น.ช.สมคิด นามแก้ว อายุ 35 ปี หมายเลขประจำตัว 489/41 คดีมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครอง(ยาบ้า) ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษมาตรา 66 หมายเลขคดีดำที่ 7858/40 หมายเลขคดีแดงที่ 4112/41 ศาลอาญากรุงเทพใต้ เหตุเกิดบนทางหลวงหมายเลข 103 อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
ยาเสพติดทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น ผงขาว เฮโรอีน ฝิ่น กัญชา และอื่นๆอีกหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ยาบ้า” กำลังเป็นภัยร้ายแรงอยู่ในสังคมเกือบทุกระดับชั้นในขณะนี้ และยังเป็นต้นเหตุของอาชญากรรมประเภทต่างๆอีกด้วย โทษภัยของยาเสพติดที่มีต่อผู้เสพนั้น มีมากมายหลายอย่างเช่น สมองเสื่อม คลุ้มคลั่ง ประสาทหลอน บางรายเสพเกินขนาดอาจทำให้ถึงตายได้ แต่ก็ยังมีผู้หลงผิดเสพยาเสพติดเหล่านั้นอยู่อีก
ยาเสพติดเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายบ้านเมือง ไม่ว่าจะเป็นผู้เสพหรือผู้ค้าหากถูกจับกุมได้ จะถูกดำเนินคดีอย่างเฉียบขาดไม่มียกเว้น ซึ่งโทษของคดียาเสพติดนั้น มีตั้งแต่ ปรับ กักขัง จำคุก และสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต สำหรับผู้ค้ายาเสพติดให้โทษ เมื่อเข้ามาอยู่ในเรือนจำแล้ว โอกาสที่จะได้กลับออกไปสู่โลกภายนอกมีน้อยมาก ส่วนใหญ่แล้วจะตายอยู่ในคุก เนื่องจากเป็นคดีที่มีโอกาสได้รับพระราชทานอภัยโทษน้อยมาก หรือไม่ได้รับพระราชทานอภัยโทษเลยแม้แต่น้อย ดังเช่นนักโทษประหารคดียาบ้ารายนี้
วันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2540 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้สืบทราบว่า จะมีการลำเลียงยาบ้าจำนวนมาก จากพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงรายเข้าสู่กรุงเทพฯทางรถยนต์ โดยใช้เส้นทางขนส่งผ่านทางหลวงหมายเลข 103 จึงมอบหมายหน้าที่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวง ทำการตั้งด่านสกัดจับกุมในเส้นทางดังกล่าว
เวลา 21.00 น.เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงจากกองบังคับการทางหลวง 5 จังหวัดพะเยา จำนวน 11 นาย ตั้งด่านสกัดที่ตู้ยามตำรวจทางหลวงร้องกวาง ซึ่งตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 103 หลักกิโลเมตรที่ 0-1 ตำบลร้องเข็ม อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ได้มีรถเก๋งโตโยต้า โคโรน่า สีน้ำตาล ทะเบียน 3ว 8505 กทม. รูปพรรณตรงตามที่สายได้รายงานมา วิ่งเข้ามาที่จุดสกัดดังกล่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเรียกให้หยุดเพื่อตรวจค้น
ภายในรถคันดังกล่าวทราบชื่อผู้ขับขี่ในภายหลังว่า นายสมคิด นามแก้ว อายุ 31 ปี(อายุขณะถูกจับกุม) พักอาศัยอยู่ที่ หมู่ที่ 10 ตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ขับขี่มาตามลำพังคนเดียว ก่อนการตรวจค้น เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แสดงความบริสุทธิ์ให้นายสมคิดดู จนเป็นที่พอใจแล้วจึงลงมือค้น โดยขณะตรวจค้นนายสมคิดยืนดูอยู่ด้วยตลอดเวลา และยังบอกเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า ภายในรถไม่มีสิ่งผิดกฎหมาย โดยเฉพาะยาบ้านั้นตนเองเกลียดที่สุด
ภายหลังการตรวจค้นอย่างละเอียด เจ้าหน้าที่ตำรวจพบยาบ้าบรรจุอยู่ในห่อพลาสติก ซุกซ่อนอยู่ที่ประตูตอนหลังทั้งซ้ายและขวา และยังบรรจุใต้เบาะนั่งด้านหลังอีกด้วย รวมจำนวน 203 ห่อๆละ 2,000 เม็ด เป็นจำนวนทั้งสิ้น 406,000 เม็ด ยาบ้าดังกล่าวเป็นชนิดเม็ดสีส้มและเขียว ประทับตัวอักษร wy มูลค่าประมาณ 40 ล้านบาท นอกจากนี้ยังพบโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง เงินสด 25,100 บาท จึงทำการจับกุมตัวนายสมคิด พร้อมกับแจ้งข้อหามียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครอง
หลังถูกจับกุมตัว นายสมคิดได้พยายามติดสินบนเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดดังกล่าว เป็นจำนวนเงิน 5,000,000 บาท เพื่อแรกกับการปล่อยตัวและของกลาง โดยจะจ่ายให้หลังจากได้รับการปล่อยตัวแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดดังกล่าวไม่สนใจ พร้อมกับแจ้งข้อหาติดสินบนเจ้าพนักงานอีกกระทงหนึ่งด้วย และนำตัวนายสมคิดพร้อมของกลางทั้งหมด ส่งกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ที่กรุงเทพฯ เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย
จากการตรวจสอบประวัติทราบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้สืบทราบและติดตามนายสมคิดมานานแล้ว แต่ยังไม่สามารถจับกุมตัวได้ เนื่องจากนายสมคิดไหวตัวทันก่อนทุกครั้ง และนายสมคิดยังมีพี่ชาย ถูกศาลจังหวัดนครราชสีมาตัดสินลงโทษจำคุก 10 ปี ในข้อหามียาเสพติดไว้ในครอบครองด้วยเช่นกัน
จากการสอบสวนนายสมคิด ได้ให้การรับสารภาพว่ารับจ้างขนยาบ้าดังกล่าว เป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท จากพ่อค้ายาเสพติด เพื่อนำไปส่งให้ลูกค้าที่ปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่ง ในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยให้เหตุผลว่า ที่ทำไปเพราะต้องการหาเงิน เป็นค่ารักษาพยาบาลพี่สาวที่ป่วยเป็นโรคสมองฝ่อ เนื่องจากตนมีฐานะยากจน แต่ต้องใช้เงินในการรักษาเป็นจำนวนมาก
ผลงานการจับกุมยาบ้าจำนวนมากในครั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยอธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น ได้ชมเชยการปฏิบัติงานครั้งนี้ พร้อมกับมอบเงินส่วนตัวคนละ 50,000 บาท แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงานต่อไป
หลังการสอบสวนเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ขออำนาจศาล ฝากขังนายสมคิดไว้ที่ ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ เขตบางเขน จังหวัดกรุงเทพฯ และรวบรวมสำนวนการสอบสวน พร้อมกับหลักฐานต่างๆส่งมอบให้อัยการ เพื่อทำการฟ้องร้องดำเนินคดีนายสมคิด ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้
ผลการพิจารณาของศาลชั้นต้น เห็นว่าถึงแม้นายสมคิดจะรับสารภาพก็ตาม ไม่ใช่เหตุอันควรปราณีแต่เป็นการจำนนด้วยหลักฐาน มีพฤติกรรมเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อยของสังคม และเศรษฐกิจของประเทศชาติอย่างร้ายแรง สมควรลงโทษสถานหนักที่สุด คือประหารชีวิต
หลังการตัดสินของศาลชั้นต้น ข.ช.สมคิดได้ถูกส่งตัวมาคุมขัง ที่หมวดควบคุมนักโทษประหารแดน 1 เรือนจำกลางบางขวาง ข.ช.สมคิดได้ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ เพื่อขอลดหย่อนโทษที่ได้รับ โดยให้เหตุผลว่าตนได้ให้การรับสารภาพข้อหาตั้งแต่ต้น และไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน ประกอบกับตนมีพี่สาวเป็นโรคสมองฝ่อต้องใช้เงินในการรักษาจำนวนมาก ทำให้เกิดการหลงผิด จึงรับจ้างขนยาบ้าดังกล่าว
ผลการพิจารณาของศาลอุทธรณ์เห็นว่า ข้ออ้างของข.ช.สมคิดเป็นเรื่องส่วนตัว เมื่อเปรียบเทียบกับความมั่นคงของประเทศชาติซึ่งเป็นเรื่องส่วนรวม เทียบกันไม่ได้ ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ข.ช.สมคิดได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อขอลดหย่อนโทษ โดยใช้เหตุผลเดิมอีก ผลการพิจารณาของศาลฎีกา ได้ตัดสินยืนตามศาลชั้นต้นและอุทธรณ์
หลังจากเป็นนักโทษเด็ดขาดรอการประหารชีวิตแล้ว น.ช.สมคิดได้ยื่นหนังสือถวายฎีกาทูลเกล้าฯขอพระราชทานอภัยโทษ เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2543 โดยผ่านขั้นตอนจากกรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และสำนักราชเลขาธิการ
วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ.2544 เวลา 10.30 น. ข้าพเจ้าได้รับแจ้งอย่างเป็นความลับว่า ในวันนี้จะมีการประหารชีวิตนักโทษคดียาบ้า 1 ราย ซึ่งจะเป็นการประหารนักโทษคดียาบ้ารายแรกของประเทศไทย เพื่อแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลได้เอาจริงกับการปราบปรามยาบ้า ที่แพร่หลายระบาดอยู่ทั่วไปในขนาดนี้ ข้าพเจ้าจึงไปจัดเตรียมสิ่งของที่จะต้องใช้ในการประหารชีวิต ในส่วนรับผิดชอบของข้าพเจ้า พร้อมกับทำการสวดมนต์ไหว้พระ เสร็จแล้วรอเวลาที่จะเบิกตัวนักโทษมาทำการประหาร
เวลา 15.40 น. ข้าพเจ้าได้รับทราบชื่อนักโทษที่จะถูกประหารในวันนี้คือ น.ช.สมคิด นามแก้ว โดยข้าพเจ้าเข้าไปเบิกตัวที่หมวดควบคุมนักโทษประหารแดน 1 เมื่อเวลา 16.10 น. เมื่อเจ้าหน้าที่ประจำตึกขังได้ไขกุญแจเปิดตึก เสียงพูดคุยที่ดังอยู่ภายในได้เงียบลงทันที ข้าพเจ้าเดินเข้าไปภายใน นักโทษประหารที่อยู่ตามห้องต่างๆ พากันหลบสายตาของข้าพเจ้า แต่ก็ยังมีคนถามข้าพเจ้าขึ้นมาจนได้ “กี่คนครับหัวหน้า คดีอะไร” ข้าพเจ้าตอบกลับไป “คนเดียว คดียาบ้า” นักโทษประหารซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักโทษคดียาบ้า ต่างพากันสะดุ้งเฮือกขึ้นมาทันที และมีเสียงพูดขึ้นมาดังๆว่า “เฮ้ยพวกเรา คดียาบ้าเขาเอาจริงแล้วโว้ย วันนี้ไม่รู้ใครจะประเดิมเป็นรายแรก กูหนอกู ไม่น่าคิดผิดไปขนยาบ้ามาเลย สงสัยคราวหน้าคงไม่พ้นตัวกูแน่เว้ย มาคิดได้ก็สายซะแล้ว ไม่คุ้มเลยจริงๆ เงินก็ไม่ได้ใช้ ยังจะต้องมาตายในคุกอีก”
นักโทษประหารเด็ดขาดที่ต้องโทษคดียาบ้า ต่างหน้าซีดเหงื่อตกไปตามๆกัน รอฟังว่าใครจะเป็นผู้ที่ถูกเรียกชื่อ เมื่อข้าพเจ้าเดินไปหยุดยืนที่หน้าห้องคุมขังน.ช.สมคิด นักโทษประหารที่อยู่ภายในโดยเฉพาะคดียาบ้า ต่างสั่นไปตามๆกัน เมื่อหัวหน้าฝ่ายควบคุมกลางเรียกชื่อขึ้น “สมคิด นามแก้ว ขอให้ออกมาหน้าห้องด้วย” ข้าพเจ้าเห็นน.ช.สมคิดซึ่งนั่งอยู่ริมห้อง สดุ้งเฮือกแทบจะหงายหลังลงไปกับพื้น แล้วค่อยๆลุกขึ้นเดินออกมาที่ประตูห้อง เมื่อเจ้าหน้าที่ประจำตึกขังไขกุญแจเปิดประตูห้อง ข้าพเจ้าคว้าตัวน.ช.สมคิดให้ออกมาจากห้องในทันที ใส่กุญแจมือและตรวจค้นตัว น.ช.สมคิดเกิดอาการเข่าอ่อนยวบขึ้นมาทันที ข้าพเจ้าและพี่เลี้ยงอีกนายต้องเข้าประคองพาเดินออกมาจากตึกขัง
ระหว่างทางขณะที่ข้าพเจ้านำน.ช.สมคิดไปที่หมวดผู้ช่วยเหลือฯ น.ช.สมคิดได้ถามข้าพเจ้าว่า “หัวหน้าครับ ผมเป็นคนแรกที่ถูกประหารเนื่องจากยาบ้าใช่ไหมครับ” ข้าพเจ้าตอบไปว่า “ใช่ เวลานี้รัฐบาลเอาจริงในการปราบยาเสพติดแล้ว เดียวออกไปพ้นจากแดน 1 สมคิดคอยดูนะ จะเห็นพวกนักข่าวมากันเต็มไปหมด แต่สมคิดไม่ต้องไปสนใจอะไร ใครอยากจะถ่ายรูปก็ปล่อยเขาไป คิดเสียว่าอย่างน้อยสมคิดยังได้ทำตัวเป็นประโยชน์ต่อสังคมเป็นครั้งสุดท้าย พวกพ่อค้ายาเสพติดเห็นแล้วจะได้รู้จักกลัวกันบ้าง คงไม่มีใครอยากถูกยิงเป้าหรอก”
เมื่อนำตัวออกมาถึงหมวดผู้ช่วยเหลือฯ ขณะนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองทะเบียนประวัติอาชญากรยังมาไม่ถึง น.ช.สมคิดได้พูดขึ้นมาอีก “หัวหน้าครับ ถ้าจะปราบยาเสพติดให้หมดไปจริงๆ ต้องเอาพวกนักการเมืองทั้งหลาย ไม่ว่าจะระดับท้องถิ่นหรือระดับประเทศ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด มายิงทิ้งให้หมด ความจริงก็รู้ๆกันอยู่ว่าใครบ้างที่เกี่ยวข้องหรือคอยบงการอยู่เบื้องหลัง แต่ผมไม่เคยเห็นใครทำอะไรคนพวกนี้ได้เลย มีแต่ยิ่งร่ำรวย และยิ่งใหญ่ในสภาขึ้นทุกวัน ถ้าไม่มีคนพวกนี้คอยสนับสนุน ยาบ้าคงไม่ระบาดหนักขนาดนี้หรอกครับ อย่างของผมนี่ก็เหมือนกัน เจ้าของยาบ้าตัวจริงเป็นนักการเมืองระดับท้องถิ่น ผมเป็นเพียงผู้รับจ้างขนเท่านั้น”
ข้าพเจ้าถามน.ช.สมคิดไปว่า “ในเมื่อรู้ตัวว่าใครเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง และใครเป็นเจ้าของยาบ้า ทำไมสมคิดไม่ให้การกับตำรวจไป ถ้าจับคนพวกนี้ได้ สมคิดคงได้รับการลดหย่อนโทษเป็นผลตอบแทน”
น.ช.สมคิดอธิบายให้ข้าพเจ้าฟัง “หัวหน้าครับ ถึงผมจะให้การซัดทอดไป แต่จะทำอะไรคนพวกนี้ได้ หลักฐานต่างๆที่จะสาวถึงตัวก็ไม่มี เงินทองทั้งหลายที่ได้มาจากการค้ายาเสพติด ก็ผ่านระบบฟอกเงินจนกลายเป็นเงินสะอาด หัวหน้าเห็นไหมครับ บางคนสมัยก่อนยังต้องนั่งรถเมล์และเช่าบ้านเขาอยู่ แต่เดี๋ยวนี้เป็นยังไงบ้างครับดูเอาเถอะ มีรถราคาหลายล้านจอดเต็มบ้าน บ้านที่ปลูกก็ใหญ่ยังกับวัง เงินในธนาคารมีเป็นร้อยล้าน ทำไมถึงไม่ตรวจสอบถึงที่มาของความร่ำรวยเหล่านั้นกันบ้าง แต่อย่างว่าแหละครับ คนที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบก็เป็นคนของพวกนี้กันทั้งนั้น แล้วจะไปตรวจสอบเจออะไร คนที่มารับโทษก็ไม่พ้นที่จะต้องมาเป็นคนระดับพวกผม ที่มีหน้าที่ขนส่งเท่านั้น แล้วมันคุ้มกันไหมครับกับเงินห้าหมื่นบาท แลกกับชีวิตของผมทั้งชีวิต ส่วนเจ้าของยาเสพติดก็ยังลอยนวล แล้วก็หาคนรับจ้างขนรายต่อไป เพื่อถอนทุนของที่ถูกจับงวดก่อน โอกาสที่ยาบ้าจะหมดไปจากประเทศไทยจึงยากมาก”
เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองทะเบียนประวัติอาชญากรมาถึง ได้เข้ามาทำการพิมพ์ลายนิ้วมือน.ช.สมคิดทันที น.ช.สมคิดได้พูดลอยๆขึ้นมาว่า “ผมไม่คิดว่าคดียาบ้าจะโทษร้ายแรงถึงขั้นประหารชีวิต ถ้ารู้ว่าจะต้องมารับโทษถึงขั้นนี้ ผมจะหลีกหนีให้ไกลยาบ้าอย่างที่สุด ถึงผมจะเป็นนักโทษคดียาบ้ารายแรกที่ถูกประหาร แต่คงไม่ใช่รายสุดท้ายแน่ ตราบใดที่ยังมีการค้าการเสพกันอยู่ ถ้าใครได้มาอยู่ในสภาพเช่นเดียวกับผมในเวลานี้ ผมเชื่อแน่ว่าต่อให้เอาเงินค่าจ้างขนของมากองให้เป็นล้านบาทตรงหน้า คงไม่มีใครยอมเกี่ยวข้องด้วยแน่ ผมมารู้ตัวและได้คิดก็ต่อเมื่อสายเกินไปเสียแล้ว ถ้ามีโอกาสผมอยากฝากบอกถึงคนไทยทั้งประเทศ อย่าได้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอย่างเด็ดขาด เพราะถ้าหากเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยแล้ว ผลที่ได้รับมามันไม่คุ้มกับชีวิตอันมีค่า ซึ่งกว่าที่จะเติบโตมาได้ต้องใช้เวลาเนิ่นนาน แต่เวลาจะตาย กลับใช้เวลาแค่เดี๋ยวเดียว และยังทำให้ชื่อเสียงวงศ์ตระกูลเสียหายไปด้วย พ่อแม่พี่น้องลูกเมียจะมองหน้าใครได้ ในเมื่อคนในบ้านเป็นนักโทษที่ถูกประหารเพราะยาเสพติด”
ข้าพเจ้าได้ตบไหล่เป็นการปลอบใจและให้กำลังใจ หลังจากที่น.ช.สมคิดได้ระบายความในใจออกมาหมดแล้ว น.ช.สมคิดได้ร้องขอกาแฟดำแก่ๆหนึ่งแก้ว และขอบุหรี่สูบหนึ่งมวน ซึ่งก็ได้จัดให้ตามคำขอทันที หลังจากดื่มกาแฟหมดถ้วยและเจ้าหน้าที่ได้พิมพ์ลายนิ้วมือเสร็จ เวรผู้ใหญ่ได้ทำการอ่านคำสั่งจากสำนักนายกรัฐมนตรีให้น.ช.สมคิดฟัง และเซ็นทราบในคำสั่งนั้น เสร็จแล้วได้ให้ทำพินัยกรรมและเขียนจดหมายถึงญาติพี่น้องได้ตามสะดวก ซึ่งเนื้อความในจดหมายมีว่า “ขอให้ทางบ้านอย่าได้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอย่างเด็ดขาด ถึงแม้จะยากจนแค่ไหนก็ตาม ถ้าหากยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดเมื่อใด อาจจะต้องมาเป็นแบบตน ซึ่งต้องมาตายด้วยการถูกประหารชีวิต การทำมาหากินอย่างสุจริตอาจจะไม่รวยทันใจ แต่ชีวิตยังสามารถอยู่ได้อีกนานไม่สั้นเหมือนตนในขณะนี้”
ข้าพเจ้าได้ยกอาหารมื้อสุดท้ายมาให้น.ช.สมคิด แต่น.ช.สมคิดไม่แตะต้องอาหารแต่อย่างใด กลับร้องขอกาแฟเพิ่มอีกหนึ่งแก้ว เสร็จแล้วจึงนำไปฟังเทศนาธรรมจากพระสงฆ์ที่ได้นิมนต์มา ภายในห้องเยี่ยมสำหรับทนาย ซึ่งน.ช.สมคิดตั้งใจฟังอย่างสงบ พร้อมกับได้ถวายปัจจัยแก่พระสงฆ์ แล้วจึงนำตัวไปห้องประหาร
ระหว่างทางข้าพเจ้าถามน.ช.สมคิดว่า “ต้องการรถเข็นหรือเปล่า ผมรู้สึกว่าสมคิดจะขาอ่อนเดินไม่ไหวนะ” น.ช.สมคิดตอบมาว่า “ไม่ต้องครับหัวหน้า ผมจะพยายามเดินไปให้ถึง อย่าให้ผมนั่งรถเข็นเลย เวลานักข่าวเอารูปผมไปลง จะได้ไม่ต้องอายใคร เดี๋ยวเขาจะหาว่าผมเป็นคนอ่อนแอ” ขณะเดียวกันนักข่าวได้ถ่ายรูปน.ช.สมคิดในระหว่างเดินไปสู่หลักประหารกันให้วูบวาบไปหมด น.ช.สมคิดได้พูดขึ้น “น่าจะให้ผมได้คุยกับนักข่าวด้วยนะ ผมจะแฉให้หมดเลยว่าใครเป็นตัวการใหญ่ในขบวนการยาเสพติด แล้วใครได้รับผลประโยชน์บ้าง” ข้าพเจ้าตอบกลับไป “ไม่ได้หรอกสมคิดถ้าจะคุยกับนักข่าว ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ใหญ่ก่อน แต่ผมเห็นด้วยนะ ยังไงสมคิดก็จะตายอยู่แล้ว แฉขบวนการค้ายาเสพติดออกมาให้หมดก็ดีเหมือนกัน”
เมื่อถึงศาลเจ้าพ่อเจตคุปต์ ข้าพเจ้าได้ให้น.ช.สมคิดได้แวะกราบลาที่หน้าศาล เสร็จแล้วนำไปที่ห้องประหารต่อ เมื่อใกล้ถึงศาลาเย็นใจ น.ช.สมคิดได้เกิดอาการเข่าอ่อนขึ้นมาอีกครั้ง ข้าพเจ้าและพี่เลี้ยงอีกนาย ต้องช่วยกันประคองตัวจนถึงศาลาเย็นใจ น.ช.สมคิดได้พูดขึ้น “ทำไมความตายมันถึงน่ากลัวอย่างนี้ จะเจ็บปวดแค่ไหนก็ไม่รู้ ผมกลัวจังเลยครับหัวหน้า ขอผมปัสสาวะอีกสักครั้งก่อนได้ไหมครับ ผมจะกลั้นไม่อยู่แล้ว” ข้าพเจ้าจึงนำตัวไปเข้าห้องน้ำที่อยู่ข้างห้องประหาร เสร็จแล้วนำตัวกลับมาที่ศาลาเย็นใจ ส่งดอกไม้ธูปเทียนให้ พร้อมกับนำผ้าดิบมาผูกตา แล้วช่วยกันประคองตัวเข้าไปภายในห้องประหาร
ภายในห้องประหาร ข้าพเจ้าได้นำตัวน.ช.สมคิดไปที่หลักประหารหลักที่หนึ่ง ทำการผูกมัดตัวกับหลัก ตั้งเป้าตาวัว ใช้ทรายแห้งโรยรอบหลักประหาร แล้วจึงทำการขอขมาต่อน.ช.สมคิดอีกครั้ง ซึ่งขณะนั้นเหงื่อของน.ช.สมคิด ได้หลั่งออกมาจนชุ่มโชกเพราะความกลัว
พลเล็งปืนเข้าทำหน้าที่บรรจุกระสุนและตั้งศูนย์ปืน เพชฌฆาตมือหนึ่งเข้าตรวจสอบศูนย์ปืนอีกครั้ง เมื่อพร้อมแล้วหัวหน้าชุดประหารได้โบกธงแดงลงทันที “ปัง ปัง ปังๆๆๆๆๆๆๆๆ” รวมทั้งสิ้น 11 นัด ทำการประหารเมื่อเวลา 17.55 น.
เมื่อครบ 3 นาทีข้าพเจ้าเข้าไปตรวจดูร่างน.ช.สมคิด ปรากฏว่าได้สิ้นใจไปแล้ว หัวหน้าชุดประหารจึงสั่งให้นำร่างน.ช.สมคิดลงจากหลักประหาร จับพลิกตัวให้นอนคว่ำหน้าไว้ เพื่อความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่พิมพ์ลายนิ้วมือ
นี่แหละครับ ผลของการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อผู้อ่านได้อ่านเรื่องนี้แล้ว จะเกิดความเกรงกลัวต่อโทษทัณฑ์ของการค้ายาเสพติด และหลีกหนีให้ห่างไกลพร้อมกับช่วยกันเตือนสติของผู้หลงผิด ให้คิดกลับตัวกลับใจ เลิกยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอีกต่อไป
เครดิต http://yuthbk.blogspot.com/2012/10/21.html
ค้นหาบล็อกนี้
วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558
22.ลี ยวน กวง, ชู ชิน ก้วย, บุญเกิด จิตรปราณี แก๊งค้ายาข้ามชาติ
22.ลี ยวน กวง, ชู ชิน ก้วย, บุญเกิด จิตรปราณี แก๊งค้ายาข้ามชาติ
น.ช.ลี ยวน กวง อายุ 48 ปี (สัญชาติฮ่องกง) หมายเลขประจำตัว 148/40 น.ช.ชู ชิน ก้วย อายุ 34 ปี (สัญชาติพม่า) หมายเลขประจำตัว 149/40 น.ช.บุญเกิด จิตรปราณี อายุ 41 ปี หมายเลขประจำตัว 150/40 คดีร่วมกันมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครอง ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15, 66 วรรค 2, 102 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 91 หมายเลขคดีดำที่ 890/37 หมายเลขคดีแดงที่ 1662/40 ศาลอาญากรุงเทพฯ ผลงานการจับกุมของกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ร่วมกับสำนักงานปราบปรามยาเสพติดของประเทศสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2536 นายโจ(นามสมมุติ) เจ้าหน้าที่หน่วยปราบปรามยาเสพติดของประเทศสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้รับการติดต่อจากพ่อค้ายาเสพติดทราบชื่อว่านายอัลเบิร์ต โดยนายอัลเบิร์ตบอกว่ารู้จักกับพ่อค้ายาเสพติดซึ่งกำลังหาทางส่งเฮโรอีนจำนวนมากไปยังประเทศไต้หวัน หากว่านายโจสนใจที่จะเป็นผู้นำส่งเฮโรอีนดังกล่าว นายอัลเบิร์ตยินดีที่จะนำนายโจไปทำความรู้จักกับพ่อค้ายาเสพติดคนดังกล่าว ซึ่งนายโจได้ตอบตกลงทันที
หลังจากนั้นนายอัลเบิร์ตได้นำนายโจไปพบกับพ่อค้าคนดังกล่าว ที่ห้องโถงรับแขกชั้นล่างของทางโรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ทราบชื่อว่านายลี ยวน กวง ชาวฮ่องกง แต่เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีผู้คนพลุกพล่าน จึงได้ย้ายไปตกลงกันในห้องอาหารของทางโรงแรม โดยตกลงกันว่านายโจจะรับจ้างขนเฮโรอีนไปประเทศไต้หวันจำนวน 50 ตัว (1 ตัวมีน้ำหนัก 700 กรัม) คิดค่าจ้างเป็นเงินทั้งสิ้น 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ
หลังจากตกลงราคากันได้แล้วทั้งหมดได้แยกย้ายกันไป โดยจะทำการนัดส่งมอบของกันอีกครั้งหนึ่งในภายหลัง จากนั้นนายโจได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยปราบปรามยาเสพติดของประเทศไทย วางแผนที่จะจับกุมกลุ่มพ่อค้ายาเสพติดดังกล่าวต่อไป
วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2536 นายโจได้รับการติดต่อจากนายลี ยวน กวง ให้ไปพบที่ห้องอาหารของทางโรงแรมแอมบาสซาเดอร์ในเวลา 11.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้วางแผนการจับกุมพ่อค้ากลุ่มนี้ทันที เมื่อนายโจไปถึงที่นัดหมายพบนายลี ยวน กวง มากับชายอีกคนหนึ่งทราบชื่อว่านายชู ชิน ก้วย เชื้อสายจีนไต้หวัน สัญชาติพม่า นายลี ยวน กวงได้ชวนนายโจให้ไปรับของที่ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ 3 ถนนรามคำแหง ทั้งหมดจึงนั่งรถแท็กซี่ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจปลอมเป็นผู้ขับไปที่ห้างดังกล่าว โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจกระจายกำลังกันสะกดรอยตามไปห่างๆ
เมื่อไปถึงนายชู ชิน ก้วย ได้แวะพูดคุยกับชายคนหนึ่ง ทราบชื่อในภายหลังว่านายบุญเกิด จิตรปราณี ชาวจังหวัดสมุทรสาคร และให้นายโจกับนายลี ยวน กวง ไปนั่งรอภายในห้างสรรพสินค้า สักครู่นายชู ชิน ก้วย และนายบุญเกิดได้เดินเข้ามารวมกลุ่ม นายลี ยวน กวง และนายชู ชิน ก้วย ได้ให้นายโจไปกับนายบุญเกิดเพื่อตรวจเช็คของที่ลานจอดรถด้านหลังห้างสรรพสินค้า โดยทั้งคู่นั่งรออยู่ที่เดิมภายในห้างดังกล่าว
นายบุญเกิดได้พานายโจไปที่รถกระบะมิตซูบิซิ สีน้ำเงินเข้ม หมายเลขทะเบียน 1 ผ –8133 กทม. และให้นายโจเข้าไปตรวจดูกระเป๋าเดินทางซึ่งวางไว้ที่เบาะหลัง เมื่อเปิดออกดูพบว่ามีเฮโรอีนบรรจุอยู่ในกระเป๋าจำนวนมาก นายโจจึงส่งสัญญาณให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ซุ่มอยู่เข้าทำการจับกุมตัวนายบุญเกิด ขณะเดียวกันนายลี ยวน กวง และนายชู ชิน ก้วย ได้เดินออกไปทางประตูหน้าห้างแล้วแยกทางกันหลบหนี โดยนายชู ชิน ก้วย นั่งรถแท็กซี่หายออกไป เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าทำการจับกุมตัวนายลี ยวน กวง ไว้ได้ แล้วนำตัวมาที่รถกระบะคันดังกล่าวเพื่อทำการตรวจค้น
จากการตรวจค้นภายในรถคันดังกล่าว พบเฮโรอีนอัดแท่งจำนวน 100 แท่ง (2 แท่งเท่ากับ 1 ตัว) น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 34,589 กรัม จึงได้ทำการยึดเฮโรอีนจำนวนดังกล่าวและนำนายลี ยวน กวง กับนายบุญเกิดไปทำการสอบสวนที่กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถติดตามจับกุมตัวนายชู ชิน ก้วย ได้ที่ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขารัชดาภิเษก จึงนำตัวมาสอบสวนร่วมกับพวกที่ถูกจับกุมได้ก่อนหน้านี้ในทันที
จากการสอบสวนทั้งหมดได้ให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา โดยให้การว่าไม่เคยรู้เห็นเฮโรอีนจำนวนดังกล่าวมาก่อนเลย แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจมีพยานหลักฐานเพียงพอ จึงส่งมอบสำนวนการสอบสวนและพยานหลักฐานต่างๆให้อัยการ เพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีทั้ง 3 คน ต่อศาลอาญากรุงเทพฯ และได้ขออำนาจศาลฝากขังทั้ง 3 คนไว้ที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ บางเขน
ผลการพิจารณาของศาลชั้นต้น ได้ตัดสินให้ประหารชีวิตทั้งสามคนโดยไม่มีการลดหย่อนโทษให้ และได้ส่งตัวทั้งสามมาควบคุมตัวไว้ที่เรือนจำกลางบางขวาง ทั้งสามได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาล ผลการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้ตัดสินยืนตามศาลชั้นต้น ทั้งสามได้ยื่นฎีกาต่อศาลอีก ผลการพิจารณาของศาลฎีกา ได้ตัดสินยืนตามศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ ทั้งหมดได้ทำหนังสือถวายฎีกาทูลเกล้าฯขอพระราชทานอภัยโทษตามสิทธิ์ และรอผลการพิจารณาอยู่ที่หมวดควบคุมนักโทษประหารแดน 1
วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ.2544 เวลา 11.00 น. ข้าพเจ้าได้รับแจ้งอย่างเป็นความลับว่า ในวันนี้จะมีการประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาดจำนวน 5 ราย ข้าพเจ้าจึงไปจัดเตรียมสิ่งของที่จะต้องใช้ และทำการสวดมนต์ไหว้พระ บูชาท้าวเวชสุวรรณ พร้อมกับทำจิตใจให้สงบ รอเวลาที่จะเบิกตัวนักโทษทั้งหมดมาดำเนินการตามขั้นตอนการประหารชีวิต
เวลา 16.10 น. ข้าพเจ้าได้รับรายชื่อนักโทษที่จะต้องเข้าไปเบิกตัวทั้งหมดคือ น.ช.ลี ยวน กวง น.ช.ชู ชิน ก้วย น.ช.บุญเกิด จิตรปราณี น.ช.วิเชียร แสนมหายักษ์ น.ช.รอมาลี ตาเย๊ะ จึงได้จัดแบ่งหน้าที่ในการดูแลและเบิกตัวนักโทษประหารทั้งหมด โดยข้าพเจ้ารับหน้าที่เบิกตัวและดูแลน.ช.ลี ยวน กวง
เมื่อเข้าไปที่หมวดควบคุมนักโทษประหารแดน 1 ข้าพเจ้าได้ยินเสียงกีต้าร์และเสียงร้องเพลงเฮฮาดังมาจากในตึกขัง เมื่อเสียงไขกุญแจเปิดประตูตึกได้ดังขึ้น เสียงร้องเพลงและเสียงกีต้าร์ได้หยุดลงทันที ความเงียบสงบได้เข้ามาแทนที่ ข้าพเจ้าเดินเข้าไปภายในตึกขัง นักโทษประหารรายหนึ่งได้พูดกับข้าพเจ้า “เพิ่งยิงไปเมื่อพุธที่แล้ว อาทิตย์ละครั้งเลยหรือครับ วันนี้กี่คนครับ” ข้าพเจ้าชูมือให้ดูพร้อมกับกางนิ้วทั้ง 5 ออก มีเสียงร้องว่า “โฮ่ เล่นทีเดียวตั้ง 5 คน ผมโดนด้วยไหมครับ” ข้าพเจ้าตอบไป “รอด” นักโทษคนนั้นถอนหายใจโล่งอก
เมื่อข้าพเจ้าไปหยุดยืนที่หน้าห้องขังของน.ช.ลี ยวน กวง และน.ช.ชู ชิน ก้วย ซึ่งทั้งสองถูกขังอยู่ห้องเดียวกันและนั่งคุยกันอยู่ ข้าพเจ้าส่งเสียงเรียก “ลี ยวน กวง” คนที่สะดุ้งสุดตัวกลับเป็นน.ช.ชู ชิน ก้วย และส่งเสียงร้องว่า “อั๊วซี้เลี้ยว” น.ช.ลี ยวน กวง เอื้อมมือไปตบไหล่น.ช.ชู ชิน ก้วย พร้อมกับลุกขึ้นยืนและส่งมือไปให้น.ช.ชู ชิน ก้วย จับและจูงมือกันเดินออกมาที่ประตูห้อง เมื่อออกมาพ้นประตูห้อง ข้าพเจ้าสวมกุญแจมือน.ช.ลี ยวน กวง พี่เลี้ยงอีกนายสวมกุญแจมือน.ช.ชู ชิน ก้วย ทำการตรวจค้นตัว พี่เลี้ยงนายอื่นได้แยกย้ายกันไปเบิกตัวนักโทษอีก 3 ราย
น.ช.ลี ยวน กวง ถามข้าพเจ้า “หัวหน้าคับ ผงขอพกสถางทูกก่องล่ายไม้” (หัวหน้าครับ ผมขอพบสถานทูตก่อนได้ไหม) ข้าพเจ้าตอบว่า “ไม่ได้หรอก แต่เดี๋ยวจะให้เขียนจดหมายถึงญาติ ลื้อค่อยเขียนจดหมายฝากให้สถานทูตตอนนั้นก็ได้” ส่วนน.ช.ชู ชิน ก้วย สะอื้นฮักมีน้ำตาไหลออกมาพร้อมกับพูดว่า “ขอผงโทกับไปบ้างล่ายไม้” (ขอผมโทรกลับไปบ้านได้ไหม) พี่เลี้ยงอีกนายตอบว่า “ไม่ได้เหมือนกัน โทรศัพท์เป็นของต้องห้ามลื้อก็รู้”
เมื่อนำนักโทษประหารทั้งหมดมาถึงหมวดผู้ช่วยเหลือฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองทะเบียนประวัติอาชญากร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนประวัติผู้ต้องขัง ได้แยกย้ายกันพิมพ์ลายนิ้วมือนักโทษทั้งหมด น.ช.ลี ยวน กวง และน.ช.ชู ชิน ก้วย ได้ร้องขอบุหรี่สูบและส่งเสียงคุยกันเป็นภาษาจีน ส่วนน.ช.บุญเกิดได้ขอน้ำเย็นดื่มพร้อมกับพูดว่า “ผมไม่น่าไปคบกับสองคนนั่นเลย ทำให้ผมซวยไปด้วย”
เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองทะเบียนประวัติอาชญากร เข้ามาทำการตรวจสอบประวัติบุคคล สารวัตรโกมลได้ขานชื่อขึ้นมาว่า “ลี ยวน กวง” น.ช.ลี ยวน กวง ได้ตอบไปว่า “ค้าผง”(ครับผม) ข้าพเจ้าจึงแกล้งแหย่ไปว่า “ลื้อไม่ต้องไปบอกตำรวจเขาหรอกว่าลื้อค้าผง เขารู้กันหมดแล้ว” น.ช.ลี ยวน กวง หัวเราะแหะๆพร้อมกับพูด “หัวหน้าล้อผงเล่งไปล่าย ผงพูกว่าค้าผงไม่ใช่ผงค้าผง” (หัวหน้าล้อผมเล่นไปได้ ผมพูดว่าครับผมไม่ใช่ผมค้าผง) ทุกคนต่างหัวเราะขึ้นมาได้ บรรยากาศตึงเครียดเริ่มผ่อนคลาย
น.ช.ชู ชิน ก้วยเริ่มมีสีหน้าดีขึ้น น.ช.บุญเกิดพูดว่า “สองคนนั่นพูดไทยไม่ชัดหรอกครับหัวหน้า” ข้าพเจ้าตอบไปว่า “ผมรู้แล้วแต่ผมล้อเล่น ผมเห็นลี ยวน กวงท่าทางน่าจะเป็นคนคุยสนุก” น.ช.ลี ยวน กวงยิ้มแล้วพูด “ขอกคุงหัวหน้า นักเข่าทำไมมากังเยอะจังละคับ ผงขอพูกกักนักเข่าล่ายบั้งไม้”(ขอบคุณหัวหน้า นักข่าวทำไมมากันเยอะจังละครับ ผมขอพูดกับนักข่าวได้บ้างไหม) ข้าพเจ้าตอบว่าเดี๋ยวผมจะถามผู้ใหญ่ให้ แล้วได้คำตอบมาว่าไม่อนุญาต
ข้าพเจ้าเดินเข้าไปตบไหล่ปลอบใจน.ช.ชู ชิน ก้วย “อั๊วอยากให้ลื้อทำใจ ยังไงก็แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว” น.ช.ชู ชิน ก้วยพูดว่า “แต่ผงไม่ใช่คงไท ไม่น่าปะหางผงเลย ขอผงพกสถางทูกก่องล่ายไม้ โทละสักไปก็ยังลี”(แต่ผมไม่ใช่คนไทย ไม่น่าประหารผมเลย ขอผมพบสถานทูตก่อนได้ไหม โทรศัพท์ไปก็ยังดี) ข้าพเจ้าตอบไปว่า “เรื่องโทรศัพท์กับเรื่องสถานทูตตัดทิ้งไปได้เลย ผู้ใหญ่คงไม่ให้แน่ ชู ชิน ก้วยต้องเข้าใจนะ ถึงชู ชิน ก้วยจะไม่ใช่คนไทย แต่เข้ามาทำผิดในเมืองไทย ภายใต้กฎหมายของไทย ก็ต้องรับโทษตามกฎหมายของไทย เวลาคนไทยไปอยู่ประเทศอื่น เมื่อทำความผิด ก็ต้องรับโทษตามกฎหมายของประเทศนั้นเช่นกัน” น.ช.ชู ชิน ก้วย จึงนั่งคอตกลงไปอีก
น.ช.บุญเกิดพูดขึ้นบ้าง “ถ้าผมไม่ร่วมมือกับพวกนี้ ผมคงไม่ต้องมาเป็นอย่างนี้หรอก ผมไม่น่าเห็นแก่เงินเลย เขาเสนอเงินค่าจ้างให้ผมดี ให้ผมช่วยขับรถส่งของให้ ทำไปทำมาไปติดต่อเอาสายสืบฝรั่งเข้า เลยพาซวยกันหมด เงินก็ไม่ได้ใช้ซักบาท แล้วยังต้องมาตายโดยขึ้นชื่อว่าเป็นนักโทษประหารอีก ถ้ามีอภินิหารช่วยผมรอดไปได้ ผมจะบวชไม่สึกเลยจริงๆ” เสียดายที่อภินิหารที่ว่าคงไม่มีมาช่วยซะแล้ว
หลังจากพิมพ์ลายนิ้วมือและตรวจสอบประวัติบุคคลเสร็จ เวรผู้ใหญ่เข้ามาทำการอ่านคำสั่งจากสำนักนายกรัฐมนตรี และให้ทั้งหมดเซ็นทราบในคำสั่งนั้น จากนั้นได้ให้ทำพินัยกรรมและเขียนจดหมายตามสะดวก น.ช.ลี ยวน กวง และน.ช.ชู ชิน ก้วย ได้เขียนจดหมายขึ้นมาคนละ 2 ฉบับ และขอร้องให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนฯช่วยเป็นธุระจัดส่งให้ถึงสถานทูตของแต่ละคน ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนฯรับปากที่จะจัดการให้เป็นที่เรียบร้อย
เสร็จแล้วพี่เลี้ยงได้ช่วยกันยกอาหารมื้อสุดท้ายมาให้นักโทษทั้งหมดกิน แต่ทุกคนต่างปฏิเสธอาหารมื้อนี้ ขอแค่น้ำเย็นกันเท่านั้น ข้าพเจ้าและพี่เลี้ยงจึงนำนักโทษประหารที่นับถือศาสนาพุทธจำนวน 4 รายเข้าไปฟังเทศนาธรรมจากพระสงฆ์ ภายในห้องเยี่ยมนักโทษสำหรับทนาย ส่วนน.ช.รอมาลี ตาเย๊ะ ได้ให้ประกอบพิธีละหมาดภายในหมวดผู้ช่วยเหลือฯ หลังฟังเทศน์เสร็จ ข้าพเจ้าได้นำน.ช.ลี ยวน กวง ไปทำการประหารก่อนเป็นรายแรก โดยให้นักโทษที่เหลือทั้ง 4 รายรออยู่ที่หมวดผู้ช่วยเหลือฯ น.ช.ลี ยวน กวง โผเข้ากอดน.ช.ชู ชิน ก้วย พร้อมกับจับมือล่ำลากัน แล้วหันไปจับมือน.ช.บุญเกิดพร้อมกับพูดว่า “อั๊วไปก่องน่อ เลี้ยวเจอกังที่ซาหวัง” (อั๊วไปก่อนนะ แล้วเจอกันที่สวรรค์)
ระหว่างที่ข้าพเจ้านำน.ช.ลี ยวน กวง เดินผ่านศาลาเฉลิมพระเกียรติ์ฯ นักข่าวจำนวนมากทั้งโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ ต่างถ่ายรูปกันวูบวาบไปหมด น.ช.ลี ยวน กวงพูดกับข้าพเจ้าว่า “ต้องยิ้งหน่อย เวลาเมียผงเห็งเข่าจะล่ายรู้ว่าผงเค่งแข็ง” (ต้องยิ้มหน่อย เวลาเมียผมเห็นข่าวจะได้รู้ว่าผมเข็มแข็ง) แล้วน.ช.ลี ยวน กวง ได้ยิ้มให้ช่างภาพและเดินพูดคุยกับข้าพเจ้าไปตลอดทาง เมื่อผ่านศาลเจ้าพ่อเจตคุปต์ข้าพเจ้าบอกให้น.ช.ลี ยวน กวง ยกมือไหว้ น.ช.ลี ยวน กวง ถามข้าพเจ้าว่า “เหมืองกักเง็กเซียงฮ่องเต้ไช่ไม้” (เหมือนกับเง็กเซียนฮ่องเต้ใช่ไหม) ข้าพเจ้าตอบว่า “ใช่คล้ายๆกันแต่คนไทยเรียกว่าเจ้าพ่อเจตคุปต์”
เมื่อถึงศาลาเย็นใจ ข้าพเจ้าได้ให้นั่งที่เก้าอี้ขาว หยิบดอกไม้ธูปเทียนส่งให้ พี่เลี้ยงอีกนายเอาผ้าดิบผูกตา แล้วช่วยกันประคองเข้าสู่ห้องประหาร โดยนำเข้าไปที่หลักประหารหลักที่หนึ่ง ทำการผูกมัดตัวให้ติดกับหลักประหาร ทำการตั้งเป้าตาวัว เอาทรายแห้งโรยรอบหลัก แล้วทำการขออโหสิกรรมอีกครั้ง น.ช.ลี ยวน กวง ได้พูดคำสุดท้ายว่า “ผงซี้เลี้ยวทังบุงให้ล่วย” (ผมตายแล้วทำบุญให้ด้วย)
พลเล็งปืนเข้าทำการบรรจุกระสุน ตั้งศูนย์ปืนให้ตรงกับเป้าตาวัว เพชฌฆาตมือหนึ่งเข้าตรวจสอบศูนย์ปืนอีกครั้ง เมื่อเห็นว่าตรงดีแล้วได้แจ้งความพร้อมต่อหัวหน้าชุดประหาร ธงแดงได้สะบัดลงทันที “ปัง ปังๆๆๆๆๆๆ” เสียงปืนดังขึ้น 8 นัด ทำการประหารเมื่อเวลา 17.50 น. เมื่อเสียงปืนสงบ ข้าพเจ้าได้ยินเสียงร้องครางและได้ยินคำพูดเป็นภาษาจีนดังแผ่วๆ ออกมาจากหลักประหาร เมื่อเข้าไปตรวจดูพบว่าน.ช.ลี ยวน กวง ยังไม่สิ้นใจดีสามารถสะบัดหัวไปมา พร้อมกับยังคงส่งเสียงครางไม่หยุด จึงแจ้งให้หัวหน้าชุดประหารทราบ
เพชฌฆาตมือหนึ่งเข้าทำหน้าที่อีกครั้ง ธงแดงได้สะบัดลง “ปัง ปังๆๆๆๆๆ” เสียงปืนดังขึ้นอีก 7 นัด รวมใช้กระสุนในการประหารน.ช.ลี ยวน กวง ทั้งสิ้น 15 นัด เมื่อครบ 3 นาทีได้เข้าไปตรวจดูอีกครั้ง ปรากฏว่าได้สิ้นใจไปแล้ว จึงนำร่างลงจากหลักประหารแล้วนำไปเก็บไว้ในห้องเล็ก จากนั้นจึงออกไปรอรับตัวน.ช.ชู ชิน ก้วย และน.ช.บุญเกิดที่ศาลาเย็นใจ
เมื่อพี่เลี้ยงที่มาเสริมกำลัง นำตัวน.ช.ชู ชิน ก้วย และน.ช.บุญเกิดมาถึง ได้ให้ทั้งคู่นั่งที่เก้าอี้ขาว ข้าพเจ้าหยิบดอกไม้ธูปเทียนส่งให้ทั้งคู่ น.ช.บุญเกิดถามว่า “เฮียเขาไปแล้วใช่ไหมครับ” ข้าพเจ้ายกมือตบหลังเบาๆแทนคำตอบ พี่เลี้ยงอีกสองนายหยิบผ้าผูกตาให้ทั้งคู่ เสร็จแล้วได้ช่วยกันประคองทั้ง 2 คนเข้าสู่ห้องประหาร โดยนำน.ช.ชู ชิน ก้วย เข้าไปผูกมัดตัวที่หลักประหารหลักที่หนึ่ง น.ช.บุญเกิดเข้าผูกมัดตัวที่หลักประหารหลักที่สอง ซึ่งน.ช.ชู ชิน ก้วย ส่งเสียงพูดตลอดว่า “อั๊วซี้เลี้ยว อั๊วซี้เลี้ยว ๆ” เมื่อผูกมัดตัวทั้งคู่เสร็จ ทำการตั้งเป้าตาวัว เอาทรายแห้งโรยรอบหลักประหาร ข้าพเจ้าได้ทำการขออโหสิกรรมทั้งคู่อีกครั้ง แล้วแจ้งให้หัวหน้าชุดประหารทราบ
พลเล็งปืนเข้ามาทำการบรรจุกระสุน ตั้งศูนย์ปืนทั้ง 2 กระบอกให้ตรงกับเป้าตาวัว เพชฌฆาตมือหนึ่งและสองเข้าตรวจสอบศูนย์ปืนอีกครั้ง เมื่อพร้อมแล้วธงแดงได้สะบัดลง “ปังๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ” เสียงปืนทั้งสองกระบอกดังรัวออกมาพร้อมกัน ใช้กระสุนสำหรับน.ช.ชู ชิน ก้วย ทั้งสิ้น 11 นัดโดยเพชฌฆาตมือหนึ่ง ใช้กระสุนสำหรับน.ช.บุญเกิดทั้งสิ้น 9 นัดโดยเพชฌฆาตมือสอง ทำการประหารทั้งคู่เมื่อเวลา 18.13 น.
เมื่อครบ 3 นาที ข้าพเจ้าและแพทย์ได้เข้าไปตรวจดูร่างนักโทษทั้งคู่ที่หลักประหาร ปรากฏว่าทั้งคู่ได้สิ้นใจไปแล้ว หัวหน้าชุดประหารจึงสั่งให้นำร่างทั้งคู่ลงจากหลักประหาร แล้วนำไปเก็บไว้ในห้องเล็ก เสร็จแล้วข้าพเจ้าจึงได้ออกไปรอรับตัวน.ช.วิเชียรและน.ช.รอมาลีที่ศาลาเย็นใจ เพื่อนำตัวเข้าทำการประหารชีวิตเป็นชุดต่อไป
น.ช.ลี ยวน กวง อายุ 48 ปี (สัญชาติฮ่องกง) หมายเลขประจำตัว 148/40 น.ช.ชู ชิน ก้วย อายุ 34 ปี (สัญชาติพม่า) หมายเลขประจำตัว 149/40 น.ช.บุญเกิด จิตรปราณี อายุ 41 ปี หมายเลขประจำตัว 150/40 คดีร่วมกันมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครอง ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15, 66 วรรค 2, 102 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 91 หมายเลขคดีดำที่ 890/37 หมายเลขคดีแดงที่ 1662/40 ศาลอาญากรุงเทพฯ ผลงานการจับกุมของกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ร่วมกับสำนักงานปราบปรามยาเสพติดของประเทศสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2536 นายโจ(นามสมมุติ) เจ้าหน้าที่หน่วยปราบปรามยาเสพติดของประเทศสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้รับการติดต่อจากพ่อค้ายาเสพติดทราบชื่อว่านายอัลเบิร์ต โดยนายอัลเบิร์ตบอกว่ารู้จักกับพ่อค้ายาเสพติดซึ่งกำลังหาทางส่งเฮโรอีนจำนวนมากไปยังประเทศไต้หวัน หากว่านายโจสนใจที่จะเป็นผู้นำส่งเฮโรอีนดังกล่าว นายอัลเบิร์ตยินดีที่จะนำนายโจไปทำความรู้จักกับพ่อค้ายาเสพติดคนดังกล่าว ซึ่งนายโจได้ตอบตกลงทันที
หลังจากนั้นนายอัลเบิร์ตได้นำนายโจไปพบกับพ่อค้าคนดังกล่าว ที่ห้องโถงรับแขกชั้นล่างของทางโรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ทราบชื่อว่านายลี ยวน กวง ชาวฮ่องกง แต่เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีผู้คนพลุกพล่าน จึงได้ย้ายไปตกลงกันในห้องอาหารของทางโรงแรม โดยตกลงกันว่านายโจจะรับจ้างขนเฮโรอีนไปประเทศไต้หวันจำนวน 50 ตัว (1 ตัวมีน้ำหนัก 700 กรัม) คิดค่าจ้างเป็นเงินทั้งสิ้น 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ
หลังจากตกลงราคากันได้แล้วทั้งหมดได้แยกย้ายกันไป โดยจะทำการนัดส่งมอบของกันอีกครั้งหนึ่งในภายหลัง จากนั้นนายโจได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยปราบปรามยาเสพติดของประเทศไทย วางแผนที่จะจับกุมกลุ่มพ่อค้ายาเสพติดดังกล่าวต่อไป
วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2536 นายโจได้รับการติดต่อจากนายลี ยวน กวง ให้ไปพบที่ห้องอาหารของทางโรงแรมแอมบาสซาเดอร์ในเวลา 11.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้วางแผนการจับกุมพ่อค้ากลุ่มนี้ทันที เมื่อนายโจไปถึงที่นัดหมายพบนายลี ยวน กวง มากับชายอีกคนหนึ่งทราบชื่อว่านายชู ชิน ก้วย เชื้อสายจีนไต้หวัน สัญชาติพม่า นายลี ยวน กวงได้ชวนนายโจให้ไปรับของที่ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ 3 ถนนรามคำแหง ทั้งหมดจึงนั่งรถแท็กซี่ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจปลอมเป็นผู้ขับไปที่ห้างดังกล่าว โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจกระจายกำลังกันสะกดรอยตามไปห่างๆ
เมื่อไปถึงนายชู ชิน ก้วย ได้แวะพูดคุยกับชายคนหนึ่ง ทราบชื่อในภายหลังว่านายบุญเกิด จิตรปราณี ชาวจังหวัดสมุทรสาคร และให้นายโจกับนายลี ยวน กวง ไปนั่งรอภายในห้างสรรพสินค้า สักครู่นายชู ชิน ก้วย และนายบุญเกิดได้เดินเข้ามารวมกลุ่ม นายลี ยวน กวง และนายชู ชิน ก้วย ได้ให้นายโจไปกับนายบุญเกิดเพื่อตรวจเช็คของที่ลานจอดรถด้านหลังห้างสรรพสินค้า โดยทั้งคู่นั่งรออยู่ที่เดิมภายในห้างดังกล่าว
นายบุญเกิดได้พานายโจไปที่รถกระบะมิตซูบิซิ สีน้ำเงินเข้ม หมายเลขทะเบียน 1 ผ –8133 กทม. และให้นายโจเข้าไปตรวจดูกระเป๋าเดินทางซึ่งวางไว้ที่เบาะหลัง เมื่อเปิดออกดูพบว่ามีเฮโรอีนบรรจุอยู่ในกระเป๋าจำนวนมาก นายโจจึงส่งสัญญาณให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ซุ่มอยู่เข้าทำการจับกุมตัวนายบุญเกิด ขณะเดียวกันนายลี ยวน กวง และนายชู ชิน ก้วย ได้เดินออกไปทางประตูหน้าห้างแล้วแยกทางกันหลบหนี โดยนายชู ชิน ก้วย นั่งรถแท็กซี่หายออกไป เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าทำการจับกุมตัวนายลี ยวน กวง ไว้ได้ แล้วนำตัวมาที่รถกระบะคันดังกล่าวเพื่อทำการตรวจค้น
จากการตรวจค้นภายในรถคันดังกล่าว พบเฮโรอีนอัดแท่งจำนวน 100 แท่ง (2 แท่งเท่ากับ 1 ตัว) น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 34,589 กรัม จึงได้ทำการยึดเฮโรอีนจำนวนดังกล่าวและนำนายลี ยวน กวง กับนายบุญเกิดไปทำการสอบสวนที่กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถติดตามจับกุมตัวนายชู ชิน ก้วย ได้ที่ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขารัชดาภิเษก จึงนำตัวมาสอบสวนร่วมกับพวกที่ถูกจับกุมได้ก่อนหน้านี้ในทันที
จากการสอบสวนทั้งหมดได้ให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา โดยให้การว่าไม่เคยรู้เห็นเฮโรอีนจำนวนดังกล่าวมาก่อนเลย แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจมีพยานหลักฐานเพียงพอ จึงส่งมอบสำนวนการสอบสวนและพยานหลักฐานต่างๆให้อัยการ เพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีทั้ง 3 คน ต่อศาลอาญากรุงเทพฯ และได้ขออำนาจศาลฝากขังทั้ง 3 คนไว้ที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ บางเขน
ผลการพิจารณาของศาลชั้นต้น ได้ตัดสินให้ประหารชีวิตทั้งสามคนโดยไม่มีการลดหย่อนโทษให้ และได้ส่งตัวทั้งสามมาควบคุมตัวไว้ที่เรือนจำกลางบางขวาง ทั้งสามได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาล ผลการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้ตัดสินยืนตามศาลชั้นต้น ทั้งสามได้ยื่นฎีกาต่อศาลอีก ผลการพิจารณาของศาลฎีกา ได้ตัดสินยืนตามศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ ทั้งหมดได้ทำหนังสือถวายฎีกาทูลเกล้าฯขอพระราชทานอภัยโทษตามสิทธิ์ และรอผลการพิจารณาอยู่ที่หมวดควบคุมนักโทษประหารแดน 1
วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ.2544 เวลา 11.00 น. ข้าพเจ้าได้รับแจ้งอย่างเป็นความลับว่า ในวันนี้จะมีการประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาดจำนวน 5 ราย ข้าพเจ้าจึงไปจัดเตรียมสิ่งของที่จะต้องใช้ และทำการสวดมนต์ไหว้พระ บูชาท้าวเวชสุวรรณ พร้อมกับทำจิตใจให้สงบ รอเวลาที่จะเบิกตัวนักโทษทั้งหมดมาดำเนินการตามขั้นตอนการประหารชีวิต
เวลา 16.10 น. ข้าพเจ้าได้รับรายชื่อนักโทษที่จะต้องเข้าไปเบิกตัวทั้งหมดคือ น.ช.ลี ยวน กวง น.ช.ชู ชิน ก้วย น.ช.บุญเกิด จิตรปราณี น.ช.วิเชียร แสนมหายักษ์ น.ช.รอมาลี ตาเย๊ะ จึงได้จัดแบ่งหน้าที่ในการดูแลและเบิกตัวนักโทษประหารทั้งหมด โดยข้าพเจ้ารับหน้าที่เบิกตัวและดูแลน.ช.ลี ยวน กวง
เมื่อเข้าไปที่หมวดควบคุมนักโทษประหารแดน 1 ข้าพเจ้าได้ยินเสียงกีต้าร์และเสียงร้องเพลงเฮฮาดังมาจากในตึกขัง เมื่อเสียงไขกุญแจเปิดประตูตึกได้ดังขึ้น เสียงร้องเพลงและเสียงกีต้าร์ได้หยุดลงทันที ความเงียบสงบได้เข้ามาแทนที่ ข้าพเจ้าเดินเข้าไปภายในตึกขัง นักโทษประหารรายหนึ่งได้พูดกับข้าพเจ้า “เพิ่งยิงไปเมื่อพุธที่แล้ว อาทิตย์ละครั้งเลยหรือครับ วันนี้กี่คนครับ” ข้าพเจ้าชูมือให้ดูพร้อมกับกางนิ้วทั้ง 5 ออก มีเสียงร้องว่า “โฮ่ เล่นทีเดียวตั้ง 5 คน ผมโดนด้วยไหมครับ” ข้าพเจ้าตอบไป “รอด” นักโทษคนนั้นถอนหายใจโล่งอก
เมื่อข้าพเจ้าไปหยุดยืนที่หน้าห้องขังของน.ช.ลี ยวน กวง และน.ช.ชู ชิน ก้วย ซึ่งทั้งสองถูกขังอยู่ห้องเดียวกันและนั่งคุยกันอยู่ ข้าพเจ้าส่งเสียงเรียก “ลี ยวน กวง” คนที่สะดุ้งสุดตัวกลับเป็นน.ช.ชู ชิน ก้วย และส่งเสียงร้องว่า “อั๊วซี้เลี้ยว” น.ช.ลี ยวน กวง เอื้อมมือไปตบไหล่น.ช.ชู ชิน ก้วย พร้อมกับลุกขึ้นยืนและส่งมือไปให้น.ช.ชู ชิน ก้วย จับและจูงมือกันเดินออกมาที่ประตูห้อง เมื่อออกมาพ้นประตูห้อง ข้าพเจ้าสวมกุญแจมือน.ช.ลี ยวน กวง พี่เลี้ยงอีกนายสวมกุญแจมือน.ช.ชู ชิน ก้วย ทำการตรวจค้นตัว พี่เลี้ยงนายอื่นได้แยกย้ายกันไปเบิกตัวนักโทษอีก 3 ราย
น.ช.ลี ยวน กวง ถามข้าพเจ้า “หัวหน้าคับ ผงขอพกสถางทูกก่องล่ายไม้” (หัวหน้าครับ ผมขอพบสถานทูตก่อนได้ไหม) ข้าพเจ้าตอบว่า “ไม่ได้หรอก แต่เดี๋ยวจะให้เขียนจดหมายถึงญาติ ลื้อค่อยเขียนจดหมายฝากให้สถานทูตตอนนั้นก็ได้” ส่วนน.ช.ชู ชิน ก้วย สะอื้นฮักมีน้ำตาไหลออกมาพร้อมกับพูดว่า “ขอผงโทกับไปบ้างล่ายไม้” (ขอผมโทรกลับไปบ้านได้ไหม) พี่เลี้ยงอีกนายตอบว่า “ไม่ได้เหมือนกัน โทรศัพท์เป็นของต้องห้ามลื้อก็รู้”
เมื่อนำนักโทษประหารทั้งหมดมาถึงหมวดผู้ช่วยเหลือฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองทะเบียนประวัติอาชญากร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนประวัติผู้ต้องขัง ได้แยกย้ายกันพิมพ์ลายนิ้วมือนักโทษทั้งหมด น.ช.ลี ยวน กวง และน.ช.ชู ชิน ก้วย ได้ร้องขอบุหรี่สูบและส่งเสียงคุยกันเป็นภาษาจีน ส่วนน.ช.บุญเกิดได้ขอน้ำเย็นดื่มพร้อมกับพูดว่า “ผมไม่น่าไปคบกับสองคนนั่นเลย ทำให้ผมซวยไปด้วย”
เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองทะเบียนประวัติอาชญากร เข้ามาทำการตรวจสอบประวัติบุคคล สารวัตรโกมลได้ขานชื่อขึ้นมาว่า “ลี ยวน กวง” น.ช.ลี ยวน กวง ได้ตอบไปว่า “ค้าผง”(ครับผม) ข้าพเจ้าจึงแกล้งแหย่ไปว่า “ลื้อไม่ต้องไปบอกตำรวจเขาหรอกว่าลื้อค้าผง เขารู้กันหมดแล้ว” น.ช.ลี ยวน กวง หัวเราะแหะๆพร้อมกับพูด “หัวหน้าล้อผงเล่งไปล่าย ผงพูกว่าค้าผงไม่ใช่ผงค้าผง” (หัวหน้าล้อผมเล่นไปได้ ผมพูดว่าครับผมไม่ใช่ผมค้าผง) ทุกคนต่างหัวเราะขึ้นมาได้ บรรยากาศตึงเครียดเริ่มผ่อนคลาย
น.ช.ชู ชิน ก้วยเริ่มมีสีหน้าดีขึ้น น.ช.บุญเกิดพูดว่า “สองคนนั่นพูดไทยไม่ชัดหรอกครับหัวหน้า” ข้าพเจ้าตอบไปว่า “ผมรู้แล้วแต่ผมล้อเล่น ผมเห็นลี ยวน กวงท่าทางน่าจะเป็นคนคุยสนุก” น.ช.ลี ยวน กวงยิ้มแล้วพูด “ขอกคุงหัวหน้า นักเข่าทำไมมากังเยอะจังละคับ ผงขอพูกกักนักเข่าล่ายบั้งไม้”(ขอบคุณหัวหน้า นักข่าวทำไมมากันเยอะจังละครับ ผมขอพูดกับนักข่าวได้บ้างไหม) ข้าพเจ้าตอบว่าเดี๋ยวผมจะถามผู้ใหญ่ให้ แล้วได้คำตอบมาว่าไม่อนุญาต
ข้าพเจ้าเดินเข้าไปตบไหล่ปลอบใจน.ช.ชู ชิน ก้วย “อั๊วอยากให้ลื้อทำใจ ยังไงก็แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว” น.ช.ชู ชิน ก้วยพูดว่า “แต่ผงไม่ใช่คงไท ไม่น่าปะหางผงเลย ขอผงพกสถางทูกก่องล่ายไม้ โทละสักไปก็ยังลี”(แต่ผมไม่ใช่คนไทย ไม่น่าประหารผมเลย ขอผมพบสถานทูตก่อนได้ไหม โทรศัพท์ไปก็ยังดี) ข้าพเจ้าตอบไปว่า “เรื่องโทรศัพท์กับเรื่องสถานทูตตัดทิ้งไปได้เลย ผู้ใหญ่คงไม่ให้แน่ ชู ชิน ก้วยต้องเข้าใจนะ ถึงชู ชิน ก้วยจะไม่ใช่คนไทย แต่เข้ามาทำผิดในเมืองไทย ภายใต้กฎหมายของไทย ก็ต้องรับโทษตามกฎหมายของไทย เวลาคนไทยไปอยู่ประเทศอื่น เมื่อทำความผิด ก็ต้องรับโทษตามกฎหมายของประเทศนั้นเช่นกัน” น.ช.ชู ชิน ก้วย จึงนั่งคอตกลงไปอีก
น.ช.บุญเกิดพูดขึ้นบ้าง “ถ้าผมไม่ร่วมมือกับพวกนี้ ผมคงไม่ต้องมาเป็นอย่างนี้หรอก ผมไม่น่าเห็นแก่เงินเลย เขาเสนอเงินค่าจ้างให้ผมดี ให้ผมช่วยขับรถส่งของให้ ทำไปทำมาไปติดต่อเอาสายสืบฝรั่งเข้า เลยพาซวยกันหมด เงินก็ไม่ได้ใช้ซักบาท แล้วยังต้องมาตายโดยขึ้นชื่อว่าเป็นนักโทษประหารอีก ถ้ามีอภินิหารช่วยผมรอดไปได้ ผมจะบวชไม่สึกเลยจริงๆ” เสียดายที่อภินิหารที่ว่าคงไม่มีมาช่วยซะแล้ว
หลังจากพิมพ์ลายนิ้วมือและตรวจสอบประวัติบุคคลเสร็จ เวรผู้ใหญ่เข้ามาทำการอ่านคำสั่งจากสำนักนายกรัฐมนตรี และให้ทั้งหมดเซ็นทราบในคำสั่งนั้น จากนั้นได้ให้ทำพินัยกรรมและเขียนจดหมายตามสะดวก น.ช.ลี ยวน กวง และน.ช.ชู ชิน ก้วย ได้เขียนจดหมายขึ้นมาคนละ 2 ฉบับ และขอร้องให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนฯช่วยเป็นธุระจัดส่งให้ถึงสถานทูตของแต่ละคน ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนฯรับปากที่จะจัดการให้เป็นที่เรียบร้อย
เสร็จแล้วพี่เลี้ยงได้ช่วยกันยกอาหารมื้อสุดท้ายมาให้นักโทษทั้งหมดกิน แต่ทุกคนต่างปฏิเสธอาหารมื้อนี้ ขอแค่น้ำเย็นกันเท่านั้น ข้าพเจ้าและพี่เลี้ยงจึงนำนักโทษประหารที่นับถือศาสนาพุทธจำนวน 4 รายเข้าไปฟังเทศนาธรรมจากพระสงฆ์ ภายในห้องเยี่ยมนักโทษสำหรับทนาย ส่วนน.ช.รอมาลี ตาเย๊ะ ได้ให้ประกอบพิธีละหมาดภายในหมวดผู้ช่วยเหลือฯ หลังฟังเทศน์เสร็จ ข้าพเจ้าได้นำน.ช.ลี ยวน กวง ไปทำการประหารก่อนเป็นรายแรก โดยให้นักโทษที่เหลือทั้ง 4 รายรออยู่ที่หมวดผู้ช่วยเหลือฯ น.ช.ลี ยวน กวง โผเข้ากอดน.ช.ชู ชิน ก้วย พร้อมกับจับมือล่ำลากัน แล้วหันไปจับมือน.ช.บุญเกิดพร้อมกับพูดว่า “อั๊วไปก่องน่อ เลี้ยวเจอกังที่ซาหวัง” (อั๊วไปก่อนนะ แล้วเจอกันที่สวรรค์)
ระหว่างที่ข้าพเจ้านำน.ช.ลี ยวน กวง เดินผ่านศาลาเฉลิมพระเกียรติ์ฯ นักข่าวจำนวนมากทั้งโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ ต่างถ่ายรูปกันวูบวาบไปหมด น.ช.ลี ยวน กวงพูดกับข้าพเจ้าว่า “ต้องยิ้งหน่อย เวลาเมียผงเห็งเข่าจะล่ายรู้ว่าผงเค่งแข็ง” (ต้องยิ้มหน่อย เวลาเมียผมเห็นข่าวจะได้รู้ว่าผมเข็มแข็ง) แล้วน.ช.ลี ยวน กวง ได้ยิ้มให้ช่างภาพและเดินพูดคุยกับข้าพเจ้าไปตลอดทาง เมื่อผ่านศาลเจ้าพ่อเจตคุปต์ข้าพเจ้าบอกให้น.ช.ลี ยวน กวง ยกมือไหว้ น.ช.ลี ยวน กวง ถามข้าพเจ้าว่า “เหมืองกักเง็กเซียงฮ่องเต้ไช่ไม้” (เหมือนกับเง็กเซียนฮ่องเต้ใช่ไหม) ข้าพเจ้าตอบว่า “ใช่คล้ายๆกันแต่คนไทยเรียกว่าเจ้าพ่อเจตคุปต์”
เมื่อถึงศาลาเย็นใจ ข้าพเจ้าได้ให้นั่งที่เก้าอี้ขาว หยิบดอกไม้ธูปเทียนส่งให้ พี่เลี้ยงอีกนายเอาผ้าดิบผูกตา แล้วช่วยกันประคองเข้าสู่ห้องประหาร โดยนำเข้าไปที่หลักประหารหลักที่หนึ่ง ทำการผูกมัดตัวให้ติดกับหลักประหาร ทำการตั้งเป้าตาวัว เอาทรายแห้งโรยรอบหลัก แล้วทำการขออโหสิกรรมอีกครั้ง น.ช.ลี ยวน กวง ได้พูดคำสุดท้ายว่า “ผงซี้เลี้ยวทังบุงให้ล่วย” (ผมตายแล้วทำบุญให้ด้วย)
พลเล็งปืนเข้าทำการบรรจุกระสุน ตั้งศูนย์ปืนให้ตรงกับเป้าตาวัว เพชฌฆาตมือหนึ่งเข้าตรวจสอบศูนย์ปืนอีกครั้ง เมื่อเห็นว่าตรงดีแล้วได้แจ้งความพร้อมต่อหัวหน้าชุดประหาร ธงแดงได้สะบัดลงทันที “ปัง ปังๆๆๆๆๆๆ” เสียงปืนดังขึ้น 8 นัด ทำการประหารเมื่อเวลา 17.50 น. เมื่อเสียงปืนสงบ ข้าพเจ้าได้ยินเสียงร้องครางและได้ยินคำพูดเป็นภาษาจีนดังแผ่วๆ ออกมาจากหลักประหาร เมื่อเข้าไปตรวจดูพบว่าน.ช.ลี ยวน กวง ยังไม่สิ้นใจดีสามารถสะบัดหัวไปมา พร้อมกับยังคงส่งเสียงครางไม่หยุด จึงแจ้งให้หัวหน้าชุดประหารทราบ
เพชฌฆาตมือหนึ่งเข้าทำหน้าที่อีกครั้ง ธงแดงได้สะบัดลง “ปัง ปังๆๆๆๆๆ” เสียงปืนดังขึ้นอีก 7 นัด รวมใช้กระสุนในการประหารน.ช.ลี ยวน กวง ทั้งสิ้น 15 นัด เมื่อครบ 3 นาทีได้เข้าไปตรวจดูอีกครั้ง ปรากฏว่าได้สิ้นใจไปแล้ว จึงนำร่างลงจากหลักประหารแล้วนำไปเก็บไว้ในห้องเล็ก จากนั้นจึงออกไปรอรับตัวน.ช.ชู ชิน ก้วย และน.ช.บุญเกิดที่ศาลาเย็นใจ
เมื่อพี่เลี้ยงที่มาเสริมกำลัง นำตัวน.ช.ชู ชิน ก้วย และน.ช.บุญเกิดมาถึง ได้ให้ทั้งคู่นั่งที่เก้าอี้ขาว ข้าพเจ้าหยิบดอกไม้ธูปเทียนส่งให้ทั้งคู่ น.ช.บุญเกิดถามว่า “เฮียเขาไปแล้วใช่ไหมครับ” ข้าพเจ้ายกมือตบหลังเบาๆแทนคำตอบ พี่เลี้ยงอีกสองนายหยิบผ้าผูกตาให้ทั้งคู่ เสร็จแล้วได้ช่วยกันประคองทั้ง 2 คนเข้าสู่ห้องประหาร โดยนำน.ช.ชู ชิน ก้วย เข้าไปผูกมัดตัวที่หลักประหารหลักที่หนึ่ง น.ช.บุญเกิดเข้าผูกมัดตัวที่หลักประหารหลักที่สอง ซึ่งน.ช.ชู ชิน ก้วย ส่งเสียงพูดตลอดว่า “อั๊วซี้เลี้ยว อั๊วซี้เลี้ยว ๆ” เมื่อผูกมัดตัวทั้งคู่เสร็จ ทำการตั้งเป้าตาวัว เอาทรายแห้งโรยรอบหลักประหาร ข้าพเจ้าได้ทำการขออโหสิกรรมทั้งคู่อีกครั้ง แล้วแจ้งให้หัวหน้าชุดประหารทราบ
พลเล็งปืนเข้ามาทำการบรรจุกระสุน ตั้งศูนย์ปืนทั้ง 2 กระบอกให้ตรงกับเป้าตาวัว เพชฌฆาตมือหนึ่งและสองเข้าตรวจสอบศูนย์ปืนอีกครั้ง เมื่อพร้อมแล้วธงแดงได้สะบัดลง “ปังๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ” เสียงปืนทั้งสองกระบอกดังรัวออกมาพร้อมกัน ใช้กระสุนสำหรับน.ช.ชู ชิน ก้วย ทั้งสิ้น 11 นัดโดยเพชฌฆาตมือหนึ่ง ใช้กระสุนสำหรับน.ช.บุญเกิดทั้งสิ้น 9 นัดโดยเพชฌฆาตมือสอง ทำการประหารทั้งคู่เมื่อเวลา 18.13 น.
เมื่อครบ 3 นาที ข้าพเจ้าและแพทย์ได้เข้าไปตรวจดูร่างนักโทษทั้งคู่ที่หลักประหาร ปรากฏว่าทั้งคู่ได้สิ้นใจไปแล้ว หัวหน้าชุดประหารจึงสั่งให้นำร่างทั้งคู่ลงจากหลักประหาร แล้วนำไปเก็บไว้ในห้องเล็ก เสร็จแล้วข้าพเจ้าจึงได้ออกไปรอรับตัวน.ช.วิเชียรและน.ช.รอมาลีที่ศาลาเย็นใจ เพื่อนำตัวเข้าทำการประหารชีวิตเป็นชุดต่อไป
23.วิเชียร แสนมหายักษ์
23.วิเชียร แสนมหายักษ์ ผมมันแค่รายย่อย
น.ช.วิเชียร แสนมหายักษ์ อายุ 42 ปี หมายเลขประจำตัว 992/41 คดีนำยาเสพติดให้โทษฯเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรค 2, 65 วรรค 2, 66 วรรค 2 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 หมายเลขคดีดำที่ 7417/40 หมายเลขคดีแดงที่ 7691/41 ศาลจังหวัดเชียงราย เหตุเกิดพื้นที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
วันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2540 เวลา 16.30 น. บริเวณจุดตรวจใกล้สะพานพรมแดนไทย ตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสภ.อ.แม่สาย และเจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ได้ทำการตั้งด่านตรวจค้นรถยนต์ที่ผ่านเข้าออกจากประเทศเพื่อนบ้าน พบรถกระบะหมายเลขทะเบียน พ-6271 จันทบุรี ขับข้ามพรมแดนเข้ามาจากประเทศพม่า จึงได้เรียกให้หยุดเพื่อทำการตรวจค้น
ภายในรถคันดังกล่าวเจ้าหน้าที่พบผู้ขับขี่ทราบชื่อในภายหลังว่านายวิเชียร แสนมหายักษ์ ขับมาลำพังเพียงคนเดียว ก่อนทำการตรวจค้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แสดงความบริสุทธิ์ให้นายวิเชียรดูจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงได้ทำการตรวจค้นภายในรถกระบะอย่างละเอียด เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเคาะที่ฝากระโปรงปิดท้ายรถ มีเสียงทึบเหมือนมีอะไรซุกซ่อนอยู่ภายใน จึงใช้ไขควงขันนอตที่ปิดฝากระโปรงรถออกดู ปรากฏว่าพบยาบ้าบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกแบบปิดเปิด ห่อด้วยกระดาษสาแล้วพันด้วยเทปกาวจำนวน 25 ห่อ ห่อละ 10 ถุง ถุงละ 200 เม็ด รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 50,000 เม็ด ซุกซ่อนอยู่ในฝากระบะปิดท้ายรถคันดังกล่าว จึงได้ยึดของกลางทั้งหมดและจับกุมตัวนายวิเชียรมาทำการสอบสวน
จากการสอบสวนนายวิเชียร ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นเจ้าของยาบ้า และไม่เคยรู้เห็นยาบ้าจำนวนดังกล่าวมาก่อน โดยให้การว่า แต่เดิมตนได้ทำไร่อยู่ที่อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ต่อมานายสมาน ไม่ทราบนามสกุล ได้มาติดต่อให้ตนไปรับเหมาก่อสร้างที่ประเทศพม่า ก่อนถูกจับกุมตัว ตนได้ยืมรถกระบะของนางพุฒผู้ว่าจ้างซึ่งเป็นชาวพม่ามาใช้ โดยนำปั๊มลมที่ใช้สำหรับยิงตะปูมาซ่อมในประเทศไทย แต่เมื่อข้ามพรมแดนไทยเข้ามาแล้ว ได้ถูกค้นรถและมีการตรวจพบยาบ้าซุกซ่อนอยู่ในฝากระบะปิดท้ายรถคันดังกล่าว ตนไม่รู้ว่าผู้ใดเป็นผู้ที่แอบซุกซ่อนยาบ้ามากับรถ และขอยืนยันว่าไม่เคยเกี่ยวข้องกับยาบ้าหรือยาเสพติดประเภทต่างๆแต่อย่างใด
หลังการสอบสวนเสร็จสิ้น ได้ขออำนาจศาลฝากขังนายวิเชียรไว้ที่เรือนจำจังหวัดเชียงราย และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มอบสำนวนการสอบสวนและพยานหลักฐานต่างๆให้อัยการ เพื่อทำการฟ้องร้องดำเนินคดีนายวิเชียรต่อศาลจังหวัดเชียงราย
ผลการพิจารณาของศาลชั้นต้น เชื่อว่านายวิเชียรได้กระทำผิดจริงตามฟ้อง โดยนำยาเสพติดเข้ามาภายในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย โดยไม่คำนึงถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับประเทศชาติ ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการบ่อนทำลายประเทศชาติอย่างร้ายแรงอีกด้วย จึงได้ตัดสินให้ประหารชีวิตนายวิเชียร โดยไม่มีการลดหย่อนโทษให้แต่อย่างใด และได้ส่งข.ช.วิเชียรมาควบคุมที่เรือนจำกลางบางขวาง
ข.ช.วิเชียรไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาล แต่เนื่องจากมีโทษขั้นสูงสุด ศาลจังหวัดเชียงรายจึงได้ส่งเรื่องมาให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาอีกครั้ง ผลการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้ตัดสินยืนตามศาลชั้นต้น น.ช.วิเชียรได้สละสิทธิ์ในการยื่นฎีกาต่อศาลเป็นนักโทษเด็ดขาด แต่ได้ทำหนังสือถวายฎีกาทูลเกล้าฯขอพระราชทานอภัยโทษตามสิทธิ์ และได้รอผลการพิจารณาอยู่ที่หมวดควบคุมนักโทษประหารแดน 1
วันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2544 หลังจากที่ข้าพเจ้าได้รับแจ้งจากฝ่ายทะเบียนประวัติผู้ต้องขังว่า ภายในวันนี้จะมีการประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาดจำนวน 5 รายแล้ว ข้าพเจ้าจึงไปจัดเตรียมสิ่งของที่จะต้องใช้ ทำการสวดมนต์ไหว้พระ บูชาท้าวเวชสุวรรณ ทำจิตใจให้สงบ รอเวลาที่จะเบิกตัวนักโทษทั้งหมดมาดำเนินการตามขั้นตอนการประหารชีวิตต่อไป
เวลา 16.10 น. เมื่อได้รับรายชื่อนักโทษที่จะต้องเข้าไปเบิกตัว และจัดแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบแล้ว ข้าพเจ้าและพี่เลี้ยงทั้งหมดเข้าไปที่หมวดควบคุมนักโทษประหารแดน 1 เมื่อเจ้าหน้าที่ประจำตึกขังไขกุญแจเปิดตึก หลังจากที่ข้าพเจ้าตอบคำถามนักโทษบางรายแล้ว ได้แยกไปเบิกตัวน.ช.ลี ยวน กวง จึงไม่เห็นอาการของน.ช.วิเชียรแต่อย่างใด ทราบจากพี่เลี้ยงที่ดูแลในภายหลังว่า น.ช.วิเชียรลุกออกมาจากห้องแต่โดยดี และพูดกับพี่เลี้ยงที่ไปรับว่า “ผมพร้อมให้มารับตัวไปประหารตั้งนานแล้วครับ”
เมื่อนำตัวนักโทษประหารทั้งหมดมาถึงหมวดผู้ช่วยเหลือฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองทะเบียนประวัติอาชญากร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนประวัติผู้ต้องขัง ได้แยกย้ายกันพิมพ์ลายนิ้วมือนักโทษทั้งหมด เมื่อมาถึงน.ช.วิเชียรสารวัตรโกมลได้ถามว่า “คุณวิเชียรเมื่อคุณถูกตัดสินประหารชีวิต ทำไมคุณถึงไม่ยื่นอุทธรณ์ต่อศาล คุณไม่กลัวถูกยิงเป้าหรือไง”
น.ช.วิเชียรตอบว่า “สารวัตรครับ ผมมันแค่รายย่อยเท่านั้น ที่เขาขนกันทีเป็นสองสามแสนเม็ดโทษยังไม่ถึงประหาร ของผมแค่ห้าหมื่นเม็ดทำไมโทษถึงประหาร ผมหมดอารมณ์เลยตัดสินใจไม่ยื่นอุทธรณ์ อยากประหารก็ประหารไป แต่ทางศาลไม่ยอม ทำการยื่นอุทธรณ์ให้ผมเอง แล้วก็ตัดสินประหารผมมาเหมือนเดิม ทีแรกผมจะไม่ยื่นทูลเกล้าฯด้วยซ้ำไป แต่ทางเรือนจำได้เป็นธุระช่วยจัดการให้ ผมต้องขอขอบพระคุณเจ้าหน้าที่ทุกท่านมาก ที่ได้ช่วยเป็นธุระจัดการหนังสือทูลเกล้าฯให้กับผม
ผมรู้ว่าไม่มีเจ้าหน้าที่คนไหนอยากให้พวกผมถูกประหาร แต่เมื่อทุกคนต้องทำตามหน้าที่ ผมและเพื่อนนักโทษประหารทุกคนไม่ถือโทษโกรธหรอกครับ ผมเคยคุยกับเพื่อนๆในห้องขัง ทุกคนต่างพูดเหมือนกันว่า จะไม่โกรธไม่อาฆาตเจ้าหน้าที่ทุกคนที่เอาพวกผมไปประหาร แต่ที่พวกผมอาฆาตและสาบแช่งกันทุกวันนี้คือ พวกเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำตัวเลวระยำทั้งหลาย โดยเฉพาะพวกสายล่อซื้อ พวกผมบางคนไม่เคยเห็นหรือแตะต้องยาเสพติดมาก่อนเลย พวกสายก็จะเข้ามาตีสนิท หาทางที่จะสร้างความไว้วางใจทุกวิถีทางให้กับคนที่ถูกเลือกเป็นเป้าหมาย บางคนคบหากันเป็นปีจนเหมือนเพื่อนรักกัน ไปไหนไปกันมีอะไรก็แบ่งกันใช้แบ่งกันกิน สามารถเข้าออกบ้านได้สะดวก หมาที่เลี้ยงไว้ยังไม่เห่าด้วยซ้ำไป
พอไอ้สายพวกนั้นเห็นว่าได้จังหวะดีแล้ว จะทำเป็นชวนเราหาเงินใช้อย่างง่ายๆและได้ครั้งละมากๆ ครั้งแรกถ้าเราปฏิเสธ สายก็จะชี้ให้เห็นความคุ้มค่าของเงินที่เราจะได้รับ และพยายามเน้นให้เห็นถึงความปลอดภัยจากฝ่ายกฎหมาย พอเราเริ่มคล้อยตามสายก็จะทำตัวอย่างให้เห็นว่าเป็นเรื่องง่ายๆ คนเราเมื่อเห็นว่ามีเงินจำนวนมากที่จะได้มาอย่างง่ายๆ โดยใช้เวลาขนส่งแค่ไม่นานก็ต้องเกิดความโลภ เมื่อเข้าทางมันแล้วสายก็จะทำเป็นว่าสามารถติดต่อลูกค้าได้แล้ว โดยสายรับหน้าที่ในการจัดหายาและจัดการแพ็คของให้เสร็จสรรพ แล้วจะมาบอกเราถึงสถานที่ส่งของ วิธีรับของ ตลอดจนความปลอดภัยของเรา
เมื่อเราไปถึงจุดนัดหมายสายก็จะทำเป็นว่าขอไปดูผู้มาติดต่อก่อน พอสายพ้นจากตัวเราไปแล้วทีนี้หละ ตำรวจที่นัดกันไว้ก็จะกรูกันเข้ามาล้อมกรอบจับกุมเราทันที แล้วจะไปสู้คดีอะไรกับเขาได้ ในเมื่อของก็อยู่ที่เรา เอาไปแถลงข่าวว่าตามมานานแล้วบ้าง รอดไปได้หลายครั้งแล้วบ้าง ได้ทั้งเงินรางวัลได้ทั้งผลงาน ส่วนคนที่ถูกจับจะเป็นตายร้ายดียังไงบ้างช่างมัน ไอ้พวกนี้นะครับ กรรมเวรจะต้องย้อนกลับมานำความฉิบหายให้พวกมันอย่างแน่นอน
ที่จริงแล้วพวกผมส่วนใหญ่ก็ทำจริงนั่นแหละครับ อันนี้ไม่ว่ากันเมื่อเขาสืบได้เขาก็ต้องจับ แต่ที่ไม่ได้ทำหรือหลอกให้ทำ ผมสงสารพวกนี้เหลือเกินครับ ตราบใดที่ยังมีเงินรางวัลนำจับเป็นของล่อใจ ผู้บริสุทธิ์อีกมากจะต้องตกเป็นเหยื่อของพวกชั่วๆพวกนี้อีกอย่างแน่นอน ผมยอมรับว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐส่วนใหญ่จะทำงานกันอย่างซื่อสัตย์ แต่ไอ้แกะดำพวกนี้แหละครับที่ทำให้คนอื่นต้องมามัวหมองไปด้วย ถ้ารัฐบาลสืบให้ลึกลงไปจริงๆ จะเห็นว่าพวกนี้แหละเป็นตัวการใหญ่ในการติดต่อซื้อขายยาเสพติด ต้องปราบไอ้พวกนี้ก่อนครับ แล้วค่อยมาปราบพวกผม
อย่างของผมนี่ผมยอมรับว่าทำจริง แต่ผมมันแค่พ่อค้ารายย่อย รายใหญ่จริงๆไม่เห็นจะโดนจับกันสักที ถ้ายิงเป้านักโทษคดียาทุกคนแล้วยาเสพติดจะหมดไปจากประเทศ พวกผมทุกคนยินดีที่จะยอมให้เอาไปประหาร แต่เชื่อผมเถอะครับ ยาเสพติดไม่มีทางหมดไปจากประเทศไทยได้หรอกครับ ตราบใดที่ไม่เล่นงานรายใหญ่ๆระดับประเทศให้หมดเสียก่อน นักการเมืองบางคนนั่นแหละตัวดี รู้ๆกันอยู่ พวกตัวใหญ่ๆในวงราชการบางคนก็ใช่ กล้าที่จะจับพวกนี้มาประหารกันบ้างหรือเปล่า แค่เอ่ยชื่อประกาศออกมาให้สังคมรับรู้ยังไม่กล้ากันเลย แล้วชาติไหนยาเสพติดจะหมดไปจากประเทศไทยได้หละครับ”
หลังจากพิมพ์ลายนิ้วมือเสร็จ เวรผู้ใหญ่ได้เข้ามาอ่านคำสั่งจากสำนักนายกรัฐมนตรี ให้นักโทษประหารทั้งหมดฟัง และให้เซ็นทราบในคำสั่งนั้น เสร็จแล้วได้เปิดโอกาสให้ทำพินัยกรรมและเขียนจดหมายตามสะดวก น.ช.วิเชียรได้พูดกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนว่า “ช่วยติดต่อให้ญาติผมมารับศพผมด้วยนะครับ ตามที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์นี้ บอกเขาว่าอย่าปล่อยให้ผมตายเป็นผีไม่มีญาติ แล้วให้ทำบุญไปให้ผมบ้าง” ข้าพเจ้าจึงถามไปว่า “แล้ววิเชียรชอบกินอะไรบ้าง ถ้ายังไงเดี๋ยวจะขอให้เจ้าหน้าที่ช่วยจัดหามาให้”
น.ช.วิเชียรตอบว่า “วันนี้คงไม่ต้องหรอกครับผมกินอะไรไม่ลง แต่ถ้าจะทำบุญไปให้ ผมกินได้ทุกอย่างที่เป็นอาหารไทยๆ ถ้าวันนี้มีเหล้าสักหน่อยได้ก็ดีผมอยากกินย้อมใจ ถ้าถามผมว่าผมกลัวตายไหม ผมขอพูดอย่างเปิดอกเลยว่ากลัวมาก มีใครบ้างครับที่ไม่กลัวตาย ผมอยากให้ตัวผมเป็นนักโทษประหารคนสุดท้าย ผมสงสารเพื่อนๆทุกคนที่มีชะตากรรมเช่นเดียวกับผม”
ข้าพเจ้าพูดว่า “แล้วผมจะจัดการทำบุญไปให้ แต่เรื่องเหล้าคงจะหาให้ไม่ได้เพราะเป็นสิ่งของต้องห้าม ผมเองก็อยากให้การประหารชีวิตหมดไปเหมือนกัน เวลาผมพาใครไปประหารก็ตาม ผมอดสงสารทุกคนไม่ได้ ทั้งที่รู้ว่าบางคนก่อคดีมาอย่างโหดเหี้ยมสมควรตาย ตราบใดที่คนเรายังไม่เลิกทำความผิด การประหารชีวิตคงจะหมดไปได้ยาก” น.ช.วิเชียรพยักหน้าพร้อมกับพูด “ครับหัวหน้าผมเข้าใจ”
พี่เลี้ยงได้ช่วยกันยกอาหารมื้อสุดท้ายมาให้นักโทษทั้งหมดกิน แต่ไม่มีใครแตะต้องอาหารแม้แต่น้อย เพียงแค่ดื่มน้ำเย็นกันเท่านั้น แล้วจึงนำนักโทษประหารที่นับถือศาสนาพุทธ ไปฟังเทศนาธรรมจากพระสงฆ์ ส่วนน.ช.รอมาลีซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม ได้เปิดโอกาสให้ทำพิธีละหมาดที่หมวดผู้ช่วยเหลือฯ
เมื่อเสร็จพิธีทางศาสนาข้าพเจ้านำน.ช.ลี ยวน กวง ไปทำการประหารก่อนเป็นรายแรก และนำน.ช.ชู ชิน ก้วย น.ช.บุญเกิดไปทำการประหารเป็นชุดที่สอง เสร็จแล้วได้แจ้งให้พี่เลี้ยงที่มาเสริมกำลัง นำน.ช.วิเชียรและน.ช.รอมาลีมาส่งที่ศาลาเย็นใจ ซึ่งข้าพเจ้ารอรับตัวนักโทษทั้งคู่อยู่ที่ศาลาแห่งนี้
เมื่อพี่นำตัวทั้งคู่มาถึง น.ช.รอมาลีได้ขอทำละหมาดอีก ซึ่งก็ได้รับอนุญาตตามคำขอ ข้าพเจ้าจึงส่งดอกไม้ธูปเทียนให้น.ช.วิเชียร พี่เลี้ยงอีกนายทำการผูกตา แล้วนำน.ช.วิเชียรเข้าสู่ห้องประหารก่อน โดยนำตัวเข้าไปที่หลักประหารหลักที่หนึ่ง ทำการมัดตัวให้ติดกับหลักประหาร ตั้งเป้าตาวัวให้ตรงกับหัวใจ เอาทรายแห้งโรยรอบหลัก เสร็จแล้วข้าพเจ้าได้บอกกับน.ช.วิเชียรว่า “รอเดี๋ยวนะ ผมออกไปรับตัวบังก่อน คงจะละหมาดเสร็จแล้ว” น.ช.วิเชียรพูดว่า “อย่านานนักนะหัวหน้าผมเสียว”
หลังจากออกไปรอน.ช.รอมาลีละหมาดประมาณ 20 นาที และได้ปะทะคารมกับผู้ยิ่งใหญ่ไปนิดหน่อย ข้าพเจ้านำตัวน.ช.รอมาลีเข้ามาที่หลักประหารหลักที่สอง เมื่อน.ช.วิเชียรได้ยินเสียงตรวนของน.ช.รอมาลี จึงส่งเสียงพูดว่า “ทำไมนานเหลือเกิน ผมเสียวหลังจนไม่รู้ว่าจะเสียวยังไงแล้ว จะฆ่าจะแกงก็รีบๆทำเถอะ มันทรมานจิตใจผมเหลือเกิน” น.ช.รอมาลีส่งเสียงตอบไปว่า “ขอโทษทีเพื่อนที่ให้รอ ผมละหมาดนานไปหน่อย” เมื่อทำการผูกมัดตัวน.ช.รอมาลีเสร็จ ตั้งเป้าตาวัวเรียบร้อย พร้อมกับเอาทรายแห้งโรยรอบหลักประหาร ข้าพเจ้าได้ทำการขออโหสิกรรมต่อนักโทษทั้งคู่อีกครั้ง แล้วจึงแจ้งให้หัวหน้าชุดประหารทราบ
พลเล็งปืนเข้ามาทำหน้าที่บรรจุกระสุน และตั้งศูนย์ปืนทั้งสองกระบอก เสร็จแล้วเพชฌฆาตมือหนึ่งและสองเข้าทำการตรวจศูนย์ปืนอีกครั้ง เมื่อเห็นว่าได้ที่ดีแล้ว หัวหน้าชุดประหารทำการสะบัดธงลงทันที “ปังๆๆๆๆๆๆๆๆ” เสียงปืนทั้งสองกระบอกดังรัวออกมาเป็นชุด ใช้กระสุนสำหรับน.ช.วิเชียรทั้งสิ้น 11 นัด ทำการประหารเมื่อเวลา 18.37 น. โดยเพชฌฆาตมือหนึ่งเป็นผู้ทำการประหาร
เมื่อครบ 3 นาที ข้าพเจ้าและแพทย์ได้เข้าไปตรวจดูร่างของนักโทษทั้งคู่ที่หลักประหาร ปรากฏว่าได้สิ้นใจไปแล้วทั้ง 2 ราย หัวหน้าชุดประหารจึงสั่งให้นำร่างทั้งคู่ลงจากหลักประหาร แล้วไปนำร่างนักโทษอีก 3 รายที่เก็บไว้ในห้องเล็ก ออกมานอนเรียงคว่ำหน้าที่หน้าหลักประหาร เสร็จแล้วเจ้าหน้าที่พิมพ์ลายนิ้วมือได้เข้ามาทำหน้าที่ต่อไป
น.ช.วิเชียร แสนมหายักษ์ อายุ 42 ปี หมายเลขประจำตัว 992/41 คดีนำยาเสพติดให้โทษฯเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรค 2, 65 วรรค 2, 66 วรรค 2 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 หมายเลขคดีดำที่ 7417/40 หมายเลขคดีแดงที่ 7691/41 ศาลจังหวัดเชียงราย เหตุเกิดพื้นที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
วันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2540 เวลา 16.30 น. บริเวณจุดตรวจใกล้สะพานพรมแดนไทย ตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสภ.อ.แม่สาย และเจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ได้ทำการตั้งด่านตรวจค้นรถยนต์ที่ผ่านเข้าออกจากประเทศเพื่อนบ้าน พบรถกระบะหมายเลขทะเบียน พ-6271 จันทบุรี ขับข้ามพรมแดนเข้ามาจากประเทศพม่า จึงได้เรียกให้หยุดเพื่อทำการตรวจค้น
ภายในรถคันดังกล่าวเจ้าหน้าที่พบผู้ขับขี่ทราบชื่อในภายหลังว่านายวิเชียร แสนมหายักษ์ ขับมาลำพังเพียงคนเดียว ก่อนทำการตรวจค้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แสดงความบริสุทธิ์ให้นายวิเชียรดูจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงได้ทำการตรวจค้นภายในรถกระบะอย่างละเอียด เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเคาะที่ฝากระโปรงปิดท้ายรถ มีเสียงทึบเหมือนมีอะไรซุกซ่อนอยู่ภายใน จึงใช้ไขควงขันนอตที่ปิดฝากระโปรงรถออกดู ปรากฏว่าพบยาบ้าบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกแบบปิดเปิด ห่อด้วยกระดาษสาแล้วพันด้วยเทปกาวจำนวน 25 ห่อ ห่อละ 10 ถุง ถุงละ 200 เม็ด รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 50,000 เม็ด ซุกซ่อนอยู่ในฝากระบะปิดท้ายรถคันดังกล่าว จึงได้ยึดของกลางทั้งหมดและจับกุมตัวนายวิเชียรมาทำการสอบสวน
จากการสอบสวนนายวิเชียร ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นเจ้าของยาบ้า และไม่เคยรู้เห็นยาบ้าจำนวนดังกล่าวมาก่อน โดยให้การว่า แต่เดิมตนได้ทำไร่อยู่ที่อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ต่อมานายสมาน ไม่ทราบนามสกุล ได้มาติดต่อให้ตนไปรับเหมาก่อสร้างที่ประเทศพม่า ก่อนถูกจับกุมตัว ตนได้ยืมรถกระบะของนางพุฒผู้ว่าจ้างซึ่งเป็นชาวพม่ามาใช้ โดยนำปั๊มลมที่ใช้สำหรับยิงตะปูมาซ่อมในประเทศไทย แต่เมื่อข้ามพรมแดนไทยเข้ามาแล้ว ได้ถูกค้นรถและมีการตรวจพบยาบ้าซุกซ่อนอยู่ในฝากระบะปิดท้ายรถคันดังกล่าว ตนไม่รู้ว่าผู้ใดเป็นผู้ที่แอบซุกซ่อนยาบ้ามากับรถ และขอยืนยันว่าไม่เคยเกี่ยวข้องกับยาบ้าหรือยาเสพติดประเภทต่างๆแต่อย่างใด
หลังการสอบสวนเสร็จสิ้น ได้ขออำนาจศาลฝากขังนายวิเชียรไว้ที่เรือนจำจังหวัดเชียงราย และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มอบสำนวนการสอบสวนและพยานหลักฐานต่างๆให้อัยการ เพื่อทำการฟ้องร้องดำเนินคดีนายวิเชียรต่อศาลจังหวัดเชียงราย
ผลการพิจารณาของศาลชั้นต้น เชื่อว่านายวิเชียรได้กระทำผิดจริงตามฟ้อง โดยนำยาเสพติดเข้ามาภายในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย โดยไม่คำนึงถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับประเทศชาติ ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการบ่อนทำลายประเทศชาติอย่างร้ายแรงอีกด้วย จึงได้ตัดสินให้ประหารชีวิตนายวิเชียร โดยไม่มีการลดหย่อนโทษให้แต่อย่างใด และได้ส่งข.ช.วิเชียรมาควบคุมที่เรือนจำกลางบางขวาง
ข.ช.วิเชียรไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาล แต่เนื่องจากมีโทษขั้นสูงสุด ศาลจังหวัดเชียงรายจึงได้ส่งเรื่องมาให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาอีกครั้ง ผลการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้ตัดสินยืนตามศาลชั้นต้น น.ช.วิเชียรได้สละสิทธิ์ในการยื่นฎีกาต่อศาลเป็นนักโทษเด็ดขาด แต่ได้ทำหนังสือถวายฎีกาทูลเกล้าฯขอพระราชทานอภัยโทษตามสิทธิ์ และได้รอผลการพิจารณาอยู่ที่หมวดควบคุมนักโทษประหารแดน 1
วันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2544 หลังจากที่ข้าพเจ้าได้รับแจ้งจากฝ่ายทะเบียนประวัติผู้ต้องขังว่า ภายในวันนี้จะมีการประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาดจำนวน 5 รายแล้ว ข้าพเจ้าจึงไปจัดเตรียมสิ่งของที่จะต้องใช้ ทำการสวดมนต์ไหว้พระ บูชาท้าวเวชสุวรรณ ทำจิตใจให้สงบ รอเวลาที่จะเบิกตัวนักโทษทั้งหมดมาดำเนินการตามขั้นตอนการประหารชีวิตต่อไป
เวลา 16.10 น. เมื่อได้รับรายชื่อนักโทษที่จะต้องเข้าไปเบิกตัว และจัดแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบแล้ว ข้าพเจ้าและพี่เลี้ยงทั้งหมดเข้าไปที่หมวดควบคุมนักโทษประหารแดน 1 เมื่อเจ้าหน้าที่ประจำตึกขังไขกุญแจเปิดตึก หลังจากที่ข้าพเจ้าตอบคำถามนักโทษบางรายแล้ว ได้แยกไปเบิกตัวน.ช.ลี ยวน กวง จึงไม่เห็นอาการของน.ช.วิเชียรแต่อย่างใด ทราบจากพี่เลี้ยงที่ดูแลในภายหลังว่า น.ช.วิเชียรลุกออกมาจากห้องแต่โดยดี และพูดกับพี่เลี้ยงที่ไปรับว่า “ผมพร้อมให้มารับตัวไปประหารตั้งนานแล้วครับ”
เมื่อนำตัวนักโทษประหารทั้งหมดมาถึงหมวดผู้ช่วยเหลือฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองทะเบียนประวัติอาชญากร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนประวัติผู้ต้องขัง ได้แยกย้ายกันพิมพ์ลายนิ้วมือนักโทษทั้งหมด เมื่อมาถึงน.ช.วิเชียรสารวัตรโกมลได้ถามว่า “คุณวิเชียรเมื่อคุณถูกตัดสินประหารชีวิต ทำไมคุณถึงไม่ยื่นอุทธรณ์ต่อศาล คุณไม่กลัวถูกยิงเป้าหรือไง”
น.ช.วิเชียรตอบว่า “สารวัตรครับ ผมมันแค่รายย่อยเท่านั้น ที่เขาขนกันทีเป็นสองสามแสนเม็ดโทษยังไม่ถึงประหาร ของผมแค่ห้าหมื่นเม็ดทำไมโทษถึงประหาร ผมหมดอารมณ์เลยตัดสินใจไม่ยื่นอุทธรณ์ อยากประหารก็ประหารไป แต่ทางศาลไม่ยอม ทำการยื่นอุทธรณ์ให้ผมเอง แล้วก็ตัดสินประหารผมมาเหมือนเดิม ทีแรกผมจะไม่ยื่นทูลเกล้าฯด้วยซ้ำไป แต่ทางเรือนจำได้เป็นธุระช่วยจัดการให้ ผมต้องขอขอบพระคุณเจ้าหน้าที่ทุกท่านมาก ที่ได้ช่วยเป็นธุระจัดการหนังสือทูลเกล้าฯให้กับผม
ผมรู้ว่าไม่มีเจ้าหน้าที่คนไหนอยากให้พวกผมถูกประหาร แต่เมื่อทุกคนต้องทำตามหน้าที่ ผมและเพื่อนนักโทษประหารทุกคนไม่ถือโทษโกรธหรอกครับ ผมเคยคุยกับเพื่อนๆในห้องขัง ทุกคนต่างพูดเหมือนกันว่า จะไม่โกรธไม่อาฆาตเจ้าหน้าที่ทุกคนที่เอาพวกผมไปประหาร แต่ที่พวกผมอาฆาตและสาบแช่งกันทุกวันนี้คือ พวกเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำตัวเลวระยำทั้งหลาย โดยเฉพาะพวกสายล่อซื้อ พวกผมบางคนไม่เคยเห็นหรือแตะต้องยาเสพติดมาก่อนเลย พวกสายก็จะเข้ามาตีสนิท หาทางที่จะสร้างความไว้วางใจทุกวิถีทางให้กับคนที่ถูกเลือกเป็นเป้าหมาย บางคนคบหากันเป็นปีจนเหมือนเพื่อนรักกัน ไปไหนไปกันมีอะไรก็แบ่งกันใช้แบ่งกันกิน สามารถเข้าออกบ้านได้สะดวก หมาที่เลี้ยงไว้ยังไม่เห่าด้วยซ้ำไป
พอไอ้สายพวกนั้นเห็นว่าได้จังหวะดีแล้ว จะทำเป็นชวนเราหาเงินใช้อย่างง่ายๆและได้ครั้งละมากๆ ครั้งแรกถ้าเราปฏิเสธ สายก็จะชี้ให้เห็นความคุ้มค่าของเงินที่เราจะได้รับ และพยายามเน้นให้เห็นถึงความปลอดภัยจากฝ่ายกฎหมาย พอเราเริ่มคล้อยตามสายก็จะทำตัวอย่างให้เห็นว่าเป็นเรื่องง่ายๆ คนเราเมื่อเห็นว่ามีเงินจำนวนมากที่จะได้มาอย่างง่ายๆ โดยใช้เวลาขนส่งแค่ไม่นานก็ต้องเกิดความโลภ เมื่อเข้าทางมันแล้วสายก็จะทำเป็นว่าสามารถติดต่อลูกค้าได้แล้ว โดยสายรับหน้าที่ในการจัดหายาและจัดการแพ็คของให้เสร็จสรรพ แล้วจะมาบอกเราถึงสถานที่ส่งของ วิธีรับของ ตลอดจนความปลอดภัยของเรา
เมื่อเราไปถึงจุดนัดหมายสายก็จะทำเป็นว่าขอไปดูผู้มาติดต่อก่อน พอสายพ้นจากตัวเราไปแล้วทีนี้หละ ตำรวจที่นัดกันไว้ก็จะกรูกันเข้ามาล้อมกรอบจับกุมเราทันที แล้วจะไปสู้คดีอะไรกับเขาได้ ในเมื่อของก็อยู่ที่เรา เอาไปแถลงข่าวว่าตามมานานแล้วบ้าง รอดไปได้หลายครั้งแล้วบ้าง ได้ทั้งเงินรางวัลได้ทั้งผลงาน ส่วนคนที่ถูกจับจะเป็นตายร้ายดียังไงบ้างช่างมัน ไอ้พวกนี้นะครับ กรรมเวรจะต้องย้อนกลับมานำความฉิบหายให้พวกมันอย่างแน่นอน
ที่จริงแล้วพวกผมส่วนใหญ่ก็ทำจริงนั่นแหละครับ อันนี้ไม่ว่ากันเมื่อเขาสืบได้เขาก็ต้องจับ แต่ที่ไม่ได้ทำหรือหลอกให้ทำ ผมสงสารพวกนี้เหลือเกินครับ ตราบใดที่ยังมีเงินรางวัลนำจับเป็นของล่อใจ ผู้บริสุทธิ์อีกมากจะต้องตกเป็นเหยื่อของพวกชั่วๆพวกนี้อีกอย่างแน่นอน ผมยอมรับว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐส่วนใหญ่จะทำงานกันอย่างซื่อสัตย์ แต่ไอ้แกะดำพวกนี้แหละครับที่ทำให้คนอื่นต้องมามัวหมองไปด้วย ถ้ารัฐบาลสืบให้ลึกลงไปจริงๆ จะเห็นว่าพวกนี้แหละเป็นตัวการใหญ่ในการติดต่อซื้อขายยาเสพติด ต้องปราบไอ้พวกนี้ก่อนครับ แล้วค่อยมาปราบพวกผม
อย่างของผมนี่ผมยอมรับว่าทำจริง แต่ผมมันแค่พ่อค้ารายย่อย รายใหญ่จริงๆไม่เห็นจะโดนจับกันสักที ถ้ายิงเป้านักโทษคดียาทุกคนแล้วยาเสพติดจะหมดไปจากประเทศ พวกผมทุกคนยินดีที่จะยอมให้เอาไปประหาร แต่เชื่อผมเถอะครับ ยาเสพติดไม่มีทางหมดไปจากประเทศไทยได้หรอกครับ ตราบใดที่ไม่เล่นงานรายใหญ่ๆระดับประเทศให้หมดเสียก่อน นักการเมืองบางคนนั่นแหละตัวดี รู้ๆกันอยู่ พวกตัวใหญ่ๆในวงราชการบางคนก็ใช่ กล้าที่จะจับพวกนี้มาประหารกันบ้างหรือเปล่า แค่เอ่ยชื่อประกาศออกมาให้สังคมรับรู้ยังไม่กล้ากันเลย แล้วชาติไหนยาเสพติดจะหมดไปจากประเทศไทยได้หละครับ”
หลังจากพิมพ์ลายนิ้วมือเสร็จ เวรผู้ใหญ่ได้เข้ามาอ่านคำสั่งจากสำนักนายกรัฐมนตรี ให้นักโทษประหารทั้งหมดฟัง และให้เซ็นทราบในคำสั่งนั้น เสร็จแล้วได้เปิดโอกาสให้ทำพินัยกรรมและเขียนจดหมายตามสะดวก น.ช.วิเชียรได้พูดกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนว่า “ช่วยติดต่อให้ญาติผมมารับศพผมด้วยนะครับ ตามที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์นี้ บอกเขาว่าอย่าปล่อยให้ผมตายเป็นผีไม่มีญาติ แล้วให้ทำบุญไปให้ผมบ้าง” ข้าพเจ้าจึงถามไปว่า “แล้ววิเชียรชอบกินอะไรบ้าง ถ้ายังไงเดี๋ยวจะขอให้เจ้าหน้าที่ช่วยจัดหามาให้”
น.ช.วิเชียรตอบว่า “วันนี้คงไม่ต้องหรอกครับผมกินอะไรไม่ลง แต่ถ้าจะทำบุญไปให้ ผมกินได้ทุกอย่างที่เป็นอาหารไทยๆ ถ้าวันนี้มีเหล้าสักหน่อยได้ก็ดีผมอยากกินย้อมใจ ถ้าถามผมว่าผมกลัวตายไหม ผมขอพูดอย่างเปิดอกเลยว่ากลัวมาก มีใครบ้างครับที่ไม่กลัวตาย ผมอยากให้ตัวผมเป็นนักโทษประหารคนสุดท้าย ผมสงสารเพื่อนๆทุกคนที่มีชะตากรรมเช่นเดียวกับผม”
ข้าพเจ้าพูดว่า “แล้วผมจะจัดการทำบุญไปให้ แต่เรื่องเหล้าคงจะหาให้ไม่ได้เพราะเป็นสิ่งของต้องห้าม ผมเองก็อยากให้การประหารชีวิตหมดไปเหมือนกัน เวลาผมพาใครไปประหารก็ตาม ผมอดสงสารทุกคนไม่ได้ ทั้งที่รู้ว่าบางคนก่อคดีมาอย่างโหดเหี้ยมสมควรตาย ตราบใดที่คนเรายังไม่เลิกทำความผิด การประหารชีวิตคงจะหมดไปได้ยาก” น.ช.วิเชียรพยักหน้าพร้อมกับพูด “ครับหัวหน้าผมเข้าใจ”
พี่เลี้ยงได้ช่วยกันยกอาหารมื้อสุดท้ายมาให้นักโทษทั้งหมดกิน แต่ไม่มีใครแตะต้องอาหารแม้แต่น้อย เพียงแค่ดื่มน้ำเย็นกันเท่านั้น แล้วจึงนำนักโทษประหารที่นับถือศาสนาพุทธ ไปฟังเทศนาธรรมจากพระสงฆ์ ส่วนน.ช.รอมาลีซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม ได้เปิดโอกาสให้ทำพิธีละหมาดที่หมวดผู้ช่วยเหลือฯ
เมื่อเสร็จพิธีทางศาสนาข้าพเจ้านำน.ช.ลี ยวน กวง ไปทำการประหารก่อนเป็นรายแรก และนำน.ช.ชู ชิน ก้วย น.ช.บุญเกิดไปทำการประหารเป็นชุดที่สอง เสร็จแล้วได้แจ้งให้พี่เลี้ยงที่มาเสริมกำลัง นำน.ช.วิเชียรและน.ช.รอมาลีมาส่งที่ศาลาเย็นใจ ซึ่งข้าพเจ้ารอรับตัวนักโทษทั้งคู่อยู่ที่ศาลาแห่งนี้
เมื่อพี่นำตัวทั้งคู่มาถึง น.ช.รอมาลีได้ขอทำละหมาดอีก ซึ่งก็ได้รับอนุญาตตามคำขอ ข้าพเจ้าจึงส่งดอกไม้ธูปเทียนให้น.ช.วิเชียร พี่เลี้ยงอีกนายทำการผูกตา แล้วนำน.ช.วิเชียรเข้าสู่ห้องประหารก่อน โดยนำตัวเข้าไปที่หลักประหารหลักที่หนึ่ง ทำการมัดตัวให้ติดกับหลักประหาร ตั้งเป้าตาวัวให้ตรงกับหัวใจ เอาทรายแห้งโรยรอบหลัก เสร็จแล้วข้าพเจ้าได้บอกกับน.ช.วิเชียรว่า “รอเดี๋ยวนะ ผมออกไปรับตัวบังก่อน คงจะละหมาดเสร็จแล้ว” น.ช.วิเชียรพูดว่า “อย่านานนักนะหัวหน้าผมเสียว”
หลังจากออกไปรอน.ช.รอมาลีละหมาดประมาณ 20 นาที และได้ปะทะคารมกับผู้ยิ่งใหญ่ไปนิดหน่อย ข้าพเจ้านำตัวน.ช.รอมาลีเข้ามาที่หลักประหารหลักที่สอง เมื่อน.ช.วิเชียรได้ยินเสียงตรวนของน.ช.รอมาลี จึงส่งเสียงพูดว่า “ทำไมนานเหลือเกิน ผมเสียวหลังจนไม่รู้ว่าจะเสียวยังไงแล้ว จะฆ่าจะแกงก็รีบๆทำเถอะ มันทรมานจิตใจผมเหลือเกิน” น.ช.รอมาลีส่งเสียงตอบไปว่า “ขอโทษทีเพื่อนที่ให้รอ ผมละหมาดนานไปหน่อย” เมื่อทำการผูกมัดตัวน.ช.รอมาลีเสร็จ ตั้งเป้าตาวัวเรียบร้อย พร้อมกับเอาทรายแห้งโรยรอบหลักประหาร ข้าพเจ้าได้ทำการขออโหสิกรรมต่อนักโทษทั้งคู่อีกครั้ง แล้วจึงแจ้งให้หัวหน้าชุดประหารทราบ
พลเล็งปืนเข้ามาทำหน้าที่บรรจุกระสุน และตั้งศูนย์ปืนทั้งสองกระบอก เสร็จแล้วเพชฌฆาตมือหนึ่งและสองเข้าทำการตรวจศูนย์ปืนอีกครั้ง เมื่อเห็นว่าได้ที่ดีแล้ว หัวหน้าชุดประหารทำการสะบัดธงลงทันที “ปังๆๆๆๆๆๆๆๆ” เสียงปืนทั้งสองกระบอกดังรัวออกมาเป็นชุด ใช้กระสุนสำหรับน.ช.วิเชียรทั้งสิ้น 11 นัด ทำการประหารเมื่อเวลา 18.37 น. โดยเพชฌฆาตมือหนึ่งเป็นผู้ทำการประหาร
เมื่อครบ 3 นาที ข้าพเจ้าและแพทย์ได้เข้าไปตรวจดูร่างของนักโทษทั้งคู่ที่หลักประหาร ปรากฏว่าได้สิ้นใจไปแล้วทั้ง 2 ราย หัวหน้าชุดประหารจึงสั่งให้นำร่างทั้งคู่ลงจากหลักประหาร แล้วไปนำร่างนักโทษอีก 3 รายที่เก็บไว้ในห้องเล็ก ออกมานอนเรียงคว่ำหน้าที่หน้าหลักประหาร เสร็จแล้วเจ้าหน้าที่พิมพ์ลายนิ้วมือได้เข้ามาทำหน้าที่ต่อไป
ฎีกาคลาสสิค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1524/2551
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดอาญา ได้พบเห็น ส. กับพวกเล่นการพนันชนไก่อันเป็นความผิดอาญา จำเลยมีหน้าที่ต้องทำการจับกุมผู้กระทำความผิด แต่กลับไม่ทำการจับกุมและเรียกรับเงินจำนวน 1,500 บาท จาก ส. เพื่อจะไม่จับกุมตามหน้าที่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 149
( คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3470/2543 เมื่อเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วก็ไม่จำต้องปรับบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก )
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2527
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาและจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายในกรณีที่มีผู้กระทำผิดซึ่งหน้าแม้ในที่รโหฐานจำเลยก็มีอำนาจจับโดยไม่ต้องมีทั้งหมายจับและหมายค้นดังนั้นการที่จำเลยเข้าไปในห้องเล่นการพนันพบผู้เล่นกำลังเล่นพนันเอาทรัพย์สินกันแล้วไม่ทำการจับกุมย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการกรมตำรวจจำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7836 - 7837/2544
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมผู้กระทำผิดแต่จำเลยกลับเป็นผู้ร่วมกระทำผิดด้วยการร่วมเล่นการพนันไพ่รัมมี่ แล้วจำเลยไม่จับกุมผู้ร่วมเล่นไพ่รัมมี่ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร่วมเล่นการพนันหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ การกระทำดังกล่าวของจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2532
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่เกิดเหตุได้ พบกลุ่มเยาวชนกำลังขัดขวางการปฏิบัติการตาม หน้าที่ และข่มขืนใจเจ้าพนักงานสรรพสามิตให้ปล่อยตัว อ. ผู้ต้องหา ให้คืนสุราแช่ของกลาง ให้มอบบันทึกการจับกุม และการตรวจ ค้นยึดสุราแช่จำเลยที่ 1มิได้ทำการจับกุมในทันที ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เกิด เหตุการณ์รุนแรงขึ้นนั้น ยังถือ ไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ ละเว้นการปฏิบัติการตาม หน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดอันเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จำเลยที่ 1 กล่าวแก่เจ้าพนักงานสรรพสามิตซึ่ง ทำการจับกุม อ.ผู้ต้องหาว่า "โคตรแม่มึงเวลาเขาลักขโมยควายไป 2-3 วัน ตาม หาไม่เจอเวลามีสุราทำไมจับเร็วนัก พวกคุณมาสร้างปัญหา คุณไม่ต้องมามองหน้าผมหรอก คุณเป็นหัวหน้าส่วนกระจอก ๆ ผมไม่กลัวคุณหรอก ใหญ่กว่านี้ผมก็ไม่กลัว" เป็นการพูดเปรย ขึ้นมาเพื่อประชดประชันว่า ทำไมเรื่องสุราจับเร็วนัก และเป็นถ้อยคำที่ไม่สุภาพ มิใช่เป็นการสบประมาทเหยียดหยามดูหมิ่น เจ้าพนักงานผู้กระทำการตาม หน้าที่.
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดอาญา ได้พบเห็น ส. กับพวกเล่นการพนันชนไก่อันเป็นความผิดอาญา จำเลยมีหน้าที่ต้องทำการจับกุมผู้กระทำความผิด แต่กลับไม่ทำการจับกุมและเรียกรับเงินจำนวน 1,500 บาท จาก ส. เพื่อจะไม่จับกุมตามหน้าที่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 149
( คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3470/2543 เมื่อเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วก็ไม่จำต้องปรับบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก )
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2527
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาและจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายในกรณีที่มีผู้กระทำผิดซึ่งหน้าแม้ในที่รโหฐานจำเลยก็มีอำนาจจับโดยไม่ต้องมีทั้งหมายจับและหมายค้นดังนั้นการที่จำเลยเข้าไปในห้องเล่นการพนันพบผู้เล่นกำลังเล่นพนันเอาทรัพย์สินกันแล้วไม่ทำการจับกุมย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการกรมตำรวจจำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7836 - 7837/2544
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมผู้กระทำผิดแต่จำเลยกลับเป็นผู้ร่วมกระทำผิดด้วยการร่วมเล่นการพนันไพ่รัมมี่ แล้วจำเลยไม่จับกุมผู้ร่วมเล่นไพ่รัมมี่ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร่วมเล่นการพนันหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ การกระทำดังกล่าวของจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2532
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่เกิดเหตุได้ พบกลุ่มเยาวชนกำลังขัดขวางการปฏิบัติการตาม หน้าที่ และข่มขืนใจเจ้าพนักงานสรรพสามิตให้ปล่อยตัว อ. ผู้ต้องหา ให้คืนสุราแช่ของกลาง ให้มอบบันทึกการจับกุม และการตรวจ ค้นยึดสุราแช่จำเลยที่ 1มิได้ทำการจับกุมในทันที ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เกิด เหตุการณ์รุนแรงขึ้นนั้น ยังถือ ไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ ละเว้นการปฏิบัติการตาม หน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดอันเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จำเลยที่ 1 กล่าวแก่เจ้าพนักงานสรรพสามิตซึ่ง ทำการจับกุม อ.ผู้ต้องหาว่า "โคตรแม่มึงเวลาเขาลักขโมยควายไป 2-3 วัน ตาม หาไม่เจอเวลามีสุราทำไมจับเร็วนัก พวกคุณมาสร้างปัญหา คุณไม่ต้องมามองหน้าผมหรอก คุณเป็นหัวหน้าส่วนกระจอก ๆ ผมไม่กลัวคุณหรอก ใหญ่กว่านี้ผมก็ไม่กลัว" เป็นการพูดเปรย ขึ้นมาเพื่อประชดประชันว่า ทำไมเรื่องสุราจับเร็วนัก และเป็นถ้อยคำที่ไม่สุภาพ มิใช่เป็นการสบประมาทเหยียดหยามดูหมิ่น เจ้าพนักงานผู้กระทำการตาม หน้าที่.
วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2558
การพรากเป็นคนละอย่างกับการพูดชักชวน
การพรากเป็นคนละอย่างกับการพูดชักชวน และการพรากมีความหมายคนละอย่างกับการพูดและไม่ใช้การพูด หากพูดแต่ไม่ได้พราก ย่อมไม่เป็นการพรากเพราะการพรากจะต้องมีการกระทำยิ่งกว่าคำพูด" อ้างอิงจาก11196/2555 มาบ้านเองไม่พรากพาเข้าห้องนอนชั้นล่างพรากแล้ว5484/2555 ยกเว้นข้อเท็จจริงที่แตกต่าง
ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11196/2555 พนักงานอัยการจังหวัดนครราชสีมา โจทก์
นายธนานันท์ วัดครบุรี จำเลย
ป.อ. มาตรา 317
การพรากเป็นคนละอย่างกับการพูดชักชวนและการพรากมีความหมายคนละอย่างกับการพูดและไม่ใช่การพูด หากจำเลยพูดแต่ไม่ได้พรากหรือพาผู้เสียหายไปจำเลยย่อมไม่ผิดฐานพรากผู้เยาว์ เพราะการพรากผู้เยาว์จะต้องมีการกระทำที่ยิ่งกว่าการพูดชักชวน เนื่องจากการพูดชักชวน เด็กหรือผู้เยาว์ตัดสินใจไม่ไปตามที่พูดชักชวนได้ จนกว่าจะมีการพาเด็กหรือผู้เยาว์ไปตามทิศทางที่พูดชักชวนไว้ จึงจะมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ได้ สอดคล้องกับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานที่ให้คำนิยามคำว่า พราก หมายถึงต้องมีการกระทำที่พาไป ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยพูดชักชวนผู้เสียหายที่ 1 จนผู้เสียหายที่ 1 ยอมออกจากบ้านมาหาจำเลย การกระทำของจำเลยเป็นการพรากผู้เยาว์แล้ว ข้อเท็จจริงได้ความเพียงจำเลยพูดชักชวนผู้เสียหายที่ 1 จนผู้เสียหายที่ 1 ใจอ่อนยอมมาหาจำเลยเองโดยจำเลยไม่ได้ไปรับหรือพาผู้เสียหายที่ 1 ออกมาจากบ้าน การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์
________________________________
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 277, 317
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสอง 317 วรรคท้าย เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 13 ปี จำคุก 7 ปี ฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร รวมสองกระทง จำคุกกระทงละ 5 ปี รวมจำคุก 17 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 8 ปี 6 เดือน
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 13 ปี จำคุก 7 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 ปี 6 เดือน ให้ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาพรากผู้เยาว์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกา
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยพูดชักชวนผู้เสียหายที่ 1 จนผู้เสียหายที่ 1 ยอมออกจากบ้านมาหาจำเลย การกระทำของจำเลยเป็นการพรากผู้เยาว์แล้ว เห็นว่า การพรากเป็นคนละอย่างกับการพูดชักชวนและการพรากมีความหมายคนละอย่างกับการพูดและไม่ใช่การพูด หากจำเลยพูดแต่ไม่ได้พรากหรือพาผู้เสียหายไปจำเลยย่อมไม่ผิดฐานพรากผู้เยาว์ เพราะการพรากผู้เยาว์จะต้องมีการกระทำที่ยิ่งกว่าการพูดชักชวน เนื่องจากการพูดชักชวน เด็กหรือผู้เยาว์ตัดสินใจไม่ไปตามที่พูดชักชวนได้ จนกว่าจะมีการพาเด็กหรือผู้เยาว์ไปตามทิศทางที่พูดชักชวนไว้ จึงจะมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ได้ สอดคล้องกับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานที่ให้คำนิยามคำว่า พราก หมายถึงต้องมีการกระทำที่พาไป ข้อเท็จจริงได้ความเพียงจำเลยพูดชักชวนผู้เสียหายที่ 1 จนผู้เสียหายที่ 1 ใจอ่อนยอมมาหาจำเลยเองโดยจำเลยไม่ได้ไปรับหรือพาผู้เสียหายที่ 1 ออกมาจากบ้าน การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตามฟ้อง ฎีกาโจทก์ในปัญหานี้ฟังไม่ขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ยกฟ้องโจทก์ข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 13 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสอง (เดิม) เสียด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3
ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11196/2555 พนักงานอัยการจังหวัดนครราชสีมา โจทก์
นายธนานันท์ วัดครบุรี จำเลย
ป.อ. มาตรา 317
การพรากเป็นคนละอย่างกับการพูดชักชวนและการพรากมีความหมายคนละอย่างกับการพูดและไม่ใช่การพูด หากจำเลยพูดแต่ไม่ได้พรากหรือพาผู้เสียหายไปจำเลยย่อมไม่ผิดฐานพรากผู้เยาว์ เพราะการพรากผู้เยาว์จะต้องมีการกระทำที่ยิ่งกว่าการพูดชักชวน เนื่องจากการพูดชักชวน เด็กหรือผู้เยาว์ตัดสินใจไม่ไปตามที่พูดชักชวนได้ จนกว่าจะมีการพาเด็กหรือผู้เยาว์ไปตามทิศทางที่พูดชักชวนไว้ จึงจะมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ได้ สอดคล้องกับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานที่ให้คำนิยามคำว่า พราก หมายถึงต้องมีการกระทำที่พาไป ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยพูดชักชวนผู้เสียหายที่ 1 จนผู้เสียหายที่ 1 ยอมออกจากบ้านมาหาจำเลย การกระทำของจำเลยเป็นการพรากผู้เยาว์แล้ว ข้อเท็จจริงได้ความเพียงจำเลยพูดชักชวนผู้เสียหายที่ 1 จนผู้เสียหายที่ 1 ใจอ่อนยอมมาหาจำเลยเองโดยจำเลยไม่ได้ไปรับหรือพาผู้เสียหายที่ 1 ออกมาจากบ้าน การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์
________________________________
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 277, 317
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสอง 317 วรรคท้าย เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 13 ปี จำคุก 7 ปี ฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร รวมสองกระทง จำคุกกระทงละ 5 ปี รวมจำคุก 17 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 8 ปี 6 เดือน
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 13 ปี จำคุก 7 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 ปี 6 เดือน ให้ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาพรากผู้เยาว์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกา
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยพูดชักชวนผู้เสียหายที่ 1 จนผู้เสียหายที่ 1 ยอมออกจากบ้านมาหาจำเลย การกระทำของจำเลยเป็นการพรากผู้เยาว์แล้ว เห็นว่า การพรากเป็นคนละอย่างกับการพูดชักชวนและการพรากมีความหมายคนละอย่างกับการพูดและไม่ใช่การพูด หากจำเลยพูดแต่ไม่ได้พรากหรือพาผู้เสียหายไปจำเลยย่อมไม่ผิดฐานพรากผู้เยาว์ เพราะการพรากผู้เยาว์จะต้องมีการกระทำที่ยิ่งกว่าการพูดชักชวน เนื่องจากการพูดชักชวน เด็กหรือผู้เยาว์ตัดสินใจไม่ไปตามที่พูดชักชวนได้ จนกว่าจะมีการพาเด็กหรือผู้เยาว์ไปตามทิศทางที่พูดชักชวนไว้ จึงจะมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ได้ สอดคล้องกับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานที่ให้คำนิยามคำว่า พราก หมายถึงต้องมีการกระทำที่พาไป ข้อเท็จจริงได้ความเพียงจำเลยพูดชักชวนผู้เสียหายที่ 1 จนผู้เสียหายที่ 1 ใจอ่อนยอมมาหาจำเลยเองโดยจำเลยไม่ได้ไปรับหรือพาผู้เสียหายที่ 1 ออกมาจากบ้าน การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตามฟ้อง ฎีกาโจทก์ในปัญหานี้ฟังไม่ขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ยกฟ้องโจทก์ข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 13 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสอง (เดิม) เสียด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3
จราจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5942/2548
พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด โจทก์
นายเอกรินทร์ จินดาสมัย จำเลย
จำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สี่ร้อยบาทถึงหนึ่งพันบาท และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157 ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษเบากว่าความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 เพื่อให้ความผิดทั้งหมดรวมทั้งความผิดที่มีโทษหนักกว่าเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ได้ แม้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับจำเลยไปแล้วในความผิดฐานดังกล่าวโดยความยินยอมของผู้เสียหายเพราะผู้เสียหายมิได้แจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ด้วย การเปรียบเทียบปรับก็ไม่ชอบ คดีอาญาไม่เลิกกัน ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ได้
_______________________________
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2545 เวลากลางวัน จำเลยขับรถยนต์หมายเลขทะเบียน 3 ง ? 2796 กรุงเทพมหานคร ไปตามถนนทางด่วนขั้นที่ 2 จากทางด้านด่านถนนจันทร์ มุ่งหน้าไปลงถนนพระราม 9 โดยความประมาทด้วยความเร็วสูงชนท้ายรถยนต์หมายเลขทะเบียน บต ? 3958 ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีนายโสภา วงษ์ฟ้า เป็นผู้ขับอยู่ข้างหน้าในช่องทางเดียวกัน เป็นเหตุให้นายโสภาได้รับอันตรายแก่กาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ปรับ 1,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงปรับ 500 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยขับรถยนต์หมายเลขทะเบียน 3 ง ? 2796 กรุงเทพมหานคร โดยประมาท ชนท้ายรถยนต์หมายเลขทะเบียน บต ? 3958 ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีนายโสภา วงษ์ฟ้า ผู้เสียหายเป็นผู้ขับอยู่ข้างหน้าในช่องทางเดียวกัน เป็นเหตุให้รถยนต์ของผู้เสียหายได้รับความเสียหายและผู้เสียหายรับอันตรายแก่กาย พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย จำเลยให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับจำเลยในความผิดข้อหาดังกล่าวโดยผู้เสียหายและจำเลยยินยอม ปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยมีว่าคดีอาญาเลิกกันแล้วหรือไม่ เห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สี่ร้อยบาทถึงหนึ่งพันบาท และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจเปรียบเทียบจำเลยในความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157 ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษเบากว่าความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 เพื่อให้ความผิดทั้งหมดรวมทั้งความผิดที่มีโทษหนักกว่าเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ได้ แม้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับจำเลยไปแล้วในความผิดฐานดังกล่าวโดยความยินยอมของผู้เสียหายเพราะผู้เสียหายมิได้แจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ด้วย ก็ตาม การเปรียบเทียบปรับย่อมไม่ชอบ คดีอาญาไม่เลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยนั้น ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น”
พิพากษายืน
พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด โจทก์
นายเอกรินทร์ จินดาสมัย จำเลย
จำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สี่ร้อยบาทถึงหนึ่งพันบาท และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157 ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษเบากว่าความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 เพื่อให้ความผิดทั้งหมดรวมทั้งความผิดที่มีโทษหนักกว่าเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ได้ แม้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับจำเลยไปแล้วในความผิดฐานดังกล่าวโดยความยินยอมของผู้เสียหายเพราะผู้เสียหายมิได้แจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ด้วย การเปรียบเทียบปรับก็ไม่ชอบ คดีอาญาไม่เลิกกัน ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ได้
_______________________________
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2545 เวลากลางวัน จำเลยขับรถยนต์หมายเลขทะเบียน 3 ง ? 2796 กรุงเทพมหานคร ไปตามถนนทางด่วนขั้นที่ 2 จากทางด้านด่านถนนจันทร์ มุ่งหน้าไปลงถนนพระราม 9 โดยความประมาทด้วยความเร็วสูงชนท้ายรถยนต์หมายเลขทะเบียน บต ? 3958 ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีนายโสภา วงษ์ฟ้า เป็นผู้ขับอยู่ข้างหน้าในช่องทางเดียวกัน เป็นเหตุให้นายโสภาได้รับอันตรายแก่กาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ปรับ 1,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงปรับ 500 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยขับรถยนต์หมายเลขทะเบียน 3 ง ? 2796 กรุงเทพมหานคร โดยประมาท ชนท้ายรถยนต์หมายเลขทะเบียน บต ? 3958 ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีนายโสภา วงษ์ฟ้า ผู้เสียหายเป็นผู้ขับอยู่ข้างหน้าในช่องทางเดียวกัน เป็นเหตุให้รถยนต์ของผู้เสียหายได้รับความเสียหายและผู้เสียหายรับอันตรายแก่กาย พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย จำเลยให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับจำเลยในความผิดข้อหาดังกล่าวโดยผู้เสียหายและจำเลยยินยอม ปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยมีว่าคดีอาญาเลิกกันแล้วหรือไม่ เห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สี่ร้อยบาทถึงหนึ่งพันบาท และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจเปรียบเทียบจำเลยในความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157 ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษเบากว่าความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 เพื่อให้ความผิดทั้งหมดรวมทั้งความผิดที่มีโทษหนักกว่าเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ได้ แม้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับจำเลยไปแล้วในความผิดฐานดังกล่าวโดยความยินยอมของผู้เสียหายเพราะผู้เสียหายมิได้แจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ด้วย ก็ตาม การเปรียบเทียบปรับย่อมไม่ชอบ คดีอาญาไม่เลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยนั้น ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น”
พิพากษายืน
ยาเสพติดให้โทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๙๗๕/๒๕๔๓
ป.วิ.อ. มาตรา ๓๙(๔)
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒มาตรา ๑๕, ๖๗
***เมทแอมเฟตามีนจำนวน ๑๗๔ เม็ด ในคดีนี้ที่ยึดได้จากกระเป๋าผ้าลักษณะคล้ายถุงย่ามที่จำเลยสะพายอยู่เป็นเมทแอมเฟตามีนที่ เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในการตรวจค้นคราวเดียวกันกับเมทแอมเฟตามีน จำนวน ๕ เม็ดที่ค้นได้จากห้องของจำเลยในคดีก่อนของศาลชั้นต้น เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยรับเอาเมทแอมเฟตามีนจำนวน ๕ เม็ดและจำนวน ๑๗๔ เม็ด ไว้คนละคราวกัน จึงต้องถือว่าเป็นเมทแอมเฟตามีนจำนวนเดียวกันซึ่งแยกเก็บไว้ในที่ต่างกันเท่านั้น การกระทำของจำเลย ในคดีนี้กับการกระทำของจำเลยในคดีก่อนจึงเป็นการกระทำอันเป็น กรรมเดียว เมื่อศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ จึงเป็นฟ้องในคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิด ซึ่งได้ฟ้องไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙(๔)
***ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการแรกว่า สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์ระงับไปหรือไม่ เห็นว่า ตามพยานหลักฐานของโจทก์ได้ความโดยสรุปว่า ในวันเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจได้นำหมายค้นไปตรวจค้นบ้านพักจำเลย เมื่อไปถึงพบจำเลยยืนอยู่ข้างบ้าน เจ้าพนักงานตำรวจได้แสดงหมายค้นต่อจำเลยแล้วตรวจค้นตัวจำเลย ปรากฏว่าพบเมทแอมเฟตามีนบรรจุในหลอดพลาสติกหลอดละ ๑๐ เม็ด จำนวน ๑๔ หลอด หลอดละ ๙ เม็ดจำนวน ๑ หลอด และหลอดละ ๕ เม็ด จำนวน ๕ หลอด รวม ๑๗๔ เม็ด อยู่ในกระเป๋าผ้าลักษณะคล้ายถุงย่ามที่จำเลยสะพายอยู่ที่ไหล่ เจ้าพนักงานตำรวจจึงแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่ามีเมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าวไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำเลยให้การรับว่ามีไว้ในครอบครองเท่านั้น นอกจากนี้เจ้าพนักงานตำรวจยังได้ตรวจค้นบ้านจำเลยต่อไปอีก และพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 5 เม็ด อยู่ในห้องของจำเลยโดยขณะนั้นภรรยาจำเลยก็อยู่ในห้องด้วย เจ้าพนักงานตำรวจจึงแจ้งข้อหาแก่จำเลยและภรรยาว่ามีเมทแอมเฟตามีนจำนวน ๕ เม็ดนี้ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วพนักงานสอบสวนได้แยกการดำเนินคดีแก่จำเลยออกเป็น ๒ สำนวนสำหรับคดีที่จำเลยและภรรยาต้องหาว่ามีเมทแอมเฟตามีนจำนวน ๕ เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาและคดีถึงที่สุดไปแล้วตามคดีอาญา หมายเลขแดงที่ ๑๗๙๕/๒๕๔๐ ของศาลชั้นต้น ส่วนเมทแอมเฟตามีนจำนวน ๑๗๔ เม็ด ซึ่งพนักงานสอบสวนได้แยกการดำเนินคดีแก่จำเลยโดยเฉพาะและโจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้ นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า เมทแอมเฟตามีนจำนวน ๑๗๔ เม็ดดังกล่าวเป็นเมทแอมเฟตามีนที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในการตรวจค้นคราวเดียวกันกับเมทแอมเฟตามีนจำนวน ๕ เม็ดตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ๑๗๙๕/๒๕๔๐ ของศาลชั้นต้น แม้เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน ๕ เม็ดที่ตู้เย็นภายในห้องของจำเลย และพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน ๑๗๔ เม็ด ที่ตัวจำเลยนอกห้องของจำเลย แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยรับเอาเมทแอมเฟตามีนจำนวน ๕ เม็ดและจำนวน ๑๗๔ เม็ด ไว้คนละคราวกัน จึงต้องถือว่าเป็นเมทแอมเฟตามีนจำนวนเดียวกันซึ่งแยกเก็บไว้ในที่ต่างกันเท่านั้น การกระทำของจำเลยในคดีนี้กับการกระทำของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ๑๗๙๕/๒๕๔๐ ของศาลชั้นต้นจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว เมื่อศาลมีคำพิพากษาในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ๑๗๙๕/๒๕๔๐ ของศาลชั้นต้นแล้ว ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องในคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙(๔)
คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ ๙๐๘๓/๒๕๔๗
***เมทแอมเฟตามีนจำนวน ๙๐ เม็ด เป็นเมทแอมเฟตามีนที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในการตรวจค้นคราวเดียวกันกับเมทแอมเฟตามีนจำนวน ๒ เม็ด ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ๙๒๘/๒๕๔๑ ซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาและคดีถึงที่สุดไปแล้ว แม้เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน ๙๐ เม็ด ที่ซุกซ่อนอยู่ในถังน้ำซึ่งใช้ใส่ถ่านหุงข้าวในครัวของบ้านพักของจำเลยทั้งสอง และพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน ๒ เม็ด ที่ตัวจำเลยที่ ๑ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ ๑ รับเอาเมทแอมเฟตามีนจำนวน ๙๐ เม็ดและจำนวน ๒ เม็ดไว้คนละคราวกัน จึงต้องถือว่าเป็นเมทแอมเฟตามีนจำนวนเดียวกันซึ่งแยกเก็บไว้ในที่ต่างกันเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ ๑ ในคดีนี้กับการกระทำของจำเลยในคดีก่อนจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว เมื่อศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว ฟ้องโจทก์ในคดีนี้สำหรับจำเลยที่ ๑ จึงเป็นฟ้องในคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยที่ ๑ ของโจทก์จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๓๙(๔)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๑๙๒/๒๕๕๔
***เมื่อวันที่ ๑๖ ก.พ.๒๕๕๒ เวลากลางวันจำเลยร่วมกับนายวีระ มีเมทแอมเฟตามีน ๕๐ เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หลังจากนั้นจำเลยนำเจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจยึดเมทแอมเฟตามีนของกลางคดีนี้ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งซุกซ่อนไว้ที่บ้านจำเลยและริมห้วยนารางและพนักงานสอบสวนได้แยกสำนวนการสอบสวนออกเป็น ๒ สำนวน ศาลฎีกาเห็นว่าแม้เมทแอมเฟตามีน ๕๐ เม็ดที่พบที่ตัวจำเลยและ ว. กับเมทแอมเฟตามีนของกลางที่พบที่บ้านจำเลยและริมห้วยนารางจะเป็นจำนวนที่แยกต่างหากจากกันได้ก็ตาม แต่เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนที่ตัวจำเลยและ ว. แล้ว จำเลยได้นำเจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจยึดเมทแอมเฟตามีนของกลางในทันทีต่อเนื่องกัน ดังนี้ เมทแอมเฟตามีนที่พบที่ตัวจำเลยกับ ว. จึงเป็นจำนวนเดียวกับเมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยซุกซ่อนไว้ที่บ้านจำเลยและริมห้วยนาราง โดยจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายในคราวเดียวกันเป็นแต่เพียงจำเลยแยกเอาเมทแอมเฟตามีนบางส่วนติดตัวไป ส่วนที่เหลือจำเลยซุกซ่อนไว้มิได้นำติดตัวไปเท่านั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ๓๙๔/๒๕๕๒ ของศาลชั้นต้นแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๓๙(๔)
ป.วิ.อ. มาตรา ๓๙(๔)
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒มาตรา ๑๕, ๖๗
***เมทแอมเฟตามีนจำนวน ๑๗๔ เม็ด ในคดีนี้ที่ยึดได้จากกระเป๋าผ้าลักษณะคล้ายถุงย่ามที่จำเลยสะพายอยู่เป็นเมทแอมเฟตามีนที่ เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในการตรวจค้นคราวเดียวกันกับเมทแอมเฟตามีน จำนวน ๕ เม็ดที่ค้นได้จากห้องของจำเลยในคดีก่อนของศาลชั้นต้น เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยรับเอาเมทแอมเฟตามีนจำนวน ๕ เม็ดและจำนวน ๑๗๔ เม็ด ไว้คนละคราวกัน จึงต้องถือว่าเป็นเมทแอมเฟตามีนจำนวนเดียวกันซึ่งแยกเก็บไว้ในที่ต่างกันเท่านั้น การกระทำของจำเลย ในคดีนี้กับการกระทำของจำเลยในคดีก่อนจึงเป็นการกระทำอันเป็น กรรมเดียว เมื่อศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ จึงเป็นฟ้องในคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิด ซึ่งได้ฟ้องไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙(๔)
***ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการแรกว่า สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์ระงับไปหรือไม่ เห็นว่า ตามพยานหลักฐานของโจทก์ได้ความโดยสรุปว่า ในวันเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจได้นำหมายค้นไปตรวจค้นบ้านพักจำเลย เมื่อไปถึงพบจำเลยยืนอยู่ข้างบ้าน เจ้าพนักงานตำรวจได้แสดงหมายค้นต่อจำเลยแล้วตรวจค้นตัวจำเลย ปรากฏว่าพบเมทแอมเฟตามีนบรรจุในหลอดพลาสติกหลอดละ ๑๐ เม็ด จำนวน ๑๔ หลอด หลอดละ ๙ เม็ดจำนวน ๑ หลอด และหลอดละ ๕ เม็ด จำนวน ๕ หลอด รวม ๑๗๔ เม็ด อยู่ในกระเป๋าผ้าลักษณะคล้ายถุงย่ามที่จำเลยสะพายอยู่ที่ไหล่ เจ้าพนักงานตำรวจจึงแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่ามีเมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าวไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำเลยให้การรับว่ามีไว้ในครอบครองเท่านั้น นอกจากนี้เจ้าพนักงานตำรวจยังได้ตรวจค้นบ้านจำเลยต่อไปอีก และพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 5 เม็ด อยู่ในห้องของจำเลยโดยขณะนั้นภรรยาจำเลยก็อยู่ในห้องด้วย เจ้าพนักงานตำรวจจึงแจ้งข้อหาแก่จำเลยและภรรยาว่ามีเมทแอมเฟตามีนจำนวน ๕ เม็ดนี้ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วพนักงานสอบสวนได้แยกการดำเนินคดีแก่จำเลยออกเป็น ๒ สำนวนสำหรับคดีที่จำเลยและภรรยาต้องหาว่ามีเมทแอมเฟตามีนจำนวน ๕ เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาและคดีถึงที่สุดไปแล้วตามคดีอาญา หมายเลขแดงที่ ๑๗๙๕/๒๕๔๐ ของศาลชั้นต้น ส่วนเมทแอมเฟตามีนจำนวน ๑๗๔ เม็ด ซึ่งพนักงานสอบสวนได้แยกการดำเนินคดีแก่จำเลยโดยเฉพาะและโจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้ นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า เมทแอมเฟตามีนจำนวน ๑๗๔ เม็ดดังกล่าวเป็นเมทแอมเฟตามีนที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในการตรวจค้นคราวเดียวกันกับเมทแอมเฟตามีนจำนวน ๕ เม็ดตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ๑๗๙๕/๒๕๔๐ ของศาลชั้นต้น แม้เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน ๕ เม็ดที่ตู้เย็นภายในห้องของจำเลย และพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน ๑๗๔ เม็ด ที่ตัวจำเลยนอกห้องของจำเลย แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยรับเอาเมทแอมเฟตามีนจำนวน ๕ เม็ดและจำนวน ๑๗๔ เม็ด ไว้คนละคราวกัน จึงต้องถือว่าเป็นเมทแอมเฟตามีนจำนวนเดียวกันซึ่งแยกเก็บไว้ในที่ต่างกันเท่านั้น การกระทำของจำเลยในคดีนี้กับการกระทำของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ๑๗๙๕/๒๕๔๐ ของศาลชั้นต้นจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว เมื่อศาลมีคำพิพากษาในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ๑๗๙๕/๒๕๔๐ ของศาลชั้นต้นแล้ว ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องในคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙(๔)
คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ ๙๐๘๓/๒๕๔๗
***เมทแอมเฟตามีนจำนวน ๙๐ เม็ด เป็นเมทแอมเฟตามีนที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในการตรวจค้นคราวเดียวกันกับเมทแอมเฟตามีนจำนวน ๒ เม็ด ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ๙๒๘/๒๕๔๑ ซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาและคดีถึงที่สุดไปแล้ว แม้เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน ๙๐ เม็ด ที่ซุกซ่อนอยู่ในถังน้ำซึ่งใช้ใส่ถ่านหุงข้าวในครัวของบ้านพักของจำเลยทั้งสอง และพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน ๒ เม็ด ที่ตัวจำเลยที่ ๑ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ ๑ รับเอาเมทแอมเฟตามีนจำนวน ๙๐ เม็ดและจำนวน ๒ เม็ดไว้คนละคราวกัน จึงต้องถือว่าเป็นเมทแอมเฟตามีนจำนวนเดียวกันซึ่งแยกเก็บไว้ในที่ต่างกันเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ ๑ ในคดีนี้กับการกระทำของจำเลยในคดีก่อนจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว เมื่อศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว ฟ้องโจทก์ในคดีนี้สำหรับจำเลยที่ ๑ จึงเป็นฟ้องในคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยที่ ๑ ของโจทก์จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๓๙(๔)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๑๙๒/๒๕๕๔
***เมื่อวันที่ ๑๖ ก.พ.๒๕๕๒ เวลากลางวันจำเลยร่วมกับนายวีระ มีเมทแอมเฟตามีน ๕๐ เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หลังจากนั้นจำเลยนำเจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจยึดเมทแอมเฟตามีนของกลางคดีนี้ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งซุกซ่อนไว้ที่บ้านจำเลยและริมห้วยนารางและพนักงานสอบสวนได้แยกสำนวนการสอบสวนออกเป็น ๒ สำนวน ศาลฎีกาเห็นว่าแม้เมทแอมเฟตามีน ๕๐ เม็ดที่พบที่ตัวจำเลยและ ว. กับเมทแอมเฟตามีนของกลางที่พบที่บ้านจำเลยและริมห้วยนารางจะเป็นจำนวนที่แยกต่างหากจากกันได้ก็ตาม แต่เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนที่ตัวจำเลยและ ว. แล้ว จำเลยได้นำเจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจยึดเมทแอมเฟตามีนของกลางในทันทีต่อเนื่องกัน ดังนี้ เมทแอมเฟตามีนที่พบที่ตัวจำเลยกับ ว. จึงเป็นจำนวนเดียวกับเมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยซุกซ่อนไว้ที่บ้านจำเลยและริมห้วยนาราง โดยจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายในคราวเดียวกันเป็นแต่เพียงจำเลยแยกเอาเมทแอมเฟตามีนบางส่วนติดตัวไป ส่วนที่เหลือจำเลยซุกซ่อนไว้มิได้นำติดตัวไปเท่านั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ๓๙๔/๒๕๕๒ ของศาลชั้นต้นแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๓๙(๔)
รถหายในห้างสรรพสินค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7471/2556
จำเลยเป็นบริษัทจำกัด(มหาชน) มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการห้างสรรพสินค้าขายปลีกและขายส่งสินค้าอุปโภคและบริโภคต่างๆ ย่อมต้องให้ความสำคัญด้านบริการไม่ว่าจะเป็นเรื่องสินค้า ความปลอดภัย ความสะดวกสบายเพื่อสร้างความพึงพอใจและดึงดูดให้ลูกค้ามาใช้บริการและซื้อสินค้า เฉพาะอย่างยิ่ง บริการเกี่ยวกับสถานที่จอดรถเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของลูกค้าที่จะเข้าไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการอื่นๆหรือไม่ ทั้งตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 8(9),34 บัญญัติให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารต้องมีพื้นที่จอดรถเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การจราจร ทั้งจำเลยยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของลูกค้าทั้งในชีวิตและทรัพย์สินและมีหน้าที่ดูแลด้วยตามสมควร มิใช่ปล่อยให้ลูกค้าระมัดระวังหรือเสี่ยงภัยเอาเอง ก่อนเกิดเหตุจำเลยได้จัดให้มีการแจกบัตรสำหรับรถของลูกค้าที่เข้ามาจอดในห้างของจำเลย แต่ขณะเกิดเหตุยกเลิกไปแล้วโดยใช้กล้องวงจรปิดแทน แสดงว่าจำเลยเคยใช้วิธีแจกบัตรสำหรับรถของลูกค้าซึ่งเป็นวิธีที่มีการตรวจสอบการเข้าออกของรถยนต์ที่เข้ามาใช้บริการในห้างสรรพสินค้าของจำเลย โดยพนักงานและค่อนข้างรัดกุมเพราะหากไม่มีบัตรผ่านเข้าออก กรณีจะนำรถยนต์ออกไปจะต้องถูกตรวจสอบโดยพนักงานของจำเลย แต่จำเลยกลับยกเลิกวิธีการดังกล่าวเสีย เป็นเหตุให้คนร้ายสามารถเข้าออกจากลานจอดรถห้างสรรพสินค้าของจำเลยและโจรกรรมรถได้ง่ายยิ่งขึ้น การที่รถยนต์ของ ว. สูญหายขณะที่จอดอยู่บริเวณลานจอดรถของจำเลยจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลย แม้จำเลยปิดประกาศไว้ว่าจะไม่รับผิดชอบแต่การสูญหายหรือเสียหายใดๆ ก็เป็นเรื่องข้อกำหนดของจำเลยแต่ฝ่ายเดียว ไม่มีผลเป็นการยกเว้นความรับผิดในการกระทำละเมิดของจำเลย ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
จำเลยเป็นบริษัทจำกัด(มหาชน) มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการห้างสรรพสินค้าขายปลีกและขายส่งสินค้าอุปโภคและบริโภคต่างๆ ย่อมต้องให้ความสำคัญด้านบริการไม่ว่าจะเป็นเรื่องสินค้า ความปลอดภัย ความสะดวกสบายเพื่อสร้างความพึงพอใจและดึงดูดให้ลูกค้ามาใช้บริการและซื้อสินค้า เฉพาะอย่างยิ่ง บริการเกี่ยวกับสถานที่จอดรถเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของลูกค้าที่จะเข้าไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการอื่นๆหรือไม่ ทั้งตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 8(9),34 บัญญัติให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารต้องมีพื้นที่จอดรถเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การจราจร ทั้งจำเลยยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของลูกค้าทั้งในชีวิตและทรัพย์สินและมีหน้าที่ดูแลด้วยตามสมควร มิใช่ปล่อยให้ลูกค้าระมัดระวังหรือเสี่ยงภัยเอาเอง ก่อนเกิดเหตุจำเลยได้จัดให้มีการแจกบัตรสำหรับรถของลูกค้าที่เข้ามาจอดในห้างของจำเลย แต่ขณะเกิดเหตุยกเลิกไปแล้วโดยใช้กล้องวงจรปิดแทน แสดงว่าจำเลยเคยใช้วิธีแจกบัตรสำหรับรถของลูกค้าซึ่งเป็นวิธีที่มีการตรวจสอบการเข้าออกของรถยนต์ที่เข้ามาใช้บริการในห้างสรรพสินค้าของจำเลย โดยพนักงานและค่อนข้างรัดกุมเพราะหากไม่มีบัตรผ่านเข้าออก กรณีจะนำรถยนต์ออกไปจะต้องถูกตรวจสอบโดยพนักงานของจำเลย แต่จำเลยกลับยกเลิกวิธีการดังกล่าวเสีย เป็นเหตุให้คนร้ายสามารถเข้าออกจากลานจอดรถห้างสรรพสินค้าของจำเลยและโจรกรรมรถได้ง่ายยิ่งขึ้น การที่รถยนต์ของ ว. สูญหายขณะที่จอดอยู่บริเวณลานจอดรถของจำเลยจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลย แม้จำเลยปิดประกาศไว้ว่าจะไม่รับผิดชอบแต่การสูญหายหรือเสียหายใดๆ ก็เป็นเรื่องข้อกำหนดของจำเลยแต่ฝ่ายเดียว ไม่มีผลเป็นการยกเว้นความรับผิดในการกระทำละเมิดของจำเลย ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558
คำสารภาพสุดท้ายของนักโทษประหาร: 9.เก้า ปั้นหยัด ผมเมาไปหน่อย
คำสารภาพสุดท้ายของนักโทษประหาร: 9.เก้า ปั้นหยัด ผมเมาไปหน่อย: น.ช.เก้า ปั้นหยัด อายุ 29 ปี หมายเลขประจำตัว 667/39 คดีพรากผู้เยาว์ ข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบสามปี ฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทา...
คำสารภาพสุดท้ายของนักโทษประหาร: 27.อำไพ ใสโพธิ์ เมาแล้วมีอารมณ์
คำสารภาพสุดท้ายของนักโทษประหาร: 27.อำไพ ใสโพธิ์ เมาแล้วมีอารมณ์: น . ช . อำไพ ใสโพธิ์ อายุ 26 ปี หมายเลขประจำตัว 139/42 คดีพรากผู้เยาว์ ฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทาร...
คำสารภาพสุดท้ายของนักโทษประหาร: 38.จิรวัฒน์ พุ่มพฤกษ์ , บัณฑิต เจริญวานิช ผู้ค้ายา...
คำสารภาพสุดท้ายของนักโทษประหาร: 38.จิรวัฒน์ พุ่มพฤกษ์ , บัณฑิต เจริญวานิช ผู้ค้ายา...: น.ช.จิรวัฒน์หรือเอ้ พุ่มพฤกษ์ อายุ 45 หมายเลขประจำตัว 689/44 น.ช.บัณฑิต เจริญวานิช อายุ 54 หมายเลขประ...
คำสารภาพสุดท้ายของนักโทษประหาร: 39.ข้อคิดก่อนจาก
คำสารภาพสุดท้ายของนักโทษประหาร: 39.ข้อคิดก่อนจาก: จากประสพการณ์ในการนำนักโทษไปประหารชีวิตของข้าพเจ้านั้น ในวาระสุดท้ายของแต่ละ...
วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558
เตรียมสอบ 2
ถาม = นาย ก. เป็นเจ้าหนี้เงินกู้นาย ข. ถึงเวลากำหนด ข. ไม่ชำระหนี้ นาย ค. บุตรนาย ก.ไปทวงหนี้โดยบอกว่าหากนาย ข. ไม่ชำระหนี้จะพาพวกมารุมทำร้ายและฆ่าให้ตาย นาย ข. ตอบตกลงแต่กลับไปแจ้งความตำรวจให้ไปจับนาย ค. นาย ค.ทราบว่านาย ข.ไปแจ้งความจึงไปพูดขู่นาย ข. ว่าหากไม่ไปถอนแจ้งความจะนำความลับที่นาย ข. เคยเป็นชู้กับ น.ส.ว. ไปเปิดเผยให้บุคคลอื่นทราบและให้นาย ข. จ่ายเงินให้จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท นาย ข. ยอมถอนแจ้งความและจ่ายเงินให้นาย ค. ข้อเท็จจริงเรื่องนาย ข. เป็นชู้กับ น.ส.ว. นั้นมีนาย a กับนาย b รู้เรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น กรณีนี้นาย ข. จะมีความรับผิดทางอาญาหรือไม่ อย่างไร
หลัก = เจ้าหนี้ใช้อำนาจบังคับชำระหนี้ แม้ว่าจำนวนที่เรียกร้องจะเกินจำนวนหนี้ก็ตาม ถือว่าเจ้าหนีไม่มีเจตนาทุจริต ไม่มีความผืิดฐานลักทรัพย์ ( ฎ.๓๑๕๐/๒๕๔๙ )
ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยคือ การกระทำของนาย ค.ผิดฐานกรรโชกทรััพย์หรือไม่
โดยหลัก การขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกติไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ จึงไม่อาจเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ได้ เช่นขู่ว่าให้ชำระหนี้มิฉะนั้นจะนำคดีไปฟ้องศาล, ขู่ว่าให้ชำระหนี้มิฉะนั้นจะไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน ( ฎ.๒๖๘๘/๒๕๓๐ )
ประเด็นใช้สิทธิริบเอาทรัพย์คืนตาม ปพพ.ม.๑๓๓๖ จะผิดฐานกรรโชกทรัพย์หรือไม่
ตัวอย่าง นาย ก.ทำนาฬิกาตกหาย ด.ญ.ข. เก็บได้แล้วนำไปส่งให้นาย ค. ผู้เป็นบิดา หนึ่งวันผ่านไปนาย ก. รู่้ว่านาฬิกาอยู่กับนาย ค. จึงไปขอคืน นาย ค.ไม่คืนและปฏิเสธบุตรเก็บนาฬิกาเรือนที่ไม่ใช่ของนาย ก. ด้วยความโมโหนาย ก. ใช้อาวุธปืนขู่นาย ค.ให้คืนนาฬิกา นาย ค. ยอมคืนนาฬิกา นาย ก. นำนาฬิกาไปขายให้นาย A ดังนี้นาย ก. นาย ค. และนาย A มีความผิดอาญาฐานใด
คำตอบ = ประเด็นนาย ค. โดยหลักการลักทรัพย์ การยักยอกทรัพย์สินหาย มีหลักในการพิจารณาดังนี้ ถ้าจำเลยรู้หรือควรรู้ว่าเจ้าของกำลังติดตามเอาทรัพย์คืน จำเลยย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์๋ ไม่ใชยักยอกทรัพย์สินหาย (ฎ.๑๗๕๔/๒๕๑๔ ป.) แต่ถ้าจำเลยไม่รู้ว่าเจ้าของกำลังติดตามเอาทรัพย์คืน กรณีเช่นนี้จำเลยย่อมมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์สินหายตาม มาตรา ๓๕๒ วรรคสอง ซึ่งการรู้หรือไม่รู้โดยปกติให้ดูในขณะที่จำเลยได้ทรัพย์ ว่าจำเลยทราบหรือไม่ว่าเจ้าของทรัพย์กำลังมีพฤติการณ์ที่กำลังติดตามทรัพย์สินคืน เช่น ถ้าจำเลยเก็บทรัพย์ได้แล้วเดินออกหรือหลบออกจากที่เก็บได้ในทันทีทันใด ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ต้องถือว่าจำเลยหวาดเกรงว่าเจ้าทรัพย์กำลังติดตามเอาทรัพย์คืนเพราะฉนั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ยักยอกทรัพย์สินหายตามมาตรา ๓๕๒ วรรคสอง
ตามปัญหา บุคคลที่เก็บได้คือ ด.ช.ข. และได้นำไปมอบให้นาย ค. ซึ่งเป็นบิดา เพราะฉนั้นขณะที่นาย ค. รับทรัพย์ไว้ นาย ค. จึงไม่อาจรู้ได้ว่าเจ้าทรัพย์กำลังติดตามเอาทรัพย์คืน การกระทำของนาย ค. จึงไม่ผิดฐานลักทรัพย์ แต่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามมาตรา ๓๕๒ วรรคหนึ่ง ไม่ใช่มาตรา ๓๕๒ วรรคสอง ( ฎ.๗๗๕/๒๕๐๖ (ป) ) เนื่องจากการครอบครองทรัพย์ตามมาตรา ๓๕๓ วรรคหนึ่ง อาจจะเป็นกรณที่เจ้าของส่งมอบการครอบครองให้จำเลยด้วยความสมัครใจแล้วจำเลยเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตน หรืออาจจะเป็นกรณีมอบการครอบครองให้โดยปริยายก็ได้ กล่าวคือ ถ้าเจ้าของทรัพย์ไม่ได้เต็มใจส่งมอบทรัพย์ให้กับจำเลย แต่จำเลยมีการครอบครองโดยปริยาย เมื่อเบียดบังเอาไปจึงเป็นการยักยอกทรัพย์ตามมาตรา ๓๕๒ วรรคหนึ่ง และเมื่อนาย ค.ไม่ใช่ผู้เก็บทรัพย์สินได้เอง จึงไม่อาจจะผิดมาตรา ๓๕๒ วรรคสอง ได้ คงผิดยักยอกทรัพย์ตามมาตรา ๓๕๒ วรรคหนึ่ง เท่านั้น เพราะต้องถือว่านาย ค. ครอบครองทรัพย์โดยปริยาย แม้ว่าการครอบครองจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย
* กรณีของบุคลลที่สาม แม้จะไม่ใช่ผู้เก็บทรัพย์ได้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นความผิดฐานยักยอกตามมาตรา ๓๕๒ วรรคหนึ่ง เสมอไป อาจจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้ กรณีเช่นนี้จะต้องพิจารณาจากเจตนาของจำเลยเป็นสำคัญ กล่าวคือ ถ้าบุคคลที่สามรู้หรือควรรู้ว่าเจ้าของกำลังติดตามเอาทรัพย์คืน กรณีเช่นนี้ก็เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แม้ตนจะไม่ใช่ผู้เก็บทรัพย์ได้ก็ตาม แต่ถ้าบุคคลที่สามไม่รู้ กรณีเช่นนี้ย่อมมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามมาตรา ๓๕๓ วรรคหนึ่ง ( ฎ.๑๗๕๔/๒๕๑๔ (ป) )
ในกรณีของนาย ก.การที่นาย ก. เอาปืนขู่นาย ค. ให้คืนนาฬิกา นาย ก. ย่อมมีความผิดต่อเสรีภาพตามมาตร ๓๐๙ โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เมื่อกระทำโดยมีอาวุธปืน จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา ๓๐๙ วรรคสอง ประเด็นต่อมาคือนาย ก. มีความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ การจะมีความผิดฐานชิงทรัพย์ได้จะต้องเป็นทรัพย์ของผู้อื่นเท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้าเป็นทรัพย์ของตนเองย่อมไม่อาจเป็นลักทรัพย์ได้ แม้มีการขู่เข็ญว่าทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายก็ไม่อาจจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เนื่องจากเป็นกรณีของการขาดองค์ประกอบความผิดทางอาญา เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการขาดองค์ประกอบความผิดทางอาอญา แม้พยายามตามมาตรา ๙๑ ก็ไม่เป็นความผิดเช่นกัน ( ฎ.๗๔๑๑/๒๕๔๕ )
*ข้อสังเกต* การกระทำของจำเลยที่จะเป็นพยายามตามมาตรา ๘๑ ได้ จะต้องอาจครบองค์ประกอบได้ เพราะฉนั้นถ้าไม่อาจครบองค์ประกอบได้แล้ว แม้เป็นพยายามตามาตรา ๘๑ ก็ไม่มีความผิดเช่นกัน
*ตามปัญหา* การที่นาย ก. เอาปืนขู่นาย ค. ให้ส่งมอบทรัพย์ให้ย่อมไม่อาจมีความผิดฐานลักทรัพย์เพราะว่าเป็นทรัพย์ของนาย ก.เอง จึงขาดองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ เมื่อเป็นลักทรัพย์ไม่ได้ ก็เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๙ ไม่ได่เช่นเดียวกัน ดังนั้นการกระทำของนาย ก. จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ ** ประเด็นต่อมานาย ก. มีความผิดฐานกรรโชกทรัพย์หรือไม่ โดยหลักประโยชน์ลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน จะต้องเป็นของผู้อื่นไม่ใช่ของตนเอง ถ้เป็นการติดตามเอาทรัพย์คืนเพราะทรัพย์นั้นเป็นสิทธิของตนเอง กรณีเช่นนี้ย่อมไม่เป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ ดังนั้น ถ้าเป็นการติดตามติดตามเอาทรัพย์สินตาม ป.พ.พ.มารตรา ๑๓๓๖ ย่อมไม่เปความผิดฐานกรรโชก เพราะฉนั้นเมื่อการกระทำของนาย ก. ไม่่เป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ แม้ต่อมานาย ก. จะเอาทรัพย์นั้นไปขายให้นาย ว. นาย ว. ก็ไม่มีความผิดฐานรับของโจรตามาตรา ๓๕๗
***ย้อนกลับไปตามคำถามเดิม*** นาย ค. ไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ เนื่องจากเป็นการขู่ว่าจะทำอันตรายในภายหน้า ประเด็นต่อมานาย ค.ผิดฐานกรรโชกทรัพย์หรือไม่ ฎีกาที่ ๕๘๘๙/๒๕๕๐ ผู้เสียหาย (ข) เป็นหนี้มารดาจำเลย ดังนั้นการที่ผู้เสียหายไม่ชำระหนี้ให้กับมารดาจำเลย จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๕ ซึ่งมารดาจำเลยอาจใช้สิทธิทางศาลได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๒๑๓ แต่ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะข่มขืนใจให้ผู้อื่นยอมให้หรือยอมชำระหนี้ให้มารดาจำเลย ดังนั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๗ การที่มีมูลหนี้กันอยู่ หาทำให้ไม่เป็นความผิดทางอาญาไม่ ดังนั้นตามปัญหา การที่นาย ค. เอาปืนไปขู่นาย ข. ชำระหนี้ให้ให้มารดาตนเองเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๗ และการที่นาย ง. ยอมตามที่นาย ค. ข่มขู่ ย่อมเป็นความผิดสำเร็จทันทีตามมาตรา ๓๓๗ ทันที แม้ยังจะไม่มีการส่งมอบทรัพย์ให้ก็ตาม เพราะฉะนั้น เมื่อการกระทำของนาย ค. เป็นความผิดสำเร็จไปแล้ว แม่นาย ข. จะไม่กลัวโดยไปแจ้งความกับตำรวจในภายหลังก็ตาม ก็หาทำให้ความผิดสำเร็จกลับกลายเป็นพยายามไม่ และเมื่อการกรรโชกกระทำโดยขู่ว่าจะฆ่า จำเลยจึงต้องรับโทษฉกรรจ์หนักขึ้นตามมาตรา ๓๓๗ วรรคสอง นอกจากนี้จำเลยยังมีความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพตาม ๓๐๙ เมื่อการกระทำดังกล่าวกระทำโดยมีอาวุธปืนจึงต้องรับโทษฉกรรจ์หนักขึ้นตามมาตรา ๓๐๙ วรรคสอง
มาตรา ๓๓๗ กับมาตรา ๓๐๙ เป็ความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ( ฎ.๙๕๑/๒๔๗๔ ) เพราะฉนั้นเมื่อผิดกรรโชกทรัพย์ย่อมเป็นความผิดตามมาตรา ๓๐๙ ด้วยเสมอเช่นกัน แต่มีข้อพึงระวังคือ ความผิดมาตรา ๓๐๙ ไม่จำต้องผิดเกี่ยวกับทรัพย์เสมอไป ประเด็นต่อมาคือ จำเลยมีความผิดฐานทำให้ผู้อื่นตกใจกลัว ผิดพกพาอาวุธปืนตามมาตรา ๓๗๔ แต่จำเลยไม่ผิดฐานพยายามฆ่าตามมาตรา ๒๘๘, ๘๐ เนื่องจากการกระทำของจำเลยเป็นการขู่ว่าจะฆ่าเฉย ๆ แต่ยังไม่เข้าขั้นกระทำความผิด เนื่องจากเป็นการตระเตรียมการเพื่อกระทำความผิดเท่านั้น จึงยังไม่ผิดมาตรา ๒๘๘, ๘๐ นอกจากนี้จำเลยยังไม่ต้องรับโทษฉกรรจ์หนักขึ้นตามมาตร ๓๔๐ ตรี เพราะแม้จำเลยจะมีอาวุธมาขู่เข็ญก็ตาม แต่มาตรา ๓๔๐ ตรี หรือมาตรา ๓๓๖ ทวิ ก็ดี ใช้กับความผิดฐานลักทรััพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ เท่านั้น ไม่รวมถึงความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
****ประเด็นต่อมาคือ นาย ค. มีความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๘ หรือไม่*** คำตอบเอาไว้วันใหม่
หลัก = เจ้าหนี้ใช้อำนาจบังคับชำระหนี้ แม้ว่าจำนวนที่เรียกร้องจะเกินจำนวนหนี้ก็ตาม ถือว่าเจ้าหนีไม่มีเจตนาทุจริต ไม่มีความผืิดฐานลักทรัพย์ ( ฎ.๓๑๕๐/๒๕๔๙ )
ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยคือ การกระทำของนาย ค.ผิดฐานกรรโชกทรััพย์หรือไม่
โดยหลัก การขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกติไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ จึงไม่อาจเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ได้ เช่นขู่ว่าให้ชำระหนี้มิฉะนั้นจะนำคดีไปฟ้องศาล, ขู่ว่าให้ชำระหนี้มิฉะนั้นจะไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน ( ฎ.๒๖๘๘/๒๕๓๐ )
ประเด็นใช้สิทธิริบเอาทรัพย์คืนตาม ปพพ.ม.๑๓๓๖ จะผิดฐานกรรโชกทรัพย์หรือไม่
ตัวอย่าง นาย ก.ทำนาฬิกาตกหาย ด.ญ.ข. เก็บได้แล้วนำไปส่งให้นาย ค. ผู้เป็นบิดา หนึ่งวันผ่านไปนาย ก. รู่้ว่านาฬิกาอยู่กับนาย ค. จึงไปขอคืน นาย ค.ไม่คืนและปฏิเสธบุตรเก็บนาฬิกาเรือนที่ไม่ใช่ของนาย ก. ด้วยความโมโหนาย ก. ใช้อาวุธปืนขู่นาย ค.ให้คืนนาฬิกา นาย ค. ยอมคืนนาฬิกา นาย ก. นำนาฬิกาไปขายให้นาย A ดังนี้นาย ก. นาย ค. และนาย A มีความผิดอาญาฐานใด
คำตอบ = ประเด็นนาย ค. โดยหลักการลักทรัพย์ การยักยอกทรัพย์สินหาย มีหลักในการพิจารณาดังนี้ ถ้าจำเลยรู้หรือควรรู้ว่าเจ้าของกำลังติดตามเอาทรัพย์คืน จำเลยย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์๋ ไม่ใชยักยอกทรัพย์สินหาย (ฎ.๑๗๕๔/๒๕๑๔ ป.) แต่ถ้าจำเลยไม่รู้ว่าเจ้าของกำลังติดตามเอาทรัพย์คืน กรณีเช่นนี้จำเลยย่อมมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์สินหายตาม มาตรา ๓๕๒ วรรคสอง ซึ่งการรู้หรือไม่รู้โดยปกติให้ดูในขณะที่จำเลยได้ทรัพย์ ว่าจำเลยทราบหรือไม่ว่าเจ้าของทรัพย์กำลังมีพฤติการณ์ที่กำลังติดตามทรัพย์สินคืน เช่น ถ้าจำเลยเก็บทรัพย์ได้แล้วเดินออกหรือหลบออกจากที่เก็บได้ในทันทีทันใด ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ต้องถือว่าจำเลยหวาดเกรงว่าเจ้าทรัพย์กำลังติดตามเอาทรัพย์คืนเพราะฉนั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ยักยอกทรัพย์สินหายตามมาตรา ๓๕๒ วรรคสอง
ตามปัญหา บุคคลที่เก็บได้คือ ด.ช.ข. และได้นำไปมอบให้นาย ค. ซึ่งเป็นบิดา เพราะฉนั้นขณะที่นาย ค. รับทรัพย์ไว้ นาย ค. จึงไม่อาจรู้ได้ว่าเจ้าทรัพย์กำลังติดตามเอาทรัพย์คืน การกระทำของนาย ค. จึงไม่ผิดฐานลักทรัพย์ แต่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามมาตรา ๓๕๒ วรรคหนึ่ง ไม่ใช่มาตรา ๓๕๒ วรรคสอง ( ฎ.๗๗๕/๒๕๐๖ (ป) ) เนื่องจากการครอบครองทรัพย์ตามมาตรา ๓๕๓ วรรคหนึ่ง อาจจะเป็นกรณที่เจ้าของส่งมอบการครอบครองให้จำเลยด้วยความสมัครใจแล้วจำเลยเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตน หรืออาจจะเป็นกรณีมอบการครอบครองให้โดยปริยายก็ได้ กล่าวคือ ถ้าเจ้าของทรัพย์ไม่ได้เต็มใจส่งมอบทรัพย์ให้กับจำเลย แต่จำเลยมีการครอบครองโดยปริยาย เมื่อเบียดบังเอาไปจึงเป็นการยักยอกทรัพย์ตามมาตรา ๓๕๒ วรรคหนึ่ง และเมื่อนาย ค.ไม่ใช่ผู้เก็บทรัพย์สินได้เอง จึงไม่อาจจะผิดมาตรา ๓๕๒ วรรคสอง ได้ คงผิดยักยอกทรัพย์ตามมาตรา ๓๕๒ วรรคหนึ่ง เท่านั้น เพราะต้องถือว่านาย ค. ครอบครองทรัพย์โดยปริยาย แม้ว่าการครอบครองจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อพึงระวังกรณีจะเป็นการยักยอกทรัพย์ตามมาตรา ๓๕๒ ไม่ว่าจะเป็นวรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง การได้มาซึ่งการครอบครองจะต้องเป็นกรณีที่เจ้าของเต็มใจส่งมอบทรัพย์ให้หรือส่งมอบให้้โดยสำคัญผิด หรือเป็นเรื่องมอบการครอบครองโดยปริยาย เพราะฉะนั้น หากบุคคลใดก็ตามได้ทรัพย์มาครอบครองโดยการหลอกลวง กรณีเช่นนี้ย่อมเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
* กรณีของบุคลลที่สาม แม้จะไม่ใช่ผู้เก็บทรัพย์ได้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นความผิดฐานยักยอกตามมาตรา ๓๕๒ วรรคหนึ่ง เสมอไป อาจจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้ กรณีเช่นนี้จะต้องพิจารณาจากเจตนาของจำเลยเป็นสำคัญ กล่าวคือ ถ้าบุคคลที่สามรู้หรือควรรู้ว่าเจ้าของกำลังติดตามเอาทรัพย์คืน กรณีเช่นนี้ก็เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แม้ตนจะไม่ใช่ผู้เก็บทรัพย์ได้ก็ตาม แต่ถ้าบุคคลที่สามไม่รู้ กรณีเช่นนี้ย่อมมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามมาตรา ๓๕๓ วรรคหนึ่ง ( ฎ.๑๗๕๔/๒๕๑๔ (ป) )
ในกรณีของนาย ก.การที่นาย ก. เอาปืนขู่นาย ค. ให้คืนนาฬิกา นาย ก. ย่อมมีความผิดต่อเสรีภาพตามมาตร ๓๐๙ โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เมื่อกระทำโดยมีอาวุธปืน จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา ๓๐๙ วรรคสอง ประเด็นต่อมาคือนาย ก. มีความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ การจะมีความผิดฐานชิงทรัพย์ได้จะต้องเป็นทรัพย์ของผู้อื่นเท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้าเป็นทรัพย์ของตนเองย่อมไม่อาจเป็นลักทรัพย์ได้ แม้มีการขู่เข็ญว่าทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายก็ไม่อาจจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เนื่องจากเป็นกรณีของการขาดองค์ประกอบความผิดทางอาญา เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการขาดองค์ประกอบความผิดทางอาอญา แม้พยายามตามมาตรา ๙๑ ก็ไม่เป็นความผิดเช่นกัน ( ฎ.๗๔๑๑/๒๕๔๕ )
*ข้อสังเกต* การกระทำของจำเลยที่จะเป็นพยายามตามมาตรา ๘๑ ได้ จะต้องอาจครบองค์ประกอบได้ เพราะฉนั้นถ้าไม่อาจครบองค์ประกอบได้แล้ว แม้เป็นพยายามตามาตรา ๘๑ ก็ไม่มีความผิดเช่นกัน
*ตามปัญหา* การที่นาย ก. เอาปืนขู่นาย ค. ให้ส่งมอบทรัพย์ให้ย่อมไม่อาจมีความผิดฐานลักทรัพย์เพราะว่าเป็นทรัพย์ของนาย ก.เอง จึงขาดองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ เมื่อเป็นลักทรัพย์ไม่ได้ ก็เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๙ ไม่ได่เช่นเดียวกัน ดังนั้นการกระทำของนาย ก. จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ ** ประเด็นต่อมานาย ก. มีความผิดฐานกรรโชกทรัพย์หรือไม่ โดยหลักประโยชน์ลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน จะต้องเป็นของผู้อื่นไม่ใช่ของตนเอง ถ้เป็นการติดตามเอาทรัพย์คืนเพราะทรัพย์นั้นเป็นสิทธิของตนเอง กรณีเช่นนี้ย่อมไม่เป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ ดังนั้น ถ้าเป็นการติดตามติดตามเอาทรัพย์สินตาม ป.พ.พ.มารตรา ๑๓๓๖ ย่อมไม่เปความผิดฐานกรรโชก เพราะฉนั้นเมื่อการกระทำของนาย ก. ไม่่เป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ แม้ต่อมานาย ก. จะเอาทรัพย์นั้นไปขายให้นาย ว. นาย ว. ก็ไม่มีความผิดฐานรับของโจรตามาตรา ๓๕๗
***ย้อนกลับไปตามคำถามเดิม*** นาย ค. ไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ เนื่องจากเป็นการขู่ว่าจะทำอันตรายในภายหน้า ประเด็นต่อมานาย ค.ผิดฐานกรรโชกทรัพย์หรือไม่ ฎีกาที่ ๕๘๘๙/๒๕๕๐ ผู้เสียหาย (ข) เป็นหนี้มารดาจำเลย ดังนั้นการที่ผู้เสียหายไม่ชำระหนี้ให้กับมารดาจำเลย จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๕ ซึ่งมารดาจำเลยอาจใช้สิทธิทางศาลได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๒๑๓ แต่ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะข่มขืนใจให้ผู้อื่นยอมให้หรือยอมชำระหนี้ให้มารดาจำเลย ดังนั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๗ การที่มีมูลหนี้กันอยู่ หาทำให้ไม่เป็นความผิดทางอาญาไม่ ดังนั้นตามปัญหา การที่นาย ค. เอาปืนไปขู่นาย ข. ชำระหนี้ให้ให้มารดาตนเองเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๗ และการที่นาย ง. ยอมตามที่นาย ค. ข่มขู่ ย่อมเป็นความผิดสำเร็จทันทีตามมาตรา ๓๓๗ ทันที แม้ยังจะไม่มีการส่งมอบทรัพย์ให้ก็ตาม เพราะฉะนั้น เมื่อการกระทำของนาย ค. เป็นความผิดสำเร็จไปแล้ว แม่นาย ข. จะไม่กลัวโดยไปแจ้งความกับตำรวจในภายหลังก็ตาม ก็หาทำให้ความผิดสำเร็จกลับกลายเป็นพยายามไม่ และเมื่อการกรรโชกกระทำโดยขู่ว่าจะฆ่า จำเลยจึงต้องรับโทษฉกรรจ์หนักขึ้นตามมาตรา ๓๓๗ วรรคสอง นอกจากนี้จำเลยยังมีความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพตาม ๓๐๙ เมื่อการกระทำดังกล่าวกระทำโดยมีอาวุธปืนจึงต้องรับโทษฉกรรจ์หนักขึ้นตามมาตรา ๓๐๙ วรรคสอง
มาตรา ๓๓๗ กับมาตรา ๓๐๙ เป็ความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ( ฎ.๙๕๑/๒๔๗๔ ) เพราะฉนั้นเมื่อผิดกรรโชกทรัพย์ย่อมเป็นความผิดตามมาตรา ๓๐๙ ด้วยเสมอเช่นกัน แต่มีข้อพึงระวังคือ ความผิดมาตรา ๓๐๙ ไม่จำต้องผิดเกี่ยวกับทรัพย์เสมอไป ประเด็นต่อมาคือ จำเลยมีความผิดฐานทำให้ผู้อื่นตกใจกลัว ผิดพกพาอาวุธปืนตามมาตรา ๓๗๔ แต่จำเลยไม่ผิดฐานพยายามฆ่าตามมาตรา ๒๘๘, ๘๐ เนื่องจากการกระทำของจำเลยเป็นการขู่ว่าจะฆ่าเฉย ๆ แต่ยังไม่เข้าขั้นกระทำความผิด เนื่องจากเป็นการตระเตรียมการเพื่อกระทำความผิดเท่านั้น จึงยังไม่ผิดมาตรา ๒๘๘, ๘๐ นอกจากนี้จำเลยยังไม่ต้องรับโทษฉกรรจ์หนักขึ้นตามมาตร ๓๔๐ ตรี เพราะแม้จำเลยจะมีอาวุธมาขู่เข็ญก็ตาม แต่มาตรา ๓๔๐ ตรี หรือมาตรา ๓๓๖ ทวิ ก็ดี ใช้กับความผิดฐานลักทรััพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ เท่านั้น ไม่รวมถึงความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
****ประเด็นต่อมาคือ นาย ค. มีความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๘ หรือไม่*** คำตอบเอาไว้วันใหม่
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)