ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561

“ถามคำให้การ”

๑. แม้ ปวอ. มาตรา๗/๑(๒)จะบัญญัติให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้ในชั้นสอบสวน และมาตรา ๑๓๔/๓ บัญญัติให้ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้ใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ และมาตรา ๑๓๔/๔(๒) บัญญัติเรื่องการถามความผู้ต้องหานั้น ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ไว้ใจเข้าฟังการสอบสวนเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ก็ตาม แต่ในวรรคท้ายมาตรา ๑๓๔/๔ บัญญัติเพียงว่า ถ้อยคำใดๆที่ให้ไว้กับพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือก่อนที่จะดำเนินการตาม มาตรา ๑๓๔/๓ จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้เท่านั้น ดังนั้นพนักงานสอบสวนแม้ไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวก็หาทำให้การสอบสวนไม่ชอบแต่อย่างใดไม่ คำพิพากษาฏีกา ๓๑๑๙/๒๕๕๐
๒. บทบัญญัติในมาตรา ๑๓๔ตรีประกอบมาตรา ๑๓๓ทวิวรรคห้าใช้กับกรณีผู้ต้องหาอายุไม่เกิน ๑๘ ปีในขณะที่มีการสอบปากคำ เมื่อปรากฏว่าเมื่อขณะสอบปากคำจำเลยในฐานะผู้ต้องหา จำเลยมีอายุเกิน ๑๘ ปีแล้ว การสอบปากคำจำเลยจึงไม่ต้องมีนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่จำเลยในฐานะผู้ต้องหาร้องขอ และพนักงานอัยการในการร่วมการถามปากคำแต่อย่างใด แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยจะมีอายุไม่เกิน ๑๘ ปีบริบรูณ์ พนักงานสอบสวนไม่จำต้องถามเรื่องทนายความตามมาตรา ๑๓๔ทวิ(ปัจจุบันคือมาตรา ๑๓๔/๑วรรคหนึ่ง) ก่อนเริ่มถามคำให้การผู้ต้องหา ผู้ต้องหามีอายุเกิน ๑๘ ปีแล้ว แม้ขณะกระทำผิดจะมีอายุไม่เกิน ๑๘ ปี การนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบการดำเนินคดีดำเนินคดีนี้ เป็นการดำเนินการก่อนการสอบสวนผู้ต้องหาไม่ใช่การสอบปากคำ ไม่ใช่การชี้ตัวผู้ต้องหา จึงไม่จำต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยการสอบสวนผู้ต้องหาอายุไม่เกิน ๑๘ ปี ตามมาตรา ๑๓๔ตรี,๑๓๓ ทวิมาใช้บังคับ ความผิดฐานลักทรัพย์ผู้ครอบครองทรัพย์ที่ถูกลักเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีได้ คำพิพากษาฏีกา ๒๑๓๒/๒๕๔๘
๓. คดีที่มีโทษประหารชีวิต การสอบสวนคำให้การผู้ต้องหาอยู่ในบังคับแห่งทาตรา ๑๓๔/๑วรรคแรก ซึ่งเป็นสิทธิ์เด็ดขาดของผู้ต้องหาที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐในการหาทนายความให้ เมื่อพนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาไม่มีทนาย เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนต้องหาทนายความให้ผู้ต้องหา ตามบันทึกคำให้การผู้ต้องหาพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาและแจ้งสิทธิ์ให้จำเลยทราบและสอบถามเรื่องทนายความหรือผู้ที่ไว้ใจเข้ารับฟังการสอบสวน จำเลยให้การปฏิเสธ ไม่ต้องการทนายความหรือผู้ไว้ใจเข้ารับฟังการสอบสวน พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนโดยไม่จัดหาทนายให้จำเลยตามคำให้การดังกล่าว จำเลยไม่ขอให้การโดยจะขอให้การในชั้นศาล การที่พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ปวอ มาตรา ๑๓๔/๑วรรคแรก แต่ในบทบัญญัติในมาตรา ๑๓๔/๔ วรรคท้าย บัญญัติเพียงว่า ถ้อยคำใดๆที่ผู้ต้องหาให้การไว้กับพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิ์ตามวรรคแรกหรือก่อนที่จะดำเนินการตาม มาตรา ๑๓๔/๑ รับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้ แม้พนักงานสอบสวนจะไม่ได้จัดทนายความให้จำเลยก็ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบแต่อย่างใด เมื่อมีการสอบสวนแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์ขอให้ริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางโดยอ้างว่าจำเลยใช้ในการติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตตามีน แต่โจทก์ฟ้องให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตตามีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย หลักฐานที่โจทก์นำสืบได้เพียง จำเลยถูกจับขณะขับรถยนต์ที่ใช้ขณะเกิดเหตุ ตรวจค้นพบเมทแอมเฟตตามีน ๑๒,๐๐๐ เม็ด อาวุธปืนเป็นของบุคคลอื่นที่อนุญาตให้มีและใช้จากนายทะเบียนท้องที่ ซองกระสุนปืน ๑ ซอง กระสุนปืนออโตเมตริกขนาด ๙ มม.จำนวน ๑๑ นัด โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางจึงไม่ใช่เครื่องมือเครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นใดซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด ฐานมีเมทแอมเฟตตามีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้อง โดยตรงและไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดซึ่งหมายถึงความผิดที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น จึงไม่อาจริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางของจำเลยตาม พรบ. ยาเสพติดให้โทษ มาตรา ๑๐๒ และ ปอ มาตรา ๓๓ ไม่ใช่ทรัพย์ที่ทำไว้หรือมีไว้เป็นความผิดอันต้องริบทั้งสิ้นตาม ปอ มาตรา ๓๒ จำเลยรับสารภาพในชั้นจับกุมว่ากระทำผิดตามฟ้อง ถือได้ว่าเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษตาม ปอ มาตรา ๗๘ คำพิพากษาฏีกา ๑๑๓๐/๒๕๕๓
๔. คดีที่มีอัตตาโทษประหารชีวิต ก่อนเริ่มถามคำให้การให้พนักงานสอบสวนสอบถามผู้ต้องหาว่ามีทนายหรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายให้ ตาม ปวอ มาตรา ๑๓๔/๑ เมื่อพนักงานสอบสวนไม่ได้จัดหาทานายให้จำเลยที่ ๒ อันเป็นการไม่ปฏิบัติการ ตามมาตรา ๑๓๔/๑ ถ้อยคำใดๆที่ให้ไว้กับพนักงานสอบสวนย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดจำเลยที่ ๒ไม่ได้ตาม ปวอ มาตรา ๑๓๔/๔ วรรรคท้าย ดังนั้นจึงไม่อาจรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ ๒ ที่ให้การว่า ขณะจำเลยที่ ๑ ตรวจนับเมทแอมเฟตตามีนในห้องพักในห้องจำเลยที่ ๒ อยู่ด้วยมารับฟังเป็นพยานหลักฐานโจทก์เพื่อลงโทษจำเลยที่ ๒ไม่ได คำพิพากษาฏีกา ๗๗๐๓/๒๕๕๔
๕. โจทก์ไม่สามารถนำผู้เสียหายที่ ๑ มาเบิกความเป็นพยาน เนื่องจากผู้เสียหายที่ ๑ ย้ายที่อยู่หาตัวไม่พบ คำให้การผู้เสียหายที่ ๑ ในชั้นสอบสวน แม้เป็นพยานบอกเล่า แต่ผู้เสียหายที่ ๑ ให้การต่อพนักงานสอบสวน นักจิตวิทยาและพนักงานอัยการ โดยมีการบันทึกภาพและเสียงบไว้ตามแถบวีดีทัศน์วัตถุพยาน วจ ๑ อันเป็นการปฏิบัติการตาม ปวอ มาตรา ๑๓๓ ทวิ ศาลย่อมรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การผู้เสียหายที่ ๑ได้เสมือนหนึ่งเป็นคำเบิกความของผู้เสียหายที่ ๑ ในชั้นพิจารณาของศาลประกอบหลักฐาน อื่นของโจทก์ได้ ตาม ปวอ มาตรา๑๗๒ ตรี วรรคห้า วรรคท้าย,๒๒๖/๓วรรค๒ คำพิพากษาฏีกา ๓๕๑๑/๒๕๕๒
๖. ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน ๓ ปี ขึ้นไป และเป็นคดีทำร้ายร่างกายเด็กอายุไม่เกิน ๑๘ ปี กรณีต้องด้วย ปวอ มาตรา ๑๓๓ ซึ่งกฎหมายกำหนดว่า ในการสอบปากคำเด็กไว้ในฐานะผู้เสียหายให้แยกกระทำเป็นสัดส่วน ในสถานที่เหมาะสมสำหรับเด็กและให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการสอบปากคำเด็กนั้นด้วย พนักงานสอบสวนสอบปากคำผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กต่อหน้า ร มารดาผู้เสียหายเท่านั้น ไม่ปรากฏว่ามีนักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำ ทั้งไม่ได้ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้บันทึกเหตุที่ไมอาจรอบุคคลดังกล่าวไว้ในสำนวนการสอบสวนตามที่ มาตรา ๑๓๓ ทวิวรรคท้าย การถามปากคำผู้เสียหายที่เป็นเด็กที่พนักงานสอบสวนได้กระทำไปจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่หามีผลถึงขนาดทำให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมดและถือไม่มีการสอบสวนในความผิดนั้นมาก่อนอันจะทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตาม ปวอ มาตรา ๑๒๐ ไม่ คำพิพากษาฏีกา ๗๒๔๑/๒๕๔๙
๗. พนักงานสอบสวนได้สอบปากคำเด็กหญิง ว. ที่มีอายุ ๑๓ ปีเศษ ในฐานะพยานโดยไม่ได้จัดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ หรือพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำ คำให้การเด็กหญิง ว. จึงไม่ชอบด้วย ปวอ มาตรา ๑๓๓ทวิวรรคหนึ่ง แต่ผลของการไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ คงทำให้คำให้การชั้นสอบสวนเด็กหญิง ว.ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ปวอ มาตรา ๒๒๖และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๔๐มาตรา ๒๔๓วรรคสองเท่านั้น ไม่เป็นเหตุให้การสอบสวนของพนักงานสอบสวนเสียไปทั้งหมด ถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดนั้นตามปวอ มาตรา๑๒๐ แล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง แม้การสอบสวนเด็กหญิง ว. ซึ่งมีอายุไม่เกิน๑๘ ปีไม่ชอบด้วย ปวอ มาตรา ๑๓๓ ทวิวรรคหนึ่ง แต่เมื่อในชั้นพิจารณาโจทก์อ้างเด็กหญิง ว. เป็นพยาน เด็กหญิง ว. ได้เบิกความต่อหน้าศาลโดยผ่านนักสังคมสงเคราะห์ชอบแล้วตาม ปวอ มาตรา ๑๗๒ ตรี ศาลย่อมรับฟังคำเบิกความของเด็กหญิง ว. เป็นพยานได้ คำพิพากษาฏีกา๕๒๙๔/๒๕๔๙
๘. จำเลยฏีกาว่าการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปวอ มาตรา ๑๓๓ ตรี เพราะพนักงานสอบสวนไม่ได้จัดให้เด็กหญิง น. ชี้ตัว แม้ปัญหานี้จำเลยเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฏีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยมีสิทธิ์ยกขึ้นฏีกาได้ เห็นว่ามาตรา ๑๓๓ ตรีหาใช่บทบัญญัติบังคับให้พนักงานสอบสวนต้องจัดให้มีการชี้ตัวทุกคดีไม่ เป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะจัดให้มีการชี้ตัวหรือไม่ก็ได้ เพียงแต่ว่าหากจัดให้มีการชี้ตัวต้องดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติ เมื่อคดีนี้พนักงานสอบสวนไม่ได้จัดให้มีการชี้ตัวจึงไม่มีกรณีที่จะต้องดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ การสอบสวนชอบด้วยกฏหมาย คำพิพากษาฏีกา ๒๘๓๔/๒๕๕๐
ข้อสังเกต ๑.ผู้เสียหาย ผู้ต้องหาหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน ๑๘ ปีร้องขอเวลาที่พนักงานสอบสวนจะทำการสอบปากคำในคดีที่
๑.๑เป็นความผิดเกี่ยวกับเพศ
๑.๒ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายอันไม่ใช่ความผิดฐานชุลลมุนต่อสู้
๑.๓ ความผิดต่อเสรีภาพ
๑.๔ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์
๑.๕ความผิดเกี่ยวการปรามปรามการค้าหญิงและเด็ก
๑.๖ความผิดเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
๑.๗ความผิดที่มีอัตราโทษจำคุก
การถามปากคำเด็กอายุไม่เกิน ๑๘ ปีต้องกระทำดังนี้
ก.แยกการสอบสวนเป็นสัดส่วน ในสถานที่เหมาะสมกับเด็ก
ข.มีนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์
ค. บุคคลที่เด็กร้องขอ
ง.พนักงานอัยการ
เข้าร่วมในการสอบปากคำ คำถามใดหรือการถามเด็กคนในจะกระทบกระเทือนจิตใจเด็กอย่างรุนแรงต้องถามผ่านนนักสังฃคมสงฃเคราะห์หรือนักจิตวิทยาตามประเด็นคำถามของพนักงานสอบสวนโดยไม่ให้เด็กได้ยินคำถามนั้น และห้ามถามเด็กซ้ำซ้อนหลายครั้งโดยไม่มีเหตุอันควร การถามด้วยคำถามเดิมหลายครั้งเป็นการตอกย้ำการกระทำที่เด็กได้รับมา เช่น เด็กถูกข่มขืนการตอกย้ำในคำถามเดิมเสมือนหนึ่งเป็นการข่มขืนเด็กอีกครั้งด้วยคำพูดโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ กฏหมายจึงห้ามถามซ้ำซ้อนโดยไม่มีเหตุอันควร
๒.กรณีมีเหตุอันสมควรไม่อาจรอนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ พนักงานอัยการเข้าร่วมในการสอบปากคำพร้อมกันได้ ให้พนักงานสอบสวนถามปากคำเด็กโดยมีบุคคลหนึ่งบุคคลใดดังกล่าวข้างต้นอยู่ร่วม แต่ต้องบันทึกเหตุที่ไม่อาจรอบุคคลอื่นได้ การถามปากคำพยานหรือผู้เสียหายในกรณีนี้ให้ถือว่าทำโดยชอบด้วยกฎหมาย บางทีเจ้าหน้าที่ของรัฐบางคนก็ใช้ข้อยกเว้นนี้เป็นหลักเพราะกว่าจะรอให้ทุกคนมาพร้อมก็เสียเวลาเลยใช้ข้อยกเว้นเป็นหลักไป
๓.การชี้ตัวผู้ต้องหาโดยผู้เสียหายและพยานที่มีอายุไม่เกิน ๑๘ ปี ต้องมีนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการร่วมในการชี้ตัว เว้นมีเหตุจำเป็นไม่อาจหาหรือรอบุคคลดังกล่าวได้ เช่นอยู่ไกลคนละจังหวัด หากเด็กไม่ประสงค์ให้มีหรือรอบุคคลดังกล่าวให้พนักงานสอบสวนบันทึกเหตุดังกล่าวไว้
๔.การสอบปากคำเด็กที่เป็นผู้ต้องหาที่อายุไม่เกิน ๑๘ ปี หากไม่ได้กระทำตามข้อสังเกตที่ ๑ จะนำบันทึกคำให้การดังกล่าวมารับฟังในการพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหาไม่ได้ ปกติบันทึกคำให้การผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนเป็นพยานบอกเล่าที่มีน้ำหนักน้อยต้องประกอบพยานหลักฐานอื่นจึงจะนำมารับฟังพิสูจน์ความผิดผู้ต้องหาได้ ยิ่งเป็นคำให้การที่ไม่ได้ดำเนินการตามข้อสังเกตที่ ๑ ด้วยแล้วยิ่งไม่สามารถนำมารับฟังพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหาได้.
๕..แม้ ตามบทบัญญัติกฎหมายในปวอ มาตรา๗/๑(๒)จะบัญญัติให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิ์ให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้ในชั้นสอบสวน และมาตรา ๑๓๔/๓ บัญญัติให้ผู้ต้องหามีสิทธิ์ให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้ใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้และมาตรา ๑๓๔/๔(๒)บัญญัติเรื่องการถามความผู้ต้องหานั้น ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า ผู้ต้องหามีสิทธิ์ให้ทนายความหรือผู้ที่ไว้ใจเข้าฟังการสอบสวนเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเพียงคุ้มครองผู้ต้องหาในขณะที่สอบปากคำ ซึ่งอาจเกิดความกลัวต่อพนักงานสอบสวน หรือถูกล่อลวง ข่มขู่ ฉ้อฉลด้วยประการใดอันไม่ชอบหรือถูกทำร้ายร่างกายเพื่อให้ผู้ต้องหารับสารภาพ การที่มีทนายเข้ามาร่วมรับฟังในขณะสอบปากคำผู้ต้องหาย่อมขจัดข้อสงสัยดังกล่าว ดังนั้นแม้ในขณะสอบปากคำผู้ต้องหาพนักงานสอบสวนจะไม่ได้ดำเนินการตาม ปวอ มาตรา ๗/๑, ๑๓๔/๓,๑๓๔/๔(๒)ก็ตาม ก็หาทำให้การสอบสวนเสียไป คงมีผลตามความตอนในวรรคท้ายมาตรา ๑๓๔/๔ บัญญัติเพียงว่า “ ถ้อยคำใดๆที่ให้ไว้กับพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งหรือก่อนที่จะดำเนินการตาม มาตรา ๑๓๔/๓ จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้” เท่านั้น ดังนั้นพนักงานสอบสวนแม้ไม่ได้ปฏิบัติก็หาทำให้การสอบสวนเสียไปไม่ พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้อง เป็นเพียงใช้รับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดจำเลยไม่ได้เท่านั้น จะอาศัยข้อความในบันทึกคำให้การที่เป็นผลร้าย เช่น รับสารภาพ หรือมีข้อเท็จจริงที่นำไปประกอบพยานหลักฐานอื่นเพื่อให้หลักฐานของโจทก์มั่นคงขึ้นเพื่อรับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้ แต่การสอบสวนไม่เสียไป อัยการมีอำนาจฟ้อง แต่ศาลจะลงโทษได้หรือไม่เป็นอีกเรื่อง อยู่ที่พยานหลักฐานของโจทก์ว่านอกจากคำให้การผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนแล้วมีพยานหลักฐานอื่นอีกไหมที่พิสูจน์ได้ว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด 
๖.บทบัญญัติในมาตรา ๑๓๔ตรีประกอบมาตรา ๑๓๓ทวิวรรคห้าใช้กับกรณีผู้ต้องหาอายุ “ไม่เกิน” ๑๘ ปีในขณะที่มีการสอบปากคำ เมื่อปรากฏว่าเมื่อขณะสอบปากคำจำเลยในฐานะผู้ต้องหา จำเลยมีอายุ “เกิน” ๑๘ ปีแล้ว การสอบปากคำจำเลยจึงไม่ต้องมีนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่จำเลยในฐานะผู้ต้องหาร้องขอ และพนักงานอัยการในการร่วมการถามปากคำแต่อย่างใด 
๗.แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยจะมีอายุไม่เกิน ๑๘ ปีบริบรูณ์ พนักงานสอบสวนต้องถามเรื่องทนายความตามมาตรา ๑๓๔ทวิ(ปัจจุบันคือมาตรา ๑๓๔/๑วรรคหนึ่ง) แต่ก่อนเริ่มถามคำให้การผู้ต้องหา ผู้ต้องหามีอายุเกิน ๑๘ ปีแล้ว แม้ขณะกระทำผิดจะมีอายุไม่เกิน ๑๘ ปี แต่เมื่อขณะสอบปากคำมีอายุเกิน ๑๘ ปีบริบรูณ์แล้วพนักงานสอบสวนจึงไม่จำต้องถามเรื่องทนายความแต่อย่างใดไม่ 
๘.การนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบการดำเนินคดีดำเนินคดีนี้ เป็นการดำเนินการก่อนการสอบสวนผู้ต้องหาไม่ใช่การสอบปากคำ ไม่ใช่การชี้ตัวผู้ต้องหา จึงไม่จำต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยการสอบสวนผู้ต้องหาอายุไม่เกิน ๑๘ ปี ตามมาตรา ๑๓๔ตรี,๑๓๓ ทวิมาใช้บังคับ คือไม่จำต้องให้มีนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการสอบสวน อีกทั้งการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพกฎหมายไม่ได้บังคับว่าทุกคดีต้องมีการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ เป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนพิจารณาเป็นเรื่องๆไปว่าเรื่อใดควรจะมีหรือไม่อย่างไร
๙.ความผิดฐานลักทรัพย์เป็นความผิดที่กระทำต่ออำนาจความครอบครองหรือความเป็นเจ้าของทรัพย์ ด้วยการแย่งการครอบครองจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์โดยเจตนาทุจริต ผู้ครอบครองทรัพย์และเจ้าของทรัพย์ที่ถูกแย่งการครอบครองไปจึงเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานลักทรัพย์ มีอำนาจร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีได้ 
๑๐.คดีที่มีโทษประหารชีวิต การสอบสวนคำให้การผู้ต้องหาอยู่ในบังคับแห่งมาตรา ๑๓๔/๑วรรคแรก คือ ก่อนเริ่มถามคำให้การ พนักงานสอบสวนต้องถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ หากไม่มีและต้องการ รัฐต้องจัดหาทนายความให้ ซึ่งเป็นสิทธิ์เด็ดขาดของผู้ต้องหาที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐในการหาทนายความให้ เมื่อพนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาไม่มีทนาย เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนต้องหาทนายความให้ผู้ต้องหา 
๑๑..ตามบันทึกคำให้การผู้ต้องหาพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาและแจ้งสิทธิ์ให้จำเลยทราบและสอบถามเรื่องทนายความหรือผู้ที่ไว้ใจเข้ารับฟังการสอบสวน จำเลยให้การปฏิเสธ ไม่ต้องการทนายความหรือผู้ไว้ใจเข้ารับฟังการสอบสวน พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนโดยไม่จัดหาทนายให้จำเลยตามคำให้การดังกล่าว แม้จำเลยจะไม่ขอให้การโดยจะขอให้การในชั้นศาล การที่พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ปวอ มาตรา ๑๓๔/๑วรรคแรก ก็มีผลเพียงที่บัญยัติไว้ในบทบัญญัติในมาตรา ๑๓๔/๔ วรรคท้าย บัญญัติเพียงว่า “ถ้อยคำใดๆที่ผู้ต้องหาให้การไว้กับพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิ์ตามวรรคแรกหรือก่อนที่จะดำเนินการตาม มาตรา ๑๓๔/๑ รับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้” แม้พนักงานสอบสวนจะไม่ได้จัดทนายความให้จำเลยก็ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบแต่อย่างใด เป็นเพียงถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้การไม่สามารถใช้ในการพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหาเท่านั้น หาทำให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมด เมื่อมีการสอบสวนแล้ว พนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง 
๑๒..โจทก์ขอให้ริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางโดยอ้างว่าจำเลยใช้ในการติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตตามีน แต่โจทก์ฟ้องให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตตามีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย หลักฐานที่โจทก์นำสืบได้เพียง จำเลยถูกจับขณะขับรถยนต์ที่ใช้ขณะเกิดเหตุ ตรวจค้นพบเมทแอมเฟตตามีน ๑๒,๐๐๐ เม็ด อาวุธปืนเป็นของบุคคลอื่นที่อนุญาตให้มีและใช้จากนายทะเบียนท้องที่ ซองกระสุนปืน ๑ ซอง กระสุนปืนออโตเมตริกขนาด ๙ มม.จำนวน ๑๑ นัด โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางจึงไม่ใช่เครื่องมือเครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นใดซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด ฐานมีเมทแอมเฟตตามีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้องโดยตรงและไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดซึ่งหมายถึงความผิดที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น จึงไม่อาจริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางของจำเลยตาม พรบ. ยาเสพติดให้โทษ มาตรา ๑๐๒ และ ปอ มาตรา ๓๓ อีกทั้งโทรศัพท์ของกลางไม่ใช่ทรัพย์ที่ทำไว้หรือมีไว้เป็นความผิดอันต้องริบทั้งสิ้นตาม ปอ มาตรา ๓๒ กรณีนี้ฟ้องว่าครอบครองเพื่อจำหน่ายดังนั้นโทรศัพท์มือถืออาจไม่ใช่เรื่องจำเป็นหรือสิ่งที่ชี้ชัดว่าได้ใช้ในการกระทำความผิด แต่หากเป็นการฟ้องมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตตามีน โดยก่อนมีการจำหน่ายได้ใช้โทรศัพท์มือถือในการติดต่อสั่งซื้อเมทแอมเฟตตามีน นัดสถานที่ วันเวลาในการส่งมอบ ระบุจำนวนของที่แน่นอนโดยการใช้โทรศัพท์ในการติดต่อแทนการพูดด้วยวาจาดังนี้แล้วโทรศัพท์ก็จะเป็นทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการจำหน่ายเมทแอมเฟตตามีนอันเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดอันสามารถริบได้
๑๓.จำเลยรับสารภาพในชั้นจับกุมว่ากระทำผิดตามฟ้อง ถือได้ว่าเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษตาม ปอ มาตรา ๗๘ 
๑๔.ผู้ต้องหาที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐในการหาทนายความให้ เมื่อพนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาไม่มีทนาย เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนต้องหาทนายความให้ผู้ต้องหา ตามบันทึกคำให้การผู้ต้องหาพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาและแจ้งสิทธิ์ให้จำเลยทราบและสอบถามเรื่องทนายความหรือผู้ที่ไว้ใจเข้ารับฟังการสอบสวน จำเลยให้การปฏิเสธ ไม่ต้องการทนายความหรือผู้ไว้ใจเข้ารับฟังการสอบสวน พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนโดยไม่จัดหาทนายให้จำเลยตามคำให้การดังกล่าว จำเลยไม่ขอให้การโดยจะขอให้การในชั้นศาล การที่พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ปวอ มาตรา ๑๓๔/๑วรรคแรก แต่ในบทบัญญัติในมาตรา ๑๓๔/๔ วรรคท้าย บัญญัติเพียงว่า ถ้อยคำใดๆที่ผู้ต้องหาให้การไว้กับพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิ์เท่านั้น
๑๕.คดีที่มีอัตตาโทษประหารชีวิต ก่อนเริ่มถามคำให้การให้พนักงานสอบสวนสอบถามผู้ต้องหาว่ามีทนายหรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายให้ ตาม ปวอ มาตรา ๑๓๔/๑ เมื่อพนักงานสอบสวนไม่ได้จัดหาทานายให้จำเลยที่ ๒ อันเป็นการไม่ปฏิบัติการ ตามมาตรา ๑๓๔/๑ ถ้อยคำใดๆที่ให้ไว้กับพนักงานสอบสวนย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดจำเลยที่ ๒ไม่ได้ตาม ปวอ มาตรา ๑๓๔/๔ วรรรคท้าย ดังนั้นจึงไม่อาจรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ ๒ ที่ให้การว่า ขณะจำเลยที่ ๑ ตรวจนับเมทแอมเฟตตามีนในห้องพักในห้องจำเลยที่ ๒ อยู่ด้วยมารับฟังเป็นพยานหลักฐานโจทก์เพื่อลงโทษจำเลยที่ ๒ไม่ได้ ซึ่งโดยลำพังการให้การซัดทอดระหว่างผู้กระทำผิดด้วยกัน ศาลมักไม่ค่อยรับฟังอยู่แล้วเว้นแต่จะมีพยานหลักฐานอื่นประกอบ เพราะผู้ที่กระทำผิดด้วยกันอาจซัดทอดหรือโยนความผิดให้ผู้ต้องหาอื่นเพื่อให้ตนพ้นผิด ดังนั้นลำพังคำให้การซัดทอดมีน้ำหนักน้อยอยู่แล้วยิ่งเป็นคำให้การที่สอบปากคำไม่ถูกต้องตามกฏหมายด้วยยิ่งทำให้มีน้ำหนักน้อยลงไปอีกและไม่สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
๑๖.โจทก์ไม่สามารถนำผู้เสียหายที่ ๑ มาเบิกความเป็นพยาน เนื่องจากผู้เสียหายที่ ๑ ย้ายที่อยู่หาตัวไม่พบ คำให้การผู้เสียหายที่ ๑ ในชั้นสอบสวน แม้เป็นพยานบอกเล่า แต่ผู้เสียหายที่ ๑ ให้การต่อพนักงานสอบสวน นักจิตวิทยาและพนักงานอัยการ โดยมีการบันทึกภาพและเสียงบไว้ตามแถบวีดีทัศน์วัตถุพยาน วจ ๑ อันเป็นการปฏิบัติการตาม ปวอ มาตรา ๑๓๓ ทวิ ศาลย่อมรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การผู้เสียหายที่ ๑ได้เสมือนหนึ่งเป็นคำเบิกความของผู้เสียหายที่ ๑ ในชั้นพิจารณาของศาลประกอบหลักฐาน อื่นของโจทก์ได้ ตาม ปวอ มาตรา๑๗๒ ตรี วรรคห้า วรรคท้าย,๒๒๖/๓วรรค๒ คือนำมารับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่น ส่วนศาลจะเชื่อในคำให้การดังกล่าวหรือไม่เป็นอีกเรื่อง การที่ไม่สามารถนำตัวผู้เสียหายมาเบิกความได้ เนื่องจากย้ายที่อยู่อาจเป็นเพราะโดนข่มขู่ว่าจะเกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายของพยานหรือบุคคลที่ใกล้ชิดพยาน หรือโดยจ้างให้หนีเพื่อไม่ให้มาให้การ หรือพยานมาศาลแล้ว จำเลย ญาติจำเลยหรือ มีนักกฏหมายบางคน (บางคน เน้นนะครับว่าบางคนไม่ใช่ทุกคน)บอกให้กลับบ้านได้เลย 
๑๗.ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน ๓ ปี ขึ้นไป และเป็นคดีทำร้ายร่างกายเด็กอายุไม่เกิน ๑๘ ปี กรณีต้องด้วย ปวอ มาตรา ๑๓๓ ซึ่งกฎหมายกำหนดว่า ในการสอบปากคำเด็กไว้ในฐานะผู้เสียหายให้แยกกระทำเป็นสัดส่วน ในสถานที่เหมาะสมสำหรับเด็กและให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการสอบปากคำเด็กนั้นด้วย พนักงานสอบสวนสอบปากคำผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กต่อหน้า ร มารดาผู้เสียหายเท่านั้น ไม่ปรากฏว่ามีนักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำ ทั้งไม่ได้ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้บันทึกเหตุที่ไม่อาจรอบุคคลดังกล่าวไว้ในสำนวนการสอบสวนตามที่ มาตรา ๑๓๓ ทวิวรรคท้าย การถามปากคำผู้เสียหายที่เป็นเด็กที่พนักงานสอบสวนได้กระทำไปจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่หามีผลถึงขนาดทำให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมดและถือไม่มีการสอบสวนในความผิดนั้นมาก่อนอันจะทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตาม ปวอ มาตรา ๑๒๐ ไม่ เป็นเพียงคำให้การนำมารับฟังลงโทษจำเลยหาได้ไม่เท่านั้น 
๑๘.พนักงานสอบสวนได้สอบปากคำเด็กหญิง ว. ที่มีอายุ ๑๓ ปีเศษ ในฐานะพยานโดยไม่ได้จัดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ หรือพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำ คำให้การเด็กหญิง ว. จึงไม่ชอบด้วย ปวอ มาตรา ๑๓๓ทวิวรรคหนึ่ง แต่ผลของการไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ คงทำให้คำให้การชั้นสอบสวนเด็กหญิง ว.ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ปวอ มาตรา ๒๒๖และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๔๐มาตรา ๒๔๓วรรคสองเท่านั้น ไม่เป็นเหตุให้การสอบสวนของพนักงานสอบสวนเสียไปทั้งหมด ถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดนั้นตามปวอ มาตรา๑๒๐ แล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง แม้การสอบสวนเด็กหญิง ว. ซึ่งมีอายุไม่เกิน๑๘ ปีไม่ชอบด้วย ปวอ มาตรา ๑๓๓ ทวิวรรคหนึ่ง แต่เมื่อในชั้นพิจารณาโจทก์อ้างเด็กหญิง ว. เป็นพยาน เด็กหญิง ว. ได้เบิกความต่อหน้าศาลโดยผ่านนักสังคมสงเคราะห์ชอบแล้วตาม ปวอ มาตรา ๑๗๒ ตรี ศาลย่อมรับฟังคำเบิกความของเด็กหญิง ว. เป็นพยานได้ นั้นก็คือ แม้สอบปากคำในชั้นสอบสวนไม่ชอบด้วยกฏหมาย แต่เมื่อพยานมาเบิกความต่อศาลโดยมีสหวิชาชีพ(นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ พนักงานอัยการ)เข้าร่วมในการถามปากคำ ศาลรับฟังพยานดังกล่าวที่เบิกความที่ศาลโดยเชื่อพยานที่เบิกความต่อศาลได้
๑๙ปัญหาว่า “ การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่” เป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชน เช่น การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ( ปวอ มาตรา ๑๓๓ ตรี) เพราะพนักงานสอบสวนไม่ได้จัดให้เด็กหญิง น. ชี้ตัว แม้ปัญหานี้จำเลยเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฏีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยมีสิทธิ์ยกขึ้นฏีกาได้ 
๒๐..กฏหมายไม่ได้บังคับให้พนักงานสอบสวนต้องจัดให้มีการชี้ตัวทุกคดีไม่ เป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะจัดให้มีการชี้ตัวหรือไม่ก็ได้ เพียงแต่ว่าหากจัดให้มีการชี้ตัวต้องดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติ กล่าวคือ ในคดีที่ต้องมีการชี้ตัวผู้กระทำผิด ในกรณีผู้เสียหายหรือพยานอายุไม่เกิน ๑๘ ปี หรือกรณีผู้ต้องหาอายุไม่ถึง ๑๘ ปีและมีการชี้ตัวผู้ต้องหาต้องมีนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการร่วมอยู่ในการสอบสวนนั้นด้วย เว้นแต่มีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจหาหรือรอบุคคลดังกล่าวได้หรือด็กไม่ประสงค์ให้มีหรือรอบุคคลดังกล่าว
๒๑.เมื่อคดีนี้พนักงานสอบสวนไม่ได้จัดให้มีการชี้ตัวจึงไม่มีกรณีที่จะต้องดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ การสอบสวนชอบด้วยกฏหมาย 
๒๒.แม้ผู้ต้องหามีสิทธิ์ให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้ใจเข้าฟังการสอบปากคำผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนได้ การถามความผู้ต้องหานั้น ให้พนักงานสอบสวนแจ้งสิทธิ์ดังกล่าวให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า ผู้ต้องหามีสิทธิ์ให้ทนายความหรือผู้ที่ไว้ใจเข้าฟังการสอบสวนเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ก็ตาม ดังนั้นแม้พนักงานสอบสวนจะไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวก็หาทำให้การสอบสวนไม่ชอบแต่อย่างใดไม่ เพียงแต่จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้เท่านั้น นั้นก็คือไม่อาจรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนของผู้ต้องหาที่เป็นผลร้ายมาประกอบพยานหลักฐานอื่นเพื่อนำมาลงโทษหาได้ไม่ แม้จะรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวไม่ได้ แต่หาทำให้การสอบสวนทั้งหมดเสียไปทั้งหมดไม่ ยังถือได้ว่ายังมีการแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหา มีการสอบสวนปากคำผู้ต้องหาเพียงแต่บันทึกการสอบปากคำผู้ต้องหานำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหาไม่ได้เท่านั้น เมื่อการสอบสวนไม่เสียไป พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง
๓.เหตุที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องมีทนายมาร่วมรับฟังในการสอบปากคำผู้ต้องหา เนื่องจากผู้ร่างกฎหมายเกรงว่า พนักงานสอบสวนอาจมีการจูงใจ ให้คำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือทำร้ายผู้ต้องหาให้รับสารภาพ จึงจำเป็นต้องให้มีบุคคลที่สามไม่ว่าจะเป็นทนายความหรือบุคคลที่ผู้ต้องหาไว้ใจมาร่วมฟังการสอบสวนด้วย เพื่อกันข้อครหาดังกล่าว หากการสอบสวนได้กระทำต่อหน้าทนายความหรือบุคคลที่ผู้ต้องหาไว้ใจมาร่วมฟังการสอบสวนด้วย หากผู้ต้องหารับสารภาพก็จะมีน้ำหนักในการรับฟังมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น: