ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561

“ข้อมูลอีเล็กทรอนิกที่เข้าถึงได้”

โจทก์ส่งข้อความถึงจำเลยทางfacebook มีใจความว่า “ เงินทั้งหมด ๖๗๐,๐๐๐ บาท ไม่ต้องส่งคืนให้ ยกให้ทั้งหมด ไม่ต้องส่งดอกอะไรมาให้ จะได้ไม่ต้องมีภาระหนี้สินติดตัว” การส่งข้อมูลดังกล่าวเป็นการสนทนาผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ถือว่าเป็นการส่งข้อมูลทางอีเล็คทรอนิกส์ต้องนำพรบ ธุรกรรมทางอีเล็คทรอนิค พ.ศ. ๒๕๔๔ มาใช้บังคับ ซึ่งมาตรา ๗ บัญญัติว่า “ ห้ามไม่ให้ปฏิเสธความผูกพันและการบังคับใช้กฎหมายของข้อความใดๆเพียงเพราะข้อความนั้นอยู่ในรูปแบบอีเล็คทรอนิกส์” และในมาตรา ๘ บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๙ ในกรณีกฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอีเล็คทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง “ให้ถือว่า “ ข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว ดังนั้นข้อความที่โจทก์ส่งถึงจำเลยทาง facebook แม้ไม่มีการลงลายมือชื่อโจทก์ก็ตาม แต่การส่งข้อความโจทก์ทาง facebook จะปรากฏชื่อผู้ส่งด้วย และโจทก์ก็ยอมรับว่าได้ส่งข้อความทาง facebookถึงจำเลยจริง ข้อความสนทนาจึงรับฟังได้ว่า เป็นการแสดงเจตนาปลดหนี้ให้แก่จำเลยแล้วโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ปพพ มาตรา ๓๔๐ แล้วหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินระงับ โจทก์ไม่อาจอ้างเหตุว่าโจทก์ไม่มีเจตนาปลดหนี้ให้จำเลย แต่ทำไปเพราะความเครียดต้องการประชดประชันจำเลยขึ้นอ้างเพื่อให้เจตนาที่แสดงออกตกเป็นโฆฆะ เพราะไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้รู้ถึงเจตนาที่ซ่อนเร็นอยู่ภายใน คำพิพากษาฏีกา ๖๗๕๗/๒๕๖๐
ข้อสังเกต ๑.สัญญาที่ทำขึ้นระหว่างบุคคลที่อยู่ห่างโดยระยะทาง ย่อมเป็นสัญญาขึ้นตั้งแต่เวลาที่คำบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอ ปพพ มาตรา ๓๖๑
๒.ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือ จะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินนั้นได้เวนคืนหรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว ปพพ มาตรา ๖๕๓วรรคสอง 
๓.เมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามไม่ให้ศาลรับฟังพยานบุคคลที่จะนำสืบแทนพยานเอกสาร เมื่อไม่สามารถนำเอกสารมาแสดง หรือนำสืบข้อความอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมีการเติม ตัดทอน เปลี่ยนแปลงแก้ไขในเอกสาร แม้คู่ความอีกฝ่ายยินยอม ปวพ มาตรา ๙๔
๔ ถ้าเจ้าหนี้แสดงเจตนาจะปลดหนี้ให้ลูกหนี้ หนี้เป็นอันระงับสิ้นไป ถ้าหนี้มีหลักฐานเป็นหนังสือ การปลดหนี้ก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย หรือต้องเวรคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ให้ลูกหนี้ หรือขีดฆ่าเอกสารนั้นตาม ปพพ มาตรา ๓๔๐ 
๕. “ ธุรกรรมทางอีเล็คทรอนิกส์” หมายถึง การกระทำใดๆเกี่ยวกับกิจกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ หรือการดำเนินงานของรัฐตามที่กำหนดไว้(ธุรกรรมอิเล็คทรอนิกส์ภาครัฐ เช่น การขอ การ การจดทะเบียน คำสั่งทางปกครอง การชำระเงิน การประกาศ การดำเนินการใดๆตามกฏหมายกับหน่วยงานของรัฐหรือโดยหน่วยงานของรัฐโดยกระทำในรูปข้อมูลอีเล็คทรอนิกส์ตามหลักเกณท์และวิธีการที่กำหนดพระราชกฤษฏีกา พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอีเล็คทรอนิกส์พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๔
๖. “ อีเล็คทรอนิกส์ หมายความถึง การประยุกต์ใช้วิธีการทางอีเล็คตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็ก หรือวิธีการอื่นใดอันคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึง การประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีการต่างๆเช่นว่านี้
๗.” ข้อมูลทางอีเล็กทรอนิก” หมายถึงข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษาหรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอีเล็คทรอนิกส์ จดหมายอีเล็คทรอนิกส์ โทรเลข โทรพิมพ์ โทรสาร
๘.ห้ามปฏิเสธความผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะข้อความนั้นอยู่ในรูปข้อมูลอีเล็คทรอนิกส์ มาตรา ๗ พรบ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอีเล็กทรอนิกส์
๙.กรณีกฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอีเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมาย ไม่เปลี่ยนแปลง “ ให้ถือว่า “ ข้อความนั้น ได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว มาตรา ๘ พรบ.ว่าด้วยว่าด้วยธุรกรรมทางอีเล็กทรอนิกส์
๑๐.กรณีบุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือ “ ให้ถือว่า “ข้อมูลอีเล็กทรอนิกส์มีการลงลายมือชื่อแล้ว มาตรา ๙ พรบ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอีเล็กทรอนิกส์
๑๑กู้ยืมเงินเกินกว่า ๒,๐๐๐ บาท ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ ปพพ มาตรา ๖๕๓ เมื่อการกู้ยืมมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญแล้ว การนำสืบการใช้เงินจะกระทำได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินนั้นได้เวนคืนหรือมีการแทงเพิกถอนข้อความในเอกสารแล้ว ปพพ มาตรา ๖๕๓ วรรคสอง มิเช่นนั้นจะนำพยานบุคคลมานำสืบเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนข้อความในเอกสารหรือนำพยานบุคคลมานำสืบแทนพยานเอกสารว่าได้มีการชำระหนี้เงินยืมแล้วไม่ได้ ปวพ มาตรา ๙๔
๑๒.การส่งข้อความทางfacebook มีใจความว่า “ เงินทั้งหมด ๖๗๐,๐๐๐ บาท ไม่ต้องส่งคืนให้ ยกให้ทั้งหมด ไม่ต้องส่งดอกอะไรมาให้ จะได้ไม่ต้องมีภาระหนี้สินติดตัว” ข้อความดังกล่าวเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมเงิน แสดงเจตนาต่อลูกหนี้ว่า จำทำการปลดหนี้กู้ยืมเงินให้ หนี้กู้ยืมเป็นอันระงับไปตาม ปพพ มาตรา ๓๔๐
๑๓.มีปัญหาว่า เมื่อหนี้กู้ยืมเงินเกินกว่า ๒,๐๐๐ บาทต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ มิเช่นนั้นฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ การปลดหนี้ก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วยหรือมีการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม หรือขีดฆ่าเอกสารนั้นเสียตาม ปพพ มาตรา ๓๔๐ วรรคท้าย 
๑๔.การส่งข้อมูลดังกล่าวทางfacebook เป็นการสนทนาผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ถือว่าเป็นการส่งข้อมูลทางอีเล็คทรอนิกส์ต้องนำพรบ ธุรกรรมทางอีเล็กทรอนิก พ.ศ. ๒๕๔๔ มาใช้บังคับ ซึ่งมาตรา ๗ บัญญัติว่า “ ห้ามไม่ให้ปฏิเสธความผูกพันและการบังคับใช้กฎหมายของข้อความใดๆเพียงเพราะข้อความนั้นอยู่ในรูปแบบอีเล็คทรอนิกส์” นั้นก็คือจะปฏิเสธว่าการส่งข้อความดังกล่าวไม่มีความผูกพันธ์และบังคับตามกฏหมายไม่ได้เพราะเป็นการส่งข้อมูลทางอีเล็กทรอนิก ไม่มีลายมือชื่อของผู้ส่งเป็นสำคัญหาได้ไม่ อีกทั้งในมาตรา ๘ บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๙ ในกรณีกฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอีเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง “ให้ถือว่า “ ข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว นั้นก็คือ ต้องถือว่าการส่งข้อความดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือแล้วว่าได้ยินยอมให้มีการปลดหนี้
๑๕..ดังนั้นข้อความที่โจทก์ส่งถึงจำเลยทาง facebook แม้ไม่มีการลงลายมือชื่อโจทก์ก็ตาม จะอ้างว่าตนไม่ได้ลงลายมือชื่อของตน ไม่ได้มีลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได ตราประทับ หรือเครื่องหมายทำนองอื่นเช่นว่านั้นทำลงในเอกสารแทนการลงลายมือชื่อโดยมีพยานรับรองไว้แล้วสองคนตาม ปพพ มาตรา ๙ วรรคแรก,วรรคสอง หาได้ไม่ 
๑๖.การส่งข้อความโจทก์ทาง facebook จะปรากฏชื่อผู้ส่งด้วย และโจทก์ก็ยอมรับว่าได้ส่งข้อความทาง facebookถึงจำเลยจริง ข้อความสนทนาจึงรับฟังได้ว่า เป็นการแสดงเจตนาปลดหนี้ให้แก่จำเลยแล้วโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ปพพ มาตรา ๓๔๐ แล้วหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินระงับ ไปตาม ปพพ มาตรา ๓๔๐ 
๑๗.โจทก์ไม่อาจอ้างเหตุว่าโจทก์ไม่มีเจตนาปลดหนี้ให้จำเลย แต่ทำไปเพราะความเครียดต้องการประชดประชันจำเลยขึ้นอ้างเพื่อให้เจตนาที่แสดงออกตกเป็นโฆฆะ หาอาจอ้างได้ไม่ เพราะไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้รู้ถึงเจตนาที่ซ่อนเร็นอยู่ภายในหาได้ไม่ ตาม ปพพ มาตรา ๑๕๔ คือจะกล่าวอ้างว่าการแสดงเจตนาปลดหนี้ดังกล่าว ตนผู้แสดงเจตนาไม่มีเจตนาปลดหนี้ให้ตามเจตนาที่ได้แสดงออกมา เมื่อจำเลยไม่ได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนเร็นอยู่ภายในใจของโจทก์ การแสดงเจตนาปลดหนี้ของโจทก์หาตกเป็นโมฆะตาม ปพพ มาตรา ๑๕๔ แต่อย่างใดไม่ ต้องถือว่าโจทก์ปลดหนี้ให้จำเลย หนี้เงินกู้จึงเป็นอันระงับไปตาม ปพพ มาตรา ๓๔๐

ไม่มีความคิดเห็น: