ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2565

ครูกระทำอนาจารเด็กหญิงอายุ 6 ปีเศษ และเป็นศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2563

คู่กรณี

โจทก์
	พนักงานอัยการจังหวัดเชียงคำ
โจทก์ร่วม
	เด็กหญิง พ. โดยนาย ท. ผู้แทนโดยชอบธรรม
จำเลย
	นาย บ.
-
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
	ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 
	มาตรา 15
	มาตรา 158 (5)
	ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 
	มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
	มาตรา 252 ที่แก้ไขใหม่
-
ข้อมูลย่อ
	โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นครูกระทำอนาจารเด็กหญิงอายุ 6 ปีเศษ 
และเป็นศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล โดยระบุเวลาในการกระทำความผิดระหว่างเดือน
ใดถึงเดือนใด ปี พ.ศ. อะไร เวลากลางวัน เพราะไม่อาจทราบวันกระทำความผิดที่
แน่ชัดได้ แต่ก็ถือเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ว่าการกระทำ
ความผิดเกิดขึ้นในวันที่โรงเรียนมีการเรียนการสอนตามปกติในเวลาราชการขณะ
ที่จำเลยรับราชการอยู่ที่โรงเรียนนั้น จึงเป็นการกล่าวถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียด
เกี่ยวกับเวลากระทำความผิดดังที่ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) บัญญัติบังคับไว้ ซึ่งเพียง
พอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
	จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลดค่าสินไหมทด
แทนที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์ร่วม การที่จำเลยกลับฎีกาใน
ปัญหาการกำหนดค่าสินไหมทดแทนขึ้นมาอีกจึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากัน
มาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 
วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ที่แก้ไขใหม่ ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาจึงไม่
รับวินิจฉัย
-
รายละเอียด
	โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา 
มาตรา 91, 279, 285 และนับโทษต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 143 
ถึง 146/2561 และหมายเลขดำที่ 148 ถึง 154/2561 ของศาลชั้นต้น
	จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์
ขอให้นับโทษต่อ
	ระหว่างพิจารณาเด็กหญิง พ. ผู้เสียหาย โดยนาย ท. ผู้แทนโดยชอบธรรม 
ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต กับยื่นคำร้องและแก้ไขคำร้องขอ
ให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายต่อร่างกาย จิตใจและชื่อเสียง 
200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันกระทำความผิดเป็นต้น
ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ร่วม
	จำเลยให้การในคดีส่วนแพ่งขอให้ยกคำร้อง
	ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 
มาตรา 279 วรรคสอง (เดิม) (ที่ถูก มาตรา 279 วรรคสอง (เดิมและที่แก้ไขใหม่)) 
ประกอบมาตรา 285 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลง
โทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำ
คุกกระทงละ 2 ปี รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 4 ปี และให้นับโทษต่อจากโทษจำคุก
ของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 598/2561, 635/2561, 657/2561, 661/2561, 
671/2561, 689/2561 และ 699/2561 ของศาลชั้นต้น ส่วนที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 150/2561 และหมายเลขดำที่ 152 ถึง 154/2561 ของศาล
ชั้นต้นให้ยก เนื่องจากคดีดังกล่าวศาลยังมิได้มีคำพิพากษา ให้จำเลยใช้ค่าสินไหม
ทดแทนแก่โจทก์ร่วม 40,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน
ดังกล่าวนับแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2559 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ค่าฤชา
ธรรมเนียมในคดีส่วนแพ่งให้เป็นพับ
	จำเลยอุทธรณ์
	ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 1 ปี 
จำเลยกระทำความผิด 2 กระทง รวมจำคุก 2 ปี นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำ
พิพากษาศาลชั้นต้น
	จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาล
อุทธรณ์ภาค 5 อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
	ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยไม่ฎีกาโต้แย้งรับฟังยุติในเบื้อง
ต้นว่า เด็กหญิง พ. โจทก์ร่วม เป็นบุตรของนาย ท. และนาง ร. เรียนอยู่โรงเรียน บ. 
โดยเป็นศิษย์อยู่ในความดูแลของจำเลยซึ่งเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนดังกล่าว ขณะเกิด
เหตุมีอายุระหว่าง 6 ปีเศษ ถึง 7 ปีเศษ อยู่ในความปกครองดูแลของนาง ส. ผู้เป็นย่า
	คดีมีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยก่อนว่า ฟ้องโจทก์
ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า แม้โจทก์บรรยายฟ้องระบุเวลากระทำความผิด
ของจำเลยว่า เหตุเกิดเมื่อประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน 2559 เวลากลางวัน ถึง
เดือนมีนาคม 2560 เวลากลางวันต่อเนื่องกัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด และเมื่อ
ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคม 2560 เวลากลางวัน ถึงเดือนสิงหาคม 2560 เวลากลาง
วันต่อเนื่องกัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด ซึ่งรวมเอาวันเสาร์และวันอาทิตย์ และช่วง
ปิดภาคเรียนที่ 1 กับรวมเอาวันที่ 29 สิงหาคม 2560 ซึ่งมีคำสั่งให้ย้ายจำเลยไปช่วย
ราชการที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 เข้าไปด้วยก็ตาม 
แต่ก็เป็นเพราะโจทก์ไม่อาจทราบวันกระทำความผิดที่แน่ชัดของจำเลยได้ อย่างไร
ก็ดีถือเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ว่า การกระทำความผิดนั้น
เกิดขึ้นในวันที่โรงเรียนมีการเรียนการสอนตามปกติในเวลาราชการขณะที่จำเลยยัง
คงรับราชการอยู่ที่โรงเรียน พ. ในช่วงเวลาซึ่งบรรยายไว้ในฟ้องข้างต้น อันเป็น
เพียงรายละเอียดเท่านั้น การบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอีกลักษณะหนึ่ง
ของการกล่าวถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลากระทำความผิด ดังที่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) บัญญัติบังคับไว้ ซึ่งเพียง
พอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ส่วนที่จำเลยฎีกา
อ้างว่า โจทก์บรรยายฟ้องรวมเอาวันปิดภาคเรียนที่ 2 ในช่วงวันที่ 11 ถึง 31 ตุลาคม 
2560 เข้าไปในวันกระทำความผิดด้วยนั้น เห็นว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้
ฟ้องระบุวันกระทำความผิดถึงเดือนสิงหาคม 2560 ฟ้องที่แก้ไขจึงหาได้รวมช่วง
เวลาที่จำเลยอ้าง กรณีย่อมไม่เป็นเหตุทำให้จำเลยสับสนหรือไม่เข้าใจข้อหาได้ดี 
และไม่สามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้องดังที่อ้าง ฎีกาของจำเลยในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
	สำหรับข้อฎีกาของจำเลยที่ขอให้ลดค่าสินไหมทดแทนที่ศาลชั้นต้น
กำหนดให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์ร่วมให้น้อยกว่า 40,000 บาท นั้น เมื่อปรากฏว่าใน
ชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องนี้ การที่จำเลย
กลับฎีกาในปัญหาการกำหนดค่าสินไหมทดแทนขึ้นมาอีก จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้
ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ที่แก้ไขใหม่ 
ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย 
ส่วนฎีกาของจำเลยที่ขอให้ลงโทษสถานเบานั้น เห็นว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ใช้
ดุลพินิจในการกำหนดโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 1 ปี นั้น หนักเกินไป ศาลฎีกาเห็น
สมควรแก้ไขให้เหมาะสมกับพฤติการณ์แห่งคดี และที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลง
โทษจำคุกให้นั้น เห็นว่า จำเลยเป็นครูบาอาจารย์สมควรประพฤติตัวเป็นแบบอย่าง
ที่ดีแก่เด็กนักเรียน ยิ่งเฉพาะกับศิษย์ซึ่งอยู่ในความปกครองดูแลที่เป็นเด็กเล็ก ซึ่ง
บิดามารดาให้ความไว้วางใจมอบหมายหน้าที่ให้จำเลยคอยให้การศึกษาและช่วย
เหลือกล่อมเกลาอบรมบ่มนิสัยให้เป็นคนดี แต่จำเลยฉวยโอกาสที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็ก 
มุ่งสนองอารมณ์ใคร่ของตนเองโดยอาศัยความอ่อนแอและไม่ประสาต่อโลกของ
เด็กนักเรียนผู้เป็นศิษย์ พฤติการณ์จึงเป็นเรื่องร้ายแรง ประกอบกับจำเลยอุทธรณ์
และฎีกาต่อสู้คดีมาโดยตลอด หาได้สำนึกในความผิดที่ตนเองได้กระทำ จึงไม่มีเหตุ
สมควรที่ศาลฎีกาจะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
	อนึ่ง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่ม
เติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2562 มาตรา 9 ให้แก้ไขบทบัญญัติใน
มาตรา 279 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2560 มาตรา 11 โดยบัญญัติความผิดฐาน
กระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีและแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี โดยขู่
เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยเด็กนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถ
ขัดขืนได้ หรือโดยทำให้เด็กนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ไว้ในวรรคสามของ
มาตราดังกล่าวว่า ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่สอง
หมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หนักกว่าโทษในความผิดฐานเดียว
กันที่กำหนดไว้ในมาตรา 279 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบห้าปี 
หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องปรับ
บทลงโทษจำเลยตามกฎหมายซึ่งใช้บังคับในขณะจำเลยกระทำความผิดซึ่งเป็นคุณ
แก่จำเลยมากกว่าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
	พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา 
มาตรา 279 วรรคสอง (เดิม) ประกอบมาตรา 285 ทั้งสองกระทง โดยให้จำ
คุกกระทงละ 6 เดือน เป็นจำคุก 12 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษา
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ค่าฤชาธรรมเนียมส่วนแพ่งในชั้นฎีกาให้เป็นพับ

ครูทำอนาจารเด็กหญิงรวม ๑๒ คน

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2563

	คู่กรณี
โจทก์
	พนักงานอัยการจังหวัดเชียงคำ
โจทก์ร่วม
	เด็กหญิง ก. โดยนาย ญ. และนาง ร. ผู้แทนโดยชอบธรรม
จำเลย
	นาย บ.
-
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
	ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 
	มาตรา 158 (5)
-
ข้อมูลย่อ
	โจทก์บรรยายฟ้องระบุวันเวลากระทำความผิดของจำเลยว่าเกิดขึ้น
ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม เดือนมิถุนายน เดือนกรกฎาคม 2560 เวลากลางวัน 
และระหว่างวันที่ 1 ถึงวันที่ 25 สิงหาคม 2560 เวลากลางวัน วันใดไม่ปรากฏชัด 
ซึ่งรวมเอาวันเสาร์และวันอาทิตย์เข้าไปด้วย แต่ก็เป็นเพราะโจทก์ไม่อาจทราบวัน
กระทำความผิดที่แน่ชัดของจำเลยได้ อย่างไรก็ดี ถือเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำ
สืบในชั้นพิจารณาได้ว่าการกระทำนั้นเกิดขึ้นในวันที่โรงเรียนมีการเรียนการ
สอนตามปกติในเวลาราชการในช่วงระหว่างวันที่ซึ่งบรรยายไว้ในฟ้อง อันเป็น
เพียงรายละเอียด การบรรยายฟ้องของโจทก์จึงเป็นอีกลักษณะหนึ่งของการกล่าว
ถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลากระทำความผิด ดังที่ ป.วิ.อ. มาตรา 158 
(5) บังคับไว้ ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
-
รายละเอียด
	โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 279, 
285 นับโทษต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 143/2561, 144/2561, 
145/2561, 146/2561, 147/2561, 148/2561, 149/2561, 151/2561, 152/2561, 153/2561 
และ 154/2561 ของศาลชั้นต้น
	จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์
ขอให้นับโทษต่อ
	ระหว่างพิจารณาเด็กหญิง ก. ผู้เสียหาย โดยนาย ญ. ที่ 1 และนาง ร. ที่ 2 
ผู้แทนโดยชอบธรรม ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต กับยื่นคำ
ร้องและแก้ไขคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายต่อ
ร่างกาย จิตใจและชื่อเสียง 400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี 
นับแต่วันกระทำความผิดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ร่วม
	จำเลยให้การในคดีส่วนแพ่งขอให้ยกคำร้อง
	ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 
มาตรา 279 วรรคสอง ประกอบมาตรา 285 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลาย
กรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา 
มาตรา 91 จำคุกกระทงละ 2 ปี รวม 4 กระทง เป็นจำคุก 8 ปี และให้นับโทษจำเลย
ต่อโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 143/2561 หมายเลขแดงที่ 635/2561, 
หมายเลขดำที่ 144/2561 หมายเลขแดงที่ 661/2561, หมายเลขดำที่ 145/2561 หมาย
เลขแดงที่ 671/2561, หมายเลขดำที่ 146/2561 หมายเลขแดงที่ 699/2561, หมายเลข
ดำที่ 147/2561 หมายเลขแดงที่ 701/2561, หมายเลขดำที่ 148/2561 หมายเลขแดงที่ 
657/2561, หมายเลขดำที่ 149/2561 หมายเลขแดงที่ 689/2561, หมายเลขดำที่ 
151/2561 หมายเลขแดงที่ 598/2561, หมายเลขดำที่ 152/2561 หมายเลขแดงที่ 
706/2561, หมายเลขดำที่ 153/2561 หมายเลขแดงที่ 708/2561 และหมายเลขดำที่ 
154/2561 หมายเลขแดงที่ 707/2561 ของศาลชั้นต้น และให้จำเลยใช้ค่าสินไหม
ทดแทนแก่โจทก์ร่วมเป็นเงิน 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี 
ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2560 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
แก่โจทก์ร่วม ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนแพ่งให้เป็นพับ
	จำเลยอุทธรณ์
	ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำคุกกระทงละ 1 ปี รวม 4 
กระทง เป็นจำคุก 4 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชา
ธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
	จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาล
อุทธรณ์ภาค 5 อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
	ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยไม่ฎีกาโต้แย้งรับฟังยุติในเบื้อง
ต้นว่า เด็กหญิง ก. โจทก์ร่วม เป็นบุตรของนาย ญ. และนาง ร. ขณะเกิดเหตุอายุ 7 ปี
เศษ เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน บ. โดยเป็นศิษย์อยู่ในความดูแลของ
จำเลยซึ่งเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนดังกล่าว
	คดีมีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยก่อนว่า ฟ้องโจทก์
ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า แม้โจทก์บรรยายฟ้องระบุวันเวลากระทำความผิด
ของจำเลยว่าเกิดขึ้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2560 เวลากลางวัน เดือนมิถุนายน 
เดือนกรกฎาคม เวลากลางวัน และระหว่างวันที่ 1 ถึงวันที่ 25 สิงหาคม 2560 เวลา
กลางวัน วันใดไม่ปรากฏชัด ซึ่งรวมเอาวันเสาร์และวันอาทิตย์เข้าไปด้วยก็ตาม แต่ก็
เป็นเพราะโจทก์ไม่อาจทราบวันกระทำความผิดที่แน่ชัดของจำเลยได้ อย่างไรก็ดี 
ถือเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ว่าการกระทำความผิดนั้นเกิด
ขึ้นในวันที่โรงเรียนมีการเรียนการสอนตามปกติในเวลาราชการในช่วงระหว่างวัน
ที่ซึ่งบรรยายไว้ในฟ้องข้างต้น อันเป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้น การบรรยายฟ้องของ
โจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอีกลักษณะหนึ่งของการกล่าวถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียด
เกี่ยวกับเวลากระทำความผิด ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 
158 (5) บัญญัติบังคับไว้ ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องโจทก์
จึงไม่เคลือบคลุม ฎีกาในข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
	ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อไปมีว่า จำเลยกระทำ
ความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 หรือไม่ เห็นว่า พยานโจทก์และโจทก์
ร่วมเบิกความได้เป็นลำดับขั้นตอนอย่างมีเหตุผล ตั้งแต่ที่ทราบเรื่องจากโจทก์ร่วม 
แล้วขยายผลทราบว่าเหตุยังเกิดแก่เด็กนักเรียนคนอื่น จนนำไปสู่การรวมตัวของ
ผู้ปกครองขอให้ย้ายจำเลยออกจากโรงเรียนและมีการแจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลย
ในที่สุด โดยได้ความว่ามีผู้ปกครองนักเรียนรวม 21 ราย ที่กล่าวหาว่าบุตรของตน
ถูกจำเลยกระทำอนาจาร และภายหลังเฉพาะที่มีการแจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลยมี
เด็กนักเรียนหญิงซึ่งเป็นผู้เสียหายรวม 12 คน เรื่องที่เกิดขึ้นดังกล่าวถือเป็นเรื่อง
น่าอับอายของครอบครัว ซึ่งเมื่อโจทก์ร่วมหรือแม้แต่เด็กนักเรียนหญิงคนอื่นที่ถูก
จำเลยล่วงละเมิดได้ทราบแน่ชัดจากผู้ปกครองถึงสิ่งที่ตนถูกกระทำแล้วว่าเป็นเรื่อง
ที่ไม่ดี น่ารังเกียจ กรณีย่อมต้องส่งผลกระทบต่อจิตใจของเด็กอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง
ได้ และอาจจำฝังใจไปจนเติบโตว่าเคยถูกล่วงละเมิดทางเพศจากครูของตนเอง กลาย
เป็นปมส่งผลต่อบุคลิกภาพและทัศนคติที่มีต่อผู้ให้การศึกษาในอนาคต ซึ่งเชื่อว่าไม่
มีผู้ปกครองคนใดต้องการให้บุตรหลานของตนตกอยู่สภาพเช่นนั้นรวมทั้งนาย น. 
และนาย ญ. ด้วย ฉะนั้น ลำพังข้อพิพาทเรื่องหนี้สินระหว่างนาย น. กับจำเลยซึ่งเป็น
เรื่องระหว่างผู้ใหญ่ที่ว่ากล่าวกันเองได้อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุผลความจำเป็นใดที่นาย น. 
และนาย ญ. ต้องนำเอาโจทก์ร่วมบุตรหลานของตนซึ่งเป็นเด็กไร้เดียงสามาเป็น
เครื่องมือเพียงแค่ต้องการจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนหรือแม้กระทั่งทำลายชื่อ
เสียงจำเลยดังที่จำเลยฎีกา เนื่องจากเห็นได้ว่าไม่คุ้มกัน เฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของ
ผู้ปกครองคนอื่น ๆ ซึ่งไม่ปรากฏว่ามีข้อบาดหมางอย่างใดกับจำเลย ยิ่งไม่มีเหตุผลที่
จะนำเอาชื่อเสียงและสภาพจิตใจบุตรหลานของตนที่ต้องเสื่อมเสียมาแลกเพียง
เพราะถูกเสี้ยมสอนยุยงจากนาย น. การมาประชุมร่วมกันของเหล่าผู้ปกครองและ
บุตรหลานที่บ้านของนาย น. เพื่อดำเนินการแก่จำเลย จึงถือเป็นเรื่องปกติของเหล่าผู้
เสียหายจากการกระทำความผิดเหมือน ๆ กันที่รวมกลุ่มกันขึ้นเพื่อปรึกษาหารือถึง
แนวทางดำเนินคดี แม้ในที่ประชุมจะมีการบอกให้เด็กนักเรียนพูดจาให้ตรงกันดัง
ข้อฎีกาของจำเลย ก็หาใช่ข้อบ่งชี้ว่าโจทก์ร่วมถูกเสี้ยมสอนให้มาเบิกความ
ปรักปรำจำเลยไม่ เนื่องจากเด็กนักเรียนซึ่งถูกจำเลยกระทำอนาจารมีด้วยกันหลายคน 
รายละเอียดวิธีการและช่วงเวลาการกระทำอนาจารนักเรียนแต่ละคนย่อมแตกต่าง
กันไป ไม่อาจพูดตรงกันได้อยู่ในตัว การพูดให้ตรงกันเป็นเพียงการย้ำเตือนโจทก์
ร่วมและผู้เสียหายคนอื่นให้พูดตรงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและตรงกับที่บอก
ผู้ปกครองของแต่ละคนเท่านั้น จำเลยจึงหาอาจยกเอาการประชุมดังกล่าวว่าเป็นการ
เสี้ยมสอนโจทก์ร่วมให้ใส่ความจำเลยขึ้นเป็นข้อกล่าวอ้างถึงความมิใช่ผู้เสียหาย
โดยนิตินัยของโจทก์ร่วมได้ ฎีกาในข้อนี้ของจำเลยจึงฟังไม่ขึ้น
	ส่วนข้อที่จำเลยมีคำให้การพยานโจทก์ปากนาย ว. ผู้อำนวยการโรงเรียน 
บ. ในคดีอื่นซึ่งจำเลยถูกฟ้องในข้อหาเดียวกันนี้มานำสืบยืนยันถึงความประพฤติ
ของจำเลยว่าไม่มีข้อเสื่อมเสียก็ดี หรือมีนางสาว ส. ครูโรงเรียนเดียวกับจำเลยมา
เบิกความเป็นพยานจำเลยถึงความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับนักเรียนที่มีความใกล้
ชิดกัน เนื่องจากจำเลยใช้วิธีการเรียนการสอนแบบเรียนปนเล่น เล่นปนเรียน ซึ่งจะ
มีการหยอกล้อระหว่างครูผู้สอนกับเด็กนักเรียน โดยบางครั้งนางสาวสุกัญญายังเห็น
เด็กนักเรียนหญิงแย่งกันขึ้นไปนั่งบนตักของจำเลยในเวลาสอนหนังสือด้วยก็ดี แต่ก็
หาใช่ข้อยืนยันว่าจำเลยมิได้กระทำอนาจารโจทก์ร่วม เนื่องจากพยานจำเลยเหล่านี้
มิได้อยู่รู้เห็นพฤติกรรมของจำเลยที่มีต่อเด็กนักเรียนตลอดเวลา โดยเฉพาะพฤติการณ์
อันจำเลยแสดงออกให้ปรากฏแก่บุคคลทั่วไปดังกล่าว กลับตอกย้ำให้เห็นว่าตลอด
ระยะเวลาที่ผ่านมาจำเลยลอบกระทำการอันไม่สมควรทางเพศกับเด็กนักเรียนแฝง
เร้นอยู่ในวิธีการเรียนการสอนที่จำเลยมักอ้างอยู่เสมอว่าใช้หลักเรียนปนเล่น เล่นปน
เรียนได้อย่างแนบเนียนจนไม่มีผู้สังเกตได้ พยานจำเลยดังกล่าวจึงไม่มีน้ำหนัก
สนับสนุนพยานหลักฐานจำเลยให้น่าเชื่อถือได้ และที่จำเลยฎีกาต่อสู้อีกว่า ในคดี
หมายเลขแดงที่ 689/2561 ของศาลชั้นต้น ซึ่งจำเลยถูกฟ้องในข้อหาทำนองเดียวกับ
คดีนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำพิพากษาให้ยกฟ้องนั้น เห็นว่า จำเลยถูกฟ้องในข้อ
หากระทำอนาจารศิษย์ที่อยู่ในความดูแลทั้งสิ้น 12 คดี ซึ่งผู้เสียหายในแต่ละคดีเป็นผู้
เสียหายต่างคนกัน กรณีจึงเป็นเรื่องที่ศาลในคดีนั้น ๆ ต้องวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยาน
หลักฐานในสำนวนว่าสามารถรับฟังลงโทษจำเลยได้หรือไม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับการนำ
สืบพยานหลักฐานของโจทก์ในแต่ละคดีซึ่งย่อมแตกต่างกันออกไป ไม่จำเป็นที่ศาล
ทุกคดีจะต้องมีคำวินิจฉัยเป็นเช่นเดียวกัน ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น ที่ศาล
อุทธรณ์ภาค 5 เชื่อฟังคำเบิกความของโจทก์ร่วมแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยมานั้น 
จึงต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา
	สำหรับข้อฎีกาของจำเลยที่ขอให้ลดค่าสินไหมทดแทนที่ศาลชั้นต้น
กำหนดให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์ร่วมให้น้อยกว่า 50,000 บาท นั้น เมื่อปรากฏว่าใน
ชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องนี้ การที่จำเลย
กลับฎีกาในปัญหาการกำหนดค่าสินไหมทดแทนขึ้นมาอีก จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้
ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ที่แก้ไขใหม่ 
ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย 
ส่วนฎีกาของจำเลยที่ขอให้รอการลงโทษจำคุกให้นั้น เห็นว่า จำเลยเป็นครูบาอาจารย์ 
สมควรประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีของเด็กนักเรียน ยิ่งเฉพาะกับศิษย์ซึ่งอยู่ใน
ความปกครองดูแลเป็นเด็กเล็ก ซึ่งบิดามารดาให้ความไว้วางใจมอบหมายหน้าที่ให้
จำเลยคอยให้การศึกษาและช่วยเหลือกล่อมเกลา สร้างสมนิสัยให้เป็นคนดี แต่จำเลย
กลับฉวยโอกาสที่มีหน้าที่และความใกล้ชิดกับเด็กสนองอารมณ์ใคร่ของตนเองโดย
อาศัยความอ่อนแอและไม่ประสาต่อโลกของเด็กนักเรียนผู้เป็นศิษย์ พฤติการณ์จึง
เป็นเรื่องร้ายแรง ประกอบกับจำเลยอุทธรณ์และฎีกาต่อสู้คดีมาโดยตลอด หาได้
สำนึกในความผิดที่ตนเองได้กระทำ จึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะรอการลงโทษ
จำคุกให้แก่จำเลย อย่างไรก็ดี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำคุก
จำเลยกระทงละ 1 ปี นั้นหนักเกินไป ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขโทษเสียใหม่ให้เหมาะ
สมแก่พฤติการณ์แห่งคดี ฎีกาของจำเลยฟังขึ้นบางส่วน
	อนึ่ง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่ม
เติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2562 มาตรา 9 ให้แก้ไขมาตรา 279 
แห่งประมวลกฎหมายอาญา โดยบัญญัติความผิดฐานการกระทำอนาจารแก่เด็กอายุ
ยังไม่เกินสิบห้าปีและแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี โดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ 
โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยเด็กนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำ
ให้เด็กนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ไว้ในวรรคสามของมาตราดังกล่าวว่า ต้อง
ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสามแสน
บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หนักกว่าโทษในความผิดฐานเดียวกันที่กำหนดไว้ในมาตรา 
279 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบห้าปี หรือปรับไม่เกินสาม
แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องปรับบทลงโทษจำเลยตาม
กฎหมายซึ่งใช้บังคับในขณะจำเลยกระทำความผิดซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่าตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
	พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 
279 วรรคสอง (เดิม) ประกอบมาตรา 285 จำคุกจำเลยกระทงละ 6 เดือน รวม 4 
กระทงเป็นจำคุก 24 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 
ค่าฤชาธรรมเนียมส่วนแพ่งในชั้นฎีกาให้เป็นพับ

พยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์

 คำพิพากษาฎีกาที่ 8087/2556

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง	
	ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
	มาตรา 653		กู้ยืม 
	มาตรา 654		กู้ยืม ดอกเบี้ย 
	มาตรา 224		ผิดนัด ดอกเบี้ย 
	พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
	พ.ศ. 2544 
	มาตรา 4 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9
	พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
	พ.ศ. 2475 
	มาตรา 3
-
ข้อมูลย่อ
	จำเลยนำบัตรกดเงินสดไปใช้เบิกถอนเงินสด ซึ่งการถอนเงินสด
จำเลยจะต้องทำดามขั้นตอนที่ระบุในคู่มือการใช้บริการต้องใส่รหัสผ่าน
4 หลัก เลือกรายการถอนเงินจากบัญชีสินเชื่อเงินสด เลือกระยะเวลา
การผ่อนชำระ 6 ถึง 36 เดือน ระบุจำนวนเงินที่ต้องการ (5,000 ถึง
20,000 บาท ต่อรายการ) และรับเงินสดพร้อมสลิปไว้เป็นหลักฐาน
ซึ่งในสลิปจะปรากฏอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินใน
แต่ละครั้งอยู่ด้วย แสดงว่าจำเลยสมัครใจกู้ยืมเงินจากโจทก์ตามเงื่อนไข
ที่โจทก์กำหนด ถือเป็นธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ดำเนินการโดย
ใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทาง
อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 4 มีผลใช้บังคับตามมาตรา 7 ซึ่ง
บัญญัติว่าห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทาง
กฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของ
ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับมาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ภาย
ใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 9 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใด
ต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้
มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำ
กลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำ
เป็นหนังสือมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว และมาตรา
9 บัญญัติว่า ในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่าข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้ว ถ้า (1) ใช้วิธีการที่สามารถ
ระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อ
รับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน เมื่อโจทก์มีใบ
บันทึกรายการกดเงินสดมาแสดงประกอบใบคู่มือการใช้บริการ อันเป็น
หลักฐานที่รับฟังได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. 2544 การที่จำเลยนำบัตรกดเงินสดไปถอนเงินและใส่รหัส
ส่วนตัวเสมือนลงลายมือชื่อตนเอง ทำรายการถอนเงินตามที่จำเลย
ประสงค์ และกดยืนยันทำรายการพร้อมรับเงินสดและสลิป การกระทำ
ดังกล่าวจึงถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินจากโจทก์ ทั้งจำเลยขอขยาย
ระยะเวลาผ่อนชำระหนี้สินเชื่อเงินสดที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ ซึ่งมี
ข้อความชัดว่าจำเลยรับว่าเป็นหนี้โจทก์ขอขยายเวลาชำระหนี้ โดย
จำเลยลงลายมือชื่อท้ายเอกสารมาแสดง จึงรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการ
กู้ยืมได้อีกโสดหนึ่ง
	จำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์โดยโจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ0.65
ต่อเดือนหรือคิดเป็นดอกเบี้ยแบบปกติ(Effectiverate) เท่ากับอัตราร้อยละ
13.82 ต่อปี และคิดค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินอัตราร้อยละ 0.65 ต่อ
เดือนหรือคิดเป็นดอกเบี้ยแบบปกติ (Effective rate) เท่ากับอัตราร้อยละ
13.82 ต่อปี รวมกับค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ แล้ว
ไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี (Effective rate) จึงมีผลใช้บังคับระหว่างกันได้
ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์
อธิการและเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ
สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน ฉบับลงวันที่ 20 มิถุนายน
2548 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป
และฉบับลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2549 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1
มกราคม 2550 เป็นต้นไป ขณะที่จำเลยรับบัตรกดเงินสดเป็นเวลา
หลังจากที่หลักเกณฑ์ดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบ
ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลอาจเรียกเก็บดอกเบี้ยได้ไม่เกินกว่าอัตราที่
กฎหมายกำหนดไว้ (ร้อยละ 15 ต่อปี) โดยอัตรารวมสูงสุดของดอกเบี้ย
ค่าปรับค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ รวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ
28 ต่อปี (Effective rate) และผู้ประกอบธุรกิจอาจเรียกเก็บค่าใช้จ่าย
ตามที่ได้จ่ายไปจริงและพอสมควรแก่เหตุนอกเหนือไปจากดอกเบี้ยและ
ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้อีกด้วย เมื่อคำนวณแล้วอัตราดอกเบี้ยและ
ค่าธรรมเนียมที่โจทก์เรียกเก็บไม่เกินกว่าอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศ
ไทยประกาศกำหนด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระต้นเงินพร้อม
ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้ตามที่ตกลงกันไว้
	ตามใบแจ้งยอดบัญชีจำเลยผิดนัดชำระหนี้รอบบัญชีประจำ
วันที่ 28 พฤษภาคม 2550 ที่โจทก์กำหนดให้ชำระทันที แต่จำเลยไม่
ชำระ หลังจากนั้นจำเลยไม่ได้ถอนเงินหรือนำเงินชำระหนี้แก่โจทก์อีก
และโจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยใช้บัตรเบิกถอนเงินต่อไป แสดงให้เห็นว่า
คู่สัญญาต่างตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายจึงถือว่าสัญญาเป็นอันเลิก
กันในวันที่ 28 พฤษภาคม 2550 ในวันดังกล่าวจำเลยค้างชำระ
เป็นต้นเงิน 249,337.76 บาท ดอก เบี้ย 5,733.67 บาท
ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน 5,683.67 บาท และค่าธรรมเนียมด่าง ๆ
269.02 บาท รวมเป็นเงิน 261,024.12 บาท จำเลยจึงต้องรับผิด
แก่ โจทก์
	เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมการใช้
วงเงิน ค่าปรับ และค่าธรรมเนียมอื่นใดตามสัญญาจากจำเลยอีก คงมี
สิทธิเรียกดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
วรรคหนึ่ง ที่ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดซึ่งต่อปี แต่ถ้า
เจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบ
ด้วยกฎหมาย ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น แม้โจทก์ฟ้องเรียก
ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งเป็นไปตามประกาศธนาคารแห่ง
ประเทศไทย เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการ
ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ
ที่มิใช่สถาบันการเงิน ที่ให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินกว่าอัตราที่
กฎหมายกำหนดไว้ (ร้อยละ 15 ต่อปี) แต่ก่อนสัญญาเลิกกันโจทก์คิด
ดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 13.82 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิด
ดอกเบี้ยจากต้นเงินค้างชำระได้ในอัตราร้อยละ 13.82 ต่อปี
-
รายละเอียด
	โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2546 จำเลยทำสัญญากู้
ยืมเงินสินเชื่อเงินสดควิกแคชจากโจทก์ ซึ่งอนุมัติเงินกู้ให้130,000บาท
คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ3 ต่อเดือน (คิดเฉพาะเดือนแรก) ค่าธรรมเนียม
การใช้วงเงินอัตราร้อยละ 1.35 ต่อเดือน และค่าธรรมเนียมจัดการ
เงินกู้ร้อยละ 0.5 ของยอดเงินกู้แต่ไม่ต่ำกว่า 1,500 บาท แบ่งชำระ
เป็นงวดรายเดือนจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วต่อมา
วันที่23 พฤศจิกายน2548โจทก์ส่งบัตรกดเงินสดควิกแคชหมายเลข
1288 4003 5237 9005 ให้แก่จำเลยพร้อมรหัสประจำตัวเพื่อให้
ถอนเงินสดจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ (ตู้เอทีเอ็ม) ของธนาคาร
กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) จำเลยนำบัตรกดเงินสดดังกล่าวไปใช้
เบิกถอนเงินสดรวม 4 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2549 จำนวนเงิน
200,004 บาท แบ่งชำระ 24 งวด งวดละ 1,093 บาท วันที่ 2
พฤศจิกายน 2549 จำนวนเงิน 17,000 บาท แบ่งชำระ 24 งวด
งวดละ429บาทวันที่22พฤศจิกายน2549จำนวนเงิน10,000 บาท
แบ่งชำระ 24 งวด งวดละ 547 บาท และวันที่ 21 ธันวาคม 2549
จำนวนเงิน 121,000 บาท แบ่งชำระ 24 งวด งวดละ 656 บาท
หลังจากนั้นวันที่ 25 ธันวาคม 2549 จำเลยขอขยายระยะเวลา
ผ่อนชำระหนี้สินเชื่อเงินสดควิกแคชที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ รวม 11
รายการดังนี้ยอดสินเชื่อ 23,486.09บาทขอผ่อนชำระ36งวดงวดละ
983 บาท ยอดสินเชื่อ 13,359.71 บาท ขอผ่อนชำระ36 งวดงวดละ
555บาท ยอดสินเชื่อ 14,102.30 บาท ขอผ่อนชำระ36 งวด งวดละ
586 บาท ยอดสินเชื่อ 11,653.34บาท ขอผ่อนชำระ36 งวดงวดละ
484บาท ยอดสินเชื่อ 16,968.78บาท ขอผ่อนชำระ36 งวดงวดละ
707บาท ยอดสินเชื่อ 13,588.11 บาท ขอผ่อนชำระ36 งวดงวดละ
566 บาท ยอดสินเชื่อ 19,299.36 บาท ขอผ่อนชำระ36 งวดงวดละ
802 บาท ยอดสินเชื่อ 19,148.32 บาท ขอผ่อนชำระ36 งวด งวดละ
796 บาท ยอดสินเชื่อ 19,148.32 บาท ขอผ่อนชำระ36 งวดงวดละ
796 บาทยอดสินเชื่อ20,000 บาทขอผ่อนชำระ36งวดงวดละ831
บาท และยอดสินเชื่อ 20,000 บาท ขอผ่อนชำระ36 งวดงวดละ827
บาท รวมผ่อนชำระ 11 รายการ งวดละ 7,933 บาท และเมื่อวันที่ 27
กุมภาพันธ์ 2550 จำเลยใช้บัตรกดเงินสดถอนเงิน 20,000 บาท
ตกลงผ่อนชำระ 36 งวด งวดละ 816 บาท วันที่ 7 มีนาคม 2550
จำเลยถอนเงิน 20,000 บาท ตกลงผ่อนชำระ 36 งวด งวดละ 816
บาทวันที่3เมษายน2550จำเลยถอนเงิน 6,000บาท ตกลงผ่อนชำระ
18งวดงวดละ411 บาทและวันที่23 เมษายน2550 จำเลยถอนเงิน
6,000 บาท ตกลงผ่อนชำระ 18 งวด งวดละ 343 บาท จำเลยได้รับ
เงินไปครบถ้วนแล้ว แต่จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์เพียงบางส่วน โจทก์
นำไปหักทอนบัญชีปรากฏว่า ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2550 จำเลย
เป็นหนี้โจทก์คิดเป็นต้นเงิน249,337.76 บาทดอกเบี้ย23,089.42
บาท และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน 23,758.44 บาท รวมเป็นเงิน
296,185.62 บาท โจทก์ทวงถามแล้วแต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับ
จำเลยชำระเงิน318,933.42บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15ต่อปี
ของต้นเงิน 249,337.76 บาท นับถัดจากฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะ
ชำระเสร็จแก่โจทก์
	จำเลยให้การว่า การกู้ยืมเงินของจำเลยโดยการเบิกเงินกู้จาก
เครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่าง
ใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์คิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินของแต่ละสัญญาเกิน
กว่าร้อยละ 28 ต่อปี จึงเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดย่อมตกเป็น
โมฆะและโจทก์ไม่มีสิทธินำเงินที่จำเลยชำระแล้วไปหักดอกเบี้ยและ
ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินที่โจทก์ไม่มีสิทธิคิดได้ จึงต้องนำไปหักชำระ
ต้นเงิน คิดหักแล้วจำเลยค้างชำระไม่เกิน 106,221.72 บาท โจทก์
โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยไม่เกินอัตราร้อยละ7.5ต่อปีขอให้ยกฟ้อง
	ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องกับให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทน
จำเลย โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท
	โจทก์ อุทธรณ์
	ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์
261,024.12 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 13.82 ต่อปี ของ
ต้นเงิน 249,337.76 บาท นับถัดจากวันที่ 28 พฤษภาคม 2550
เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ กับให้จำเลยให้ค่าฤชาธรรมเนียมใน
ศาลชั้นต้นแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท
ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
	จำเลย ฎีกา
	ศาลฎีกาวินิจฉัยวา “พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังยุติ
ว่า จำเลยเคยกู้ยืมเงินโดยเป็นสมาชิกบริการสินเชื่อ “สินเชื่อเงินสดควิก
แคช” ของโจทก์ ต่อมาโจทก์ส่งบัตรสมาชิก (บัตรกดเงินสด ควิกแคช)
พร้อมทั้งคู่มือการใช้งานให้แก่จำเลยเพื่อประกอบการเบิกถอนเงินสดจาก
เครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) ในวงเงินสินเชื่อที่โจทก์อนุมัติและ
เมื่อจำเลยได้รับบัตรสมาชิกพร้อมเลขรหัสประจำตัวแล้วได้ติดต่อมายัง
โจทก์เพื่อขอเปิดใช้บริการบัตรดังกล่าว จำเลยตกลงให้บริการตามคู่มือ
เอกสารหมาย จ.6 มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรก
ว่า การเบิกเงินสดจากเครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติของจำเลยเป็นการกู้
ยืมที่ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมอันจะทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เห็น
ว่า เมื่อจำเลยนำบัตรกดเงินสดดังกล่าวไปใช้เบิกถอนเงินสดรวม 8 ครั้ง
ตามเอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.10 และ จ.12 ถึง จ.15 ซึ่งการถอนเงิน
สดดังกล่าวจำเลยจะต้องทำตามขั้นตอนที่ระบุในคู่มือการใช้บริการ
เอกสารหมาย จ.6 ต้องใส่รหัสผ่าน 4 หลัก เลือกรายการถอนเงินจาก
บัญชีสินเชื่อเงินสด เลือกระยะเวลาการผ่อนชำระ 6 ถึง 36 เดือน ระบุ
จำนวนเงินที่ต้องการ (5,000 ถึง 20,000 บาท ต่อรายการ) และรับ
เงินสดพร้อมสลิปไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งในสลิปจะปรากฏอัตราดอกเบี้ย
และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินในแต่ละครั้งอยู่ด้วย แสดงว่าจำเลย
สมัครใจกู้ยืมเงินจากโจทก์ตามเงื่อนไขที่โจทก์กำหนด กรณีดังกล่าวถือ
เป็นธุรกรรมในทาง แพ่ง และพาณิชย์ที่ดำ เน้นการโดยใช้ข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์พ.ศ.
2544 มาตรา 4 มีผลใช้บังคับตามมาตรา 7 ซึ่งบัญญัติว่า ห้ามมิให้
ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใด
เพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ประกอบกับมาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ภายใต้บังคับบทบัญญัติ
แห่งมาตรา 9 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ
มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความ
ขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดย
ความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มี
หลักฐานเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว และมาตรา 9บัญญัติว่า
ในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้ว ถ้า (1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของ
ลายมือชื่อ และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความใน
ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน... เมื่อโจทก์มีเอกสารหมายจ.7ถึง
จ.10 และ จ.12 ถึง จ.15 มาแสดงประกอบใบคู่มือการใช้บริการ
เอกสารหมาย จ.6 อันเป็นหลักฐานที่รับฟังได้ตามพระราชบัญญัติว่า
ด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 การที่จำเลยนำบัตรกด
เงินสดควิกแคชไปถอนเงินและใส่รหัสส่วนตัวเสมือนลงลายมือชื่อตนเอง
ทำรายการถอนเงินตามที่จำเลยประสงค์ และกดยืนยันทำรายการ
พร้อมรับเงินสดและสลิป การกระทำดังกล่าวจึงถือเป็นหลักฐานการกู้
ยืมเงินจากโจทก์ ประกอบทั้งจำเลยมีการขอขยายระยะเวลาผ่อนชำระ
หนี้สินเชื่อเงินสดควิกแคชที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ รวม 11 รายการ
โจทก์มีเอกสารหมาย จ.11 ซึ่งมีข้อความชัดว่าจำเลยรับว่าเป็นหนี้
โจทก์ขอขยายเวลาชำระหนี้โดยจำเลยลงลายมือชื่อท้ายเอกสารมาแสดง
จึงรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้อีกโสดหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
	ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยต่อไปมีว่าจำเลยต้องรับผิด
เพียงใด โดยจำเลยฎีกาว่า ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินที่กำหนดไว้ใน
สัญญาที่แท้จริงแล้วคือดอกเบี้ย เมื่อรวมดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลย
อีกต่างหากแล้ว จึงเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ต้องห้ามตาม
พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 (ก)
ข้อตกลงเรื่องดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะนั้น เห็นว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์
และรับเงินไปแล้ว 8 ครั้ง ตามเอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.10 และ จ.12 ถึง
จ.15และสินเชื่อที่ขอขยายระยะเวลาผ่อนชำระตามเอกสารหมายจ.11
โดยโจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 0.65 ต่อเดือน หรือคิดเป็นดอกเบี้ย
แบบปกติ (Effective rate) เท่ากับอัตราร้อยละ 13.82 ต่อปี และคิด
ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินอัตราร้อยละ 0.65 ต่อเดือนหรือคิดเป็น
ดอกเบี้ยแบบปกติ (Effective rate) เท่ากับอัตราร้อยละ 13.82 ต่อปี
รวมกับค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ แล้ว จึงไม่เกินร้อยละ
28 ต่อปี (Effective rate) จึงมีผลใช้บังคับระหว่างกันได้ ตามประกาศ
ธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและ
เงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับสำหรับ
ผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินฉบับลงวันที่ 20 มิถุนายน 2548
ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป และฉบับละ
วันที่ 20 กรกฎาคม 2549 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม
2550 เป็นต้นไป ดังนั้น ขณะที่จำเลยได้รับบัตรกดเงินสดเมื่อวันที่ 23
พฤศจิกายน 2548 จึงเป็นเวลาหลังจากที่หลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น
มีผลใช้บังคับแล้ว จึงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วน
บุคคลอาจเรียกเก็บดอกเบี้ยได้ไม่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้
(ร้อยละ 15 ต่อปี) โดยอัตรารวมสูงสุดของดอกเบี้ยค่าปรับค่าบริการ
และค่าธรรมเนียมใด ๆ ดังกล่าวรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี
(Effective rate) และผู้ประกอบธุรกิจอาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่าย
ไปจริงและพอสมควรแก่เหตุนอกเหนือไปจากดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
ต่าง ๆ ได้อีกด้วย เมื่อคำนวณแล้วอัดราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
ที่โจทก์เรียกเก็บไม่เกินกว่าอัตราทีธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศ
กำหนด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยและ
ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้ ตามที่ตกลงกันไว้ ปรากฏตามใบแจ้งยอดบัญชี
เอกสารหมาย จ.16 ว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้รอบบัญชีประจำวันที่ 28
พฤษภาคม 2550 ที่โจทก์กำหนดให้ชำระทันที แต่จำเลยไม่ชำระ
หลังจากนั้นจำเลยไม่ได้ถอนเงินหรือนำเงินชำระหนี้แก่โจทก์อีก และ
โจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยใช้บัตรเบิกถอนเงินต่อไป แสดงให้เห็นว่า
คู่สัญญาต่างตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายจึงถือว่าสัญญาเป็นอันเลิก
กันในวันที่ 28 พฤษภาคม 2550 ในวันดังกล่าวจำเลยค้างชำระ
เป็นต้นเงิน 249,337.76 บาท ดอกเบี้ย 5,733.67 บาท
ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน 5,683.67 บาท และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
269.02 บาท รวมเป็นเงิน 261,024.12 บาท จำเลยจึงต้องชำระ
เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ส่วนที่โจทก์ขอคิดค่าปรับและค่าธรรมเนียม
อื่น ๆ ภายหลังจากวันดังกล่าวนั้น เห็นว่า เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว โจทก์
ไม่มีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน ค่าปรับ และค่าธรรมเนียมอื่นใด
ตามสัญญาจากจำเลยอีก โจทก์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ให้คิดดอกเบี้ยใน
ระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แต่ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้
สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ให้คงส่งดอกเบี้ย
ต่อไปตามนั้น แม้โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งเป็น
ไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การ
กำกับสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินที่ให้โจทก์เรียก
ดอกเบี้ยได้ไม่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ (ร้อยละ 15 ต่อปี) แต่
ก่อนสัญญาเลิกกันโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 13.82
ต่อปี เท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินค้างชำระจำนวน
244,337.76 บาท ได้ในอัตราร้อยละ 13.82 ต่อปี นับถัดจากวันที่
28 พฤษภาคม 2550 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้แก่โจทก์
เสร็จสิ้น ส่วนคำพิพากษาศาลฎีกาที่อ้างมานั้นข้อเท็จจริงไม่ตรงกับ
ข้อเท็จจริงในคดีนี้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย
ฎีกาของจำเลยทุกข้อฟังไม่ขึ้น”
	พิพากษายืนค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ

ขโมยข้อมูลที่ไม่ถือว่าเป็นการลักทรัพย์

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5161/2547

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
	ประมวลกฎหมายอาญา
	มาตรา 335	ลักทรัพย์โดยมีเหตุฉกรรจ์ 
ข้อมูลย่อ
	ข้อมูลตามพจนานุกรมให้ความหมายว่า “ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่า
เป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ” ส่วนข้อเท็จจริง
หมายความว่า “ข้อความแห่งเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือที่เป็นอยู่ตามจริงข้อความหรือเหตุการณ์
ที่จะต้องวินิจฉัยว่าเท็จหรือจริง” ดังนั้น ข้อมูลจึงไม่นับเป็นวัตถุมีรูปร่าง สำหรับตัวอักษร
ภาพแผนผัง และตราสารเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ถ่ายทอดความหมายของข้อมูลออกจาก
แผ่นบันทึกข้อมูลโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์มิใช่รูปร่างของข้อมูล เมื่อ ป.พ.พ.มาตรา137
บัญญัติว่า ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง ข้อมูลในแผ่นบันทึกข้อมูลจึงไม่ถือเป็นทรัพย์
การที่จำเลยนำแผ่นบันทึกข้อมูลเปล่าลอกข้อมูลจากแผ่นบันทึกข้อมูลของโจทก์ร่วม จึงไม่ 
เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
-
รายละเอียด
	โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา1 มาตรา 188, 335,	
357, 91 คืนแผ่นบันทึกข้อมูลและเอกสารแก่ผู้เสียหาย
	จำเลยให้การปฏิเสธ
	ระหว่างพิจารณา	บริษัทธรรมนิติ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้เสียหาย
ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต
	ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คืนแผ่นบันทึกข้อมูลและเอกสารให้โจทก์ร่วม
	โจทก์และโจทก์ร่วมอุทธรณ์
	ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน	
	โจทก์ร่วมฎีกาโดยผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกา
	ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ฎีกาโต้แย้งรับฟังได้
ในเบื้องต้นว่า จำเลยเป็นพนักงานแผนกต่างประเทศของโจทก์ร่วม มีหน้าที่เตรียม
เอกสารคำขอใบอนุญาตติดต่อหน่วยราชการ ติดต่อประสานงานกับลูกค้าต่างประเทศ
ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยนำเอกสาร จำนวนประมาณ 400 แผ่น	
ตามเอกสารหมาย จ.3 จากสำนักงานโจทก์ร่วมไปไว้ที่บ้านจำเลยเพื่อทำงานให้แก่
โจทก์ร่วม กับนำแผ่นบันทึกข้อมูลเปล่าลอกข้อมูลในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ของ 
โจทก์ร่วมจากแผ่นบันทึกข้อมูลที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของโจทก์ร่วม จำนวนรวม
41 แผ่น มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ร่วมว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิด
ตามฟ้องหรือไม่ สำหรับความผิดฐานเอาไปเสียซึงเอกสารในประการที่น่าจะเกิด
ความเสียหายแก่โจทก์ร่วมหรือผู้อื่นนั้น โจทก์ร่วมฎีกาว่า โจทก์ร่วมมีระเบียบห้ามนำ
เอกสารออกนอกที่ทำการ แม้จะไม่ถือเป็นข้อห้ามเด็ดขาดตามระเบียบนั้น แต่มิได้
หมายความว่า เมื่อพนักงานนำงานออกจากที่ทำการของโจทก์ร่วมไปทำต่อที่บ้านแล้ว 
พนักงานไม่จำต้องนำเอกสารทีเหลือหรือมิได้ใช้งานแล้วมาคืนโจทก์ร่วม การที่จำเลย
ทำงานเสร็จแล้วกลับไม่นำเอกสารที่เกี่ยวข้องมาคืนเพื่อส่งคืนลูกค้า เป็นการทำให้
โจทก์ร่วมเสียหายแล้ว เพราะเอกสารส่วนหนึ่งเป็นความลับของลูกค้า เห็นว่า ตามคำเบิก 
ความของนางจิตติมา โสตถิพันธุ์พนักงานโจทก์ร่วม ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายต่างประเทศ
ได้ความว่า เอกสารหมาย จ.3 ซึ่งลูกค้าส่งมาให้โจทก์ร่วมนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูล
เกี่ยวกับหนังสือรับรองของบริษัท บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น งบบัญชีกำไรขาดทุน และ
สำเนาหนังสือเดินทาง เอกสารดังกล่าวจึงล้วนเป็นเอกสารที่บุคคลสามารถไปขอ
ตรวจสอบและขอคัดสำเนาได้จากกรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ จึงไม่ถือเป็น
ความลับของบริษัทลกค้าโจทก์ร่วมอันต้องปกปิด ดังนั้น การที่จำเลยใช้เอกสาร	
ดังกล่าวปฏิบัติในหน้าทีให้แก่โจทก์ร่วมเสร็จแล้วไม่นำกลับคืนแก่โจทก์ร่วมจึงไม่น่า
จะเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมหรือลูกค้าของโจทก์ร่วมต้องเสียหาย การกระทำของจำเลย
จึงไม่เป็นความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย
แก่โจทก์ร่วมหรือผู้อื่น ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยปัญหานี้ชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย
ฎีกาของโจทก์ร่วมข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
	ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ร่วมต่อไปว่า การที่จำเลยนำแผ่นบันทึกข้อมูล
เปล่าลอกข้อมูลจากแผ่นบันทึกข้อมูลที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของโจทก์ร่วม เป็น	
ความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ โจทก์ร่วมฎีกาว่า ข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ของโจทก์
ร่วมมีรูปร่างเป็นตัวอักษร ภาพ แผนผัง และตราสาร จึงเป็นทรัพย์ตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 การที่จำเลยเอาข้อมูลของโจทก์ร่วมดังกล่าวไป
จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เห็นว่า ข้อมูลตามพจนานุกรมให้ความหมายว่า
	"ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมาน 
หาความจริงหรือการคำนวณ" ส่วนข้อเท็จจริงหมายความว่า "ข้อความแห่งเหตุการณ์
ที่เป็นมาหรือที่เป็นอยู่ตามจริงข้อความหรือเหตุการณ์ที่จะต้องวินิจฉัยว่าเท็จหรือจริง"
ดังนั้น ข้อมูลจึงไม่นับเป็นวัตถุมีรูปร่าง สำหรับตัวอักษรภาพ แผนผัง และตราสาร
เป็นเพียงสัญลักษณ์ทีถ่ายทอดความหมายของข้อมูลออกจากแผ่นบันทึกข้อมูล 
โดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ มิใช่รูปร่างของข้อมูล เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ มาตรา 137 บัญญัติว่าทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง ข้อมูลในแผ่น
บันทึกข้อมูลจึงไม่ถือเป็นทรัพย์ การที่จำเลยนำแผ่นบันทึกข้อมูลเปล่าลอกข้อมูลจาก
แผ่นบันทึกข้อมลของโจทก์ร่วม  จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามฟ้อง ศาลล่าง
ทั้งสองพิพากษายกฟ้อง ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ร่วมทุกข้อฟังไม่ขึ้น"
	พิพากษายืน

หมายเหตุ
	ท่านอาจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า ตาม ป.อ. มาตรา 334 ใช้คำว่า
เอาทรัพย์ของผู้อื่น ฯลฯ ไปฯลฯ ตราบใดที่ยังไม่มีบทกฎหมายเฉพาะสำหรับเรื่องกระแส
ไฟฟ้า ศาลก็ต้องตีความคำว่า "ทรัพย์" ว่าหมายความถึงกระแสไฟฟ้าด้วยหรือไม่
ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2501.
ตัดสินว่า การลักกระแสไฟฟ้าย่อมเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 334 หรือ 335
แล้วแต่กรณี และศาลฎีกาในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6384/2547 ตัดสินยืน
ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์1ภาค 7 ในข้อที่ว่า จำเลยลักคลื่นสัญญาณโทรศัพท์จาก
สายสัญญาณและตู้โทรศัพท์สาธารณ ะของผู้เสียหายไปโดย ทุจริต
ท่านอาจารย์จิตติ อธิบายต่อไปว่า ทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่างจับต้องไม่ได้ เช่น	
สิทธิเรียกร้องลิขสิทธิ์ สิทธิในเครื่องหมายการค้า สิทธิในการประดิษฐ์หรือสิทธิในชื่อ
การค้า ฯลฯ ไม่เป็นสิ่งที่ลักได้
	คำพิพากษาศาลฎีกาที่กำลังบันทึกหมายเหตุอยู่นี้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลัก
ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าของโจทก์ร่วม จำพวกที่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการแปลเอกสารและ	
แบบร่างสัญญาภาษาอังกฤษ โดยศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า จำเลยนำเอาแผ่น
บันทึกข้อมูลเปล่าขอ่งจำเลยเองมาคัดลอกข้อมูลดังกล่าวจากแผ่นบันทึกข้อมูล
ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของโจทก์ร่วม
	น่าสังเกตว่าคดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องว่าจำเลยลักแผ่นบัน 2 ทึกข้อมูลของโจทก์ร่วมไป
ซึ่งแน่นอนว่าตัวแผ่นบันทึกข้อมูลนั้นย่อมเป็นทรัพย์ เป็นวัตถุมีรูปร่าง จับต้องได้ และ
ย่อมเป็นสิ่งที่ลักเอาไปได้โดยไม่ต้องสงสัย
	แต่เมื่อสิ่งที่จำเลยถูกกล่าวหาว่าลักไปในคดีนี้คือ ข้อมูล จึงมีปัญหาที่
ศาลฎีกาต้องวางหลักการอีกครั้งว่า ข้อมูล เป็นวัตถุมีรูปร่างที่ลักได้หรือไม่
ข้อมูลในคดีนอกจากจะเป็นข้อเท็จจริงแล้วยังมีลักษณะเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
อีกด้วย พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 254 4 ได้นิยามว่า
หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทาง
อิเล็กทรอนิกส์เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
โทรเลข โทรพิมพ์ หรือโทรสาร ซึ่งหากข้อมูลที่อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้น
ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปของเอกสาร แล้วจำเลยเอาเอกสารเหล่านั้นไปเสีย ก็น่าคิดว่า
จะเป็นการลักทรัพย์ที่เป็นเอกสารหรือเป็นการเอาไปเสียซึ่งเอกสาร	
	มีข้อน่าสังเกตอีกประการหนึ่งอันสืบเนื่องมาจาก พ.ร.บ. ความลับทางการค้า
พ.ศ. 2545ซึ่งได้นิยามความหมายของ "ความลับทางการค้า"ว่าหมายความว่า ข้อมูล
การค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไป หรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคลซึ่งโดยปกติแล้วต้อง
เกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าวโดยเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากการ	 
เป็นความลับ และเป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้มาตรการที่เหมาะสม
เพื่อรักษาไว้เป็นความลับ โดยข้อมูลการค้าที่จะเป็นความลับทางการค้านั้น
หมายความว่า เป็นสิ่งที่สื่อความหมายให้รู้ข้อความ เรื่องราว ข้อเท็จจริง หรือสิ่งใด
ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะผ่านวิธีการใด ๆ และไม่ว่าจะจัดทำไว้ในรูปใด ๆ และ
ให้หมายความรวมถึงสูตรรูปแบบ งานที่ได้รวบรวมหรือประกอบขึ้น โปรแกรม วิธีการ
เทคนิค หรือกรรมวิธีด้วย และในมาตรา 6 ได้บัญญัติว่า การละเมิดสิทธิในความลับ	
ทางการค้าตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่ การกระทำที่เป็นการเปิดเผย เอาไป หรือใช้
ซึ่งความลับทางการค้าโดยไม่ไต้รับความยินยอมจากเจ้าของความลับทางการค้านั้น
อันมีลักษณะขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกัน ทั้งนี้ ผู้ละเมิด
จะต้องรู้หรือมี เหตุอันควรรู้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการขัดต่อแนวทางปฏิบัติเช่นว่านั้น
และการกระทำที่มีลักษณะขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกัน
หมายความรวมถึงการผิดสัญญา การละเมิดหรือการกระทำในประการที่เป็นการูจงใจให้ละเมิด
ความลับอันเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน การติดสินบน การข่มขู่ การฉ้อโกง การลักทรัพย์
การรับของโจร หรือการจารกรรมโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใดด้วย
	จากบทบัญญัติดังกล่าวดูประหนึ่งว่าหากข้อมูลในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกา
ฉบับนี้เป็นความลับทางการค้าแล้ว ก็สามารถที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้
ตามกฎหมายอังกฤษ The Theft Act 1968 ศาลอังกฤษยังคงถือว่าความลับ
ทางการค้า (Trade secrets or Confidential Information) ไม่สามารถเป็นวัตถุแห่ง
การลักเอาไปได้ ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลอันเป็นความลับนั้นไม่ใช่ทรัพย์สิน (property) 
ตามความมุ่งหมายของ The Theft Act เหตุผลหนึ่งคงเพราะแม้ความลับทางการค้าจะจัด
ว่าเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ในประเภททรัพย์สินทางปัญญาแต่เป็นการจัดให้เป็น
เช่นนั้นเพื่อประโยชน์ในการให้ความคุ้มครองทางแพ่งแก่ความลับทางการค้าอันเป็น
แนวความคิดในการส่งเสริมและปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงเศรษฐกิจและ
อุตสาหกรรม	 
	อย่างไรก็ตาม ในสหรัฐอเมริกาเองได้ใช้กฎหมายเฉพาะ (Theft and Larcery
Statutes) ในการพิจารณาว่าข้อมูลอันเป็นความลับทางการค้านั้นสามารถเป็นความผิด
ฐานลักทรัพย์ได้ 
	สำหรับประเทศไทยนั้นดังได้กล่าวแล้วว่า พ.ร.บ. ความลับทางการค้า
พ.ศ. 2545 มาตรา 6 บัญญัติเป็นทำนองประหนึ่งว่าข้อมูลอันเป็น ความลับทางการค้า
นั้นสามารถเป็นวัตถุแห่งการลักทรัพย์ได้ ในขณะที่ศาลฎีกาเองโดยคำพิพากษา
ศาลฎีกาฉบับนี้ เนื่องจากไม่มีประเด็นที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสถานะของข้อมูลว่าเป็น
ความลับทางการค้าหรือไม่ จึงยังไม่อาจคาดหมายได้ว่า หากสิ่งที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลย
ลักเอาไปเป็นข้อมูลอันเป็นความลับทางการค้า ศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าอย่างไร

ดุลพินิจของพนักงานสอบสวน

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3334/2558

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง	
	ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
	มาตรา 131 ถึง มาตรา 134	การสอบสวน
	มาตรา 158			บรรยายฟ้อง
-
ข้อมูลย่อ
	คำฟ้องโจทก์บรรยายในความผิดฐานหมิ่นประมาทมีข้อความ
ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
(5) โดยระบุข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ พร้อมทั้งข้อความ
อันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาทซึ่งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ดี
แล้วว่า พ. ก. พนักงานบริษัท อ. และบุคคลทั่วไปเข้าใจได้ว่าบุคคล
ที่จำเลยกล่าวถึงในข้อความอันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาทหมายถึง
ผู้เสียหาย คำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131
ถึงมาตรา 134 การสอบสวนคดีเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงาน
สอบสวนที่จะสืบหาพยานหลักฐานมาประกอบในการดำเนินคดีตามที่
ได้รับแจ้ง และเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะเรียกบุคคลใด
มาเป็นพยานหรือหมายเรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องมาเป็นพยาน การที่
พนักงานสอบสวนสอบปากคำและรวบรวมพยานหลักฐานแล้วมี
ความเห็นควรสั่งฟ้องจำเลยในข้อหาตามที่แจ้งข้อกล่าวหา เนื่องจาก
ผู้เสียหายยืนยันว่าบุคคลที่ระบุไว้ในอีเมล์เข้าใจได้ว่าเป็นผู้เสียหาย
โดยไม่ได้สืบสวนสอบสวนพยานหลักฐานอื่นอีก ย่อมเป็นดุลพินิจของ
พนักงานสอบสวน การสอบสวนคดีชอบด้วยกฎหมายแล้ว
-
รายละเอียด
	โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2553 เวลากลางวัน
ถึงวันที่ 1 กันยายน 2553 เวลากลางวันต่อเนื่องกัน จำเลยกระทำ
ความผิดหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ จำเลยนำข้อมูลคอมพิวเตอร์
ซึ่งมีข้อความกล่าวนางสาวสุกัญญา รัฐภูมิ ผู้เสียหายตามเอกสาร
ท้ายคำฟ้องโดยสรุปว่า “นังมารร้ายไม่ชอบพี่เปิ้ลค่ะ เลยถือโอกาส
เหมาะโยนความผิดให้พ้นตัว โบ้ยไปที่พี่เปิ้ลยังไม่พอ โบ้ยมาที่จ๋า
โบ้ยไปที่แฟนจ๋า โบ้ยไปหาคนอื่น ยกเว้นตัวเอง” “ตัวจ๋าที่ผ่านมาก็โดน
ข่าวลือต่าง ๆ นานา จากผู้ไม่หวังดี คอยใส่ร้ายจ๋าหลาย ๆ เรื่อง
เป็นระลอกคลื่น เช่น เรื่องการเมือง เรื่องที่จ๋าป่วย เรื่องผู้ตาย
เรื่องทุกอย่างที่นางมารร้ายจะสรรหามาทำลายได้ ด้วยจุดประสงค์
เดียวเพื่อให้จ๋าเสียหายค่ะ อย่าไปหลงกลมันนะค่ะ พี่น้องผู้ชาญฉลาด
ทั้งหลาย นางมารร้ายและเพื่อนสนิทไม่เคยชอบผู้หญิงคนไหนในดูเอ้ห์
ค่ะ ผู้ตายหงำเหงือกหรืองี่เง่าก็โดนนะค่ะ อย่านึกว่ารอด มีผู้หญิงหลาย
คนที่โดนเล่นงานค่ะ พี่เปิ้ลก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง” “นังยักษ์ขมูขีคอย
ปล่อยข่าวลือเสีย ๆ หาย ๆ ใส่จ๋าด้วยจุดประสงค์เดียวคือความอิจฉา
ริษยา จ๋าไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมและแกร่งพอที่จะต่อสู้กับเสือ สิงห์ กระทิง
แรด ได้จึงขอโบกธงลา แต่ชีก็ยังตามเล่นงานไม่เลิก และฉวยโอกาสนี้
ให้เป็นประโยชน์โยนความผิดให้คนอื่น ถือโอกาสกำจัดทีเดียวยกแผง
ยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว” “จ๋ารู้ว่านางยักษ์ไม่อยากโดนข้อหา
รังแกเด็ก ใส่ความเด็ก เป็นมือที่สามและกระหายผู้ชาย ชีเลยหาเหยื่อ
คือพี่เปิ้ลซึ่งชีไม่ชอบเป็นทุนเดิมอยู่แล้วรับผิดไปเต็ม ๆ” “นางมารร้าย
ชอบยั่วแฟนจ๋า ชัดมั้ยค่ะ หนีไม่ตบมันก็ดีแค่ไหนแล้วค่ะ แล้วดูมันทำ
กับหนูซิค่ะ แกล้งหนูสารพัดเลยค่ะ ที่ผ่านมาหนูได้แต่เก็บความแค้น
เอาไว้นะค่ะ แฟนจ๋าก็ไม่อยากมีเรื่อง เขาเป็นคนเงียบ ๆ แต่มันชอบ
เอาไปพูดให้เป็นประเด็นให้คนรักทะเลาะกัน เพราะมันชอบแฟนจ๋าค่ะ
แต่มันมีผัวแล้วนี่ค่ะ ผิดศีลนะค่ะ นอกใจผัว แล้วยุแหย่คนรักแตกแยก
กัน ขี้นินทา ชอบใส่ไฟคนอื่น เลยค่ะ ชอบมาถาม มายุ่ง มายุแหย่
ปล่อยข่าว พยายามเป็นมือที่สามให้ความรักจ๋าล้มเหลวให้ได้ สาธุ
ขอให้กรรมตามสนองมันค่ะ แล้วตอนนี้ยังมาโบ้ยให้เป็นความผิดของ
แฟนจ๋าด้วย จ๋าบอกได้เลยว่าจ๋าโดนมันแกล้งตั้งแต่เริ่มทำงานที่อูเด้ห์
ตั้งแต่ยังไมู่ร้จักกับแฟนเลยค่ะ ไม่ใช่ว่าพอมาคบกันแล้วเลยไม่ถูกกับ
นางมารร้ายค่ะ มันหาเรื่องจ๋ามาก่อนหน้านานแล้วค่ะ” “นังยักษ์ขมูขี
เคยเป็นลูกน้องพี่จรัล แล้ววันไม่ชอบทำงานเอาแต่เจ๊าะแจ๊ะเรื่องฝรั่ง
พี่จรัลเลยจะให้ชีออก แต่โชคดีมีฝรั่งมาหนุนนำ ชีเลยรอดตัวไปพร้อม
กับความแค้นหัวหน้าเก่า พอได้ทีก็จวกแทงข้างหลัง” “ที่สำคัญจ๋ามี
คุณธรรมและจริยธรรมมากพอที่จะไม่ประพฤติผิดศีล 5 แบบนางยักษ์
ค่ะ” “อ้อ จ๋าขอแนะนำว่า อูเด้ห์ ควรเอาพนักงานหญิงออกให้หมด
แล้วรับแต่พนักงานชาย ยังหนุ่ม ๆ ยังดี เอาไว้สังเวยเจ้าแม่กาลีประจำ
ออฟฟิศ ออฟฟิศจะได้สงบสุขและไม่มีเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายอีก (ยกเว้น
ผู้ตายโดนยักษ์กิน)” ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นความเท็จและเป็นการนำ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จดังกล่าวเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของ
จำเลยและบริษัทอูเด้ห์ เชดเด้น (ประเทศไทย) จำกัด แล้วจำเลยได้ส่ง
ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จดังกล่าว (จดหมายอิเล็กทรอนิกส์) ไปให้
แก่นายพีระศักดิ์ โพธิ์ศรี นางสาวกุลรภัส ผกาหอม และพนักงานบริษัท
อูเด้ห์ เชดเด้น (ประเทศไทย) จำกัด และบุคคลทั่วไป อันเป็นการนำ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยประการที่
น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ผู้อื่นหรือประชาชน และจำเลย
ได้นำส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(ข้อมูลคอมพิวเตอร์) ซึ่งมีข้อความ
หมิ่นประมาทผู้เสียหายดังกล่าวมาข้างต้น ไปให้นายพีระศักดิ์ โพธิ์ศรี
นางสาวกุลรภัส ผกาหอม และพนักงานบริษัทอูเด้ห์ เชดเด้น (ประเทศ
ไทย) จำกัด และบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ คำว่า “นังมารร้าย” “นางมารร้าย”
“นังยักษ์ขมูขี” “นางยักษ์” และคำว่า “ชี” ทั้งหมด หมายถึงตัวผู้เสียหาย
และข้อความดังกล่าวที่ปรากฏนั้นก็เป็นความเท็จ เป็นการใส่ความ
ผู้เสียหายต่อบุคคลที่สาม และประชาชนทั่วไปที่ได้อ่านข้อความใน
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์(ข้อมูลคอมพิวเตอร์) ให้เข้าใจไปในทางที่ว่า
ผู้เสียหายเป็นบุคคลที่ชอบใส่ร้ายป้ายสีคนอื่น กลั่นแกล้งคนอื่นให้เกิด
ความเสียหาย เป็นบุคคลที่มีความประพฤติยุแหย่ให้คนอื่นทะเลาะกัน
เข้าใจผิดกัน ชอบนินทาคนอื่นด้วยเรื่องเสีย ๆ หาย ๆ เป็นคนไม่มีศีล
ธรรม และประพฤติผิดในเรื่องกามารมณ์ เป็นบุคคลที่นอกใจสามี เป็น
ชู้กับผู้อื่น ชอบแย่งแฟนคนอื่น มักมากในกามารมณ์เป็นคนเจ้าคิด
เจ้าแค้น คอยแต่จะแก้แค้นผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา เป็นคนที่ไม่น่าคบหา
สมาคมด้วย ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด อันเป็นการใส่ความ
ผู้เสียหายต่อบุคคลที่สามโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร โดยประการ
ที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง จาก
ผู้ที่ได้รับและอ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(ข้อมูลคอมพิวเตอร์) ดังกล่าว
ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.
2550 มาตรา 14 (1)
	จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
	ระหว่างพิจารณา นางสาวสุกัญญา รัฐภูมิ ผู้เสียหาย ยื่นคำร้อง
ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสื่อมเสียชื่อเสียง
เป็นเงิน 20,000 บาท และให้เขียนอีเมลขอโทษผู้เสียหายและส่งไป
ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องและผู้รับอีเมล์ที่กล่าวหาใส่ความทุกคน
	จำเลยให้การในคดีส่วนแพ่งว่า คำร้องของผู้ร้องไม่อยู่ใน
หลักเกณฑ์ที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหม
ทดแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1
วรรคสอง โดยคำร้องมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง อีกทั้งคำร้องมิได้แสดงรายละเอียดตามสมควร
เกี่ยวกับความเสียหายและค่าสินไหมทดแทน ไม่อาจทำให้จำเลยเข้าใจ
ข้อหาและคำขอบังคับตามคำร้องของผู้ร้องได้ คำร้องจึงเคลือบคลุม
จำเลยไม่ได้กระทำละเมิด ผู้ร้องจึงไม่ได้รับความเสียหายไม่มีอำนาจ
ยื่นคำร้อง และผู้ร้องไม่อาจขอให้บังคับจำเลยให้ส่งอีเมลขอโทษได้
เนื่องจากไม่ต้องด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
อาญา มาตรา 44/1 และไม่ใช่โทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 ขอให้ยกคำร้อง
	ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 พระราชบัญญัติว่าด้วยการ
กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1)
เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตาม
พระราชบัญญัติว่าด้วยกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฯ อันเป็น
กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
90 จำคุก 3 เดือน และให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 20,000
บาท แก่ผู้เสียหาย คำขออื่นให้ยก
	จำเลย อุทธรณ์
	ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับจำเลย
30,000 บาท อีกสถานหนึ่ง ให้รอการลงโทษจำคุกไว้มีกำหนด 2 ปี
ให้คุณความประพฤติของจำเลยไว้ตลอดระยะเวลาที่รอการลงโทษ
ให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก ๆ 4 เดือน และ
ให้จำเลยกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่
พนักงานคุมประพฤติและจำเลยเห็นสมควร มีกำหนด 20 ชั่วโมง
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการ
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไป
ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
	จำเลย ฎีกา
	ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัย
ตามฎีกาของจำเลยข้อแรกว่า ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานหมิ่นประมาท
ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
หรือไม่ เห็นว่า คำฟ้องที่โจทก์บรรยายในความผิดฐานหมิ่นประมาท
นั้นมีข้อความครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 158 (5) แห่ง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า
โจทก์ต้องบรรยายฟ้องให้จำเลยเข้าใจได้ว่าบุคคลที่จำเลยกล่าวถึง คือ
นังมารร้าย นางมารร้าย นังยักษ์ขมูขี นางยักษ์ ชี ตามที่โจทก์อ้างมา
ในฟ้องนั้น ทำให้นายพีระศักดิ์ โพธิ์ศรี นางสาวกุลรภัส ผกาหอม
พนักงานบริษัทอูเด้ห์ เชดเด้น (ประเทศไทย) จำกัด และบุคคลทั่วไป
เข้าใจได้ว่าหมายถึงผู้เสียหายนั้น เห็นว่า ฟ้องโจทก์ได้ระบุข้อเท็จจริง
และรายละเอียดต่าง ๆ พร้อมทั้งข้อความอันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาท
ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ดีแล้วว่านายพีระศักดิ์ นางสาว
กุลรภัส พนักงานบริษัทอูเด้ห์ เชดเด้น (ประเทศไทย) จำกัด และบุคคล
ทั่วไปเข้าใจได้ว่าบุคคลที่จำเลยกล่าวถึงในข้อความอันเกี่ยวกับ
ข้อหมิ่นประมาทนั้น หมายถึงผู้เสียหาย โดยไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้อง
ให้ชัดเจนดังที่จำเลยฎีกา ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้
ฟังไม่ขึ้น
	มีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลย
ข้อต่อไปว่า การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า
พนักงานสอบสวนไม่ได้สอบสวนตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ว่า อีเมลตาม
เอกสารหมาย จ.1 ไม่ได้หมายถึงผู้เสียหาย และไม่ได้สอบสวนว่า
ข้อมูลที่จำเลยอ้างเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเท็จนั้นมีความจริง
ประการใดนั้น เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 131 ถึงมาตรา 134 การสอบสวนคดีเป็นอำนาจหน้าที่ของ
พนักงานสอบสวนที่จะสืบหาพยานหลักฐานมาประกอบในการดำเนิน
คดีตามที่ได้รับแจ้ง และเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะเรียก
บุคคลใดมาเป็นพยานหรือหมายเรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องมาเป็นพยาน
การที่พันตำรวจโทไชยาจิตต์ จันทะเสน พนักงานสอบสวนสอบปากคำ
และรวบรวมพยานหลักฐานแล้วมีความเห็นควรสั่งฟ้องจำเลยในข้อหา
ตามที่แจ้งข้อกล่าวหาเนื่องจากผู้เสียหายยืนยันว่าบุคคลที่ระบุไว้
ในอีเมล์เข้าใจได้ว่าเป็นผู้เสียหายดังคำเบิกความของพันตำรวจโท
ชยาจิตต์ โดยไม่ได้สืบสวนสอบสวนพยานหลักฐานอื่นอีกดังที่จำเลย
ฎีกา จึงเป็นดุลพินิจของพันตำรวจโทไชยาจิตต์พนักงานสอบสวน
การสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้
ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน ”
	พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ

อำนาจฝากขังของศาลชั้นต้น

 คําพิพากษาฎีกาที่ 4265/2561

	คู่กรณี
ผู้ร้อง
	พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิด 
	เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
ผู้ต้องหา
	นายวัฒนา เมืองสุข 
-
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
	ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 
	มาตรา 193		อุทธรณ์ฎีกา 
-
ข้อมูลย่อ
	คําสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาตามคําร้อง 
ของพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 
มาตรา 71 ประกอบมาตรา 66 ไม่ใช่เรื่องที่กฏหมายมีความ 
ประสงค์จะให้ผู้ต้องหายื่นอุทธรณ์คัดค้านได้ ตามประมวลกฎหมายวิธี 
พิจารณาความอาญา มาตรา 193 ผู้ต้องหาจึงไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ 
-
รายละเอียด
	คดีสืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2560 ศาลชั้นต้นมี 
คําสั่งอนุญาตให้ขังผู้ต้องหามีกําหนด 12 วัน ไว้เพื่อดําเนินการ 
สอบสวนดําเนินคดีผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 
และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 
พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (2) (3) (5) 
	ผู้ต้องหาอุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขังผู้ต้องหา 
ตามคําร้องของผู้ร้อง 
	ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ต้องหา 
	ผู้ต้องหาฎีกา 
	ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของ 
ผู้ต้องหาว่า การที่ศาลชั้นต้นมีคําสั่งอนุญาตให้ขังผู้ต้องหามีกําหนด12 วัน 
ตามคําร้องของผู้ร้อง ผู้ต้องหามีสิทธิยื่นอุทธรณ์คําสั่งศาลชั้นต้น หรือไม่ 
เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 
134 วรรคห้าบัญญัติว่า “เมื่อได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว ถ้าผู้ต้องหา 
ไม่ใช่ผู้ถูกจับและยังไม่ได้มีการออกหมายจับ แต่พนักงานสอบสวน 
เห็นว่ามีเหตุที่จะออกหมายขังผู้นั้นได้ตามมาตรา 71 พนักงานสอบสวน 
มีอํานาจสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อออกหมายขังโดยทันที กรณีเช่นว่า 
นี้ให้นํามาตรา 87 มาใช้บังคับแก่การพิจารณาออกหมายขังโดย อนุโลม” 
มาตรา 71 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “เมื่อได้ตัวผู้ต้องหาหรือ จําเลยมาแล้ว 
ในระยะใดระหว่างสอบสวนไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา 
ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาหรือจําเลยไว้ตามมาตรา 87 หรือมาตรา
 88 ก็ได้ และให้นําบทบัญญัติในมาตรา 66 มาใช้บังคับโดยอนุโลม” 
มาตรา 66 บัญญัติว่า “เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อ 
มีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทําความผิดอาญาซึ่งมี 
อัตราโทษจําคุกอย่างสูงเกินสามปี” ตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น 
ให้อํานาจศาลที่จะขังผู้ต้องหาระหว่างสอบสวนหากมีเหตุตามมาตรา 
66 ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา 
มาตรา 116 ซึ่งต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินเจ็ดปี จึงเป็นกรณี 
ที่ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา 
ความอาญา มาตรา 71 ประกอบมาตรา 66 บทบัญญัติดังกล่าวเป็น 
กระบวนการก่อนฟ้องซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ต้องหาอยู่ในอํานาจของศาล 
เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีตัวจําเลยในการพิจารณาคดีของศาลทั้งตาม 
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 106 บัญญัติให้ 
ผู้ต้องหามีสิทธิยื่นคําร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวได้อยู่แล้ว 
แสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างชัดเจนว่า มีวัตถุประสงค์ 
จะให้กระบวนการยุติธรรมในชั้นฝากขังระหว่างสอบสวนเป็นอํานาจ 
ของผู้พิพากษาศาลชั้นต้นและยุติไปในระดับศาลชั้นต้นเท่านั้น ไม่ใช่ 
เรื่องที่กฏหมายมีความประสงค์จะให้ผู้ต้องหายื่นอุทธรณ์คัดค้าน 
คําสั่งอนุญาตให้ฝากขังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ 
อาญามาตรา 193 ด้วยเหตุผลดังวินิจฉัยมาแล้ว ผู้ต้องหาจึงไม่มีสิทธิ 
ยื่นอุทธรณ์คําสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาตามคําร้อง 
ของผู้ร้อง ที่ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของผู้ต้องหาจึงชอบแล้ว ฎีกา 
ผู้ต้องหาฟังไม่ขึ้น” 
	พิพากษายืน 

ไม่ถือว่าผิดฐานหมิ่นประมาท

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 374/2562

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
	ประมวลกฎหมายอาญา
	มาตรา 326	หมิ่นประมาท  
ข้อมูลย่อ     
     	โจทก์และจำเลยต่างขายสินค้าเสริมความงาม เช่น ครีมบำรุงผิว สบู่
ทางอินเตอร์เน็ตผ่านโปรแกรมเฟซบุ๊ก เมื่อเดือนเมษายน 2558 จำเลย
พิมพ์ข้อความที่โจทก์อ้างว่าหมิ่นประมาทโจทก์ซึ่งเมื่อพิเคราะห์ถึงข้อความ
ที่จำเลยพิมพ์ในเฟซบุ๊กที่ว่า" ...หรือว่ามึงเอาครีมเก่าเน่าๆ ไปขายให้ลูกค้า
แล้วไม่มีใครซื้อของ ของมึงนัง พ. ..." ซึ่งอ่านแล้วข้อความดังกล่าว
ก็เป็นเพียงการตั้งคำถามถึงโจทก์ว่า โจทก์ขายครีมเก่าเน่าๆ หรือไม่
มิได้ยืนยันว่า โจทก์ขายครีมเก่าเน่า ๆ อันเป็นการยืนยันข้อเท็จจริง
ซึ่งเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็น
ความผิดฐานหมิ่นประมาท
รายละเอียด
	โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 
(ที่ถูกพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) มาตรา 14 (1) 
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328
     	ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
     	จำเลยให้การปฏิเสธ
     	ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
     	โจทก์อุทธรณ์
     	ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 328 ให้จำคุก 6 เดือน และปรับ 30,000 บาท ทางนำสืบ
ของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงจำคุก 4 เดือน และปรับ 20,000 บาท
จำเลยเป็นพนักงานราชการกรมป่าไม้ ไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน จึงเห็นสมควร
ให้โอกาสจำเลยได้กลับตนเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด
1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษา
ศาลชั้นต้น
     	จำเลยฎีกา
     	ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์มีอาชีพขายสินค้า
เกี่ยวกับการเสริมความงาม เช่น ครีมบำรุงผิวหน้า ผิวพรรณ สบู่ ที่บ้านและ
ทางอินเตอร์เน็ตผ่านโปรแกรมเฟซบุ๊ก โดยใช้ชื่อในโปรแกรมเฟซบุ๊กว่า "M"
เมื่อเดือนธันวาคม 2555 จำเลยซึ่งใช้ชื่อในโปรแกรมเฟซบุ๊กว่า "N" ได้สอบถาม
ข้อมูลสินค้าและวิธีการขายจากโจทก์ ต่อมาจำเลยขายสินค้าประเภทเดียวกับโจทก์
โดยใช้ชื่อในโปรแกรมเฟซบุ๊กว่า "ครีม..."
     	คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดฐาน
หมิ่นประมาทหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า การที่จำเลยพิมพ์ข้อความในโปรแกรม
เฟซบุ๊กว่า พ. ..."นั้น ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทเพราะการกระทำอันเป็น
ความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นนั้น จะต้องเป็นการใส่ความผู้อื่นโดยถ้อยคำหรือ
ข้อความดังกล่าว ข้อความที่จำเลยกล่าวเป็นเพียงการโต้ตอบกับโจทก์ จำเลย
ไม่ได้ยืนยันว่าโจทก์เอาครีมเก่าเน่าๆ ไปขายแต่อย่างใดนั้น เห็นว่า กรณีที่
เกิดขึ้นเนื่องจากโจทก์และจำเลยต่างขายสินค้าเสริมความงาม เช่น ครีมบำรุงผิว
สบู่ ทางอินเตอร์เน็ตผ่านโปรแกรมเฟซบุ๊ก เมื่อเดือนเมษายน 2558 จำเลย
พิมพ์ข้อความที่โจทก์อ้างว่าหมิ่นประมาทโจทก์ซึ่งเมื่อพิเคราะห์ถึงข้อความ
ที่จำเลยพิมพ์ในเฟซบุ๊กที่ว่า" ...หรือว่ามึงเอาครีมเก่าเน่าๆ ไปขายให้ลูกค้า
แล้วไม่มีใครซื้อของ ของมึงนัง พ. ..." ซึ่งอ่านแล้วข้อความดังกล่าวก็เป็นเพียง
การตั้งคำถามถึงโจทก์ว่า โจทก์ขายครีมเก่าเน่าๆ หรือไม่ มิได้ยืนยันว่า 
โจทก์ขายครีมเก่าเน่า ๆ อันเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงซึ่งเป็นความผิดฐาน
หมิ่นประมาทโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย
ฎีกาของฟังขึ้น
     	พิพากษากลับเป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์

ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2563

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
	ประมวลกฎหมายอาญา 
	มาตรา 288
	มาตรา 289
	ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 
	มาตรา 227 วรรคสอง
ข้อมูลย่อ
	จำเลยกับผู้เสียหายที่ 2 อยู่กินฉันสามีภริยาและมีบุตรด้วยกัน เพิ่ง
เลิกคบหากันก่อนเกิดเหตุเพียงหนึ่งเดือน ความสัมพันธ์ยังคงมีอยู่ไม่ถึงกับตัด
ขาดทีเดียว การที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ตามหาผู้เสียหายที่ 2 ในขณะที่เพิ่งมี
ปากเสียงกัน จำเลยจึงอยู่ในสภาวะอารมณ์ขุ่นเคืองและโกรธ มากกว่าที่จะวาง
แผนหรือใคร่ครวญตรึกตรองหาวิธีทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 เมื่อจำเลยเห็นผู้เสีย
หายที่ 2 บริเวณบ้านที่เกิดเหตุโดยบังเอิญ จำเลยเลี้ยวรถกลับไปจอดหน้าบ้านที่
เกิดเหตุแล้วเดินเข้าไปหา ผู้เสียหายที่ 2 เห็นจำเลยก็วิ่งหนี จำเลยวิ่งตามไปใช้
อาวุธมีดที่พกติดตัวมาแทงทำร้าย เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ซึ่งอยู่ใน
บริเวณเดียวกัน ได้รับอันตรายสาหัส เป็นเหตุการณ์เฉพาะหน้า จำเลยกระทำ
ไปโดยขาดความยับยั้งชั่งใจและขาดสติด้วยคิดว่าผู้เสียหายที่ 2 ตีจากและหัน
ไปคบกับผู้เสียหายที่ 3 พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังมีความสงสัยตาม
สมควรว่า จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
รายละเอียด
	โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 
33, 80, 91, 295, 297, 289, 364, 365, 371 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกระทำ
ด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 มาตรา 3, 4 ริบของกลาง
	จำเลยให้การรับสารภาพข้อหาพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือ
ทางสาธารณะโดยเปิดเผยและโดยไม่มีเหตุสมควร แต่ข้อหาอื่นให้การรับว่า
ทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 จริง แต่กระทำโดยบันดาลโทสะ
	ระหว่างพิจารณา นายสมศักดิ์ ผู้เสียหายที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้บังคับ
จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อย
ละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ก่อนสืบ
พยานผู้เสียหายที่ 1 ขอถอนคำร้อง ศาลชั้นต้นอนุญาต แต่ให้จำหน่ายคำร้อง
เสียจากสารบบความ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
	นางสาวภัทรวดี ผู้เสียหายที่ 2 โดยนายบุญเสียน ผู้แทนโดยชอบ
ธรรม ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษา
พยาบาลผู้เสียหายที่ 2 เป็นเงิน 50,000 บาท ค่าเสียหายต่อจิตใจที่ใบหน้าเสีย
โฉมเป็นเงิน 100,000 บาท ค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะ
ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติเป็นเงิน 54,000 บาท และค่าใช้จ่าย
อันจำเป็นอย่างอื่นเนื่องจากผู้เสียหายที่ 2 ต้องรักษาตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเงิน 
250,000 บาท
	นายสมพรโชค ผู้เสียหายที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่า
สินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลเป็นเงิน 13,844 บาท ค่าเสียหายที่ต้อง
ขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติเป็น
เงิน 90,000 บาท รวมเป็นเงิน 103,844 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 
ต่อปีนับแต่วันทำละเมิดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
	จำเลยให้การในคดีส่วนแพ่งขอให้ยกคำร้อง
	ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 
มาตรา 288, 80, 295, 365 (1) (2) (3) ประกอบมาตรา 364, 371 พระราชบัญญัติ
คุ้มครองผู้ถูกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง 
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็น
กระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานพาอาวุธไปใน
เมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยและโดยไม่มีเหตุสมควร ปรับ 
1,000 บาท ฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ฐานกระทำการอันเป็นความรุนแรงในครอบ
ครัว และฐานบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืนโดยใช้กำลังประทุษร้ายและ
โดยมีอาวุธ เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลง
โทษฐานพยายามฆ่าผู้อื่นซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 10 ปี และฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น จำคุก 1 ปี 
จำเลยให้การรับสารภาพฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะ
โดยเปิดเผยและโดยไม่มีเหตุสมควร และทางนำสืบของจำเลยฐานพยายามฆ่า
ผู้อื่นและฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทา
โทษ ลดโทษฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผย
และโดยไม่มีเหตุสมควรให้กึ่งหนึ่งและลดโทษฐานพยายามฆ่าผู้อื่นและฐาน
ทำร้ายร่างกายผู้อื่นให้หนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 
ฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยและโดยไม่มี
เหตุสมควร คงปรับ 500 บาท ฐานพยายามฆ่าผู้อื่น คงจำคุก 6 ปี 8 เดือน และ
ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น คงจำคุก 8 เดือน รวมจำคุก 6 ปี 16 เดือน และปรับ 500 
บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ริบ
ของกลาง ข้อหาอื่นให้ยก กับให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายที่ 2 
เป็นเงิน 128,000 บาท และให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ร้องที่ 3 เป็น
เงิน 14,844 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 14,844 บาท 
นับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้เสียหายที่ 3 
ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีส่วนแพ่งให้เป็นพับ
	โจทก์อุทธรณ์
	ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 80 ให้ลงโทษฐาน
ร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษ
หนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้จำคุกตลอดชีวิต ลดโทษ
ให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 53 คง
จำคุก 33 ปี 4 เดือน เมื่อรวมกับโทษฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทาง
สาธารณะโดยเปิดเผยและโดยไม่มีเหตุสมควร และฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น
ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว คงจำคุก 33 ปี 12 เดือน และปรับ 500 บาท 
ให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายที่ 3 เป็นเงิน 23,844 บาท พร้อม
ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 23,844 บาท นับแต่วันที่ 9 
พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้เสียหายที่ 3 นอกจากที่
แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
	จำเลยฎีกา
	ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติโดยคู่ความมิได้
ฎีกาโต้แย้งเป็นอย่างอื่นว่า ผู้เสียหายที่ 2 เคยอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยโดย
ไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรด้วยกัน 1 คน ผู้เสียหายที่ 1 เป็นเจ้าของบ้านที่
เกิดเหตุ ผู้เสียหายที่ 3 เป็นบุตรของผู้เสียหายที่ 1 ในวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้อง 
จำเลยเข้าไปในบ้านที่เกิดเหตุแล้วใช้อาวุธมีดยาว 5.5 นิ้ว ด้ามมีดยาวประมาณ 4 
นิ้ว แทงผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส 
มีบาดแผลเป็นบริเวณใบหน้าและรอบดวงตามองเห็นได้ชัดเจน ต้องเสีย
โฉมอย่างติดตัว และมีบาดแผลบริเวณแขนขวาต้องป่วยเจ็บด้วยอาการ
ทุกขเวทนาและจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันและเป็น
เหตุให้ผู้เสียหายที่ 3 ได้รับบาดเจ็บเป็นอันตรายแก่กายและจิตใจ ในวันเกิดเหตุ
เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยพร้อมยึดอาวุธมีดที่จำเลยใช้ในการกระทำความ
ผิดและฝักมีดที่ตกในที่เกิดเหตุเป็นของกลาง สำหรับความผิดฐานพาอาวุธไป
ในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยและโดยไม่มีเหตุสมควร ฐาน
กระทำการอันเป็นความรุนแรงในครอบครัว ฐานบุกรุกเคหสถานในเวลา
กลางคืนโดยใช้กำลังประทุษร้ายและโดยมีอาวุธ ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น และ
คดีในส่วนแพ่งของผู้เสียหายที่ 2 คู่ความไม่อุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค 9 
มิได้แก้ไขค่าสินไหมทดแทนในส่วนของผู้เสียหายที่ 2 จึงยุติไปตามคำพิพากษา
ศาลชั้นต้น ส่วนความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลย
กระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น จำเลยไม่อุทธรณ์ คงมีแต่โจทก์อุทธรณ์
ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม
ฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยกระทำความผิดฐานพยายาม
ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายที่ 
3 เป็นเงิน 23,844 บาท พร้อมดอกเบี้ย โจทก์ไม่ฎีกา คงมีแต่จำเลยฎีกา ดังนั้น 
ความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นและค่าสินไหมที่จำเลยต้องชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายที่ 
3 เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9
	คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยกระทำความ
ผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ เห็นว่า จำเลยกับผู้เสีย
หายที่ 2 อยู่กินฉันสามีภริยากันมาตั้งแต่ปี 2557 มีบุตรด้วยกัน 1 คน ผู้เสียหายที่ 
2 เคยถูกจำเลยทำร้ายร่างกายเป็นประจำ และผู้เสียหายที่ 2 เพิ่งเลิกคบหากับ
จำเลยก่อนเกิดเหตุเพียง 1 เดือน ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับผู้เสียหายที่ 2 
ยังคงมีอยู่ไม่ถึงกับตัดขาดเสียทีเดียว โดยผู้เสียหายที่ 2 เบิกความตอบทนาย
จำเลยถามค้านว่า ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 2 ยังพูดคุยกับจำเลยและจำเลยยืนยัน
ขอกลับมาอยู่กับผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งจำเลยเบิกความเจือสมเข้ามาว่า ช่วงเกิดเหตุ
จำเลยยังไม่เลิกคบหากับผู้เสียหายที่ 2 แต่ผู้เสียหายที่ 2 ขอกลับไปอยู่กับบิดา
มารดาของตน และจำเลยรู้สึกโกรธเมื่อได้ยินข่าวว่าผู้เสียหายที่ 2 คบหากับ
บุคคลอื่น แสดงว่า จำเลยยังมีความผูกพันและอาลัยอาวรณ์ผู้เสียหายที่ 2 อยู่ 
ส่วนเหตุการณ์ก่อนเกิดเหตุที่จำเลยพูดคุยกับผู้เสียหายที่ 2 ทางเฟซบุ๊กของนาง
สาวเกียร์ นั้น จำเลยพูดคุยกับผู้เสียหายที่ 2 เวลาประมาณ 15 นาฬิกา ขณะนั้นผู้
เสียหายที่ 2 ก็ยอมรับว่า จำเลยไม่รู้ว่าผู้เสียหายที่ 2 อยู่ที่ใด และผู้เสียหายที่ 2 
คบหาอยู่กับผู้เสียหายที่ 3 หรือไม่การที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์มีญาติซ้อน
ท้ายมาอีก 2 คน ตามหาผู้เสียหายที่ 2 ในขณะที่เพิ่งมีปากเสียงกับผู้เสียหายที่ 2 
เกี่ยวกับเรื่องทวงเงินค่าสินสอดและความสัมพันธ์ระหว่างผู้เสียหายที่ 2 กับ
บุคคลอื่น จำเลยจึงอยู่ในสภาวะอารมณ์ขุ่นเคืองและโกรธมากกว่าที่จะวาง
แผนหรือใคร่ครวญตรึกตรองหาวิธีทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 ดังที่โจทก์ฟ้องดังจะ
เห็นได้จากพฤติการณ์ที่จำเลยขับรถผ่านบ้านที่เกิดเหตุไป แสดงว่าจำเลยไม่รู้
ว่าผู้เสียหายที่ 2 อยู่ที่บ้านที่เกิดเหตุ เมื่อจำเลยเห็นผู้เสียหายที่ 2 บริเวณบ้านที่
เกิดเหตุโดยบังเอิญ จำเลยจึงเลี้ยวรถกลับไปจอดหน้าบ้านที่เกิดเหตุ แล้วเดิน
เข้าไปหาผู้เสียหายที่ 2 ในทันที ในขณะที่ผู้เสียหายที่ 2 เมื่อเห็นจำเลยก็วิ่งหนี 
จำเลยจึงวิ่งตามไปทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 รวมทั้งผู้เสียหายที่ 3 ซึ่งอยู่ในบริเวณ
เดียวกัน ซึ่งน่าจะเป็นเหตุการณ์เฉพาะหน้า จำเลยกระทำไปโดยขาดความ
ยับยั้งชั่งใจและขาดสติด้วยคิดว่าผู้เสียหายที่ 2 ตีจาก และหันไปคบกับผู้เสีย
หายที่ 3 พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลย
กระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ สมควรยก
ประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่าจำเลย
กระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น ศาลฎีกาไม่เห็น
พ้องด้วย ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังขึ้น เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้ว ฎีกาข้ออื่นของจำเลย
ไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
	พิพากษาแก้เป็นว่า ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เว้น
แต่ค่าสินไหมทดแทนในส่วนของผู้เสียหายที่ 3 ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาล
อุทธรณ์ภาค 9

กระทำไปเพราะถูกหลอกลวงถือไม่ได้ว่ามีส่วนร่วมในการกระทำความผิด

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1666/2562

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4)
ข้อมูลย่อ -
    	พยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายไปเรียกเงินจากโจทก์เพื่อเป็นการตอบแทน
ในการไปวิ่งเต้นให้สามีโจทก์ได้รับพระราชทานอภัยโทษ หลังจากมอบเงินให้จำเลย จำเลยไม่
สามารถดำเนินการให้สามีโจทก์ได้รับพระราชทานอภัยโทษได้ เมื่อโจทก์ทวงถามจำเลยก็บ่ายเบี่ยงและ
ไม่ยอมคืนเงินให้ แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะวิ่งเต้นให้สามีโจทก์ได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือ
รู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถวิ่งเต้นกรณีดังกล่าวได้ อันเป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือหลองลวงโจทก์ 
ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง
คดีในข้อหานี้ได้ และกรณีฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาตั้งแต่แรกจะวิ่งเต้นให้สามีโจทก์ได้รับพระราช
ทานอภัยโทษ แต่โจทก์กระทำไปเพราะถูกจำเลยหลอกลวง ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการกระทำ
ความผิด โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยมีสิทธินำคดีมาฟ้องได้
    	(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2562)
รายละเอียด -
    	โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143
    	ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
    	จำเลยให้การปฏิเสธ
    	ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 จำคุก 3 ปี 
ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา 
มาตรา 78 คงจำคุก 2 ปี
    	จำเลยอุทธรณ์
    	ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน
    	จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา
ในปัญหาข้อเท็จจริง
    	ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติโดยคู่ความไม่ได้โต้แย้งกันในชั้นฎีกาว่า โจทก์
กับจำเลยเป็นญาติกัน จำเลยเคยประกอบอาชีพเป็นทนายความ โจทก์ตกลงให้จำเลยติดต่อทำเรื่องขอทูล
เกล้าฯ ถวายฎีกาขอรับพระราชทานอภัยโทษให้แก่นายสอน สามีโจทก์ ซึ่งเป็นนักโทษเด็ดขาดในคดีที่
ศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกตลอดชีวิต โดยตกลงกันในราคา 250,000 บาท แต่หลังจากโจทก์มอบ
เงินให้จำเลยไปแล้วนายสอนก็ยังไม่ได้ออกจากเรือนจำ
    	มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เห็นว่า 
ข้อนำสืบของจำเลยไม่สมเหตุสมผล กล่าวคือ จำเลยอ้างว่าโจทก์เป็นฝ่ายขอให้จำเลยช่วยเหลือวิ่งเต้น
ขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่สามีโจทก์ แต่จำเลยไม่ทราบวิธีการ จึงสอบถามเพื่อนทนายความด้วยกัน
จนสามารถรู้จักนายอุดร ซึ่งจะเป็นผู้วิ่งเต้น ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ไม่น่าเชื่อถือเพราะไม่มีเหตุผลที่จำเลยจะ
ต้องไปขวนขวายหาผู้ที่จะไปวิ่งเต้นช่วยเหลือโจทก์โดยที่ไม่ได้ค่าตอบแทนเพราะจำเลยเองไม่รู้ช่องทาง 
นอกจากนี้ ในวันจ่ายเงินให้กัน จำเลยก็ไปกับภริยา และบุคคลที่อ้างว่าเป็นเลขาของนายอุดร โดยจำเลย
อ้างว่าเมื่อรับเงินจากทางนางสุภาแล้ว จำเลยมอบเงินให้บุคคลดังกล่าวไป ทำนองว่าจำเลยไม่ได้รับเงิน
จากโจทก์ ซึ่งไม่สมเหตุสมผลหลายประการ ประการแรก เหตุใดในวันรับเงินจำเลยจึงพาภริยาของ
จำเลยไป เพราะหากจำเลยไม่ใช่เป็นผู้รับเงินเองซึ่งเป็นเงินจำนวนมาก ไม่มีเหตุผลที่จำเลยจะต้องพา
ภริยาไปด้วย เชื่อว่าเหตุที่จำเลยพาภริยาไปด้วยในวันนั้นเพราะเป็นเงินจำนวนมาก จึงต้องพาภริยามา
ช่วยดูแล ประการที่สอง เหตุใดนางสุภาต้องมอบเงินให้แก่จำเลยแล้วให้จำเลยมอบเงินให้แก่เลขาของ
นายอุดร แทนที่จะให้นางสุภามอบเงินแก่เลขาของนายอุดรโดยตรง เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะหากจะ
ให้นางสุภามอบเงินแก่เลขาของนายอุดรโดยตรงเชื่อว่าโจทก์คงไม่ยินยอมเพราะโจทก์อาจอ้างว่าโจทก์
ตกลงกับจำเลยจึงต้องมอบเงินให้แก่จำเลย การที่จำเลยรับเงินจากนางสุภาแล้วมอบให้แก่เลขาของนาย
อุดร น่าจะเป็นเรื่องแสร้งทำเพื่อให้โจทก์เห็นว่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้รับเงิน หากวิ่งเต้นไม่สำเร็จ โจทก์จะ
มาทวงเงินจากจำเลยไม่ได้ ซึ่งบุคคลที่อ้างว่าเป็นเลขาของนายอุดร จำเลยก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นใคร ข้อนำ
สืบของจำเลยจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง พยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายไปเรียกเงินจากโจทก์ 
เพื่อเป็นการตอบแทนในการไปวิ่งเต้นให้สามีโจทก์ได้รับพระราชทานอภัยโทษ ได้ความจากพยาน
หลักฐานโจทก์ว่า หลังจากมอบเงินให้จำเลย จำเลยไม่สามารถดำเนินการให้สามีโจทก์ได้รับพระราช
ทานอภัยโทษได้ เมื่อโจทก์ทวงถามจำเลยก็บ่ายเบี่ยงและไม่ยอมคืนเงินให้ แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่
จะวิ่งเต้นให้สามีโจทก์ได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือรู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถวิ่งเต้นกรณีดังกล่าวได้ อัน
เป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือหลอกลวงโจทก์ ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า ตามข้อ
เท็จจริงที่ได้ความถือว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ จึงเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องคดีในข้อหานี้
ได้ และกรณีฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาตั้งแต่แรกจะวิ่งเต้นให้สามีโจทก์ได้รับพระราชทานอภัยโทษ แต่
โจทก์กระทำไปเพราะถูกจำเลยหลอกลวง ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด โจทก์จึง
เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยมีสิทธินำคดีมาฟ้องได้ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
    	มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อมาว่า จำเลยกระทำความผิดตามคำ
พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 หรือไม่ เห็นว่า โจทก์มีตัวโจทก์ นางสุภา และนางอาภรณ์เบิกความทำนอง
เดียวกันว่า จำเลยบอกโจทก์ว่า จำเลยรู้จักคนที่สามารถวิ่งเต้นทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาให้นายสอนได้รับพระ
ราชทานอภัยโทษได้และจำเลยเรียกเงินจากโจทก์จำนวน 250,000 บาท ไป พยานโจทก์ทั้งสามปากเบิก
ความถึงเหตุการณ์เดียวกันสอดคล้องต้องกันไม่ปรากฏข้อพิรุธดังวินิจฉัยมาแล้ว โจทก์และจำเลยเป็น
ญาติกัน ไม่มีเหตุระแวงสงสัยว่าพยานโจทก์จะแกล้งปรักปรำจำเลย เชื่อว่าพยานโจทก์เบิกความไปตาม
ความเป็นจริง จำเลยเป็นบุคคลเพียงคนเดียวที่เชื่อมโยงระหว่างโจทก์กับบุคคลที่มารับเงินไป ข้ออ้าง
ของจำเลยที่ว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับบุคคลที่ดำเนินการยื่นเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษให้นายสอนจึงไม่
น่าเชื่อถือและไม่อาจรับฟังหักล้างพยานโจทก์ได้ พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังได้หนักแน่นว่าจำเลย
เรียกเงินจากโจทก์เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจเจ้าพนักงานโดยวิธีอันทุจริตหรือผิดกฎหมายให้
กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมาย
อาญา มาตรา 143 ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
    	มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการสุดท้ายว่ามีเหตุกำหนดโทษสถานเบาหรือ
รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยหรือไม่ เห็นว่า การกระทำของจำเลยนอกจากจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมไทยว่ามีการทุจริตแล้ว ยังกระทบกระเทือนความน่าเชื่อถือของสถาบัน
พระมหากษัตริย์ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดร้ายแรง ไม่ยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง ไม่มีเหตุที่
ศาลฎีกาจะกำหนดโทษให้เบากว่านี้และไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย ฎีกาของจำเลยฟัง
ไม่ขึ้น
    	พิพากษายืน