ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

“ทำงานหนัก ทานข้าวสองมื้อ ไม่จ่ายเงินเดือน”

ผู้เสียหายเป็นคนเชื้อชาติสัญชาติพม่า อายุไม่เกิน ๑๕ ปี ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลย โดยต้องทำงานบ้านซักรีดเสื้อที่จำเลยประกอบธุรกิจเป็นร้านซักรีด ใช้มีดและไม้หน้าสาม พร้อมมือและเท้าฟันฟาด ทุบ ตี ชกต่อย เตะ ถีบ ที่ศีรษะใบหน้า ลำตัว หลัง แขน ขา ผู้เสียหายหลายครั้งเป็นเหตุให้กระดูกแตก ซ้ำบวมที่ศีรษะส่วนบน ศีรษะด้านขวาใต้ตาทั้งสอง เอว หลัง มีแผลฉีกขาดและถลอกที่แขน ท้ายทอย ริมฝีปากได้รับอันตรายสาหัส นางสาว ส. และเจ้าหน้าที่ตำรวจพาตัวผู้เสียหายออกจากบ้านจำเลยที่พิษณุโลก ได้ความว่าจำเลยจ้างผู้เสียหายซักรีดและดูแลแมว ค่าจ้างเดือนละ ๓,๐๐๐ บาท ทำงาน ๐๔.๐๐นาฬิกาถึง ๒๔.๐๐ นาฬิกา โดยไม่สามารถออกไปไหนหรือติดต่อใครได้ ทั้งไม่ยอมจ่ายค่าจ้าง เมื่อทำงานได้ ๘ เดือนก็ถูกจำเลยทำร้ายร่างกาย การกระทำของจำเลยเป็น “ การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบหรือไม่” นั้น เห็นว่า พรบ.ค่ามนุษย์ฯ มาตรา ๔ ให้นิยามศัพท์คำว่า “ แสวงหาประโยชน์โดยไม่ชอบ” นั้น หมายความว่า บังคับใช้แรงงานหรือบริการ ซึ่งหมายความว่า ข่มขืนใจให้ทำงานหรือให้บริการโดยกลัวจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สินของผู้นั้นหรือผู้อื่น โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยทำให้บุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ดังนั้นการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์โดยบังคับใช้แรงงานหรือบริการ ต้องประกอบด้วยการเป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจาก หรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนียว กักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งเด็ก เพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิชอบโดยข่มขืนใจให้ทำงานหรือให้บริการโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้นั้นหรือผู้อื่น โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยทำให้บุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ แม้ฟังได้ว่าจำเลยให้ผู้เสียหายอยู่อาศัย และไม่ยอมให้ออกจากบ้านไปไหนก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏว่า จำเลยได้กระทำการใดอันเป็นการข่มขืนใจให้ผู้เสียหายทำงานโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ซื่อเสียง ทรัพย์สินของผู้เสียหาย โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือทำให้ผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ คงได้ความเพียงให้ทำงานตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐ นาฬิกาถึง ๒๔.๐๐ นาฬิกา ให้ทานอาหาร ๒ มื้อ ไม่จ่ายเงินเดือนให้เท่านั้น แม้ในเดือนสุดท้ายจะปรากฏว่ามีการทำร้ายผู้เสียหายก็ตาม แต่ก็เกิดจากกากรทำงานไม่สะอาดและผู้เสียหายพูดขอเงิน ทำงานไม่เรียบร้อย จึงฟังได้ว่า การทำร้ายเกิดจากการทำงานไม่เรียบร้อย พูดขอเงิน ทำงานบ้านไม่สะอาด อันเป็นการลงโทษเท่านั้น ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานค้ามนุษย์ คงมีความผิดเพียงทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส จ้างเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีเป็นลูกจ้าง คำพิพากษาฏีกา ๑๓๖๔๘/๒๕๔๘
ข้อสังเกต ๑. เด็กตามความหมายในพรบ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ฯ มาตรา ๔ คือ บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ส่วนในพรบ.คุ้มครองเด็กนั้น เด็กหมายถึงบุคคลอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี แต่ไม่รวมบุคคลที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
๒.เพื่อประโยชน์โดยมิชอบกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้
๒.๑ เป็นธุระ ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งบุคคลใด โดยข่มขู่ ใช้กำลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง ใช้อำนาจโดยไม่ชอบ ให้เงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลบุคคลนั้น เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลให้ความยินยอมแก่ผู้กระทำผิดในการแสวงห่าประโยชน์จากบุคคลที่ตนดูแล
๒.๒ เป็นธุระจัดหา ซื้อขาย จำหน่าย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัยหรือรับไว้ซึ่งเด็ก
บุคคลนั้นกระทำผิดฐานค้ามนุษย์ ตามพรบ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ฯ มาตรา ๖
๓..การที่จำเลย ใช้มีดและไม้หน้าสาม พร้อมมือและเท้าฟันฟาด ทุบ ตี ชกต่อย เตะ ถีบ ที่ศีรษะใบหน้า ลำตัว หลัง แขน ขา ผู้เสียหายหลายครั้งเป็นเหตุให้กระดูกแตก ซ้ำบวมที่ศีรษะส่วนบน ศีรษะด้านขวาใต้ตาทั้งสอง เอว หลัง มีแผลฉีกขาดและถลอกที่แขน ท้ายทอย ริมฝีปากได้รับอันตรายสาหัส ต้องทุพพลภาคหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า ๒๐ วัน เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ตาม ปอ มาตรา ๒๙๗
๔. การทำร้ายร่างกายเด็กเป็นการกระทำการทารุณต่อร่างกายหรือจิตใจเด็ก ไม่ว่าเด็กยินยอมหรือไม่ก็ตาม เป็นความผิดตาม พรบ.คุ้มครองเด็กฯ มาตรา ๒๖(๑),๗๘ซึ่งระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๓ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทต้องลงตามบทหนักฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตาม ปอ มาตรา ๒๙๗
๕. การที่จำเลยจ้างผู้เสียหายที่มีอายุไม่เกิน ๑๕ ปีบริบรูณ์เข้าทำงาน โดยไม่ใช้กรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุตั้งแต่สิบสามปีบริบรูณ์แต่ยังไม่ถึง ๑๕ ปีบริบรูณ์ที่นายจ้างรับเข้าทำงานตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่๑๐๓ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๑๕ซึ่งได้กระทำก่อนที่พรบ.คุ้มครองแรงงานฉบับนี้ใช้บังคับ(พ.ศ.๒๕๔๑) เป็นความผิดฐานจ้างเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีเป็นลูกจ้าง ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา ๔๔,๑๔๘
๖.การให้เด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ปี ทำงานตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐ นาฬิกาถึง ๒๔.๐๐ นาฬิกา เป็นการจ้างเด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปีทำงานในช่วงเวลา ๒๒.๐๐นาฬิกา ถึง ๐๖.๐๐ นาฬิกา เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมสวัสดิ์การและคุ้มครองแรงงาน ย่อมเป็นความผิดตามกฎหมาย(มาตรา ๔๗,๑๔๔พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน) และการจ้างลุกจ้างอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี เป็นลูกจ้างต้องแจ้งเจ้าพนักงานตรวจแรงงานภายใน ๑๕ วันนับแต่วันรับเด็กเข้าทำงานและการแจ้งสิ้นสุดจ้างนั้นต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน ๗ วันนับแต่วันที่เด็กออกจากงาน(มาตรา ๔๕,๑๔๖พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน)
๗.การที่จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าจ้างเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๐(๑),๑๔๔ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ
๘. พรบ.ค้ามนุษย์ฯ มาตรา ๔ ให้นิยามศัพท์คำว่า “ แสวงหาประโยชน์โดยไม่ชอบ” นั้น หมายความว่า บังคับใช้แรงงานหรือบริการ ซึ่งหมายความว่า ข่มขืนใจให้ทำงานหรือให้บริการโดยกลัวจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สินของผู้นั้นหรือผู้อื่น โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยทำให้บุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ดังนั้นการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์โดยบังคับใช้แรงงานหรือบริการ ต้องประกอบด้วย
-การเป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจาก หรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนียว กักขัง จัดให้อยู่อาศัย
-หรือรับไว้ซึ่งเด็ก เพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิชอบโดยข่มขืนใจให้ทำงานหรือให้บริการ
-โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้นั้นหรือผู้อื่น
-โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยทำให้บุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้
แม้ฟังได้ว่า จำเลยให้ผู้เสียหายอยู่อาศัย และไม่ยอมให้ออกจากบ้านไปไหนหรือติดต่อใครได้ ทั้งไม่ยอมจ่ายค่าจ้าง หรือแม้ต้องทำงาน ตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐นาฬิกาถึง ๒๔.๐๐ นาฬิกา จะเป็นการทำงานหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือการจ่ายค่าจ้างจะเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฏหมาย ก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏว่า จำเลยได้กระทำการใดอันเป็นการข่มขืนใจให้ผู้เสียหายทำงานโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ซื่อเสียง ทรัพย์สินของผู้เสียหาย โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือทำให้ผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ คงได้ความเพียงให้ทำงานตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐ นาฬิกาถึง ๒๔.๐๐ นาฬิกา ให้ทานอาหาร ๒ มื้อ ไม่จ่ายเงินเดือนให้เท่านั้น แม้ในเดือนสุดท้ายจะปรากฏว่ามีการทำร้ายผู้เสียหายก็ตาม แต่ก็เกิดจากกากรทำงานไม่สะอาดและผู้เสียหายพูดขอเงิน ทำงานไม่เรียบร้อย จึงฟังได้ว่า การทำร้ายเกิดจากการทำงานไม่เรียบร้อย พูดขอเงิน ทำงานบ้านไม่สะอาด อันเป็นการลงโทษเท่านั้น หาใช่เป็นการบังคับใช้แรงงานหรือบริการโดยข่มขืนใจให้ทำงานหรือให้บริการโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงของตนเองหรือผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถขัดขืนได้ แม้มีการทำร้ายก็ไม่ได้เป็นการทำร้ายเพื่อการบังคับใช้แรงงานหรือบริการโดยข่มขืนใจให้ทำงานหรือให้บริการ ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานค้ามนุษย์ตามพรบ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ฯ มาตรา ๔ คงมีความผิดเพียงทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส จ้างเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี
๙..การไม่ยอมให้ออกจากบ้านไปไหนและไม่สามารถติดต่อใครได้นั้น ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่า การไม่ให้ออกไปไหนเป็นเพียงคำพูดห้ามออกไปไหน และผู้เสียหายเชื่อตามคำพูดนั้นหรือเกิดความกลัวจึงไม่กล้าออกไปไหน หรือเป็นกรณีที่มีการล่ามโซ่ผู้เสียหายหรือปิดล็อคประตูหน้าต่างทำให้ไม่สามารถออกไปไหนได้หรือไม่ หรือมีคนมาคุมตลอดเวลาทำให้ไม่สามารถออกไปไหนได้ หากเป็นกรณีแรกเพียงคำพูดห้ามออกไปไหน ไม่เป็นความผิดฐานหน่วงเหนียวกักขังหรือกระทำด้วยประการใดๆให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ตาม ปอ มาตรา ๓๑๐ เป็นเรื่องผู้เสียหายเชื่อหรือกลัวคำพูดจำเลย แต่หากเป็นกรณีมีการล่ามโซ่ผู้เสียหายหรือปิดล็อคประตูหน้าต่างทำให้ไม่สามารถออกไปไหนได้ หรือมีคนมาคุมตลอดเวลาทำให้ไม่สามารถออกไปไหนได้ เป็นการหน่วงเหนียวกักขังหรือกระทำด้วยประการใดๆให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ตาม ปอ มาตรา ๓๑๐แล้ว จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบความผิดฐานค้ามนุษย์รวมถึงการกระทำหน่วงเหนียว กักขัง อยู่ในตัวเองด้วยเพียงแต่หน่วงเหนียวกักขังเพื่อ“ แสวงหาประโยชน์โดยไม่ชอบอยู่ในตัวเองอยู่แล้วจึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทต้องลงตามบทหนัก เนื่องจากความผิดฐานค้ามนุษย์ที่กระทำแก่เด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๘ ปีถึง ๑๕ ปี และปรับตั้งแต่๑๖๐,๐๐๐ บาท ถึง ๓๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกสูงกว่าความผิดฐานหน่วงเหนียวกักขังตาม ปอ มาตรา ๓๑๐ จึงต้องลงโทษฐานค้ามนุษย์ โดยความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังเกลื่อนกลื่นไปในความผิดฐานค้ามนุษย์
๑๐.การตกเขียวโดยนายทุนไปติดต่อบิดามารดาฝ่ายหญิงเพื่อนำตัวบุตรสาวมาทำงานค้าประเวณีโดยมอบเงินจำนวนหนึ่งให้บิดามารดาฝ่ายหญิงไป แม้เป็นเรื่องความสมัครใจของบิดามารดาฝ่ายหญิง หรือหญิงเต็มใจไปเพราะต้องการตอบแทนบุญคุณบิดามารดาก็ตาม การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายเป็นการต้องห้ามตามพรบปรามการค้าประเวณีฯที่ไม่ประสงค์ให้มีการค้าประเวณี โดยเป็นธุระ พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งบุคคลใด โดย ให้เงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลบุคคลนั้น เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลให้ความยินยอมแก่ผู้กระทำผิดในการแสวงห่าประโยชน์จากบุคคลที่ตนดูแลเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ ตามพรบ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ฯ มาตรา ๖ ส่วนบิดามารดาผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลที่ยอมรับเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นตามที่นายทุนมาติดต่อ เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลให้ความยินยอมแก่นายทุนเด็กที่อยู่ในความปกครองของบิดามารดาหรือบุคคลที่ตนดูแล เป็นการสนับสนุนการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ตาม มาตรา ๗(๑) แล้วบิดามารดาผู้ปกครองต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้ที่ กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ ตาม พรบ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ฯ มาตร ๗
๑๑.ตามปัญหาหากผู้เสียหายเป็นคนต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมือง(ราชอาณาจักรไทย)โดยไม่ได้รับอนุญาต หากจำเลยรู้และยังจ้างและให้พักที่บ้านของตน ย่อมเป็นการให้ที่พักอาศัย ซ่อนเร็น หรือช่วยด้วยประการใดๆไม่ให้ถูกจับกุมย่อมเป็นความผิดตามมาตรา ๖๔ พรบ.คนเข้าเมือง

ไม่มีความคิดเห็น: