แต่หากคดีนี้ไม่มีประจักษ์พยานที่รู้เห็นเหตุการณ์ว่าลุงพลกระทำความผิดฆ่าน้องชมพู่จริงๆ ผลจะเป็นอย่างไร
ค้นหาบล็อกนี้
วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2564
"เส้นผม" เจ้าปัญหา คดีลุงพล หมัดน็อกปิดคดีจริงหรือ?
วันเสาร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2564
ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง, 192 วรรคสาม
คำถาม : พนักงานสอบสวนบันทึกคำให้การจำเลยว่ากระทำความผิดตอนกลางคืน อัยการโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดตอนกลางวัน จำเลยให้การรับว่าอยู่ในที่เกิดเหตุจริง ศาลจะลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดตอนกลางคืนได้หรือไม่
ป.อ. มาตรา 68, 72
คำถาม : ก่อนเกิดเหตุผู้ตายทำร้ายจำเลยฝ่ายเดียว ด้วยการชกต่อยและบีบคอจำเลย จำเลยก็วิ่งเข้าไปในบ้าน ส่วนผู้ตายวิ่งไปที่รถจักรยานยนต์ แม้ขณะที่จำเลยวิ่งกลับเข้าไปภายในบ้านจะได้ยินผู้ตายตะโกนพูดว่า มึงตายแน่ เมื่อกลับออกมาก็เห็นผู้ตายยืนเปิดเบาะล้วงเข้าไปหยิบของในกล่องใต้เบาะรถจักรยานยนต์ แต่ในการกลับออกมานี้จำเลยกลับออกมาพร้อมถืออาวุธปืนมาด้วยแล้วใช้อาวุธปืนจ้องเล็งยิงไปที่ผู้ตาย 1 นัด ทันที การกระทำของจำเลยถือว่าเป็นการฆ่าอื่นโดยการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
คำตอบ : คำพิพากษาฎีกาที่ 6936/2562
วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2564
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตามมาตรา 39 (2)
คำพิพากษาฎีกาที่ 1304/2562
ความผิดของจําเลยฐานลักทรัพย์เอาบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (บัตรเบิกถอนเงินอัตโนมัติหรือ เอทีเอ็ม) ของผู้เสียหายไปในเวลากลางคืนและฐานลักทรัพย์โดยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เบิกถอนเงินสดจากบัญชีของผู้เสียหายในเวลากลางคืน ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) วรรคหนึ่ง ปรากฎตามคําร้องขอให้ผู้พิพากษาอนุญาตให้ฎีกาและตามฎีกาของจําเลยซึ่งโจทก์ไม่ยื่นคําแก้ฎีกาโต้แย้งเป็นอื่นว่าจําเลยเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับ ส. ผู้เสียหาย ซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 71 บัญญัติให้ความผิดนี้เป็นความผิดฐานหนึ่ง (ในมาตรา 334 ถึงมาตรา 336) ที่ให้เป็นความผิดอันยอมความได้ คดีนี้เมื่อในชั้นอุทธรณ์จําเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหาย เป็นเงินเท่าจํานวนที่จําเลยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เบิกถอนไป และผู้เสียหายทําหนังสือไม่ติดใจ เอาความทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาแก่จําเลยอีกต่อไป จึงเป็นการยอมความคดีอาญาก่อนคดีถึงที่สุด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 วรรคสอง ทําให้สิทธินําคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับ ไปตามมาตรา 39 (2)
วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564
นำรถยนต์ที่ทำสัญญาเช่าซื้อไว้โดยที่ผ่อนยังไม่หมด ปขายต่อหรือไปจำนำนอกระบบ
คำพิพากษาฎีกาที่ 4781/2555
รถยนต์กระบะเป็นของผู้เสียหายที่ 2 โจทก์ร่วมทำสัญญาเช่าซื้อจากผู้เสียหายที่ 2 ขณะเกิดเหตุยังอยู่ระหว่างการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะจึงยังเป็นของผู้เสียหายที่ 2 จนกว่าจะมีการชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน ในการตกลงซื้อขายรถยนต์กระบะให้แก่จำเลยมีเงื่อนไขว่า โจทก์ร่วมจะโอนทะเบียนให้จำเลยต่อเมื่อจำเลยชำระราคารถยนต์ครบถ้วนแล้ว ซึ่งรวมถึงข้อตกลงให้จำเลยผ่อนชำระค่าเช่าซื้อที่โจทก์ร่วมยังคงค้างชำระแก่ผู้เสียหายที่ 2 ด้วย ข้อตกลงในการซื้อขายรถยนต์กระบะระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลยจึงมิใช่การซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จึงยังไม่ตกเป็นของจำเลย ที่จำเลยเป็นผู้ครอบครองรถหลังจากมีการทำสัญญาซื้อขายดังกล่าว ถือเป็นเพียงการครอบครองรถยนต์กระบะไว้แทนโจทก์ร่วมเท่านั้น จำเลยไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์กระบะที่แท้จริง ภายหลังจากทำข้อตกลงซื้อขายรถยนต์กระบะดังกล่าวจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อและไม่ชำระราคารถยนต์กระบะให้ครบถ้วน โจทก์ร่วมแจ้งให้จำเลยคืนรถยนต์กระบะให้โจทก์ร่วม แต่จำเลยเพิกเฉยและอ้างว่ารถยนต์กระบะสูญหาย การที่จำเลยยังคงครอบครองรถยนต์กระบะของโจทก์ร่วมต่อมาโดยไม่ส่งมอบคืน น่าเชื่อว่าจำเลยมีเจตนาเบียดบังปกปิดและซุกซ่อนรถยนต์กระบะโดยมีเจตนาที่จะไม่ส่งมอบคืนแก่โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานยักยอก
หลักการวินิจฉัยที่สำคัญนั้น ขึ้นอยู่กับว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์ดังกล่าวได้ถูกโอนไปยังผู้เช่าซื้อหรือยัง ถ้าอธิบายตามหลักกฎหมายนั้นหมายความว่า การซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่กรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้เช่าซื้อแล้วหรือยัง หากโอนแล้วก็ไม่ผิดยักยอกทรัพย์ แต่หากสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขว่ากรรมสิทธิ์ยังไม่โอนจนกว่าจะมีการชำระราคาเสร็จ อันนี้จะผิดยักยอกทรัพย์
วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
การให้ที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) โดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพียงแต่ส่งมอบที่ดินให้ผู้รับเข้าครอบครอง ต่อมาผู้ให้ถึงแก่ความตาย ที่ดินจะถือเป็นทรัพย์มรดกของผู้ให้หรือไม่ ?
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2156/2555
จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของตนที่ได้รับการยกให้จากนางรอด
มิใช่ครอบครองที่ดินพิพาทเเทนทายาทอื่น
อันเเสดงว่านางรอดได้ยกที่ดินพิพาทให้เเก่จำเลยเเล้วโดยโจทก์ไม่ได้เกี่ยวข้อง
ซึ่งขณะที่นางรอดเเสดงเจตนายกที่ดินพิพาทนั้น
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่มีเอกสารสิทธิเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิจึงมีเพียงสิทธิครอบครอง
การที่นางรอดส่งมอบที่ดินพิพาทให้เเก่จำเลยมิได้ทำเป็นหนังสือเเละจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เเม้ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์มาตรา
525 ประกอบมาตรา 456 วรรคหนึ่ง เเต่ที่ดินพิพาทมีเเต่สิทธิครอบครอง
จึงถือได้ว่านางรอดสละเจตนาครอบครองไม่ยึดถือที่ดินพิพาทต่อไป
เมื่อจำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเเล้ว
จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองตามมาตรา 1377 เเละ 1378 อันเป็นการได้สิทธิครอบครองตามกฎหมาย
การออกโฉนดที่ดินพิพาทจัดทำโดยทางราชการ
ออกให้เเก่นางรอดซึ่งเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ฉบับเดิม
เเม้ความจริงนางรอดไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเเล้วขณะออกโฉนดก็หาทำให้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทของจำเลยเสียไปไม่
ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ทรัพย์มรดกของนางรอดที่จะตกทอดเเก่ทายาทอีกต่อไป
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 525 การให้ทรัพย์สินซึ่งถ้าจะซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น
ท่านว่าย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ในกรณีเช่นนี้ การให้ย่อมเป็นอันสมบูรณ์โดยมิพักต้องส่งมอบ
มาตรา 456 การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ
วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป
ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย
มาตรา 1377 ถ้าผู้ครอบครองสละเจตนาครอบครอง หรือไม่ยึดถือทรัพย์สินต่อไปไซร้
การครอบครองย่อมสุดสิ้นลง
มาตรา 1378 การโอนไปซึ่งการครอบครองนั้นย่อมทำได้โดยส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครอง
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
การยินยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีธนาคาร และยอมให้ผู้อื่นโอนเงินจากบัญชีผู้เสียหายเข้าบัญชีธนาคาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15630/2553
วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
ไม่เป็นป้องกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6936/2562
แม้ก่อนเกิดเหตุผู้ตายทำร้ายจำเลยฝ่ายเดียว
ด้วยการชกต่อยและบีบคอจำเลย
อันถือว่าภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายได้เกิดขึ้นแล้วก็ตาม
แต่หลังจากเด็กชาย ช. วิ่งออกจากบ้านเข้ามาดึงแยกจำเลยออกจากผู้ตายแล้ว จำเลยก็วิ่งเข้าไปในบ้าน
ส่วนผู้ตายวิ่งไปที่รถจักรยานยนต์
ถือได้ว่าภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายดังกล่าวที่มีต่อจำเลยได้หมดไปแล้ว
จำเลยจะใช้อ้างเพื่อกระทำการป้องกันสิทธิของตนย่อมหมดไปด้วย
แม้ขณะที่จำเลยวิ่งกลับเข้าไปภายในบ้านจะได้ยินผู้ตายตะโกนพูดว่า มึงตายแน่
และเมื่อกลับออกมาก็เห็นผู้ตายยืนเปิดเบาะล้วงเข้าไปหยิบของในกล่องใต้เบาะรถจักรยานยนต์ก็ตาม
แต่จำเลยกลับออกมาพร้อมถืออาวุธปืนมาด้วยแล้วใช้อาวุธปืนยิงไปที่ผู้ตาย 1 นัด ทันที โดยไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้กระทำการใดเลย
จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุความสำคัญผิดในข้อเท็จจริงโดยเข้าใจว่ากล่องใต้เบาะรถจักรยานยนต์ของผู้ตายมีอาวุธปืนอยู่และผู้ตายล้วงลงไปเพื่อนำอาวุธปืนออกมายิงจำเลยได้
แต่การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องจากการที่ถูกผู้ตายชกต่อยและบีบคอฝ่ายเดียว
ซึ่งถือว่าเป็นการข่มเหงจำเลยด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมย่อมก่อให้เกิดโทสะแก่จำเลย
การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจึงถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ ตาม
ป.อ. มาตรา 72
ท้าวแชร์ออนไลน์เปิดแชร์หลายวงมีความผิดหรือไม่ และเลขาวง หรือผู้ช่วยถือเป็นตัวการร่วมหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20111 – 20112/2556
คดีทั้งสองสำนวนนี้
ศาลชั้นต้นให้รวมการพิจารณาเข้าด้วยกัน โดยให้เรียกโจทก์ทั้งสองสำนวนว่าโจทก์
เรียกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทั้งสองสำนวนว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามลำดับ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองสำนวนขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 83, 91, 341, 343 และพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 4, 6, 17 ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหายจำนวน
28 คน และ 26 คน เป็นเงิน 5,562,500 บาทและ 3,116,700 บาท ตามลำดับ
และให้นับโทษจำเลยทั้งสองในสำนวนหลังต่อจากโทษของจำเลยทั้งสองในสำนวนแรก
#บทวิเคราะห์1. เรื่องนี้พนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษฐาน ฉ้อโกง
ฉ้อโกงประชาชน และผิดพรบ.แชร์เพราะเปิดวงแชร์มีผู้ร่วมเล่นแชร์เกิน 30 คน แต่ฟ้องสองคดีและถูกขอรวมให้พิจารณา
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธทั้งสองสำนวน
#บทวิเคราะห์2. จำเลยให้การปฏิเสธสู้คดีว่าไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง
ระหว่างพิจารณานางพิสมัย
นางอัมราภรณ์ นางทองใบ นางบัวสร้อย นายวีระ นายคะนอง นายจำนงค์ นายบุญถิน
และนายสมบูรณ์ ผู้เสียหาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์
ศาลชั้นต้นอนุญาตเฉพาะข้อหาฉ้อโกงและฉ้อโกงประชาชน
ส่วนข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ โจทก์ร่วมไม่เป็นผู้เสียหาย จึงไม่อนุญาต
โดยให้เรียกนางพิสมัยว่าโจทก์ร่วมที่ 1 นางอัมราภรณ์ว่าโจทก์ร่วมที่ 2 นางทองใบว่าโจทก์ร่วมที่ 3 นางบัวสร้อยว่าโจทก์ร่วมที่ 4 นายวีระ ว่าโจทก์ร่วมที่ 5 นายคะนองว่าโจทก์ร่วมที่ 6 นายจำนงค์ว่าโจทก์ร่วมที่ 7 นายบุญถินว่าโจทก์ร่วมที่ 8 และนายสมบูรณ์ว่า โจทก์ร่วมที่ 9
#บทวิเคราะห์3 ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้เฉพาะในข้อหาฉ้อโกงและฉ้อโกงประชาชน
ส่วนพรบแชร์ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายจึงไม่สามารถขอเป็นโจทก์ร่วมได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า
จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 6 (2), 17 (ที่ถูก ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83) การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
เรียงกระทงลงโทษทุกกรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ลงโทษจำคุกกระทงละ 6 เดือน คำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ในชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ
ลดโทษให้กระทงละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 เป็นจำคุกกระทงละ 4 เดือน รวมจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 8 เดือน จำคุกจำเลยที่ 2 รวม 12 เดือน ข้อหาและคำขออื่นให้ยก
#บทวิเคราะห์4 ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพรบ.แชร์เพราะสมาชิดวงแชร์ทุกวงรวมกันเกิน30คน
ในประการสำคัญคือยกฟ้องข้อหาฉ้อโกงและฉ้อโกงประชาชน แต่ลดโทษให้เพราะในคดีในชั้นสอบสวน
จำเลยให้การรับสารภาพในข้อหา พรบ.แชร์ แต่มีประเด็นข้อต่อสู้กันในเรื่องพรบแชร์ว่า
การที่เปิดวงแชร์สองวงนั้นที่มีผู้ร่วมเล่นเกิน เป็น
การกระทำเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรม โดยลงโทษจำเลยที่ ๑ ในฐานะท้าวแชร์ จำเลยที่ ๒
ในฐานะตัวการร่วม
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นกรรมเดียว จำคุก 6 เดือน ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงจำคุก 4 เดือน ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้อง
นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
#บทวิเคราะห์5 ศาลอุทธรณ์มองว่าเป็นการกระทำกรรมเดียว
และให้ยกฟ้องจำเลยที่ ๒ ที่เป็นเลขา
โจทก์และจำเลยที่ 1 ฎีกา
จำเลยที่ 1 ฎีกา
โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ฎีกาโดยอัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
#จุดประเด็นสำคัญบทวิเคราะห์ของศาลฎีกาและข้อต่อสู้ของจำเลย
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 1 อีกเช่นกันว่า แชร์วงใหญ่ตามสำนวนแรกและแชร์วงเล็กตามสำนวนหลังมีสมาชิกวงแชร์รวมกันแต่ละวงกว่า
30 คนหรือไม่ สำหรับปัญหานี้พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 6 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์ หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(2)
มีจำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันทุกวงมากกว่าสามสิบคน” จึงเห็นได้ว่าจำนวนสมาชิกที่เล่นแชร์นั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องเป็นการเล่นแชร์วงเดียวกันเท่านั้น
แต่อาจเป็นการเล่นแชร์คนละวงกันหรือหลายวงต่างกันได้
ข้อสำคัญอยู่ที่ว่าในการเป็นนายวงแชร์หรือเล่นแชร์นั้นมีสมาชิกวงแชร์ทุกวงจำนวนรวมกันมากกว่า
30 คน ดังนั้นเมื่อตามฎีกาของจำเลยที่ 1 รับว่า แชร์วงใหญ่มือละ 1,000 บาท ซึ่งประกอบด้วยวงแชร์ 2
วง จำนวนสมาชิกวงละ 29 คน จึงมีจำนวนรวมกัน 58 คน จึงเป็นจำนวนมากกว่า 30 คน กรณีแชร์วงเล็กมือละ 500 บาท ซึ่งมีจำนวนวงละ 27 คน จึงมีจำนวนรวม 54 คน อันเป็นจำนวนมากกว่า 30 คนเช่นกัน
ดังนั้นทั้งแชร์วงใหญ่ตามสำนวนแรกและแชร์วงเล็กตามสำนวนหลังจึงมีจำนวนสมาชิกวงแชร์ในแต่ละสำนวนมากกว่า
30 คนแล้ว
จำเลยที่ 1 ย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 6 (2) ดังที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยแล้ว
(ข้อต่อสู้ของจำเลย)
กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่
1 ว่า
ทางนำสืบของโจทก์ปรากฏว่ามีสมาชิกวงแชร์บางคนไม่ได้เล่นแชร์ แต่กลับมาลงชื่อเป็นสมาชิกในการแล่นแชร์โดยอาศัยความเป็นญาติหรืออาศัยความเป็นสามีภริยา
รวมทั้งข้อที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า
ที่โจทก์อ้างว่าแชร์ทั้ง 2 วง ยังมีสมาชิกอีกจำนวนหนึ่ง
นอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องที่ไม่ได้รับความเสียหายเพราะเปียแชร์ได้แล้ว
ได้รับเงินครบถ้วนสมาชิกวงแชร์ทั้ง 2 วง จึงรับฟังว่าการเล่นแชร์ดังกล่าวมีสมาชิกเกิน 30 คน ไม่ได้
เพราะโจทก์อ้างส่งเพียงคำให้การชั้นสอบสวนไม่ได้นำบุคคลดังกล่าวมาเบิกความต่อศาลให้จำเลยที่
1 มีโอกาสซักค้าน
ทั้งไม่ปรากฏว่าบุคคลดังกล่าวเล่นแชร์วงใหญ่ มือละ 1,000 บาท
วงใดจึงไม่อาจนำคำให้การของบุคคลดังกล่าวมาประกอบการพิจารณา เพื่อลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
#ประเด็นที่ศาลใช้ตัดสินเรื่องตัวการร่วมสำหรับเลขาหรือผู้ช่วย
สำหรับปัญหาต่อไปศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งข้อเท็จจริงยุติแล้วว่าเป็นนายวงแชร์และจัดให้มีการเล่นแชร์ตามฟ้อง
กับปัญหาว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันหรือไม่
สำหรับปัญหาเรื่องจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดหรือไม่นั้น เห็นว่า จำเลยที่ 2 เบิกความรับว่า เห็นจำเลยที่ 1 จัดการเล่นแชร์ เช่นห่อเงินมาแต่แรก จำเลยที่ 2 ก็ไม่เคยทักท้วง ยอมให้จำเลยที่ 1 จัดให้มีการเล่นแชร์ตลอดมา โดยยอมให้จำเลยที่ 1 วางมือในงานด้านอื่น ทั้งเรื่องในครอบครัว
คือการเลี้ยงดูบุตรที่ยังเล็กกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล และการทำมาหากิน
การทำฟาร์มหมู การตกแต่งหมูขึ้นเขียง เพื่อนำไปขายในตลาด / ส่วนการจัดให้มีการเล่นแชร์ จำเลยที่ 2 ก็เบิกความความรับว่า ตนก็ได้เข้าไปเกี่ยวข้องตามที่ข้อเท็จจริงรับฟังยุติข้างต้นว่า
จำเลยที่ 2 เคยนำห่อดอกเบี้ยไปส่งให้นางอุ่น
สมาชิกวงแชร์ เมื่อวงแชร์มีปัญหาขัดข้องด้านการเงิน
จำเลยที่ 2 ก็เบิกความรับว่า
ตนได้เข้ามาช่วยแก้ปัญหา โดยจัดตั้งวงแชร์ใหม่เพื่อให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายวงแชร์ นำเงิน 2 มือแรก ที่ตกเป็นของจำเลยที่ 1 เนื่องจากนายวงโดยไม่ต้องเปียและเสียดอกเบี้ยไปจ่ายให้โจทก์ร่วมที่
2 และนางอุ่นสมาชิกวงแชร์ในคดีนี้
นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ยังเบิกความรับว่า จำเลยที่ 2 ยังได้ไปยืมเงินจากเพื่อน ๆ รวมทั้งสิ้น 140,000
บาท
แล้วนำเงินดังกล่าวบางส่วน 60,000 บาท และอีก 40,000 บาท ไปชำระให้นางสดใสกับนางดวงมณี
ต่อจากนั้นก็นำรถยนต์ไปเข้าไฟแนนซ์ได้เงินมา 200,000
บาท
และนำเงินที่เหลือจากคืนให้เพื่อนๆ ที่ยืมมาไปมอบให้กลุ่มผู้เสียหายคดีนี้
รวมทั้งไปเก็บเงินจากสมาชิกวงแชร์ /ทั้งในชั้นสอบสวนจำเลยที่
2 ก็รับว่าจำเลยที่
1 เข้าเจรจาต่อรองกับสมาชิกวงแชร์ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้และแจ้งให้โจทก์ร่วมที่
6 กับผู้เสียหายบางส่วนทราบว่าตนได้ให้จำเลยที่
1 ไปกู้ยืมเงินจากธนาคารมาชำระค่าเสียหายให้สมาชิกวงแชร์ แต่ตกลงเรื่องจำนวนค่าเสียหายที่จะชำระให้แก่สมาชิกวงแชร์ไม่ได้
การเจรจาจึงล้มเหลว พฤติการณ์ของจำเลยที่
2 ดังกล่าวแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่า
จำเลยที่ 2 ซึ่งอาศัยอยู่บ้านเดียวกับจำเลยที่
1 เป็นสามีของจำเลยที่
1 ได้รู้เห็นว่าจำเลยที่
1 ภริยาตนมีความสามารถทั้งจัดการเล่นแชร์และเป็นนายวงแชร์ จึงยอมร่วมแล่นแชร์กับจำเลยที่ 1 ในฐานะนายวงแชร์และจัดการเล่นแชร์ด้วย/ เมื่อจำเลยที่ 1 จัดการเล่นแชร์แล้วมีปัญหาวงแชร์จะล้มไม่สามารถดำเนินการได้ต่อไป จำเลยที่ 2 ก็สามารถเข้ามาตัดสินใจและจัดการแก้ปัญหาได้ทันทีโดยไม่ต้องรอความเห็นชอบจากจำเลยที่
1 อันเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ
ตามกฎหมายถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมเป็นนายวงแชร์และจัดการเล่นแชร์ตามที่โจทก์ฟ้องแล้ว
#บทวิเคราะห์ที่6 ศาลมองว่าการที่รู้เห็น เข้าร่วมช่วยแก้ปัญหา
เจรจาผู้เสียหาย นำเงินไปมอบให้ ตัดสินใจแทนจำเลยที่ ๑ นั้น
เป็นตัวการร่วมในการกระทำผิด
ในประเด็นสำคัญที่เป้นข้อต่อสู้ของทางจำเลย
ส่วนในเรื่องการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองดังกล่าวเป็นความผิดกรรมเดียวตามฎีกา
จำเลยที่ 1 หรือไม่ เห็นว่า
สำหรับแชร์วงเล็กมือละ 500 บาท นั้น เกิดขึ้นภายหลังจากจำเลยที่ 1 ได้เป็นนายวงแชร์และดำเนินการเล่นแชร์ประสบผลสำเร็จสมาชิกวงแชร์ของจำเลยทั้งสองทุกคนได้รับเงิน
(ทุน) กองกลางแต่ละงวดได้ครบถ้วน ทำให้สมาชิกวงแชร์วงใหญ่อยากเล่นแชร์กับจำเลยที่ 1 เพิ่ม รวมทั้งพ่อค้าแม่ค้าในตลาดที่มีรายได้น้อย
จำเลยทั้งสองจึงจัดตั้งแชร์วงเล็กมือละ 500 บาทขึ้น
ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ก็สอดคล้องกับคำฟ้องที่ระบุว่าแชร์วงใหญ่เล่นกัน
(เกิดเหตุ) ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม 2546 และวันที่ 6 พฤศจิกายน 2546 ส่วนแชร์วงเล็กเล่นกัน(เกิดเหตุ) ระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม 2546 และวันที่ 4 ธันวาคม 2546 ซึ่งเป็นการกระทำต่างเวลาต่างกรรมกัน
การ กระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า
ให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
#บทวิเคราะห์ที่ 6 ศาลมองว่าเป็นการเล่นต่างช่วงเวลากัน และสมาชิกคนละลายเงื่อนไขคนละอย่าง การ กระทำจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
สรุป ท้าวแชร์ เปิดวงแชร์เกิน 3 วง ทุกวงรวมกันเกิน30คน ทุนกองกลางทุกวงรวมกันเกิน 300,000
บาท ถ้าแยกวันเวลาและเงื่อนไขในการเปิดวง
เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และมีความผิดตามพรบ.แชร์
ในประเด็นเรื่องเลขา
หรือผู้ช่วยหรือตัวการร่วม ถ้า แบ่งหน้าที่กันทำ รับรู้เห็นและตัดสินใจแทนได้
รับมอบส่งเงิน ศาลมองว่าเป็นตัวการร่วม
รวมคำพิพากษาฎีกา เอาผิดคดีโกงแชร์ปล่อยดอกเบี้ยเกินอัตรา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2901/2547
พฤติกรรมที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันประกอบกิจการในชื่อบริษัท ว. จำกัด
ประกาศโฆษณาต่อประชาชนทั่วไปรับสมัครสมาชิกไวท์โฮปกรุ๊ป
และเรียกเก็บเงินค่าสมัครจากผู้สมัครเป็นสมาชิกรายละ 3,000 บาท
โดยรู้อยู่แล้วว่าบริษัทไม่ได้ประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด
อันจะมีผลประโยชน์มาปันให้ให้แก่สมาชิกได้ตามใบประกาศตารางผลประโยชน์แห่งสมาชิก
จึงเป็นการร่วมกันกระทำผิดโดยการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
และโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินคือเงินค่าสมัครสมาชิกรายละ 3,000 บาท จากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม อันเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนตาม
ป.อ. มาตรา 343 วรรคแรก
และการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เรียกเก็บเงินจากผู้สมัครเป็นสมาชิกรายละ 3,000 บาท
โดยมีเงื่อนไขในการให้ผลประโยชน์ตอบแทนเฉพาะแก่ผู้เป็นสมาชิกว่า
หากสมาชิกผู้ใดหาสมาชิกใหม่มาสมัครได้ 6 คน จะได้รับผลประโยชน์เป็นเงินดาวน์รถจักรยานยนต์จำนวน
6,000 บาท
ทั้งจะได้รับเงินตอบแทนจากการหาสมาชิกใหม่รายละร้อยละ 25 ของเงินค่าสมัคร
และหากสมาชิกใหม่หาสมาชิกมาสมัครได้ต่อ ๆ ไป
สมาชิกเดิมก็ยังจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินจำนวนลดหลั่นไปตามใบประกาศตารางผลประโยชน์แห่งสมาชิกนั้น
เป็นการประกอบกิจการโดยวิธีชักจูงให้ผู้อื่นส่งเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นให้แก่ตน
และให้ผู้นั้นชักจูงผู้อื่นตามวิธีการที่กำหนด
และแสดงให้ผู้ถูกชักจูงเข้าใจว่าถ้าได้ปฏิบัติตามจนมีบุคคลอื่นอีกหลายคนเข้าร่วมต่อ
ๆ ไปจนครบวงจรแล้วผู้ถูกชักจูงจะได้รับกำไรมากกว่าเงินหรือประโยชน์ที่ผู้นั้นได้ส่งไว้ดังที่บางคนเรียกกันว่าแชร์ลูกโซ่
ซึ่งเมื่อคำนวณตารางผลประโยชน์แห่งสมาชิกแล้ว
จะเห็นได้ว่าหากผู้เป็นสมาชิกปฏิบัติตามเงื่อนไขสามารถชักจูงบุคคลอื่นมาเข้าร่วมได้ต่อ
ๆ ไป สมาชิกรายต้น ๆ จะได้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้หลายเท่า
แต่หากการดำเนินการมิได้เป็นไปตามคำชักจูงก็จะเกิดความเสียหายแก่ประชาชนผู้หลงเชื่อมาสมัครรายหลัง
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เรียกเก็บเงินค่าสมัครจากผู้สมัครเป็นสมาชิกและผลประโยชน์ตอบแทนที่จำเลยที่
1 จ่ายให้แก่สมาชิกในเงื่อนไขตามตารางผลประโยชน์แห่งสมาชิกดังกล่าว
ต้องตามความหมายของบทนิยามคำว่า “กู้ยืมเงิน” และ “ผลประโยชน์ตอบแทน” ตาม
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มาตรา 3 และเมื่อมีประชาชนหลงเชื่อเข้าสมัครเป็นสมาชิกบัตรไวท์โฮปกรุ๊ปตามที่จำเลยที่
1 ประกาศโฆษณามีจำนวนมากกว่าตั้งแต่สิบคนขึ้นไปโดยมีจำนวนรวม
394 คนตามบัญชีรายชื่อผู้เสียหาย
วันเวลาและจำนวนเงินที่จำเลยได้รับไปจากผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตาม
พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มาตรา 4 ด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดตามฟ้องโจทก์
แม้จำเลยที่ 1 จะประกาศโฆษณาเพียงครั้งเดียวในคราวเดียว
แต่ข้อเท็จจริงแห่งคดีฟังยุติว่าในระหว่างวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้องนั้น
มีผู้เสียหายซึ่งหลงเชื่อเข้าสมัครเป็นสมาชิกบัตรไวท์โฮปกรุ๊ปตามประกาศโฆษณาของจำเลยที่
1 มีจำนวน 394 คน โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับเงินค่าสมัครเป็นสมาชิกจากผู้เสียหายจำนวนดังกล่าวรายละ
3,000 คน
ไปโดยทุจริต ซึ่งความผิดต่อผู้เสียหายแต่ละรายเป็นการกระทำที่แยกออกจากกันได้
การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันรวม 394 กระทง ศาลย่อมลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปได้ตาม
ป.อ. มาตรา 91
จำเลยที่ 2 กระทำความผิดตาม
พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มาตรา 4 มีโทษตาม พ.ร.ก. ดังกล่าว มาตรา 12 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปีรวม 394 กระทง เป็นกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุด
มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี
ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ศาลลงโทษผู้กระทำผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป
แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินยี่สิบปีตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) ดังนั้น
ที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 20 ปี
ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวจึงไม่อาจลงโทษให้เบาลงอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2561
การชักชวนให้บุคคลทั่วไปหรืออย่างน้อยตั้งแต่สิบคนขึ้นไปมาทำการกู้ยืมเงินกันโดยการโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชน
คือการกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนทั่วๆไป
ไม่จำกัดว่าด้วยการโฆษณาทางสื่อมวลชนหรือป่าวประกาศต่อประชาชนในสถานที่ต่างๆ
จึงไม่จำเป็นที่จำเลยทั้งสองกับพวกจะต้องกระทำการดังกล่าวต่อผู้เสียหายแต่ละคนด้วยตนเองตั้งแต่ต้นทุกครั้งเป็นคราวๆไป
เพียงแต่จำเลยทั้งสองกับพวกแสดงข้อความหลอกลวงให้ปรากฏแก่ผู้เสียหายบางคนแล้วเป็นผลให้ประชาชนหลงเชื่อและนำเงินมาลงทุนกับจำเลยทั้งสองกับพวกก็ถือเป็นความผิดสำเร็จแล้ว
จำเลยที่ 2 จะอยู่ด้วยกับจำเลยที่ 1 และ พ. หรือไม่ ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10330/2557
แม้พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังได้เพียงว่าจำเลยพูดหลอกลวงชักชวน
ป. ผู้เสียหายที่ 5 เพียงคนเดียวให้เข้าร่วมลงทุน
ส่วนผู้เสียหายอื่นถูกผู้ร่วมกระทำความผิดคนอื่นพูดหลอกลวงชักชวนให้เข้าร่วมลงทุน
แต่ความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันฉ้อโกงประชาชนองค์ประกอบสำคัญคือ
มีผู้ร่วมกระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน
หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน และความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนองค์ประกอบที่สำคัญคือ
ผู้กระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันโฆษณาหรือประกาศต่อประชาชนหรือกระทำการด้วยประการใด
ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปในการกู้ยืมเงิน
ผู้ร่วมกระทำความผิดอาจกระทำการในลักษณะแบ่งงานกันทำ
ไม่จำเป็นที่จำเลยจะต้องกระทำต่อผู้เสียหายแต่ละคนด้วยตนเอง
เพียงจำเลยกระทำการดังกล่าวต่อผู้เสียหายที่ 5 โดยแนะนำตัวเองว่าเป็นผู้ช่วยผู้บริหารและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน
พาผู้เสียหายที่ 5 เดินชมสถานที่ซึ่งมีพนักงานมากกว่า
30 คน
นั่งประจำเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องจนผู้เสียหายที่ 5 หลงเชื่อและมอบเงินให้แก่จำเลย ส่วนผู้เสียหายที่ 1 ถึง 4 และที่ 6 ถึงที่ 11 ก็ถูกพวกจำเลยหลอกลวงในทำนองเดียวกัน
แสดงว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกันหลอกลวงประชาชนและกระทำต่อบุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปโดยแบ่งงานกันทำกับพวกจำเลย
เป็นผลให้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนหลงเชื่อและมอบเงินให้แก่จำเลยกับพวกตามฟ้อง
จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันเป็นตัวการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนและความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนทั้งสิบเอ็ดกระทงตามฟ้อง
อนึ่ง
ศาลอุทธรณ์พิพากษากำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10.5 ต่อปี
ของต้นเงินที่จำเลยต้องคืนแก่ผู้เสียหายที่ 5 ด้วยนั้นชอบแล้ว
เพราะเป็นผลประโยชน์ตอบแทนที่เป็นสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายและโจทก์ระบุไว้ในคำขอท้ายฟ้อง
เมื่อจำเลยมีความผิดฐานร่วมกันเป็นตัวการกระทำความผิด
จำเลยต้องชดใช้ดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวของต้นเงินแก่ผู้เสียหายทุกคนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3021/2557
การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม
ป.อ. มาตรา 343 วรรคแรก
และความผิดตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 เป็นการกระทำโดยหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและได้เงินหรือทรัพย์สินไปจากผู้ถูกหลอกลวง
โดยผู้กระทำความผิดมีเจตนาให้เกิดผลต่อผู้ถูกหลอกลวงแต่ละคนแยกต่างหากจากกัน
จึงเป็นความผิดสำเร็จสำหรับผู้ที่ถูกหลอกลวงแต่ละคน
ส่วนเหตุการณ์ในภายหลังที่ผู้กระทำความผิดได้เงินหรือทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงแต่ละคนอีกหลายคราว
ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการหลอกลวงในครั้งแรก หาใช่เป็นการกระทำใหม่อีกกรรมหนึ่งไม่
ผู้เสียหายทั้งสิบได้นำนากหญ้าจากจำเลยที่
1 และที่ 2 กับพวกไปเลี้ยงตามคำแนะนำเชิญชวนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก โดยจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก คู่ละ 20,000 บาท แม้ต่อมาผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่ 8 นำนากหญ้าไปเลี้ยงเพิ่มขึ้นจากครั้งแรกและจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่
1 และที่ 2 กับพวก เพิ่มเติมอีก 1 ครั้ง 1 ครั้ง และ 2 ครั้ง ตามลำดับ โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกไม่ได้กล่าวข้อความหลอกลวงใด ๆ ขึ้นใหม่
การได้รับเงินในครั้งต่อมาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก เป็นเพียงผลสืบเนื่องจากการกระทำครั้งแรก
โดยมีเจตนาอันเดียวกันเพื่อให้ได้รับเงินไปจากผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่ 8 แม้จะต่างวาระกันก็เป็นความผิดกรรมเดียวกัน
การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดสำเร็จสำหรับผู้เสียหายแต่ละคน รวม 10 กรรม ตามจำนวนผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4562/2555
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษารวมกันกับอีก
2 คดี โดยโจทก์ร่วมที่ 3 ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในสำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่
4249/2546 ของศาลชั้นต้นซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 แต่โจทก์ร่วมที่ 3 ไม่ได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในสำนวนคดีนี้ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยที่
7 ดังนั้น
แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษารวมกันสามสำนวนและโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายทั้งสามสำนวนก็ตาม
เมื่อโจทก์ร่วมที่ 3 ไม่ได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีอาญาสำนวนคดีนี้ตาม
ป.วิ.อ. มาตรา 30 โจทก์ร่วมที่
3 จึงไม่ใช่โจทก์ร่วมในสำนวนคดีนี้
โจทก์ร่วมที่ 3 จะอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 7 ไม่ได้
ส่วนการที่ศาลชั้นต้นสั่งให้พิจารณาพิพากษาคดีนี้กับอีก 2 คดี ดังกล่าวรวมกัน เป็นอำนาจของศาลตาม ป.วิ.อ.
มาตรา 25 ซึ่งเป็นคนละเรื่องแยกต่างหากจากกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8870/2553
พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
พ.ศ.2527 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า
“ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชน หรือกระทำด้วยประการใด ๆ
ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปว่าในการกู้ยืมเงิน
ตนหรือบุคคลใดจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ตามพฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงิน
ในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นจะนำเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน
หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆ
โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้นได้
และในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้กู้ยืมเงินไป
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน”
การโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือการกระทำด้วยประการใด ๆ
ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไป
อันจะทำให้เป็นความผิดสำเร็จฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
ไม่จำเป็นที่จำเลยทั้งสองจะต้องกระทำการดังกล่าวต่อผู้เสียหายแต่ละคนด้วยตนเองทุกครั้งเป็นคราว
ๆ ไป เพียงแต่จำเลยทั้งสองแสดงข้อความดังกล่าวให้ปรากฏแก่ผู้เสียหายแม้เพียงบางคน
แล้วเป็นผลให้ประชาชนหลงเชื่อนำเงินมาให้จำเลยทั้งสองกู้ยืม
ก็ถือว่าเป็นการกระทำความผิดแล้ว
ข้อสำคัญที่ทำให้ความผิดสำเร็จอยู่ที่ในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้เงินกู้ยืมไปจากผู้ถูกหลอกลวง
ทั้งการกระทำดังกล่าวโดยสภาพเป็นการกระทำต่อบุคคลหลายคนจึงอาจกระทำต่อบุคคลเหล่านั้นต่างวาระกันได้
การกระทำที่จะเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของการกระทำที่มีเจตนามุ่งกระทำเพื่อให้เกิดผลต่อบุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปหรือประชาชนเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้ง
มิได้พิจารณาจากองค์ประกอบความผิดที่ต้องกระทำต่อบุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปเพียงอย่างเดียวเป็นเครื่องชี้เจตนาของผู้กระทำเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า
จำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินจากโจทก์ร่วมทั้งสิบเจ็ด ผู้เสียหายที่ 11 และที่ 14 คนละวันเวลาและในสถานที่แตกต่างกัน
โดยเจตนาให้เกิดผลต่อโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแยกต่างหากจากกัน ดังนั้น
การกระทำของจำเลยทั้งสองแต่ละครั้งถือว่าเป็นความผิดสำเร็จสำหรับโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคนแล้ว
จึงเป็นความผิดหลายกรรมตามจำนวนโจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่จำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6364/2551
พ.ร.ก.
การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มาตรา 4 วรรคแรก บัญญัติว่า
“ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชน หรือกระทำด้วยประการใดๆ
ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปว่า
ในการกู้ยืนเงินตนหรือบุคคลใดจะจ่ายหรืออาจจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ตามพฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงิน
ในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้
โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า
ตนหรือบุคคลนั้นจะนำเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน
หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า ตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใดๆ
โดยชอบด้วยกฎหมาย ที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้นได้
และในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้กู้ยืมเงินไป
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน”
การโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือการกระทำด้วยประการใดๆ
ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไป
อันจะทำให้เป็นความผิดสำเร็จฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนนั้น
เพียงแต่จำเลยแสดงข้อความดังกล่าวให้ปรากฏแก่ผู้เสียหายบางคน
แล้วเป็นผลให้ประชาชนหลงเชื่อและนำเงินมาให้จำเลยกู้ยืม
ก็ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จแล้ว
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยไปชักชวนผู้เสียหายแต่ละคน คนละหลายครั้ง ดังนั้น
การที่ผู้เสียหายแต่ละคนนำเงินมาให้กู้ยืมและจำเลยรับไว้
ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จสำหรับผู้เสียหายแต่ละคน จึงเป็นความผิดหลายกรรมตามจำนวนผู้เสียหาย
คือ 14 กรรม
ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้
แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยหลายกรรม
ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขเรื่องโทษได้ เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
5016/2547
ตาม
พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชนชนฯ มาตรา 10 บัญญัติให้พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องผู้กู้ยืมเงินที่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำผิดตามมาตรา
4 หรือ 5 ของกฎหมายดังกล่าวเป็นบุคคลล้มละลายได้ เป็นการให้อำนาจฟ้องได้ในขณะที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำผิดเท่านั้น
ไม่ต้องรอให้ฟ้องคดีอาญาเป็นจำเลยต่อศาลก่อนและไม่ต้องรอให้ศาลพิพากษาถึงที่สุดก่อนว่าผู้กู้ยืมกระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาก็ได้
เพราะความผิดตามกฎหมายดังกล่าวมีผลกระทบต่อระบบการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ
รัฐต้องการให้กฎหมายมีสภาพบังคับโดยเร็ว
เพื่อมิให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนที่ร้ายแรงมากขึ้นจากความเนิ่นช้าในการบังคับใช้กฎหมายรัฐจึงเลือกใช้ช่องทางให้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา
10 วรรคสองของกฎหมายดังกล่าว
เพราะกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายนั้นจะต้องดำเนินการเป็นการด่วนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ
มาตรา 13 และในมาตรา
10 วรรคสองของกฎหมายดังกล่าวบัญญัติต่อไปว่า
ในการพิจารณาคดีล้มละลาย
ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงตามวรรคหนึ่งให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด
มิใช่ต้องได้ความจริงว่าลูกหนี้กระทำผิดตามคำพิพากษาถึงที่สุด
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสิบเด็ดขาด
และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้อำนาจเข้าจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยทั้งสิบต่อมาตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ จนศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสิบล้มละลายและเข้าสู่ขั้นตอนการจำหน่ายทรัพย์สินตาม
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 123 แล้ว
ซึ่งเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้และ
พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มีเจตนารมณ์ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลายจนสิ้นสุด
ไม่อาจขอทุเลาการบังคับอย่างคดีแพ่งธรรมดาและไม่อาจขอให้งดหรือระงับการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดและอายัดไว้ได้
ฎ.๕๗ ๗/๒๕๖๑
โจทก์ตกลงจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลให้แก่จำเลยในราคาเงินเชื่อฉบับละ ๑๐๐ บาท โดยรู้อยู่ว่าเป็นการขายสลากกินแบ่งเกินราคาฉบับละ
๘๐ บาท ที่กำหนดในสลากกินแบ่ง แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ที่กระทำการฝ่าฝืน
บทบัญญัติมาตรา ๓๙ แห่ง พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. ๒๕๑๗
แม้จำเลยไม่มีเจตนาจะใช้เงินค่าสลากกินแบ่งที่ได้รับไปจากโจทก์มาแต่แรกก็ตาม
แต่ผลประโยชน์ที่โจทก์จะได้เป็นผลประโยชน์ที่ได้สืบเนื่องมาจากการที่โจทก์กระทำความผิดฐานจำหน่ายสลากกินแบ่งเกินราคาที่กำหนดในสลากกินแบ่งตาม
พ.ร.บ. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลฯ
ประกอบกับการกระทำของโจทก์ดังกล่าวยังมีลักษณะเป็นการส่งเสริมให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานจำหน่ายสลากกินแบ่งเกินราคาที่กำหนด
ในสลากกินแบ่งอีกด้วย โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยในความผิดฐานฉ้อโกง
เทคนิกการสู้คดีฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5830/2562
พนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในความผิดฐานฉ้อโกง กับมีคำขอให้คืนหรือใช้เงิน
ที่ผู้เสียหายส่งมอบให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แก่ผู้เสียหาย
อันเป็นคำขอในส่วนแพ่งที่พนักงานอัยการฟ้องคดีแทนผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้
เมื่อเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินรายเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 คืนในคดีนี้
การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ในระยะเวลาที่คดีอาญาดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค
5 ฟ้องโจทก์ในส่วนเงินที่ส่งมอบอันเป็นต้นเงินจึงเป็นฟ้องซ้อน
แต่ในส่วนดอกเบี้ย พนักงานอัยการไม่ได้ขอให้ชดใช้ในคดีอาญาดังกล่าว
จึงไม่เป็นฟ้อนซ้อน
เมื่อข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ได้หลอกลวงโจทก์ และเงินที่โจทก์ส่งมอบให้จำเลยที่
1 ถึงที่ 3 ถูกส่งเป็นทอด ๆ ไปให้จำเลยที่ 4 โดยมิได้อยู่ในครอบครองของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่โจทก์จะใช้สิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ชำระดอกเบี้ยในเงินจำนวนนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5302/2562
การที่ อ. รับฟังจากจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเพื่อนของ อ. แนะนำว่าจำเลยที่ 2 สามารถฝากผู้เข้าสอบเข้ารับราชการเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรได้
โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 แสดงออกให้ปรากฏแก่ประชาชนทั่วไปถึงเรื่องดังกล่าวอย่างไร
เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องด้วยกับการกระทำความผิดของจำเลยที่
1 และที่ 2 และมิได้ร่วมมือกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยรับหน้าที่ให้มากระจายข่าวในหมู่ผู้เข้าสอบให้แพร่หลาย
เมื่อ อ. ไปพบกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่บ้านเพื่อให้ช่วยเหลือโจทก์ทั้งสองเข้ารับราชการตำรวจ
โดยยอมเสียค่าใช้จ่ายตามที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เรียกร้อง เห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันหลอกลวงโจทก์ทั้งสองเป็นการส่วนตัวเท่านั้น
หาได้มีพฤติการณ์อันเป็นการหลอกลวงประชาชนโดยทั่วไปไม่ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเพียงความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 โจทก์ทั้งสองทราบการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม 2558 โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 จึงล่วงเลยกำหนดระยะเวลา 3 เดือน จึงขาดอายุความ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ทั้งสองย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)
ส่วนคำขอในส่วนแพ่งเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามมาตรา 46 เมื่อคำพิพากษาส่วนอาญาวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันฉ้อโกงโจทก์ทั้งสองจริง เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การรับสารภาพ
เท่ากับรับว่าร่วมกันฉ้อโกงโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง
โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดหรือไม่ตาม ป.วิ.อ.
มาตรา 47 วรรคหนึ่ง
เงินที่โจทก์ทั้งสองจ่ายให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไป
จึงไม่มีลักษณะเป็นสินบนเพื่อจูงใจเจ้าพนักงานอื่นกระทำการใดๆ
เพื่อช่วยเหลือโจทก์ทั้งสองโดยมิชอบ แต่มีลักษณะเป็นสินน้ำใจที่สมนาคุณแก่จำเลยที่
1 และที่ 2 ที่ช่วยเหลือทำให้โจทก์ทั้งสองสามารถบรรจุเข้ารับราชการได้ตามที่จำเลยที่
1 และที่ 2 หลอกลวง
โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องคดีในส่วนแพ่งซึ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเรียกร้องให้จำเลยที่
1 และที่ 2 ร่วมกันชดใช้เงินที่ร่วมกันฉ้อโกงไปพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5069/2562
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องตาม
ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) นั้น
นอกจากจำเลยจะต้องเป็นบุคคลคนเดียวกันและศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว
คดีต้องมีประเด็นข้อกล่าวหาในมูลเหตุอย่างเดียวกันด้วย
ทั้งนี้เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของบุคคลไม่ให้ถูกดำเนินคดีถึงสองครั้งในการกระทำความผิดครั้งเดียว
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามโดยอ้างว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันหลอกลวงโจทก์ร่วมที่ 1 ที่ 2 และผู้เสียหายที่ 4 ให้ซื้อและฉีดสารที่อ้างว่าเป็นสเต็มเซลล์
โปรตีนและวิตามินซีเข้าสู่ร่างกาย
โดยสารดังกล่าวไม่ใช่สเต็มเซลล์และไม่ได้มีสรรพคุณตามที่จำเลยทั้งสามกล่าวอ้าง
แต่ข้อเท็จจริงในคดีก่อนเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 หลอกลวงโจทก์ร่วมที่ 1 โดยชักชวนให้ร่วมลงทุนในธุรกิจสเต็มเซลล์แต่ไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้จริงตามที่กล่าวอ้าง
ประเด็นข้อกล่าวหาของแต่ละคดีจึงต่างกันและเป็นการกระทำต่างกรรมกัน
แม้จะเป็นการฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อหาฉ้อโกงเหมือนกันก็ตาม
แต่เมื่อประเด็นข้อกล่าวหาในคดีนี้เป็นคนละมูลเหตุกับประเด็นข้อกล่าวหาในคดีก่อน
ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับฟ้องคดีก่อน
ในการขายสารที่อ้างว่าเป็นสเต็มเซลล์
โปรตีนและวิตามินซีนั้น จำเลยที่ 1 จะบริการฉีดสารดังกล่าวให้ภายหลังการขาย
โดยจะติดตามไปฉีดให้แก่ลูกค้าที่สถานที่ที่ลูกค้าสะดวกในลักษณะเป็นการบริการหลังการขาย
อันถือเป็นส่วนหนึ่งของการขาย จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ขายสารดังกล่าว
ย่อมต้องทราบทางปฏิบัติว่าจะต้องมีบริการฉีดสารดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายลูกค้าด้วยเสมอ
พฤติการณ์ที่มีเพียงจำเลยที่ 1 เป็นผู้ฉีดนั้นจึงถือเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ
โดยจำเลยทั้งสามมีเจตนาร่วมกันในการฉีดสารดังกล่าวให้แก่ลูกค้า เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งมีเจตนาร่วมกันจึงต้องรับผลแห่งการกระทำของจำเลยที่
1 ด้วย
จึงมีความผิดฐานร่วมกันประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทหรือหลายกรรมต่างกันนั้น
เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา
ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 การที่จำเลยทั้งสามหลอกลวงผู้เสียหายว่าสารที่ตนนำมาขายให้แก่ผู้เสียหายคือสเต็มเซลล์ที่แท้จริง
ก็เพื่อประสงค์จะขายสารดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหายเป็นสำคัญ
การหลอกลวงกับการขายจึงเกลื่อนกลืนกันไปเป็นเจตนาเดียว ความผิดฐานฉ้อโกง พยายามฉ้อโกง ขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
และขายยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
แต่การหลอกขายสเต็มเซลล์ให้แก่ผู้เสียหายนั้น
มีเจตนามุ่งประสงค์ต่อผู้เสียหายแต่ละรายแตกต่างกันไป ทั้งยังต่างวัน เวลา
และสถานที่ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานร่วมกันประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้น
กฎหมายมุ่งคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชนให้ปลอดภัยจากการประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ไม่ได้มาตรฐาน
ในทุก ๆ ครั้งที่ประชาชนได้รับบริการดังกล่าว จำเลยที่ 1 ฉีดยาให้แก่โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 ผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 เสร็จสิ้นในแต่ละครั้งเป็นการกระทำต่างวันเวลา
จึงเป็นความผิดที่แยกต่างหากจากกัน เป็นความผิดหลายกรรมตามจำนวนครั้งที่ฉีด
แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามมาเพียงกรรมเดียวและโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์
จึงไม่อาจพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสามได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4824/2562
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐรับผิดในผลแห่งละเมิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของตน
โจทก์ทั้งสี่จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้โดยตรงตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่ง
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
กรณีที่มีการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตาม
พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 แล้ว แต่โจทก์ที่ 4 หลบหนีและยังไม่ได้ตัวมา ซึ่งคดีจะขาดอายุความ
อันทำให้คำสั่งอายัดทรัพย์สินนั้นสิ้นผลลง จำเลยที่ 1 จึงแจ้งจำเลยที่ 2 ดำเนินการกับทรัพย์สินของโจทก์ที่ 4 ให้ตกเป็นของแผ่นดินตาม
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 จึงเกิดประโยชน์แก่ทางราชการมากกว่า ตามมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 หาใช่เป็นการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาใหม่ดังที่โจทก์ทั้งสี่อ้าง
จำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือความเห็นแย้งจากพนักงานอัยการเมื่อวันที่
22 มกราคม 2557 ว่าคดียังไม่มีเหตุผลที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน
วันที่ 18 เมษายน 2557 คณะกรรมการธุรกรรมประชุมและมีมติให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินวินิจฉัยชี้ขาดตาม
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 49 วรรคสาม วันที่ 29 พฤษภาคม 2557 คณะอนุกรรมการวินิจฉัยที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุพอที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินและมีมติควรเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด
และส่งเรื่องกลับไปให้เลขาธิการฯ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2557 มีการประชุมคณะกรรมการแต่ไม่มีการเสนอความเห็นแย้งของพนักงานอัยการให้คณะกรรมการพิจารณา
เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิบางส่วนลาออกทำให้มีจำนวนไม่ครบ 9 คน วันที่ 6 มีนาคม 2558 มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิครบ 9 คน วันที่ 25 มีนาคม 2558 เลขาธิการฯ
เสนอเรื่องความเห็นแย้งของพนักงานอัยการให้คณะกรรมการพิจารณา วันที่ 30 มีนาคม 2558 คณะกรรมการได้พิจารณาความเห็นแย้งดังกล่าว
โดยมีมติให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินโจทก์ทั้งสี่ตกเป็นของแผ่นดิน
กรณีถือได้ว่าคณะกรรมการได้พิจารณาชี้ขาดความเห็นแย้งของพนักงานอัยการภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากเลขาธิการฯ ตามมาตรา
49 วรรคสาม
แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3629/2562
ป.วิ.อ. มาตรา 170 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า
“คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด แต่คำสั่งที่ว่าคดีไม่มีมูลนั้น
โจทก์มีอำนาจอุทธรณ์ฎีกาได้ตามบทบัญญัติว่าด้วยลักษณะอุทธรณ์ฎีกา” ซึ่งหมายความว่า
การอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งที่ว่าคดีไม่มีมูล
ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยลักษณะอุทธรณ์ฎีกา
มิใช่โจทก์สามารถใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาได้ทุกคดีเสมอไป
คดีนี้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 (เดิม) มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลความผิดทางอาญา
แต่เป็นเรื่องทางแพ่ง และศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์เนื่องจากเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ประกอบ
พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ที่โจทก์ฎีกาว่า คดีของโจทก์มีมูลความผิดตามฟ้องแล้ว
ขอให้ศาลประทับฟ้องไว้พิจารณาต่อไป
จึงถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
ย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง
พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ
พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 แม้โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้มีการรับรองหรือขออนุญาตให้ฎีกามาด้วย
ก็ไม่อาจดำเนินการให้ได้ เพราะขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์มาจึงเป็นการไม่ถูกต้อง
ศาลฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390/2562
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองสบคบกันหลอกลวงโจทก์
โดยจำเลยที่ 2 นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาเสนอขายฝากโจทก์
โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปทำสัญญาขายฝากในราคา 1,500,000
บาท
แต่จำเลยทั้งสองกลับทำสัญญาและจดทะเบียนขายฝากในราคาเพียง 500,000
บาท
แล้วหลอกลวงโจทก์ว่าทำสัญญาและจดทะเบียนขายฝากในราคา 1,500,000
บาท
โจทก์หลงเชื่อมอบเงินให้จำเลยทั้งสองไป 1,500,000 บาท
โจทก์ร้องทุกข์ดำเนินคดีจำเลยทั้งสองในความผิดฐานฉ้อโกง พนักงานอัยการฟ้องจำเลยทั้งสองและมีคำขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงินที่ฉ้อโกง โจทก์เข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีอาญา ต่อมาคดีอาญาดังกล่าวศาลชั้นต้นเห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดจริงหรือไม่
ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยทั้งสองและพิพากษายกฟ้อง เท่ากับว่าได้มีการวินิจฉัยข้อเท็จจริงซึ่งเป็นประเด็นแห่งคดีแล้วว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบให้ศาลเห็นว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้อง
และในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งซึ่งศาลต้องถือข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญา
จึงเท่ากับยกฟ้องคดีในส่วนแพ่งไปแล้วด้วย
ข้อเท็จจริงในคดีอาญานั้นจึงผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องคดีนี้กล่าวอ้างถึงคดีอาญาดังกล่าวไว้ชัดเจน
และขอติดตามเอาทรัพย์คืน 1,000,000 บาท
ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 ได้รับเงิน 1,000,000
บาท ไปจากโจทก์หรือไม่
จึงเป็นประเด็นเดียวกับคดีอาญาดังกล่าว ที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้
จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องจำเลยทั้งสองในประเด็นที่ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยมาแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน
เป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จะต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิมของโจทก์ด้วย ตาม ป.วิ.พ.
มาตรา 177 วรรคสาม
แต่กรณีที่จำเลยที่ 1 ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามโดยอ้างว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้
เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทนนั้น
จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้ร้องสอดตามมาตรา 57 (3) (ก)
มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามมาตรา
57 (3) (ก) แล้ว
จำเลยร่วมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าจำเลยร่วมได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่
การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การ
ฟ้องแย้งโจทก์และจำเลยร่วมมาในฉบับเดียวกัน จึงต้องแยกพิจารณาว่าคำร้องดังกล่าวโต้แย้งสิทธิของโจทก์เดิมหรือจำเลยร่วม
เมื่อคำร้องดังกล่าวจำเลยที่ 1 มีคำขอให้บังคับจำเลยร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย
ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 จึงถือคำขอบังคับของจำเลยที่ 1 ส่วนนี้เป็นคำฟ้องเริ่มต้นคดีที่บังคับเอาแก่จำเลยร่วมเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทนซึ่งชอบด้วย
ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) และ 58 แล้ว มิใช่คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่ขอบังคับแก่โจทก์เดิมที่จะต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิมตามมาตรา
177 วรรคสาม