ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2562

พูดขู่เข็ญโจทก์ว่า “มึงอยากตายหรือ”

พูดขู่เข็ญโจทก์ว่า “มึงอยากตายหรือ” เป็นการกระทำโดยจงใจทำให้โจทก์เสียหายเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ การตกใจกลัวถือเป็นความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน
คำพิพากษาฎีกาที่ 4571/2556(ถูกนำไปออกข้อสอบเนติคับ)
จำเลยถืออาวุธปืนติดตัวออกมาบริเวณทางเดินเท้าสาธารณะ ซึ่งอยู่ติดกับถนนสาธารณะ หลังจากมีปากเสียงกับโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย แล้วพูดขู่เข็ญโจทก์ว่า #มึงอยากตายหรือ เป็นการกระทำโดยจงใจทำให้โจทก์เสียหายเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 แม้ว่าจำเลยจะมิได้ยิงอาวุธปืนก็ตาม การที่จำเลย #ใช้อาวุธปืนข่มขู่โจทก์ เป็นการ#ทำให้โจทก์เสียหายแก่ร่างกายและอนามัยของโจทก์ #เพราะทำให้โจทก์ตกใจกลัว #เป็นความเสียหายเกี่ยวกับความรู้สึกทางด้านจิตใจ #ซึ่งเป็นความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 โจทก์มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้

ปิดทางเข้าออกผู้อื่น

ปิดทางเข้าออกผู้อื่น แม้มิใช่ภาระจำยอมก็เป็นละเมิด
คำพิพากษาฎีกาที่ 246/2550 
แม้ทางพิพาทจะมิใช่ทางภาระจำยอม แต่โจทก์และบริวารก็ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกถนนสายบางนา-ตราด เพราะยังไม่มีทางอื่น การที่จำเลยที่ 1 นำดินมาปิดกั้นทางพิพาทและขุดรื้อทางพิพาทออก โดยยังไม่จัดทำถนนเส้นใหม่เพื่อให้โจทก์และบริวารใช้เป็นทางเข้าออกถนนสายบางนา-ตราด #ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ และถือเป็นการละเมิดสิทธิการใช้ทางพิพาทต่อโจทก์ด้วย

รวมฎีกาเกี่ยวกับสถานที่จอดรถ

รวมฎีกาเกี่ยวกับสถานที่จอดรถ ถ้ารถยนต์หายใครมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบบ้าง….?
คำพิพากษาฎีกาที่ 1908/2559
จำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 2 ผู้รับจ้างให้ดูแลรักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างไม่ได้ว่าจ้างให้ดูแลรักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้พักอาศัย #อพาร์ตเม้น จำเลยที่ 2 จึงไม่มีหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องดูแลรักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้พักอาศัยของอพาร์ตเม้นไม่ว่าผู้เช่าห้องพักจะจอดรถในอาคารหรือนอกอาคารจอดรถซึ่งจะเสียค่าบริการจอดรถเป็นรายเดือนหรือไม่ก็ตาม การรักษาความปลอดภัยในรถยนต์ไม่แตกต่างกันเพราะไม่ว่าจะจอดบริเวณใดจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้จัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยคอยตรวจตรารักษาความปลอดภัยของรถยนต์ #การเรียกเก็บค่าจอดรถเป็นรายเดือนเป็นเพียงการอำนวยความสะดวกให้ผู้พักอาศัยเป็นทางเลือก หากต้องการจอดรถในอาคารเพื่อรถไม่เสียหายจากแสงแดดหรือฝนตกดังนี้ไม่อาจรับฟังเป็นปริยายถึงพฤติกรรมของจำเลยทั้งสองว่าจำเลยทั้งสองมีหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้พักอาศัย #ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะดูแลรักษาทรัพย์สินของผู้พักอาศัย การที่รถยนต์ที่ ส. เอาประกันภัยไว้กับโจทก์สูญหายไปจึงมิใช่ความผิดของจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาฎีกาที่ 4125/2557
การที่จำเลยร่วมจัดที่จอดรถให้แก่ลูกค้าของจำเลยร่วมนั้น #ถือว่าเป็นการให้บริการอย่างหนึ่งของจำเลยร่วมเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าผู้มาใช้บริการ #ซึ่งถือได้ว่ามีผลโดยตรงต่อยอดการจำหน่ายสินค้า เมื่อพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดโดยปล่อยปะละเลยให้คนร้ายลักรถของผู้เอาประกันภัยซึ่งจอดรถอยู่ในลานจอดรถของจำเลยร่วมไป จำเลยร่วมจึงต้องร่วมรับผิด
คำพิพากษาฎีกาที่ 7471/2556
จำเลยเป็นบริษัทมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการห้างสรรพสินค้า ย่อมต้องให้ความสำคัญด้านบริการไม่ว่าจะเป็นเรื่องสินค้าความปลอดภัย ความสะดวกสบายเพื่อสร้างความพอใจและดึงดูดให้ลูกค้ามาใช้บริการและซื้อสินค้า #เฉพาะอย่างยิ่งบริการเกี่ยวกับสถานที่จอดรถ เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของลูกค้าที่จะเข้าไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการอื่น ๆ หรือไม่ ทั้งพ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 8 (9) , 34 #บัญญัติให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารต้องมีพื้นที่จอดรถเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การจราจรทั้งจำเลยยังต้องคำนึงถึงความปลอกภัยของลูกค้าในชีวิตและทรัพย์สินและมีหน้าที่ดูแลด้วยตามสมควรมิใช่ปล่อยให้ลูกค้าระมัดระวังหรือเสี่ยงภัยเอง แม้จำเลยปิดประกาศไว้ว่าจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญหายหรือเสียหายใดๆ #ก็เป็นเรื่องข้อกำหนดของจำเลยแต่ฝ่ายเดียวไม่มีผลเป็นการยกเว้นความผิดในการกระทำละเมิดของจำเลย
#เปรียบเทียบโรงแรม
คำพิพากษาฎีกาที่ 10946/2557
การที่จำเลยที่ 2 จัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 ประจำอยู่บริเวณลานจอดรถของโรงแรมจำเลยที่ 2 ซึ่งพนักงานรักษาความปลอดภัยจะดูแลจัดให้รถยนต์ของผู้ที่เข้าพักในโรงแรมจำเลยที่ 2 จอดรถและคอยแจ้งผู้เข้าพักว่ามีห้องว่างหรือไม่ #การกระทำของจำเลยที่2ย่อมทำให้ผู้เข้าพักในโรงแรมของจำเลยที่2เข้าใจว่าพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่1ดังกล่าวเป็นตัวแทนของจำเลยที่2ที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ในการดูแลรักษาความปลอดภัย มิให้มีการโจรกรรมรถยนต์ของผู้เข้าพักแทนจำเลยที่ 2 ฉะนั้นจำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการและเจ้าสำนักโรงแรมจึงต้องรับผิดเพื่อความสูญหายอันเกิดแก่ทรัพย์สินของแขกอาศัยตาม ป.พ.พ. 427,425,674
#เปรียบเทียบอาคารชุด
คำพิพากษาฎีกาที่ 2369/2557
นิติบุคคลอาคารชุดที่ 3 ไม่มีหน้าที่รักษาทรัพย์ส่วนบุคคล มีเพียงหน้าที่ในการจัดการดูแลทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดที่เกิดเหตุ รวมทั้งมีอำนาจกระทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ตามข้อบังคับ และมติของจำเลยรวม ซึ่งข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดที่จำเลยที่ 3 ระบุว่า #จำเลยที่3มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการดูแลทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด และให้มีอำนาจกระทำการใด ๆ ตามวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สูงสุดในการพักอาศัย และการใช้ทรัพย์ส่วนกลางร่วมกัน สัญญาที่จำเลยที 3 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 รักษาความปลอดภัย ก็มีข้อความระบุชัดเจนว่า #จำเลยที่3จ้างจำเลยที่2รักษาความปลอดภัยให้แก่บรรดาทรัพย์สินของจำเลยที่3ซึ่งหมายถึงทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดเท่านั้นจึงไม่รวมไปถึงรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลของโจทก์ในความครอบครองของโจทก์ด้วย แม้ต่อมาจำเลยที่ 3 จะทำสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยแก่บรรดาทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 เช่น การตรวจสอบสติกเกอร์ที่ติดรถยนต์ การรับบัตรอนุญาตจอดรถยนต์ และการตรวจสอบการขนของเจ้าออกอารคารตามระเบียบรักษาความปลอดภัย แต่เป็นเพียงมาตรการให้เกิดความปลอดภัย หรือความสงบเรียบร้อยในอาคารชุดเท่านั้น ทั้งเป็นการควบคุมการใช้สอยอาคารจอดรถ ซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนกลางในอาคารชุดมิให้บุคคลภายนอกเข้ามาใช้ #หาได้มีความหมายครอบคลุมไปถึงการรักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์ส่วนบุคคลของผู้ใดเพราะไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่3 #พฤติการณ์เช่าว่านั้นจึงไม่ก่อให้เกิดหน้าที่แก่จำเลยที่3ในอันที่จะต้องดูแลรักษาความปลอดภัยแก่รถยนต์อันเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลเป็นเจ้าของ จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
#เปรียบเทียบผู้ให้บริการสถานที่ค้าปลีกส่งสินค้าทางการเกษตร
คำพิพากษาฎีกาที่ 726/2560 จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการให้บริการสถานที่ค้าปลีกส่งสินค้าทางการเกษตร มิได้ยอมรับดูแลรักษาความปลอดภัยของรถที่มาจอด เพียงแต่จ้างจำเลยที่ 2 ตระเวนตรวจตรา จัดระบบ ควบคุมระเบียบการจราจรในโครงการตลอด ไม่มีกำหนดว่าพนักงานรักษาความปลอดภัยต้องดูแลรถลูกค้า รถหายจะถือเป็นความประมาทของเจ้าพนักงานรักษาความปลอดภัยไม่ได้ โจทก์ไม่อาจรับช่วงสิทธิผู้เอาประกันภัยมาเอาแก่จำเลยได้

หากฟังได้ว่าทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ย้อนศรประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายต่อกันได้

หากฟังได้ว่าทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ย้อนศรประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายต่อกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17868/2556
เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ในการขับรถของทั้งสองฝ่ายว่าฝ่ายใดประมาทยิ่งหย่อนกว่ากันแล้ว จะเห็นได้ว่า #หากจำเลยที่1ใช้ความระมัดระวังตามสมควรย่อมต้องมองเห็นรถจักรยานยนต์ที่ก.ขับมา และ #ต้องชะลอความเร็วไม่ให้เกิดการเฉี่ยวชนกัน ขณะเดียวกัน ก. ซึ่งขับรถจักรยานยนต์ย้อนเส้นทางเดินรถออกจากซอยก็จะต้องหยุดรถดูว่ามีรถแล่นมาทางด้านขวาหรือไม่ เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงขับออกไป แต่ทั้งจำเลยที่ 1 และ ก. หาได้กระทำไม่ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 และ ก. #ประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน โจทก์และจำเลยที่ 1 #จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายต่อกันได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบมาตรา 223 จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจึงไม่จำต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย

ด่ากันทางโทรศัพท์ ไม่ความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า

ด่ากันทางโทรศัพท์ ไม่ความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า
คำพิพากษาฎีกาที่ 3711/2557
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 แต่ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่า จำเลยโทรศัพท์ไปหาผู้เสียหาย ด่าว่าและทวงเอกสารจากผู้เสียหาย ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายอยู่ที่สถานีบริการขนส่ง ตำบลท้ายช้าง อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา จำเลยอยู่ที่ส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา #ซึ่งเป็นสถานที่ห่างไกลกันคนละอำเภอ แต่องค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 นั้น #ถ้าเป็นการกล่าวด้วยวาจา ผู้กระทำต้องกล่าวซึ่งหน้าผู้เสียหาย เพราะบทบัญญัติมาตรานี้ #มีเจตนารมณ์ป้องกันเหตุร้ายที่อาจเข้าถึงตัวกันทันทีที่มีการกล่าวดูหมิ่น ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบจึงยัง #ไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกฟ้องมานั้น ศาลฎีกาเห็นด้วยในผล ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
ลงฎีกานี้เพื่อเป็นความรู้ทางวิชาการนะครับไม่ได้สนับสนุนให้โทรไปด่ากัน 

คำที่พูดแล้วมีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า

คำที่พูดแล้วมีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า
#อีดอก
คำพิพากษาฎีกาที่ 2102/2521
จำเลยถ่มน้ำลายไปทางผู้เสียหายและด่าผู้เสียหายว่า พวกอีดอกดำ คำว่าอีดอก #เป็นถ้อยคำหยาบคาย สามัญชนฟังแล้วเข้าใจได้ชัดเจนอยู่ในตัวเองว่าผู้ถูกด่า เป็นหญิงไม่ดี จำเลยจึงมีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393
#อีเหี้ย #อีสัตว์ #อีควาย
คำพิพากษาฎีกาที่ 5257/2548
จำเลยด่าว่าผู้เสียหายว่า ‘ อีเหี้ย อีสัตว์ อีควาย มึงคิดว่าเมียกูกินเงินไปหรือไง ’ และชี้มือไปที่ผู้เสียหาย ถ้อยคำดังกล่าว #นอกจากจะเป็นคำหยาบคายแล้ว ยังมีลักษณะเป็นการเปรียบเทียบผู้เสียหายเป็นสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สี่เท้า และกล่าวหาผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายว่าภริยาจำเลยของจำเลยเอาเงินของกลุ่มแม่บ้านไปใช้เป็นการส่วนตัว ถ้อยคำดังกล่าวมีลักษณะเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393
#อีตอแหล
คำพิพากษาฎีกาที่ 8919/2552 ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวต่อผู้เสียหายว่า “อีตอแหล มาดูผลงานของแก” เป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายหรือไม่ เห็นว่า การดูหมิ่นผู้อื่น หมายถึง การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอาย การวินิจฉัยว่าการกล่าววาจาอย่างไรเป็นการดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่ จึงต้องพิจารณาว่า ถ้อยคำที่กล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยามสบประมาทผู้ที่ถูกกล่าวหรือเป็นการทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวอับอายหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นก็ถือได้ว่าเป็นการดูหมิ่นแล้ว เมื่อตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายคำว่า “ตอแหล” ว่า เป็นคำด่าคนที่พูดเท็จ ซึ่งมีความหมายในทางเสื่อมเสีย การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำดังกล่าวต่อผู้เสียหายจึงเป็นการพูด #ด่าผู้เสียหาย เป็นการดูถูกเหยียดหยามและสบประมาทผู้เสียหายว่าเป็นคนพูดเท็จ จึงเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393
#เฮงซวย
คำพิพากษาฎีกาที่ 1623/2551
ตามพจนานุกรมให้หมายความคำว่า “เฮงซวย” ว่า เอาแน่นอนอะไรไม่ได้ คุณภาพต่ำ ไม่ดี ซึ่งมีความหมายในทางเสื่อมเสีย การที่จำเลยพูดใส่ผู้เสียหายด้วยความไม่พอใจว่า “ไอ้ทนายเฮงซวย” จึงเป็นถ้อยคำที่จำเลยด่าผู้เสียหาย #เป็นการดูถูกเหยียดหยามและสบประมาทผู้เสียหายว่าเป็นทนายความเฮงซวย เป็นความผิด ฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393
#ผู้หญิงต่ำๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2537 จำเลยว่าผู้เสียหายที่ 1 ว่าเป็น ผู้หญิงต่ำ ๆ ต่อหน้าผู้อื่นซึ่งเป็นคำพูดที่เหยียดหยามผู้เสียหายที่ 1 ว่า เป็นผู้หญิงไม่ดี มีศักดิ์ศรีต่ำกว่าผู้หญิงทั่วไป เป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายที่ 1ซึ่งหน้า #หาใช่เป็นคำพูดในเชิงปรารภปรับทุกข์ไม่ จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393
#อีร้อยควย #อีดอกทอง
คำพิพากษาฎีกาที่ 1442/2495
ด่าเขาว่า “อีร้อยควยอีดอกทอง” เป็นคำด่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย
#มารศาสนา
คำพิพากษาฎีกาที่ 3226/2525
คำว่า ‘มารศาสนา’ ตามความหมายในพจนานุกรม หมายถึง บุคคลผู้มีใจบาปหยาบช้า คอยกีดกันไม่ให้ผู้อื่นทำบุญและกีดกันบุญกุศลที่จะมาถึงตน ซึ่งเป็นบุคคลประเภทที่สาธารณชนย่อมรังเกียจที่จะคบหาสมาคมด้วย จำเลยพูดว่าผู้เสียหายด้วยถ้อยคำดังกล่าวต่อหน้าผู้เสียหาย จึงต้องมีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393
#ไอ้หน้าโง่
คำพิพากษาฎีกาที่ 7572/2542
การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำต่อโจทก์ร่วมว่า “มึงเข้าไปในที่ของกูได้อย่างไร กูจะแจ้งข้อหาบุกรุกมึง มึงเป็นผู้ใหญ่บ้านได้อย่างไร ไม่รู้กฎหมาย ไม่รู้หน้าที่ ไอ้หน้าโง่ มึงต้องเจอกับกูแน่ที่ศาล” นั้น เห็นได้ว่าสรรพนามที่จำเลยใช้แทนตัวจำเลยและโจทก์ร่วมว่า กูและมึงนั้น #เป็นเพียงถ้อยคำไม่สุภาพส่วนถ้อยคำในทำนองว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้ใหญ่บ้านไม่มีอำนาจหน้าที่ ไม่รู้กฎหมายและจะฟ้องร้องดำเนินคดีกับโจทก์ร่วมนั้น เป็นเพียงถ้อยคำต่อว่าโจทก์ร่วมที่เข้าไปในที่ดินของพ่อตาจำเลยโดยไม่ได้รับอนุญาต และแสดงเจตนาที่จะดำเนินคดีกับโจทก์ร่วมเท่านั้น ไม่ใช่ถ้อยคำที่ดูถูกเหยียดหยามโจทก์ร่วม แต่ที่จำเลยว่าโจทก์ร่วมว่าไอ้หน้าโง่ นั้น ถ้อยคำดังกล่าวแสดงอยู่ในตัวถึง #การหมิ่นเหยียดหยามโจทก์ร่วม แม้จะเป็นการกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นโจทก์ร่วมในขณที่จำเลยและโจทก์ร่วมทะเลาะกันก็ต้องถือว่าจำเลยกล่าวโดยมีเจตนาดูหมิ่นโจทก์ร่วม