ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

“ห่วงผูกเท้า” “รับมรดกแทนที่ “

๑.โจทก์เป็นบุตรของ พ. ซึ่งเป็นพี่สาวผู้ตาย ผู้ตายไม่มีคู่สมรสและบุตร บิดามารดาก็ถึงแก่กรรมไปก่อนนี้แล้ว ทรัพย์มรดกจึงตกแก่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ซึ่งรวมทั้ง พ ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๙(๓) เมื่อ พ. ถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย โจทก์ซึ่งเป็นบุตรและเป็นผู้สืบสันดานของ พ. ย่อมมีสิทธิ์รับมรดกแทนที่ พ จึงมีสิทธิ์รับมรดกของผู้ตายเฉพาะส่วนแบ่งของ พ. ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๓๙ การต้องห้ามตาม ปวพ มาตรา ๑๔๘ นั้น คดีก่อนต้องมีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว เมื่อคดีก่อนโจทก์กับพวกได้ถอนฟ้อง ซึ่ง ปวพ มาตรา ๑๒๗๖ อาจยื่นได้ใหม่ ทั้งคดีดังกล่าวศาลชั้น้ต้นยังไม่ได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่โจทก์นำมูลคดีเดียวกันกับคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ ๑ กับพวก จึงไม่ใช่การรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาสัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่ต้องห้ามตาม ปวพ มาตรา ๑๔๘ โจทก์เป็นทายาทฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินทรัพย์มรดกของผู้ตายระหว่างจำเลยที่ ๑ กับจำเลยที่ ๒ และให้จำเลยที่ ๒ คืนเงิน ๔๐,๐๐๐ บาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย สำหรับจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจะยกอายุความ ๑ ปี ตาม ปพพ มาตรา ๑๗๕๔ขึ้นต่อสู้หาได้ไม่ เพราะบทบัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทไว้โดยเฉพาะแล้วตาม ปพพ มาตรา ๑๗๓๓ วรรคสองซึ่งมีอายุควสาม ๕ ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง จำเลยที่ ๒ เมื่อผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรม จำเลยที่ ๒ จึงไม่ใช่ผู้รับพินัยกรรมอันจะถือว่าเป็นทายาทที่มีสิทธิ์รับมรดกของผู้ตาย เมื่อโจทก์ฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและให้คืนเงินสดเพื่อนำมาแบ่งปันระหว่างทายาท จึงเป็นการฟ้องเรียกคืนทรัพย์จากจำเลยที่ ๒ ซึ่งไม่มีสิทธิ์ยึดถือไว้ จำเลยที่ ๒ ไม่มีสิทธิ์ยกอายุความมรดกตาม ปพพ มาตรา ๑๗๕๔ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ โจทก์ฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ ๑ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกกับจำเลยที่ ๒ เป็นกรณีวัตถุแห่งหนี้ให้ทำนิติกรรมอย่างหนึ่ง ดังนั้นเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดิน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาโดยระบุเงื่อนไขแห่งการบังคับคดีว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง ตามมาตรา ๒๑๓ ดังที่ ปวพ มาตรา ๒๗๖ บัญญัติไว้ คำพิพากษาฏีกา ๑๕๘๔/๒๕๔๖
๒. ผู้ร้องถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกล่าวหาว่าเป็นผู้ยิงเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย และถูกฟ้องดำเนินคดี คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล หากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สูดว่า ผู้ร้องได้กระทำโดยเจตนาทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องก็เป็นบุคคลที่ถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๐๖(๑) ซึ่งการถูกจำกัดไม่ให้รับมรดกภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตายได้ กรณีไม่ต้องด้วย ปพพ มาตรา ๑๖๓๙ ที่ผู้สืบสันดานของผู้ร้องจะมีสิทธิ์เข้ารับมรดกแทนที่ผู้ร้อง ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมเพียงคนเดียวของเจ้ามรดก และมรดกผู้ตายมีที่ดินเพียงแปลงเดียว การที่ผู้ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายครั้งนี้ก็เพื่อจัดการโอนที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกเพียงแปลงเดียวมาเป็นชื่อของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายอาจถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกของผู้ตาย และผู้ที่ร้องขอที่ขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก ของผู้ตายคือ ผู้สืบสันดานของผู้ร้องซึ่งอาจเป็นผู้ที่เสียประโยชน์จากการเป็นผู้รับมรดกแทนที่ผู้ร้องอันมีลักษณะเป็นปรปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตาย ดังนั้นจึงไม่มีเหตุสมควรตั้งผู้สืบสันดานของผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ประกอบกับไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า การขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายครั้งนี้ นอกจากเพื่อจัดการโอนที่ดินมรดกของผู้ตายแก่ผู้ร้องแล้ว จำเป็นต้องมีการกระทำการอย่างใดๆแก่ที่ดินมรดกดังกล่าวอีก จึงไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำร้องขอ คำพิพากษาฏีกาที่ ๘๐๒๓/๒๕๓๘
๓.ผู้ตายไม่มีบุตรและภรรยา บิดามารดาของผู้ตายก็ถึงแก่กรรมไปหมดแล้ว ทรัพย์มรดกของผู้ตายจึงตกได้แก่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตายซึ่งรวมถึง ล. ด้วย ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๙(๓) เมื่อ ล. ถึงแก่กรรมภายหลังโดยยังไม่ได้รับส่วนแบ่งทรัพย์มรดก ส่วนที่ ล. จะได้รับก็ตกแก่ ป. ผู้สืบสันดาน แต่ปรากฏว่า ป ถึงแก่กรรมไปก่อน ล. แล้ว ทรัพย์มรดกส่วนที่ ป. จะได้รับก็ตกแก่ผู้ร้องและ ฉ. ผู้สืบสันดาน ซึ่งเป็นผู้รับมรดกแทนที่ ป. ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๓๙ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในกองมรดก และเมื่อมีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก ผู้ร้องย่อมมีสิทธิ์ขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๗๑๓ คำพิพากษาฏีกาที่ ๒๗๓๓/๒๕๔๘
๔.โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว โดยบิดาแสดงออกต่อบุคคลอื่นว่าเป็นบุตรและให้ใช้นามสกุล โจทก์มีสิทธิ์รับมรดกแทนที่บิดา ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๗,๑๖๒๙,๑๖๓๙ คำพิพากษาฏีกา ๓๑๕๘/๒๕๓๖
๔. เมื่อ ผ. ถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดกของ ผ. จึงตกได้แก่บุตรทั้ง ๖ คนของ ผ. แต่ยังไม่ทันจัดการแบ่งทรัพย์มรดกกันระหว่างทายาท ล. ถึงแก่ความตายเสียก่อน ทรัพย์มรดกที่ตกแก่ ล.จึงตกแก่ผู้คัดค้านที่ ๑ตาม ปพพ มาตรา ๑๕๙๙ เป็นกรณีผู้คัดค้านที่ ๑ ได้รับมรดกของ ล. โดยตรง ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านที่ ๑เข้ารับมรดกแทนที่ตาม ปพพ มาตรา๑๖๓๙ ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ผ. ผู้ตาย ชอบที่จะร้องให้จัดการมรดกของ ผ. ผู้ตายได้ คำพิพากษาฏีกาที่ ๓๗๗๗/๒๕๓๘
๕. การรับมรดกแทนที่กันจะมีได้เฉพาะผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่บิดามารดาเท่านั้น ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๓๙,๑๖๔๒ โจทก์ที่ ๑ เป็นภรรยาของ ส. ไม่ใช่ผู้สืบสันดานของ ส.จึงไม่มีสิทธิ์รับมรดกแทนที่ ส. นาย ส. มีบุตร ๓ คน คือ โจทก์ทั้งสาม พ.โจทก์ที่ ๑ สละมรดกของ ส. เท่านั้นไม่ได้สละสิทธิ์ในการรับมรดกของ ก. อันเป็นการรับมรดกแทนที่ ส. ดังนี้ พ.จึงมีสิทธิ์รับมรดกแทนที่ ส.ในการสืบมรดกของ ก. ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๔๕ โจทก์ที่ ๒ ที่ ๓ จึงมีสิทธิ์รับมรดกแทนที่ ส. ในการสืบมรดกของ ก คนละ๑ ใน ๓ คำพิพากษาฏีกาที่๕๑๘๙/๒๕๓๙
๖. ผู้สืบสันดานโดยตรงตาม ปพพ มาตรา ๑๖๔๓หมายถึงผู้สืบสันดานในทางสายโลหิตโดยแท้จริง บุตรบุญธรรมกฎหมายถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิ์รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่บุตรบุญธรรมหาใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ จึงไม่มีสิทธิ์รับมรดกแทนที่ผู้รับบุตรบุญธรรม คำพิพากษาฏีกา ๗๗๓/๒๕๒๘
๗.ผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมของ จ. ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับเจ้ามรดก จ.ถึงแก่ความตายไปก่อนเจ้ามรดก เช่นนี้ ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิ์รับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่ จ ได้ เพราะผู้ร้องไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของ จ. จึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกในอันที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ตาม ปพพ มาตรา ๑๗๑๓ วรรคแรก คำพิพากษาฏีกาที่ ๒๔๙๕/๒๕๔๐
๘.บุตรบุญธรรมตายก่อนผู้รับบุตรบุญธรรม บุตรของบุตรบุญธรรมย่อมมีสิทธิ์รับมรดกแทนที่กันได้ตาม ๑๖๓๙ คำพิพากษาฏีกาที่ ๒๙๐/๒๔๙๔
๙. มีผู้จับมือเจ้ามรดกเขียนชื่อในขณะเจ้ามรดกมีสติสัมปัญชัญญะไม่สมบรูณ์ เท่ากับ เจ้ามรดกไม่ได้แสดงเจตนาทำพินัยกรรม เอกสารที่ทำไว้จึงไม่เป็นพินัยกรรม ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย บุตรนอกกฏหมายที่บิดาได้แสดงออกต่อผุ้อื่นว่าเป็นบุตร ให้ใช้นามสกุลตลอดมา ถือเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วจึง มีสิทธิ์ได้รับมรดกแทนที่ได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๓๙ คำพิพากษาฏีกา๓๑๕๘/๒๕๓๖
ข้อสังเกต ๑.ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายคือมีการจดทะเบียนสมรสมีสิทธิ์รับมรดกของสามีที่ถึงแก่ความตายโดยรับมรดกในฐานะ “ทายาทชั้นบุตร” และ “ถือเป็น” ทายาทโดยธรรมตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๙วรรคท้าย,๑๖๓๕(๑)
๒.เมื่อผู้ตายไม่มีบิดามารดา ไม่มีบุตร ไม่มีคู่สมรส มรดกย่อมตกแก่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ปพพ มาตรา ๑๖๒๙(๓)
๓.บุคคลที่เป็นทายาทที่มีสิทธิ์รับมรดกถึงแก่ความตาย บุตรของทายาทดังกล่าวเข้ารับมรดกแทนที่ได้ ปพพ มาตรา๑๖๓๙
๔.ห้ามรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่วินิจฉัยในเหตุอย่างเดียวกัน อันเป็นการฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ปวพ มาตรา ๑๔๘
๕.การถอนฟ้อง ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นฟ้องรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆอันมีมาภายหลังการยื่นฟ้อง และทำให้คู่ความกลับคืนสู่สถานะเดิมเสมือนหนึ่งว่าไม่มีการยื่นฟ้องเพียงแต่ว่าสามารถฟ้องได้ใหม่ภายในกำหนดอายุความเท่านั้น ตาม ปวพ มาตรา ๑๗๖
๖.อายุความตาม ปพพ มาตรา ๑๗๕๔ เป็นบทบัญญัติที่ทายาทด้วยกันเองที่จะอ้างอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้ แต่ในระหว่างทายาทกับผู้จัดการมรดกฟ้องร้องเกี่ยวกับการจัดการมรดก มีอายุความ มีบทบัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทไว้โดยเฉพาะแล้วตาม ปพพ มาตรา ๑๗๓๓ วรรคสองซึ่งมีอายุความ ๕ ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง หาใช่อายุความ ๑ ปีนับแต่เจ้ามรดกตายหรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรรู้ความตายของเจ้ามรดกตาม ปพพ ตรา ๑๗๕๔ แต่อย่างใดไม่
๗.เมื่อวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งศาลจะสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาก็ได้ตาม ปพพ มาตรา ๒๑๓, ปวพ มาตรา ๒๗๖ วรรคท้าย
๘..แม้ภรรยารับมรดกชั้นทายาทชั้นบุตรและถือเป็นทายาทโดยธรรมตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๙วรรคท้าย,๑๖๓๕(๑) แต่ก็ไม่ใช่ผู้สืบสันดานอันแท้จริงของสามีที่จะเข้ารับมรดกแทนที่สามีที่ถึงแก่ความตายได้ เป็นเพียงกฏหมายบัญญัติให้รับมรดก “ เสมือนหนึ่งว่า” ตนเป็นทายาทชั้นบุตรตาม ปพพ มาตรา ๑๖๓๕(๑) เท่านั้น เพราะภรรยาไม่ใช่ลูกของสามี ดังนั้นเมื่อสามีตาย ภรรยาไม่อาจเข้ารับมรดกแทนที่ของสามีได้
๙.โจทก์เป็นบุตรของ พ. ซึ่งเป็นพี่สาวผู้ตาย ผู้ตายไม่มีคู่สมรสและบุตร บิดามารดาก็ถึงแก่กรรมไปก่อนนี้แล้ว ทรัพย์มรดกจึงตกแก่ พ. ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน และเป็นทายาทโดยธรรม ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๙(๓) เมื่อ พ. ถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย โจทก์ซึ่งเป็นบุตรและเป็นผู้สืบสันดานของ พ. ย่อมมีสิทธิ์รับมรดกแทนที่ พ จึงมีสิทธิ์รับมรดกของผู้ตายเฉพาะส่วนแบ่งของ พ. ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๓๙
๑๐. การห้ามรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่วินิจฉัยในเหตุอย่างเดียวกัน อันเป็นการฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ปวพ มาตรา ๑๔๘ นั้น คดีก่อนต้องมีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว เมื่อคดีก่อนโจทก์กับพวกได้ถอนฟ้อง ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นฟ้องรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆอันมีมาภายหลังการยื่นฟ้อง และทำให้คู่ความกลับคืนสู่สถานะเดิมเสมือนหนึ่งว่าไม่มีการยื่นฟ้องเพียงแต่ว่าสามารถฟ้องได้ใหม่ภายในกำหนดอายุความเท่านั้น ตาม ปวพ มาตรา ๑๗๖ เมื่อคดีดังก่อนมีการถอนฟ้องซึ่งกฎหมายให้ถือเสมือนหนึ่งว่าไม่ได้มีการยื่นฟ้อง อีกทั้งในคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่โจทก์นำมูลคดีเดียวกันกับคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ ๑ กับพวก จึงไม่ใช่การรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำอันเป็นการต้องห้ามตาม ปวพ มาตรา ๑๔๘แต่อย่างใด และไม่ใช่การฟ้องซ้อนหรือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ปวพ มาตรา๑๔๘,๑๗๓(๑)
๑๑. โจทก์เป็นทายาทฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินทรัพย์มรดกของผู้ตายระหว่างจำเลยที่ ๑ กับจำเลยที่ ๒ และให้จำเลยที่ ๒ คืนเงิน ๔๐,๐๐๐ บาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย สำหรับจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจะยกอายุความ ๑ ปี ตาม ปพพ มาตรา ๑๗๕๔ขึ้นต่อสู้หาได้ไม่ เพราะอายุความตาม ปพพ มาตรา ๑๗๕๔ เป็นบทบัญญัติที่ทายาทด้วยกันเองที่จะอ้างอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้ แต่ในระหว่างทายาทกับผู้จัดการมรดกฟ้องร้องเกี่ยวกับการจัดการมรดก มีอายุความ มีบทบัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทไว้โดยเฉพาะแล้วตาม ปพพ มาตรา ๑๗๓๓ วรรคสองซึ่งมีอายุความ ๕ ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง หาใช่อายุความ ๑ ปีนับแต่เจ้ามรดกตายหรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรรู้ความตายของเจ้ามรดกตาม ปพพ ตรา ๑๗๕๔ แต่อย่างใดไม่
๑๒. เมื่อผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้จำเลยที่ ๒ จำเลยที่ ๒ จึงไม่ใช่ผู้รับพินัยกรรมอันจะถือว่าเป็นทายาทที่มีสิทธิ์รับมรดกของผู้ตาย เมื่อโจทก์ฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและให้คืนเงินสดเพื่อนำมาแบ่งปันระหว่างทายาท จึงเป็นการฟ้องเรียกคืนทรัพย์จากจำเลยที่ ๒ ซึ่งไม่มีสิทธิ์ยึดถือไว้ ตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๖ จำเลยที่ ๒ ไม่มีสิทธิ์ยกอายุความมรดกตาม ปพพ มาตรา ๑๗๕๔ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ เพราะอายุความตามบทกฎหมายดังกล่าวเป็นบทบัญญัติฟ้องคดีมรดกที่ใช้บังคับกับทายาทโดยธรรมที่ได้รู้หรือควรรู้ถึงการตายของเจ้ามรดก หรือผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิ์ที่ตนมีอยู่ตามพินัยกรรม แต่การฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและให้คืนเงินสดเพื่อนำมาแบ่งปันระหว่างทายาท เป็นการฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองทรัพย์จากผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ยึดถือไว้
๑๓.การฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ ๑ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกกับจำเลยที่ ๒ เป็นกรณีวัตถุแห่งหนี้ให้ทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ให้เพิกถอนการโอน โดยให้จำเลยโอนที่ดินที่ได้ไปโดยไม่ชอบให้โจทก์ เมื่อวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งศาลจะสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาก็ได้ตาม ปพพ มาตรา ๒๑๓, ปวพ มาตรา ๒๗๖ วรรคท้าย ดังนั้นเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดิน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาโดยระบุเงื่อนไขแห่งการบังคับคดีว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง
๑๔.. ผู้ร้องถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ยิงเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย และถูกฟ้องดำเนินคดี คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล หากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สูดว่า ผู้ร้องได้กระทำโดยเจตนาทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องก็เป็นบุคคลที่ถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๐๖(๑) โดยถือว่าต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเจตนากระทำหรือพยายามกระทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งการถูกจำกัดไม่ให้รับมรดกภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตายได้ กรณีไม่ต้องด้วย ปพพ มาตรา ๑๖๓๙ ที่ผู้สืบสันดานของผู้ร้องจะมีสิทธิ์เข้ารับมรดกแทนที่ผู้ร้อง นั้นก็คือ. หากผู้ถูกจำกัดไม่ให้รับมรดกมีทายาท ทายาทไม่สามารถเข้ารับมรดกแทนที่ผู้ถูกจำกัดไม่ให้รับมรดกได้ ทำนองว่า เมื่อผู้ถูกจำกัดไม่ให้รับมรดกไม่สามารถรับมรดกได้ แล้วผู้ถูกจำกัดไม่ให้รับมรดกถึงแก่ความตาย ทายาทของผู้ถูกจำกัดไม่ให้รับมรดกก็ไม่น่าที่จะเข้ารับมรดกแทนที่ได้ เพราะตัวผู้ถูกจำกัดเองยังไม่มีสิทธิ์รับมรดกได้ ดังนั้นทายาทของผู้ถูกจำกัดไม่ให้รับมรดกจะเข้ามารับมรดกแทนที่ได้อย่างไร
๑๕..เมื่อ ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมเพียงคนเดียวของเจ้ามรดก และมรดกผู้ตายมีที่ดินเพียงแปลงเดียว การที่ผู้ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายครั้งนี้ก็เพื่อจัดการโอนที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกเพียงแปลงเดียวมาเป็นชื่อของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายอาจถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกของผู้ตาย และตามกฎหมายผู้ที่ร้องขอที่ขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก ของผู้ตายคือ ผู้สืบสันดานของผู้ร้องซึ่งอาจเป็นผู้ที่เสียประโยชน์จากการเป็นผู้รับมรดกแทนที่ผู้ร้องอันมีลักษณะเป็นปรปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตาย ดังนั้นจึงไม่มีเหตุสมควรตั้งผู้สืบสันดานของผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ประกอบกับไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า การขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายครั้งนี้ นอกจากเพื่อจัดการโอนที่ดินมรดกของผู้ตายแก่ผู้ร้องแล้ว จำเป็นต้องมีการกระทำการอย่างใดๆแก่ที่ดินมรดกดังกล่าวอีก จึงไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำร้องขอ
๑๖..ผู้ตายไม่มีบุตรและภรรยา บิดามารดาของผู้ตายก็ถึงแก่กรรมไปหมดแล้ว คือไม่มีทายาทในลำดับที่ ๑ ที่ ๒ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๙ และไม่มีทายาทตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๙วรรคท้าย คือภรรยา ทรัพย์มรดกของผู้ตายจึงตกได้แก่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตายซึ่งรวมถึง ล. ด้วย ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๙(๓) เมื่อ ล. ถึงแก่กรรมภายหลังโดยยังไม่ได้รับส่วนแบ่งทรัพย์มรดก ส่วนที่ ล. จะได้รับก็ตกแก่ ป. ผู้สืบสันดาน โดย ป. เข้ารับมรดกแทนที่ ล. แต่เมื่อปรากฏว่า ป ถึงแก่กรรมไปก่อน ล. แล้ว ทรัพย์มรดกส่วนที่ ป. จะได้รับก็ตกแก่ผู้ร้องและ ฉ. ผู้สืบสันดาน ซึ่งเป็นผู้รับมรดกแทนที่ ป. ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๓๙ นั้นคือ มีการรับมรดกแทนที่สองทอด โดย ทอดแรก ป เข้ารับมรดกแทนที่ผู้ตาย เมื่อ ป.ตาย ทายาทของ ป. จึงเข้ารับมรดกแทนที่เป็นอีกทอดหนึ่งหรือทอดที่ ๒ เมื่อผู้ร้องเป็นผู้สืบสันดานที่เข้ารับมรดกแทนที่บุตรของผู้ตายที่เข้ารับมรดกแทนที่ผู้ตายจึงถือว่ามีส่วนได้เสียในกองมรดก และเมื่อมีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก ผู้ร้องย่อมมีสิทธิ์ขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๗๑๓
๑๗.บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ปพพ มาตรา ๑๖๒๗ “ ให้ถือว่า “ เป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว โดยบิดาแสดงออกต่อบุคคลอื่นว่าเป็นบุตรและให้ใช้นามสกุล โจทก์มีสิทธิ์รับมรดกแทนที่บิดา ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๗,๑๖๒๙,๑๖๓๙
๑๘.. เมื่อ ผ. ถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดกของ ผ. จึงตกได้แก่บุตรทั้ง ๖ คนของ ผ. แต่ยังไม่ทันจัดการแบ่งทรัพย์มรดกกันระหว่างทายาท ล. ถึงแก่ความตายเสียก่อน ทรัพย์มรดกที่ตกแก่ ล.จึงตกแก่ผู้คัดค้านที่ ๑ตาม ปพพ มาตรา ๑๕๙๙ เป็นกรณีผู้คัดค้านที่ ๑ ได้รับมรดกของ ล. โดยตรง ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านที่ ๑เข้ารับมรดกแทนที่ตาม ปพพ มาตรา๑๖๓๙ เพราะไม่ใช่กรณีที่ ล.ซึ่งเป็นบุตรถึงแก่ความตายก่อนบิดา ซึ่งเป็นเจ้ามรดก แต่เป็นกรณีที่ ล เจ้ามรดกถึงแก่ความตายมรดกตกทอดแก่ทายาทแล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้แบ่งมรดกทายาทก็มาตาย เมื่อมรดกตกแก่ ล. ในฐานะทายาทโดยธรรมคือเป็นบุตร เมื่อ ล ตาย ทรัพย์สินของ ล รวมทั้งมรดกของผู้ตายที่ตกแก่ ล. ย่อมตกแก่ผู้คัดค้านที่ ๑ ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ล. ด้วย ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ผ. ผู้ตาย ชอบที่จะร้องให้จัดการมรดกของ ผ. ผู้ตายได้
๑๙... การรับมรดกแทนที่กันจะมีได้เฉพาะผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่บิดามารดาเท่านั้น ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๓๙,๑๖๔๒ เท่านั้น เมื่อ โจทก์ที่ ๑ เป็นภรรยาของ ส. ไม่ใช่ผู้สืบสันดานของ ส.เพราะไม่ใช่บุตรแต่เป็นภรรยา จึงไม่ใช่ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย เพียงแต่กฎหมายให้ได้รับส่วนแบ่ง “ เสมือนเป็นทายาทชั้นบุตร”เท่านั้น ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๓๕(๑) เมื่อไม่ใช่บุตรจึงไม่มีสิทธิ์รับมรดกแทนที่ ส.
๒๐.. นาย ส. มีบุตร ๓ คน คือ โจทก์ทั้งสาม โดย พ.โจทก์ที่ ๑ สละมรดกของ ส. เท่านั้น คือเป็นการสละมรดกตาม หมวด ๔ ใน ปพพ มาตรา ๑๖๓๐ ถึง ๑๖๑๓ การสละมรดกดังกล่าวไม่ใช่การสละมรดกในการรับมรดกแทนที่ ดังนั้นเมื่อ ไม่ได้สละสิทธิ์ในการรับมรดกของ ก. อันเป็นการรับมรดกแทนที่ ส. ดังนี้ พ.จึงมีสิทธิ์รับมรดกแทนที่ ส.ในการสืบมรดกของ ก. ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๔๕ เมื่อเป็นบุตรโดยผู้ตายมีบุตร ๓ คน ถือว่าบุตรทั้งสามคนเป็นทายาทในลำดับเดียวกันมีสิทธิ์ได้รับมรดกเป็นส่วนเท่าๆกัน ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๙(๑),๑๖๓๓ ดังนั้นโจทก์ที่ ๒ ที่ ๓ จึงมีสิทธิ์รับมรดกแทนที่ ส. ในการสืบมรดกของ ก คนละ๑ ใน ๓
๒๑.. ผู้สืบสันดานโดยตรงในการรับมรดกแทนที่ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๔๓หมายถึงผู้สืบสันดานในทาง “ สายโลหิตโดยแท้จริง” บุตรบุญธรรมกฎหมาย “ถือว่า” เป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิ์รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๗ แต่บุตรบุญธรรมหาใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ จึงไม่มีสิทธิ์รับมรดกแทนที่ผู้รับบุตรบุญธรรม ต้องห้ามตาม ปพพ มาตรา ๑๖๔๓เพราะบุตรบุญธรรมไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรง
๒๒..ผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมของ จ. ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับเจ้ามรดก จ.ถึงแก่ความตายไปก่อนเจ้ามรดก เช่นนี้ ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิ์รับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่ จ ได้ เพราะผู้ร้องไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของ จ.เพราะเป็นเพียงบุตรบุญธรรมเท่านั้น ไม่ใช่บุตรอันแท้จริง จึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกในอันที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ตาม ปพพ มาตรา ๑๗๑๓ วรรคแรก
๒๓..บุตรบุญธรรมตายก่อนผู้รับบุตรบุญธรรม บุตรของบุตรบุญธรรมย่อมมีสิทธิ์รับมรดกแทนที่กันได้ตาม ๑๖๓๙ เพราะเมื่อกฎหมาย “ ถือว่า “ บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิ์ได้รับมรดกจากผู้รับบุตรบุญธรรม เมื่อบุตรบุญธรรมถึงแก่ความตาย บุตรของบุตรบุญธรรมจึงเข้ารับมรดกแทนที่บุตรบุญธรรมได้
๒๔.. มีผู้จับมือเจ้ามรดกเขียนชื่อในขณะเจ้ามรดกมีสติสัมปัญชัญญะไม่สมบรูณ์ เท่ากับ เจ้ามรดกไม่ได้แสดงเจตนาทำพินัยกรรม เพราะไม่ใช่การกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยใจสมัครเพื่อก่อนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพื่อจะ ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน ไปซึ่งสิทธิ์ในทรัพย์สินของตน ตารม ปพพ มาตรา ๑๔๙ เอกสารที่ทำไว้จึงไม่เป็นพินัยกรรม ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย เสมือนหนึ่งว่าไม่มีการทำพินัยกรรมไว้ ดังนั้น บุตรนอกกฏหมายที่บิดาได้แสดงออกต่อผู้อื่นว่าเป็นบุตร ให้ใช้นามสกุลตลอดมา ถือเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วจึง มีสิทธิ์ได้รับมรดกแทนที่ได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๓๙

ไม่มีความคิดเห็น: