับ “ ผู้ใช้อำนาจปกครอง”..
“ ผู้ปกครอง” หรือ “อำนาจปกครอง” เป็นไปตาม บทบัญญัติใน ปพพ มาตรา ๑๒๕๖๖ ที่บุตรผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส ปพพ มาตรา ๒๐ หรือไม่บรรลุนิติภาวะโดยอายุครบ ๒๐ ปีบริบรูณ์ ตาม ปพพ มาตรา ๑๙.อำนาจปกครองบุตรย่อมตกแก่บิดามารดาหรือตกแก่บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่ง ตาม ปพพ มาตรา ๑๕๖๖ กรณีบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ตาย ไม่แน่ว่ายังมีชีวิตอยู่หรือตายแล้ว ถูกศาลสั่งเป็นคนไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ หรือต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน หรือศาลมีคำสั่งให้อำนาจปกครองตกแก่บิดาหรือมารดา หรือบิดามารดาตกลงกันตามที่กฎหมายบัญญัติให้ตกลงกันได้
ส่วน “ผู้ปกครอง” เป็นกรณีที่ เด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะ และไม่มีบิดามารดา หรือมีแต่ถูกถอนอำนาจปกครอง ศาลจะตั้งผู้ปกครองขึ้นตาม ปพพ มาตรา ๑๕๘๕.ซึ่งใครก็ได้ที่บรรลุนิติภาวะแล้วสามารถเป็น “ ผู้ปกครองเด็กได้ เว้นแต่เข้าข้อห้ามตาม ปพพ มาตรา ๑๕๕๗ โดยบุคคลนั้นเป็นคนไร้ความสามารรถหรือเสมือนไร้ความสามารถ เป็นคนล้มละลาย หรือไม่เหมาะที่จะปกครองผู้เยาว์หรือทรัพย์สินของผู้เยาว์ หรือมี เคยมีคดีในศาลกับผู้เยาว์ บุพการีหรือพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดาเดียวกับผู้เยาว์ หรือบุคคลที่บิดามารดาที่ตายทำหนังสือระบุห้ามไม่ให้เป็นผู้ปกครอง....
.๘.ความสมบรูณ์ของการสมรสตามกฎหมายอิสลาม (หลักกฎหมายข้อ ๔๖)
๘.๑ต้องมีคู่สมรสชายและคู่สมรสหญิง
๘.๒มีวลีของคู่สมรสหญิง (วลีใน หมายถึง ผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามกฎหมายซึ่งเป็นผู้ให้ความยินยอมในพิธีนิกะห์)
๘.๓มีพยานอย่างน้อย ๒ คน โดยพยานต้องมีคุณสมบัติตามกฎหมายด้วย
๘.๔มีการเปล่งวาจา “เสนอ” การสมรสของ “วลี” ฝ่ายหญิง (เรียก อีญาบ) และมีการเปล่งวาจา “สนองรับ” การสมรสของฝ่ายชาย( เรียก กอบูล”) หลักกกหมายข้อ ๕๔
๘.๕เงื่อนไขอื่นๆอีก ซึ่งบางข้อมีข้อความเหมือนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยมีการเพิ่มเติมลายละเอียดตามบทบัญญัติของศาสนา ซึ่งต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด การไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายก็เหมือนการปฏิบัติผิดบทบัญญัติของศาสนา ทำให้ตกเป็นโมฆะ แล้วยังเป็นบาปอีก เพราะกฏหมายอิสลามและบทบัญญัติเรื่องศาสนาอิสลามเป็นเรื่องเดียวกัน เพราะมีการเพิ่มเติมบทบัญญัติในทางศาสนาเข้าไปในตัวบทกฏหมาย
๙. ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปี ถ้าเป็นการกระทำที่ชายกระทำแก่เด็กหญิงอายุกว่า ๑๓ ปีแต่ไม่เกิน ๑๕ ปี โดยหญิงยินยอม และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและหญิงนั้นสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษตาม ปอ มาตรา ๒๗๗วรรคแรก(เดิม)และวรรคท้าย(เดิม) มีความหมายว่า ในกรณีที่ชายหญิงอายุไม่เกิน ๑๗ ปีบริบรูณ์ยังไม่อาจที่จะสมรสกันได้ หากจะสมรสต้องมีคำสั่งศาลอนุญาตให้ทำการสมรสได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๔๔๘ หรือกรณีที่ชายหรือเด็กหญิงเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามและมีภูมิลำเนาในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูลทำการสมรสถูกต้องตามหลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวมรดก ซึ่งมีพรบ.ให้ใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูล พ.ศ. ๒๔๙๘ อันเป็นกฎหมายพิเศษใช้บังคับแก่ผู้นับถือกฎหมายอิสลามในส่วนที่เกี่ยวกับครอบครัวมรดกเฉพาะในเขต ๔ จังหวัดดังกล่าวแทนบทบัญญัติแห่ง ปพพ บรรพ ๕ บรรพ ๖ จึงมีผลให้ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษ
๑๐.จำเลยกับผู้เสียหายที่ ๒นับถือศาสนาอิสลามมีภูมิลำเนาในจังหวัดสตูลทำการสมรสโดยถูกต้องตามกฎหมายอิสลาม คือต้องสมรสโดยผ่านพิธีนิกะห์(คือพิธีการผูกนิติสัมพันธ์ทางการสมรสระหว่างชายหญิง เพื่อเป็นสามีภรรยากันตามกฎหมาย) จึงจะเป็นการสมรสที่สมบรูณ์ (หมวด ๒ ข้อ ๓๒) เมื่อทำพิธีนิกะห์เรียบร้อยแล้วจึงไปทำการจดทะเบียนสมรสตามกฏหมายแพ่งและพาณิชย์สำทับอีกทีที่อำเภอ เพื่อให้เกิดความสมบรูณ์กล่าวอ้างความเป็นสามีภรรยาต่อคนทั้งประเทศได้ ชายสามารถมีภรรยาได้ไม่เกิน ๔ คน ภายใต้เงื่อนไข คือต้องมีเหตุผลและความจำเป็นที่ชัดเจน และมีความสามารถที่จะให้ความเป็นธรรมในการปกครอง หรือในการแบ่งเวรอยู่กินกับภรรยาอื่นได้ ( ข้อ ๔๐) มีข้อน่าสังเกตคือ ตาม ปพพ มาตรา ๑๔๔๘กำหนดอายุของชายหญิงที่จะทำการสมรสกันไว้ว่าต้อง ๑๗ ปีบริบรูณ์ แต่กฎหมายอิสลามไม่ได้กำหนดอายุไว้ตายตัวเพียงใช้คำว่า “ คู่สมรสบรรลุศาสนภาวะและมีสติเยี่ยงวิญญูชน ซึ่งการบรรลุศาสนภาวะ หมายถึง การพ้นจากการเป็นผู้เยาว์ เมื่อมีอายุ ๑๕ ปีบริบรูณ์ หรือน้ำกามเคลื่อนด้วยเหตุใดๆ หรือหญิงมีประจำเดือน ดังนั้นแม้อายุเพียง ๑๒ ปี หากมีประจำเดือน หรือชายที่มีน้ำกาม(อสุจิ)หลังก็สามารถเข้าพิธีนิกะห์ได้ ข้อ ๔๗(๔),๑(๑๕)
๑๑.เมื่อผู้กระทำผิดได้ทำการสมรสตามกฏหมายแพ่งและพาณิชย์คือมีการจดทะเบียนสมรสตาม ปพพ มาตรา ๑๔๕๗ โดยไม่คำนึงว่าจะมีการหมั้นหรือไม่ ไม่คำนึงว่าจะมีการแต่งงานกันตามประเพณีหรือไม่ คำนึงว่ามีการจดทะเบียนสมรสกันถือได้สมรสกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ส่วนบุคคลที่นับถือศาสนาอิสลามได้ทำการสมรสโดยถูกต้องตามกฎหมายอิสลามแล้ว ผู้กระทำผิด จึงไม่ต้องรับโทษตาม ปอ มาตรา ๒๗๗วรรคแรก(เดิม)
๑๒.ปัญหาว่า “ผู้กระทำความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปีซึ่งไม่ใช่ภรรยาหรือสามีของตน โดยผู้กระทำผิดอายุไม่เกิน ๑๘ ปีบริบรูณ์กระทำต่อเด็กอายุกว่า ๑๓ ปี แต่ไม่เกิน ๑๕ ปีโดยเด็กยินยอม และศาลอนุญาตให้ทำการสมรส” อันมีผลให้ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษตาม ปอ มาตรา ๒๗๗ นั้น เป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน แม้จำเลยไม่ฏีกาหรือไม่ได้เป็นข้อที่ว่ากันมาแล้วในชั้นศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ ศาลฏีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๕,๒๒๕
๑๓. จำเลยที่ ๑ กระทำชำเราผู้เสียหายขณะผู้เสียหายอายุยังไม่เกิน ๑๕ ปีโดยผู้เสียหายยินยอมเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๗๗วรรคแรก ส่วนในวรรคท้ายที่บัญญัติว่า ความผิดดังกล่าวถ้าเป็นการกระทำที่ชายกระทำแก่เด็กหญิงอายุกว่า ๑๓ ปี แต่ไม่เกิน ๑๕ ปีโดยเด็กหญิงนั้นยินยอม และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายหญิงสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ หมายความว่าในกรณีที่ชายหญิงอายุไม่ครบ ๑๗ ปีบริบรูณ์ ยังไม่อาจสมรสกันได้ต้องรอคำสั่งศาลอนุญาตให้ทำการสมรส(ปพพ มาตรา ๑๔๔๘) มีผลให้ชายผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ แต่เมื่อจำเลยที่ ๑ และผู้เสียหายมีอายุครบ ๑๗ ปีบริบรูณ์แล้วก็ย่อมจดทะเบียนสมรสกันได้เองโดยไม่ต้องรับอนุญาตจากศาลก่อน เมื่อทำการสมรสกันระหว่างชายหญิง อายุ ๑๗ กับ ๑๗ ปีบริบรูณ์ ถือว่าจำเลยที่ ๑ กับผู้เสียหายเป็นสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยที่ ๑ จึงไม่ต้องรับโทษ
๑๔.โดยใน ปพพ มาตรา ๑๔๔๘ ชายหญิงจะทำการสมรสได้เมื่อมีอายุ ๑๗ ปีบริบรูณ์ เว้นแต่มีเหตุอันควรเช่น หญิง อายุ ๑๕ ปี แต่ตั้งครรถ์ ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนอายุครบ ๑๗ ปีบริบรูณ์ได้ การที่กฏหมายบัญญัติให้ชายหญิงที่มีอายุครบ ๑๗ ปีบริบรูณ์ทำการสมรสกันได้ ก็หมายความว่าให้ชายหญิงที่มีอายุครบ ๑๗ ปีบริบรูณ์สามารถจดทะเบียนสมรสกันได้ เพราะใน ปพพ มาตรา ๑๔๕๗ บัญญัติให้ การสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะมีได้แต่เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนสมรสกันแล้วเท่านั้น เมื่อนำบทบัญญัติในกฎหมายสองมาตราดังกล่าวมาประกอบกันจึงตีความว่า อายุ ๑๗ ปีบริบรูณ์ทั้งชายหญิงสามารถจดทะเบียนสมรสกันได้แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลตามข้อสังเกตข้อ ๓.๑ถึง ๓.๔ เสียก่อน ซึ่งคงไม่หมายความเฉพาะอายุ ๑๗ ปีบริบรูณ์แล้วสามารถแต่งงานกันได้เท่านั้นเพราะการแต่งงานไม่ใช่การสมรสตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นเพียงประเพณีพิธีกรรมที่กระทำกันเท่านั้น หากไม่มีการจดทะเบียนสมรสกันก็ถือไม่ได้ว่าชายหญิงเป็นสามีภรรยากัน หญิงถือว่าอยู่ในฐานะนางบำเรอของชายเท่านั้น แต่ไมได้อยู่ในฐานะเป็นภรรยาโดยถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการที่ชายหญิงอายุ ๑๗ปีบริบรูณ์ยังไม่อายุ ๒๐ ปีบริบรูณ์ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามปพพ มาตรา ๑๙ก็ตามแต่สามารถทำการสมรสกันได้ โดยการสมรสระหว่างชายหญิงที่อายุ ๑๗ ปีบริบรูณ์นั้นคู่สมรสซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลตามข้อสังเกตที่ ๓.๑ถึง ๓.๔ด้วย มิเช่นนั้นการสมรสดังกล่าวตกเป็นโมฆียะ สมบรูณ์จนกว่าจะถูกบอกล้าง เมื่อถูกบอกล้างแล้วถือว่าเป็นโมฆะมาแต่แรกตาม ปพพ มาตรา ๑๗๖
๑๒.ขอเป็นกบนอกกะลาหน่อย เมื่อสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมตกเป็นโมฆียะสมบรูณ์จนกว่าจะถูกบอกล้าง ตราบใดยังไม่ถูกบอกล้างถือว่าการสมรสยังสมบรูณ์อยู่ ดังนั้นโทษในทางอาญาในความผิดฐานกระทำชำเรา ฯ ตาม ปอ มาตรา ๒๗๗ย่อมระงับไปด้วยเพราะมีการสมรสกันแล้ว แต่อาจมีคนเห็นต่างเห็นว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายคงประสงค์ว่าต้องทำการสมรสให้ถูกต้องตามกฏหมายคือมีการจดทะเบียนโดยได้รับความยินยอมจากบุคคลตามข้อสังเกตข้อ ๓.๑ถึง ๓.๔แล้วจึงทำให้โทษระงับไป
๑๓.ในความเห็นส่วนตัวไม่ค่อยเห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้ การที่ฝ่ายชายยอมแต่งงานเพราะมีความรักในตัวผู้หญิงหรือแต่งงานเพื่อไม่ต้องถูกดำเนินคดี หากคิดจะแต่งงานยกย่องฝ่ายหญิงอย่างแท้จริงก็น่าจะให้ผู้ให้มาสู่ขอให้เป็นเรื่องเป็นราวไม่ใช่มาลักลอบได้เสียกันพอจะถูกดำเนินคดีก็มาสมรสกัน การสมรสที่เกิดนี้เกิดจากความสมัครใจหรือไม่อย่างไร ในภายภาคหน้าจะมีการจดทะเบียนหย่าหรือมีการฟ้องหย่ากันอีกหรือไม่อย่างไร ปัญหาที่ตามมาคือสินสมรสที่ต้องแบ่งกัน และปัญหาเรื่องลูกที่ไมได้รับความอบอุ่นเพราะพ่อแม่แยกทางกันและเกิดปัญหาว่าเด็กจะอยู่กับใครระหว่างพ่อกับแม่ นักร่างกฎหมายอาจมองว่าไหนๆก็เสียไปแล้วก็มาทำให้ถูกต้องตามประเพณี เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวได้ หากจะดำเนินคดีไป ฝ่ายหญิงอาจช่วยฝ่ายชายด้วยการไม่ยอมมาศาลจนศาลตัดพยานแล้วยกฟ้องเพราะไม่มีประจักษ์พยานมาเบิกความที่ศาล ซึ่งปัญหาตามมาคือ ต้องมีการดำเนินคดีฐานขัดหมายเรียกอีกหรือไม่อย่างไร หรือหญิงมาเบิกความที่ศาลก็เบิกความให้ต่างจากที่ให้การในชั้นสอบสวนว่าจำเลยไม่เคยร่วมประเวณีกับตน ซึ่งต้องมาดำเนินคดีกับเด็กฐานเบิกความเท็จหรือแจ้งความเท็จอีก สู้ตัดปัญหาไปเลยว่ามาสมรสกันภายหลังแล้ว ไม่ต้องรับโทษดีกว่าไหม?

“ข้าวนอกนา บุตรนอกกฎหมาย”

๑.บุตรที่เกิดระหว่างบิดามารดาอยู่กินด้วยกันฉันท์สามีภรรยาและจดทะเบียนสมรสกันแล้ว จนกระทั้งบิดาถึงแก่กรรม จึงมีคำพิพากษาของศาลชี้ขาดว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างบิดามารดาไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะขณะนั้นบิดายังมีภรรยาเดิมอยู่ไม่ได้หย่าขาดจากกัน ต้องถือว่าบุตรเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาตลอดมา มีสิทธิ์รับมรดกบิดา คำพิพากษาฏีกา ๑๕๘๐/๒๔๙๔
๒. ผู้ร้องเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ถือเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิ์รับมรดกของผู้ตายในลำดับที่ ๑ ของ ปพพ มาตรา ๑๖๒๙(๑) หาจำต้องฟ้องคดีขอให้รับเป็นบุตรหรือต้องมีคำส่างศาลว่า เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเสียก่อนไม่ ผู้คัดค้านเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาของผู้ตาย ไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่ร้องขอตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก หรือร่วมกับผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ ตาม ปวพ มาตรา ๑๖๑กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งและศาลอุทธรณ์ก็ไมได้แก้ไข เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฏีกาแก้ไขได้ คำพิพากษาฏีกาที่ ๖๗๗/๒๕๓๗
๓.ชายอยู่กินกับหญิง แสดงความสัมพันธ์ฉันท์สามีภรรยาในที่ต่างๆอย่างเปิดเผย เป็นการยอมรับว่าหญิงเป็นภรรยา มีการจัดงานเลี้ยงฉลองการตั้งครรถ์ เป็นการรับรองว่าโจทก์ซึ่งเป็นทารกในครรถ์มารดาเป็นบุตรของตน โจทก์จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ถือเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๗ เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิ์รับมรดกตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๙(๑) คำพิพากษาฏีกา ๑๔๖๙/๒๕๒๖
๔. ผู้คัดค้านที่ ๑ ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับผู้คัดค้านที่ ๒ ซึ่งเป็นมารดาของผู้ตาย และไม่ได้อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาก่อนมีการบังคับให้ใช้ ปพพ บรรพ ๕ซึ่งใช้บังคับโดยพรบ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ ๕แห่ง ปพพ๒๔๗๗ ผู้คัดค้านที่ ๑ ไม่เป็นบิดาโดยชอบด้วยกำหมายของผู้ตาย แม้ผู้ตายเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ผู้คัดค้านที่ ๑รับรองแล้ว ผลทางกฎหมายมีเพียงให้ถือว่า ผู้ตายเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิ์ได้รับมรดกของบิดาเท่านั้น หามีผลทำให้บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นบิดาที่ชอบด้วยกำหมายมีสิทธิ์รับมรดกของบุตรในฐานะทายาทโดยธรรมด้วยไม่ เมื่อผู้คัดค้านที่ ๑ ไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของขอองผู้ตายจึงไม่มีสิทธิ์คัดค้านหรือร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และไม่อาจฏีกาโต้แย้งว่า พินัยกรรมเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่มีผลบังคับได้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ผู้คัดค้านที่ ๒ ยื่นคำคัดค้านว่าพินัยกรรมที่ผู้ร้องอ้างเป็นพินัยกรรมปลอมเพราะลายมือชื่อในช่องทำพินัยกรรมไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้ตายและไม่ได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดจึงใช้บังคับไมได้ การที่ผู้คัดค้านที่ ๒ ฏีกาว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมในขณะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะซึ่งผู้คัดค้านที่ ๒ ไม่เคยยกขึ้นโต้เถียงเป็นประเด็นไว้ในคำคัดค้านจึงเป็นการฏีกาในข้อที่ไม่ได้ยกกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามไม่ให้ฏีกา ศาลฏีกาไม่รับวินิจฉัย พินัยกรรมของผู้ตายมีข้อกำหนดให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกและ ปพพ มาตรา ๑๗๑๓วรรคท้ายก็บัญญัติให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามเจตนาของผู้ตาย แม้ผู้คัดค้านที่ ๒ จะเป็นมารดาและทายาทของผู้ตายก็ไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก. คำพิพากษาฏีกาที่ ๑๖๒๕/๒๕๕๐
๕.ผู้คัดค้านเพิ่งคลอดหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องของผู้คัดค้านภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตายประมาณ ๘ เดือนว่า ผู้คัดค้านเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย กรณีถือได้ว่าเป็นการยื่นคำร้องภายในอายุความมรดก ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิ์รับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมตาม ปพพ มาตรา ๑๕๕๘วรรคแรก สิทธิ์ดังกล่าวมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านจึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ ๑ ผู้ร้องซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับผู้ตาย ทายาทโดยธรรมอันดับ ๓ เป็นอันดับถัดลงมา ไม่มีสิทธิ์ในทรัพย์มรดกผู้ตาย ปพพ มาตรา ๑๖๒๙,๑๖๓๐ คำว่า ผู้มีส่วนได้เสียตาม ปพพ มาตรา ๑๗๑๓ หมายถึงผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพย์มรดกโดยตรงมาตั้งแต่ต้น คือขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย หาใช่เกิดขึ้นในภายหลังตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีดังคดีนี้ไม่ คำพิพากษาฏีการที่๑๑๙๖/๒๕๓๘
๖. ปพพ มาตรา ๑๖๒๙ บัญญัติถึงบิดามารดาบุตร ว่าเป็นทายาทซึ่งกันและกันนั้น หมายถึงเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมาย ถ้าไม่ใช่ก็ไม่เป็นทายาท และไม่มีสิทธิ์รับมรดกซึ่งกันละกัน บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีสิทธิ์รับมรดกบุตร ศาลชั้นต้นวินินิจฉัยว่า ป. ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ น ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยไม่อุทธรณ์ปัญหาดังกล่าวจึงยุติ ฏีกาจำเลยในปัญหาเรื่องอายุความจึงไม่ใช่ข้อที่ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตาม ปวพ มาตรา ๒๔๙วรรคแรก ฏีกาจำเลยที่ไม่ได้ยกเหตุผลมาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ชัดแจ้งว่าไม่ถูกต้องอย่างไรที่ถูกควรเป็นอย่างไร เมื่ออ่านแล้วไม่อาจเข้าใจได้และไม่ทราบได้ว่าจำเลยฏีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในประเด็นใด เหตุผลใดเป็นฏีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ปวพ มาตรา ๒๔๙วรรคแรก คำพิพากษาฏีกา๒๓๐๔/๒๕๔๒
๗.บุคคลที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่า การสมรสที่ฝ่าฝืน ปพพ มาตรา ๑๔๕๘ตกเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๙๕นั้นได้แก่คู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันด่านของคู่สมรสหรืออัยการ เมื่อผู้คัดค้านเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตายจึงไม่ใช่บุคคลที่อาจขอให้ศาลพิพากษาว่า การสมรสระหว่างผู้ตายกับผู้ร้องเป็นโมฆะได้ ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสกับผู้ตายย่อมเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายแม้หากการสมรสไม่ถูกต้องตามกฎหมายดังที่ผู้คัดค้านอ้างก็ตาม แต่คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่า การสมรสเป็นโมฆะตาม มาตรา ๑๔๙๖ เมื่อยังไม่มีฝ่ายใดฟ้องและศาลยังไม่มีคำพิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ตายกับผู้ร้องเป็นโมฆะ การสมรสระหว่างผู้ตายกับผู้ร้องยังคงมีอยู่ ผู้ร้องยังคงเป็นคู่สมรสของผู้ตายเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง มีสิทธิ์รับมรดกของผู้ตาย ปพพ มาตรา ๑๖๒๙วรรคสอง คำพิพากษาฏีกา๓๘๙๘/๒๕๔๘
๘. ผู้ตายทำพินัยกรรมยก ทรัพย์ทั้งหมดให้ ต.มารดาแต่เพียงผู้เดียว แต่ ต.มารดาผู้รับพินัยกรรมถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ยกทรัพย์ทั้งหมดให้นาง ต. ย่อมตกไปตามมาตรา ๑๖๙๘(๑)ทรัพย์มรดกจึงตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา ๑๖๙๙,๑๖๒๐วรรคแรก แม้พินัยกรรมมีข้อกำหนดให้ตั้งผู้คัดค้านที่ ๒ เป็นผู้จัดการมรดกแต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฏีกา ผู้คัดค้านที่ ๒ ตาย การจัดการมรดกเป็นสิทธ์เฉพาะตัวไม่อาจตั้งผู้คัดค้านที่ ๒เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องได้ เมื่อผู้ร้องกับผู้ตายอยู่กินฉันสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสตาม มาตรา ๑๔๕๗จึงไม่เป็นทายาทโดยธรรมตาม มาตรา ๑๖๒๙วรรคสอง ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า บุคคลทั้งสองอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยาตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๒๓จนผู้ตายถึงแก่ความตายตลอดเวลาทำมาหาได้ร่วมกัน ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในฐานะเจ้าของร่วม เมื่อผุ้ตายถึงแก่ความตายทรัพย์สินที่บุคคลทั้งสองร่วมกันทำมาหาได้ย่อมต้องแบ่งเป็นของผู้ร้องส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ส่วนเด็กหญิง ญ แม้ไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายแต่ปรากฏตามสำเนาสูตจิบัตรว่าผู้ตายแจ้งว่าผู้ตายเป็นบิดาของเด็กหญิง ญ ทั้งได้นำเด็กหญิง ญ. มาเลี้ยงดูอุปการะส่งเสียให้การศึกษาให้ใช้ชื่อสกุลของผู้ตายพฤติการณ์แสดงว่า ผู้ตายรับรองเด็กหญิง ญ เป็นบุตรเด็กหญิง ญ จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ถือเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๑๖๒๗ และเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายตาม มาตรา ๑๖๒๙(๑) ผู้ร้องในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง ญ.จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้ร้องมีสิทธิ์ร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา ๑๗๑๓ ผู้คัดค้านที่ ๑ เป็นบุตรที่ผู้ตายได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร จึงเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายและเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา ๑๖๒๙(๑),๑๕๔๗ มีสิททธิ์รับมรดกผู้ตายคำพิพากษาฏีกา ๓๗๘๕/๒๕๕๒
ข้อสังเกต ๑.เด็กที่เกิดกับชายหญิงที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ปพพ มาตรา ๑๕๔๖ “ ให้ถือว่า “ เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายหญิง แต่ไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายชาย เด็กจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายชายต่อเมื่อ ชายหญิงได้จดทะเบียนสมรสกันภายหลัง บิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตร ปพพ มาตรา ๑๕๔๗ ซึ่ง ปพพ มาตรา ๑๕๕๗ การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายนั้นให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด แต่จะอ้างให้เป็นที่เสื้อมสิทธิ์แก่บุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตในเวลาตั้งแต่เด็กเกิดจนถึงเวลาที่บิดามารดาจดทะเบียนสมรส หรือบิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเด็กเป็นบุตรกรณีที่มีการฟ้องบิดาขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตาม ปพพ มาตรา ๑๕๕๕,๑๕๕๖
๒. ปพพ มาตรา ๑๔๕๒ ห้ามไม่ให้ทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ซึ่งการสมรสตาม ปพพ มาตรา ๑๔๕๗ คือการจดทะเบียนสมรส ดังนั้น การห้ามทำการสมรสซ้อนคือการห้ามจดทะเบียนสมรสซ้อนนั้นเอง แต่หากว่ามีภรรยาอยู่แล้วแต่ไม่จดทะเบียนสมรสถือไม่ใช่ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย หากชายไปจดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่นจะถือจดทะเบียนสมรสซ้อนไม่ได้
๓.เมื่อมีการจดทะเบียนสมรสเจ้าหน้าที่จะถามว่าเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อนหรือไม่ หากเราเคยจดทะเบียนสมรสและยังไม่ได้หย่าขาดจากกันแล้วมาจดทะเบียนสมรสใหม่โดยบอกว่าไม่เคยจดทะเบียนสมรส เป็นการแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จดข้อความจดข้อความอันเป็นเท็จลงในทะเบียนซึ่งเป็นเอกสารมหาชนแล้วตาม ปอ มาตรา ๑๓๗,๒๖๗ ผู้เสียหายที่สามารถแจ้งความร้องทุกข์คือ เจ้าพนักงานผู้รับแจ้ง , ภรรยาคนแรก เพราะตราบใดยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าการสมรสเป็นโมฆะต้องถือว่าเป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรส และในขณะเดียวกันภรรยาคนที่สองก็เป็นผู้เสียหายที่สามารถดำเนินคดีกับฝ่ายชายได้เพราะเมื่อจดทะเบียนสมรสแล้วทรัพย์ที่เกิดหลังจดทะเบียนสมรสเป็นสินสมรสไม่ว่าใครหาได้หรือใส่ชื่อใครเป็นเจ้าของเพียงคนเดียวก็ตาม แต่ทางปฏิบัติ ณ ขณะนี้น่าไม่มีปัญหาเพราะใช้ระบบ online ทั่วประเทศสามารถตรวจสอบว่าใครจดทะเบียนสมรสแล้วหรือไม่อย่างไร
๔.การสมรสขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ การสมรสตกเป็นโมฆะตาม ปพพ มาตรา ๑๔๕๒,๑๔๙๕ แต่คำพิพากษาเท่านั้นที่แสดงว่าการสมรสตกเป็นโมฆะ ปพพ มาตรา ๑๔๙๖ ผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้การสมรสตกเป็นโมฆะได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๔๙๗ การสมรสที่เป็นโมฆะไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา ทั้งไม่ทำให้ชายหญิงที่สมรสโดยสุจริตเสื่อมสิทธิ์ที่ได้มาเพราะการสมรสก่อนที่จะรู้เหตุแห่งการสมรสเป็นโมฆะ และหากการสมรสดังกล่าวทำให้ต้องยากจน ไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานที่เคยทำอยู่ก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดหรือก่อนรู้ว่าการสมรสตกเป็นโมฆะ สามารถเรียกค่าเลี้ยงชีพได้ และการสมรสที่เป็นโมฆะนั้นไม่ก่อให้เกิดสิทธ์ในการรับมรดกของอีกฝ่าย ปพพ มาตรา ๑๔๙๘,๑๔๙๙วรรคสอง,วรรคสาม
๕..คำพิพากษาของศาลที่ชี้ขาดว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างบิดามารดาไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะขณะนั้นบิดายังมีภรรยาเดิมอยู่ไม่ได้หย่าขาดจากกัน(สมรสซ้อน) ต้องถือว่าบุตรที่เกิดขึ้นมาระหว่างการสมรสซ้อนนั้นเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาตลอดมา มีสิทธิ์รับมรดกบิดา
๖. บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ถือเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิ์รับมรดกของผู้ตายในลำดับที่ ๑ ของ ปพพ มาตรา ๑๖๒๙(๑) หาจำต้องฟ้องคดีขอให้รับเป็นบุตรหรือต้องมีคำสั่งศาลว่า เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเสียก่อนไม่
๗. เมื่อผู้ร้องเป็นบุตรนอกกฏหมายที่บิดารับรองแล้ว ปพพ มาตรา ๑๖๒๗ “ ให้ถือว่า “ เป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรโดยชอบด้วยกฏหมาย จึงมีสิทธิ์รับมรดกหได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๙(๑) ผู้คัดค้านเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาของผู้ตาย เป็นทายาทอันดับสามตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๙ จึงถูกทายาทอันดับต้น คือบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วที่มีฐานะเสมือนบุตรชอบด้วยกฎหมายตัดไม่ให้รับมรดกได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๓๐ ดังนั้นผู้คัดค้านจึงไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่ร้องขอตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก หรือร่วมกับผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ ทั้งตาม ปวพ มาตรา ๑๖๑กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งและศาลอุทธรณ์ก็ไมได้แก้ไข เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฏีกาแก้ไขได้ ไม่ถือเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่ไม่ได้กล่าวไว้ในฟ้องตาม ปวพ มาตรา ๑๔๒
๘การที่.ชายอยู่กินกับหญิงโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันได้ แสดงความสัมพันธ์ฉันท์สามีภรรยาในที่ต่างๆอย่างเปิดเผย เป็นการยอมรับว่าหญิงเป็นภรรยา มีการจัดงานเลี้ยงฉลองการตั้งครรถ์ เป็นการรับรองว่าโจทก์ซึ่งเป็นทารกในครรถ์มารดาเป็นบุตรของตน โจทก์จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ถือเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๗ เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิ์รับมรดกตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๙(๑)
๙. บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และไม่ได้อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาก่อนมีการบังคับให้ใช้ ปพพ บรรพ ๕ซึ่งใช้บังคับโดยพรบ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ ๕แห่ง ปพพ๒๔๗๗ จึงไม่ใช่สามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ฝ่ายชายจึงไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรผู้ตาย แม้ผู้ตายเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ฝ่ายชายรับรองแล้ว ผลทางกฎหมายมีเพียงให้ถือว่า ผู้ตายเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิ์ได้รับมรดกของบิดาเท่านั้น หามีผลทำให้บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นบิดาที่ชอบด้วยกำหมายมีสิทธิ์รับมรดกของบุตรในฐานะทายาทโดยธรรมด้วยไม่
๑๐.บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายจึงไม่มีสิทธิ์คัดค้านหรือร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และไม่อาจฏีกาโต้แย้งว่า พินัยกรรมเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่มีผลบังคับได้ สิทธิ์ในการโต้แย้งคัดค้านว่าเป็นพินัยกรรมปลอมเป็นสิทธิ์ของทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก
๑๑.แม้จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ผู้คัดค้านที่ ๒ ยื่นคำคัดค้านว่าพินัยกรรมที่ผู้ร้องอ้างเป็นพินัยกรรมปลอมเพราะลายมือชื่อในช่องทำพินัยกรรมไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้ตายและไม่ได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดจึงใช้บังคับไม่ได้ ปพพ มาตรา ๑๖๕๕,,๑๕๒ การที่ผู้คัดค้านที่ ๒ ฏีกาว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมในขณะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะซึ่งผู้คัดค้านที่ ๒ ไม่เคยยกขึ้นโต้เถียงเป็นประเด็นไว้ในคำคัดค้านจึงเป็นการฏีกาในข้อที่ไม่ได้ยกกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามไม่ให้ฏีกา ตาม ปวพ มาตรา ๒๔๙ ศาลฏีกาไม่รับวินิจฉัย พินัยกรรมของผู้ตายมีข้อกำหนดให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกและ ปพพ มาตรา ๑๗๑๓วรรคท้ายก็บัญญัติให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามเจตนาของผู้ตาย แม้ผู้คัดค้านที่ ๒ จะเป็นมารดาและทายาทของผู้ตายก็ไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก.
๑๒.แม้เพิ่งคลอดหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องหลังผู้ตายถึงแก่ความตายประมาณ ๘ เดือนซึ่งยังไม่เกิน ๑ ปี นับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตาม ปพพ มาตรา ๑๗๕๕ ว่า ผู้คัดค้านเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย กรณีถือได้ว่าเป็นการยื่นคำร้องภายในอายุความมรดก ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิ์รับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมตาม ปพพ มาตรา ๑๕๕๘วรรคแรก
๑๓.สิทธิ์ดังกล่าวมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย เมื่อผู้คัดค้านเป็นบุตรจึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ ๑ ผู้ร้องซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับผู้ตาย ทายาทโดยธรรมอันดับ ๓ เป็นอันดับถัดลงมา ไม่มีสิทธิ์ในทรัพย์มรดกผู้ตาย ปพพ มาตรา ๑๖๒๙,๑๖๓๐
๑๔.คำว่า “ผู้มีส่วนได้เสีย” ที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก ตาม ปพพ มาตรา ๑๗๑๓ นั้น หมายถึงผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพย์มรดกโดยตรงมาตั้งแต่ต้น คือขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย หาใช่เกิดขึ้นในภายหลังตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีดังคดีนี้ไม่
๑๕. ปพพ มาตรา ๑๖๒๙ บัญญัติถึงบิดามารดาบุตร ว่าเป็นทายาทซึ่งกันและกันนั้น หมายถึงเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมายคือบิดาจดทะเบียนสมรสกับมารดา ถ้าไม่ใช่ก็ไม่เป็นทายาท และไม่มีสิทธิ์รับมรดกซึ่งกันละกัน บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีสิทธิ์รับมรดกบุตร
๑๖.การที่ศาลชั้นต้นวินินิจฉัยว่า ป. ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ น ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยไม่อุทธรณ์ปัญหาดังกล่าวจึงยุติ ส่วน ฏีกาจำเลยในปัญหาเรื่องอายุความจึงไม่ใช่ข้อที่ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตาม ปวพ มาตรา ๒๔๙วรรคแรก
๑๗. ฏีกาจำเลยที่ไม่ได้ยกเหตุผลมาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ชัดแจ้งว่าไม่ถูกต้องอย่างไรที่ถูกควรเป็นอย่างไร เมื่ออ่านแล้วไม่อาจเข้าใจได้และไม่ทราบได้ว่าจำเลยฏีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในประเด็นใด เหตุผลใดเป็นฏีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ปวพ มาตรา ๒๔๙วรรคแรก
๑๔.บุคคลที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่า การสมรสที่ฝ่าฝืน ปพพ มาตรา ๑๔๕๘ตกเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๙๕นั้นได้แก่คู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันด่านของคู่สมรสหรืออัยการ เมื่อผู้คัดค้านเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตายจึงไม่ใช่บุคคลที่อาจขอให้ศาลพิพากษาว่า การสมรสระหว่างผู้ตายกับผู้ร้องเป็นโมฆะได้
๑๕ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสกับผู้ตายย่อมเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย แม้หากการสมรสไม่ถูกต้องตามกฎหมายดังที่ผู้คัดค้านอ้างก็ตาม แต่คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่า การสมรสเป็นโมฆะตาม มาตรา ๑๔๙๖ เมื่อยังไม่มีฝ่ายใดฟ้องและศาลยังไม่มีคำพิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ตายกับผู้ร้องเป็นโมฆะ การสมรสระหว่างผู้ตายกับผู้ร้องยังคงมีอยู่ ผู้ร้องยังคงเป็นคู่สมรสของผู้ตายเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง มีสิทธิ์รับมรดกของผู้ตาย ปพพ มาตรา ๑๖๒๙วรรคสอง
๑๖. ผู้ตายทำพินัยกรรมยก ทรัพย์ทั้งหมดให้ ต.มารดาแต่เพียงผู้เดียว แต่ ต.มารดาผู้รับพินัยกรรมถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ยกทรัพย์ทั้งหมดให้นาง ต. ย่อมตกไปตามมาตรา ๑๖๙๘(๑)ทรัพย์มรดกจึงตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา ๑๖๙๙,๑๖๒๐วรรคแรก แม้พินัยกรรมมีข้อกำหนดให้ตั้งผู้คัดค้านที่ ๒ เป็นผู้จัดการมรดกแต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฏีกา ผู้คัดค้านที่ ๒ ตาย การจัดการมรดกเป็นสิทธ์เฉพาะตัวไม่อาจตั้งผู้คัดค้านที่ ๒เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องได้ เมื่อผู้ร้องกับผู้ตายอยู่กินฉันสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสตาม มาตรา ๑๔๕๗จึงไม่เป็นทายาทโดยธรรมตาม มาตรา ๑๖๒๙วรรคสอง ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า บุคคลทั้งสองอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยาตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๒๓จนผู้ตายถึงแก่ความตายตลอดเวลาทำมาหาได้ร่วมกัน ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในฐานะเจ้าของร่วม เมื่อผุ้ตายถึงแก่ความตายทรัพย์สินที่บุคคลทั้งสองร่วมกันทำมาหาได้ย่อมต้องแบ่งเป็นของผู้ร้องส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ส่วนเด็กหญิง ญ แม้ไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายแต่ปรากฏตามสำเนาสูตจิบัตรว่าผู้ตายแจ้งว่าผู้ตายเป็นบิดาของเด็กหญิง ญ ทั้งได้นำเด็กหญิง ญ. มาเลี้ยงดูอุปการะส่งเสียให้การศึกษาให้ใช้ชื่อสกุลของผู้ตายพฤติการณ์แสดงว่า ผู้ตายรับรองเด็กหญิง ญ เป็นบุตรเด็กหญิง ญ จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ถือเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๑๖๒๗ และเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายตาม มาตรา ๑๖๒๙(๑) ผู้ร้องในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง ญ.จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้ร้องมีสิทธิ์ร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา ๑๗๑๓ ผู้คัดค้านที่ ๑ เป็นบุตรที่ผู้ตายได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร จึงเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายและเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา ๑๖๒๙(๑),๑๕๔๗ มีสิทธิ์รับมรดกผู้ตาย

โกงค่าเช่าบ้าน

ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าเป็นหลักฐานแห่งการระงับซึ่งสิทธิของผู้ให้เช่า จึงเป็นเอกสารสิทธิ จำเลยนำใบเสร็จค่าเช่าบ้านที่จำเลยปลอมขึ้น และเป็นเอกสารเท็จยื่นประกอบแบบใบขอเบิกค่าเช่าบ้านเพื่อเบิกค่าเช่าบ้าน และจำเลยได้รับค่าเช่าบ้านจากคลังจังหวัดชุมพรไป กากรกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่สนง.ตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักคลังจังหวัด ช. หลงเชื่อว่าจำเลยได้เช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจริงและโดยการหลอกลวงดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่สนง.ตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สนง.คลังจังหวัด ช. หลงเชื่อว่าจำเลยได้เช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจริง และโดยการหลอกลวงดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สนง.คลังจังหวัด ช. หลงเชื่อ ทำให้จำเลยจำเลยได้รับเงินค่าเช่าบ้านตามที่จำเลยขอเบิกจ่ายไปจากเจ้าหน้าที่สนง.คลังจังหวัดช. อันน่าจะเกิดความเสียหายต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ช. เจ้าหน้าที่คลังจังหวัด ช. กรมส่งเสริมสหกรณ์ จึงเป้นความผิดฐานฉ้อโกงและใช้เอกสารสิทธิ์ปลอมตาม ปอ มาตรา ๓๔๑,๒๖๘ เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รับเอกสารและกรอกข้อความลงในเอกสารรับรองรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จ ตาม ปอ มาตรา ๑๖๒(๔) เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและโดยทุจริตตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ เมื่อเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๖๒(๔)ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วจึงไม่ปรับบทลงโทษตาม ปอ มาตรา ๑๕๗
การที่จำเลยดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัด ช.ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการของสนง.สหกรณ์จังหวัด ช. ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัด ช. ให้ทำการแทนผู้ว่าราชการจังหวัด ชง ในการเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านของข้าราชการและลูกจ้างในสนง.สหกรณ์จังหวัด ช. ทำการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินในแบบใบขอเบิกค่าเช่าบ้านโดยรู้อยู่แล้วว่าใบขอเบิกค่าเช่าบ้านและใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านเป็นเอกสารปลอมและมีข้อความเท็จ โดยจำเลยลงลายมือชื่ออนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านได้เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพำนักงานปฎิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและโดยทุจริตตาม ปอ มาตรา ๑๕๗
เอกสารพิพาทเป็นเอกสารของจำเลยที่จำเลยนำเงินส่วนที่เบิกเกินไปคืนทางราชการและตามใบเสร็จของกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้รับเงินจากจำเลย ไม่ปรากฏได้มีการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในความผิดฐานฉ้อโกง ลำพังการที่จำเลยส่งเงินส่วนที่เบิกเกินคืนกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมส่งเสริมสหกรณ์รับไว้ ก็เป็นเพียงทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางแพ่งเท่านั้น ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางอาญา ถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันอันจะทำให้สิทธิ์ในการนำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงระงับตาม ปวอ มาตรา ๓๙(๒) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงและในความผิดฐานอื่น
การที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านอันเป็นเอกสารสิทธิ์ซึ่งเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๖๕ เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระ เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน การที่จำเลยนำแบบขอเบิกค่าเช่าบ้านและใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านอันเป็นเอกสารสิทธิ์ที่จำเลยทำปลอมขึ้นดังกล่าวซึ่งมีข้อความเท็จเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ช. เพื่อให้เจ้าหน้าที่สนง.ตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่ สนง.คลังจังหวัด ช.หลงเชื่อว่าจำเลยได้เช่าบ้านจริงและโดยการหลอกลวงทำให้เจ้าหน้าที่สนง.ตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่ สนง.คลังจังหวัด ช.หลงเชื่อ ทำให้จำเลยได้รับเงินตามที่ขอเบิกจ่ายไปจากเจ้าหน้าที่คลังจังหวัด ช. อันเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๔๑,๒๖๘ การที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานกรอกข้อความได้รับรองคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านได้รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จอันเป้นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๖๒(๔) การที่จำเลยดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัด ช.ซึ่งเป็นหัวหน้าสนง.สหกรณ์จังหวัด ช. ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัด ช. ในการอนุมัติการเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านแทนผู้ว่าราชการจังหวัด ช. ลงลายมือชื่ออนุมัติการเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านของจำเลยในแบบคำขอเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยปลอมขึ้นและมีข้อความอันเป็นเท็จอันเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ ซี่งเป็นการกระทำคนละครั้งครากัน การที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้าน นำใบเสร็จดังกล่าวไปประกอบการยื่นคำขอเบิกค่าเช่าบ้าน ลงลายมือชื่อรับรองการเบิกเงินค่าเช่าบ้านรวมทั้งลายมือชื่ออนุมัติจ่ายเงินค่าเช่าบ้านในแต่ละเดือนดังกล่าว แม้เป็นกากรกระทำต่างกรรมต่างวาระกันแต่ก็เป็นการกระทำโดยมีเจตนาและจุดมุ่งหมายอันเดียวกันคือ มุ่งที่จะได้รับเงินค่าเช่าบ้าน การกระทำดังกล่าวตั้งแต่ปลอมใบเสร็จค่าเช่าบ้านจนถึงการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านจึงเป็นกระบวนการเดียวกันเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าเช่าบ้านตามที่จำเลยประสงค์ เป็นการกระทำต่อเนื่อง จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกันในแต่ละเดือนแต่ละคำขอตาม ปอ มาตรา ๙๐ เมื่อกระทำการดังกล่าว ๑๒ เดือน เดือนละ ๑ ครั้ง รวม ๑๒ ครั้ง เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ปอ มาตรา ๙๑ ในแต่ละกรรมต้องลงบทกฎหมายที่หนักสุดคือตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ คำพิพากษาฏีกา ๖๑๕๔/๒๕๔๐
ข้อสังเกต ๑.เอกสารสิทธิ์ เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการ ก่อ เปลี่ยนแปลงโอนสงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ์ ปอ มาตรา ๑(๙)
๒.ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าเป็นหลักฐานแห่งการระงับซึ่งสิทธิ์ของผู้ให้เช่าที่ผู้เช่าเมื่อได้ชำระค่าเช่าให้ผู้ให้เช่าแล้ว สิทธิ์ในการทวงค่าเช่าจากผู้ให้เช่าย่อมหมดไป ใบเสร็จรับเงินค่าเช่า จึงเป็นเอกสารสิทธิ์
๓. โดยเจตนาทุจริต แสวงหาประโยชน์อันไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยนำใบเสร็จค่าเช่าบ้านที่จำเลยปลอมขึ้นทั้งฉบับ โดยเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารเท็จว่ามีการเช่าบ้านและชำระค่าเช่าบ้านนำมายื่นประกอบแบบใบขอเบิกค่าเช่าบ้านเพื่อเบิกค่าเช่าบ้าน และจำเลยได้รับค่าเช่าบ้านจากคลังจังหวัดชุมพรไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า มีการเช่าบ้านกันจริงโดยมีใบเสร็จชำระค่าเช่าบ้านเป็นหลักฐาน ทั้งที่ความจริงไม่มีการเช่าบ้านกันจริง และไม่มีใบเสร็จรับชำระค่าเช่ากันจริงๆ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สนง.ตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักคลังจังหวัด ช. หลงเชื่อว่าจำเลยได้เช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจริงและโดยการหลอกลวงดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่สนง.ตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สนง.คลังจังหวัด ช. หลงเชื่อว่าจำเลยได้เช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจริง และโดยการหลอกลวงดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สนง.คลังจังหวัด ช. หลงเชื่อ ทำให้จำเลยจำเลยได้รับเงินค่าเช่าบ้านตามที่จำเลยขอเบิกจ่ายไปจากเจ้าหน้าที่สนง.คลังจังหวัด ช ผู้ถูกหลอกลวง. อันน่าจะเกิดความเสียหายต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ช. เจ้าหน้าที่คลังจังหวัด ช. กรมส่งเสริมสหกรณ์ จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ปอ มาตรา ๓๔๑
๔.จำเลยนำใบเสร็จรับเงินซึ่งเป็นเอกสารสิทธิ์ที่จำเลยทำปลอมขึ้นมาทั้งฉบับเพื่อยื่นขอรับเงินค่าเช่าบ้าน โดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อ สนง.คลังจังหวัด ช โดยกระทำการเพื่อให้คลังจังหวัด ช. หลงเชื่อว่าเป็นใบเสร็จรับเงินที่แท้จริงแล้วนำมายื่นเพื่อขอเบิกค่าเช่าบ้าน จึงเป็นการปลอมและใช้เอกสารสิทธิ์ปลอมตาม ปอ มาตรา ๒๖๔,๒๖๘ ซึ่ง ปอ มาตรา ๒๖๘ให้ลงโทษตาม ปอ มาตรา ๒๖๘ กระทงเดียว
๕จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รับเอกสารและกรอกข้อความลงในเอกสาร รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จว่า ใบเสร็จค่าเช่าบ้านเป็นใบเสร็จอันแท้จริงมีการเช่าบ้านกันจริง มีการชำระค่าเช่าบ้านกันจริง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๖๒(๔) และฐานเป็นเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและโดยทุจริตตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ เมื่อเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๖๒(๔)ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วจึงไม่ปรับบทลงโทษตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ ซึ่งเป็นบททั่วไป
๖.จำเลยดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัด ช.ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการของสนง.สหกรณ์จังหวัด ช. ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัด ช. ให้ทำการแทนผู้ว่าราชการจังหวัด ช ในการเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านของข้าราชการและลูกจ้างในสนง.สหกรณ์จังหวัด ช. ทำการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินในแบบใบขอเบิกค่าเช่าบ้านโดยรู้อยู่แล้วว่าใบขอเบิกค่าเช่าบ้านและใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านเป็นเอกสารปลอมและมีข้อความเท็จเพราะไม่มีการเช่าบ้านกันจริงๆ จำเลยลงลายมือชื่ออนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านได้เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและโดยทุจริตตาม ปอ มาตรา ๑๕๗
๗. แม้จะมีการนำเงินที่เบิกไปโดยไม่ชอบมาคืนทางราชการแล้วก็ไม่ลบล้างผลแห่งการกระทำความผิดที่เป็นอาญาแผ่นดิน แม้ความผิดฐานฉ้อโกงจะเป้นความผิดต่อส่วนตัว แต่เอกสารพิพาทที่เป็นเอกสารของจำเลยที่จำเลยนำเงินส่วนที่เบิกเกินไปคืนทางราชการและตามใบเสร็จของกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้รับเงินจากจำเลย เมื่อไม่ปรากฏได้มีการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวที่สามารถยอมความกันได้ตาม ปอ มาตรา ๓๔๘แล้ว ลำพังการที่จำเลยส่งเงินส่วนที่เบิกเกินคืนกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมส่งเสริมสหกรณ์รับไว้ ก็เป็นเพียงทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางแพ่งฐานละเมิดตาม ปพพ มาตรา ๔๒๐เท่านั้น ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางอาญา ถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันอันจะทำให้สิทธิ์ในการนำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงระงับตาม ปวอ มาตรา ๓๙(๒) พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงและในความผิดฐานอื่น ตาม ปวอ มาตรา ๑๒๖ วรรคท้าย
๘..การที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านขึ้นมาทั้งฉบับอันเป็นการปลอมเอกสารสิทธิ์ เมื่อได้กระทำหลายเดือน การกระทำดังกล่าวจึงเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๒๖๕ เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระ เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
๙.จำเลยนำแบบขอเบิกค่าเช่าบ้านและใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านอันเป็นเอกสารสิทธิ์ที่จำเลยทำปลอมขึ้นดังกล่าวซึ่งมีข้อความเท็จเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ช. เพื่อให้เจ้าหน้าที่สนง.ตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่ สนง.คลังจังหวัด ช.หลงเชื่อว่าจำเลยได้เช่าบ้านจริงและโดยการหลอกลวงทำให้เจ้าหน้าที่สนง.ตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่ สนง.คลังจังหวัด ช.หลงเชื่อ ทำให้จำเลยได้รับเงินตามที่ขอเบิกจ่ายไปจากเจ้าหน้าที่คลังจังหวัด ช. อันเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๓๔๑,๒๖๘ ส่วนที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานกรอกข้อความได้รับรองคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านได้รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จอันเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๖๒(๔)
๑๐.การที่จำเลยดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัด ช.ซึ่งเป็นหัวหน้าสนง.สหกรณ์จังหวัด ช. ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัด ช. ในการอนุมัติการเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านแทนผู้ว่าราชการจังหวัด ช. ลงลายมือชื่ออนุมัติการเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านของจำเลยในแบบคำขอเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยปลอมขึ้นและมีข้อความอันเป็นเท็จอันเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๕๗ เป็นการกระทำคนละครั้งครากัน การที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้าน นำใบเสร็จดังกล่าวไปประกอบการยื่นคำขอเบิกค่าเช่าบ้าน ลงลายมือชื่อรับรองการเบิกเงินค่าเช่าบ้านรวมทั้งลายมือชื่ออนุมัติจ่ายเงินค่าเช่าบ้านในแต่ละเดือนดังกล่าว แม้เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกันแต่ก็เป็นการกระทำโดยมีเจตนาและจุดมุ่งหมายอันเดียวกันคือ มุ่งที่จะได้รับเงินค่าเช่าบ้าน การกระทำดังกล่าวตั้งแต่ปลอมใบเสร็จค่าเช่าบ้านจนถึงการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านจึงเป็นกระบวนการเดียวกันเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าเช่าบ้านตามที่จำเลยประสงค์ เป็นการกระทำต่อเนื่อง จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกันในแต่ละเดือนแต่ละคำขอตาม ปอ มาตรา ๙๐ เมื่อกระทำการดังกล่าว ๑๒ เดือน เดือนละ ๑ ครั้ง รวม ๑๒ ครั้ง เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ปอ มาตรา ๙๑ ในแต่ละกรรมต้องลงบทกฎหมายที่หนักสุดคือตาม ปอ มาตรา ๑๕๗

วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2560

“ยึดอายัดไม่ได้ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี”

๑.ตายในระหว่างรับราชการ ทางราชการจ่ายช่วยเงินช่วยพิเศษให้ ๓ เท่าของอัตราเงินเดือน เงินช่วยพิเศษนี้ไม่ใช่เงินเดือนของข้าราชการและไม่ใช่เงินมรดกของผู้ตาย จึงไม่อยู่ในความรับผิดในหนี้สินของข้าราชการผู้ตาย คำพิพากษาฏีกา ๑๙๓๕/๒๕๑๕
๒.สัญญาประนีประนอมยอมความในศาล ซึ่งพิพากษาให้แบ่งเบี้ยหวัดของพลทหารประจำการแก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง ศาลบังคับยึดเงินนั้นไม่ได้ตาม ปวพ มาตรา ๒๘๖(๒) คำพิพากษาฏีกา ๒๔๐๔/๒๕๑๘
๓.เช่าที่ดินปลูกสร้างอู่ซ่อมรถ มีข้อสัญญาว่า ผู้เช่าจะรักษาที่เช่าทุกส่วนให้เรียบร้อยจนกว่าผู้เช่าจะออกจากที่เช่าหรือหมดอายุสัญญาเช่าหรือสัญญาเช่าเลิกกันเพราะผิดสัญญา ผู้เช่าจะรื้อถอนอู่ซ่อมรถที่สร้างไม่ได้ ต้องตกเป็นของผู้ให้เช่าโดยไม่เรียกร้องค่าอะไรจากผู้ให้เช่า สัญญาเช่านี้เป็นสิทธิ์เฉพาะตัวของผู้เช่าและบริวารเท่านั้นที่มีสิทธิ์ จะให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือให้ผู้อื่นเข้าอยู่แทนไม่ได้ เมื่ออู่ซ่อมรถนี้ถูกเจ้าหนี้ของผู้เช่ายึดทรัพย์บังคับตามคำพิพากษา ก็เป็นอันว่าผู้เช่าต้องออกจากทรัพย์ที่เช่านี้โดยปริยายตามอำนาจของการยึด อู่ซ่อมรถจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าคือเจ้าของที่ดินตามสัญญา คดีตกในบังคับ ปวพ มาตรา ๒๘๕(๒)(ปัจจุบันคือ ๒๘๕(๔)) คือเป็นทรัพย์สินที่โอนไม่ได้ หรือไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ศาลต้องถอนการยึดอู่รถยนต์รายนี้..คำพิพากษาฏีกาที่ ๗๖๔/๒๔๙๔
๔..โจทก์นำยึดที่ดินของจำเลยเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา แม้ที่ดินนั้นยังมีชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ ถ้าปรากฏว่าจำเลยได้ยอมความโอนขายที่ดินแก่ผู้ร้องซึ่งศาลพิพากษาบังคับตามยอม ผู้ร้องได้ชำระเงินครบถ้วนและพ้นกำหนดที่จะห้ามโอนตามยอมแล้ว ผู้ร้องอยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิ์ได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๓๐๐ โจทก์นำยึดที่ดินมาชำระหนี้ไม่ได้.คำพิพากษาฏีกา๑๖๖๐/๒๔๙๘
๕.โต๊ะทำงาน ตู้เก็บเอกสาร เป็นของใช้ส่วนตัวของเจ้าของในการทำงานเกี่ยวกับหนังสือและเอกสารเท่านั้น ไม่ใช่เครื่องใช้ในครัวเรือน คำพิพากษาฏีกา ๒๕๕๔/๒๕๕๕
๖.ที่ดินมีข้อกำหนดห้ามโอน คำพิพากษาฏีกา ๔๕๖/๒๕๓๗
๗.สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน คำพิพากษาฏีกา ๕๑๔๒/๒๕๓๑
๘.สิทธิ์เช่าตึกเป็นสิทธิ์เฉพาะตัวของผู้ให้เช่า เมื่อผู้ให้เช่าไม่อนุญาตให้นำสิทธิ์ดังกล่าวออกขายทอดตลาดเพราะประสงค์จะนำมาหาประโยชน์ด้วยตนเอง ถือเป็นทรัพย์สินที่โอนกันไม่ได้ตามกฎหมาย คำพิพากษาฏีกา ๒๒๒๗/๒๕๓๗
๙.สิทธิ์เรียกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักที่ทางราชการจ่ายให้เป็นพิเศษนอกจากเงินเดือนและค่าจ้างตามงบประมาณรายจ่าย คำพิพากษาฏีกา ๕๕๔/๒๕๒๙
๑๐.ค่าป่วยการรายเดือน ค่าป่วยการประจำตำแหน่งซึ่งคำนวณจากรายได้จริงและทรัพย์สินของเทศบาลมีลักษณะไม่คงที่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ตามรายได้ ไม่ใช่เงินเดือน ค่าจ้าง บำเหน็จ บำนาญและเบี้ยหวัดตาม ปวพ มาตรา ๒๘๖(๒) คำพิพากษาฏีกา ๒๐๙๒/๒๕๔๕
๑๑.เงินเดือนหรือเงินบำเหน็จยังไม่ได้ปะปนจากเงินอื่นจนแยกไม่ออก จะยึดเงินดังกล่าวไม่ได้ คำพิพากษาฏีกา ๓๐๒๐/๒๕๓๒
๑๒.เงินบำเหน็จตกทอดและเงินบำนาญตกทอด คำพิพากษาฏีกา ๑๒๒/๒๕๓๗
๑๓.เงินสะสมของข้าราชการ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือน คำพิพากษาฏีกา ๑๘๖๓/๒๕๔๕
๑๔.สิทธิ์เรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน(บำนาญ)ของลูกจ้างการรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่ใช่เงินจากงบประมาณของรัฐบาล จึงตกในความรับผิดในการบังคับคดี คำพิพากษาฏีกา ๒๕๔๑/๒๕๔๕
ข้อสังเกต ๑.เงินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
๑.๑เบี้ยเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายแรงงานหรือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ไม่เกินเดือนละ ๑๐,๐๐๐บาท หรือตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร แต่ต้องไม่น้อยกว่าอัตราเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการพลเรือนในขณะนั้น โดยคำนึงฐานะทางครอบครัว บุพการี ละผู้สืบสันดานของลูกหนี้
๑.๒เงินเดือน ค่าจ้าง บำเหน็จ บำนาญ และเบี้ยหวัดของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ลูกจ้างของรัฐบาล เงินสงเคราะห์หรือบำนาญที่รัฐบาลได้จ่ายให้คู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ของบุบคลเหล่านั้น มีข้อสังเกต คือ คนงานของบริษัทเดินอากาศไทย หรือลูกจ้างการรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่ใช่คนงานของรัฐบาล
๑.๓เงินเดือน ค่าจ้าง บำเหน็จ บำนาญ และเบี้ยหวัดของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ลูกจ้างของรัฐบาล เงินสงเคราะห์หรือบำนาญ ทำนองเดียวกับข้อ ๑.๒ที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง คนงานของตนไม่อยู่ในบังคับความรับผิดในการบังคับคดีรวมกันไม่เกินเดือนละ ๑๐,๐๐๐บาท หรือตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควรแต่ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเดือนขั้นต่ำสุดและไม่เกินอัตราเงินเดือนสูงสุดของข้าราชการพลเรือนในขณะนั้น โดยคำนึงฐานะทางครอบครัว จำนวนบุพการีและผู้สืบสันดานของลุกหนี้ตามคำพิพากษา
๑.๔เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ ซึ่งลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้มาเนื่องจากการตายของบุคคลอื่นโดยผู้ตายเป็นสมาชิกฌาปานกิจศพซึ่งจะมีการระบุไว้ว่าเมื่อตนถึงแก่ความตายเงินจะตกแก่ผู้ใด เงินนี้ไม่ตกในบังคับความรับผิดในการบังคับคดีตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควรโดยคำนึงถึงความจำเป็นในการจัดงานศพผู้ตายด้วย เงินดังกล่าวนี้ได้มาหลังจากที่ผู้ตายถึงแก่ความตายไม่ได้มีอยู่ก่อนหรือขณะที่ผู้ตายถึงแก่ความตายจึงไม่ใช่มรดกของผู้ตายเพียงแต่เงินดังกล่าวตกทอดแก่บุคคลที่ระบุไว้
๑.๕ตามพรบ.สหกรณ์ฯมาตรา ๔๒วรรคสอง ในระหว่างที่สมาชิกภาพของสมาชิกของสหกรณ์หรือสมาชิกกลุ่มเกษตรยังไม่สิ้นสุดลง ห้ามไม่ให้เจ้าหนี้ของสมาชิกของสหกรณ์หรือสมาชิกกลุ่มเกษตรใช้สิทธิ์เรียกร้องหรืออายัดค่าหุ้นของสมาชิกของสหกรณ์หรือสมาชิกกลุ่มเกษตรและเมื่อสมาชิกภาพสิ้นสุดลง สหกรณ์มีสิทธิ์นำเงินตามมูลค่าหุ้นที่สมาชิกมีอยู่หักกลบลบหนี้ที่สมาชิกผูกพันต้องชำระหนี้แก่สหกรณ์ โดยสหกรณ์มีฐานะเป็น “ เจ้าหนี้บุริมสิทธิ์พิเศษเหนือเงินค่าหุ้น” นั้น
๑.๖หากสมาชิกของสหกรณ์หรือสมาชิกกลุ่มเกษตรทำ “ ความยินยอมเป็นหนังสือ” ไว้กับสหกรณ์ ให้ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานของรัฐ หรือนายจ้างในสถานประกอบการ หรือหน่วยงานอื่นใดที่สมาชิกปฏิบัติหน้าที่อยู่หักเงินเดือน หรือ เงินอื่นใด ที่ถึงกำหนดจ่ายแก่สมาชิกของสหกรณ์หรือสมาชิกกลุ่มเกษตร เพื่อชำระหนี้ หรือภาระผูกพันอื่นอันมีต่อสหกรณ์ ตามจำนวนที่สหกรณ์แจ้งไป จนกว่าหนี้หรือภาระผูกพันนั้นระงับสิ้นไป ให้หน่วยงานนั้นส่งเงินที่หักไว้นั้นแก่สหกรณ์โดยพลัน โดยให้หักให้สหกรณ์เป็นอันดับแรก ถัดจากหนี้ภาษีอากร และการหักเงินเข้ากองทุนที่สมาชิกต้องถูกหักตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายประกันสังคม ตามพรบ.สหกรณ์ ฯ มาตรา ๔๒/๑นั้นก็คือเมื่อหักหนี้จากหนี้ภาษีอากรและเงินที่ต้องถูกหักเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายประกันสังคมแล้ว หนี้ลำดับถัดไปคือหนี้สหกรณ์ซึ่งมีบุริมสิทธิ์เหนือหนี้อื่น บทบัญญัติในมาตรานี้จึงเป็นข้อยกเว้น ปวพ มาตรา ๒๘๖ที่จะสามารถหักเงินเดือนค่าจ้างบำเหน็จบำนาญได้แม้ว่าตาม ปวพ มาตรา ๒๘๖ได้บัญญัติไว้ว่าเงินเหล่านี้ไม่ตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีก็ตาม แต่ในมาตราดังกล่าวใช้คำว่า “ ภายใต้บทบังคับแห่งกฎหมายอื่น” ดังนั้น เมื่อ พรบ.สหกรณ์ฯบัญญัติไว้เป็นพิเศษโดยบัญญัติจึงยกเว้นปวพ มาตรา ๒๘๖ไว้จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติในพรบ.สหกรณ์ฯ
๒.แต่ทางปฏิบัติมีหน่วยราชการบางหน่วย “ เสมือนหนึ่งว่า “ ให้ลูกหนี้ทำข้อตกลงกับหน่วยงานนั้นว่าหากผิดข้อสัญญาให้สามารถหักเอากับเงินเดือนได้ ซึ่งจะถือว่าขัดกับกฎหมายหรือไม่อยางไรไม่ขอวิจารณ์
๓. ตายในระหว่างรับราชการ ทางราชการจ่ายช่วยเงินช่วยพิเศษให้ ๓ เท่าของอัตราเงินเดือน เงินช่วยพิเศษนี้ไม่ใช่เงินเดือนของข้าราชการเพราะไม่ได้จ่ายตอบแทนในการปฏิบัติหน้าที่ราชการในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ไม่ได้จ่ายเป็นประจำทุกเดือนลักษณะการจ่ายคล้ายๆเงินช่วยเหลือเพื่อให้ญาตินำไปทำศพของผู้ตาย และเงินดังกล่าวไม่ใช่เงินมรดกของผู้ตายที่ตกทอดแก่ทายาทโดยทายาทไม่ต้องรับผิดเกินกว่ามรดกที่ตกทอดแก่ตนตาม ปพพ มาตรา ๑๖๐๑ เพราะเป็นเงินที่ได้มาหลังจากที่ผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว ไม่ใช่ทรัพย์ที่ผู้ตายมีอยู่หรือในขณะที่ถึงแก่ความตายจึงไม่ใช่มรดก และไม่อยู่ในความรับผิดในหนี้สินของข้าราชการผู้ตาย กรณีนี้เทียบได้กับกรณีข้าราชการที่เสียชีวิตแล้วได้เงิน ๓๐ เท่าของเงินเดือนเป็นเงินที่ทางราชการจ่ายให้ คล้ายๆเงินช่วยในการทำศพ เงินดังกล่าวได้มากน้อยไม่เท่ากันแล้วแต่ฐานเงินเดือนของข้าราชการที่ตาย เงินดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์ที่ผู้ตายมีอยู่หรือมีในขณะถึงแก่ความตายจึงไม่ใช่มรดกที่จะตกทอดแก่ทายาท และไม่ใช่เงินเดือน ค่าจ้าง เพราะไม่ได้จ่ายตอบแทนเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นประจำทุกเดือน
๔.สัญญาประนีประนอมยอมความในศาล ซึ่งพิพากษาให้แบ่ง “เบี้ยหวัด” ของพลทหารประจำการแก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง ศาลบังคับยึดเงินนั้นไม่ได้ตาม ปวพ มาตรา ๒๘๖(๒) เพราะในมาตราดังกล่าวบัญญัติไว้ให้ “ เบี้ยหวัด” ไม่ตกในบังคับความรับผิดในการบังคับคดี
๕.เช่าที่ดินปลูกสร้างอู่ซ่อมรถ มีข้อสัญญาว่า “ผู้เช่าจะรักษาที่เช่าทุกส่วนให้เรียบร้อยจนกว่าผู้เช่าจะออกจากที่เช่าหรือหมดอายุสัญญาเช่าหรือสัญญาเช่าเลิกกันเพราะผิดสัญญา ผู้เช่าจะรื้อถอนอู่ซ่อมรถที่สร้างไม่ได้ ต้องตกเป็นของผู้ให้เช่าโดยไม่เรียกร้องค่าอะไรจากผู้ให้เช่า” แม้ว่าการปลูกอู่ซ่อมรถในที่ดินที่เช่าเป็นการปลูกโดยมีสิทธิ์ อู่ซ่อมรถไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินซึ่งจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินตาม ปพพ มาตรา ๑๔๔,๑๔๖ ก็ตาม แต่สัญญาเช่าที่ตกลงยกอู่ซ่อมรถให้แก่ผู้ให้เช่าเมื่อสัญญาเช่าหมดลงไปนี้เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่า สิทธิ์ในการเช่านี้เป็นสิทธิ์เฉพาะตัวของผู้เช่าและบริวารเท่านั้นที่มีสิทธิ์ จะให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือให้ผู้อื่นเข้าอยู่แทนไม่ได้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาเช่า ตาม ปพพ มาตรา ๕๔๔ หากผู้เช่าเอาทรัพย์ที่เช่าไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงโดยไม่ชอบเพราะในสัญญาไม่ให้เอาไปให้เช่าช่วงได้ดังนี้แล้วผู้เช่าช่วงย่อมต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าเดิมโดยตรง หากผู้เช่าช่วงได้ชำระค่าเช่าให้แก่ผู้เช่าก็หาอาจยกเป็นข้อต่อสู้ต่อผู้ให้เช่าได้ไม่ ทั้งไม่เป็นการตัดสิทธิ์ผู้ให้เช่าที่จะบังคับใช้สิทธิ์ของตนต่อผู้เช่าด้วย ปพพ มาตรา ๕๔๕ ดังนั้น เมื่ออู่ซ่อมรถนี้ถูกเจ้าหนี้ของผู้เช่ายึดทรัพย์บังคับตามคำพิพากษา ก็เป็นอันว่าผู้เช่าต้องออกจากทรัพย์ที่เช่านี้โดยปริยายตามอำนาจของการยึด เพราะการเช่าที่ดินเพื่อทำอู่ซ่อมรถ วัตถุประสงค์ในการเช่าที่ดินก็เพื่อทำอู่ซ่อมรถ เมื่ออู่ซ่อมรถถูกยึดก็เสมือนหนึ่งว่าไม่มีอู่ซ่อมรถแล้ว สัญญาเช่าที่ดินเพื่อทำอู่ซ่อมรถย่อมเป็นอันระงับไปเพราะวัตถุประสงค์หลักในการเช่าที่ดินเพื่อทำอู่ซ่อมรถ เมื่อไม่มีอู่ซ่อมรถแล้วก็เสมือนหนึ่งว่าทรัพย์ที่เช่าสูญหายไปทั้งหมด สัญญาเช่าย่อมระงับไป เทียบเคียง ปพพ มาตรา ๔วรรคสองและ มาตรา ๕๖๗ เมื่อสัญญาเช่าระงับ อู่ซ่อมรถจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าคือเจ้าของที่ดินตามสัญญาเช่า คดีจึงตกในบังคับ ปวพ มาตรา ๒๘๕(๒)(ปัจจุบันคือ ๒๘๕(๔)) คือเป็นทรัพย์สินที่โอนไม่ได้ หรือไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ศาลต้องถอนการยึดอู่รถยนต์รายนี้
๖..โจทก์นำยึดที่ดินของจำเลยเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา แม้ที่ดินนั้นยังมีชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ ถ้าปรากฏว่าจำเลยได้ยอมความโอนขายที่ดินแก่ผู้ร้องซึ่งศาลพิพากษาบังคับตามยอม ผู้ร้องได้ชำระเงินครบถ้วนและพ้นกำหนดที่จะห้ามโอนตามยอมแล้ว เป็นการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิทธิ์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์แม้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะได้นำยึดที่ดินดังกล่าวเพื่อมาชำระหนี้ของตนก็ตาม แม้ที่ดินจะระบุเป็นชื่อของจำเลยก็ตาม แต่ผู้ร้องผู้ได้สิทธิ์มาตามสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลอยู่ในฐานะเสียเปรียบโจทก์ผู้นำยึดที่ดินที่อยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิ์ของตนได้ก่อนก็จริง แต่ก็เป็นการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์เป็นทางให้เสียเปรียบแก่ผู้ร้องผู้ได้สิทธิ์มาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ผู้ร้องอยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิ์ได้สามารถเรียกให้เพิกถอนการโอนได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๓๐๐ ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้ที่ดินดังกล่าวมาโดยการโอนที่มีค่าตอบแทนซึ่งกระทำการโดยสุจริต แต่เป็นการนำยึดที่ดินเพื่อชำระหนี้ เมื่อไม่ใช่การโอนที่ดินโดยมีค่าตอบแทนรับโอนโดยสุจริตตาม ปพพ มาตรา ๑๓๐๐ ตอนท้ายที่จะเรียกให้เพิกถอนทางทะเบียนไม่ได้แต่เป็นการได้มาโดยการนำยึดเพื่อชำระหนี้ ดังนั้นโจทก์นำยึดที่ดินมาชำระหนี้ไม่ได้
๗.โต๊ะทำงาน ตู้เก็บเอกสาร เป็นของใช้ส่วนตัวของเจ้าของในการทำงานเกี่ยวกับหนังสือและเอกสารเท่านั้น ไม่ใช่เครื่องใช้ในครัวเรือน ตาม ปวพ มาตรา ๒๘๕(๑) จึงอยู่ในความรับผิดในการบังคับคดี มีข้อสังเกตตาม ปวพ มาตรา ๒๘๕ ที่บัญญัติว่า หากมีความจำเป็นแล้วให้ทรัพย์สินส่วนตัวโดยแท้ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอาจยึดมาตรวจดูเพื่อประโยชน์ในการบังคับคดีได้ แต่ไม่สามารถนำออกขายทอดตลาดได้เท่านั้น
๘.ที่ดินมีข้อกำหนดห้ามโอน เช่น ที่ดินตามพรบ.ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรฯ มักมีข้อกำหนดห้ามโอนไว้เว้นตกทอดแก่ทายาทหรือโดยมรดก หรือมีข้อกำหนดว่าห้ามโอนภายในระยะเวลากี่ปี ดังนี้เมื่อที่ดินมีข้อกำหนดห้ามโอน จึงเป็นทรัพย์ที่โอนไม่ได้ตามกฎหมาย ซึ่ง ปวพ มาตรา ๒๘๕(๔) บัญญัติให้ไม่ตกในความรับผิดในการบังคับคดี....
๙.สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน โอนแก่กันไม่ได้ เว้นแต่อาศัยบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฏีกา ปพพ มาตรา ๑๓๐๕ อีกทั้งใน ปพพ มาตรา ๑๓๐๗ บัญญัติห้ามไม่ให้ทำการยึดทรัพย์สินของแผ่นดิน ไม่ว่าทรัพย์นั้นจะเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ สาธารณะสมบัติของแผ่นดินจึงเป็นทรัพย์ที่โอนไม่ได้ตามกฎหมาย จึงไม่ตกในบังคับในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ปวพ มาตรา ๒๘๕(๔)
๑๐.สิทธิ์เช่าตึกเป็นสิทธิ์เฉพาะตัวของผู้ให้เช่า เมื่อผู้ให้เช่าไม่อนุญาตให้นำสิทธิ์ดังกล่าวออกขายทอดตลาดเพราะประสงค์จะนำมาหาประโยชน์ด้วยตนเอง ถือเป็นทรัพย์สินที่โอนกันไม่ได้ตามกฎหมาย เพราะสิทธิ์ที่จะให้บุคคลใดเช่าทรัพย์สินนั้น ผู้ให้เช่าต้องพิจารณาคุณสมบัติของผู้เช่าเป็นสำคัญ เมื่อผู้ให้เช่าไม่ประสงค์จะให้เช่าต่อโดยประสงค์จะนำมาหาประโยชน์ด้วยตนเอง สิทธิ์ในการเช่าจึงเป็นทรัพย์ที่โอนไม่ได้ตามกฎหมาย จึงไม่ตกในบังคับความรับผิดในการบังคับคดี ตาม ปวพ มาตรา ๒๘๕(๔)
๑๑.สิทธิ์เรียกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักที่ทางราชการจ่ายให้เป็นพิเศษนอกจากเงินเดือนและค่าจ้างตามงบประมาณรายจ่าย เมื่อไม่ได้จ่ายเป็นประจำทุกเดือนเหมือนเงินเดือนมีลักษณะจ่ายเป็นครั้งคราวเมื่อต้องมีการเดินทางไปราชการ การเดินทางไปราชการแต่ละครั้งก็ได้ไม่เท่ากัน(ค่าที่พัก) จึงไม่ใช่เงินเดือนหรือค่าจ้างตามงบประมาณรายจ่าย
๑๒.ค่าป่วยการรายเดือน ค่าป่วยการประจำตำแหน่งซึ่งคำนวณจากรายได้จริงและทรัพย์สินของเทศบาลมีลักษณะไม่คงที่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ตามรายได้ ไม่ใช่เงินเดือน ค่าจ้าง บำเหน็จ บำนาญและเบี้ยหวัดตาม ปวพ มาตรา ๒๘๖(๒) เพราะเงินเดือน ค่าจ้าง บำเหน็จ บำนาญ เบี้ยหวัด มีจำนวนเป็นรายได้แน่นอนว่าจะได้เท่าไหร่ แต่ ค่าป่วยการรายเดือน ค่าป่วยการประจำตำแหน่งซึ่งคำนวณจากรายได้จริงและทรัพย์สินของเทศบาลมีลักษณะไม่คงที่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ตามรายได้ มีจำนวนไม่แน่นอน จึงไม่ใช่เงินเดือน ค่าจ้าง บำเหน็จ บำนาญและเบี้ยหวัดตาม ปวพ มาตรา ๒๘๖(๒) แต่อย่างใดไม่
๑๓.เงินเดือนหรือเงินบำเหน็จเมื่อยังไม่ได้ปะปนกับเงินอื่นจนแยกไม่ออก สามารถแยกออกได้ว่าส่วนไหนคือเงินเดือน ส่วนไหนคือเงินบำเหน็จ เมื่อเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จ จึงยึดเงินดังกล่าวไม่ได้ เงินดังกล่าวไม่ตกในบังคับความรับผิดในการบังคับคดี
๑๔.เงินบำเหน็จตกทอดและเงินบำนาญตกทอด ไม่ตกอยู่ในบังคับความรับผิดในการบังคับคดีตาม ปวพ มาตรา ๒๘๖(๒)(๓)แล้วแต่ว่าจะเป็นข้าราชการตาม ปวพ มาตรา ๒๘๖(๒) หรือเป็นพนักงาน ลูกจ้าง คนงาน ตาม ปวพ มาตรา ๒๘๖(๓)
๑๕.เงินสะสมของข้าราชการ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือน จึงไม่ตกอยู่ในบังคับความรับผิดในการบังคับคดี ตาม ปวพ มาตรา ๒๘๖(๒)
๑๖.สิทธิ์เรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน(บำนาญ)ของลูกจ้างการรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่ใช่เงินจากงบประมาณของรัฐบาล ไม่ใช่เงินเดือน ค่าจ้าง บำเหน็จ บำนาญ เบี้ยหวัด หรือรายได้อื่นลักษณะทำนองเดียวกัน และไม่ใช่เงินสงเคราะห์ที่หน่วยราชการจ่ายให้แก่คู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ตาม ปวพ มาตรา ๒๘๖(๒)(๓) จึงตกในความรับผิดในการบังคับคดี
๑๕.บทความนี้เขียนขึ้นเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๐ ในขณะที่บทบัญญัติเรื่องการบังคับคดีที่แก้ไขใหม่ยังไม่ได้ประการใช้

“อย่าคิดว่าเป็นบิดามารดาแล้วทำได้ทุกอย่าง”

๑การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ซึ่งผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำไม่ได้เว้นศาลอนุญาต เป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่จะคุ้มครองทรัพย์สินและกิจการบางอย่างที่สำคัญของผู้เยาว์ เมื่อศาลไต่สวนแล้วเห็นว่าเป็นการสมควรก็จะอนุญาต ผู้แทนโดยชอบธรรมจึงอาศัยคำอนุญาตของศาลไปทำนิติกรรมได้ เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามตามกฎหมายไม่ให้ทำนิติกรรมซื้อขายที่ดิน รวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินของผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่า ผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน เท่ากับ เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาต เป็นการผิดเจตนารมณ์กฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายที่ได้กระทำในขณะยังเป็นผู้เยาว์ แม้บิดาที่เป็นผุ้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญาในฉบับเดียวกันก็ตาม สัญญาจะซื้อขายที่พิพาทดังกล่าวไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นผู้เยาว์ กรณีไม่ใช่โมฆียกรรม แม้ภายหลังจำเลยที่ ๓ จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้ แม้จำเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นผู้เยาว์จะเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกับจำเลยที่ ๒ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายให้โจทก์ในสัญญาฉบับเดียวกัน แต่ผู้เยาว์ซึ่งเป็นจำเลยที่ ๓และจำเลยที่ ๒ หาได้เป็นลูกหนี้ร่วมกันไม่ แม้สัญญาจะไม่ผูกพันจำเลยที่ ๓มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ ๓ ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒มีผลบังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ ๒จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้โจทก์ตามสัญญา คำพิพากษาฏีกา๔๙๘๔/๒๕๓๗
๒. ขณะทำสัญญาซื้อขายที่ดินจำเลยที่ ๓ ถึง ที่ ๖เป็นผู้เยาว์ การทำนิติกรรมดังกล่าวจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๖ แม้โจทก์จะเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินตั้งแต่ทำสัญญา โดยสงบเปิดเผยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาก็เป็นเพียงการยึดถือแทนจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๖ เท่านั้น การที่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๖ ไปจดทะเบียนโอนสิทธิ์ในที่ดินเมื่อบรรลุนิติภาวะแล้ว โดยจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๖ ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านก็หาใช่เป็นการแจ้งเปลี่ยนลักษณะแห่งการียึดถือที่ดินหรือถือว่าจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๖ สละเจตนายึดถือครอบครองในที่ดินแต่อย่างใดไม่ คำพิพากษาฏีกาที่ ๗๗๗๖/๒๕๕๑
๓.ธ เป็นบิดาและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลย ซื้อที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองแต่ใส่ชื่อผู้เยาว์ในโฉนดแทน แล้วได้ขายที่ดินและตึกพิพาทให้โจทก์ แม้จะขายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ก็ไม่ทำให้สิทธิ์การได้มาของโจทก์เสียไป เพราะจำเลยเพียงมีชื่อในโฉนดเป็นการถือกรรมสิทธิ์แทน ธ เท่านั้น หาใช่ทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยผู้เยาว์ไม่หลักจากโจทก์ซื้อที่พิพาทจาก ธ. ธ.ก็ไม่อาจโอนให้ได้เพราะโฉนดมีชื่อจำเลยซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์ ก็ไม่ได้ตกลงกันเรื่องการโอนทางทะเบียนอีกเป็นการแน่นอนว่าจะโอนกันหรือไม่เมื่อใด โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์เป็นสำนักงาน ลงบัญชีว่าเป็นทรัพย์สินของโจทก์ เสียภาษีที่ดิน ภาษีโรงเรือนเอง แจ้งให้ผู้ตรวจการธนาคารแห่งประเทศไทยทราบทุกครั้งว่าเป็นทรัพย์สินของโจทก์ ทำหนังสือแจ้งกระทรวงการคลังทราบ ขออนุมัติรื้อถอนตัวอาคารเมื่อย้ายสำนักงานสาขาไปตั้งยังที่อื่นซึ่งกระทรวงการคลังอนุมัติ แสดงว่าทั้งโจทก์และนาย ธ.ไม่คำนึงถึงการทำการจดทะเบียนโอนกรรสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทให้ถูกต้องตามกฎหมายกันต่อไป ถือว่า ธ สละการครอบครองที่ดินให้โจทก์โดยเด็ดขาด การครอบครองของโจทก์จึงเป็นการครอบครองอย่างเป็นเจ้าของหาใช่ครอบครองตามสัญญาจะซื้อขาย เมื่อเกิน ๑๐ ปีย่อมได้กรรมสิทธิ์ คำพิพากษาฏีกาที่ ๓๐๙๔/๒๕๒๘
๔.มีผู้ทำละเมิดต่อผู้เยาว์ซึ่งทำให้ผู้เยาว์มีสิทธิ์ได้รับค่าสินไหมทดแทน การที่ผู้เยาว์จะได้มาซึ่งทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด หากมีการประนีประนอมยอมความกันซึ่งผู้ใช้อำนาจปกครองต้องทำสัญญาแทนผู้เยาว์ ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมก็ชอบที่จะขออนุญาตจากศาลก่อนเพราะเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ เมื่อบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์กับจำเลยได้ทำข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายและค่ารักษาพยาบาลของโจทก์ โดยบิดาโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายใดๆทั้งทางแพ่งและทางอาญาจากจำเลยอีกเป็นการระงับข้อพิพาทในมูลละเมิดจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ การที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยตามลำพังโดยไมได้รับอนุญาตจากศาลเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติกฎหมาย ตกเป็นโมฆะไม่มีผลผูกพันโจทก์แต่ประการใด สิทธิ์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ไม่ระงับไป เมื่อต้องเสียความสามารถในการมองเห็นเนื่องจากต้องเสียตาซ้ายทำให้ไม่สามารถมองภาพได้โดยละเอียดและกว้างเท่าคนปกติถือเป็นค่าเสียหายอย่างอื่นอันไม่ใช่ตัวเงิน ผู้ทำละเมิดจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวหาใช่ต้องกำหนดเป็นค่ารักษาพยาบาลไม่ และค่าเสียหายที่ต้องเสื่อมเสียสุขภาพอนามัยต้องเสียโฉม ได้รับความเจ็บปวดทรมานเป็นค่าเสียหายอย่างอื่นอันไม่ใช่ตัวเงินโจทก์มีสิทธิ์เรียกร้องได้ คำพิพากษาฏีกาที่ ๕๓๓/๒๕๕๒
๕.จำเลยที่ ๑๒ ทำสัญญาแบ่งแยกที่ดินพิพาทกับโจทก์ มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ในขณะที่เป็นผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ข้อตกลงในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ ๑๒ และมีผลกระทบถึงจำนวนเนื้อที่ดินตลอดจนตำแหน่งของที่ดินที่จะแบ่งแยกเป็นสิ่งเกี่ยวพันธ์ไม่อาจแบ่งแยกออกได้จากนิติกรรมที่จำเลยที่ ๑ถึง ๑๑ ได้ร่วมกระทำข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ ๑ ถึง ๑๑ ด้วย โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสิบสองแบ่งที่พิพาทให้แก่ตนตามข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์คำพิพากษาฏีกา ๔๘๖๐/๒๕๔๘
๖.จำเลยในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทำสัญญาขายไม้ในส่วนที่เป็นของผู้เยาว์กับโจทก์ ไม่ใช่เป็นการนำทรัพยิ์สินของผู้เยาว์ไปแสวงหาผลประโยชน์อันจะต้องขออนุญาตต่อศาลก่อน หากแต่เป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายไม่เป็นการต้องห้ามตาม ปพพ มาตรา ๑๕๗๔ สัญญาซื้อขายบังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวคำพิพากษาฏีกาที่ ๑๓๙๔/๒๕๔๕
๗ การท้าเป็นเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลที่คู่ความตกลงกันให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่คู่ความท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะ ไม่ได้มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อก่อเปลี่ยนแปลงดอนสงวน ระงับซึ่งสิทธิ์จึงไม่เป็นนิติกรรม โจทก์ที่ ๒ ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองฟ้องคดีแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน เมื่อโจทก์แพ้คดีตามคำท้า จำเลยที่ ๑ ย่อมบังคับคดีตามฟ้องแย้งได้โดยไม่ต้องพิจารณาว่า ข้อเท็จจริงตามฟ้องแย้งเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าหรือไม่เพราะเป็นเรื่องนอกคำท้าไม่ถืออยู่ในบังคับ ปพพ มาตรา ๕๓๘เมื่อจำเลยที่ ๑ เป็นผู้ฟ้องแย้งและจำเลยที่ ๒ เป็นเพียงผู้อาศัย คำพิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าให้แก่จำเลยที่ ๒เป็นเรื่องนอกเหนือไปจากคำขอตามฟ้องแย้งจึงไม่ชอบ และปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน.คำพิพากษาฏีกาที่ ๓๕๙๐/๒๕๓๘
ข้อสังเกต๑. แม้เป็นบิดามารดาก็ไม่สามารถกระทำอะไรกับบุตรได้ทุกอย่างมีบางอย่างที่กฎหมายอนุญาตให้ทำได้ บางอย่างทำไม่ได้ ความหมายของการเป็นบิดามารดาคือต้องเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ฝ่ายหญิงไม่น่ามีปัญหาเพราะใน ปพพ มาตรา ๑๕๔๖ บัญญัติว่า เด็กที่เกิดจากชายหญิงที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของหญิง ดังนั้นไม่ว่าหญิงจะจดทะเบียนสมรสกับชายหรือไม่ บุตรก็เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงเสมอ ส่วนฝ่ายชายหากจดทะเบียนสมรสกับหญิง บุตรที่เกิดเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของทั้งชายและหญิง แต่หากไม่ได้จดทะเบียนสมรสแล้ว ชายจะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กก็ต่อเมื่อ ชายหญิงได้จดทะเบียนสมรสกันภายหลัง บิดาจดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตร ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรตาม ปพพ มาตรา ๑๕๔๗
๒.บิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิ์ดังนี้คือ
๒.๑ มีอำนาจปกครองบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ตาม ปพพ มาตรา ๑๕๖๖
๒.๒กำหนดที่อยู่อาศัยของบุตร
๒.๓ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
๒.๔ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
๒.๕เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักเด็กไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
๒.๖มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของบุตรด้วยความระมัดระวังเช่นวิญญูชนจะพึงกระทำ ปพพ มาตรา ๑๕๗๑
๒.๗ กรณีบุตรมีเงินได้ นำเงินดังกล่าวเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษา ส่วนที่เหลือเก็บไว้เพื่อส่งมอบแก่บุตร ปพพ มาตรา ๑๕๗๓
๓.มารดาที่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีอำนาจดังนี้
๓.๑ก่อหนี้ที่บุตรต้องทำเองโดยไมได้รับความยินยอมจากบุตรตาม ปพพ มาตรา ๑๕๗๒
๓.๒ทำนิติกรรมบางอย่างตาม ปพพ มาตรา ๑๕๗๔และ ๑๕๗๖ ไม่ได้เว้นได้รับอนุญาตจากศาล
๓.๓กิจการใดประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครอง(คือบิดาหรือมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายและบุคคลอื่นตามที่บัญยัติไว้ใน ปพพ มาตรา ๑๕๖๖(๑)ถึง(๖) หรือประโยชน์ของคู่สมรสหรือบุตรของผู้ใช้อำนาจปกครองขัดกับประโยชน์ของผู้เยาว์ ผู้ใช้อำนาจปกครองต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงทำกิจการนั้นได้ มิเช่นนั้นกิจการนั้นตกเป็นโมฆะตาม ปพพ มาตรา ๑๕๗๕
๔.การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ซึ่งผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำไม่ได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๕๗๔(๑) เว้นศาลอนุญาต เป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่จะคุ้มครองทรัพย์สินและกิจการบางอย่างที่สำคัญของผู้เยาว์ เมื่อศาลไต่สวนแล้วเห็นว่าเป็นการสมควรก็จะอนุญาต ผู้แทนโดยชอบธรรมจึงอาศัยคำอนุญาตของศาลไปทำนิติกรรมได้ เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามตามกฎหมายไม่ให้ทำนิติกรรมซื้อขายที่ดิน รวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินของผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่า ผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน เท่ากับ เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต่อศาล เป็นการผิดเจตนารมณ์กฎหมาย(ปพพ มาตรา ๑๕๗๔(๑)) สัญญาจะซื้อจะขายที่ได้กระทำในขณะที่จำเลยที่ ๓ ยังเป็นผู้เยาว์ แม้บิดาที่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญาในฉบับเดียวกันก็ตาม สัญญาจะซื้อขายที่พิพาทดังกล่าวตกเป็นโมฆะเพราะเป็นการทำนิติกรรมที่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตาม ปพพ มาตรา ๑๕๐,๑๕๗๔(๑)ไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ ๓ซึ่งเป็นผู้เยาว์ เพราะไม่ใช่การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากศาล กรณีไม่ใช่โมฆียกรรมที่จะมาสามารถบอกล้างกันในภายหลังตาม ปพพ มาตรา ๑๗๕หรือมาให้สัตยาบันกันในภายหลังตาม ปพพ มาตรา ๑๗๙,๑๘๐ แต่อย่างใดไม่ แม้ภายหลังจำเลยที่ ๓ จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรส ตาม ปพพ มาตรา ๒๐ ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้ แม้จำเลยที่ ๓ซึ่งเป็นผู้เยาว์จะเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกับจำเลยที่ ๒ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายให้โจทก์ในสัญญาฉบับเดียวกัน แต่จำเลยที่ ๓ซึ่งเป็นผู้เยาว์และจำเลยที่ ๒ หาได้เป็นลูกหนี้ร่วมกันไม่ เพราะไม่ใช่การชำระหนี้ซื้อขายที่แต่ละคนต้องชำระหนี้สิ้นเชิงที่เจ้าหนี้จะเรียกให้ลูกหนี้คนใดคนหนึ่งชำระหนี้โดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือกตาม ปพพ มาตรา ๒๙๑แต่เป็นกรณีที่แต่ละคนขายที่ดินตามส่วนของตนเท่านั้น โดยหนี้ของจำเลยที่ ๓ตกเป็นโมฆะไปเพราะไม่ได้ทำตามแบบที่กฎหมายอนุญาตคือไม่ได้ขออนุญาตต่อศาลก่อน แม้สัญญาจะไม่ผูกพันจำเลยที่ ๓ ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ ๓ ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒มีผลบังคับกันได้ตามกฎหมาย เป็นกรณีที่นิติกรรมซื้อขายตกเป็นโมฆะบางส่วน สามารถแยกส่วนที่เป็นสมบรูณ์ออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๗๓จำเลยที่ ๒จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้โจทก์ตามสัญญา
๕. ขณะทำสัญญาซื้อขายที่ดินจำเลยที่ ๓ ถึง ที่ ๖เป็นผู้เยาว์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล การทำนิติกรรมดังกล่าวจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๖ แม้โจทก์จะเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินตั้งแต่ทำสัญญา โดยสงบเปิดเผยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาก็ ไม่ได้เป็นการเข้าครอบครองโดยอาศัยอำนาจจากการซื้อขายที่ดินดังกล่าวแต่อย่างใด เป็นเพียงการเข้าครอบครองโดยการยึดถือแทนจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๖ เท่านั้นไม่ใช่การยึดถือเพื่อตนตาม ปพพ มาตรา ๑๓๖๗,๑๓๖๘อันจะได้มาซึ่งสิทธิ์ครอบครอง เพราะเมื่อการซื้อขายฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมาย(ซื้อขายทรัพย์ผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล)ตกเป็นโมฆะ ถือไม่ได้ว่าผู้เยาว์สละการครอบครองในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด การที่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๖ ไปจดทะเบียนโอนสิทธิ์ในที่ดินเมื่อบรรลุนิติภาวะแล้ว หาอาจกระทำได้ไม่ เพราะนิติกรรมซื้อขายตกเป็นโมฆะมาแต่แรกแล้ว ไม่มีข้อสัญญาที่ต้องผูกพันต้องปฏิบัติตามสัญญา แม้จำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๖ ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านก็หาใช่ว่าเป็นการยอมรับเพราะจำเลยที่๓ ถึงที่ ๖ ไม่จำต้องโต้แย้งคัดค้านในนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะไปแล้ว การแจ้งให้จำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๖ ไปจดทะเบียนโอนสิทธิ์ในที่ดินก็หาใช่เป็นการแจ้งเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินว่าโจทก์ครอบครองโดยสงบมีเจตนาเป็นเจ้าของมีเจตนาแย่งการครอบครองตาม ปพพ มาตรา ๑๓๘๒ แต่อย่างใดไม่ และจะถือว่าจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๖ สละเจตนายึดถือครอบครองในที่ดินหาได้ไม่
๖.ธ เป็นบิดาและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลย ซื้อที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองแต่ใส่ชื่อผู้เยาว์ในโฉนดแทน เป็นการแสดงเจตนาที่ในใจจริงไม่ได้เจตนาให้ตนต้องผูกพันตามที่แสดงเจตนาออกมาคือไม่ต้องการให้บุตรเป็นเจ้าของ แต่ใส่ชื่อบุตรลงในโฉนดแทน การแสดงเจตนานี้ไม่ตกเป็นโมฆะตาม ปพพ มาตรา ๑๕๔ แล้วได้ขายที่ดินและตึกพิพาทให้โจทก์ แม้จะขายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ก็ไม่ทำให้สิทธิ์การได้มาของโจทก์เสียไป เพราะจำเลยเพียงมีชื่อในโฉนดเป็นการถือกรรมสิทธิ์แทน ธ เท่านั้น หาใช่ทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยผู้เยาว์ไม่ หลักจากโจทก์ซื้อที่พิพาทจาก ธ. ธ.ก็ไม่อาจโอนให้ได้เพราะโฉนดมีชื่อจำเลยซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์ ซึ่งเป็นไปตามข้อสันนิษฐานของ ปพพ มาตรา ๑๓๗๓ ที่สันนิษฐานว่าผู้มีชื่อในทะเบียนที่ดินเป็นผู้มีสิทธิ์ครอบครอง เจ้าหน้าที่ที่ดินย่อมไม่โอนที่ดินให้เว้นแต่ผู้มีชื่อในโฉนดจะมาดำเนินการ เมื่อไม่สามารถโฮนทางทะเบียนได้ก็ไม่ได้ตกลงกันเรื่องการโอนทางทะเบียนเป็นการแน่นอนว่าจะโอนกันหรือไม่เมื่อใด โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์เป็นสำนักงาน ลงบัญชีว่าเป็นทรัพย์สินของโจทก์ เสียภาษีที่ดิน ภาษีโรงเรือนเอง แจ้งให้ผู้ตรวจการธนาคารแห่งประเทศไทยทราบทุกครั้งว่าเป็นทรัพย์สินของโจทก์ ทำหนังสือแจ้งกระทรวงการคลังทราบ ขออนุมัติรื้อถอนตัวอาคารเมื่อย้ายสำนักงานสาขาไปตั้งยังที่อื่นซึ่งกระทรวงการคลังอนุมัติ แสดงว่าทั้งโจทก์และนาย ธ.ไม่คำนึงถึงการทำการจดทะเบียนโอนกรรสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทให้ถูกต้องตามกฎหมายกันต่อไป ถือว่า ธ สละการครอบครองที่ดินให้โจทก์โดยเด็ดขาด การครอบครองย่อมสิ้นสุดไปตาม ปพพ มาตรา ๑๓๗๗ การครอบครองของโจทก์จึงเป็นการครอบครองอย่างเป็นเจ้าของหาใช่ครอบครองตามสัญญาจะซื้อขาย เมื่อครอบครองโดยสงบเปิดเผยเจตนาเป็นเจ้าของเกิน ๑๐ ปีย่อมได้กรรมสิทธิ์ตาม ปพพ มาตรา ๑๓๘๒ นั้นคือได้สิทธิ์โดยการแย่งการครอบครองแต่ไม่ใช่ได้สิทธิ์ตามสัญญาซื้อขายแต่อย่างใดไม่
๗.มีผู้ทำละเมิดต่อผู้เยาว์ซึ่งทำให้ผู้เยาว์มีสิทธิ์ได้รับค่าสินไหมทดแทน การที่ผู้เยาว์จะได้มาซึ่งทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด หากมีการประนีประนอมยอมความกันซึ่งผู้ใช้อำนาจปกครองต้องทำสัญญาแทนผู้เยาว์ ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมก็ชอบที่จะขออนุญาตจากศาลก่อนตาม ปพพ มาตรา ๑๕๗๔(๑๒) เพราะเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ เมื่อบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์กับจำเลยได้ทำข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายและค่ารักษาพยาบาลของโจทก์ โดยบิดาโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายใดๆทั้งทางแพ่งและทางอาญาจากจำเลยอีกเป็นการระงับข้อพิพาทในมูลละเมิดจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ การที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยตามลำพังโดยไมได้รับอนุญาตจากศาลเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ตกเป็นโมฆะไม่มีผลผูกพันโจทก์แต่ประการใด สิทธิ์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ไม่ระงับไป เมื่อต้องเสียความสามารถในการมองเห็นเนื่องจากต้องเสียตาซ้ายทำให้ไม่สามารถมองภาพได้โดยละเอียดและกว้างเท่าคนปกติถือเป็นค่าเสียหายอย่างอื่นอันไม่ใช่ตัวเงินตาม ปพพ มาตรา ๔๔๖ ผู้ทำละเมิดจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวหาใช่ต้องกำหนดเป็นค่ารักษาพยาบาลไม่ และค่าเสียหายที่ต้องเสื่อมเสียสุขภาพอนามัยต้องเสียโฉม ได้รับความเจ็บปวดทรมานเป็นค่าเสียหายอย่างอื่นอันไม่ใช่ตัวเงินโจทก์มีสิทธิ์เรียกร้องได้
๘.จำเลยที่ ๑๒ ทำสัญญาแบ่งแยกที่ดินพิพาทกับโจทก์ มีลักษณะคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทที่มีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันและกัน อันมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ มาตรา ๘๕๐ ในขณะที่เป็นผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ข้อตกลงในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ ๑๒ และมีผลกระทบถึงจำนวนเนื้อที่ดินตลอดจนตำแหน่งของที่ดินที่จะแบ่งแยกเป็นสิ่งเกี่ยวพันธ์ไม่อาจแบ่งแยกออกได้จากนิติกรรมที่จำเลยที่ ๑ถึง ๑๑ ได้ร่วมกระทำข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ ๑ ถึง ๑๑ ด้วย โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสิบสองแบ่งที่พิพาทให้แก่ตนตามข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์
๙.จำเลยในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทำสัญญาขายไม้ในส่วนที่เป็นของผู้เยาว์กับโจทก์ ไม่ใช่เป็นการนำทรัพย์สินของผู้เยาว์ไปแสวงหาผลประโยชน์อันจะต้องขออนุญาตต่อศาลก่อนตาม ปพพ มาตรา ๑๕๗๔(๑๑) หากแต่เป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายไม่เป็นการต้องห้ามตาม ปพพ มาตรา ๑๕๗๔ สัญญาซื้อขายบังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าว
๑๐ การท้าเป็นเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลที่คู่ความตกลงกันให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่คู่ความท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะ ไม่ได้มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อก่อเปลี่ยนแปลงโอนสงวน ระงับซึ่งสิทธิ์จึงไม่เป็นนิติกรรมตาม ปพพ มาตรา ๑๔๙ จึงไม่ใช่กรณีที่ต้องขออนุญาตศาลก่อนตาม ปพพ มาตรา ๑๕๗๔แต่อย่างใดไม่ แม้ว่าการที่ โจทก์ที่ ๒ ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองฟ้องคดีให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินกว่า ๓ ปีแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนตาม ปพพ มาตรา ๑๕๗๔(๕)ก็ตาม แต่เมื่อการท้ากันไม่ใช่การทำนิติกรรม จึงไม่นำบทกฏหมายดังกล่าวมาบังคับใช้ เมื่อโจทก์แพ้คดีตามคำท้า จำเลยที่ ๑ ย่อมบังคับคดีตามฟ้องแย้งได้โดยไม่ต้องพิจารณาว่า ข้อเท็จจริงตามฟ้องแย้งเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าหรือไม่เพราะเป็นเรื่องนอกคำท้าไม่ถืออยู่ในบังคับในเรื่องการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ปพพ มาตรา ๕๓๘ เมื่อจำเลยที่ ๑ เป็นผู้ฟ้องแย้งและจำเลยที่ ๒ เป็นเพียงผู้อาศัย คำพิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าให้แก่จำเลยที่ ๒ซึ่งเป็นผู้อาศัยเป็นเรื่องนอกเหนือไปจากคำขอตามฟ้องแย้งซึ่งถือเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งจึงต้องตัดสินตามฟ้องแย้งจะทำคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เกินไปกว่าหรือที่ปรากฏในฟ้องแย้งไม่ได้ คำขอที่ให้ให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าให้แก่จำเลยที่ ๒ซึ่งเป็นผู้อาศัยเป็นเรื่องนอกเหนือไปจากคำขอตามฟ้องแย้ง จึงไม่ชอบตาม ปวพ มาตรา ๑(๓),๑๔๒ และปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามปวพ มาตรา ๑๔๒(๕).