ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2560

“ไม่ส่งผลเอกซเรย์”

โจทก์ไปหาแพทย์ที่โรงพยาบาลด้วยอาการตัวร้อน แพทย์พบว่ามีอาการปอดบวมและตับโต ได้ใช้เครื่องฟังหัวใจและตรวจปอด แล้วไม่ยอมส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลอื่นตามที่โจทก์ร้องขอจนกระทั้งมีผลการตรวจเอกซเรย์ปอดพบเป็นวัณโรคแพร่กระจายไปที่ปอด ตับ เยื้อหุ้มสมอง จึงให้ยารักษาวัณโรคแล้วส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น แต่ก็ทำให้สมองโจทก์พิการและทุพพลภาคตลอดชีวิต ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่นั้น เห็นว่า โจทก์มีอาการปวดหัวเป็นไข้ แพทย์ให้ยาแล้วให้กลับบ้าน อีก ๓ วันต่อมา(วันที่๒๓ มิ.ย.๒๕๔๗) โจทก์มีอาการเป็นไข้จึงไปพบแพทย์อีก แพทย์เจาะเลือดเพื่อตรวจหาสาเหตุให้ยาแล้วให้กลับบ้าน ต่อมาอีก ๓ วัน(วันที่ ๒๖ มิ.ย.๒๕๔๗) โจทก์ไปหาแพทย์อีก แพทย์ตรวจเลือด ปัสสาวะและเอกซเรย์พบฝ้าขาวที่ปอดส่วนกลางทั้งสองข้างตับโตเล็กน้อย จึงให้ยาปฏิชีวนะไปทาน แต่อาการไม่ดีขึ้น ครั้นวันที่ ๑ กค ๒๕๔๗แพทย์เจาะน้ำไขสันหลังไปตรวจ ส่งฟิลม์เอกซเรย์ไปตรวจพบว่าเป็นวัณโรค จึงได้ส่งโจทก์ไปตรวจที่โรงพยาบาล ศ. รักษาวัณโรคจนหาย แต่ก็พิการทางสมอง นั้นเห็นว่า ผลการตรวจเลือดไม่ชี้บ่งว่าเป็นไข้เลือดออกหรือเป็นโรคชนิดใด อาการป่วยไม่รุนแรงถึงกับต้องรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลที่มีความจำเป็นต้องรับผู้ป่วยรายอื่นที่มีอาการหนักกว่าไว้รักษาเร่งด่วน เป็นการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาเบื้องต้นเพียงพอตามอาการที่แพทย์โดยทั่วไปกระทำ แม้ต่อมาจะรับเข้าไว้รักษาในโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุพร้อมเจาะเลือดไปตรวจ เอกซเรย์ปอด ผลการตรวจเลือดไม่พบเชื้อที่ชี้บ่งว่าเป็นวัณโรค แม้ผลเอกซเรย์มีฝ้าขาวที่ปอดทั้งสองข้างและตับโต แต่ขณะนั้นผู้ป่วยไม่ซึม ไม่ชัก ไข้สูง หายใจเร็ว ซึ่งยังไม่ใช่อาการชี้บ่งได้อย่างชัดเจนว่าเยื้อหุ้มสมองอักเสบ ทั้งฝ้าขาวที่ปอดและตับโตอาจเกิดจากแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้อทั่วๆไปก็ได้ อีกทั้งผู้ป่วย (นาย ม.)และผู้ปกครอง( นาง ย.)ก็ไม่เคยบอกว่า ม. ป่วยเป็นวัณโรค จึงเป็นการยากที่แพทย์จะรีบด่วนวินิจฉัยว่าป่วยเป็นวัณโรคและให้ยารักษาวัณโรคทันที การรักษาวัณโรคต้องให้ยารักษาหลายชนิดพร้อมกันเป็นเวลานานและมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายหลายประการ การที่ตรวจเลือดเอกซเรย์ปอดแล้วได้เปลี่ยนยาปฏิชีวนะที่ฆ่าเชื้อโรคได้กว้างขึ้น ให้พยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิด เป็นการรักษาโรคโดยไม่ชักช้าและเอาใจใส่ผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตามที่แพทย์ผู้มีวิชาชีพพึงกระทำ ต่อมาเมื่อมีอาการหนักขึ้น แพทย์หาสาเหตุของโรคโดยนำฟิลม์เอกซเรยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูอีกครั้งหนึ่งและเอกซเรย์สมองด้วยคอมพิวเตอร์ ตรวจปัสสาวะ เจาะน้ำไขสันหลังไปตรวจ เมื่อทราบว่ามีเชื้อวัณโรคและเยื้อหุ้มสมองอักเสบก็ให้ยารักษาวัณโรคทันทีพร้อมนำไปรักษาที่ห้องพิเศษแล้วส่งต่อไปที่โรงพยาบาล ศ. เหตุที่ไม่มีการดูดเสมหะก่อนและระหว่างนำตัวส่งโรงพยาบาล ศ. เพราะไม่ปรากฏผู้ป่วยมีเสมหะมากน้อยเท่าใด จากอาการป่วยไม่น่าเชื่อว่าเสมหะเป็นสาเหตุให้ขาดออกซิเจนจนมีผลกระทบเยื้อหุ้มสมอง แต่เยื้อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อวัณโรคกระจายไปทำลายเยื้อหุ้มสมอง ส่วนที่ผู้ป่วยมาหาแพทย์หลลายครั้งแพทย์ไม่ได้ตรวจหาเชื้อวัณโรคโดยเจาะจงและในทันที ต่อมามีการทดสอบด้วยเชื้อวัณโรคและเจาะน้ำไขสันหลังไปตรวจ อาการปอดที่เอกซเรย์พบเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ใช่เครื่องชี้วัดว่าเป็นวัณโรคเสมอไป เป็นเพียงข้อสังเกตเบื้องต้นที่แพทย์คิดว่าผู้ป่วยอาจเป็นวัณโรค แต่ตามเวทเบียนการรักษา แพทย์พยายามตรวจหาอาการและสาเหตุของโรคเป็นไปตามขั้นตอนตลอดมาไม่ชักช้า เพื่อประโยชน์สูงสุดของคนป่วยเช่นผู้มีวิชาชีพแพทย์จะกระทำ เพียงแต่การตรวจในระยะแรกไม่พบเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ป่วย หาใช่เป็นการไม่เอาใจใส่ขาดความระมัดระวังหรือประมาทเลินเล่อไม่ ไม่จำต้องพิจารณาเรื่องคดีขาดอายุความหรือไม่ ไม่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดีพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ศาลฏีกาวินิจฉัยว่า แพทย์ผู้ตรวจรักษาเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ประมาทเลินเล่อในการตรวจรักษา โดยนายแพทย์ ฐ. ไม่ได้วินิจฉัยให้ถูกต้องตามหลักวิชาแพทย์ทำให้ทราบผลว่าป่วยเป็นวัณโรคล่าช้ามิเช่นนั้นคงทราบผลแล้วตั้งแต่วันที่ ๒๖ มิ.ย.๒๕๔๗ ที่รับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาล ไม่ใช่เพิ่งทราบผลในวันที่ ๑ กค ๒๕๔๗ที่แพทย์หญิง น. แพทย์เวรเจ้าของไข้ต่อจากนายแพทย์ ฐ. ทำการรักษาวัณโรคล่าช้า แม้โจทก์หายป่วยแต่ก็พิการ พยานหลักฐานของจำเลยไม่น่ารับฟังที่อ้างว่าทางผู้ป่วยไม่แจ้งให้แพทย์ที่ทำการรักษาทราบว่า ผู้ป่วยมีอาการไอเป็นเลือด แพทย์ไม่ได้ประมาทเลินเล่อนั้น รับฟังไม่ได้ พิพากษากลับให้จำเลยต้องรับผิด โดยได้ความจากประวัติการตรวจรักษาว่าโจทก์ลุกนั่งได้ซึมเล็กน้อย มีสติรู้ตัวกินอาหารได้ ดูฟิล์มเอกซเรย์พบปอดมีฝ้าขาวๆบ่งบอกว่าอาจติดเชื้อวัณโรคหรือติดเชื้ออื่นในปอด จึงได้ให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียในปอดเพราะเข้าใจว่าติดเชื้อแบคทีเรียในปอดและได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรคแล้ว โอกาสเป็นวัณโรคจึงน้อย ได้รับยาฆ่าเชื้อมา ๔ วันอาการไม่ดีขึ้น ต่อมามีอาการชักซึ่งเป็นอาการเกี่ยวกับสมอง จึงส่งฟิล์มเอกซเรย์ที่ทำไว้ก่อนแล้วไปให้ผู้เชี่ยวชาญดูอีกครั้ง และให้เจาะน้ำเลี้ยงไขสันหลังไปตรวจพบเม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติ วิเคราะห์เม็ดเลือดขาวในไขกระดูกสันหลังผลออกมาว่าก้ำกึ่งติดเชื้อแบคทีเรียหรือวัณโรค ผลเอกซเรย์น่าเชื่อว่าเป็นวัณโรคจึงนำน้ำในกระเพาะอาหารไปตรวจหาเชื้อวัณโรค เอาน้ำยาจากโปรตีนวัณโรคฉีดเข้าผิวหนังเพื่อทราบว่ามีอาการติดเชิ้อหรือไม่พร้อมส่งไปเอกซเรย์สมอง สอบถามญาติได้ความว่า บิดาโจทก์เคยไอเป็นเลือด บิดาโจทก์เคยเอกซเรย์พบปอดเป็นฝ้าขาว ทำให้เชื่อว่าติดเชื้อวัณโรคด้วยการแพร่เชื้อจากบิดา จึงให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียและยาฆ่าเชื้อวัณโรค แล้วนำส่งไปที่โรงพยาบาล ศ. ผลการตรวจออกซิเจนขณะรับตัวของโรงพยาบาล ศ โจทก์ไม่ได้ขาดออกซิเจน การตรวจวินิจฉัยว่าโจทก์ป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่ มีหลายวิธีอย่างน้อยก็ตามที่ดำเนินการ การตัดสินใจใช้ยารักษาวัณโรค แม้มีความเสี่ยงต่ออันตรายที่อาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาที่นำมา การตรวจเลือดผู้ป่วยซ้ำ ตรวจปัสสาวะและเอ๊กซเรย์ การตรวจเลือดและปัสสาวะไม่สามารถชี้สาเหตุอาการป่วยได้ ผลเอกซเรย์ที่พบปอดส่วนกลางทั้งสองข้างเป็นฝ้าขาวไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าเป็นวัณโรคแต่อาจติดเชื้ออย่างอื่นได้ จึงให้ยาปฏิชีวนะเหมือนเดิม ให้น้ำเกลือและยาแก้อาเจียน หากภายใน ๒๔ ถึง ๔๘ ชั่วโมงอาการดีขึ้นแสดงยาได้ผล แต่หากครบ ๔๘ ชั่วโมงแล้วยังทรงอยู่จึงต้องตรวจเลือดหาสาเหตุอื่น เพราะอาจเป็นไทรอยด์ โรคฉี่หนูได้ การสั่งเพาะเชื้อพร้อมการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง ไม่พบเชื้อไทรอยด์ โรคฉี่หนูหรือแบคทีเรียในเลือด ผลเอกซเรย์พบว่ามีการติดเชื้อในปอด จึงได้นำเลือดไปตรวจหาเชื้อตัวอื่นในปอดว่าเป็นเชื้อตามที่จำเลยคาดคิดหรือไม่ พร้อมเปลี่ยนยาปฏิชีวนะตัวใหม่ให้ฆ่าเชื้อแบคทีเรียกึ่งไวรัส ซึ่งต้องรอดูผลภายในเวลา ๒ ถึง ๔๘ ชั่วโมง แต่ไม่ได้สั่งให้เจาะน้ำเลี้ยงไขสันหลังไปตรวจ เพราะโจทก์ไม่มีอาการทางระบบปราสาทที่ต้องซึม การซึมอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เพราะการเจาะน้ำเลี้ยงในไขสันหลังมีความเสี่ยงสูง หากมีก้อนเนื้อหรือแรงดันสมองในกะโหลกศรีษะสูงอาจกดก้านสมองเป็นสาเหตุให้หยุดหายใจได้ การที่จำเลยไม่นึกในลำดับต้นๆว่าเป็นวัณโรค เพราะผู้ป่วยวัณโรคจะมีอาการไข้ต่ำเรื้องรังเกิน ๒ สัปดาห์ น้ำหนักลด ร่างกายไม่แข็งแรง แต่ปรากฏว่าโจทก์แข็งแรงงและเคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค แต่อย่างไรก็ดี ผลเอกซเรย์ที่มีฝ้าขาวที่ปอดส่วนกลางทั้งสองข้างอาจเกิดจากเชื้อวัณโรคได้ ซึ่งจำเลยเองก็ได้คำนึงเรื่องนี้เช่นกัน ซึ่งหากมีข้อสงสัยแพทย์ต้องสอบประวัติผู้ป่วยว่าใกล้ชิดผู้ป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่ และทดสอบการเป็นวัณโรค การที่ไม่ได้สอบถามผู้ใกล้ชิดโจทก์ว่าเป็นวัณโรคหรือไม่ เพราะเป็นความผิดอันดับท้ายๆของจำเลย ตามหลักวิชา เมื่อตรวจโรคแล้วไม่ทราบสาเหตุ แพทย์ต้องสอบประวัติผู้ป่วย อาการผู้ป่วย ผู้ใกล้ชิดว่าป่วยเป็นโรคติดเชื้อหรือไม่ แต่ไม่ปรากฏจำเลยได้สอบถามในเรื่องดังกล่าว แม้จะคิดว่าเป็นวัณโรคเพราะยังเป็นไข้ไม่เกิน ๑๔ วัน และการสอบถามหรือการทดสอบการติดเชื้อทำเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นไข้เกิน ๑๔ วัน แต่หากสงสัยว่าเป็นวัณโรคก็สามารถสอบประวัติและการติดเชื้อได้ทันที การที่ผู้ป่วยเป็นไข้ก่อนมาโรงพยาบาล ๒ สัปดาห์แล้วมารักษาตัวที่โรงพยาบาลอีก ๓ วัน ก็ดี การที่ได้ทำการรักษาหลายอย่างแต่ก็ไม่ทราบสาเหตุของอาการป่วย สิ่งที่จำเลยไม่ได้กระทำคือ ส่งผลเอกซเรย์ให้ผู้เชี่ยวชาญดูและสอบถามผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยว่าป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่ เป็นการที่สมควรกระทำ การที่จำเลยเองก็ยังมีความคิดว่าโจทก์เป็นวัณโรค แม้จะเป็นความคิดในระดับใดก็ตาม เมื่อโจทก์ป่วยมานานพอสมควร ไม่ว่าจะเกิน ๑๔ วันหรือไม่ หรือยังไม่ถึงก็ใกล้เคียง ก็ควรซักประวัติคนใกล้ชิดโจทก์ถึงการป่วยเป็นวัณโรคด้วย เพราะยังหาสาเหตุของการป่วยไม่ได้ และจำเลยเองก็ยังสงสัยอยู่ ซึ่งก็สามารถทำได้เพราะมีข้อมูลตั้งแต่ยังเป็นเจ้าของไข้ หากได้กระทำก็จะทราบโจทก์ป่วยเป็นวัณโรคโดยไม่ต้องรอผลการตรวจน้ำไขกระดูกที่ต้องใช้เวลานานจึงทราบผล และสามารถสั่งยารักษาวัณโรคตามความจำเป็น ทำให้โจทก์ได้รับการรักษาทันเวลา เพราะขณะนั้นยังไม่มีอาการทางโรคประสาท ทั้งการที่ดูฟิลม์เอกซเรย์พบฝ้าขาวๆที่ปอด ควรคิดว่าโจทก์ป่วยเป็นวัณโรคและตรวจยืนยันให้ได้ความชัดว่าเป็นวัณโรคหรือไม่ แต่จำเลยก็ไม่ได้กระทำ การที่ไม่รักษามาแต่แรกทั้งที่พบอาการที่ปอด ทำให้โจทก์มีอาการชัก สมองได้รับการกระทบกระเทือน การที่โจทก์ต้องพิการเกิดจากการรักษาวัณโรคในสมองล่าช้า ทั้งเมื่อสอบถามบิดาโจทก์ว่าเหตุใดที่ไม่แจ้งอาการตนเองที่เอกซเรย์เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๕ พบปอดมีจุด บิดาโจทก์ก็ตอบว่าไม่คิดว่ามันจะมีผลต่อโจทก์ และจำเลยไม่ได้ถาม การที่แพทย์ผู้รักษาไม่ดำเนินการตามหลักวิชา เมื่อเอ๊กซเรยพบปอดผิดปกติควรต้องสงสัยว่าเป็นวัณโรค หรือต้องหาสาเหตุให้ทราบแน่นอนว่าเป็นโรคอะไรเกี่ยวกับปอด โดยต้องส่งฟิลม์ไปให้ผู้เชี่ยวชาญดู กรณีโจทก์อาจติดเชื้อจากคนในครอบครัว หากได้ดูฟิลมเอกซเรย์ครั้งแรกและลักษณะฟิลม์ยืนยันได้ว่าโจทก์เป็นวัณโรค เพราะมีอาการไข้เรื้อรัง ตับโต ปอดมีสีขาวเหมือนปุยฝ้ายจำเลยจะไม่สงสัยหรือว่าโจทก์ติดเชื้อแบคทีเรียอื่นซึ่งต้องหายใจเร็ว โดยโจทก์หายใจ ๒๔ถึง ๒๖ครั้งต่อนาที ซึ่งไม่ถือว่าเร็วทำให้รับฟังได้ว่านายแพทย์ ฐ ไม่ได้ทำดังกล่าวทั้งที่สามารถกระทำได้ระหว่างที่เป็นเจ้าของไข้ซึ่งขณะนั้นยังไม่เข้าขั้นอันตรายมาก จึงไม่ทราบว่าโจทก์เป็นวัณโรค เมื่อการตรวจรักษาปรากฏว่าโจทก์ป่วยเป็นวัณโรคและให้ยาวัณโรค โจทก์ต้องพิการตลอดชีวิต อาจเนื่องจากการวินิจฉัยที่ล่าช้า ทำให้เสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้องทันท่วงทีทำให้ต้องพิการไปตลอดชีวิต แสดงว่าจำเลยไม่ได้ทำการตรวจรักษาให้ถูกต้องครบถ้วนในเวลาอันสมควรตามหลักวิชาแพทย์และมาตรฐานแห่งวิชาชีพ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ซึ่งเป็นผลโดยตรงต่อความประมาทเลินเล่อของแพทย์อันเป็นการละเมิดของโจทก์ จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลละเมิดที่แพทย์ของตนกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งได้ความว่าโจทก์ไม่ทราบว่าต้องแจ้งเรื่องบิดาเป็นวัณโรคให้แพทย์ทราบ เนื่องจากไม่มีการสอบถาม จนกระทั้งแพทย์หญิง. น. สอบถาม แสดงว่าไม่ได้ปกปิด แต่ไม่รู้ว่าต้องแจ้ง ถือไม่ได้ว่าบิดามารดาโจทก์ปกปิดหรือแจ้งข้อความเท็จตามพรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๘ วรรคสอง อันจะทำให้จำเลยพ้นความรับผิด เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบถึงค่าเสียหายแต่ละประเภทที่เรียกมาตามฟ้อง จึงกำหนดให้โจทก์ตามสมควรในเรื่องค่าเสียหาย เมื่อโจทก์พิการทางสมองไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ต้องทนทุกข์ทรมานทั้งกายและจิตใจ ค่าทนทุกข์ทรมานกาย ค่าทนทุกข์ทรมานทางใจ เป็นสิทธิ์เรียกค่าเสียหายที่ไม่ใช่ตัวเงินตาม ปพพ มาตรา ๔๔๖ เมื่อโจทก์ต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาลจังหวัด ล. และมารักษาต่อที่โรงพยาบาล ศ. และต้องมารักษาตัวที่บ้านอีก ๒ เดือนและต้องพิการทางสมองไปตลอดชีวิตไม่มีโอกาสเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพเช่นเด็กอื่นและต้องรักษาตัวอย่างต่อเนื่องโดยต้องจ้างบุคคลอื่นดูแล เป็นค่าเสียหายโดยตรงที่มีสิทธิ์เรียกร้อง แม้ไม่มีใบเสร็จมาแสดง ไม่มีรายละเอียดว่าได้จ่ายเงินไปเท่าไหร่ แม้ไม่ใช่เงินที่พยานโจทก์เบิกความเหมารวมทึ้งหมดว่า สิบหกล้านบาทเศษ เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ความร้ายแรงแห่งละเมิดกำหนดค่าเสียหายเป็นเงินสองล้านบาท ได้รับดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดจุดห้าต่อปีนับแต่วันที่ทำละเมิด(๒๖มิ.ย.๒๕๔๗)จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ โจทก์เป็นผู้บริโภคได้รับค่ายกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง คืนค่ารับรองเอกสาร และค่าใช้จ่ายในการส่งคำคู่ความในชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ คำพิพากษาฏีกา๑๒๔๙๘/๒๕๕๘
ข้อสังเกต๑.ในทางแพ่ง การที่แพทย์ไม่รักษาคนไข้ตามหลักวิชาการ จนเป็นเหตุให้คนไข้มีอาการพิการทางสมองตลอดชีวิต เป็นกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายต่อร่างกาย อนามัย และอาจถึงแก่ชีวิต หากรักษาไม่ทันท่วงทีอาจถึงแก่ความตายได้ แม้โจทก์ไม่ตายแต่ก็ได้รับอันตรายสาหัสต้องทุพพลภาคและพิการไปตลอดชีวิต อันเป็นการกระทำละเมิดในทางแพ่ง ตาม ปพพ มาตรา ๔๒๐และพรบ. ความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณะสุขซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่แพทย์ในสังกัดตนกระทำการไปตามหน้าที่ โดย กระทรวงสาธารณะสุขเป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพรบ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ ในขณะที่แพทย์ผู้ทำการตรวจรักษาเป็น “ เจ้าหน้าที่” ตามความหมายในพรบ.ความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ฯ ดังนั้นเมื่อเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของตนได้กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ กระทรวงสาธารณะสุขเป็นหน่วยงานของรัฐจึงต้องรับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวตาม พรบ.ความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ฯ มาตรา ๕ โจทก์สามารถฟ้องหน่วยงานของรัฐได้โดยตรง แต่จะฟ้อง” เจ้าหน้าที่” ไม่ได้ ตาม มาตรา ๗ ของกฎหมายดังกล่าว โดยอาจยื่นคำร้องต่อ “ หน่วยงานของรัฐ”ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิด หากหน่วยงานของรัฐวินิจฉัยแล้ว ผู้เสียหายไม่พอใจสามารถร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฏีกาได้ภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผล ตามมาตรา ๕ และ ๑๑ ของกฏหมายดังกล่าว หากมีการจัดตั้งศาลปกครองแล้วให้สิทธิ์ในการร้องทุกข์ดังกล่าวเป็นสิทธิ์ที่ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ตามมาตรา ๑๔ ของกฎหมายดังกล่าว เมื่อหน่วยงานของรัฐได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการกระทำโดยละเมิดของเจ้าหน้าที่แล้ว ย่อมมีสิทธิ์เรียกให้ เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดที่จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หน่วยงานของรัฐได้ ตามมาตรา ๘
๒.ในทางอาญา กระทำดังกล่าวเป็นการกระทำโดยไม่เจตนาที่จะให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ป่วยต้องทุพลภาคไปตลอดชีวิตแต่เป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะผู้เป็นแพทย์จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และแพทย์ผู้ทำการรักษาอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ การกระทำของแพทย์เป็นประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ตาม ปอ มาตรา ...๓๐๐..
๓.การกระทำของจำเลยที่เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงคือ
๓.๑โจทก์ไปหาแพทย์ที่โรงพยาบาลด้วยอาการตัวร้อน แพทย์พบว่ามีอาการปอดบวมและตับโต ได้ใช้เครื่องฟังหัวใจและตรวจปอด แล้วไม่ยอมส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลอื่นตามที่โจทก์ร้องขอจนกระทั้งมีผลการตรวจเอกซเรย์ปอดพบเป็นวัณโรคแพร่กระจายไปที่ปอด ตับ เยื้อหุ้มสมอง จึงให้ยารักษาวัณโรคแล้วส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น แต่ก็ทำให้สมองโจทก์พิการและทุพพลภาคตลอดชีวิต หากมีการส่งไปตรวจที่โรงพยาบาลอื่นที่มีเครื่องมือดีกว่านี้ อาจสามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและสามารถรักษาโรคได้ถูกต้อง โจทก์อาจไม่ต้องพิการทางสมอง
๒. แพทย์ให้ยาแล้วให้กลับบ้าน อีก ๓ วันต่อมา(วันที่๒๓ มิ.ย.๒๕๔๗) โจทก์มีอาการเป็นไข้จึงไปพบแพทย์อีก แพทย์เจาะเลือดเพื่อตรวจหาสาเหตุให้ยาแล้วให้กลับบ้าน ต่อมาอีก ๓ วัน(วันที่ ๒๖ มิ.ย.๒๕๔๗) โจทก์ไปหาแพทย์อีก แพทย์ตรวจเลือด ปัสสาวะและเอกซเรย์พบฝ้าขาวที่ปอดส่วนกลางทั้งสองข้างตับโตเล็กน้อย จึงให้ยาปฏิชีวนะไปทาน แต่อาการไม่ดีขึ้น ครั้นวันที่ ๑ กค ๒๕๔๗แพทย์เจาะน้ำไขสันหลังไปตรวจ ส่งฟิลม์เอกซเรย์ไปตรวจพบว่าเป็นวัณโรค จึงได้ส่งโจทก์ไปตรวจที่โรงพยาบาล ศ. รักษาวัณโรคจนหาย แต่ก็พิการทางสมอง เห็นได้ว่าการรักษาตัวทั้งสองครั้งโดยให้ยาแก่โจทก์อาการไม่ดีขึ้น ส่อให้เห็นว่าวินิจฉัยโรคไม่ถูกต้อง ให้ยาไม่ถูกต้องโรคจึงไม่หาย เมื่อให้ยาแล้วไม่หายต้องหาสาเหตุของโรคใหม่ แต่ไม่กระทำถือเป็นความบกพร่อง
๓.แม้ผลการตรวจเลือดไม่ชี้บ่งว่าเป็นไข้เลือดออกหรือเป็นโรคชนิดใด อาการป่วยไม่รุนแรงถึงกับต้องรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลที่มีความจำเป็นต้องรับผู้ป่วยรายอื่นที่มีอาการหนักกว่าไว้รักษาเร่งด่วนก็ตาม การรักษาดังกล่าวเป็นการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาเบื้องต้นเพียงพอตามอาการที่แพทย์โดยทั่วไปกระทำ แต่ต่อมาการที่จำเลยรับเข้าไว้รักษาในโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุพร้อมเจาะเลือดไปตรวจ เอกซเรย์ปอด แสดงให้เห็นว่าจำเลยเริ่มรู้แล้วว่าตนรักษาโรคไม่ถูกต้อง วินิจฉัยโรคไม่ถูกต้องในตอนแรกจึงไม่สามารถรักษาให้หายได้จึงจำเป็นต้องรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อหาสาเหตุของโรค และหากอาการไม่รุนแรงทางจำเลยคงไม่รับเข้ามานอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจำเป็นต้องรับผู้ป่วยรายอื่นที่มีอาการหนักกว่าไว้รักษาเร่งด่วน แสดงว่าอาการของโจทก์มีอาการหนักและเร่งด่วนไม่งั้นอาจถึงแก่ชีวิตได้จำเลยจึงได้รับตัวไว้รักษา แทนที่จะรับตัวไว้เสียแต่แรก เพราะการวินิจฉัยโรคไม่ถูกต้องจึงทำให้โจทก์เสียโอกาสที่จะได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลแทนการรับยาไปทานที่บ้าน
๔.แม้ผลการตรวจเลือดไม่พบเชื้อที่ชี้บ่งว่าเป็นวัณโรค แต่ผลเอกซเรย์มีฝ้าขาวที่ปอดทั้งสองข้างและตับโต แม้ในขณะนั้นผู้ป่วยไม่ซึม ไม่ชัก ไข้สูง หายใจเร็ว ซึ่งยังไม่ใช่อาการชี้บ่งได้อย่างชัดเจนว่าเยื้อหุ้มสมองอักเสบ แต่การที่มีฝ้าขาวที่ปอดและตับโตอาจเกิดจากแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้อทั่วๆไปก็ได้หรืออาจเกิดจากการเป็นวัณโรคก็ได้ แม้อาการดังกล่าวจะเกิดได้จากหลายโรคก็ตาม แต่ทางจำเลยก็ยังไม่ได้ส่งผลการตรวจเอกเรย์ไปให้ผู้ชำนาญดูเพื่อยืนยันว่าเป็นโรคอะไร ทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องว่าป่วยเป็นโรคอะไร หากได้ส่งเอกซเรย์ไปให้ผู้เชี่ยวชาญดูก็อาจทราบว่าเป็นโรคใดจะได้รักษาตัวได้ถูกต้อง
๕. การที่นาง ย. ผู้ปกครองโจทก์(นาย ม.)ไม่เคยบอกว่า ม. ป่วยเป็นวัณโรค ก็ไม่ใช่เป็นการยากที่แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคหรือไม่อย่างไร จะอ้างว่าฝ่ายโจทก์ไม่บอกอย่างเดียวไม่ได้ ฝ่ายโจทก์เองอาจไม่ทราบว่าต้องบอกเพราะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรค เมื่อโจทก์ไม่บอก ทำไมจำเลยไม่ถาม หากจำเลยถามสักนิดก็อาจวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องพร้อมนำฟิล์มเอกซเรย์ไปให้ผู้ชำนาญดูเพื่อยืนยันผลว่าเป็นวัณโรคหรือไม่? ข้ออ้างว่า
-ไม่ใช่กรณีเร่งด่วนที่ต้องรีบด่วนวินิจฉัยว่าป่วยเป็นวัณโรคและให้ยารักษาวัณโรคทันที
-การรักษาวัณโรคต้องให้ยารักษาหลายชนิดพร้อมกันเป็นเวลานานและมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายหลายประการ
-การที่ตรวจเลือดเอกซเรย์ปอดแล้วได้เปลี่ยนยาปฏิชีวนะที่ฆ่าเชื้อโรคได้กว้างขึ้น ให้พยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิด เป็นการรักษาโรคโดยไม่ชักช้าและเอาใจใส่ผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตามที่แพทย์ผู้มีวิชาชีพพึงกระทำ
ดังนี้ไม่สามารถอ้างได้ เพราะ ต่อมาเมื่อผู้ป่วยมีอาการหนักขึ้น แพทย์หาสาเหตุของโรคไม่ได้จนต้องนำฟิลม์เอกซเรย์ให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูอีกครั้งหนึ่งและเอกซเรย์สมองด้วยคอมพิวเตอร์ ตรวจปัสสาวะ เจาะน้ำไขสันหลังไปตรวจ เมื่อทราบว่ามีเชื้อวัณโรคและเยื้อหุ้มสมองอักเสบก็ให้ยารักษาวัณโรคทันทีพร้อมนำไปรักษาที่ห้องพิเศษแล้วส่งต่อไปที่โรงพยาบาล ศ.นั้นเห็นว่า ไม่มีเหตุผลใดที่ไม่ส่งฟิลม์เอกซเรย์ให้ผู้เชี่ยวชาญดู การที่รักษาแล้วไม่หายยิ่งต้องหาสาเหตุที่แท้จริง การที่ปล่อยให้เวลาเนินนานออกไปจนผู้ป่วยมีอาการหนักขึ้นจึงนำฟิล์มเอกซเรย์ไปให้ผู้ชำนาญดู ถือเป็นความบกพร่องเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงสำหรับผู้มีวิชาชีพแพทย์ที่ต้องดูแลอาการคนป่วยต้องกระทำ หากพลาดเพียงนิดเดียวผู้ป่วยอาจถึงแก่ความตายได้ จะอ้างว่าเข้าข้อยกเว้นตามพรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๘ วรรคสอง อันจะทำให้จำเลยพ้นความรับผิดไม่ได้ โจทก์ไม่รู้ว่าต้องบอก ไม่ใช่รู้ว่าต้องบอกแล้วไม่บอกแต่ปกปิดข้อความจริง เมื่อไม่รู้ต้องบอกแล้วจะให้บอกได้ไง ทำไมแพทย์ไม่ถามทั้งที่อาการดังกล่าวก็เป็นอาการของวัณโรคด้วย
๖.ข้ออ้างที่ว่า เหตุที่ไม่มีการดูดเสมหะก่อนและระหว่างนำตัวส่งโรงพยาบาล ศ. เพราะ
-ไม่ปรากฏผู้ป่วยมีเสมหะมากน้อยเท่าใด
-จากอาการป่วยไม่น่าเชื่อว่าเสมหะเป็นสาเหตุให้ขาดออกซิเจนจนมีผลกระทบเยื้อหุ้มสมอง
-แต่เยื้อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อวัณโรคกระจายไปทำลายเยื้อหุ้มสมอง
นั้นเห็นว่า จะนำมาอ้างไม่ได้ โจทก์มาหาแพทย์หลายครั้งแพทย์ไม่ได้ตรวจหาเชื้อวัณโรคโดยเจาะจงและในทันที ต่อมามีการทดสอบด้วยเชื้อวัณโรคและเจาะน้ำไขสันหลังไปตรวจ แม้อาการปอดที่เอกซเรย์พบเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ใช่เครื่องชี้วัดว่าเป็นวัณโรคเสมอไป เป็นเพียงข้อสังเกตเบื้องต้นที่แพทย์คิดว่าผู้ป่วยอาจเป็นวัณโรค การที่ศาลชั้น้ต้นวินิจแยว่าตามเวทเบียนการรักษา แพทย์พยายามตรวจหาอาการและสาเหตุของโรคเป็นไปตามขั้นตอนตลอดมาไม่ชักช้า เพื่อประโยชน์สูงสุดของคนป่วยเช่นผู้มีวิชาชีพแพทย์จะกระทำ เพียงแต่การตรวจในระยะแรกไม่พบเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ป่วย หาใช่เป็นการไม่เอาใจใส่ขาดความระมัดระวังหรือประมาทเลินเล่อไม่ ตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยนั้นเห็นว่า แม้ไม่ได้มาตรวจด้วยอาการเป็นวัณโรค แต่เมื่อให้ยาและทำการรักษาแล้วไม่หายต้องหาสาเหตุของโรคใหม่ อาการโจทก์อาจเป็นวัณโรคหรือไม่ใช่ก็ได้ แต่เมื่อไม่แน่ใจว่าจะใช่หรือไม่ใช่ การส่งฟิลม์เอกซเรย์ไปตรวจเพื่อหาสาเหตุย่อมเป็นหนทางที่ดีที่สุด การไม่เอาฟิลม์เอกซเรย์ไปตรวจจนผู้ป่วยมีอาการทรุดหนักแล้วจึงเอาฟิลม์เอกซเรย์ไปตรวจเป็นการส่อถึงความประมาทเลินเล่อของผู้มีวิชาชีพพึงกระทำ
๗.ที่ศาลชั้นต้นไม่จำต้องพิจารณาเรื่องคดีขาดอายุความหรือไม่ ไม่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดีเพราะเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องโดย ศาลชั้นต้นเห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่เป็นการประมาทเลินเล่ออันจะเป็นความรับผิดทางแพ่งเรื่องละเมิดจึงไม่จำต้องเป็นต้องพิจารณาว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ เพราะอย่างไงศาลชั้นต้นก็ยกฟ้องอยู่ดี
๘.สิทธิ์เรียกร้องคิ่สินไหมทดแทนจาก “ เจ้าหน้าที่ “มีอายุความ ๒ ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีที่ “ หน่วยงานของรัฐ” เห็นว่า “ เจ้าหน้าที่” ไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าต้องรับผิด สิทธิ์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนมีอายุความ ๑ ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง เป็นไปตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง ของความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ฯ หาใช่ใช้อายุความ ๑ ปี ตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘ ที่มีอายุความ ๑ ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘ ดังนั้นอายุความตามความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ อาจยาวกว่าอายุความตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘
๙.การที่ แพทย์ผู้ตรวจรักษาเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ ถือเป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านนี้โดยตรงเมื่อไม่ได้วินิจฉัยให้ถูกต้องตามหลักวิชาแพทย์ทำให้ทราบผลว่าป่วยเป็นวัณโรคล่าช้า หากกระทำการส่งฟิลม์เอ็กซเรย์ไปตรวจแต่เนินๆคงทราบผลแล้วตั้งแต่วันที่ ๒๖ มิ.ย.๒๕๔๗ ที่รับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลว่าผู้ป่วยป่วยเป็นวัณโรค ไม่ใช่เพิ่งทราบผลในวันที่ ๑ กค ๒๕๔๗ตามที่แพทย์หญิง น. แพทย์เวรเจ้าของไข้ต่อจากนายแพทย์ ฐ.ทำการสอบถาม หากไม่มีการสอบถามโดยแพทย์หญิง น. ก็อาจไม่มีการส่งฟิลม์ไปตรวจและไม่สามารถวินิจแยโรคได้ถูกต้องทันท่วงที โจทก์อาจถึงแก่ความตายได้ แม้ในคดีนี้โจทก์หายป่วยแต่ก็พิการ จึงเป็นกากรกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
๑๐. พยานหลักฐานของจำเลยที่อ้างว่าทางผู้ป่วยไม่แจ้งให้แพทย์ที่ทำการรักษาทราบว่า ผู้ป่วยมีอาการไอเป็นเลือด แพทย์ไม่ได้ประมาทเลินเล่อนั้น รับฟังไม่ได้ โดยได้ความจากประวัติการตรวจรักษาว่าโจทก์ลุกนั่งได้ซึมเล็กน้อย มีสติรู้ตัวกินอาหารได้ ดูฟิล์มเอกซเรย์พบปอดมีฝ้าขาวๆบ่งบอกว่าอาจติดเชื้อวัณโรคหรือติดเชื้ออื่นในปอด จึงได้ให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียในปอดเพราะเข้าใจว่าติดเชื้อแบคทีเรียในปอดและได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรคแล้ว โอกาสเป็นวัณโรคจึงน้อย ได้รับยาฆ่าเชื้อมา ๔ วันอาการไม่ดีขึ้น ต่อมามีอาการชักซึ่งเป็นอาการเกี่ยวกับสมอง จึงส่งฟิล์มเอกซเรย์ที่ทำไว้ก่อนแล้วไปให้ผู้เชี่ยวชาญดูอีกครั้ง และให้เจาะน้ำเลี้ยงไขสันหลังไปตรวจพบเม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติ วิเคราะห์เม็ดเลือดขาวในไขกระดูกสันหลังผลออกมาว่าก้ำกึ่งติดเชื้อแบคทีเรียหรือวัณโรค ผลเอกซเรย์น่าเชื่อว่าเป็นวัณโรคจึงนำน้ำในกระเพาะอาหารไปตรวจหาเชื้อวัณโรค เอาน้ำยาจากโปรตีนวัณโรคฉีดเข้าผิวหนังเพื่อทราบว่ามีอาการติดเชื้อหรือไม่พร้อมส่งไปเอกซเรย์สมอง ทั้งได้ความว่า บิดาโจทก์เคยไอเป็นเลือด บิดาโจทก์เคยเอกซเรย์พบปอดเป็นฝ้าขาว ทำให้เชื่อว่าติดเชื้อวัณโรคด้วยการแพร่เชื้อจากบิดา จึงให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียและยาฆ่าเชื้อวัณโรค แล้วนำส่งไปที่โรงพยาบาล ศ. ผลการตรวจออกซิเจนขณะรับตัวของโรงพยาบาล ศ โจทก์ไม่ได้ขาดออกซิเจน การตรวจวินิจฉัยว่าโจทก์ป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่ มีหลายวิธีอย่างน้อยก็ตามที่ดำเนินการ การตัดสินใจใช้ยารักษาวัณโรค แม้มีความเสี่ยงต่ออันตรายที่อาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาที่นำมา การตรวจเลือดผู้ป่วยซ้ำ ตรวจปัสสาวะและเอ็กซเรย์ ก็ตาม แต่
๑๑.เมื่อ การตรวจเลือดและปัสสาวะไม่สามารถชี้สาเหตุอาการป่วยได้ ผลเอกซเรย์ที่พบปอดส่วนกลางทั้งสองข้างเป็นฝ้าขาวไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าเป็นวัณโรคแต่อาจติดเชื้ออย่างอื่นได้ จึงให้ยาปฏิชีวนะเหมือนเดิม ให้น้ำเกลือและยาแก้อาเจียน หากภายใน ๒๔ ถึง ๔๘ ชั่วโมงอาการดีขึ้นแสดงยาได้ผล แต่หากครบ ๔๘ ชั่วโมงแล้วยังทรงอยู่จึงต้องตรวจเลือดหาสาเหตุอื่น เพราะอาจเป็นไทรอยด์ โรคฉี่หนูได้ การสั่งเพาะเชื้อพร้อมการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง ไม่พบเชื้อไทรอยด์ โรคฉี่หนูหรือแบคทีเรียในเลือด ผลเอกซเรย์พบว่ามีการติดเชื้อในปอด จึงได้นำเลือดไปตรวจหาเชื้อตัวอื่นในปอดว่าเป็นเชื้อตามที่จำเลยคาดคิดหรือไม่ พร้อมเปลี่ยนยาปฏิชีวนะตัวใหม่ให้ฆ่าเชื้อแบคทีเรียกึ่งไวรัส ซึ่งต้องรอดูผลภายในเวลา ๒ ถึง ๔๘ ชั่วโมง แต่ไม่ได้สั่งให้เจาะน้ำเลี้ยงไขสันหลังไปตรวจ เพราะโจทก์ไม่มีอาการทางระบบปราสาทที่ต้องซึม การซึมอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เพราะการเจาะน้ำเลี้ยงในไขสันหลังมีความเสี่ยงสูง หากมีก้อนเนื้อหรือแรงดันสมองในกะโหลกศรีษะสูงอาจกดก้านสมองเป็นสาเหตุให้หยุดหายใจได้ ข้ออ้างว่าอาจเกิดอันตรายแก่คนไข้ เป็นเพียงการ “สันนิษฐาน” ว่าหากกระทำแล้วอาจเป็นอันตรายแก่ผู้ป่วย แต่หากไม่กระทำแล้วผู้ป่วยอาจได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แต่การสันนิษฐานดังกล่าวผิดพลาดจนไม่สามารถแก้ไขได้ การส่งฟิล์มเอกเรย์ไปให้ผู้ชำนาญการตรวจก็เนิ่นช้าไปจนอาการโจทก์กำเริบ
๑๒. การที่จำเลยไม่นึกในลำดับต้นๆว่าเป็นวัณโรค เพราะผู้ป่วยวัณโรคจะมีอาการไข้ต่ำเรื้องรังเกิน ๒ สัปดาห์ น้ำหนักลด ร่างกายไม่แข็งแรง แต่ปรากฏว่าโจทก์แข็งแรงและเคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค ก็ตาม แต่ การเคยฉีดวรรคซีนมาก่อนก็ไม่ให้ผลยืนยัน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ว่าจะไม่ย้อนกลับมาเป็นอีก
๑๓.ส่วน ผลเอกซเรย์ที่มีฝ้าขาวที่ปอดส่วนกลางทั้งสองข้างอาจเกิดจากเชื้อวัณโรคได้ ซึ่งจำเลยเองก็ได้คำนึงเรื่องนี้เช่นกัน ซึ่งหากมีข้อสงสัยแพทย์ต้องสอบประวัติผู้ป่วยว่าใกล้ชิดผู้ป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่ และทดสอบการเป็นวัณโรค การที่ไม่ได้สอบถามผู้ใกล้ชิดโจทก์ว่าเป็นวัณโรคหรือไม่ เพราะเป็นความคิดอันดับท้ายๆของจำเลยที่จะรับฟังว่าเป็นวัณโรคเป็นความคิดที่ไม่เผื่อไว้ก่อนว่าความคิดนี้อาจผิดพลาด หากจำเลยเฉลียวใจสักนิดว่าโจทก์อาจป่วยเป็นวัณโรคก็คงนำผลเอกซเรย์ให้แพทย์ผู้ชำนาญตรวจ แต่แรก แต่จำเลยก็หาได้กระทำการดังกล่าวไม่ จึง เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของแพทย์
๑๔. ตามหลักวิชา เมื่อตรวจโรคแล้วไม่ทราบสาเหตุ แพทย์ต้องสอบประวัติผู้ป่วย อาการผู้ป่วย ผู้ใกล้ชิดว่าป่วยเป็นโรคติดเชื้อหรือไม่ แต่ไม่ปรากฏจำเลยได้สอบถามในเรื่องดังกล่าว แม้จะคิดว่าเป็นวัณโรคเพราะยังเป็นไข้ไม่เกิน ๑๔ วัน และการสอบถามหรือการทดสอบการติดเชื้อทำเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นไข้เกิน ๑๔ วัน แต่หากสงสัยว่าเป็นวัณโรคก็สามารถสอบประวัติและการติดเชื้อได้ทันที การที่ผู้ป่วยเป็นไข้ก่อนมาโรงพยาบาล ๒ สัปดาห์แล้วมารักษาตัวที่โรงพยาบาลอีก ๓ วัน ก็ดี การที่ได้ทำการรักษาหลายอย่างแต่ก็ไม่ทราบสาเหตุของอาการป่วยก็ดี สิ่งที่จำเลยไม่ได้กระทำคือ ส่งผลเอกซเรย์ให้ผู้เชี่ยวชาญดูและสอบถามผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยว่าป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่ เป็นการที่สมควรกระทำ การที่จำเลยเองก็ยังมีความคิดว่าโจทก์เป็นวัณโรค แม้จะเป็นความคิดในระดับใดก็ตาม เมื่อโจทก์ป่วยมานานพอสมควร ไม่ว่าจะเกิน ๑๔ วันหรือไม่ หรือยังไม่ถึงก็ใกล้เคียง ก็ควรซักประวัติคนใกล้ชิดโจทก์ถึงการป่วยเป็นวัณโรคด้วย เพราะยังหาสาเหตุของการป่วยไม่ได้ และจำเลยเองก็ยังสงสัยอยู่ ซึ่งก็สามารถทำได้เพราะมีข้อมูลตั้งแต่ยังเป็นเจ้าของไข้ หากได้กระทำก็จะทราบโจทก์ป่วยเป็นวัณโรคโดยไม่ต้องรอผลการตรวจน้ำไขกระดูกที่ต้องใช้เวลานานจึงทราบผล และสามารถสั่งยารักษาวัณโรคตามความจำเป็น ทำให้โจทก์ได้รับการรักษาทันเวลา เพราะขณะนั้นยังไม่มีอาการทางโรคประสาท ทั้งการที่ดูฟิลม์เอกซเรย์พบฝ้าขาวๆที่ปอด ควรคิดว่าโจทก์ป่วยเป็นวัณโรคและตรวจยืนยันให้ได้ความชัดว่าเป็นวัณโรคหรือไม่ แต่จำเลยก็ไม่ได้กระทำ การที่ไม่รักษามาแต่แรกทั้งที่พบอาการที่ปอด ทำให้โจทก์มีอาการชัก สมองได้รับการกระทบกระเทือน การที่โจทก์ต้องพิการเกิดจากการรักษาวัณโรคในสมองล่าช้า ทั้งเมื่อสอบถามบิดาโจทก์ว่าเหตุใดที่ไม่แจ้งอาการตนเองที่เอกซเรย์เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๕ พบปอดมีจุด บิดาโจทก์ก็ตอบว่าไม่คิดว่ามันจะมีผลต่อโจทก์ และจำเลยไม่ได้ถาม การที่แพทย์ผู้รักษาไม่ดำเนินการตามหลักวิชา เมื่อเอ็กซเรย์พบปอดผิดปกติควรต้องสงสัยว่าเป็นวัณโรค หรือต้องหาสาเหตุให้ทราบแน่นอนว่าเป็นโรคอะไรเกี่ยวกับปอด โดยต้องส่งฟิล์มไปให้ผู้เชี่ยวชาญดู กรณีโจทก์อาจติดเชื้อจากคนในครอบครัว หากได้ดูฟิล์มเอกซเรย์ครั้งแรกและลักษณะฟิล์มยืนยันได้ว่าโจทก์เป็นวัณโรค เพราะมีอาการไข้เรื้อรัง ตับโต ปอดมีสีขาวเหมือนปุยฝ้ายจำเลยจะไม่สงสัยหรือว่าโจทก์ติดเชื้อแบคทีเรียอื่นซึ่งต้องหายใจเร็ว โดยโจทก์หายใจ ๒๔ถึง ๒๖ครั้งต่อนาที ซึ่งไม่ถือว่าเร็วทำให้รับฟังได้ว่านายแพทย์ ฐ ไม่ได้ทำดังกล่าวทั้งที่สามารถกระทำได้ระหว่างที่เป็นเจ้าของไข้ซึ่งขณะนั้นยังไม่เข้าขั้นอันตรายมาก จึงไม่ทราบว่าโจทก์เป็นวัณโรค
๑๕.เมื่อการตรวจรักษาปรากฏว่าโจทก์ป่วยเป็นวัณโรคและให้ยาวัณโรค โจทก์ต้องพิการตลอดชีวิต อาจเนื่องจากการวินิจฉัยที่ล่าช้า ทำให้เสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้องทันท่วงทีทำให้ต้องพิการไปตลอดชีวิต แสดงว่าจำเลยไม่ได้ทำการตรวจรักษาให้ถูกต้องครบถ้วนในเวลาอันสมควรตามหลักวิชาแพทย์และมาตรฐานแห่งวิชาชีพ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ซึ่งเป็นผลโดยตรงต่อความประมาทเลินเล่อของแพทย์อันเป็นการละเมิดของโจทก์ จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลละเมิดที่แพทย์ของตนกระทำในการปฏิบัติหน้าที่
๑๖.แม้ทางโจทก์ซึ่งเป็น “ ผู้รับบริการ” ตาม พรบ.สุขภาพแห่งชาติ ฯ มีหน้าที่ต้องแจ้งข้อเท็จจริงที่ตนรู้หรือควรบอกให้แจ้งแก่แพทย์ ซึ่งเป็นผู้ “ ให้บริการ” ก็ตาม เมื่อได้ความว่าโจทก์ไม่ทราบว่าต้องแจ้งเรื่องบิดาเป็นวัณโรคให้แพทย์ทราบ เนื่องจากไม่มีการสอบถาม จนกระทั้งแพทย์หญิง. น. สอบถาม แสดงว่าไม่ได้ปกปิด แต่ไม่รู้ว่าต้องแจ้ง ถือไม่ได้ว่าบิดามารดาโจทก์ปกปิดในข้อเท็จจริงที่ตนรู้และควรบอกให้แจ้งหรือแจ้งข้อความเท็จในข้อเท็จจริงที่ตนรู้และควรบอกให้แจ้งตามพรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๘ วรรคสอง อันจะทำให้จำเลยพ้นความรับผิด หาได้ไม่
๑๗.เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบถึงค่าเสียหายแต่ละประเภทที่เรียกมาตามฟ้อง จึงกำหนดให้โจทก์ตามสมควรในเรื่องค่าเสียหาย เมื่อโจทก์พิการทางสมองไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ต้องทนทุกข์ทรมานทั้งกายและจิตใจ ค่าทนทุกข์ทรมานกาย ค่าทนทุกข์ทรมานทางใจ เป็นสิทธิ์เรียกค่าเสียหายที่ไม่ใช่ตัวเงินตาม ปพพ มาตรา ๔๔๖ ที่โจทก์สามารถเรียกร้องได้ตามบทกฏหมายดังกล่าว
๑๘. เมื่อโจทก์ต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาลจังหวัด ล. และมารักษาต่อที่โรงพยาบาล ศ. และต้องมารักษาตัวที่บ้านอีก ๒ เดือนและต้องพิการทางสมองไปตลอดชีวิตไม่มีโอกาสเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพเช่นเด็กอื่นและต้องรักษาตัวอย่างต่อเนื่องโดยต้องจ้างบุคคลอื่นดูแล เป็นค่าเสียหายโดยตรงที่มีสิทธิ์เรียกร้อง แม้ไม่มีใบเสร็จมาแสดง ไม่มีรายละเอียดว่าได้จ่ายเงินไปเท่าไหร่ แม้ไม่ใช่เงินที่พยานโจทก์เบิกความเหมารวมทึ้งหมดว่า สิบหกล้านบาทเศษ เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ความร้ายแรงแห่งละเมิดกำหนดค่าเสียหายเป็นเงินสองล้านบาท เมื่อการกระทำดังกล่าวของแพทย์เป็นการละเมิดถือผิดนัดนับแต่วันทำละเมิด ปพพ มาตรา๒๐๖ เมื่อหนี้ค่ารักษาพยาบาลเป็นหนี้เงิน อันจะต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างที่ผิดนัด ตาม ปพพ มาตรา ๒๒๔ โจทก์จึงสามารถเรียกดอกเบี้ยได้ร้อยละเจ็ดจุดห้าต่อปีนับแต่วันที่ทำละเมิด(๒๖มิ.ย.๒๕๔๗)จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
๑๙.คดีนี้เป็นคดีคุ้มครองผู้บริโภค โจทก์ซึ่งเป็นผู้บริโภคได้รับค่ายกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง ตามมาตรา ๓๙ พรบ.คุ้มครองผู้บริโภคฯคืนค่ารับรองเอกสาร และค่าใช้จ่ายในการส่งคำคู่ความในชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์

ไม่มีความคิดเห็น: