ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

“เกี่ยวเนื่องกัน”

การดูหนังสือและการตอบข้อสอบต้องพยายามจับกันเป็นหมวดหมู่ทั้งในฐานความผิดบททั่วไปบทเฉพาะและในความผิดลหุโทษ
๑.ดูหมิ่น หมิ่นประมาท ปอ มาตรา ๑๑๒,๑๓๓,๑๓๔,๑๓๖,๑๙๘, ๓๒๖ถึง๓๓๓และ ๓๙๓ ดูประกอบ ปอ มาตรา ๒๐๖
๒.แจ้งความเท็จ ปอ มาตรา ๑๓๗,๑๗๒,๑๗๓,๑๗๔,๑๗๙,๑๘๑,๒๖๗,๒๖๘,๓๖๗และ ปอ มาตรา ๙๐
๓.ต่อสู้ขัดขวาง ปอ มาตรา ๑๓๘,๑๔๐,๒๘๘,๒๘๙,๒๙๕,๒๙๖,๒๙๗,๒๙๘,๓๗๑ พรบ.อาวุธปืนฯมาตรา๗,๘ทวิ,๗๒,๗๒ทวิ คู่กับการริบของกลาง ปอ มาตรา ๑๘(๕),๓๒,๓๓,๓๔,๓๖,๓๗
๔.ข่มขืนใจ ปอ มาตรา ๑๓๙,๑๔๐,๓๐๙,
๕.ถอนทำลาย ปอ มาตรา ๑๔๑,๓๕๘
๖. ทำให้เสียหายฯ ปอ มาตรา ๑๔๒,๓๕๘
๗.เรียกสินบน ปอ มาตรา ๑๔๓,๑๔๔,๑๔๘,๑๔๙,๑๕๐,๑๕๗,๒๐๐,๒๐๑,๒๐๒ ดูคู่ ๑๖๗
๘.แสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน ปอ มาตรา ๑๔๕,๑๔๖
๙.ไม่มีสิทธิ์สวมเครื่องแบบ ปอ มาตรา ๑๔๖ ดูเทียบ ปอ มาตรา ๒๐๘
๑๐.เจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์ ปอ มาตรา ๑๔๗,๑๕๗ ดูเปรียบเทียบ ปอ มาตรา ๓๕๒
๑๑.ปอ มาตรา ๑๕๑ถึง ๑๕๙,๑๗๑,๒๒๖,๒๒๗ ดูผ่าน
๑๒..ขัดคำบังคับ ปอ มาตรา ๑๖๘,๑๖๙ พรบ. องค์กรอัยการฯ มาตรา ๑๖,๑๗,๑๘ ดูคู่ ปอ . มาตรา ๓๖๘
๑๓.ขัดขืนหมาย ปอ มาตรา ๑๗๐, ดูคู่ปอ มาตรา ๓๖๘
๑๔.. ฟ้องเท็จ ปอ มาตรา,๑๗๕,๑๗๖,๑๘๑ ดูเทียบว่าฟ้องเท็จทางแพ่งผิดกฎหมายหรือไม่? และการฟ้องเท็จถือเป็นการแจ้งความเท็จหรือไม่?
๑๕.เบิกความเท็จ ปอ มาตรา ๑๗๗,๑๘๑,๑๘๒,๑๘๓ มักโยง ทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ ตาม ปอ มาตรา ๑๗๙ นำสืบพยานหลักฐานอันเป็นเท็จตาม ปอ มาตรา ๑๘๐หรือแปลข้อความอันเป็นเท็จ ปอ มาตรา ๑๗๘
๑๖.ช่วยผู้อื่นไม่ให้ต้องรับโทษ ปอ มาตรา ๑๘๔ ดูเทียบ ปอ มาตรา ๑๘๙ , ๒๐๐
๑๗.ทรัพย์ที่ได้ส่งศาลตาม ปอ มาตรา ๑๘๕ ดูเทียบทรัพย์ที่ศาลพิพากษาให้ริบ ปอ มาตรา ๑๘๖และมาตรา ๑๘๗
๑๘..เอาไปเสียซึ่งทรัพย์ตาม ปอ มาตรา ๑๘๘ คำว่า “ เอาไป” ดูเทียบ ลักทรัพย์ตาม ปอ มาตรา ๓๓๔
๑๙.. หลบหนีที่คุมขัง ตาม ปอ มาตรา ๑๙๐ ดูเทียบ ปอ มาตรา ๑๙๕(หลบหนีจากสถานพยาบาล) และดูประกอบ ปอ มาตรา ๑๙๑,๑๙๒,๑๙๓,๒๐๔,๒๐๕
๒๐.. ลอบฝัง ซ่อนเร็น .ย้ายศพ ปอ มาตรา ๑๙๙ ดูประกอบ ปวอ มาตรา ๑๔๘ถึง ๑๕๖ ปอ มาตรา๓๐๑,๓๐๒,๓๐๓,๓๐๔,๓๐๕
๒๑.ก่อให้เกิดความวุ่นวาย ปอ มาตรา ๒๐๗ ดูเทียบ ปอ มาตรา ๒๑๕,๒๑๖
๒๒.อั้งยี่ซ่องโจร ปอ มาตรา ๒๐๙ถึง๒๑๔
๒๓.วางเพลิง ปอ มาตรา ๒๑๗,๒๑๘,๒๑๙,๒๒๐,๒๒๓,๒๒๔,๒๒๕ ดูประกอบ ปอ มาตรา ๓๕๘,๓๕๙,๓๖๐,๓๖๐ทวิ,๓๖๑และ ๓๗๔,๓๘๓ ดูเทียบ ปอ มาตรา ๒๒๑,๒๒๒,๒๒๓
๒๔..ความผิดเกี่ยวภยันตราย ปอ มาตรา ๒๒๖ถึง๒๒๙ อ่านผ่าน
๒๕..กีดขวางทาง ปอ มาตรา ๒๓๐,๒๓๑,๓๘๕,๓๘๖
๒๖.ใช้ยานพาหนะจนน่าเป็นอันตราย ปอ มาตรา ๒๓๓,๒๓๒
๒๗.ปลอมปนอาหาร ปอ มาตรา ๒๓๖,๘๐ประกอบ๒๘๙(๔) หรือ ๒๘๙(๔)กรณีเป็นความผิดสำเร็จ และ ดูประกอบ๒๓๗,๒๓๘,๒๓๙และ ๓๘๐
๒๘..ทำให้เกิดความไม่สะดวกตาม ปอ มาตรา ๒๓๔ ดูประกอบ ปอ มาตรา ๓๗๕
๒๙..ปลอมแปลงเงินตราเหรียญกระษาปณ์ ปอ มาตรา ๒๔๐,๒๔๑,๒๔๙, เทียบ ปลอมดวงตรา ปอ มาตรา ๒๕๐,๒๕๑ ,๒๖๓ ดูประกอบ ปอ มาตรา ๑๖๐ ดูเทียบ ปลอมแสตมป์ ปอ มาตรา ๒๕๔,๒๖๒ ปลอมตั๋วโดยสาร ปอ มาตรา ๒๕๘,๒๕๙ และปลอมเอกสาร ตาม ปอ มาตรา ๒๖๔,๒๖๕,๒๖๖ ปลอมบัตรอีเล็คทรอนิค ปอ มาตรา ๒๖๙/๑ เทียบปลอมหนังสือเดินทาง ปอ มาตรา ๒๖๙/๘ ปลอมดวงตรารอยตรา ปอ มาตรา ๒๖๙/๑๒ ,ปลอมเครื่องหมายการค้า ปอ มาตรา ๒๗๓ เลียนเครื่องหมายการค้า ปอ มาตรา ๒๗๔,ปลอมดวงตรา ดูประกอบ ปอ มาตรา ๑๖๑,๑๖๒
๓๐.นำเข้า ปอ มาตรา๒๔๒วรรคสอง ,๒๔๓,๒๗๕,๒๕๕,๒๖๙/๓,๒๖๙/๑๔,๒๗๕
๓๑.มีไว้เพื่อนำออกใช้ หรือใช้ ปอ มาตรา ๒๔๔,๒๔๕,๒๖๙/๑๓,๒๖๙/๑๕
๓๒. ทำเครื่องมือ ปอ มาตรา ๒๔๖,๒๖๑,๒๖๙/๒
๓๓.ใช้ มีไว้เพื่อใช้ ปอ. มาตรา ๒๔๔,๒๔๕ เทียบ ปอ มาตรา ๒๕๒,๒๕๓,๒๕๗,๒๖๓,,๒๖๘,๒๖๙/๔,๒๖๙/๖,๒๖๙/๙,๒๖๙/๑๓,๒๖๙/๑๕,๒๗๐
๓๔.ทำเครื่องมือ ปอ มาตรา๒๔๖ดูเทียบ ปอ มาตรา ๒๖๑,๒๖๙/๒
๓๕.ปลอมเอกสาร ปอ มาตรา ๒๖๔,๒๖๕,๒๖๖ ดูเทียบ เจ้าพนักงานตาม ปอ มาตรา ๑๖๑,๑๖๒
๓๖.ขายของโดยหลอกลวง ปอ มาตรา ๒๗๑ ดูเทียบ ปอ มาตรา ๓๔๑,๓๔๓,.
๓๗.ความผิดเกี่ยวกับเพศ ดูเทียบความผิดอนาจาร และความผิดฐานพรากและพาฯ ประกอบ ความผิดฐานเป็นธุระจัดหาและฐานกระทำการอันควรขายหน้าตามปอ มาตรา ๓๘๘ อย่าลืมดูบทฉกรรจ์ ตาม ปอ มาตรา ๒๘๐,๒๘๑,๒๘๕ซึ่งทำให้โทษหนักขึ้นและเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้
๓๘. เปิดเผยความลับ ปอ มาตรา ๓๒๒ถึง๓๒๕ ดูประกอบ๑๖๓,๑๖๔
๓๙..ความผิดต่อชีวิต ดูประกอบความผิดฐานไม่เจตนาฆ่า ปอ มาตรา ๒๙๐ ความผิดฐานทำให้ได้รับอันตรายแก่กาย ปอ มาตรา ๒๙๕ ยังไม่ได้รับอันตรายแก่กาย ปอ มาตรา ๓๙๑ ได้รับอันตรายสาหัส ปอ มาตรา ๒๙๗ ความผิดที่กระทำโดยประมาท และชุลมุนต่อสู้ตาม ปอ มาตรา ๒๙๔,๒๙๙
๔๐.เปรียบเทียบฐานความผิดต่างๆเช่น
๔๐.๑เปรียบเทียบฐานความผิดที่กระทำโดยเจตนากับการกระทำโดยประมาท
๔๐.๒เปรียบเทียบฐานความผิดที่กระทำโดยเจตนากับความผิดที่กระทำโดยไม่มีเจตนาก็เป็นความผิด ปอ มาตรา ๑๐๔
๔๐.๓ เปรียบเทียบฐานความผิดฐานลักทรัพย์กับความผิดฐานรับของโจร
๔๐.๔ เปรียบเทียบฐานความผิดฐานลักทรัพย์กับความผิดฐานยักยอก
๔๐.๕ เปรียบเทียบฐานความผิดฐานลักทรัพย์กับความผิดฐานฉ้อโกง
๔๐.๖เปรียบเทียบฐานความผิดฐานลักทรัพย์กับความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
๔๐.๗ เปรียบเทียบฐานความผิดฐานฉ้อโกงกับโกงเจ้าหนี้
๔๐.๗ เปรียบเทียบความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ รีดเอาทรัพย์และความผิดต่อเสรีภาพตาม ปอ มาตรา ๓๐๙
๔๐.๘เปรียบเทียบความผิดชิงทรัพย์กับกรรโชกทรัพย์
๔๐.๙เปรียบเทียบความผิดฐาน ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์
๔๐.๑๐ เปรียบเทียบความผิดฐานลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ ฉ้อโกง
๔๐.๑๑เปรียบเทียบความผิดฐานลักทรัพย์กับทำให้เสียทรัพย์
๔๑.เหตุฉกรรจ์ของตัวบทกฎหมายนั้นๆ เช่น
-ปอ มาตรา๒๘๘ประกอบ ๒๘๙
-ปอ มาตรา ๓๓๔,๓๓๕ประกอบ,๓๓๖ทวิ
-ปอ มาตรา ๓๓๕ทวิประกอบ ๓๓๖ทวิ
-ปอ มาตรา ๓๓๖ ประกอบ ๓๓๖ทวิ
-ปอ มาตรา ๓๓๙ ประกอบ ๓๓๕(ตามปอ มาตรา ๓๓๙ วรรค สอง) ประกอบ ๓๔๐ตรี
-ปอ มาตรา ๓๓๙ทวิประกอบ ๓๔๐ตรี
-ปอ มาตรา ๓๔๐ ประกอบ ๓๔๐ ตรี
- ปอ มาตรา ๓๔๐ ทวิ ประกอบ ๓๔๐ตรี
๔๒.บทเพิ่มโทษหรือรับโทษหนักขึ้น ปอ มาตรา ๑๔๐,๑๘๑,๑๙๐วรรคสอง,๑๙๑วรรคสองวรรคสาม,๒๐๙วรรคสอง,๒๑๐วรรคสอง,๒๑๕วรรคสองและวรรคสาม,๒๑๘๒๒๐วรรคสอง,๒๒๒,๒๒๓,๒๒๔,๒๒๘วรรคสอง,๒๓๘,๒๓๙,๒๖๒๒๖๙/๗,๒๗๖วรรคสาม,๒๗๗วรรคสามและวรรคสี่,,๒๗๗ทวิ,๒๗๗ตรี,๒๘๐,๒๘๑ประกอบ ๒๘๕, ๒๘๙, ๒๙๐ประกอบ ๒๘๙,,๒๙๕ประกอบ ๒๙๖และ๒๘๙, .ปอ มาตรา ๒๙๘.ปอ มาตรา ๓๐๓วรรคสองสาม, ๓๐๘,๓๐๙วรรคสองสาม,๓๑๐วรรคสอง,๓๑๑วรรคสอง,๓๑๒ทวิวรรคแรกและวรรคสอง,๓๑๒ครี,๓๑๓วรรคสองวรรคสาม,,๓๑๗วรรคท้าย,๓๑๘วรรคท้าย,,๓๒๐วรรคสอง,๓๓๕,๓๓๕วรรคสอง,วรรคสาม,๓๓๖ทวิ,๓๓๙วรรคสองวรรคสามวรรคสี่วรรคห้า,๓๓๙ทวิ,๓๔๐วรรคสองวรรคสามวรรคสี่วรรคห้า,๓๔๐ทวิ,๓๔๐ตรี,๓๕๗วรรคสองวรรคสาม,,๓๖๕
๔๓.ความผิดที่ยอมความได้ ปอ, มาตรา ๗๑วรรคสอง,๒๗๒,๒๘๑,๒๘๓ทวิวรรคท้าย,๒๘๔,๓๒๑,๓๒๕,๓๓๓,๓๔๘,๓๕๑,๓๕๖,๓๖๑,๓๖๖
๔๖.กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทลงบทเดียว ปอ มาตรา ๒๔๘,๒๖๓,๒๖๘,๒๖๙/๑๓วรรคสอง
๔๗.การกระทำที่ไม่มีความผิด ปอ มาตรา๓๐๕,๓๒๙,๓๓๑
๔๘.การกระทำที่ไม่ต้องรับโทษ ปอ มาตรา ๖๗,๖๙ตอนท้าย,๗๐,๗๑วรรคแรก,๗๓,๗๔,๑๗๖,๑๘๒,๒๐๕วรรคท้าย,๓๓๐
๔๙.ผู้สนับสนุนรับโทษเสมือนตัวการ ปอ มาตรา ๑๒๙,๑๓๕/๓,๓๑๔
๕๐.ลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด ปอ มาตรา ๖๙,๗๑วรรคสอง,๗๒,๗๕,๑๗๖,,๑๘๓,๓๑๖,๓๓๕วรรคท้าย
๕๑.ตระเตรียมลงโทษฐานพยายาม ปอ มาตรา ๒๑๙
๕๒.ตระเตรียมรับโทษเท่าความผิดสำเร็จ ปอ มาตรา ๑๒๘
๕๓.พยายามกระทำความผิดรับโทษเท่าความผิดสำเร็จ ปอ มาตรา ๑๒๘,๑๓๐,๑๓๑,
๕๔.เพิ่มโทษไม่ได้ ปอ มาตรา ๙๔
๕๕.กฏหมายยกเว้นการกระทำความผิด ปอ มาตรา ๑๘๒,๓๐๕
๕๖.พยายามหรือสนับสนุนกระทำความผิดที่ไม่ต้องรับโทษ ปอ มาตรา ๑๐๕,๑๐๖,๓๐๔
๕๗.ศาลไม่ลงโทษก็ได้ ปอ มาตรา ๖๙,๑๗๖,๑๙๓,๒๑๔วรรคสอง
๕๘.ลงโทษ ๒ ใน ๓ คือ ปอ มาตรา ๘๐,๒๖๙/๑๕

ไม่มีความคิดเห็น: