ผู้เสียหายเป็นคนเชื้อชาติสัญชาติพม่า อายุไม่เกิน ๑๕ ปี ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลย โดยต้องทำงานบ้านซักรีดเสื้อที่จำเลยประกอบธุรกิจเป็นร้านซักรีด ใช้มีดและไม้หน้าสาม พร้อมมือและเท้าฟันฟาด ทุบ ตี ชกต่อย เตะ ถีบ ที่ศีรษะใบหน้า ลำตัว หลัง แขน ขา ผู้เสียหายหลายครั้งเป็นเหตุให้กระดูกแตก ซ้ำบวมที่ศีรษะส่วนบน ศีรษะด้านขวาใต้ตาทั้งสอง เอว หลัง มีแผลฉีกขาดและถลอกที่แขน ท้ายทอย ริมฝีปากได้รับอันตรายสาหัส นางสาว ส. และเจ้าหน้าที่ตำรวจพาตัวผู้เสียหายออกจากบ้านจำเลยที่พิษณุโลก ได้ความว่าจำเลยจ้างผู้เสียหายซักรีดและดูแลแมว ค่าจ้างเดือนละ ๓,๐๐๐ บาท ทำงาน ๐๔.๐๐นาฬิกาถึง ๒๔.๐๐ นาฬิกา โดยไม่สามารถออกไปไหนหรือติดต่อใครได้ ทั้งไม่ยอมจ่ายค่าจ้าง เมื่อทำงานได้ ๘ เดือนก็ถูกจำเลยทำร้ายร่างกาย การกระทำของจำเลยเป็น “ การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบหรือไม่” นั้น เห็นว่า พรบ.ค่ามนุษย์ฯ มาตรา ๔ ให้นิยามศัพท์คำว่า “ แสวงหาประโยชน์โดยไม่ชอบ” นั้น หมายความว่า บังคับใช้แรงงานหรือบริการ ซึ่งหมายความว่า ข่มขืนใจให้ทำงานหรือให้บริการโดยกลัวจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สินของผู้นั้นหรือผู้อื่น โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยทำให้บุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ดังนั้นการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์โดยบังคับใช้แรงงานหรือบริการ ต้องประกอบด้วยการเป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจาก หรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนียว กักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งเด็ก เพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิชอบโดยข่มขืนใจให้ทำงานหรือให้บริการโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้นั้นหรือผู้อื่น โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยทำให้บุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ แม้ฟังได้ว่าจำเลยให้ผู้เสียหายอยู่อาศัย และไม่ยอมให้ออกจากบ้านไปไหนก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏว่า จำเลยได้กระทำการใดอันเป็นการข่มขืนใจให้ผู้เสียหายทำงานโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ซื่อเสียง ทรัพย์สินของผู้เสียหาย โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือทำให้ผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ คงได้ความเพียงให้ทำงานตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐ นาฬิกาถึง ๒๔.๐๐ นาฬิกา ให้ทานอาหาร ๒ มื้อ ไม่จ่ายเงินเดือนให้เท่านั้น แม้ในเดือนสุดท้ายจะปรากฏว่ามีการทำร้ายผู้เสียหายก็ตาม แต่ก็เกิดจากกากรทำงานไม่สะอาดและผู้เสียหายพูดขอเงิน ทำงานไม่เรียบร้อย จึงฟังได้ว่า การทำร้ายเกิดจากการทำงานไม่เรียบร้อย พูดขอเงิน ทำงานบ้านไม่สะอาด อันเป็นการลงโทษเท่านั้น ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานค้ามนุษย์ คงมีความผิดเพียงทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส จ้างเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีเป็นลูกจ้าง คำพิพากษาฏีกา ๑๓๖๔๘/๒๕๔๘
ข้อสังเกต ๑. เด็กตามความหมายในพรบ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ฯ มาตรา ๔ คือ บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ส่วนในพรบ.คุ้มครองเด็กนั้น เด็กหมายถึงบุคคลอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี แต่ไม่รวมบุคคลที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
๒.เพื่อประโยชน์โดยมิชอบกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้
๒.๑ เป็นธุระ ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งบุคคลใด โดยข่มขู่ ใช้กำลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง ใช้อำนาจโดยไม่ชอบ ให้เงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลบุคคลนั้น เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลให้ความยินยอมแก่ผู้กระทำผิดในการแสวงห่าประโยชน์จากบุคคลที่ตนดูแล
๒.๒ เป็นธุระจัดหา ซื้อขาย จำหน่าย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัยหรือรับไว้ซึ่งเด็ก
บุคคลนั้นกระทำผิดฐานค้ามนุษย์ ตามพรบ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ฯ มาตรา ๖
๓..การที่จำเลย ใช้มีดและไม้หน้าสาม พร้อมมือและเท้าฟันฟาด ทุบ ตี ชกต่อย เตะ ถีบ ที่ศีรษะใบหน้า ลำตัว หลัง แขน ขา ผู้เสียหายหลายครั้งเป็นเหตุให้กระดูกแตก ซ้ำบวมที่ศีรษะส่วนบน ศีรษะด้านขวาใต้ตาทั้งสอง เอว หลัง มีแผลฉีกขาดและถลอกที่แขน ท้ายทอย ริมฝีปากได้รับอันตรายสาหัส ต้องทุพพลภาคหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า ๒๐ วัน เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ตาม ปอ มาตรา ๒๙๗
๔. การทำร้ายร่างกายเด็กเป็นการกระทำการทารุณต่อร่างกายหรือจิตใจเด็ก ไม่ว่าเด็กยินยอมหรือไม่ก็ตาม เป็นความผิดตาม พรบ.คุ้มครองเด็กฯ มาตรา ๒๖(๑),๗๘ซึ่งระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๓ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทต้องลงตามบทหนักฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตาม ปอ มาตรา ๒๙๗
๕. การที่จำเลยจ้างผู้เสียหายที่มีอายุไม่เกิน ๑๕ ปีบริบรูณ์เข้าทำงาน โดยไม่ใช้กรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุตั้งแต่สิบสามปีบริบรูณ์แต่ยังไม่ถึง ๑๕ ปีบริบรูณ์ที่นายจ้างรับเข้าทำงานตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่๑๐๓ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๑๕ซึ่งได้กระทำก่อนที่พรบ.คุ้มครองแรงงานฉบับนี้ใช้บังคับ(พ.ศ.๒๕๔๑) เป็นความผิดฐานจ้างเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีเป็นลูกจ้าง ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา ๔๔,๑๔๘
๖.การให้เด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ปี ทำงานตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐ นาฬิกาถึง ๒๔.๐๐ นาฬิกา เป็นการจ้างเด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปีทำงานในช่วงเวลา ๒๒.๐๐นาฬิกา ถึง ๐๖.๐๐ นาฬิกา เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมสวัสดิ์การและคุ้มครองแรงงาน ย่อมเป็นความผิดตามกฎหมาย(มาตรา ๔๗,๑๔๔พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน) และการจ้างลุกจ้างอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี เป็นลูกจ้างต้องแจ้งเจ้าพนักงานตรวจแรงงานภายใน ๑๕ วันนับแต่วันรับเด็กเข้าทำงานและการแจ้งสิ้นสุดจ้างนั้นต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน ๗ วันนับแต่วันที่เด็กออกจากงาน(มาตรา ๔๕,๑๔๖พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน)
๗.การที่จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าจ้างเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๐(๑),๑๔๔ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ
๘. พรบ.ค้ามนุษย์ฯ มาตรา ๔ ให้นิยามศัพท์คำว่า “ แสวงหาประโยชน์โดยไม่ชอบ” นั้น หมายความว่า บังคับใช้แรงงานหรือบริการ ซึ่งหมายความว่า ข่มขืนใจให้ทำงานหรือให้บริการโดยกลัวจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สินของผู้นั้นหรือผู้อื่น โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยทำให้บุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ดังนั้นการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์โดยบังคับใช้แรงงานหรือบริการ ต้องประกอบด้วย
-การเป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจาก หรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนียว กักขัง จัดให้อยู่อาศัย
-หรือรับไว้ซึ่งเด็ก เพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิชอบโดยข่มขืนใจให้ทำงานหรือให้บริการ
-โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้นั้นหรือผู้อื่น
-โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยทำให้บุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้
แม้ฟังได้ว่า จำเลยให้ผู้เสียหายอยู่อาศัย และไม่ยอมให้ออกจากบ้านไปไหนหรือติดต่อใครได้ ทั้งไม่ยอมจ่ายค่าจ้าง หรือแม้ต้องทำงาน ตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐นาฬิกาถึง ๒๔.๐๐ นาฬิกา จะเป็นการทำงานหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือการจ่ายค่าจ้างจะเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฏหมาย ก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏว่า จำเลยได้กระทำการใดอันเป็นการข่มขืนใจให้ผู้เสียหายทำงานโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ซื่อเสียง ทรัพย์สินของผู้เสียหาย โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือทำให้ผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ คงได้ความเพียงให้ทำงานตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐ นาฬิกาถึง ๒๔.๐๐ นาฬิกา ให้ทานอาหาร ๒ มื้อ ไม่จ่ายเงินเดือนให้เท่านั้น แม้ในเดือนสุดท้ายจะปรากฏว่ามีการทำร้ายผู้เสียหายก็ตาม แต่ก็เกิดจากกากรทำงานไม่สะอาดและผู้เสียหายพูดขอเงิน ทำงานไม่เรียบร้อย จึงฟังได้ว่า การทำร้ายเกิดจากการทำงานไม่เรียบร้อย พูดขอเงิน ทำงานบ้านไม่สะอาด อันเป็นการลงโทษเท่านั้น หาใช่เป็นการบังคับใช้แรงงานหรือบริการโดยข่มขืนใจให้ทำงานหรือให้บริการโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงของตนเองหรือผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถขัดขืนได้ แม้มีการทำร้ายก็ไม่ได้เป็นการทำร้ายเพื่อการบังคับใช้แรงงานหรือบริการโดยข่มขืนใจให้ทำงานหรือให้บริการ ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานค้ามนุษย์ตามพรบ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ฯ มาตรา ๔ คงมีความผิดเพียงทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส จ้างเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี
๙..การไม่ยอมให้ออกจากบ้านไปไหนและไม่สามารถติดต่อใครได้นั้น ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่า การไม่ให้ออกไปไหนเป็นเพียงคำพูดห้ามออกไปไหน และผู้เสียหายเชื่อตามคำพูดนั้นหรือเกิดความกลัวจึงไม่กล้าออกไปไหน หรือเป็นกรณีที่มีการล่ามโซ่ผู้เสียหายหรือปิดล็อคประตูหน้าต่างทำให้ไม่สามารถออกไปไหนได้หรือไม่ หรือมีคนมาคุมตลอดเวลาทำให้ไม่สามารถออกไปไหนได้ หากเป็นกรณีแรกเพียงคำพูดห้ามออกไปไหน ไม่เป็นความผิดฐานหน่วงเหนียวกักขังหรือกระทำด้วยประการใดๆให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ตาม ปอ มาตรา ๓๑๐ เป็นเรื่องผู้เสียหายเชื่อหรือกลัวคำพูดจำเลย แต่หากเป็นกรณีมีการล่ามโซ่ผู้เสียหายหรือปิดล็อคประตูหน้าต่างทำให้ไม่สามารถออกไปไหนได้ หรือมีคนมาคุมตลอดเวลาทำให้ไม่สามารถออกไปไหนได้ เป็นการหน่วงเหนียวกักขังหรือกระทำด้วยประการใดๆให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ตาม ปอ มาตรา ๓๑๐แล้ว จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบความผิดฐานค้ามนุษย์รวมถึงการกระทำหน่วงเหนียว กักขัง อยู่ในตัวเองด้วยเพียงแต่หน่วงเหนียวกักขังเพื่อ“ แสวงหาประโยชน์โดยไม่ชอบอยู่ในตัวเองอยู่แล้วจึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทต้องลงตามบทหนัก เนื่องจากความผิดฐานค้ามนุษย์ที่กระทำแก่เด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๘ ปีถึง ๑๕ ปี และปรับตั้งแต่๑๖๐,๐๐๐ บาท ถึง ๓๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกสูงกว่าความผิดฐานหน่วงเหนียวกักขังตาม ปอ มาตรา ๓๑๐ จึงต้องลงโทษฐานค้ามนุษย์ โดยความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังเกลื่อนกลื่นไปในความผิดฐานค้ามนุษย์
๑๐.การตกเขียวโดยนายทุนไปติดต่อบิดามารดาฝ่ายหญิงเพื่อนำตัวบุตรสาวมาทำงานค้าประเวณีโดยมอบเงินจำนวนหนึ่งให้บิดามารดาฝ่ายหญิงไป แม้เป็นเรื่องความสมัครใจของบิดามารดาฝ่ายหญิง หรือหญิงเต็มใจไปเพราะต้องการตอบแทนบุญคุณบิดามารดาก็ตาม การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายเป็นการต้องห้ามตามพรบปรามการค้าประเวณีฯที่ไม่ประสงค์ให้มีการค้าประเวณี โดยเป็นธุระ พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งบุคคลใด โดย ให้เงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลบุคคลนั้น เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลให้ความยินยอมแก่ผู้กระทำผิดในการแสวงห่าประโยชน์จากบุคคลที่ตนดูแลเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ ตามพรบ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ฯ มาตรา ๖ ส่วนบิดามารดาผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลที่ยอมรับเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นตามที่นายทุนมาติดต่อ เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลให้ความยินยอมแก่นายทุนเด็กที่อยู่ในความปกครองของบิดามารดาหรือบุคคลที่ตนดูแล เป็นการสนับสนุนการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ตาม มาตรา ๗(๑) แล้วบิดามารดาผู้ปกครองต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้ที่ กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ ตาม พรบ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ฯ มาตร ๗
๑๑.ตามปัญหาหากผู้เสียหายเป็นคนต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมือง(ราชอาณาจักรไทย)โดยไม่ได้รับอนุญาต หากจำเลยรู้และยังจ้างและให้พักที่บ้านของตน ย่อมเป็นการให้ที่พักอาศัย ซ่อนเร็น หรือช่วยด้วยประการใดๆไม่ให้ถูกจับกุมย่อมเป็นความผิดตามมาตรา ๖๔ พรบ.คนเข้าเมือง
ค้นหาบล็อกนี้
วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560
“ดูหมิ่น”
๑.พูดว่า “ เย็ดโคตรแม่มึง” ต่อหน้าคน ๕๐ คน ผิด ป.อ. มาตรา ๓๘๘ คำพิพากษาฏีกา ๑๐๖๙/๒๕๐๖
๒. เรียกขุนโพชน์ว่า “อ้ายถม อ้ายขุนโพชน์” เป็นคำด่าไม่ใช่คำลามกอนาจาร เป็นคำด่าไม่ใช่คำลามกอนาจาร คำพิพากษาฏีกา ๘๗๒/๒๔๖๔
๓.คำว่า “ชาติหมา ดอกทอง” เป็นคำด่าไม่ใช่คำลามกอนาจาร คำพิพากษาฏีกา ๕/๒๔๗๔
๔.”อ้ายหน้าด้านเอาของเขาไปแล้วไม่รับ อ้ายชาติหมาจะพลิกแผ่นดิน มึงไม่รับ กูจะเอาเข้าตาราง “ เป็นการหมิ่นประมาทซึ่งหน้า(ตามกฎหมายเก่า) คำพิพากษาฏีกา ๑๒๗๓/๒๔๗๓
๕. หมาสี่แม่ เป็นภาษาอีสานหมายถึง หมาเย็ดแม่ เป็นการหมิ่นประมาท คำพิพากษาฏีกา ๙๑๒/๒๔๗๖
๖.อีดอกทอง เป็นการหมิ่นประมาท ๑๑๑๔/๒๔๗๙
๗.”อ้ายกรรมการอำเภอหมาๆ แปลภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ หมาเย็ดแม่ “ เป็นหมิ่นประมาท คำพิพากษาฏีกา ๔๑๑๓/๒๔๘๐
๘.”เป็นสุนัขเป็นลิง เอาสุนัขขึ้นนั่งแท่นหางหมางอกแล้ว “ เป็นหมิ่นประคำพิพากษาฏีกา ๓๑๑/๒๔๙๑
๙.”เมียผู้ใหญ่บ้านนี้แต่งตัวสวย น่าอยากล่ำสักที” หมายความว่า แต่งตัวสวยอยากร่วมประเวณีด้วย ดูหมิ่นซึ่งหน้า คำพิพากษาฏีกา ๒๗๒/๒๕๐๕
๑๐.”อีหมาไปควักเอากระดูกพ่อกระดูกแม่มึงเจ็ดชั่วโคตรมาสู้กับกู อีหน้าหมู อีหน้าหมา เป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้าแล้ว คำพิพากษาฏีกา ๒๐๘๖/๒๕๑๑
๑๑.”ออกมาซิกูจะจับหีมึงให้มึงดู มึงไปเล่าซิว่ากูจับหีมึง” เป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า คำพิพากษาฏีกา ๔๓๙/๒๕๑๕
๑๒.”ไอ้เหี้ยไอ้สัตว์” เป็นการดูหมิ่น คำพิพากษาฏีกา ๔๔๕/๒๕๒๒
๑๓.” อ้ายชั้นมีมีทนายความมาหากูหรือ ลูกกระโปกกูไม่หด อ้ายและลุกนางจักรหรือจะหาอ้ายแจะเป็นอันธพาล ก็เอาซิโว้ย อ้ายแจะไม่ใช่หญ้าปากคอกของคน จะเอาอย่าง ไงก้เอาซี้โว้ย” เป็นถ้อยคำหยาบคาบไม่สุภาพ ไม่มีข้อความเป็นการดูหมิ่น แต่เป็นถ้อยคำที่ทำให้ได้รับความเดือดร้อนรำคาญ ผิดตามมาตรา ป.อ. ๓๙๓ คำพิพากษากี๓๘๘/๒๕๐๕
๑๔.”อีหน้าเลือดไม่ปราณีคนจน” เป็นคำหยาบ ยังไม่เป็นการหมิ่นประมาท คำพิพากษาฏีกา ๑๗๖/๒๔๖๔
๑๕. ปิดประตูเสียงดัง ผู้เสียหายว่าไม่มีมารยาท จำเลยพูดกับผู้เสียหายที่เป็นหญิงว่า กูไม่ได้ขึ้นคล่อมมึงนี่” เป็นคำแดกดันไม่สุภาพ เป็นคำหยาบช้าผิดดูหมิ่น คำพิพากษาฏีกา ๑๒๑/๒๔๖๔
๑๖.”บักสี่กูจะเตะปากมึง” ไม่เป็นหมิ่นประมาท คำพิพากษาฏีกา ๑๔๒/๒๔๗๗
๑๗. สาปแช่งว่า “ ให้ตายไวๆ” ไม่เป็นคำสบประมาทอันเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท คำพิพากาฏีกา ๒๑/๒๔๘๐
๑๘.ชี้หมาแมวให้กรรมการสวนครัวและเลี้ยงสัตว์ดูแล้วพูดว่า “ นั้นคือสัตว์เลี้ยง คือหมาและแมว ถึงกินไม่ได้ก็เลี้ยงเอาไว้” เป็นคำประชดประชันไม่เป็นหมิ่นประมาท คำพิพากษาฏีกา ๗๗๔/๒๔๘๗
๑๙.ว่าทนายขณะว่าความว่า “ ถามพยานอย่างโง่ ถามอย่างนั้นไม่ได้ ไม่เกี่ยวประเด็น เป็นเทศมนตรีไม่เห็นดีอย่างไร เป็นคำที่คนไม่พูดถึงแต่ยังไม่เป็นหมิ่นประมาท คำพิพากษาฏีกา ๑๙๐๒/๒๔๙๒
๒๐.”ถ้าไม่ไปเดี๋ยวเตะลงกุฏิให้หมด” เป็นการกล่าวถ้อยคำที่คนทั่วไปถือว่าเป็นบุคคลที่ควรเคารพ เป็นคำไม่สุภาพขมขู่ เป็นการดูหมิ่น คำพิพากษาฏีกา ๕๔๑/๒๕๐๔
๒๑.”ถ้าไม่เห็นแก่ผ้าเหลืองจะเตะให้ตกกุฏิหมดเลย” เป็นการดูหมิ่นวึ่งหน้า คำพิพากษาฏีกา ๑๗๖๕/๒๕๐๖
๒๒.ถาม ป.ว่ามีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับโจทก์หรือไม่ เป็นการคาดคะเนของจำเลย ไม่ใช่การยืนยันข้อเท็จจริงที่ทำให้เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง ไม่ผิดดูหมิ่นซึ่งหน้าหรือหมิ่นประมาท คำพิพากษาฏีกา ๒๑๘๐/๒๕๓๑
๒๓. ไม่พอใจที่นายจ้างไม่ให้รางวัลจึงพูดว่า “เป็นนายจ้างใช้ไม่ได้ พูดจากลับกรอก เดี๋ยวให้เดี๋ยวไม่ให้” เป็นคำไม่สุภาพ ไม่เป็นการดูหมื่น คำพิพากษาฏีกา ๙๕/๒๕๔๐
๒๔. “ประธานใช้ครูอย่างขี้ข้า” แม้คำว่า “ ขี้ข้า” เป็นคำไม่สุภาพ ในเมื่อคำนี้จำเลยหมายถึงตัวจำเลยและครูในโรงเรียนที่ถูกใช้งาน ไม่ได้หมายถึงผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ใช้งาน ไม่เป็นการดูหมิ่น คำพิพากษาฏีกา ๒๘๖๗/๒๕๔๗
๒๕.”อีเหี้ย อีสัตว์ อีควาย มึงคิดว่าเมียกูกินเงินมึงหรือไง” เป็นการเปรียบผู้เสียหายเป็นสัตว์เลื่อยคลาน และว่าภรรยาจำเลยเอาเงินกลุ่มแม่บ้านไปใช้ในการส่วนตัว เป็นการดูหมิ่น คำพิพากษาฏีกา ๕๒๕๗/๒๕๔๘
๒๖.” ให้ไปบอกอ้ายเหี้ย อีเหี้ย นายของมึงสองคน อย่ามาว่าอะไรกับกูมากนัก ประเดียวกูทนไม่ได้จะเอาเรื่องอีก “ เป็นการฝากไปบอกผู้เสียหายเป็ยนการส่วนตัว ไม่ปรากฏว่าได้กล่าวกับบุคคลอื่นอีก ไม่ใช่ดูหมิ่นด้วยก็ดแม่ารโฆษณา คำพิพากษาฏีกา ๑๐๕๓/๒๕๐๗
๒๗.”ไอ้เหี้ย ไอ้สัตว์ ไอ้ทองสุขโกงบ้านโกงเมือง” คำว่าไอ้เหี้ยไอ้สัตว์เป็นการเหยียดหยาม คำว่า “ ไอ้ทองสุขโกงบ้านโกงเมือง” หมายถึงเป็นข้าราชการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ เบียดบังหรือยักยอกประโยชน์ทางราชการมาเป็นของตนหรือของผู้อื่น เป็นการหมิ่นประมาท คำพิพากษาฏีกา ๔๔๕/๒๕๒๒
ข้อสังเกต ๑.คำว่า เย็ดแม่มึง เป็นคำไม่สุภาพ เป็นคำพูดที่แสดงการลามกอย่างอื่นตาม ป.อ. มาตรา ๓๘๘
๒. การเรียกชื่อว่า “อ้ายถม อ้ายขุนโพชน์” เป็นคำด่าไม่ใช่คำลามกอนาจาร เป็นคำด่าที่ไม่ให้เกียรติกัน ไม่เป็นถ้อยคำลามกอนาจารตาม ป.อ. มาตรา ๓๘๘
๓.คำว่า “ชาติหมา ดอกทอง” เป็นคำด่าไม่ใช่คำลามกอนาจาร ตาม ป.อ. มาตรา ๓๘๘ โดยคำว่า “ ดอกทอง” เป็นคำด่า หมายถึงหญิงใจง่ายในทางประเวณี ส่วนคำว่า “ ชาติหมา” เป็นการเปรียบเปรยว่ามีชาติกำเนิดเป็นหมา เป็นการเปรียบเปรยทำนองว่า ผู้เสียหายมีชาติกำเนิดเป็นสุนัขที่ส่ำส่อนร่วมประเวณีกันไม่เลือกไม่ว่าเป็นลูกเป็นแม่ แม้ไม่ใช่ถ้อยคำลามกอนาจารตาม ป.อ. มาตรา ๑๘๘ แต่ก็เป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า
๔. คำว่า ”อ้ายหน้าด้านเอาของเขาไปแล้วไม่รับ อ้ายชาติหมาจะพลิกแผ่นดิน มึงไม่รับ กูจะเอาเข้าตาราง “ เป็นคำพูดทำนองว่า ผู้เสียหายเอาของคนอื่นไปแล้วไม่ยอมรับว่าเอาไปเท่ากับกล่าวอ้างว่า ลักทรัพย์ของบุคคลอื่น คำว่า “ พลิกแผ่นดิน” หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระบบหรือวิธีการปกครองแผ่นดิน เท่ากับล้มล้างตัวบทกฎหมายหรือเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงหมายความว่าผู้เสียหายคิดจะเปลี่ยนแปลงการปกครองในแผ่นดิน หรือเป็นกบฏ ถ้อยคำดังกล่าวจึงเป็นการดูหมิ่นทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง เมื่อพูดกับบุคคลที่สามจึงเป็นการใส่ความผู้เสียหายต่อบุคคลที่สามอันเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
๕.หมาสี่แม่ เป็นภาษาอีสานหมายถึง หมาเย็ดแม่ มีความหมายทำนองว่า สุนัขร่วมประเวณีกับผู้เสียหาย ซึ่งคนทั่วไปไม่กระทำกันที่จะสมสู่กับสุนัข คนที่ทำคือคนที่มีความผิดปกติทางจิตใจ จึง เป็นถ้อยคำดูหมิ่น เมื่อพูดต่อหน้าบุคคลที่สามจึง เป็นการหมิ่นประมาท
๖.”อ้ายกรรมการอำเภอหมาๆ แปลภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ หมาเย็ดแม่ “ คำว่า แปลภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ หมายความว่า ไม่มีความรู้ความสามารถ ส่วนคำว่า หมาเย็ดแม่ คือ การร่วมประเวณีกับสุนัขโดยถูกสุนัขเป็นฝ่ายกระทำ ซึ่งปกติคนทั่วไปไม่กระทำกัน เป็นการดูหมิ่น เมื่อใส่ความต่อบุคคลที่สามจึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
๗.มีทนายความมาหากูหรือ ลูกกระโปกกูไม่หด อ้ายและลุกนางจักรหรือจะหาอ้ายแจะเป็นอันธพาล ก็เอาซิโว้ย อ้ายแจะไม่ใช่หญ้าปากคอกของคน จะเอาอย่าง ไงก้เอาซี้โว้ย” คำว่า “ลูกกระโปกกูไม่หด” เป็นถ้อยคำหยาบคาบไม่สุภาพ มีความหมายทำนองไม่กลัว แม้อีกฝ่ายหนึ่งจะหาทนายผู้กฎหมายมาในขณะที่ตนไม่มีทนายตนก็ไม่กลัว คำว่า “ หญ้าปากคอก” หมายความว่า ง่าย ไม่มีอะไรยุ่งยาก จึงไม่มีข้อความเป็นการดูหมิ่น แต่เป็นถ้อยคำที่ทำให้ได้รับความเดือดร้อนรำคาญ ผิดตามมาตรา ป.อ. ๓๙๓
๘. คำว่า เป็นสุนัขเป็นลิง เอาสุนัขนั่งแท่นหางงอกแล้ว “ นั้น คำว่า “ เป็นสุนัขเป็นลิงเป็นสัตว์เดรัจฉานเมื่อถูกนำมานั่งบนแท่นแล้วหางงอกออกมาเหมือนเอาคนขึ้นสู่ตำแหน่งแล้วลืมตัวทั้งที่ก่อนหน้านี้เป็นคนมีฐานะต่ำต้อย
๙.คำว่า เมียผู้ใหญ่บ้านนี้ แต่งตัวสวยดี น่าอยากก่ำสักที หมายความว่า แต่งตัวสวยและยั่วยวนทำให้เกิดความต้องการทางเพศอยากร่วมประเวณีด้วย ทำนองว่าผู้เสียหายแต่งตัวโป๊เห็นแล้วอยากร่วมประเวณีด้วย
๑๐.คำว่า “อีหมาไปควักเอากระดูกพ่อกระดุกแม่มึงมาเจ็ดชั่วโคตรมาสู้กับกู อีหน้าหมูอีหน้าหมา เป็นการเปรียบผู้เสียหายเป็นสัตว์เดรัจฉานไม่สามารถสู้จำเลยได้ ต้องกลับไปเอากระดูกบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วถึงเจ็ดชั่วโคตรมาสู้ถึงจะสู้กับตนได้ เท่ากับจำเลยมีความสามารถไม่ทัดเทียมสู้จำเลยไม่ได้
๑๑.คำว่า “ ออกมาซิกูจะจับหีมึง มึงไปเล่าใหม่ซิว่ากูจับหีมึง “ เป็นคำพุดทำนองว่าสามารถล่วงเกินผู้เสียหายในทางเพศโดยใช้มือจับอวัยวะผู้เสียหาย ซึ่งไม่ใช่ภรรยาของจำเลยได้ซึ่งเมื่อไม่ใช่สามีผู้เสียหายสามารถจับอวัยวะเพศผู้เสียหายได้ส่อให้เห็นว่าจำเลยมีความสัมพันธ์ในทางเพศกับผู้เสียหายทั้งที่จำเลยไม่ใช่สามีผู้เสียหายและผู้เสียหายไม่ได้แต่งงานกับจำเลย ส่อแสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายมีความประพฤติเสื่อมเสียในทางเพศที่ยอมให้คนที่ไม่ใช่สามีล่วงเกินในทางเพศ
๑๒.คำว่า “ จะเตะปากเดี๋ยวนี้” ไม่ใช่ถ้อยคำดูหมิ่น ส่วนคำสาปแช่ง ว่า “ ให้ตายเร็วๆ” ยังไม่เป็นการดูหมิ่นเพราะไม่ได้ทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชังแต่อย่างไร เป็นเพียงการแช่งเพื่อให้เป็นไปตามที่ตนต้องการเท่านั้น
๑๓.นี้คือสัตว์เลี้ยง คือ หมาและแมว ถึงกินไม่ได้ก็เลี้ยงเอาไว้ เป็นถ้อยคำประชดประชันแดกดัน ว่าแม้ทานไม่ได้แต่ก็สามารถเลี่ยงไว้เป็นเพือนได้
๑๔.คำว่า “ ถามพยานอย่างโง่ ถามอย่างนั้นไม่ได้ ไม่เกี่ยวแก่ประเด็น เป็นเทศมนตรีไม่เห็นดีอะไร “ เป็นคำที่คนทั่วไปไม่น่าตำหนิในการถามความของทนาย ทำนองว่าทนายว่าความไม่เป็น แต่ยังไม่ถึงเป็นถ้อยคำหมิ่นประมาท
๑๕.คำว่า “ ถ้าไม่ลงเดี๋ยวเตะลงกุฏิให้หมด” เป็นคำพูดที่ไม่สมควรพุดกับพระภิกษุสงฆ์เป็นการไม่ให้เกียรติ์ ไม่สุภาพเป็นการข่มขู่ และเป็นคำพุดที่ทำให้คนทั่วไปดูหมิ่นเกลียดชังพระรูปนั้นว่าไปทำอะไรไม่ดีหรือถึงฆารวาสจะใช้เท้าซึ่งเป็นของต่ำเตะทั้งคนที่เป็นพระที่เป็นเคารพของคนทั่วไป จึงเป็นการดูหมิ่นแล้ว
๑๖.”ถ้าไม่เห็นแก่ผ้าเหลืองจะเตะให้ตกกุฏิ ก็มีความหมายทำนองเดียวกับข้อสังเกตที่ ๑๕
๑๗.คำว่า “ประธานใช้ครูอย่างขี้ข้า” นั้นคำว่า “ ขี้ข้า” หมายถึง คนรับใช้เป็นคำที่ไม่สุภาพ เป็นคำประชดเชิงเปรียบเทียบบ่งบอกฐานะว่าต้อยต่ำ เป็นคำดูถูกเหยียดหยามว่ามีฐานะต้อยต่ำโดยใช้เป็นคำด่า แต่เมื่อคำว่า “ ขี้ข้า”นี้หมายถึงตัวจำเลยและครูในโรงเรียนที่ถูกใช้งานไม่ได้พาดพิงถึงผู้เสียหายแต่อย่างใด จึงไม่เป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า เป็นเพียงคำพูดน้อยเนื้อต่ำใจที่ถูกใช้งานอย่างหนักเหมือนไม่ใช่ข้าราชการครู แต่เป็นคนรับใช้ตามบ้าน
๒. เรียกขุนโพชน์ว่า “อ้ายถม อ้ายขุนโพชน์” เป็นคำด่าไม่ใช่คำลามกอนาจาร เป็นคำด่าไม่ใช่คำลามกอนาจาร คำพิพากษาฏีกา ๘๗๒/๒๔๖๔
๓.คำว่า “ชาติหมา ดอกทอง” เป็นคำด่าไม่ใช่คำลามกอนาจาร คำพิพากษาฏีกา ๕/๒๔๗๔
๔.”อ้ายหน้าด้านเอาของเขาไปแล้วไม่รับ อ้ายชาติหมาจะพลิกแผ่นดิน มึงไม่รับ กูจะเอาเข้าตาราง “ เป็นการหมิ่นประมาทซึ่งหน้า(ตามกฎหมายเก่า) คำพิพากษาฏีกา ๑๒๗๓/๒๔๗๓
๕. หมาสี่แม่ เป็นภาษาอีสานหมายถึง หมาเย็ดแม่ เป็นการหมิ่นประมาท คำพิพากษาฏีกา ๙๑๒/๒๔๗๖
๖.อีดอกทอง เป็นการหมิ่นประมาท ๑๑๑๔/๒๔๗๙
๗.”อ้ายกรรมการอำเภอหมาๆ แปลภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ หมาเย็ดแม่ “ เป็นหมิ่นประมาท คำพิพากษาฏีกา ๔๑๑๓/๒๔๘๐
๘.”เป็นสุนัขเป็นลิง เอาสุนัขขึ้นนั่งแท่นหางหมางอกแล้ว “ เป็นหมิ่นประคำพิพากษาฏีกา ๓๑๑/๒๔๙๑
๙.”เมียผู้ใหญ่บ้านนี้แต่งตัวสวย น่าอยากล่ำสักที” หมายความว่า แต่งตัวสวยอยากร่วมประเวณีด้วย ดูหมิ่นซึ่งหน้า คำพิพากษาฏีกา ๒๗๒/๒๕๐๕
๑๐.”อีหมาไปควักเอากระดูกพ่อกระดูกแม่มึงเจ็ดชั่วโคตรมาสู้กับกู อีหน้าหมู อีหน้าหมา เป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้าแล้ว คำพิพากษาฏีกา ๒๐๘๖/๒๕๑๑
๑๑.”ออกมาซิกูจะจับหีมึงให้มึงดู มึงไปเล่าซิว่ากูจับหีมึง” เป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า คำพิพากษาฏีกา ๔๓๙/๒๕๑๕
๑๒.”ไอ้เหี้ยไอ้สัตว์” เป็นการดูหมิ่น คำพิพากษาฏีกา ๔๔๕/๒๕๒๒
๑๓.” อ้ายชั้นมีมีทนายความมาหากูหรือ ลูกกระโปกกูไม่หด อ้ายและลุกนางจักรหรือจะหาอ้ายแจะเป็นอันธพาล ก็เอาซิโว้ย อ้ายแจะไม่ใช่หญ้าปากคอกของคน จะเอาอย่าง ไงก้เอาซี้โว้ย” เป็นถ้อยคำหยาบคาบไม่สุภาพ ไม่มีข้อความเป็นการดูหมิ่น แต่เป็นถ้อยคำที่ทำให้ได้รับความเดือดร้อนรำคาญ ผิดตามมาตรา ป.อ. ๓๙๓ คำพิพากษากี๓๘๘/๒๕๐๕
๑๔.”อีหน้าเลือดไม่ปราณีคนจน” เป็นคำหยาบ ยังไม่เป็นการหมิ่นประมาท คำพิพากษาฏีกา ๑๗๖/๒๔๖๔
๑๕. ปิดประตูเสียงดัง ผู้เสียหายว่าไม่มีมารยาท จำเลยพูดกับผู้เสียหายที่เป็นหญิงว่า กูไม่ได้ขึ้นคล่อมมึงนี่” เป็นคำแดกดันไม่สุภาพ เป็นคำหยาบช้าผิดดูหมิ่น คำพิพากษาฏีกา ๑๒๑/๒๔๖๔
๑๖.”บักสี่กูจะเตะปากมึง” ไม่เป็นหมิ่นประมาท คำพิพากษาฏีกา ๑๔๒/๒๔๗๗
๑๗. สาปแช่งว่า “ ให้ตายไวๆ” ไม่เป็นคำสบประมาทอันเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท คำพิพากาฏีกา ๒๑/๒๔๘๐
๑๘.ชี้หมาแมวให้กรรมการสวนครัวและเลี้ยงสัตว์ดูแล้วพูดว่า “ นั้นคือสัตว์เลี้ยง คือหมาและแมว ถึงกินไม่ได้ก็เลี้ยงเอาไว้” เป็นคำประชดประชันไม่เป็นหมิ่นประมาท คำพิพากษาฏีกา ๗๗๔/๒๔๘๗
๑๙.ว่าทนายขณะว่าความว่า “ ถามพยานอย่างโง่ ถามอย่างนั้นไม่ได้ ไม่เกี่ยวประเด็น เป็นเทศมนตรีไม่เห็นดีอย่างไร เป็นคำที่คนไม่พูดถึงแต่ยังไม่เป็นหมิ่นประมาท คำพิพากษาฏีกา ๑๙๐๒/๒๔๙๒
๒๐.”ถ้าไม่ไปเดี๋ยวเตะลงกุฏิให้หมด” เป็นการกล่าวถ้อยคำที่คนทั่วไปถือว่าเป็นบุคคลที่ควรเคารพ เป็นคำไม่สุภาพขมขู่ เป็นการดูหมิ่น คำพิพากษาฏีกา ๕๔๑/๒๕๐๔
๒๑.”ถ้าไม่เห็นแก่ผ้าเหลืองจะเตะให้ตกกุฏิหมดเลย” เป็นการดูหมิ่นวึ่งหน้า คำพิพากษาฏีกา ๑๗๖๕/๒๕๐๖
๒๒.ถาม ป.ว่ามีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับโจทก์หรือไม่ เป็นการคาดคะเนของจำเลย ไม่ใช่การยืนยันข้อเท็จจริงที่ทำให้เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง ไม่ผิดดูหมิ่นซึ่งหน้าหรือหมิ่นประมาท คำพิพากษาฏีกา ๒๑๘๐/๒๕๓๑
๒๓. ไม่พอใจที่นายจ้างไม่ให้รางวัลจึงพูดว่า “เป็นนายจ้างใช้ไม่ได้ พูดจากลับกรอก เดี๋ยวให้เดี๋ยวไม่ให้” เป็นคำไม่สุภาพ ไม่เป็นการดูหมื่น คำพิพากษาฏีกา ๙๕/๒๕๔๐
๒๔. “ประธานใช้ครูอย่างขี้ข้า” แม้คำว่า “ ขี้ข้า” เป็นคำไม่สุภาพ ในเมื่อคำนี้จำเลยหมายถึงตัวจำเลยและครูในโรงเรียนที่ถูกใช้งาน ไม่ได้หมายถึงผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ใช้งาน ไม่เป็นการดูหมิ่น คำพิพากษาฏีกา ๒๘๖๗/๒๕๔๗
๒๕.”อีเหี้ย อีสัตว์ อีควาย มึงคิดว่าเมียกูกินเงินมึงหรือไง” เป็นการเปรียบผู้เสียหายเป็นสัตว์เลื่อยคลาน และว่าภรรยาจำเลยเอาเงินกลุ่มแม่บ้านไปใช้ในการส่วนตัว เป็นการดูหมิ่น คำพิพากษาฏีกา ๕๒๕๗/๒๕๔๘
๒๖.” ให้ไปบอกอ้ายเหี้ย อีเหี้ย นายของมึงสองคน อย่ามาว่าอะไรกับกูมากนัก ประเดียวกูทนไม่ได้จะเอาเรื่องอีก “ เป็นการฝากไปบอกผู้เสียหายเป็ยนการส่วนตัว ไม่ปรากฏว่าได้กล่าวกับบุคคลอื่นอีก ไม่ใช่ดูหมิ่นด้วยก็ดแม่ารโฆษณา คำพิพากษาฏีกา ๑๐๕๓/๒๕๐๗
๒๗.”ไอ้เหี้ย ไอ้สัตว์ ไอ้ทองสุขโกงบ้านโกงเมือง” คำว่าไอ้เหี้ยไอ้สัตว์เป็นการเหยียดหยาม คำว่า “ ไอ้ทองสุขโกงบ้านโกงเมือง” หมายถึงเป็นข้าราชการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ เบียดบังหรือยักยอกประโยชน์ทางราชการมาเป็นของตนหรือของผู้อื่น เป็นการหมิ่นประมาท คำพิพากษาฏีกา ๔๔๕/๒๕๒๒
ข้อสังเกต ๑.คำว่า เย็ดแม่มึง เป็นคำไม่สุภาพ เป็นคำพูดที่แสดงการลามกอย่างอื่นตาม ป.อ. มาตรา ๓๘๘
๒. การเรียกชื่อว่า “อ้ายถม อ้ายขุนโพชน์” เป็นคำด่าไม่ใช่คำลามกอนาจาร เป็นคำด่าที่ไม่ให้เกียรติกัน ไม่เป็นถ้อยคำลามกอนาจารตาม ป.อ. มาตรา ๓๘๘
๓.คำว่า “ชาติหมา ดอกทอง” เป็นคำด่าไม่ใช่คำลามกอนาจาร ตาม ป.อ. มาตรา ๓๘๘ โดยคำว่า “ ดอกทอง” เป็นคำด่า หมายถึงหญิงใจง่ายในทางประเวณี ส่วนคำว่า “ ชาติหมา” เป็นการเปรียบเปรยว่ามีชาติกำเนิดเป็นหมา เป็นการเปรียบเปรยทำนองว่า ผู้เสียหายมีชาติกำเนิดเป็นสุนัขที่ส่ำส่อนร่วมประเวณีกันไม่เลือกไม่ว่าเป็นลูกเป็นแม่ แม้ไม่ใช่ถ้อยคำลามกอนาจารตาม ป.อ. มาตรา ๑๘๘ แต่ก็เป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า
๔. คำว่า ”อ้ายหน้าด้านเอาของเขาไปแล้วไม่รับ อ้ายชาติหมาจะพลิกแผ่นดิน มึงไม่รับ กูจะเอาเข้าตาราง “ เป็นคำพูดทำนองว่า ผู้เสียหายเอาของคนอื่นไปแล้วไม่ยอมรับว่าเอาไปเท่ากับกล่าวอ้างว่า ลักทรัพย์ของบุคคลอื่น คำว่า “ พลิกแผ่นดิน” หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระบบหรือวิธีการปกครองแผ่นดิน เท่ากับล้มล้างตัวบทกฎหมายหรือเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงหมายความว่าผู้เสียหายคิดจะเปลี่ยนแปลงการปกครองในแผ่นดิน หรือเป็นกบฏ ถ้อยคำดังกล่าวจึงเป็นการดูหมิ่นทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง เมื่อพูดกับบุคคลที่สามจึงเป็นการใส่ความผู้เสียหายต่อบุคคลที่สามอันเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
๕.หมาสี่แม่ เป็นภาษาอีสานหมายถึง หมาเย็ดแม่ มีความหมายทำนองว่า สุนัขร่วมประเวณีกับผู้เสียหาย ซึ่งคนทั่วไปไม่กระทำกันที่จะสมสู่กับสุนัข คนที่ทำคือคนที่มีความผิดปกติทางจิตใจ จึง เป็นถ้อยคำดูหมิ่น เมื่อพูดต่อหน้าบุคคลที่สามจึง เป็นการหมิ่นประมาท
๖.”อ้ายกรรมการอำเภอหมาๆ แปลภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ หมาเย็ดแม่ “ คำว่า แปลภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ หมายความว่า ไม่มีความรู้ความสามารถ ส่วนคำว่า หมาเย็ดแม่ คือ การร่วมประเวณีกับสุนัขโดยถูกสุนัขเป็นฝ่ายกระทำ ซึ่งปกติคนทั่วไปไม่กระทำกัน เป็นการดูหมิ่น เมื่อใส่ความต่อบุคคลที่สามจึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
๗.มีทนายความมาหากูหรือ ลูกกระโปกกูไม่หด อ้ายและลุกนางจักรหรือจะหาอ้ายแจะเป็นอันธพาล ก็เอาซิโว้ย อ้ายแจะไม่ใช่หญ้าปากคอกของคน จะเอาอย่าง ไงก้เอาซี้โว้ย” คำว่า “ลูกกระโปกกูไม่หด” เป็นถ้อยคำหยาบคาบไม่สุภาพ มีความหมายทำนองไม่กลัว แม้อีกฝ่ายหนึ่งจะหาทนายผู้กฎหมายมาในขณะที่ตนไม่มีทนายตนก็ไม่กลัว คำว่า “ หญ้าปากคอก” หมายความว่า ง่าย ไม่มีอะไรยุ่งยาก จึงไม่มีข้อความเป็นการดูหมิ่น แต่เป็นถ้อยคำที่ทำให้ได้รับความเดือดร้อนรำคาญ ผิดตามมาตรา ป.อ. ๓๙๓
๘. คำว่า เป็นสุนัขเป็นลิง เอาสุนัขนั่งแท่นหางงอกแล้ว “ นั้น คำว่า “ เป็นสุนัขเป็นลิงเป็นสัตว์เดรัจฉานเมื่อถูกนำมานั่งบนแท่นแล้วหางงอกออกมาเหมือนเอาคนขึ้นสู่ตำแหน่งแล้วลืมตัวทั้งที่ก่อนหน้านี้เป็นคนมีฐานะต่ำต้อย
๙.คำว่า เมียผู้ใหญ่บ้านนี้ แต่งตัวสวยดี น่าอยากก่ำสักที หมายความว่า แต่งตัวสวยและยั่วยวนทำให้เกิดความต้องการทางเพศอยากร่วมประเวณีด้วย ทำนองว่าผู้เสียหายแต่งตัวโป๊เห็นแล้วอยากร่วมประเวณีด้วย
๑๐.คำว่า “อีหมาไปควักเอากระดูกพ่อกระดุกแม่มึงมาเจ็ดชั่วโคตรมาสู้กับกู อีหน้าหมูอีหน้าหมา เป็นการเปรียบผู้เสียหายเป็นสัตว์เดรัจฉานไม่สามารถสู้จำเลยได้ ต้องกลับไปเอากระดูกบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วถึงเจ็ดชั่วโคตรมาสู้ถึงจะสู้กับตนได้ เท่ากับจำเลยมีความสามารถไม่ทัดเทียมสู้จำเลยไม่ได้
๑๑.คำว่า “ ออกมาซิกูจะจับหีมึง มึงไปเล่าใหม่ซิว่ากูจับหีมึง “ เป็นคำพุดทำนองว่าสามารถล่วงเกินผู้เสียหายในทางเพศโดยใช้มือจับอวัยวะผู้เสียหาย ซึ่งไม่ใช่ภรรยาของจำเลยได้ซึ่งเมื่อไม่ใช่สามีผู้เสียหายสามารถจับอวัยวะเพศผู้เสียหายได้ส่อให้เห็นว่าจำเลยมีความสัมพันธ์ในทางเพศกับผู้เสียหายทั้งที่จำเลยไม่ใช่สามีผู้เสียหายและผู้เสียหายไม่ได้แต่งงานกับจำเลย ส่อแสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายมีความประพฤติเสื่อมเสียในทางเพศที่ยอมให้คนที่ไม่ใช่สามีล่วงเกินในทางเพศ
๑๒.คำว่า “ จะเตะปากเดี๋ยวนี้” ไม่ใช่ถ้อยคำดูหมิ่น ส่วนคำสาปแช่ง ว่า “ ให้ตายเร็วๆ” ยังไม่เป็นการดูหมิ่นเพราะไม่ได้ทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชังแต่อย่างไร เป็นเพียงการแช่งเพื่อให้เป็นไปตามที่ตนต้องการเท่านั้น
๑๓.นี้คือสัตว์เลี้ยง คือ หมาและแมว ถึงกินไม่ได้ก็เลี้ยงเอาไว้ เป็นถ้อยคำประชดประชันแดกดัน ว่าแม้ทานไม่ได้แต่ก็สามารถเลี่ยงไว้เป็นเพือนได้
๑๔.คำว่า “ ถามพยานอย่างโง่ ถามอย่างนั้นไม่ได้ ไม่เกี่ยวแก่ประเด็น เป็นเทศมนตรีไม่เห็นดีอะไร “ เป็นคำที่คนทั่วไปไม่น่าตำหนิในการถามความของทนาย ทำนองว่าทนายว่าความไม่เป็น แต่ยังไม่ถึงเป็นถ้อยคำหมิ่นประมาท
๑๕.คำว่า “ ถ้าไม่ลงเดี๋ยวเตะลงกุฏิให้หมด” เป็นคำพูดที่ไม่สมควรพุดกับพระภิกษุสงฆ์เป็นการไม่ให้เกียรติ์ ไม่สุภาพเป็นการข่มขู่ และเป็นคำพุดที่ทำให้คนทั่วไปดูหมิ่นเกลียดชังพระรูปนั้นว่าไปทำอะไรไม่ดีหรือถึงฆารวาสจะใช้เท้าซึ่งเป็นของต่ำเตะทั้งคนที่เป็นพระที่เป็นเคารพของคนทั่วไป จึงเป็นการดูหมิ่นแล้ว
๑๖.”ถ้าไม่เห็นแก่ผ้าเหลืองจะเตะให้ตกกุฏิ ก็มีความหมายทำนองเดียวกับข้อสังเกตที่ ๑๕
๑๗.คำว่า “ประธานใช้ครูอย่างขี้ข้า” นั้นคำว่า “ ขี้ข้า” หมายถึง คนรับใช้เป็นคำที่ไม่สุภาพ เป็นคำประชดเชิงเปรียบเทียบบ่งบอกฐานะว่าต้อยต่ำ เป็นคำดูถูกเหยียดหยามว่ามีฐานะต้อยต่ำโดยใช้เป็นคำด่า แต่เมื่อคำว่า “ ขี้ข้า”นี้หมายถึงตัวจำเลยและครูในโรงเรียนที่ถูกใช้งานไม่ได้พาดพิงถึงผู้เสียหายแต่อย่างใด จึงไม่เป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า เป็นเพียงคำพูดน้อยเนื้อต่ำใจที่ถูกใช้งานอย่างหนักเหมือนไม่ใช่ข้าราชการครู แต่เป็นคนรับใช้ตามบ้าน
วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2560
“ไม่ส่งผลเอกซเรย์”
โจทก์ไปหาแพทย์ที่โรงพยาบาลด้วยอาการตัวร้อน แพทย์พบว่ามีอาการปอดบวมและตับโต ได้ใช้เครื่องฟังหัวใจและตรวจปอด แล้วไม่ยอมส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลอื่นตามที่โจทก์ร้องขอจนกระทั้งมีผลการตรวจเอกซเรย์ปอดพบเป็นวัณโรคแพร่กระจายไปที่ปอด ตับ เยื้อหุ้มสมอง จึงให้ยารักษาวัณโรคแล้วส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น แต่ก็ทำให้สมองโจทก์พิการและทุพพลภาคตลอดชีวิต ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่นั้น เห็นว่า โจทก์มีอาการปวดหัวเป็นไข้ แพทย์ให้ยาแล้วให้กลับบ้าน อีก ๓ วันต่อมา(วันที่๒๓ มิ.ย.๒๕๔๗) โจทก์มีอาการเป็นไข้จึงไปพบแพทย์อีก แพทย์เจาะเลือดเพื่อตรวจหาสาเหตุให้ยาแล้วให้กลับบ้าน ต่อมาอีก ๓ วัน(วันที่ ๒๖ มิ.ย.๒๕๔๗) โจทก์ไปหาแพทย์อีก แพทย์ตรวจเลือด ปัสสาวะและเอกซเรย์พบฝ้าขาวที่ปอดส่วนกลางทั้งสองข้างตับโตเล็กน้อย จึงให้ยาปฏิชีวนะไปทาน แต่อาการไม่ดีขึ้น ครั้นวันที่ ๑ กค ๒๕๔๗แพทย์เจาะน้ำไขสันหลังไปตรวจ ส่งฟิลม์เอกซเรย์ไปตรวจพบว่าเป็นวัณโรค จึงได้ส่งโจทก์ไปตรวจที่โรงพยาบาล ศ. รักษาวัณโรคจนหาย แต่ก็พิการทางสมอง นั้นเห็นว่า ผลการตรวจเลือดไม่ชี้บ่งว่าเป็นไข้เลือดออกหรือเป็นโรคชนิดใด อาการป่วยไม่รุนแรงถึงกับต้องรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลที่มีความจำเป็นต้องรับผู้ป่วยรายอื่นที่มีอาการหนักกว่าไว้รักษาเร่งด่วน เป็นการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาเบื้องต้นเพียงพอตามอาการที่แพทย์โดยทั่วไปกระทำ แม้ต่อมาจะรับเข้าไว้รักษาในโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุพร้อมเจาะเลือดไปตรวจ เอกซเรย์ปอด ผลการตรวจเลือดไม่พบเชื้อที่ชี้บ่งว่าเป็นวัณโรค แม้ผลเอกซเรย์มีฝ้าขาวที่ปอดทั้งสองข้างและตับโต แต่ขณะนั้นผู้ป่วยไม่ซึม ไม่ชัก ไข้สูง หายใจเร็ว ซึ่งยังไม่ใช่อาการชี้บ่งได้อย่างชัดเจนว่าเยื้อหุ้มสมองอักเสบ ทั้งฝ้าขาวที่ปอดและตับโตอาจเกิดจากแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้อทั่วๆไปก็ได้ อีกทั้งผู้ป่วย (นาย ม.)และผู้ปกครอง( นาง ย.)ก็ไม่เคยบอกว่า ม. ป่วยเป็นวัณโรค จึงเป็นการยากที่แพทย์จะรีบด่วนวินิจฉัยว่าป่วยเป็นวัณโรคและให้ยารักษาวัณโรคทันที การรักษาวัณโรคต้องให้ยารักษาหลายชนิดพร้อมกันเป็นเวลานานและมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายหลายประการ การที่ตรวจเลือดเอกซเรย์ปอดแล้วได้เปลี่ยนยาปฏิชีวนะที่ฆ่าเชื้อโรคได้กว้างขึ้น ให้พยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิด เป็นการรักษาโรคโดยไม่ชักช้าและเอาใจใส่ผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตามที่แพทย์ผู้มีวิชาชีพพึงกระทำ ต่อมาเมื่อมีอาการหนักขึ้น แพทย์หาสาเหตุของโรคโดยนำฟิลม์เอกซเรยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูอีกครั้งหนึ่งและเอกซเรย์สมองด้วยคอมพิวเตอร์ ตรวจปัสสาวะ เจาะน้ำไขสันหลังไปตรวจ เมื่อทราบว่ามีเชื้อวัณโรคและเยื้อหุ้มสมองอักเสบก็ให้ยารักษาวัณโรคทันทีพร้อมนำไปรักษาที่ห้องพิเศษแล้วส่งต่อไปที่โรงพยาบาล ศ. เหตุที่ไม่มีการดูดเสมหะก่อนและระหว่างนำตัวส่งโรงพยาบาล ศ. เพราะไม่ปรากฏผู้ป่วยมีเสมหะมากน้อยเท่าใด จากอาการป่วยไม่น่าเชื่อว่าเสมหะเป็นสาเหตุให้ขาดออกซิเจนจนมีผลกระทบเยื้อหุ้มสมอง แต่เยื้อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อวัณโรคกระจายไปทำลายเยื้อหุ้มสมอง ส่วนที่ผู้ป่วยมาหาแพทย์หลลายครั้งแพทย์ไม่ได้ตรวจหาเชื้อวัณโรคโดยเจาะจงและในทันที ต่อมามีการทดสอบด้วยเชื้อวัณโรคและเจาะน้ำไขสันหลังไปตรวจ อาการปอดที่เอกซเรย์พบเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ใช่เครื่องชี้วัดว่าเป็นวัณโรคเสมอไป เป็นเพียงข้อสังเกตเบื้องต้นที่แพทย์คิดว่าผู้ป่วยอาจเป็นวัณโรค แต่ตามเวทเบียนการรักษา แพทย์พยายามตรวจหาอาการและสาเหตุของโรคเป็นไปตามขั้นตอนตลอดมาไม่ชักช้า เพื่อประโยชน์สูงสุดของคนป่วยเช่นผู้มีวิชาชีพแพทย์จะกระทำ เพียงแต่การตรวจในระยะแรกไม่พบเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ป่วย หาใช่เป็นการไม่เอาใจใส่ขาดความระมัดระวังหรือประมาทเลินเล่อไม่ ไม่จำต้องพิจารณาเรื่องคดีขาดอายุความหรือไม่ ไม่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดีพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ศาลฏีกาวินิจฉัยว่า แพทย์ผู้ตรวจรักษาเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ประมาทเลินเล่อในการตรวจรักษา โดยนายแพทย์ ฐ. ไม่ได้วินิจฉัยให้ถูกต้องตามหลักวิชาแพทย์ทำให้ทราบผลว่าป่วยเป็นวัณโรคล่าช้ามิเช่นนั้นคงทราบผลแล้วตั้งแต่วันที่ ๒๖ มิ.ย.๒๕๔๗ ที่รับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาล ไม่ใช่เพิ่งทราบผลในวันที่ ๑ กค ๒๕๔๗ที่แพทย์หญิง น. แพทย์เวรเจ้าของไข้ต่อจากนายแพทย์ ฐ. ทำการรักษาวัณโรคล่าช้า แม้โจทก์หายป่วยแต่ก็พิการ พยานหลักฐานของจำเลยไม่น่ารับฟังที่อ้างว่าทางผู้ป่วยไม่แจ้งให้แพทย์ที่ทำการรักษาทราบว่า ผู้ป่วยมีอาการไอเป็นเลือด แพทย์ไม่ได้ประมาทเลินเล่อนั้น รับฟังไม่ได้ พิพากษากลับให้จำเลยต้องรับผิด โดยได้ความจากประวัติการตรวจรักษาว่าโจทก์ลุกนั่งได้ซึมเล็กน้อย มีสติรู้ตัวกินอาหารได้ ดูฟิล์มเอกซเรย์พบปอดมีฝ้าขาวๆบ่งบอกว่าอาจติดเชื้อวัณโรคหรือติดเชื้ออื่นในปอด จึงได้ให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียในปอดเพราะเข้าใจว่าติดเชื้อแบคทีเรียในปอดและได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรคแล้ว โอกาสเป็นวัณโรคจึงน้อย ได้รับยาฆ่าเชื้อมา ๔ วันอาการไม่ดีขึ้น ต่อมามีอาการชักซึ่งเป็นอาการเกี่ยวกับสมอง จึงส่งฟิล์มเอกซเรย์ที่ทำไว้ก่อนแล้วไปให้ผู้เชี่ยวชาญดูอีกครั้ง และให้เจาะน้ำเลี้ยงไขสันหลังไปตรวจพบเม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติ วิเคราะห์เม็ดเลือดขาวในไขกระดูกสันหลังผลออกมาว่าก้ำกึ่งติดเชื้อแบคทีเรียหรือวัณโรค ผลเอกซเรย์น่าเชื่อว่าเป็นวัณโรคจึงนำน้ำในกระเพาะอาหารไปตรวจหาเชื้อวัณโรค เอาน้ำยาจากโปรตีนวัณโรคฉีดเข้าผิวหนังเพื่อทราบว่ามีอาการติดเชิ้อหรือไม่พร้อมส่งไปเอกซเรย์สมอง สอบถามญาติได้ความว่า บิดาโจทก์เคยไอเป็นเลือด บิดาโจทก์เคยเอกซเรย์พบปอดเป็นฝ้าขาว ทำให้เชื่อว่าติดเชื้อวัณโรคด้วยการแพร่เชื้อจากบิดา จึงให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียและยาฆ่าเชื้อวัณโรค แล้วนำส่งไปที่โรงพยาบาล ศ. ผลการตรวจออกซิเจนขณะรับตัวของโรงพยาบาล ศ โจทก์ไม่ได้ขาดออกซิเจน การตรวจวินิจฉัยว่าโจทก์ป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่ มีหลายวิธีอย่างน้อยก็ตามที่ดำเนินการ การตัดสินใจใช้ยารักษาวัณโรค แม้มีความเสี่ยงต่ออันตรายที่อาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาที่นำมา การตรวจเลือดผู้ป่วยซ้ำ ตรวจปัสสาวะและเอ๊กซเรย์ การตรวจเลือดและปัสสาวะไม่สามารถชี้สาเหตุอาการป่วยได้ ผลเอกซเรย์ที่พบปอดส่วนกลางทั้งสองข้างเป็นฝ้าขาวไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าเป็นวัณโรคแต่อาจติดเชื้ออย่างอื่นได้ จึงให้ยาปฏิชีวนะเหมือนเดิม ให้น้ำเกลือและยาแก้อาเจียน หากภายใน ๒๔ ถึง ๔๘ ชั่วโมงอาการดีขึ้นแสดงยาได้ผล แต่หากครบ ๔๘ ชั่วโมงแล้วยังทรงอยู่จึงต้องตรวจเลือดหาสาเหตุอื่น เพราะอาจเป็นไทรอยด์ โรคฉี่หนูได้ การสั่งเพาะเชื้อพร้อมการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง ไม่พบเชื้อไทรอยด์ โรคฉี่หนูหรือแบคทีเรียในเลือด ผลเอกซเรย์พบว่ามีการติดเชื้อในปอด จึงได้นำเลือดไปตรวจหาเชื้อตัวอื่นในปอดว่าเป็นเชื้อตามที่จำเลยคาดคิดหรือไม่ พร้อมเปลี่ยนยาปฏิชีวนะตัวใหม่ให้ฆ่าเชื้อแบคทีเรียกึ่งไวรัส ซึ่งต้องรอดูผลภายในเวลา ๒ ถึง ๔๘ ชั่วโมง แต่ไม่ได้สั่งให้เจาะน้ำเลี้ยงไขสันหลังไปตรวจ เพราะโจทก์ไม่มีอาการทางระบบปราสาทที่ต้องซึม การซึมอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เพราะการเจาะน้ำเลี้ยงในไขสันหลังมีความเสี่ยงสูง หากมีก้อนเนื้อหรือแรงดันสมองในกะโหลกศรีษะสูงอาจกดก้านสมองเป็นสาเหตุให้หยุดหายใจได้ การที่จำเลยไม่นึกในลำดับต้นๆว่าเป็นวัณโรค เพราะผู้ป่วยวัณโรคจะมีอาการไข้ต่ำเรื้องรังเกิน ๒ สัปดาห์ น้ำหนักลด ร่างกายไม่แข็งแรง แต่ปรากฏว่าโจทก์แข็งแรงงและเคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค แต่อย่างไรก็ดี ผลเอกซเรย์ที่มีฝ้าขาวที่ปอดส่วนกลางทั้งสองข้างอาจเกิดจากเชื้อวัณโรคได้ ซึ่งจำเลยเองก็ได้คำนึงเรื่องนี้เช่นกัน ซึ่งหากมีข้อสงสัยแพทย์ต้องสอบประวัติผู้ป่วยว่าใกล้ชิดผู้ป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่ และทดสอบการเป็นวัณโรค การที่ไม่ได้สอบถามผู้ใกล้ชิดโจทก์ว่าเป็นวัณโรคหรือไม่ เพราะเป็นความผิดอันดับท้ายๆของจำเลย ตามหลักวิชา เมื่อตรวจโรคแล้วไม่ทราบสาเหตุ แพทย์ต้องสอบประวัติผู้ป่วย อาการผู้ป่วย ผู้ใกล้ชิดว่าป่วยเป็นโรคติดเชื้อหรือไม่ แต่ไม่ปรากฏจำเลยได้สอบถามในเรื่องดังกล่าว แม้จะคิดว่าเป็นวัณโรคเพราะยังเป็นไข้ไม่เกิน ๑๔ วัน และการสอบถามหรือการทดสอบการติดเชื้อทำเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นไข้เกิน ๑๔ วัน แต่หากสงสัยว่าเป็นวัณโรคก็สามารถสอบประวัติและการติดเชื้อได้ทันที การที่ผู้ป่วยเป็นไข้ก่อนมาโรงพยาบาล ๒ สัปดาห์แล้วมารักษาตัวที่โรงพยาบาลอีก ๓ วัน ก็ดี การที่ได้ทำการรักษาหลายอย่างแต่ก็ไม่ทราบสาเหตุของอาการป่วย สิ่งที่จำเลยไม่ได้กระทำคือ ส่งผลเอกซเรย์ให้ผู้เชี่ยวชาญดูและสอบถามผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยว่าป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่ เป็นการที่สมควรกระทำ การที่จำเลยเองก็ยังมีความคิดว่าโจทก์เป็นวัณโรค แม้จะเป็นความคิดในระดับใดก็ตาม เมื่อโจทก์ป่วยมานานพอสมควร ไม่ว่าจะเกิน ๑๔ วันหรือไม่ หรือยังไม่ถึงก็ใกล้เคียง ก็ควรซักประวัติคนใกล้ชิดโจทก์ถึงการป่วยเป็นวัณโรคด้วย เพราะยังหาสาเหตุของการป่วยไม่ได้ และจำเลยเองก็ยังสงสัยอยู่ ซึ่งก็สามารถทำได้เพราะมีข้อมูลตั้งแต่ยังเป็นเจ้าของไข้ หากได้กระทำก็จะทราบโจทก์ป่วยเป็นวัณโรคโดยไม่ต้องรอผลการตรวจน้ำไขกระดูกที่ต้องใช้เวลานานจึงทราบผล และสามารถสั่งยารักษาวัณโรคตามความจำเป็น ทำให้โจทก์ได้รับการรักษาทันเวลา เพราะขณะนั้นยังไม่มีอาการทางโรคประสาท ทั้งการที่ดูฟิลม์เอกซเรย์พบฝ้าขาวๆที่ปอด ควรคิดว่าโจทก์ป่วยเป็นวัณโรคและตรวจยืนยันให้ได้ความชัดว่าเป็นวัณโรคหรือไม่ แต่จำเลยก็ไม่ได้กระทำ การที่ไม่รักษามาแต่แรกทั้งที่พบอาการที่ปอด ทำให้โจทก์มีอาการชัก สมองได้รับการกระทบกระเทือน การที่โจทก์ต้องพิการเกิดจากการรักษาวัณโรคในสมองล่าช้า ทั้งเมื่อสอบถามบิดาโจทก์ว่าเหตุใดที่ไม่แจ้งอาการตนเองที่เอกซเรย์เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๕ พบปอดมีจุด บิดาโจทก์ก็ตอบว่าไม่คิดว่ามันจะมีผลต่อโจทก์ และจำเลยไม่ได้ถาม การที่แพทย์ผู้รักษาไม่ดำเนินการตามหลักวิชา เมื่อเอ๊กซเรยพบปอดผิดปกติควรต้องสงสัยว่าเป็นวัณโรค หรือต้องหาสาเหตุให้ทราบแน่นอนว่าเป็นโรคอะไรเกี่ยวกับปอด โดยต้องส่งฟิลม์ไปให้ผู้เชี่ยวชาญดู กรณีโจทก์อาจติดเชื้อจากคนในครอบครัว หากได้ดูฟิลมเอกซเรย์ครั้งแรกและลักษณะฟิลม์ยืนยันได้ว่าโจทก์เป็นวัณโรค เพราะมีอาการไข้เรื้อรัง ตับโต ปอดมีสีขาวเหมือนปุยฝ้ายจำเลยจะไม่สงสัยหรือว่าโจทก์ติดเชื้อแบคทีเรียอื่นซึ่งต้องหายใจเร็ว โดยโจทก์หายใจ ๒๔ถึง ๒๖ครั้งต่อนาที ซึ่งไม่ถือว่าเร็วทำให้รับฟังได้ว่านายแพทย์ ฐ ไม่ได้ทำดังกล่าวทั้งที่สามารถกระทำได้ระหว่างที่เป็นเจ้าของไข้ซึ่งขณะนั้นยังไม่เข้าขั้นอันตรายมาก จึงไม่ทราบว่าโจทก์เป็นวัณโรค เมื่อการตรวจรักษาปรากฏว่าโจทก์ป่วยเป็นวัณโรคและให้ยาวัณโรค โจทก์ต้องพิการตลอดชีวิต อาจเนื่องจากการวินิจฉัยที่ล่าช้า ทำให้เสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้องทันท่วงทีทำให้ต้องพิการไปตลอดชีวิต แสดงว่าจำเลยไม่ได้ทำการตรวจรักษาให้ถูกต้องครบถ้วนในเวลาอันสมควรตามหลักวิชาแพทย์และมาตรฐานแห่งวิชาชีพ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ซึ่งเป็นผลโดยตรงต่อความประมาทเลินเล่อของแพทย์อันเป็นการละเมิดของโจทก์ จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลละเมิดที่แพทย์ของตนกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งได้ความว่าโจทก์ไม่ทราบว่าต้องแจ้งเรื่องบิดาเป็นวัณโรคให้แพทย์ทราบ เนื่องจากไม่มีการสอบถาม จนกระทั้งแพทย์หญิง. น. สอบถาม แสดงว่าไม่ได้ปกปิด แต่ไม่รู้ว่าต้องแจ้ง ถือไม่ได้ว่าบิดามารดาโจทก์ปกปิดหรือแจ้งข้อความเท็จตามพรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๘ วรรคสอง อันจะทำให้จำเลยพ้นความรับผิด เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบถึงค่าเสียหายแต่ละประเภทที่เรียกมาตามฟ้อง จึงกำหนดให้โจทก์ตามสมควรในเรื่องค่าเสียหาย เมื่อโจทก์พิการทางสมองไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ต้องทนทุกข์ทรมานทั้งกายและจิตใจ ค่าทนทุกข์ทรมานกาย ค่าทนทุกข์ทรมานทางใจ เป็นสิทธิ์เรียกค่าเสียหายที่ไม่ใช่ตัวเงินตาม ปพพ มาตรา ๔๔๖ เมื่อโจทก์ต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาลจังหวัด ล. และมารักษาต่อที่โรงพยาบาล ศ. และต้องมารักษาตัวที่บ้านอีก ๒ เดือนและต้องพิการทางสมองไปตลอดชีวิตไม่มีโอกาสเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพเช่นเด็กอื่นและต้องรักษาตัวอย่างต่อเนื่องโดยต้องจ้างบุคคลอื่นดูแล เป็นค่าเสียหายโดยตรงที่มีสิทธิ์เรียกร้อง แม้ไม่มีใบเสร็จมาแสดง ไม่มีรายละเอียดว่าได้จ่ายเงินไปเท่าไหร่ แม้ไม่ใช่เงินที่พยานโจทก์เบิกความเหมารวมทึ้งหมดว่า สิบหกล้านบาทเศษ เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ความร้ายแรงแห่งละเมิดกำหนดค่าเสียหายเป็นเงินสองล้านบาท ได้รับดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดจุดห้าต่อปีนับแต่วันที่ทำละเมิด(๒๖มิ.ย.๒๕๔๗)จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ โจทก์เป็นผู้บริโภคได้รับค่ายกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง คืนค่ารับรองเอกสาร และค่าใช้จ่ายในการส่งคำคู่ความในชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ คำพิพากษาฏีกา๑๒๔๙๘/๒๕๕๘
ข้อสังเกต๑.ในทางแพ่ง การที่แพทย์ไม่รักษาคนไข้ตามหลักวิชาการ จนเป็นเหตุให้คนไข้มีอาการพิการทางสมองตลอดชีวิต เป็นกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายต่อร่างกาย อนามัย และอาจถึงแก่ชีวิต หากรักษาไม่ทันท่วงทีอาจถึงแก่ความตายได้ แม้โจทก์ไม่ตายแต่ก็ได้รับอันตรายสาหัสต้องทุพพลภาคและพิการไปตลอดชีวิต อันเป็นการกระทำละเมิดในทางแพ่ง ตาม ปพพ มาตรา ๔๒๐และพรบ. ความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณะสุขซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่แพทย์ในสังกัดตนกระทำการไปตามหน้าที่ โดย กระทรวงสาธารณะสุขเป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพรบ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ ในขณะที่แพทย์ผู้ทำการตรวจรักษาเป็น “ เจ้าหน้าที่” ตามความหมายในพรบ.ความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ฯ ดังนั้นเมื่อเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของตนได้กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ กระทรวงสาธารณะสุขเป็นหน่วยงานของรัฐจึงต้องรับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวตาม พรบ.ความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ฯ มาตรา ๕ โจทก์สามารถฟ้องหน่วยงานของรัฐได้โดยตรง แต่จะฟ้อง” เจ้าหน้าที่” ไม่ได้ ตาม มาตรา ๗ ของกฎหมายดังกล่าว โดยอาจยื่นคำร้องต่อ “ หน่วยงานของรัฐ”ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิด หากหน่วยงานของรัฐวินิจฉัยแล้ว ผู้เสียหายไม่พอใจสามารถร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฏีกาได้ภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผล ตามมาตรา ๕ และ ๑๑ ของกฏหมายดังกล่าว หากมีการจัดตั้งศาลปกครองแล้วให้สิทธิ์ในการร้องทุกข์ดังกล่าวเป็นสิทธิ์ที่ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ตามมาตรา ๑๔ ของกฎหมายดังกล่าว เมื่อหน่วยงานของรัฐได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการกระทำโดยละเมิดของเจ้าหน้าที่แล้ว ย่อมมีสิทธิ์เรียกให้ เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดที่จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หน่วยงานของรัฐได้ ตามมาตรา ๘
๒.ในทางอาญา กระทำดังกล่าวเป็นการกระทำโดยไม่เจตนาที่จะให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ป่วยต้องทุพลภาคไปตลอดชีวิตแต่เป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะผู้เป็นแพทย์จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และแพทย์ผู้ทำการรักษาอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ การกระทำของแพทย์เป็นประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ตาม ปอ มาตรา ...๓๐๐..
๓.การกระทำของจำเลยที่เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงคือ
๓.๑โจทก์ไปหาแพทย์ที่โรงพยาบาลด้วยอาการตัวร้อน แพทย์พบว่ามีอาการปอดบวมและตับโต ได้ใช้เครื่องฟังหัวใจและตรวจปอด แล้วไม่ยอมส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลอื่นตามที่โจทก์ร้องขอจนกระทั้งมีผลการตรวจเอกซเรย์ปอดพบเป็นวัณโรคแพร่กระจายไปที่ปอด ตับ เยื้อหุ้มสมอง จึงให้ยารักษาวัณโรคแล้วส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น แต่ก็ทำให้สมองโจทก์พิการและทุพพลภาคตลอดชีวิต หากมีการส่งไปตรวจที่โรงพยาบาลอื่นที่มีเครื่องมือดีกว่านี้ อาจสามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและสามารถรักษาโรคได้ถูกต้อง โจทก์อาจไม่ต้องพิการทางสมอง
๒. แพทย์ให้ยาแล้วให้กลับบ้าน อีก ๓ วันต่อมา(วันที่๒๓ มิ.ย.๒๕๔๗) โจทก์มีอาการเป็นไข้จึงไปพบแพทย์อีก แพทย์เจาะเลือดเพื่อตรวจหาสาเหตุให้ยาแล้วให้กลับบ้าน ต่อมาอีก ๓ วัน(วันที่ ๒๖ มิ.ย.๒๕๔๗) โจทก์ไปหาแพทย์อีก แพทย์ตรวจเลือด ปัสสาวะและเอกซเรย์พบฝ้าขาวที่ปอดส่วนกลางทั้งสองข้างตับโตเล็กน้อย จึงให้ยาปฏิชีวนะไปทาน แต่อาการไม่ดีขึ้น ครั้นวันที่ ๑ กค ๒๕๔๗แพทย์เจาะน้ำไขสันหลังไปตรวจ ส่งฟิลม์เอกซเรย์ไปตรวจพบว่าเป็นวัณโรค จึงได้ส่งโจทก์ไปตรวจที่โรงพยาบาล ศ. รักษาวัณโรคจนหาย แต่ก็พิการทางสมอง เห็นได้ว่าการรักษาตัวทั้งสองครั้งโดยให้ยาแก่โจทก์อาการไม่ดีขึ้น ส่อให้เห็นว่าวินิจฉัยโรคไม่ถูกต้อง ให้ยาไม่ถูกต้องโรคจึงไม่หาย เมื่อให้ยาแล้วไม่หายต้องหาสาเหตุของโรคใหม่ แต่ไม่กระทำถือเป็นความบกพร่อง
๓.แม้ผลการตรวจเลือดไม่ชี้บ่งว่าเป็นไข้เลือดออกหรือเป็นโรคชนิดใด อาการป่วยไม่รุนแรงถึงกับต้องรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลที่มีความจำเป็นต้องรับผู้ป่วยรายอื่นที่มีอาการหนักกว่าไว้รักษาเร่งด่วนก็ตาม การรักษาดังกล่าวเป็นการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาเบื้องต้นเพียงพอตามอาการที่แพทย์โดยทั่วไปกระทำ แต่ต่อมาการที่จำเลยรับเข้าไว้รักษาในโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุพร้อมเจาะเลือดไปตรวจ เอกซเรย์ปอด แสดงให้เห็นว่าจำเลยเริ่มรู้แล้วว่าตนรักษาโรคไม่ถูกต้อง วินิจฉัยโรคไม่ถูกต้องในตอนแรกจึงไม่สามารถรักษาให้หายได้จึงจำเป็นต้องรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อหาสาเหตุของโรค และหากอาการไม่รุนแรงทางจำเลยคงไม่รับเข้ามานอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจำเป็นต้องรับผู้ป่วยรายอื่นที่มีอาการหนักกว่าไว้รักษาเร่งด่วน แสดงว่าอาการของโจทก์มีอาการหนักและเร่งด่วนไม่งั้นอาจถึงแก่ชีวิตได้จำเลยจึงได้รับตัวไว้รักษา แทนที่จะรับตัวไว้เสียแต่แรก เพราะการวินิจฉัยโรคไม่ถูกต้องจึงทำให้โจทก์เสียโอกาสที่จะได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลแทนการรับยาไปทานที่บ้าน
๔.แม้ผลการตรวจเลือดไม่พบเชื้อที่ชี้บ่งว่าเป็นวัณโรค แต่ผลเอกซเรย์มีฝ้าขาวที่ปอดทั้งสองข้างและตับโต แม้ในขณะนั้นผู้ป่วยไม่ซึม ไม่ชัก ไข้สูง หายใจเร็ว ซึ่งยังไม่ใช่อาการชี้บ่งได้อย่างชัดเจนว่าเยื้อหุ้มสมองอักเสบ แต่การที่มีฝ้าขาวที่ปอดและตับโตอาจเกิดจากแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้อทั่วๆไปก็ได้หรืออาจเกิดจากการเป็นวัณโรคก็ได้ แม้อาการดังกล่าวจะเกิดได้จากหลายโรคก็ตาม แต่ทางจำเลยก็ยังไม่ได้ส่งผลการตรวจเอกเรย์ไปให้ผู้ชำนาญดูเพื่อยืนยันว่าเป็นโรคอะไร ทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องว่าป่วยเป็นโรคอะไร หากได้ส่งเอกซเรย์ไปให้ผู้เชี่ยวชาญดูก็อาจทราบว่าเป็นโรคใดจะได้รักษาตัวได้ถูกต้อง
๕. การที่นาง ย. ผู้ปกครองโจทก์(นาย ม.)ไม่เคยบอกว่า ม. ป่วยเป็นวัณโรค ก็ไม่ใช่เป็นการยากที่แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคหรือไม่อย่างไร จะอ้างว่าฝ่ายโจทก์ไม่บอกอย่างเดียวไม่ได้ ฝ่ายโจทก์เองอาจไม่ทราบว่าต้องบอกเพราะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรค เมื่อโจทก์ไม่บอก ทำไมจำเลยไม่ถาม หากจำเลยถามสักนิดก็อาจวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องพร้อมนำฟิล์มเอกซเรย์ไปให้ผู้ชำนาญดูเพื่อยืนยันผลว่าเป็นวัณโรคหรือไม่? ข้ออ้างว่า
-ไม่ใช่กรณีเร่งด่วนที่ต้องรีบด่วนวินิจฉัยว่าป่วยเป็นวัณโรคและให้ยารักษาวัณโรคทันที
-การรักษาวัณโรคต้องให้ยารักษาหลายชนิดพร้อมกันเป็นเวลานานและมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายหลายประการ
-การที่ตรวจเลือดเอกซเรย์ปอดแล้วได้เปลี่ยนยาปฏิชีวนะที่ฆ่าเชื้อโรคได้กว้างขึ้น ให้พยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิด เป็นการรักษาโรคโดยไม่ชักช้าและเอาใจใส่ผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตามที่แพทย์ผู้มีวิชาชีพพึงกระทำ
ดังนี้ไม่สามารถอ้างได้ เพราะ ต่อมาเมื่อผู้ป่วยมีอาการหนักขึ้น แพทย์หาสาเหตุของโรคไม่ได้จนต้องนำฟิลม์เอกซเรย์ให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูอีกครั้งหนึ่งและเอกซเรย์สมองด้วยคอมพิวเตอร์ ตรวจปัสสาวะ เจาะน้ำไขสันหลังไปตรวจ เมื่อทราบว่ามีเชื้อวัณโรคและเยื้อหุ้มสมองอักเสบก็ให้ยารักษาวัณโรคทันทีพร้อมนำไปรักษาที่ห้องพิเศษแล้วส่งต่อไปที่โรงพยาบาล ศ.นั้นเห็นว่า ไม่มีเหตุผลใดที่ไม่ส่งฟิลม์เอกซเรย์ให้ผู้เชี่ยวชาญดู การที่รักษาแล้วไม่หายยิ่งต้องหาสาเหตุที่แท้จริง การที่ปล่อยให้เวลาเนินนานออกไปจนผู้ป่วยมีอาการหนักขึ้นจึงนำฟิล์มเอกซเรย์ไปให้ผู้ชำนาญดู ถือเป็นความบกพร่องเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงสำหรับผู้มีวิชาชีพแพทย์ที่ต้องดูแลอาการคนป่วยต้องกระทำ หากพลาดเพียงนิดเดียวผู้ป่วยอาจถึงแก่ความตายได้ จะอ้างว่าเข้าข้อยกเว้นตามพรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๘ วรรคสอง อันจะทำให้จำเลยพ้นความรับผิดไม่ได้ โจทก์ไม่รู้ว่าต้องบอก ไม่ใช่รู้ว่าต้องบอกแล้วไม่บอกแต่ปกปิดข้อความจริง เมื่อไม่รู้ต้องบอกแล้วจะให้บอกได้ไง ทำไมแพทย์ไม่ถามทั้งที่อาการดังกล่าวก็เป็นอาการของวัณโรคด้วย
๖.ข้ออ้างที่ว่า เหตุที่ไม่มีการดูดเสมหะก่อนและระหว่างนำตัวส่งโรงพยาบาล ศ. เพราะ
-ไม่ปรากฏผู้ป่วยมีเสมหะมากน้อยเท่าใด
-จากอาการป่วยไม่น่าเชื่อว่าเสมหะเป็นสาเหตุให้ขาดออกซิเจนจนมีผลกระทบเยื้อหุ้มสมอง
-แต่เยื้อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อวัณโรคกระจายไปทำลายเยื้อหุ้มสมอง
นั้นเห็นว่า จะนำมาอ้างไม่ได้ โจทก์มาหาแพทย์หลายครั้งแพทย์ไม่ได้ตรวจหาเชื้อวัณโรคโดยเจาะจงและในทันที ต่อมามีการทดสอบด้วยเชื้อวัณโรคและเจาะน้ำไขสันหลังไปตรวจ แม้อาการปอดที่เอกซเรย์พบเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ใช่เครื่องชี้วัดว่าเป็นวัณโรคเสมอไป เป็นเพียงข้อสังเกตเบื้องต้นที่แพทย์คิดว่าผู้ป่วยอาจเป็นวัณโรค การที่ศาลชั้น้ต้นวินิจแยว่าตามเวทเบียนการรักษา แพทย์พยายามตรวจหาอาการและสาเหตุของโรคเป็นไปตามขั้นตอนตลอดมาไม่ชักช้า เพื่อประโยชน์สูงสุดของคนป่วยเช่นผู้มีวิชาชีพแพทย์จะกระทำ เพียงแต่การตรวจในระยะแรกไม่พบเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ป่วย หาใช่เป็นการไม่เอาใจใส่ขาดความระมัดระวังหรือประมาทเลินเล่อไม่ ตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยนั้นเห็นว่า แม้ไม่ได้มาตรวจด้วยอาการเป็นวัณโรค แต่เมื่อให้ยาและทำการรักษาแล้วไม่หายต้องหาสาเหตุของโรคใหม่ อาการโจทก์อาจเป็นวัณโรคหรือไม่ใช่ก็ได้ แต่เมื่อไม่แน่ใจว่าจะใช่หรือไม่ใช่ การส่งฟิลม์เอกซเรย์ไปตรวจเพื่อหาสาเหตุย่อมเป็นหนทางที่ดีที่สุด การไม่เอาฟิลม์เอกซเรย์ไปตรวจจนผู้ป่วยมีอาการทรุดหนักแล้วจึงเอาฟิลม์เอกซเรย์ไปตรวจเป็นการส่อถึงความประมาทเลินเล่อของผู้มีวิชาชีพพึงกระทำ
๗.ที่ศาลชั้นต้นไม่จำต้องพิจารณาเรื่องคดีขาดอายุความหรือไม่ ไม่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดีเพราะเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องโดย ศาลชั้นต้นเห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่เป็นการประมาทเลินเล่ออันจะเป็นความรับผิดทางแพ่งเรื่องละเมิดจึงไม่จำต้องเป็นต้องพิจารณาว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ เพราะอย่างไงศาลชั้นต้นก็ยกฟ้องอยู่ดี
๘.สิทธิ์เรียกร้องคิ่สินไหมทดแทนจาก “ เจ้าหน้าที่ “มีอายุความ ๒ ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีที่ “ หน่วยงานของรัฐ” เห็นว่า “ เจ้าหน้าที่” ไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าต้องรับผิด สิทธิ์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนมีอายุความ ๑ ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง เป็นไปตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง ของความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ฯ หาใช่ใช้อายุความ ๑ ปี ตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘ ที่มีอายุความ ๑ ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘ ดังนั้นอายุความตามความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ อาจยาวกว่าอายุความตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘
๙.การที่ แพทย์ผู้ตรวจรักษาเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ ถือเป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านนี้โดยตรงเมื่อไม่ได้วินิจฉัยให้ถูกต้องตามหลักวิชาแพทย์ทำให้ทราบผลว่าป่วยเป็นวัณโรคล่าช้า หากกระทำการส่งฟิลม์เอ็กซเรย์ไปตรวจแต่เนินๆคงทราบผลแล้วตั้งแต่วันที่ ๒๖ มิ.ย.๒๕๔๗ ที่รับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลว่าผู้ป่วยป่วยเป็นวัณโรค ไม่ใช่เพิ่งทราบผลในวันที่ ๑ กค ๒๕๔๗ตามที่แพทย์หญิง น. แพทย์เวรเจ้าของไข้ต่อจากนายแพทย์ ฐ.ทำการสอบถาม หากไม่มีการสอบถามโดยแพทย์หญิง น. ก็อาจไม่มีการส่งฟิลม์ไปตรวจและไม่สามารถวินิจแยโรคได้ถูกต้องทันท่วงที โจทก์อาจถึงแก่ความตายได้ แม้ในคดีนี้โจทก์หายป่วยแต่ก็พิการ จึงเป็นกากรกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
๑๐. พยานหลักฐานของจำเลยที่อ้างว่าทางผู้ป่วยไม่แจ้งให้แพทย์ที่ทำการรักษาทราบว่า ผู้ป่วยมีอาการไอเป็นเลือด แพทย์ไม่ได้ประมาทเลินเล่อนั้น รับฟังไม่ได้ โดยได้ความจากประวัติการตรวจรักษาว่าโจทก์ลุกนั่งได้ซึมเล็กน้อย มีสติรู้ตัวกินอาหารได้ ดูฟิล์มเอกซเรย์พบปอดมีฝ้าขาวๆบ่งบอกว่าอาจติดเชื้อวัณโรคหรือติดเชื้ออื่นในปอด จึงได้ให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียในปอดเพราะเข้าใจว่าติดเชื้อแบคทีเรียในปอดและได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรคแล้ว โอกาสเป็นวัณโรคจึงน้อย ได้รับยาฆ่าเชื้อมา ๔ วันอาการไม่ดีขึ้น ต่อมามีอาการชักซึ่งเป็นอาการเกี่ยวกับสมอง จึงส่งฟิล์มเอกซเรย์ที่ทำไว้ก่อนแล้วไปให้ผู้เชี่ยวชาญดูอีกครั้ง และให้เจาะน้ำเลี้ยงไขสันหลังไปตรวจพบเม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติ วิเคราะห์เม็ดเลือดขาวในไขกระดูกสันหลังผลออกมาว่าก้ำกึ่งติดเชื้อแบคทีเรียหรือวัณโรค ผลเอกซเรย์น่าเชื่อว่าเป็นวัณโรคจึงนำน้ำในกระเพาะอาหารไปตรวจหาเชื้อวัณโรค เอาน้ำยาจากโปรตีนวัณโรคฉีดเข้าผิวหนังเพื่อทราบว่ามีอาการติดเชื้อหรือไม่พร้อมส่งไปเอกซเรย์สมอง ทั้งได้ความว่า บิดาโจทก์เคยไอเป็นเลือด บิดาโจทก์เคยเอกซเรย์พบปอดเป็นฝ้าขาว ทำให้เชื่อว่าติดเชื้อวัณโรคด้วยการแพร่เชื้อจากบิดา จึงให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียและยาฆ่าเชื้อวัณโรค แล้วนำส่งไปที่โรงพยาบาล ศ. ผลการตรวจออกซิเจนขณะรับตัวของโรงพยาบาล ศ โจทก์ไม่ได้ขาดออกซิเจน การตรวจวินิจฉัยว่าโจทก์ป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่ มีหลายวิธีอย่างน้อยก็ตามที่ดำเนินการ การตัดสินใจใช้ยารักษาวัณโรค แม้มีความเสี่ยงต่ออันตรายที่อาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาที่นำมา การตรวจเลือดผู้ป่วยซ้ำ ตรวจปัสสาวะและเอ็กซเรย์ ก็ตาม แต่
๑๑.เมื่อ การตรวจเลือดและปัสสาวะไม่สามารถชี้สาเหตุอาการป่วยได้ ผลเอกซเรย์ที่พบปอดส่วนกลางทั้งสองข้างเป็นฝ้าขาวไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าเป็นวัณโรคแต่อาจติดเชื้ออย่างอื่นได้ จึงให้ยาปฏิชีวนะเหมือนเดิม ให้น้ำเกลือและยาแก้อาเจียน หากภายใน ๒๔ ถึง ๔๘ ชั่วโมงอาการดีขึ้นแสดงยาได้ผล แต่หากครบ ๔๘ ชั่วโมงแล้วยังทรงอยู่จึงต้องตรวจเลือดหาสาเหตุอื่น เพราะอาจเป็นไทรอยด์ โรคฉี่หนูได้ การสั่งเพาะเชื้อพร้อมการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง ไม่พบเชื้อไทรอยด์ โรคฉี่หนูหรือแบคทีเรียในเลือด ผลเอกซเรย์พบว่ามีการติดเชื้อในปอด จึงได้นำเลือดไปตรวจหาเชื้อตัวอื่นในปอดว่าเป็นเชื้อตามที่จำเลยคาดคิดหรือไม่ พร้อมเปลี่ยนยาปฏิชีวนะตัวใหม่ให้ฆ่าเชื้อแบคทีเรียกึ่งไวรัส ซึ่งต้องรอดูผลภายในเวลา ๒ ถึง ๔๘ ชั่วโมง แต่ไม่ได้สั่งให้เจาะน้ำเลี้ยงไขสันหลังไปตรวจ เพราะโจทก์ไม่มีอาการทางระบบปราสาทที่ต้องซึม การซึมอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เพราะการเจาะน้ำเลี้ยงในไขสันหลังมีความเสี่ยงสูง หากมีก้อนเนื้อหรือแรงดันสมองในกะโหลกศรีษะสูงอาจกดก้านสมองเป็นสาเหตุให้หยุดหายใจได้ ข้ออ้างว่าอาจเกิดอันตรายแก่คนไข้ เป็นเพียงการ “สันนิษฐาน” ว่าหากกระทำแล้วอาจเป็นอันตรายแก่ผู้ป่วย แต่หากไม่กระทำแล้วผู้ป่วยอาจได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แต่การสันนิษฐานดังกล่าวผิดพลาดจนไม่สามารถแก้ไขได้ การส่งฟิล์มเอกเรย์ไปให้ผู้ชำนาญการตรวจก็เนิ่นช้าไปจนอาการโจทก์กำเริบ
๑๒. การที่จำเลยไม่นึกในลำดับต้นๆว่าเป็นวัณโรค เพราะผู้ป่วยวัณโรคจะมีอาการไข้ต่ำเรื้องรังเกิน ๒ สัปดาห์ น้ำหนักลด ร่างกายไม่แข็งแรง แต่ปรากฏว่าโจทก์แข็งแรงและเคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค ก็ตาม แต่ การเคยฉีดวรรคซีนมาก่อนก็ไม่ให้ผลยืนยัน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ว่าจะไม่ย้อนกลับมาเป็นอีก
๑๓.ส่วน ผลเอกซเรย์ที่มีฝ้าขาวที่ปอดส่วนกลางทั้งสองข้างอาจเกิดจากเชื้อวัณโรคได้ ซึ่งจำเลยเองก็ได้คำนึงเรื่องนี้เช่นกัน ซึ่งหากมีข้อสงสัยแพทย์ต้องสอบประวัติผู้ป่วยว่าใกล้ชิดผู้ป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่ และทดสอบการเป็นวัณโรค การที่ไม่ได้สอบถามผู้ใกล้ชิดโจทก์ว่าเป็นวัณโรคหรือไม่ เพราะเป็นความคิดอันดับท้ายๆของจำเลยที่จะรับฟังว่าเป็นวัณโรคเป็นความคิดที่ไม่เผื่อไว้ก่อนว่าความคิดนี้อาจผิดพลาด หากจำเลยเฉลียวใจสักนิดว่าโจทก์อาจป่วยเป็นวัณโรคก็คงนำผลเอกซเรย์ให้แพทย์ผู้ชำนาญตรวจ แต่แรก แต่จำเลยก็หาได้กระทำการดังกล่าวไม่ จึง เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของแพทย์
๑๔. ตามหลักวิชา เมื่อตรวจโรคแล้วไม่ทราบสาเหตุ แพทย์ต้องสอบประวัติผู้ป่วย อาการผู้ป่วย ผู้ใกล้ชิดว่าป่วยเป็นโรคติดเชื้อหรือไม่ แต่ไม่ปรากฏจำเลยได้สอบถามในเรื่องดังกล่าว แม้จะคิดว่าเป็นวัณโรคเพราะยังเป็นไข้ไม่เกิน ๑๔ วัน และการสอบถามหรือการทดสอบการติดเชื้อทำเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นไข้เกิน ๑๔ วัน แต่หากสงสัยว่าเป็นวัณโรคก็สามารถสอบประวัติและการติดเชื้อได้ทันที การที่ผู้ป่วยเป็นไข้ก่อนมาโรงพยาบาล ๒ สัปดาห์แล้วมารักษาตัวที่โรงพยาบาลอีก ๓ วัน ก็ดี การที่ได้ทำการรักษาหลายอย่างแต่ก็ไม่ทราบสาเหตุของอาการป่วยก็ดี สิ่งที่จำเลยไม่ได้กระทำคือ ส่งผลเอกซเรย์ให้ผู้เชี่ยวชาญดูและสอบถามผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยว่าป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่ เป็นการที่สมควรกระทำ การที่จำเลยเองก็ยังมีความคิดว่าโจทก์เป็นวัณโรค แม้จะเป็นความคิดในระดับใดก็ตาม เมื่อโจทก์ป่วยมานานพอสมควร ไม่ว่าจะเกิน ๑๔ วันหรือไม่ หรือยังไม่ถึงก็ใกล้เคียง ก็ควรซักประวัติคนใกล้ชิดโจทก์ถึงการป่วยเป็นวัณโรคด้วย เพราะยังหาสาเหตุของการป่วยไม่ได้ และจำเลยเองก็ยังสงสัยอยู่ ซึ่งก็สามารถทำได้เพราะมีข้อมูลตั้งแต่ยังเป็นเจ้าของไข้ หากได้กระทำก็จะทราบโจทก์ป่วยเป็นวัณโรคโดยไม่ต้องรอผลการตรวจน้ำไขกระดูกที่ต้องใช้เวลานานจึงทราบผล และสามารถสั่งยารักษาวัณโรคตามความจำเป็น ทำให้โจทก์ได้รับการรักษาทันเวลา เพราะขณะนั้นยังไม่มีอาการทางโรคประสาท ทั้งการที่ดูฟิลม์เอกซเรย์พบฝ้าขาวๆที่ปอด ควรคิดว่าโจทก์ป่วยเป็นวัณโรคและตรวจยืนยันให้ได้ความชัดว่าเป็นวัณโรคหรือไม่ แต่จำเลยก็ไม่ได้กระทำ การที่ไม่รักษามาแต่แรกทั้งที่พบอาการที่ปอด ทำให้โจทก์มีอาการชัก สมองได้รับการกระทบกระเทือน การที่โจทก์ต้องพิการเกิดจากการรักษาวัณโรคในสมองล่าช้า ทั้งเมื่อสอบถามบิดาโจทก์ว่าเหตุใดที่ไม่แจ้งอาการตนเองที่เอกซเรย์เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๕ พบปอดมีจุด บิดาโจทก์ก็ตอบว่าไม่คิดว่ามันจะมีผลต่อโจทก์ และจำเลยไม่ได้ถาม การที่แพทย์ผู้รักษาไม่ดำเนินการตามหลักวิชา เมื่อเอ็กซเรย์พบปอดผิดปกติควรต้องสงสัยว่าเป็นวัณโรค หรือต้องหาสาเหตุให้ทราบแน่นอนว่าเป็นโรคอะไรเกี่ยวกับปอด โดยต้องส่งฟิล์มไปให้ผู้เชี่ยวชาญดู กรณีโจทก์อาจติดเชื้อจากคนในครอบครัว หากได้ดูฟิล์มเอกซเรย์ครั้งแรกและลักษณะฟิล์มยืนยันได้ว่าโจทก์เป็นวัณโรค เพราะมีอาการไข้เรื้อรัง ตับโต ปอดมีสีขาวเหมือนปุยฝ้ายจำเลยจะไม่สงสัยหรือว่าโจทก์ติดเชื้อแบคทีเรียอื่นซึ่งต้องหายใจเร็ว โดยโจทก์หายใจ ๒๔ถึง ๒๖ครั้งต่อนาที ซึ่งไม่ถือว่าเร็วทำให้รับฟังได้ว่านายแพทย์ ฐ ไม่ได้ทำดังกล่าวทั้งที่สามารถกระทำได้ระหว่างที่เป็นเจ้าของไข้ซึ่งขณะนั้นยังไม่เข้าขั้นอันตรายมาก จึงไม่ทราบว่าโจทก์เป็นวัณโรค
๑๕.เมื่อการตรวจรักษาปรากฏว่าโจทก์ป่วยเป็นวัณโรคและให้ยาวัณโรค โจทก์ต้องพิการตลอดชีวิต อาจเนื่องจากการวินิจฉัยที่ล่าช้า ทำให้เสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้องทันท่วงทีทำให้ต้องพิการไปตลอดชีวิต แสดงว่าจำเลยไม่ได้ทำการตรวจรักษาให้ถูกต้องครบถ้วนในเวลาอันสมควรตามหลักวิชาแพทย์และมาตรฐานแห่งวิชาชีพ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ซึ่งเป็นผลโดยตรงต่อความประมาทเลินเล่อของแพทย์อันเป็นการละเมิดของโจทก์ จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลละเมิดที่แพทย์ของตนกระทำในการปฏิบัติหน้าที่
๑๖.แม้ทางโจทก์ซึ่งเป็น “ ผู้รับบริการ” ตาม พรบ.สุขภาพแห่งชาติ ฯ มีหน้าที่ต้องแจ้งข้อเท็จจริงที่ตนรู้หรือควรบอกให้แจ้งแก่แพทย์ ซึ่งเป็นผู้ “ ให้บริการ” ก็ตาม เมื่อได้ความว่าโจทก์ไม่ทราบว่าต้องแจ้งเรื่องบิดาเป็นวัณโรคให้แพทย์ทราบ เนื่องจากไม่มีการสอบถาม จนกระทั้งแพทย์หญิง. น. สอบถาม แสดงว่าไม่ได้ปกปิด แต่ไม่รู้ว่าต้องแจ้ง ถือไม่ได้ว่าบิดามารดาโจทก์ปกปิดในข้อเท็จจริงที่ตนรู้และควรบอกให้แจ้งหรือแจ้งข้อความเท็จในข้อเท็จจริงที่ตนรู้และควรบอกให้แจ้งตามพรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๘ วรรคสอง อันจะทำให้จำเลยพ้นความรับผิด หาได้ไม่
๑๗.เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบถึงค่าเสียหายแต่ละประเภทที่เรียกมาตามฟ้อง จึงกำหนดให้โจทก์ตามสมควรในเรื่องค่าเสียหาย เมื่อโจทก์พิการทางสมองไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ต้องทนทุกข์ทรมานทั้งกายและจิตใจ ค่าทนทุกข์ทรมานกาย ค่าทนทุกข์ทรมานทางใจ เป็นสิทธิ์เรียกค่าเสียหายที่ไม่ใช่ตัวเงินตาม ปพพ มาตรา ๔๔๖ ที่โจทก์สามารถเรียกร้องได้ตามบทกฏหมายดังกล่าว
๑๘. เมื่อโจทก์ต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาลจังหวัด ล. และมารักษาต่อที่โรงพยาบาล ศ. และต้องมารักษาตัวที่บ้านอีก ๒ เดือนและต้องพิการทางสมองไปตลอดชีวิตไม่มีโอกาสเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพเช่นเด็กอื่นและต้องรักษาตัวอย่างต่อเนื่องโดยต้องจ้างบุคคลอื่นดูแล เป็นค่าเสียหายโดยตรงที่มีสิทธิ์เรียกร้อง แม้ไม่มีใบเสร็จมาแสดง ไม่มีรายละเอียดว่าได้จ่ายเงินไปเท่าไหร่ แม้ไม่ใช่เงินที่พยานโจทก์เบิกความเหมารวมทึ้งหมดว่า สิบหกล้านบาทเศษ เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ความร้ายแรงแห่งละเมิดกำหนดค่าเสียหายเป็นเงินสองล้านบาท เมื่อการกระทำดังกล่าวของแพทย์เป็นการละเมิดถือผิดนัดนับแต่วันทำละเมิด ปพพ มาตรา๒๐๖ เมื่อหนี้ค่ารักษาพยาบาลเป็นหนี้เงิน อันจะต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างที่ผิดนัด ตาม ปพพ มาตรา ๒๒๔ โจทก์จึงสามารถเรียกดอกเบี้ยได้ร้อยละเจ็ดจุดห้าต่อปีนับแต่วันที่ทำละเมิด(๒๖มิ.ย.๒๕๔๗)จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
๑๙.คดีนี้เป็นคดีคุ้มครองผู้บริโภค โจทก์ซึ่งเป็นผู้บริโภคได้รับค่ายกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง ตามมาตรา ๓๙ พรบ.คุ้มครองผู้บริโภคฯคืนค่ารับรองเอกสาร และค่าใช้จ่ายในการส่งคำคู่ความในชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์
ข้อสังเกต๑.ในทางแพ่ง การที่แพทย์ไม่รักษาคนไข้ตามหลักวิชาการ จนเป็นเหตุให้คนไข้มีอาการพิการทางสมองตลอดชีวิต เป็นกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายต่อร่างกาย อนามัย และอาจถึงแก่ชีวิต หากรักษาไม่ทันท่วงทีอาจถึงแก่ความตายได้ แม้โจทก์ไม่ตายแต่ก็ได้รับอันตรายสาหัสต้องทุพพลภาคและพิการไปตลอดชีวิต อันเป็นการกระทำละเมิดในทางแพ่ง ตาม ปพพ มาตรา ๔๒๐และพรบ. ความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณะสุขซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่แพทย์ในสังกัดตนกระทำการไปตามหน้าที่ โดย กระทรวงสาธารณะสุขเป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพรบ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ ในขณะที่แพทย์ผู้ทำการตรวจรักษาเป็น “ เจ้าหน้าที่” ตามความหมายในพรบ.ความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ฯ ดังนั้นเมื่อเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของตนได้กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ กระทรวงสาธารณะสุขเป็นหน่วยงานของรัฐจึงต้องรับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวตาม พรบ.ความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ฯ มาตรา ๕ โจทก์สามารถฟ้องหน่วยงานของรัฐได้โดยตรง แต่จะฟ้อง” เจ้าหน้าที่” ไม่ได้ ตาม มาตรา ๗ ของกฎหมายดังกล่าว โดยอาจยื่นคำร้องต่อ “ หน่วยงานของรัฐ”ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิด หากหน่วยงานของรัฐวินิจฉัยแล้ว ผู้เสียหายไม่พอใจสามารถร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฏีกาได้ภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผล ตามมาตรา ๕ และ ๑๑ ของกฏหมายดังกล่าว หากมีการจัดตั้งศาลปกครองแล้วให้สิทธิ์ในการร้องทุกข์ดังกล่าวเป็นสิทธิ์ที่ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ตามมาตรา ๑๔ ของกฎหมายดังกล่าว เมื่อหน่วยงานของรัฐได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการกระทำโดยละเมิดของเจ้าหน้าที่แล้ว ย่อมมีสิทธิ์เรียกให้ เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดที่จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หน่วยงานของรัฐได้ ตามมาตรา ๘
๒.ในทางอาญา กระทำดังกล่าวเป็นการกระทำโดยไม่เจตนาที่จะให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ป่วยต้องทุพลภาคไปตลอดชีวิตแต่เป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะผู้เป็นแพทย์จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และแพทย์ผู้ทำการรักษาอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ การกระทำของแพทย์เป็นประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ตาม ปอ มาตรา ...๓๐๐..
๓.การกระทำของจำเลยที่เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงคือ
๓.๑โจทก์ไปหาแพทย์ที่โรงพยาบาลด้วยอาการตัวร้อน แพทย์พบว่ามีอาการปอดบวมและตับโต ได้ใช้เครื่องฟังหัวใจและตรวจปอด แล้วไม่ยอมส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลอื่นตามที่โจทก์ร้องขอจนกระทั้งมีผลการตรวจเอกซเรย์ปอดพบเป็นวัณโรคแพร่กระจายไปที่ปอด ตับ เยื้อหุ้มสมอง จึงให้ยารักษาวัณโรคแล้วส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น แต่ก็ทำให้สมองโจทก์พิการและทุพพลภาคตลอดชีวิต หากมีการส่งไปตรวจที่โรงพยาบาลอื่นที่มีเครื่องมือดีกว่านี้ อาจสามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและสามารถรักษาโรคได้ถูกต้อง โจทก์อาจไม่ต้องพิการทางสมอง
๒. แพทย์ให้ยาแล้วให้กลับบ้าน อีก ๓ วันต่อมา(วันที่๒๓ มิ.ย.๒๕๔๗) โจทก์มีอาการเป็นไข้จึงไปพบแพทย์อีก แพทย์เจาะเลือดเพื่อตรวจหาสาเหตุให้ยาแล้วให้กลับบ้าน ต่อมาอีก ๓ วัน(วันที่ ๒๖ มิ.ย.๒๕๔๗) โจทก์ไปหาแพทย์อีก แพทย์ตรวจเลือด ปัสสาวะและเอกซเรย์พบฝ้าขาวที่ปอดส่วนกลางทั้งสองข้างตับโตเล็กน้อย จึงให้ยาปฏิชีวนะไปทาน แต่อาการไม่ดีขึ้น ครั้นวันที่ ๑ กค ๒๕๔๗แพทย์เจาะน้ำไขสันหลังไปตรวจ ส่งฟิลม์เอกซเรย์ไปตรวจพบว่าเป็นวัณโรค จึงได้ส่งโจทก์ไปตรวจที่โรงพยาบาล ศ. รักษาวัณโรคจนหาย แต่ก็พิการทางสมอง เห็นได้ว่าการรักษาตัวทั้งสองครั้งโดยให้ยาแก่โจทก์อาการไม่ดีขึ้น ส่อให้เห็นว่าวินิจฉัยโรคไม่ถูกต้อง ให้ยาไม่ถูกต้องโรคจึงไม่หาย เมื่อให้ยาแล้วไม่หายต้องหาสาเหตุของโรคใหม่ แต่ไม่กระทำถือเป็นความบกพร่อง
๓.แม้ผลการตรวจเลือดไม่ชี้บ่งว่าเป็นไข้เลือดออกหรือเป็นโรคชนิดใด อาการป่วยไม่รุนแรงถึงกับต้องรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลที่มีความจำเป็นต้องรับผู้ป่วยรายอื่นที่มีอาการหนักกว่าไว้รักษาเร่งด่วนก็ตาม การรักษาดังกล่าวเป็นการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาเบื้องต้นเพียงพอตามอาการที่แพทย์โดยทั่วไปกระทำ แต่ต่อมาการที่จำเลยรับเข้าไว้รักษาในโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุพร้อมเจาะเลือดไปตรวจ เอกซเรย์ปอด แสดงให้เห็นว่าจำเลยเริ่มรู้แล้วว่าตนรักษาโรคไม่ถูกต้อง วินิจฉัยโรคไม่ถูกต้องในตอนแรกจึงไม่สามารถรักษาให้หายได้จึงจำเป็นต้องรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อหาสาเหตุของโรค และหากอาการไม่รุนแรงทางจำเลยคงไม่รับเข้ามานอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจำเป็นต้องรับผู้ป่วยรายอื่นที่มีอาการหนักกว่าไว้รักษาเร่งด่วน แสดงว่าอาการของโจทก์มีอาการหนักและเร่งด่วนไม่งั้นอาจถึงแก่ชีวิตได้จำเลยจึงได้รับตัวไว้รักษา แทนที่จะรับตัวไว้เสียแต่แรก เพราะการวินิจฉัยโรคไม่ถูกต้องจึงทำให้โจทก์เสียโอกาสที่จะได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลแทนการรับยาไปทานที่บ้าน
๔.แม้ผลการตรวจเลือดไม่พบเชื้อที่ชี้บ่งว่าเป็นวัณโรค แต่ผลเอกซเรย์มีฝ้าขาวที่ปอดทั้งสองข้างและตับโต แม้ในขณะนั้นผู้ป่วยไม่ซึม ไม่ชัก ไข้สูง หายใจเร็ว ซึ่งยังไม่ใช่อาการชี้บ่งได้อย่างชัดเจนว่าเยื้อหุ้มสมองอักเสบ แต่การที่มีฝ้าขาวที่ปอดและตับโตอาจเกิดจากแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้อทั่วๆไปก็ได้หรืออาจเกิดจากการเป็นวัณโรคก็ได้ แม้อาการดังกล่าวจะเกิดได้จากหลายโรคก็ตาม แต่ทางจำเลยก็ยังไม่ได้ส่งผลการตรวจเอกเรย์ไปให้ผู้ชำนาญดูเพื่อยืนยันว่าเป็นโรคอะไร ทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องว่าป่วยเป็นโรคอะไร หากได้ส่งเอกซเรย์ไปให้ผู้เชี่ยวชาญดูก็อาจทราบว่าเป็นโรคใดจะได้รักษาตัวได้ถูกต้อง
๕. การที่นาง ย. ผู้ปกครองโจทก์(นาย ม.)ไม่เคยบอกว่า ม. ป่วยเป็นวัณโรค ก็ไม่ใช่เป็นการยากที่แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคหรือไม่อย่างไร จะอ้างว่าฝ่ายโจทก์ไม่บอกอย่างเดียวไม่ได้ ฝ่ายโจทก์เองอาจไม่ทราบว่าต้องบอกเพราะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรค เมื่อโจทก์ไม่บอก ทำไมจำเลยไม่ถาม หากจำเลยถามสักนิดก็อาจวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องพร้อมนำฟิล์มเอกซเรย์ไปให้ผู้ชำนาญดูเพื่อยืนยันผลว่าเป็นวัณโรคหรือไม่? ข้ออ้างว่า
-ไม่ใช่กรณีเร่งด่วนที่ต้องรีบด่วนวินิจฉัยว่าป่วยเป็นวัณโรคและให้ยารักษาวัณโรคทันที
-การรักษาวัณโรคต้องให้ยารักษาหลายชนิดพร้อมกันเป็นเวลานานและมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายหลายประการ
-การที่ตรวจเลือดเอกซเรย์ปอดแล้วได้เปลี่ยนยาปฏิชีวนะที่ฆ่าเชื้อโรคได้กว้างขึ้น ให้พยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิด เป็นการรักษาโรคโดยไม่ชักช้าและเอาใจใส่ผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตามที่แพทย์ผู้มีวิชาชีพพึงกระทำ
ดังนี้ไม่สามารถอ้างได้ เพราะ ต่อมาเมื่อผู้ป่วยมีอาการหนักขึ้น แพทย์หาสาเหตุของโรคไม่ได้จนต้องนำฟิลม์เอกซเรย์ให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูอีกครั้งหนึ่งและเอกซเรย์สมองด้วยคอมพิวเตอร์ ตรวจปัสสาวะ เจาะน้ำไขสันหลังไปตรวจ เมื่อทราบว่ามีเชื้อวัณโรคและเยื้อหุ้มสมองอักเสบก็ให้ยารักษาวัณโรคทันทีพร้อมนำไปรักษาที่ห้องพิเศษแล้วส่งต่อไปที่โรงพยาบาล ศ.นั้นเห็นว่า ไม่มีเหตุผลใดที่ไม่ส่งฟิลม์เอกซเรย์ให้ผู้เชี่ยวชาญดู การที่รักษาแล้วไม่หายยิ่งต้องหาสาเหตุที่แท้จริง การที่ปล่อยให้เวลาเนินนานออกไปจนผู้ป่วยมีอาการหนักขึ้นจึงนำฟิล์มเอกซเรย์ไปให้ผู้ชำนาญดู ถือเป็นความบกพร่องเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงสำหรับผู้มีวิชาชีพแพทย์ที่ต้องดูแลอาการคนป่วยต้องกระทำ หากพลาดเพียงนิดเดียวผู้ป่วยอาจถึงแก่ความตายได้ จะอ้างว่าเข้าข้อยกเว้นตามพรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๘ วรรคสอง อันจะทำให้จำเลยพ้นความรับผิดไม่ได้ โจทก์ไม่รู้ว่าต้องบอก ไม่ใช่รู้ว่าต้องบอกแล้วไม่บอกแต่ปกปิดข้อความจริง เมื่อไม่รู้ต้องบอกแล้วจะให้บอกได้ไง ทำไมแพทย์ไม่ถามทั้งที่อาการดังกล่าวก็เป็นอาการของวัณโรคด้วย
๖.ข้ออ้างที่ว่า เหตุที่ไม่มีการดูดเสมหะก่อนและระหว่างนำตัวส่งโรงพยาบาล ศ. เพราะ
-ไม่ปรากฏผู้ป่วยมีเสมหะมากน้อยเท่าใด
-จากอาการป่วยไม่น่าเชื่อว่าเสมหะเป็นสาเหตุให้ขาดออกซิเจนจนมีผลกระทบเยื้อหุ้มสมอง
-แต่เยื้อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อวัณโรคกระจายไปทำลายเยื้อหุ้มสมอง
นั้นเห็นว่า จะนำมาอ้างไม่ได้ โจทก์มาหาแพทย์หลายครั้งแพทย์ไม่ได้ตรวจหาเชื้อวัณโรคโดยเจาะจงและในทันที ต่อมามีการทดสอบด้วยเชื้อวัณโรคและเจาะน้ำไขสันหลังไปตรวจ แม้อาการปอดที่เอกซเรย์พบเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ใช่เครื่องชี้วัดว่าเป็นวัณโรคเสมอไป เป็นเพียงข้อสังเกตเบื้องต้นที่แพทย์คิดว่าผู้ป่วยอาจเป็นวัณโรค การที่ศาลชั้น้ต้นวินิจแยว่าตามเวทเบียนการรักษา แพทย์พยายามตรวจหาอาการและสาเหตุของโรคเป็นไปตามขั้นตอนตลอดมาไม่ชักช้า เพื่อประโยชน์สูงสุดของคนป่วยเช่นผู้มีวิชาชีพแพทย์จะกระทำ เพียงแต่การตรวจในระยะแรกไม่พบเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ป่วย หาใช่เป็นการไม่เอาใจใส่ขาดความระมัดระวังหรือประมาทเลินเล่อไม่ ตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยนั้นเห็นว่า แม้ไม่ได้มาตรวจด้วยอาการเป็นวัณโรค แต่เมื่อให้ยาและทำการรักษาแล้วไม่หายต้องหาสาเหตุของโรคใหม่ อาการโจทก์อาจเป็นวัณโรคหรือไม่ใช่ก็ได้ แต่เมื่อไม่แน่ใจว่าจะใช่หรือไม่ใช่ การส่งฟิลม์เอกซเรย์ไปตรวจเพื่อหาสาเหตุย่อมเป็นหนทางที่ดีที่สุด การไม่เอาฟิลม์เอกซเรย์ไปตรวจจนผู้ป่วยมีอาการทรุดหนักแล้วจึงเอาฟิลม์เอกซเรย์ไปตรวจเป็นการส่อถึงความประมาทเลินเล่อของผู้มีวิชาชีพพึงกระทำ
๗.ที่ศาลชั้นต้นไม่จำต้องพิจารณาเรื่องคดีขาดอายุความหรือไม่ ไม่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดีเพราะเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องโดย ศาลชั้นต้นเห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่เป็นการประมาทเลินเล่ออันจะเป็นความรับผิดทางแพ่งเรื่องละเมิดจึงไม่จำต้องเป็นต้องพิจารณาว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ เพราะอย่างไงศาลชั้นต้นก็ยกฟ้องอยู่ดี
๘.สิทธิ์เรียกร้องคิ่สินไหมทดแทนจาก “ เจ้าหน้าที่ “มีอายุความ ๒ ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีที่ “ หน่วยงานของรัฐ” เห็นว่า “ เจ้าหน้าที่” ไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าต้องรับผิด สิทธิ์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนมีอายุความ ๑ ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง เป็นไปตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง ของความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ฯ หาใช่ใช้อายุความ ๑ ปี ตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘ ที่มีอายุความ ๑ ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘ ดังนั้นอายุความตามความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ อาจยาวกว่าอายุความตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘
๙.การที่ แพทย์ผู้ตรวจรักษาเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ ถือเป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านนี้โดยตรงเมื่อไม่ได้วินิจฉัยให้ถูกต้องตามหลักวิชาแพทย์ทำให้ทราบผลว่าป่วยเป็นวัณโรคล่าช้า หากกระทำการส่งฟิลม์เอ็กซเรย์ไปตรวจแต่เนินๆคงทราบผลแล้วตั้งแต่วันที่ ๒๖ มิ.ย.๒๕๔๗ ที่รับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลว่าผู้ป่วยป่วยเป็นวัณโรค ไม่ใช่เพิ่งทราบผลในวันที่ ๑ กค ๒๕๔๗ตามที่แพทย์หญิง น. แพทย์เวรเจ้าของไข้ต่อจากนายแพทย์ ฐ.ทำการสอบถาม หากไม่มีการสอบถามโดยแพทย์หญิง น. ก็อาจไม่มีการส่งฟิลม์ไปตรวจและไม่สามารถวินิจแยโรคได้ถูกต้องทันท่วงที โจทก์อาจถึงแก่ความตายได้ แม้ในคดีนี้โจทก์หายป่วยแต่ก็พิการ จึงเป็นกากรกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
๑๐. พยานหลักฐานของจำเลยที่อ้างว่าทางผู้ป่วยไม่แจ้งให้แพทย์ที่ทำการรักษาทราบว่า ผู้ป่วยมีอาการไอเป็นเลือด แพทย์ไม่ได้ประมาทเลินเล่อนั้น รับฟังไม่ได้ โดยได้ความจากประวัติการตรวจรักษาว่าโจทก์ลุกนั่งได้ซึมเล็กน้อย มีสติรู้ตัวกินอาหารได้ ดูฟิล์มเอกซเรย์พบปอดมีฝ้าขาวๆบ่งบอกว่าอาจติดเชื้อวัณโรคหรือติดเชื้ออื่นในปอด จึงได้ให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียในปอดเพราะเข้าใจว่าติดเชื้อแบคทีเรียในปอดและได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรคแล้ว โอกาสเป็นวัณโรคจึงน้อย ได้รับยาฆ่าเชื้อมา ๔ วันอาการไม่ดีขึ้น ต่อมามีอาการชักซึ่งเป็นอาการเกี่ยวกับสมอง จึงส่งฟิล์มเอกซเรย์ที่ทำไว้ก่อนแล้วไปให้ผู้เชี่ยวชาญดูอีกครั้ง และให้เจาะน้ำเลี้ยงไขสันหลังไปตรวจพบเม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติ วิเคราะห์เม็ดเลือดขาวในไขกระดูกสันหลังผลออกมาว่าก้ำกึ่งติดเชื้อแบคทีเรียหรือวัณโรค ผลเอกซเรย์น่าเชื่อว่าเป็นวัณโรคจึงนำน้ำในกระเพาะอาหารไปตรวจหาเชื้อวัณโรค เอาน้ำยาจากโปรตีนวัณโรคฉีดเข้าผิวหนังเพื่อทราบว่ามีอาการติดเชื้อหรือไม่พร้อมส่งไปเอกซเรย์สมอง ทั้งได้ความว่า บิดาโจทก์เคยไอเป็นเลือด บิดาโจทก์เคยเอกซเรย์พบปอดเป็นฝ้าขาว ทำให้เชื่อว่าติดเชื้อวัณโรคด้วยการแพร่เชื้อจากบิดา จึงให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียและยาฆ่าเชื้อวัณโรค แล้วนำส่งไปที่โรงพยาบาล ศ. ผลการตรวจออกซิเจนขณะรับตัวของโรงพยาบาล ศ โจทก์ไม่ได้ขาดออกซิเจน การตรวจวินิจฉัยว่าโจทก์ป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่ มีหลายวิธีอย่างน้อยก็ตามที่ดำเนินการ การตัดสินใจใช้ยารักษาวัณโรค แม้มีความเสี่ยงต่ออันตรายที่อาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาที่นำมา การตรวจเลือดผู้ป่วยซ้ำ ตรวจปัสสาวะและเอ็กซเรย์ ก็ตาม แต่
๑๑.เมื่อ การตรวจเลือดและปัสสาวะไม่สามารถชี้สาเหตุอาการป่วยได้ ผลเอกซเรย์ที่พบปอดส่วนกลางทั้งสองข้างเป็นฝ้าขาวไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าเป็นวัณโรคแต่อาจติดเชื้ออย่างอื่นได้ จึงให้ยาปฏิชีวนะเหมือนเดิม ให้น้ำเกลือและยาแก้อาเจียน หากภายใน ๒๔ ถึง ๔๘ ชั่วโมงอาการดีขึ้นแสดงยาได้ผล แต่หากครบ ๔๘ ชั่วโมงแล้วยังทรงอยู่จึงต้องตรวจเลือดหาสาเหตุอื่น เพราะอาจเป็นไทรอยด์ โรคฉี่หนูได้ การสั่งเพาะเชื้อพร้อมการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง ไม่พบเชื้อไทรอยด์ โรคฉี่หนูหรือแบคทีเรียในเลือด ผลเอกซเรย์พบว่ามีการติดเชื้อในปอด จึงได้นำเลือดไปตรวจหาเชื้อตัวอื่นในปอดว่าเป็นเชื้อตามที่จำเลยคาดคิดหรือไม่ พร้อมเปลี่ยนยาปฏิชีวนะตัวใหม่ให้ฆ่าเชื้อแบคทีเรียกึ่งไวรัส ซึ่งต้องรอดูผลภายในเวลา ๒ ถึง ๔๘ ชั่วโมง แต่ไม่ได้สั่งให้เจาะน้ำเลี้ยงไขสันหลังไปตรวจ เพราะโจทก์ไม่มีอาการทางระบบปราสาทที่ต้องซึม การซึมอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เพราะการเจาะน้ำเลี้ยงในไขสันหลังมีความเสี่ยงสูง หากมีก้อนเนื้อหรือแรงดันสมองในกะโหลกศรีษะสูงอาจกดก้านสมองเป็นสาเหตุให้หยุดหายใจได้ ข้ออ้างว่าอาจเกิดอันตรายแก่คนไข้ เป็นเพียงการ “สันนิษฐาน” ว่าหากกระทำแล้วอาจเป็นอันตรายแก่ผู้ป่วย แต่หากไม่กระทำแล้วผู้ป่วยอาจได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แต่การสันนิษฐานดังกล่าวผิดพลาดจนไม่สามารถแก้ไขได้ การส่งฟิล์มเอกเรย์ไปให้ผู้ชำนาญการตรวจก็เนิ่นช้าไปจนอาการโจทก์กำเริบ
๑๒. การที่จำเลยไม่นึกในลำดับต้นๆว่าเป็นวัณโรค เพราะผู้ป่วยวัณโรคจะมีอาการไข้ต่ำเรื้องรังเกิน ๒ สัปดาห์ น้ำหนักลด ร่างกายไม่แข็งแรง แต่ปรากฏว่าโจทก์แข็งแรงและเคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค ก็ตาม แต่ การเคยฉีดวรรคซีนมาก่อนก็ไม่ให้ผลยืนยัน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ว่าจะไม่ย้อนกลับมาเป็นอีก
๑๓.ส่วน ผลเอกซเรย์ที่มีฝ้าขาวที่ปอดส่วนกลางทั้งสองข้างอาจเกิดจากเชื้อวัณโรคได้ ซึ่งจำเลยเองก็ได้คำนึงเรื่องนี้เช่นกัน ซึ่งหากมีข้อสงสัยแพทย์ต้องสอบประวัติผู้ป่วยว่าใกล้ชิดผู้ป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่ และทดสอบการเป็นวัณโรค การที่ไม่ได้สอบถามผู้ใกล้ชิดโจทก์ว่าเป็นวัณโรคหรือไม่ เพราะเป็นความคิดอันดับท้ายๆของจำเลยที่จะรับฟังว่าเป็นวัณโรคเป็นความคิดที่ไม่เผื่อไว้ก่อนว่าความคิดนี้อาจผิดพลาด หากจำเลยเฉลียวใจสักนิดว่าโจทก์อาจป่วยเป็นวัณโรคก็คงนำผลเอกซเรย์ให้แพทย์ผู้ชำนาญตรวจ แต่แรก แต่จำเลยก็หาได้กระทำการดังกล่าวไม่ จึง เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของแพทย์
๑๔. ตามหลักวิชา เมื่อตรวจโรคแล้วไม่ทราบสาเหตุ แพทย์ต้องสอบประวัติผู้ป่วย อาการผู้ป่วย ผู้ใกล้ชิดว่าป่วยเป็นโรคติดเชื้อหรือไม่ แต่ไม่ปรากฏจำเลยได้สอบถามในเรื่องดังกล่าว แม้จะคิดว่าเป็นวัณโรคเพราะยังเป็นไข้ไม่เกิน ๑๔ วัน และการสอบถามหรือการทดสอบการติดเชื้อทำเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นไข้เกิน ๑๔ วัน แต่หากสงสัยว่าเป็นวัณโรคก็สามารถสอบประวัติและการติดเชื้อได้ทันที การที่ผู้ป่วยเป็นไข้ก่อนมาโรงพยาบาล ๒ สัปดาห์แล้วมารักษาตัวที่โรงพยาบาลอีก ๓ วัน ก็ดี การที่ได้ทำการรักษาหลายอย่างแต่ก็ไม่ทราบสาเหตุของอาการป่วยก็ดี สิ่งที่จำเลยไม่ได้กระทำคือ ส่งผลเอกซเรย์ให้ผู้เชี่ยวชาญดูและสอบถามผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยว่าป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่ เป็นการที่สมควรกระทำ การที่จำเลยเองก็ยังมีความคิดว่าโจทก์เป็นวัณโรค แม้จะเป็นความคิดในระดับใดก็ตาม เมื่อโจทก์ป่วยมานานพอสมควร ไม่ว่าจะเกิน ๑๔ วันหรือไม่ หรือยังไม่ถึงก็ใกล้เคียง ก็ควรซักประวัติคนใกล้ชิดโจทก์ถึงการป่วยเป็นวัณโรคด้วย เพราะยังหาสาเหตุของการป่วยไม่ได้ และจำเลยเองก็ยังสงสัยอยู่ ซึ่งก็สามารถทำได้เพราะมีข้อมูลตั้งแต่ยังเป็นเจ้าของไข้ หากได้กระทำก็จะทราบโจทก์ป่วยเป็นวัณโรคโดยไม่ต้องรอผลการตรวจน้ำไขกระดูกที่ต้องใช้เวลานานจึงทราบผล และสามารถสั่งยารักษาวัณโรคตามความจำเป็น ทำให้โจทก์ได้รับการรักษาทันเวลา เพราะขณะนั้นยังไม่มีอาการทางโรคประสาท ทั้งการที่ดูฟิลม์เอกซเรย์พบฝ้าขาวๆที่ปอด ควรคิดว่าโจทก์ป่วยเป็นวัณโรคและตรวจยืนยันให้ได้ความชัดว่าเป็นวัณโรคหรือไม่ แต่จำเลยก็ไม่ได้กระทำ การที่ไม่รักษามาแต่แรกทั้งที่พบอาการที่ปอด ทำให้โจทก์มีอาการชัก สมองได้รับการกระทบกระเทือน การที่โจทก์ต้องพิการเกิดจากการรักษาวัณโรคในสมองล่าช้า ทั้งเมื่อสอบถามบิดาโจทก์ว่าเหตุใดที่ไม่แจ้งอาการตนเองที่เอกซเรย์เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๕ พบปอดมีจุด บิดาโจทก์ก็ตอบว่าไม่คิดว่ามันจะมีผลต่อโจทก์ และจำเลยไม่ได้ถาม การที่แพทย์ผู้รักษาไม่ดำเนินการตามหลักวิชา เมื่อเอ็กซเรย์พบปอดผิดปกติควรต้องสงสัยว่าเป็นวัณโรค หรือต้องหาสาเหตุให้ทราบแน่นอนว่าเป็นโรคอะไรเกี่ยวกับปอด โดยต้องส่งฟิล์มไปให้ผู้เชี่ยวชาญดู กรณีโจทก์อาจติดเชื้อจากคนในครอบครัว หากได้ดูฟิล์มเอกซเรย์ครั้งแรกและลักษณะฟิล์มยืนยันได้ว่าโจทก์เป็นวัณโรค เพราะมีอาการไข้เรื้อรัง ตับโต ปอดมีสีขาวเหมือนปุยฝ้ายจำเลยจะไม่สงสัยหรือว่าโจทก์ติดเชื้อแบคทีเรียอื่นซึ่งต้องหายใจเร็ว โดยโจทก์หายใจ ๒๔ถึง ๒๖ครั้งต่อนาที ซึ่งไม่ถือว่าเร็วทำให้รับฟังได้ว่านายแพทย์ ฐ ไม่ได้ทำดังกล่าวทั้งที่สามารถกระทำได้ระหว่างที่เป็นเจ้าของไข้ซึ่งขณะนั้นยังไม่เข้าขั้นอันตรายมาก จึงไม่ทราบว่าโจทก์เป็นวัณโรค
๑๕.เมื่อการตรวจรักษาปรากฏว่าโจทก์ป่วยเป็นวัณโรคและให้ยาวัณโรค โจทก์ต้องพิการตลอดชีวิต อาจเนื่องจากการวินิจฉัยที่ล่าช้า ทำให้เสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้องทันท่วงทีทำให้ต้องพิการไปตลอดชีวิต แสดงว่าจำเลยไม่ได้ทำการตรวจรักษาให้ถูกต้องครบถ้วนในเวลาอันสมควรตามหลักวิชาแพทย์และมาตรฐานแห่งวิชาชีพ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ซึ่งเป็นผลโดยตรงต่อความประมาทเลินเล่อของแพทย์อันเป็นการละเมิดของโจทก์ จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลละเมิดที่แพทย์ของตนกระทำในการปฏิบัติหน้าที่
๑๖.แม้ทางโจทก์ซึ่งเป็น “ ผู้รับบริการ” ตาม พรบ.สุขภาพแห่งชาติ ฯ มีหน้าที่ต้องแจ้งข้อเท็จจริงที่ตนรู้หรือควรบอกให้แจ้งแก่แพทย์ ซึ่งเป็นผู้ “ ให้บริการ” ก็ตาม เมื่อได้ความว่าโจทก์ไม่ทราบว่าต้องแจ้งเรื่องบิดาเป็นวัณโรคให้แพทย์ทราบ เนื่องจากไม่มีการสอบถาม จนกระทั้งแพทย์หญิง. น. สอบถาม แสดงว่าไม่ได้ปกปิด แต่ไม่รู้ว่าต้องแจ้ง ถือไม่ได้ว่าบิดามารดาโจทก์ปกปิดในข้อเท็จจริงที่ตนรู้และควรบอกให้แจ้งหรือแจ้งข้อความเท็จในข้อเท็จจริงที่ตนรู้และควรบอกให้แจ้งตามพรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๘ วรรคสอง อันจะทำให้จำเลยพ้นความรับผิด หาได้ไม่
๑๗.เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบถึงค่าเสียหายแต่ละประเภทที่เรียกมาตามฟ้อง จึงกำหนดให้โจทก์ตามสมควรในเรื่องค่าเสียหาย เมื่อโจทก์พิการทางสมองไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ต้องทนทุกข์ทรมานทั้งกายและจิตใจ ค่าทนทุกข์ทรมานกาย ค่าทนทุกข์ทรมานทางใจ เป็นสิทธิ์เรียกค่าเสียหายที่ไม่ใช่ตัวเงินตาม ปพพ มาตรา ๔๔๖ ที่โจทก์สามารถเรียกร้องได้ตามบทกฏหมายดังกล่าว
๑๘. เมื่อโจทก์ต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาลจังหวัด ล. และมารักษาต่อที่โรงพยาบาล ศ. และต้องมารักษาตัวที่บ้านอีก ๒ เดือนและต้องพิการทางสมองไปตลอดชีวิตไม่มีโอกาสเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพเช่นเด็กอื่นและต้องรักษาตัวอย่างต่อเนื่องโดยต้องจ้างบุคคลอื่นดูแล เป็นค่าเสียหายโดยตรงที่มีสิทธิ์เรียกร้อง แม้ไม่มีใบเสร็จมาแสดง ไม่มีรายละเอียดว่าได้จ่ายเงินไปเท่าไหร่ แม้ไม่ใช่เงินที่พยานโจทก์เบิกความเหมารวมทึ้งหมดว่า สิบหกล้านบาทเศษ เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ความร้ายแรงแห่งละเมิดกำหนดค่าเสียหายเป็นเงินสองล้านบาท เมื่อการกระทำดังกล่าวของแพทย์เป็นการละเมิดถือผิดนัดนับแต่วันทำละเมิด ปพพ มาตรา๒๐๖ เมื่อหนี้ค่ารักษาพยาบาลเป็นหนี้เงิน อันจะต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างที่ผิดนัด ตาม ปพพ มาตรา ๒๒๔ โจทก์จึงสามารถเรียกดอกเบี้ยได้ร้อยละเจ็ดจุดห้าต่อปีนับแต่วันที่ทำละเมิด(๒๖มิ.ย.๒๕๔๗)จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
๑๙.คดีนี้เป็นคดีคุ้มครองผู้บริโภค โจทก์ซึ่งเป็นผู้บริโภคได้รับค่ายกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง ตามมาตรา ๓๙ พรบ.คุ้มครองผู้บริโภคฯคืนค่ารับรองเอกสาร และค่าใช้จ่ายในการส่งคำคู่ความในชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์
“แม้ยังไม่ได้ฟ้อง”
จำเลยที่ ๑ เคยเป็นข้าราชการในสังกัดโจทก์ มีหน้าที่เกี่ยวการเบิกจ่ายเงิน จำเลยที่ ๒ เป็นน้องเขยจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๑ ปลอมใบสั่งจ่ายเงินงบประมาณฏีกาเลขที่......ได้รับเงินของโจทก์ไป ๑,๒๓๐,๓๐๐ บาท ศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ ๑ ผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสาร ปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่ ปลอมใช้เอกสารสิทธิ์อันเป็นเอกสาราชการปลอม ฉ้อโกงจำคุกจำเลยที่ ๑ ให้จำเลยที่ ๑ คืนหรือใช้ราคา ศาลอุทธรณ์ศาลฏีกาพิพากษายืน จำเลยที่ ๑ วางเงินจำนวน ๑,๒๓๐,๓๐๐ บาทต่อศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ นอกจากใบฏีกาปลอมที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องแล้ว สนง.ตรวจเงินแผ่นดินตรวจพบว่าจำเลยที่ ๑ ปลอมใบสั่งจ่ายเงินงบประมาณอีก ๑๒ ฏีกา และเบิกเงินไปใช้ส่วนตัว ๑๒,๘๘๕,๙๗๒.๘๙บาท พนักงานอัยการฟ้องจำเลยฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ปลอมเอกสารและฉ้อโกง จำเลยหลบหนี ต่อมาวันที่ ๑๕ พ.ย.๒๕๔๘ จำเลยที่ ๑ โอนขายที่ดินโฉนด ๓๒๓๒๖พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่.....ให้จำเลยที่ ๒ ในราคา ๘๕๐,๐๐๐ บาท จำเลยที่ ๒ นำบ้านและที่ดินดังกล่าวไปจำนองประกันหนี้เงินกู้แก่ธนาคาร กรุงเทพฯ. เป็นเงิน ๙๘๓,๐๐๐บาท ต่อมาวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๘ จำเลยที่ ๑ โอนขายที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๒๓๑๗,๓๒๓๑๘,๓๒๓๒๗ให้จำเลยที่ ๒ ในราคา ๔๐๐,๐๐๐ บาท แล้วจำเลยที่ ๒ นำโฉนดที่ดินเลขที่ ๓๒๓๑๗,๓๒๓๑๘ไปประกันหนี้เงินกู้ธนาคารเกียรติ์นาคิน จำกัด เป็นเงิน ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท นั้น จำเลยที่ ๒ ยื่นฏีกาว่า ปพพ มาตรา ๒๓๗ ที่บัญญัติให้เจ้าหนี้ฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลนั้น หมายถึง เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หนี้จำนวน ๑๒,๘๘๕,๙๗๒.๘๙ บาท ข้อเท็จจริงยังไม่เป็นที่ยุติว่าจำเลยที่ ๑ กระทำผิด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลฏีกาเห็นว่า การฟ้องให้เพิกถอนการฉ้อฉล ตาม ปพพ มาตรา ๒๓๗ เป็นการให้สิทธิ์เจ้าหนี้ที่จะสงวนไว้ซึ่งกองทรัพย์สินของลูกหนี้ เพราะทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นหลักประกันในการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตาม ปพพ มาตรา ๒๑๔ ดังนั้น เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิ์ร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉล จึงหมายถึงเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิ์เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้และต้องเสียเปรียบจากการที่ทรัพย์สินของลูกหนี้ลดลงไม่พอชำระหนี้อันเนื่องมาจากการทำนิติกรรมฉ้อฉลของลูกหนี้ “ ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่” แม้เจ้าหนี้ในหนี้ที่ยังไม่ได้มีการฟ้องร้องบังคับให้ชำระหนี้ก็มีสิทธิ์ฟ้องขอให้เพิกถอนได้ เมื่อสนง. ตรวจเงินแผ่นดินตรวจพบว่า จำเลยลปลอมเอกสารใบสั่งจ่ายเงินจำนวน ๑๒ ฏีกาและเบิกเงินงบประมาณของโจทก์ไปใช้ส่วนตัว โจทก์ย่อมเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ ๑ ที่มีสิทธิ์เรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ โจทก์มีอำนาจฟ้อง ปัญหาที่ต้องพิจารณาต่อมาคือ นิติกรรมซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๒ ทำให้โจทก์เสียเปรียบหรือไม่? นั้นเห็นว่า พ.ต.ต. ด เจ้าหน้าที่คดีวินัยทางการเงินและตรวจสอบทรัพย์สิน ได้ตรวจสอบทรัพย์สินของจำเลยที่ ๑ แล้วปรากฏว่า การตรวจสอบที่ดอินของจำเลยที่ ๑ ทั่วราชอาณาจักรพบว่าจำเลยที่ ๑ มีที่ดินมีกรรมสิทธิ์ตามโฉนดเลขที่ ๓๒๓๑๗,๓๒๓๑๘,๓๒๓๒๗ เท่านั้น ไม่พบการถือครองกรรมสิทธิ์ในรถยนต์หรออสังหาริมทรัพย์มีค่าอื่น ที่ดินทั้งสี่แปลงมีราคาประเมินตารางวาละ ๖,๘๐๐ บาท ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๒๓๑๗,๓๒๓๑๘,๓๒๓๒๗ มีราคาประเมินรวม ๑,๒๖๔,๘๐๐ บาท แต่จำเลยทั้งสองขายในราคา ๔๐๐,๐๐๐ บาท จำเลยทั้งสองไม่ได้นำสืบโต้เถียงว่า จำเลยที่ ๑ ยังมีทรัพย์สินอื่น และจำเลยที่ ๑ เบิกความยอมรับว่า ขณะซื้อที่ดินจำเลยที่ ๒ รู้ว่า จำเลยที่ ๒ เป็นหนี้โจทก์ พฤติการณ์จำเลยที่ ๑ ที่โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ตนมีทั้งหมดให้จำเลยที่ ๒ ในราคาต่ำ โดยจำเลยทั้งสองรู้ว่า จำเลยที่ ๑ เป็นหนี้โจทก์ ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์ฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายได้ แม้จำเลยที่ ๒ ฏีกาว่า รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ขอให้เพิกถอนนิติกรรมไม่ได้ นั้นเห็นว่า แม้จำเลยที่ ๒ รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน แต่การซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมได้ พิพากษายืน คำพิพากษาฏีกา ๘๘๓๗/๒๕๕๗
ข้อสังเกต ๑.ในความผิดฐานฉ้อโกง เมื่อผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการฟ้องเป็นคดีอาญาจะเรียกให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ด้วย แต่ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสาร ปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่ ปลอมใช้เอกสารสิทธิ์อันเป็นเอกสาราชการปลอมที่โจทก์ยิ่นฟ้องไม่ใช่ฐานความผิดตาม ปวอ มาตรา ๔๓ ที่ผู้เสียหายจะขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ได้
๒.การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ต้องบรรยายมาในฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตาม ปวอ มาตรา๑๕๘ มิเช่นนั้นศาลให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ดำเนินคดีในส่วนนี้และเป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่ไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้อง ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๒ วรรคแรก
๓.เจ้าหนี้ชอบที่จะฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใดๆอันลูกหนี้ได้กระทำไปโดยรู้ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ตาม ปพพ มาตรา ๒๓๗ เว้นเสียแต่บุคคลผู้ได้”ลาภงอก” แต่การนั้น ไม่ได้รู้ถึงข้อความอันเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่หากเป็นการให้โดยเสน่หา ลูกหนี้รู้แต่ผู้เดียวว่าการทำนิติกรรมใดๆอันลูกหนี้ได้กระทำไปเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ก็ฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลได้ ปพพ มาตรา ๒๓๗ ตอนท้าย โดยต้องทำการฟ้องภายใน ๑ ปี นับแต่เจ้าหนี้ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน แต่อย่างไรห้ามฟ้องเมื่อพ้น ๑๐ ปี นับแต่วันทำนิติกรรม ปพพ มาตรา ๒๔๐ การฟ้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลนั้นไม่กระทบถึงสิทธิ์บุคคลภายนอกอันได้สิทธิ์มาโดยสุจริตก่อนเริ่มฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล แต่หากเป็นการให้โดยเสน่หาแล้วแม้บุคคลภายนอกอันได้สิทธิ์มาโดยสุจริตก่อนเริ่มฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ก็สามารถฟ้องให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ตาม ปพพ มาตรา ๒๓๘
๔.การที่ จำเลยที่ ๒ ยื่นฏีกาว่า ปพพ มาตรา ๒๓๗ ที่บัญญัติให้เจ้าหนี้ฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลนั้น หมายถึง เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หนี้จำนวน ๑๒,๘๘๕,๙๗๒.๘๙ บาท ข้อเท็จจริงยังไม่เป็นที่ยุติว่าจำเลยที่ ๑ กระทำผิด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลฏีกาเห็นว่า การฟ้องให้เพิกถอนการฉ้อฉล ตาม ปพพ มาตรา ๒๓๗ เป็นการให้สิทธิ์เจ้าหนี้ที่จะสงวนไว้ซึ่งกองทรัพย์สินของลูกหนี้ เพราะทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นหลักประกันในการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตาม ปพพ มาตรา ๒๑๔ โดยเจ้าหนี้มีสิทธิ์ให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้โดยสิ้นเชิง รวมทั้งเงินและทรัพย์สินอื่นซึ่งบุคคลภายนอกค้างชำระแก่ลูกหนี้ด้วย และหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตรงความประสงค์แห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ชอบที่จะได้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการนั้น ปพพ มาตรา ๒๑๕
๕. ดังนั้น เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิ์ร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉล จึงหมายถึงเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิ์เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้และต้องเสียเปรียบจากการที่ทรัพย์สินของลูกหนี้ลดลงไม่พอชำระหนี้อันเนื่องมาจากการทำนิติกรรมฉ้อฉลของลูกหนี้ ดังนั้น “ ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่” หรือ “ แม้เจ้าหนี้ในหนี้ที่ยังไม่ได้มีการฟ้องร้องบังคับให้ชำระหนี้” ก็มีสิทธิ์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้
๕.เมื่อสนง. ตรวจเงินแผ่นดินตรวจพบว่า จำเลยปลอมเอกสารใบสั่งจ่ายเงินจำนวน ๑๒ ฏีกาและเบิกเงินงบประมาณของโจทก์ไปใช้ส่วนตัว โจทก์ในฐานะที่เป็น สนง. ตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จำเลยที่ ๑ เคยรับราชการอยู่ ย่อมได้รับความเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยที่ ๑ ทำการปลอมเอกสารและใช้เอกสารราชการปลอมแล้วนำไปเบิกเงินไปเป็นประโยชน์ของจำเลยที่ ๑ อีกทั้งการที่จำเลยปลอมและใช้เอกสารราชการเบิกเอาเงินของโจทก์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวของจำเลย ไม่ใช่การกระทำการในหน้าที่ของจำเลย เพราะจำเลยที่ ๑ ไม่มีหน้าที่ปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมเพื่อเบิกเงินมาเป็นประโยชน์ส่วนตัวของจำเลยที่ ๑ โจทก์ในฐานะที่เป็นหน่วยราชการและเป็น “ หน่วยงานของรัฐ ตาม พรบ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ฯ มาตรา ๔ จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็น “ ข้าราชการ” ย่อมเป็น “ เจ้าหน้าที่ “ ตามความหมายใน มาตรา ๔ ของพรบ.ว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดฯ เมื่อการกระทำละเมิดดังกล่าวไม่ใช่การกระทำในการปฏิบัติการตามหน้าที่ จำเลยที่ ๑ จึงต้องรับผิดเป็นการเฉพาะตัวตาม มาตรา ๖ พรบ.ว่าด้วยความรับผิดทางละเมิด ฯ โดยในมาตรา ๑๐ของกฎหมายดังกล่าว เมื่อปรากฏว่า เมื่อเป็นกรณี “ เจ้าหน้าที่ “ กระทำผิดต่อ “ หน่วยงานของรัฐ” เมื่อไม่ใช่การกระทำในการปฏิบัติการตามหน้าที่ให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ คือถือว่า จำเลยที่ ๑ ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ปพพ มาตรา ๔๒๐ ดังนั้น การกระทำของจำเลยที่ ๑ เป็นการกระทำละเมิดในทางแพ่งแก่โจทก์ โจทก์ย่อมเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ ๑ ที่มีสิทธิ์เรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้โดยคืนเงินที่ถูกจำเลยเอาไปได้ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
๖. การตรวจสอบที่ดินของจำเลยที่ ๑ ทั่วราชอาณาจักรพบว่าจำเลยที่ ๑ มีที่ดินมีกรรมสิทธิ์ตามโฉนดเลขที่ ๓๒๓๑๗,๓๒๓๑๘,๓๒๓๒๗ เท่านั้น ไม่พบการถือครองกรรมสิทธิ์ในรถยนต์หรออสังหาริมทรัพย์มีค่าอื่น ที่ดินทั้งสี่แปลงมีราคาประเมินตารางวาละ ๖,๘๐๐ บาท ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๒๓๑๗,๓๒๓๑๘,๓๒๓๒๗ มีราคาประเมินรวม ๑,๒๖๔,๘๐๐ บาท แต่จำเลยทั้งสองขายในราคา ๔๐๐,๐๐๐ บาท การขายที่ดินในราคาต่ำกว่าราคาประเมินทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าตนเป็นหนี้ทางแพ่งอยู่กับโจทก์ ย่อมแสดงให้เห็นว่ามีเจตนายักย้ายถ่ายเททรัพย์สินเพื่อให้พ้นจากการถูกบังคับคดี ทั้งยังได้ความว่า จำเลยที่ ๒ เป็นน้องเขยจำเลยที่ ๑ ด้วยแล้วยิ่งส่อให้เห็นเจตนาฉ้อฉลในการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินเพื่อให้พ้นจากการถูกบังคับชำระหนี้
๗.จำเลยทั้งสองไม่ได้นำสืบโต้เถียงว่า จำเลยที่ ๑ ยังมีทรัพย์สินอื่น และจำเลยที่ ๑ เบิกความยอมรับว่า ขณะซื้อที่ดินจำเลยที่ ๒ รู้ว่า จำเลยที่ ๒ เป็นหนี้โจทก์ พฤติการณ์จำเลยที่ ๑ ที่โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ตนมีทั้งหมดให้จำเลยที่ ๒ ในราคาต่ำ โดยจำเลยทั้งสองรู้ว่า จำเลยที่ ๑ เป็นหนี้โจทก์ ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์ฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายได้
๘.แม้จำเลยที่ ๒ ฏีกาว่า รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ขอให้เพิกถอนนิติกรรมไม่ได้ นั้นเห็นว่า แม้จำเลยที่ ๒ รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน แต่การซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมได้ เพราะการได้มาโดยการซื้อขายที่ดินดังกล่าว “เป็นการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์” แม้ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ปพพ มาตรา ๑๒๙๙วรรคแรกก็ตาม แต่บทบัญญัติในกฏหมายดังกล่าวใช้คำว่า “ ภายใต้บทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น” นั้นก็คือเมื่อในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะอย่างไรก็เป็นไปตามนั้น ซึ่งในประมวลกฎหมายนี้คือ ปพพ มาตรา ๒๓๗ บัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องการเพิกถอนการฉ้อฉลซึ่งนิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำไปทั้งที่รู้ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เมื่อจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้ลาภงอกจากการนั้นรู้เท่าข้อความจริงที่ว่าจำเลยที่ ๑ เป็นหนี้ที่ต้องชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษา ย่อมรู้ว่า การโอนที่ดินของจำเลยที่ ๑ นั้นทำให้โจทก์เสียเปรียบ ทั้งยังเป็นการโอนระหว่างพี่เขยน้องเขยและโอนในราคาต่ำกว่าราคาประเมินหรือราคาท้องตลาดเป็นจำนวนมาก จำเลยที่ ๒ ย่อมรู้ว่าการโอนขายที่ดินดังกล่าวเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์สามารถฟ้องขอเพิกถอนการโอนได้ จำเลยที่ ๒ ไม่อาจอ้าง ปพพ มาตรา ๑๒๙๙วรรคแรกว่าตนรับโอนโดยสุจริตหรือเสียค่าตอบแทนมาใช้ยันในกรณีนี้ได้
๙..การที่ตรวจแล้วไม่พบการถือครองกรรมสิทธิ์ในรถยนต์อาจเกิดจากกรณีซื้อรถแล้วยังไม่ได้ทำการจดทะเบียนโดยยังเป็นรถป้ายแดงไม่จดทะเบียนเพื่อเลี่ยงภาษี หรือเมื่อซื้อรถมือสองมาแล้วมีการโอนทะเบียนลอยของผู้ขายไว้ แต่ผู้ซื้อยังไม่ได้ไปทำการจดทะเบียนโอนเป็นชื่อของตน หรือเมื่อซื้อได้จดทะเบียนในนามบุคคลอื่นที่เป็นสามีภรรยาบุตรหรือหลานเพื่อเจตนาเลี่ยงการถูกตรวจสอบในเรื่องความมีอยู่แห่งทรัพย์สินว่าเป็นคนที่ร่ำรวยผิดปกติหรือไม่
๑๐.การตรวจสอบความมีอยู่ของทรัพย์สินสามารถตรวจสอบได้จากการถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดิน อาคารชุด สิทธิ์เรียกร้องในบัญชีเงินฝากของธนาคาร สลากออมสิน สลากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ พันบัตร เป็นต้น หากไม่ใช่หน่วยงานที่มีอำนาจตามกฏหมายที่จะสามารถตรวจสอบแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเหล่านั้นจะปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลโดยถือเป็นความลับและได้รับการคุ้มกันตามกฏหมายของหน่วยงานนั้นๆ
๑๑.อำนาจในการตรวจสอบทรัพย์สินตลอดทั้งสิทธิ์เรียกร้องในบัญชีเงินฝากในธนาคาร สลากออมสิน สลากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ กรรมสิทธิ์ในที่ดิน อาคารชุด รถยนต์ เป็นต้น พนักงานอัยการอาศัยอำนาจตามพรบ.องค์กรอัยการฯ มาตรา ๑๔,๑๖,๑๘,๒๓ ปอ. มาตรา ๒๙/๑ ปวอ มาตรา ๑๑๙ และประกาศคณะกรรมการอัยการเรื่องแบ่งหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานภายในสนง.อัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๖(๑๙)และ๗(๑๙) ให้อำนาจสนง.การบังคับคดี สนง.อัยการสูงสุด มีอำนาจในการตรวจสอบข้อมูลทางทรัพย์สินและสถานะของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของหน่วยงานของรัฐ และจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์ใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาหรือนายประกันที่ผิดสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาล ต่อพนักงานสอบสวนหรือต่อพนักงานอัยการ เพื่อการพิจารณา การแสวงหาข้อเท็จจริง รวบรวมหลักฐาน เพื่อประโยชน์ในการบังคับคดีแก่จำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือนายประกัน ทั้งพนักงานอัยการมีอำนาจออกคำสั่งหรือขอความร่วมมือเป็นหนังสือให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคาร ที่ดิน กรมการขนส่งทางบก ธนาคาร ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณา โดย “คำสั่ง” ของพนักงานอัยการตาม มาตรา ๑๖ ของพรบ.องค์กรอัยการฯ ถือเป็น “คำบังคับ” ตามประมวลกฏหมายอาญา ซึ่งใน ปอ มาตรา ๑๖๙ บัญญัติว่า ผู้ใดขัดขืนคำบังคับตามกฏหมายของพนักงานอัยการให้ส่ง หรือจัดส่งทรัพย์หรือเอกสารใด ให้สาบาน ให้ปฏิญาณ ให้ถ้อยคำ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือนหรือปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
๑๒.ข้อเท็จจริงในคดีนี้ยังได้ความว่าจำเลยที่ ๑ เคยขอผ่อนชำระหนี้ที่ต้องชดใช้ แต่กระทรวงการคลังไม่อนุมัติ เพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดจากการทุจริตของจำเลยที่ ๑ หาใช่เป็นมูลหนี้ที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อหรือกระทำโดยไม่ตั้งใจแต่อย่างใดไม่ จึงไม่อาจอ้างมาตรา ๑๓ แห่ง พรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาใช้บังคับโดยขอผ่อนชำระเงินที่ต้องรับผิดโดยคำนวณรายได้ฐานะความรับผิดชอบและพฤติการณ์แห่งกรณีประกอบเป็นเกณท์ในการขอผ่อนได้
ข้อสังเกต ๑.ในความผิดฐานฉ้อโกง เมื่อผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการฟ้องเป็นคดีอาญาจะเรียกให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ด้วย แต่ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสาร ปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่ ปลอมใช้เอกสารสิทธิ์อันเป็นเอกสาราชการปลอมที่โจทก์ยิ่นฟ้องไม่ใช่ฐานความผิดตาม ปวอ มาตรา ๔๓ ที่ผู้เสียหายจะขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ได้
๒.การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ต้องบรรยายมาในฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตาม ปวอ มาตรา๑๕๘ มิเช่นนั้นศาลให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ดำเนินคดีในส่วนนี้และเป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่ไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้อง ตาม ปวอ มาตรา ๑๙๒ วรรคแรก
๓.เจ้าหนี้ชอบที่จะฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใดๆอันลูกหนี้ได้กระทำไปโดยรู้ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ตาม ปพพ มาตรา ๒๓๗ เว้นเสียแต่บุคคลผู้ได้”ลาภงอก” แต่การนั้น ไม่ได้รู้ถึงข้อความอันเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่หากเป็นการให้โดยเสน่หา ลูกหนี้รู้แต่ผู้เดียวว่าการทำนิติกรรมใดๆอันลูกหนี้ได้กระทำไปเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ก็ฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลได้ ปพพ มาตรา ๒๓๗ ตอนท้าย โดยต้องทำการฟ้องภายใน ๑ ปี นับแต่เจ้าหนี้ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน แต่อย่างไรห้ามฟ้องเมื่อพ้น ๑๐ ปี นับแต่วันทำนิติกรรม ปพพ มาตรา ๒๔๐ การฟ้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลนั้นไม่กระทบถึงสิทธิ์บุคคลภายนอกอันได้สิทธิ์มาโดยสุจริตก่อนเริ่มฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล แต่หากเป็นการให้โดยเสน่หาแล้วแม้บุคคลภายนอกอันได้สิทธิ์มาโดยสุจริตก่อนเริ่มฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ก็สามารถฟ้องให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ตาม ปพพ มาตรา ๒๓๘
๔.การที่ จำเลยที่ ๒ ยื่นฏีกาว่า ปพพ มาตรา ๒๓๗ ที่บัญญัติให้เจ้าหนี้ฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลนั้น หมายถึง เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หนี้จำนวน ๑๒,๘๘๕,๙๗๒.๘๙ บาท ข้อเท็จจริงยังไม่เป็นที่ยุติว่าจำเลยที่ ๑ กระทำผิด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลฏีกาเห็นว่า การฟ้องให้เพิกถอนการฉ้อฉล ตาม ปพพ มาตรา ๒๓๗ เป็นการให้สิทธิ์เจ้าหนี้ที่จะสงวนไว้ซึ่งกองทรัพย์สินของลูกหนี้ เพราะทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นหลักประกันในการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตาม ปพพ มาตรา ๒๑๔ โดยเจ้าหนี้มีสิทธิ์ให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้โดยสิ้นเชิง รวมทั้งเงินและทรัพย์สินอื่นซึ่งบุคคลภายนอกค้างชำระแก่ลูกหนี้ด้วย และหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตรงความประสงค์แห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ชอบที่จะได้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการนั้น ปพพ มาตรา ๒๑๕
๕. ดังนั้น เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิ์ร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉล จึงหมายถึงเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิ์เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้และต้องเสียเปรียบจากการที่ทรัพย์สินของลูกหนี้ลดลงไม่พอชำระหนี้อันเนื่องมาจากการทำนิติกรรมฉ้อฉลของลูกหนี้ ดังนั้น “ ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่” หรือ “ แม้เจ้าหนี้ในหนี้ที่ยังไม่ได้มีการฟ้องร้องบังคับให้ชำระหนี้” ก็มีสิทธิ์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้
๕.เมื่อสนง. ตรวจเงินแผ่นดินตรวจพบว่า จำเลยปลอมเอกสารใบสั่งจ่ายเงินจำนวน ๑๒ ฏีกาและเบิกเงินงบประมาณของโจทก์ไปใช้ส่วนตัว โจทก์ในฐานะที่เป็น สนง. ตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จำเลยที่ ๑ เคยรับราชการอยู่ ย่อมได้รับความเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยที่ ๑ ทำการปลอมเอกสารและใช้เอกสารราชการปลอมแล้วนำไปเบิกเงินไปเป็นประโยชน์ของจำเลยที่ ๑ อีกทั้งการที่จำเลยปลอมและใช้เอกสารราชการเบิกเอาเงินของโจทก์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวของจำเลย ไม่ใช่การกระทำการในหน้าที่ของจำเลย เพราะจำเลยที่ ๑ ไม่มีหน้าที่ปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมเพื่อเบิกเงินมาเป็นประโยชน์ส่วนตัวของจำเลยที่ ๑ โจทก์ในฐานะที่เป็นหน่วยราชการและเป็น “ หน่วยงานของรัฐ ตาม พรบ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ฯ มาตรา ๔ จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็น “ ข้าราชการ” ย่อมเป็น “ เจ้าหน้าที่ “ ตามความหมายใน มาตรา ๔ ของพรบ.ว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดฯ เมื่อการกระทำละเมิดดังกล่าวไม่ใช่การกระทำในการปฏิบัติการตามหน้าที่ จำเลยที่ ๑ จึงต้องรับผิดเป็นการเฉพาะตัวตาม มาตรา ๖ พรบ.ว่าด้วยความรับผิดทางละเมิด ฯ โดยในมาตรา ๑๐ของกฎหมายดังกล่าว เมื่อปรากฏว่า เมื่อเป็นกรณี “ เจ้าหน้าที่ “ กระทำผิดต่อ “ หน่วยงานของรัฐ” เมื่อไม่ใช่การกระทำในการปฏิบัติการตามหน้าที่ให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ คือถือว่า จำเลยที่ ๑ ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ปพพ มาตรา ๔๒๐ ดังนั้น การกระทำของจำเลยที่ ๑ เป็นการกระทำละเมิดในทางแพ่งแก่โจทก์ โจทก์ย่อมเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ ๑ ที่มีสิทธิ์เรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้โดยคืนเงินที่ถูกจำเลยเอาไปได้ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
๖. การตรวจสอบที่ดินของจำเลยที่ ๑ ทั่วราชอาณาจักรพบว่าจำเลยที่ ๑ มีที่ดินมีกรรมสิทธิ์ตามโฉนดเลขที่ ๓๒๓๑๗,๓๒๓๑๘,๓๒๓๒๗ เท่านั้น ไม่พบการถือครองกรรมสิทธิ์ในรถยนต์หรออสังหาริมทรัพย์มีค่าอื่น ที่ดินทั้งสี่แปลงมีราคาประเมินตารางวาละ ๖,๘๐๐ บาท ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๒๓๑๗,๓๒๓๑๘,๓๒๓๒๗ มีราคาประเมินรวม ๑,๒๖๔,๘๐๐ บาท แต่จำเลยทั้งสองขายในราคา ๔๐๐,๐๐๐ บาท การขายที่ดินในราคาต่ำกว่าราคาประเมินทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าตนเป็นหนี้ทางแพ่งอยู่กับโจทก์ ย่อมแสดงให้เห็นว่ามีเจตนายักย้ายถ่ายเททรัพย์สินเพื่อให้พ้นจากการถูกบังคับคดี ทั้งยังได้ความว่า จำเลยที่ ๒ เป็นน้องเขยจำเลยที่ ๑ ด้วยแล้วยิ่งส่อให้เห็นเจตนาฉ้อฉลในการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินเพื่อให้พ้นจากการถูกบังคับชำระหนี้
๗.จำเลยทั้งสองไม่ได้นำสืบโต้เถียงว่า จำเลยที่ ๑ ยังมีทรัพย์สินอื่น และจำเลยที่ ๑ เบิกความยอมรับว่า ขณะซื้อที่ดินจำเลยที่ ๒ รู้ว่า จำเลยที่ ๒ เป็นหนี้โจทก์ พฤติการณ์จำเลยที่ ๑ ที่โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ตนมีทั้งหมดให้จำเลยที่ ๒ ในราคาต่ำ โดยจำเลยทั้งสองรู้ว่า จำเลยที่ ๑ เป็นหนี้โจทก์ ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์ฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายได้
๘.แม้จำเลยที่ ๒ ฏีกาว่า รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ขอให้เพิกถอนนิติกรรมไม่ได้ นั้นเห็นว่า แม้จำเลยที่ ๒ รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน แต่การซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมได้ เพราะการได้มาโดยการซื้อขายที่ดินดังกล่าว “เป็นการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์” แม้ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ปพพ มาตรา ๑๒๙๙วรรคแรกก็ตาม แต่บทบัญญัติในกฏหมายดังกล่าวใช้คำว่า “ ภายใต้บทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น” นั้นก็คือเมื่อในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะอย่างไรก็เป็นไปตามนั้น ซึ่งในประมวลกฎหมายนี้คือ ปพพ มาตรา ๒๓๗ บัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องการเพิกถอนการฉ้อฉลซึ่งนิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำไปทั้งที่รู้ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เมื่อจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้ลาภงอกจากการนั้นรู้เท่าข้อความจริงที่ว่าจำเลยที่ ๑ เป็นหนี้ที่ต้องชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษา ย่อมรู้ว่า การโอนที่ดินของจำเลยที่ ๑ นั้นทำให้โจทก์เสียเปรียบ ทั้งยังเป็นการโอนระหว่างพี่เขยน้องเขยและโอนในราคาต่ำกว่าราคาประเมินหรือราคาท้องตลาดเป็นจำนวนมาก จำเลยที่ ๒ ย่อมรู้ว่าการโอนขายที่ดินดังกล่าวเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์สามารถฟ้องขอเพิกถอนการโอนได้ จำเลยที่ ๒ ไม่อาจอ้าง ปพพ มาตรา ๑๒๙๙วรรคแรกว่าตนรับโอนโดยสุจริตหรือเสียค่าตอบแทนมาใช้ยันในกรณีนี้ได้
๙..การที่ตรวจแล้วไม่พบการถือครองกรรมสิทธิ์ในรถยนต์อาจเกิดจากกรณีซื้อรถแล้วยังไม่ได้ทำการจดทะเบียนโดยยังเป็นรถป้ายแดงไม่จดทะเบียนเพื่อเลี่ยงภาษี หรือเมื่อซื้อรถมือสองมาแล้วมีการโอนทะเบียนลอยของผู้ขายไว้ แต่ผู้ซื้อยังไม่ได้ไปทำการจดทะเบียนโอนเป็นชื่อของตน หรือเมื่อซื้อได้จดทะเบียนในนามบุคคลอื่นที่เป็นสามีภรรยาบุตรหรือหลานเพื่อเจตนาเลี่ยงการถูกตรวจสอบในเรื่องความมีอยู่แห่งทรัพย์สินว่าเป็นคนที่ร่ำรวยผิดปกติหรือไม่
๑๐.การตรวจสอบความมีอยู่ของทรัพย์สินสามารถตรวจสอบได้จากการถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดิน อาคารชุด สิทธิ์เรียกร้องในบัญชีเงินฝากของธนาคาร สลากออมสิน สลากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ พันบัตร เป็นต้น หากไม่ใช่หน่วยงานที่มีอำนาจตามกฏหมายที่จะสามารถตรวจสอบแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเหล่านั้นจะปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลโดยถือเป็นความลับและได้รับการคุ้มกันตามกฏหมายของหน่วยงานนั้นๆ
๑๑.อำนาจในการตรวจสอบทรัพย์สินตลอดทั้งสิทธิ์เรียกร้องในบัญชีเงินฝากในธนาคาร สลากออมสิน สลากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ กรรมสิทธิ์ในที่ดิน อาคารชุด รถยนต์ เป็นต้น พนักงานอัยการอาศัยอำนาจตามพรบ.องค์กรอัยการฯ มาตรา ๑๔,๑๖,๑๘,๒๓ ปอ. มาตรา ๒๙/๑ ปวอ มาตรา ๑๑๙ และประกาศคณะกรรมการอัยการเรื่องแบ่งหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานภายในสนง.อัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๖(๑๙)และ๗(๑๙) ให้อำนาจสนง.การบังคับคดี สนง.อัยการสูงสุด มีอำนาจในการตรวจสอบข้อมูลทางทรัพย์สินและสถานะของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของหน่วยงานของรัฐ และจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์ใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาหรือนายประกันที่ผิดสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาล ต่อพนักงานสอบสวนหรือต่อพนักงานอัยการ เพื่อการพิจารณา การแสวงหาข้อเท็จจริง รวบรวมหลักฐาน เพื่อประโยชน์ในการบังคับคดีแก่จำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือนายประกัน ทั้งพนักงานอัยการมีอำนาจออกคำสั่งหรือขอความร่วมมือเป็นหนังสือให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคาร ที่ดิน กรมการขนส่งทางบก ธนาคาร ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณา โดย “คำสั่ง” ของพนักงานอัยการตาม มาตรา ๑๖ ของพรบ.องค์กรอัยการฯ ถือเป็น “คำบังคับ” ตามประมวลกฏหมายอาญา ซึ่งใน ปอ มาตรา ๑๖๙ บัญญัติว่า ผู้ใดขัดขืนคำบังคับตามกฏหมายของพนักงานอัยการให้ส่ง หรือจัดส่งทรัพย์หรือเอกสารใด ให้สาบาน ให้ปฏิญาณ ให้ถ้อยคำ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือนหรือปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
๑๒.ข้อเท็จจริงในคดีนี้ยังได้ความว่าจำเลยที่ ๑ เคยขอผ่อนชำระหนี้ที่ต้องชดใช้ แต่กระทรวงการคลังไม่อนุมัติ เพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดจากการทุจริตของจำเลยที่ ๑ หาใช่เป็นมูลหนี้ที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อหรือกระทำโดยไม่ตั้งใจแต่อย่างใดไม่ จึงไม่อาจอ้างมาตรา ๑๓ แห่ง พรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาใช้บังคับโดยขอผ่อนชำระเงินที่ต้องรับผิดโดยคำนวณรายได้ฐานะความรับผิดชอบและพฤติการณ์แห่งกรณีประกอบเป็นเกณท์ในการขอผ่อนได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)