ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

“ลักลอบขุดดิน”

โจทก์เป็นหน่วยราชการที่..........ว่าจ้างจำเลยทำการก่อสร้างและปรับปรุงสถานที่ ต่อมาเมื่อจำเลยปรับปรุงสถานที่แล้วได้ส่งมอบงานให้โจทก์ โจทก์ตรวจรับงานเรียบร้อยแล้ว มีการร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรีว่าในระหว่างที่จำเลยทำการปรับปรุงพื้นที่นั้น จำเลยได้ลักลอบขุดดินในที่ราชพัสดุของ......... จึงมีการตั้งคณะกรรมการมาตรวจสอบพบว่ามีบ่อน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณ..........พบว่ามีดินถูกขุดไป ๑๙,๕๗๐ ลบเมตรเชื่อว่าจำเลยเป็นคนขุดดินไปจึงได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้วเชื่อว่าจำเลยกับพวกร่วมกันพวกที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและบุคคลอื่นร่วมกันกระทำความผิด เป็นความผิดลักทรัพย์ในสถานที่ราชการซึ่งมีอายุความ ๑๐ ปี แต่ยังไม่ได้มีการฟ้องร้องจำเลย ในทางแพ่งจำเลยต้องส่งดินคืนแก่โจทก์ หากส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาโดยขอคิดดอกเบี้ยร้อยละ๗.๕ ต่อปีนับแต่วันทำละเมิด(๕มิถุนายน ๒๕๔๐) จำเลยต่อสู้ว่า เจ้าหน้าที่โจทก์รายงานว่าจำเลยลักลอบขุดดินตั้งแต่ ๑๑ ส.ค. ๒๕๔๘ โจทก์รู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัวผู้ทำละเมิดอันจะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ ๑๖ สค ๒๕๔๘ ต่อมาวันที่ ๒๓ สค ๒๕๔๘โจทก์ได้มอบหมายให้ อธิบดีกรม.....ฟ้องคดีนี้ โดยลายมือชื่อผู้มอบอำนาจไม่ปรากฏว่าเป็นผู้ดำรงค์ตำแหน่งในขณะนั้นและลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอม โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกลักดิน ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมไม่บรรยายฟ้องโดยชัดแจ้งถึงสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่เป็นหลักแห่งข้อหามูลละเมิดนั้น โดยฟ้องโจทก์เล่าแต่เพียงมีผู้ร้องเรียนและมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนและมีผลสรุปและความเห็นให้ดำเนินคดีกับจำเลยเท่านั้น ไม่ได้บรรยายให้ปรากฏว่าจำเลยเข้าไปขุดดินในที่ดินของโจทก์แต่อย่างใดและไม่บรรยายให้จำเลยทราบว่าที่ดินแปลงใดมีการลักลอบขุดดินและเป็นที่ดินมีโฉนดหรือมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์หมายเลขใดที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยไม่สามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้อง จำเลยยอมรับว่าได้รับว่าจ้างจากโจทก์แต่จำเลยไม่ได้ลักลอบขุดดินไป โจทก์ไม่บรรยายฟ้องให้ทนราบว่าดินที่หายเป็นดินชนิดใดมีคุณสมบัติตรงกับที่กำหนดในแบบก่อสร้างหรือไม่การกล่าวอ้างจำเลยเป็นคนขุดเป็นพียงข้อสันนิษฐานจ่ากรายงานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเท่านั้น เพราะจำเลยเป็นผู้ก่อสร้างอยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งการสอบสวนยังอยู่ระหว่างการพิจารณายังไม่ได้ฟ้องต่อศาล จึงไม่ยุติว่าจำเลยเป็นคนลักดินพิพาทไป โจทก์จึงไม่อาจกล่าวหาว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำละเมิดต่อโจทก์ เมื่อเป็นการกระทำผิดทางอาญาที่มีอายุความ ๑๐ ปี คดีโจทก์ขาดอายุความเพราะโจทก์ยังไมได้ฟ้อง จำเลยเป็นเพียงผู้ต้องหาเท่านั้น ตราบใดคดียังไม่ถึงที่สุดโจทก์ไม่อาจอาศัยอายุความในคดีอาญามาบังคับคดีละเมิดนี้ได้ โจทก์ต้องฟ้องตามอายุความใน ปพพ มาตรา ๔๔๘ เมื่อมีการรายงานเหตุลักลอบขุดดินเมื่อ ๑๑ ส.ค.๒๕๔๘และโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำละเมิดเมื่อ ๑๖ สค ๒๕๔๘ ต่อมาวันที่ ๒๓ สค ๒๕๔๘ได้มอบอำนาจให้ทำการฟ้องคดีนั้นไม่เป็นความจริง เพราะโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำละเมิดอันจะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่กรม......ยังไม่แปรสภาพเป็นกรม..... ประกอบกับเมื่อมีหนังสือร้องเรียนว่าจำเลยลักลอยขุดดินไป เมื่อวันที่ ๙ กค ๒๕๔๔ มีคำสั่งให้ทำการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวโดยปลัดกระทรวงทราบเรื่องและแจ้งคำสั่งต่อไปยังอธิบดีเมื่อ ๑๑ กค ๒๕๔๔ อธิบดีจึงมีคำสั่งตั้งคณะกรรมการทำการสอบสวนข้อเท็จจริงถือได้ว่าอธิบดีดีรู้ถึงเหตุแห่งการกระทำละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ ๑๖ กค ๒๕๔๔ หรืออย่างช้าก็จะรู้ว่าเมื่อวันที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงได้ทำการสอบสวนเสร็จและอธิบดีลงนามรับทราบการสอบสวนเมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๕ กรม.......เท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องในฐานะผู้เสียหาย เมื่อกรม .....ได้ทราบเหตุละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าว แต่โจทก์มาฟ้องเมื่อวันที่ ๓๐ พ.ย. ๒๕๔๘ เกินกว่า ๑ ปี คดีขาดอายุความ ศาลชั้น้ต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบดินที่ลักลอบขุดไปหากส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาคิดเป็นเงินพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ๗.๕นับแต่วันที่ ๒๖ มิ.ย.๒๕๔๒ จนกว่าชำระเสร็จ จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่งศาลชั้น้ต้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานจำเลยแล้วพิพากษาให้เสร็จตามรูปคดี โจทก์ฏีกา ศาลฏีกาพิพากษากลับให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาเฉพาะประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฏีกา ศาลฏีกาพิจารณาว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ นั้น เห็นว่า โจทก์ฟ้องแพ่งให้จำเลยส่งมอบดินที่ลักไปหรือให้ชดใช้ราคาจึงเป็นการใช้สิทธิ์เรียกค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ปอ ซึ่งมีอายุความตั้งแต่ ๑๐ ปี ยาวกว่าอายุความ ๑ ปี ตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘ วรรคหนึ่งจึงต้องนำอายุความทางอาญามาบังคับใช้ตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘วรรคสอง แม้พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญาก็ตาม เป็นกรณีที่ยังไม่มีผู้ฟ้องทางอาญา ซึ่ง ปวอ มาตรา ๕๑ วรรคแรก บัญญัติว่า ถ้าไม่มีผู้ใดฟ้องทางอาญาสิทธิ์ของผู้เสียหายที่จะฟ้องแพ่งเนื่องจากความผิดนั้นย่อมระงับไปตามกำหนดระยะเวลาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาเรื่องอายุความฟ้องคดีอาญา จึงต้องนำอายุความทางอาญามาบังคับใช้ โจทก์อ้างว่าจำเลยขุดดินวันที่ ๕ มิ.ย. ๒๕๔๐ถึงวันที่ ๑ ส.ค.๒๕๔๑ โจทก์ฟ้องวันที่๓๐ พ.ย. ๒๕๔๘ ยังไม่พ้น ๑๐ ปี ไม่ขาดอายุความ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์หรือไม่ นั้นเห็นว่า ตามฏีกาจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยลักลอบขุดดินโจทก์ไป ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยลักลอบขุดดินโจทก์ไป จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าเสียหาย ส่วนที่จำเลยฏีกาว่าเป็นเรื่องผิดเงื่อนไขในสัญญาระหว่างกรม.....กับจำเลย จำเลยไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ศาลฏีกาไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำนวนดินที่ถูกลักไปมีจำนวน ๑๙,๕๗๐ ลบเมตร ขอให้จำเลยส่งมอบดินจำนวนเดียวกัน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ส่งมอบดินจำนวน ๑๙,๗๕๐ ลบ เมตร ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเกินกว่าจำนวนที่ปรากฏในฟ้องและการสืบพยาน เชื่อว่าเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาดจึงเห็นสมควรแก้ไข นอกจากนี้ดอกเบี้ยที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดหลังฟ้อง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตาม ปวพ มาตรา ๑๔๒ อยู่แล้วไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลในอนาคต ๑๐๐ บาท จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในอนาคตในชั้นฏีกาให้คืนจำเลย คำพิพากษาฏีกาที่ ๔๘๑ /๒๕๖๐......
ข้อสังเกต ๑.อายุความหรือสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด หากฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด ๑ ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือพ้น ๑๐ ปีนับแต่วันทำละเมิด เป็นอันขาดอายุความ ปพพ มาตรา ๔๔๘ วรรคแรก
๒.แต่หากความเสียหายในมูลละเมิดมาจากมูลความผิดที่มีโทษทางอาญา และกำหนดโทษทางอาญายาวกว่า ให้เอาอายุความที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ คือเอาอายุความทางอาญามาใช้บังคับ ปพพ มาตรา ๔๔๘ วรรคสอง คือต้องไปดูบทบัญญัติว่าด้วยอายุความใน ปอ มาตรา ๙๕ มาใช้บังคับ ซึ่งมีอายุความตั้งแต่ ๑ ปีถึง ๒๐ ปีแล้วแต่ความผิดอาญาที่ได้กระทำ ซึ่งอายุความในทางอาญาส่วนใหญ่แล้วจะยาวกว่าอายุความทางแพ่ง
๓. เมื่อยังไม่มีผู้ใดฟ้องในทางอาญา สิทธิ์ผู้เสียหายที่จะฟ้องทางแพ่ง เนื่องจากการกระทำความผิดนั้นเป็นอันระงับไปตามกำหนดเวลาตามที่ประมวลกฏหมายอาญาว่าด้วยอายุความ มาตรา ๙๕ บัญญัติไว้ ปวอ มาตรา ๕๑ วรรคแรก คือหากไม่มีการฟ้องคดีอาญา เช่นผู้ต้องหาถึงแก่ความตาย หรือมีการถอนคำร้องทุกข์ ยอมความในคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการจะมีคำสั่งยุติการดำเนินคดีก็ไม่มีการฟ้องผู้ต้องหาในทางอาญา หรือกรณีป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือกระทำตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย หากก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดผู้ที่ป้องกันโดยชอบด้วยกฏหมายหรือกระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฏหมายไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่ง ปพพ มาตรา ๔๔๙วรรคแรก แต่ผู้เสียหายอาจเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้เป็นต้นเหตุให้ต้องป้องกันโดยชอบด้วยกฏหมาย เมื่อเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๖๘ หรือกระทำการตามคำสั่งเจ้าพนักงานแม้คำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฏหมายแต่ผู้กระทำมีหน้าที่หรือเชื่อโดยสุจริตว่ามีหน้าที่ต้องกระทำ ผู้ต้องนั้นไม่ต้องรับโทษตาม ปอ มาตรา ๗๐ จึงเป็นกรณีที่กฏหมายบัญญัติยกเว้นโทษไว้ตาม ปวอ มาตรา ๓๙(๗) พนักงานอัยการจะมีคำสั่งยุติการดำเนินคดีไม่มีการฟ้องผู้ต้องหา 
๔.ในกรณีดังกล่าวผู้ที่ได้รับความเสียหายอาจเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้เป็นต้นเหตุให้ต้องป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือจากบุคคลที่ออกคำสั่งโดยละเมิดได้ตาม ปพพ มาตรา ๔๔๙วรรคสอง ในกรณีนี้จึงเป็นกรณีที่ไม่มีผู้ใดฟ้องในทางอาญา สิทธิ์ผู้เสียหายที่จะฟ้องทางแพ่ง เนื่องจากการกระทำความผิดนั้นต้องฟ้องภายในกำหนดเวลาตามที่ประมวลกฏหมายอาญาว่าด้วยอายุความ มาตรา ๙๕ บัญญัติไว้ เช่น คนร้ายสามคนขึ้นมาปล้นทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธปืนและได้ยิงผู้เสียหายก่อน ผู้เสียหายจึงยิงตอบ กระสุนปืนถูกคนร้ายได้รับบาดเจ็บและกระสุนปืนยังไปถูกนาย ก เพื่อนบ้านอีก การกระทำของผู้เสียหายเป็นการป้องกันสิทธิ์ของตนให้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดกฏหมาย เป็นภยันตรายใกล้จะถึงหรือถึงแล้ว จึงได้ใช้ปืนยิงตอบโต้คนร้ายที่ยิงมาก่อน ปืนกับปืนได้สัดส่วนกัน และเป็นวิถีทางน้อยที่สุดที่จะป้องกันตนเองและทรัพย์สินให้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดกฏหมาย จึงเป็นการกระทำพอสมควรแก่เหตุไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าคนร้ายตาม ปอ มาตรา ๖๘,๘๐,๒๘๘ ผู้เสียหายเจตนายิงคนร้ายเพื่อป้องกันตนเองและทรัพย์สินให้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฏหมาย แต่ผลของการกระทำนอกจากกระสุนปืนถูกคนร้ายแล้วผลของการกระทำยังไปเกิดกับนาย ก. เพื่อนบ้านที่ถูกลูกหลงเป็นการกระทำโดยพลาด เมื่อเจตนายิงคนร้ายเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายแม้จะพลาดไปถูกนาย ก. ก็เป็นการพยายามฆ่าโดยพลาดโดยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายไม่มีความตาม ปอ มาตรา ๖๐,๖๘,๘๐,๒๘๘ ผู้เสียหายไม่ต้องรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่นาย ก. ตาม ปพพ มาตรา ๔๔๙วรรคแรก แต่นาย ก.อาจเรียกค่าสินไหมทดแทนจากคนร้ายผู้เป็นต้นเหตุให้ต้องมีการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ปพพ มาตรา ๔๔๙วรรคสอง เป็นกรณีที่ไม่มีผู้ใดฟ้องในทางอาญา สิทธิ์นาย ก.ผู้เสียหายที่จะฟ้องทางแพ่งเรียกค่าสินไหมทดแทนต้องฟ้อง ภายในกำหนดอายุความในทางอาญา ซึ่งความผิดฐานพยายามฆ่า รับโทษ ๒ใน ๓ ของโทษฐานฆ่าตาม ปอ มาตรา ๘๐ ความผิดฐานฆ่าตามปอ มาตรา ๒๘๘มีโทษสูงสุดคือประหารชีวิต การรับโทษ ๒ ใน ๓ คือการลดโทษ ๑ ใน ๓ ดังนั้นการลดโทษประหารชีวิตลง ๑ ใน ๓ คือ การจำคุกตลอดชีวิตตาม ปอ มาตรา ๕๒(๑) ซึ่งเมื่อมีโทษจำคุกตลอดชีวิตมีอายุความฟ้องร้อง ๒๐ ปีนับแต่วันกระทำความผิด ดังนั้นหากไม่ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนภายในกำหนดเวลาดังกล่าว คดีย่อมขาดอายุความ
๕.การตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงทางวินัยเพื่อหาตัวผู้ต้องรับผิดทางแพ่ง แม้อธิบดีจะทราบเรื่องว่ามีการลักดินไปก็ตาม แต่ตราบใดที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงยังไม่รายงานผลสรุปอย่างเป็นทางการว่ามีการกระทำละเมิดอย่างไร และใครเป็นคนทำละเมิด จะถือว่าอธิบดีทราบเหตุแห่งการละเมิดและทราบตัวผู้กระทำละเมิดในวันแต่ตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบหาข้อเท็จจริงยังไม่ได้ เพราะในขนาดนั้นยังไม่ปรากฏชัดว่าเหตุละเมิดเกิดขึ้นอย่างไร ความเสียบหายเท่าใด ใครเป็นคนทำละเมิด ตราบที่คณะกรรมการทำรายงานสรุปผลการสอบข้อเท็จจริงมาให้อธิบดีทราบเมื่อใดจึงถือว่าเป็นวันที่ผู้เสียหายทราบการกระทำละเมิดและทราบตัวผู้กระทำผิด หากยังไม่เกิน ๑ ปีนับแต่วันนั้นถือว่าคดีไม่ขาดอายุความ
๖..ข้อต่อสู้ที่ว่า....ฟ้องคดีนี้ โดยลายมือชื่อผู้มอบอำนาจไม่ปรากฏว่าเป็นผู้ดำรงค์ตำแหน่งในขณะนั้นและลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอม นั้นเห็นว่า ผู้ที่มอบอำนาจให้ฟ้องคดีเป็นการมอบอำนาจโดยอาศัยตำแหน่ง ในขณะเกิดเหตุอาจมีนาย ก. เป็นปลัดกระทรวง แต่ต่อมาเมื่อมีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเพื่อหาผู้รับผิดทางละเมิด นาย ก อาจพ้นจากตำแหน่งปลัดกระทรวงไปแล้ว นาย ข. อาจมานั่งเป็นปลัดกระทรวง การที่นาย ข. มอบอำนาจให้อธิบดีทำการยื่นฟ้องจึงเป็นไปตามกฏหมายระเบียบแบบแผนทางราชการ จะมาต่อสู้ว่า นาย ก. ไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้อง จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพราะนาย ข. ไม่ใช่ปลัดกระทรวงในขณะนั้นหาได้ไม่ 
๗.ข้อต่อสู้ที่ว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกลักดิน เพราะเดิมที่ดินที่ถูกลักไปเป็นของกรม ก. ต่อมามีมาพรก.โอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ส่วนราชการในส่วนของกรม ก.มาเป็นกรม ข. ก็ตาม ก็เป็นเรื่องการโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่จากกรมหนึ่งไปอีกกรมหนึ่งเท่านั้น ซึ่งการโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่มิใช่โอนเพียงการบริหารและอำนาจหน้าที่ของกรมหนึ่งไปอยู่อีกกรมหนึ่งแต่รับโอนไปทั้งสิทธิ์หน้าที่และทรัพย์สินด้วย แม้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุอยู่ในความดูแลของกรมธนารักษ์ก็ตาม แต่กรม ก. ก็เป็นผู้ครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวที่ถูกลักไปถือเป็นผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกลักไปจึงเป็นผู้เสียหายโดยตรงที่มีอำนาจฟ้องได้ เพราะในความผิดฐานลักทรัพย์ ความผิดฐานบุกรุก ผู้ที่เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองคือผู้เสียหายในความผิดดังกล่าว เมื่อกรม ก. เป็นผู้ครอบครองจึงเป็นผู้เสียหาย เมื่อโอนกิจการอำนาจหน้าที่ให้กรม ข ไปแล้ว กรม ข.ย่อมถือเป็นผู้เสียหายด้วย 
๘.ข้อต่อสู้ที่ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมไม่บรรยายฟ้องโดยชัดแจ้งถึงสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่เป็นหลักแห่งข้อหามูลละเมิดนั้น โดยฟ้องโจทก์เล่าแต่เพียงมีผู้ร้องเรียนและมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนและมีผลสรุปและความเห็นให้ดำเนินคดีกับจำเลยเท่านั้น ไม่ได้บรรยายให้ปรากฏว่าจำเลยเข้าไปขุดดินในที่ดินของโจทก์แต่อย่างใดและไม่บรรยายให้จำเลยทราบว่าที่ดินแปลงใดมีการลักลอบขุดดินและเป็นที่ดินมีโฉนดหรือมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์หมายเลขใดที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยไม่สามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้อง นั้นเห็นว่า ฟ้องได้บรรยายแล้วว่า โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุในท้องที่ตำบลอำเภอจังหวัดใดตามแผนที่ราชพัสดุที่ ........และตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่...........รวมเนื้อที่เท่าใดโดยได้รับอนุญาตจากกรมธนารักษ์ให้ครอบครองที่ดินดังกล่าว และได้ว่าจ้างจำเลยก่อสร้างต่อเติมปรับปรุงพื้นที่ซึ่งอยู่ในเขตที่ดินดังกล่าว ต่อมาที่ดินดังกล่าวถูกลักตักหน้าดินไป จึงเป็นฟ้องที่บรรยายสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่เป็นหลักแห่งข้อหานั้นตาม ปวพ มาตรา ๑๗๒ แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม 
๙.ข้อต่อสู้ที่ว่า “ จำเลยยอมรับว่าได้รับว่าจ้างจากโจทก์แต่จำเลยไม่ได้ลักลอบขุดดินไป โจทก์ไม่บรรยายฟ้องให้ทราบว่าดินที่หายเป็นดินชนิดใดมีคุณสมบัติตรงกับที่กำหนดในแบบก่อสร้างหรือไม่การกล่าวอ้างจำเลยเป็นคนขุดเป็นพียงข้อสันนิษฐานจากรายงานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเท่านั้น เพราะจำเลยเป็นผู้ก่อสร้างอยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งการสอบสวนยังอยู่ระหว่างการพิจารณายังไม่ได้ฟ้องต่อศาล จึงไม่ยุติว่าจำเลยเป็นคนลักดินพิพาทไป โจทก์จึงไม่อาจกล่าวหาว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำละเมิดต่อโจทก์” นั้นเห็นว่า ดินที่ถูกลักไปเป็นดินชนิดใด มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดในแบบก่อสร้างนั้นเป็นเพียงลายละเอียดในชั้นนำสืบพยาน หาใช่ต้องบรรยายฟ้องให้ละเอียดถึงขนาดนั้น บรรยายฟ้องเพียงว่าที่ดินที่ถูกลักอยู่ที่ใดตั้งอยู่ที่ไหนก็เพียงพอแล้ว การบรรยายฟ้องเพียงให้จำเลยเข้าใจการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและลายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆอีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้นั้นก็เพียงพอตามที่บัญญัติไว้ใน ปวอ มาตรา ๑๕๘(๕)แล้ว หาจำต้องใส่ลายละเอียดทุกอย่างลงไป ลายละเอียดต่างๆเป็นเรื่องในทางการนำสืบ 
๑๐.แม้จะยังไม่มีการฟ้องจำเลยและศาลยังไม่มีคำพิพากษาว่าจำเลยเป็นผู้ทำการลักทรัพย์ก็ตาม การที่ยังไม่มีการฟ้องคดีเนื่องจากอยู่ระหว่างทำการสอบสวนข้อเท็จจริง การที่จำเลยสามารถเข้ามาทำการก่อสร้างปรับปรุงในที่ดินดังกล่าวจนมีการลักตักหน้าดินไปก็เป็นที่พึ่งสันนิษฐานได้ว่าจำเลยน่าเป็นผู้กระทำผิด เพราะจำเลยอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุมีรถตักดินและอุปกรณ์ในการตักดิน ลำพังบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้รับการว่าจ้างให้มาปรับปรุงพื้นที่ย่อมไม่สามารถนำเครื่องจักรเข้ามาในบริเวณที่เกิดเหตุได้ และดินที่หายไปก็หายไปเป็นจำนวนมากซึ่งลำพังคนธรรมดาที่ไม่มีเครื่องจักรไม่สามารถตักและขนเอาดินดังกล่าวไปได้ 
๑๑.การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ราชการตาม ปอ มาตรา ๓๓๔,๓๓๕(๘) ซึ่งระวางโทษจำคุก ๑ ปี ถึง ๗ ปีและปรับตั้งแต่ ๒,๐๐๐ บาทถึง ๑๔,๐๐๐ บาท ตาม ปอ มาตรา ๓๓๕วรรคสองนั้นเมื่อความผิดมีอัตราโทษจำคุกไม่ถึง ๗ ปีจึงมีอายุความ๑๐ ปีตาม ปอ มาตรา๙๕(๓) การฟ้องให้จำเลยคืนดินที่ลักไปหรือหากไม่สามารถคืนดินได้ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นการฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดในมูลที่เป็นความผิดที่มีโทษทางอาญา และกำหนดอายุความทางอาญา คือ๑๐ ปีตาม ปอ มาตรา ๙๕(๓) ซึ่งยาวกว่าอายุความทางแพ่ง ๑ ปีตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘ จึงต้องนำอายุความทางอาญาที่ยาวกว่าคือ ๑๐ ปีมาใช้บังคับตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘ วรรคสอง 
๑๒.ข้อต่อสู้ที่ว่า “กระทำผิดทางอาญาที่มีอายุความ ๑๐ ปี คดีโจทก์ขาดอายุความเพราะโจทก์ยังไมได้ฟ้องจำเลย จำเลยเป็นเพียงผู้ต้องหาเท่านั้น ตราบใดคดียังไม่ถึงที่สุดโจทก์ไม่อาจอาศัยอายุความในคดีอาญามาบังคับคดีละเมิดนี้ได้ โดยโจทก์ต้องฟ้องตามอายุความใน ปพพ มาตรา ๔๔๘ เมื่อมีการรายงานเหตุลักลอบขุดดินเมื่อ ๑๑ ส.ค.๒๕๔๘และโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำละเมิดเมื่อ ๑๖ สค ๒๕๔๘ ต่อมาวันที่ ๒๓ สค ๒๕๔๘ได้มอบอำนาจให้ทำการฟ้องคดีนั้นไม่เป็นความจริง เพราะโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำละเมิดอันจะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่กรม..ก....ยังไม่แปรสภาพเป็นกรม..ข... ประกอบกับเมื่อมีหนังสือร้องเรียนว่าจำเลยลักลอยขุดดินไป เมื่อวันที่ ๙ กค ๒๕๔๔ มีคำสั่งให้ทำการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวโดยปลัดกระทรวงทราบเรื่องและแจ้งคำสั่งต่อไปยังอธิบดีเมื่อ ๑๑ กค ๒๕๔๔ อธิบดีจึงมีคำสั่งตั้งคณะกรรมการทำการสอบสวนข้อเท็จจริงถือได้ว่าอธิบดีดีรู้ถึงเหตุแห่งการกระทำละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ ๑๖ กค ๒๕๔๔ หรืออย่างช้าก็จะรู้ว่าเมื่อวันที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงได้ทำการสอบสวนเสร็จและอธิบดีลงนามรับทราบการสอบสวนเมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๕ “ นั้นเห็นว่าการทราบเป็นเพียงการทราบข้อเท็จจริงเบื้องต้น เมื่อยังไม่ได้มีการตั้งคณะกรรมการมาหาตัวผู้กระทำความผิดจะถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัวผู้ทำละเมิดยังหาได้ไม่ 
๑๓ จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานจำเลยแล้วพิพากษาให้เสร็จตามรูปคดี โจทก์ฏีกา ศาลฏีกาพิพากษากลับให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาเฉพาะประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฏีกา ศาลฏีกาพิจารณาว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ นั้น เห็นว่า .โจทก์ฟ้องแพ่งให้จำเลยส่งมอบดินที่ลักไปหรือให้ชดใช้ราคาจึงเป็นการใช้สิทธิ์เรียกค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ราชการตาม ปอ มาตรา ๓๓๔,๓๓๕ ซึ่งมีอายุความ ๑๐ ปี ยาวกว่าอายุความ ๑ ปี ตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘ วรรคหนึ่งจึงต้องนำอายุความทางอาญามาบังคับใช้ตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘วรรคสอง แม้พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญาก็ตาม เป็นกรณีที่ยังไม่มีผู้ฟ้องทางอาญา ซึ่ง ปวอ มาตรา ๕๑ วรรคแรก บัญญัติว่า ถ้าไม่มีผู้ใดฟ้องทางอาญาสิทธิ์ของผู้เสียหายที่จะฟ้องแพ่งเนื่องจากความผิดนั้นย่อมระงับไปตามกำหนดระยะเวลาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาเรื่องอายุความฟ้องคดีอาญา จึงต้องนำอายุความทางอาญามาบังคับใช้ โจทก์อ้างว่าจำเลยขุดดินวันที่ ๕ มิ.ย. ๒๕๔๐ถึงวันที่ ๑ ส.ค.๒๕๔๑ โจทก์ฟ้องวันที่๓๐ พ.ย. ๒๕๔๘ ยังไม่พ้น ๑๐ ปี ไม่ขาดอายุความ 
๑๔.ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์หรือไม่ นั้นเห็นว่า ตามฏีกาจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยลักลอบขุดดินโจทก์ไป ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยลักลอบขุดดินโจทก์ไป จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าเสียหาย ส่วนที่จำเลยฏีกาว่าเป็นเรื่องผิดเงื่อนไขในสัญญาระหว่างกรม.....กับจำเลย จำเลยไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ศาลฏีกาไม่รับวินิจฉัยให้ 
๑๕.โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำนวนดินที่ถูกลักไปมีจำนวน ๑๙,๕๗๐ ลบเมตร ขอให้จำเลยส่งมอบดินจำนวนเดียวกัน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ส่งมอบดินจำนวน ๑๙,๗๕๐ ลบ เมตร ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเกินกว่าจำนวนที่ปรากฏในฟ้องและการสืบพยาน เชื่อว่าเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาดจึงเห็นสมควรแก้ไข เป็นเรื่องผิดหลงผิดพลาดเล็กน้อยน่ามาจากการพิมพ์ผิดพลาดพิมพ์เลขสลับที่กัน การที่ศาลฏีกาแก้ไขเป็นการแก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริงตาม ปวพ มาตรา ๑๔๔(๑),๒๔๖,๒๔๗
๑๖.นอกจากนี้ดอกเบี้ยที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดหลังฟ้อง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตาม ปวพ มาตรา ๑๔๒(๓) อยู่แล้วไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลในอนาคต ๑๐๐ บาท โดยศาลสามารถพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยถึงวันที่ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษาได้อยู่แล้ว จึงไม่มีกรณีที่ต้องเสียค่าขึ้นศาลในเงินจำนวนดังกล่าว ไม่ใช่ค่าขึ้นศาลในอนาคตที่ต้องเรียกเก็บ การที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในอนาคตในชั้นฏีกา การเรียกเก็บเงินจำนวนดังกล่าวมาจึงเป็นการกระทำโดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฏหมายได้เป็นทางให้จำเลยเสียเปรียบตาม ปพพ มาตรา ๔๐๖ จำเลยมีสิทธิ์ได้รับคืนเงินดังกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น: