ผู้ตายทำสัญญาประกันชีวิตแบบกรมธรรม์ประกันชีวิตคลาสสิค มีระยะเวลาคุ้มครอง ๕๑ ปี จำนวนเงินเอาประกันภัยคุ้มครองมรณกรรม ๕๐๐,๐๐๐ บาท มีสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพสำหรับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลต่อการเข้ารักษาพยาบาลครั้งใดครั้งหนึ่งจำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท โดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญา ผู้ตายเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุจมน้ำ จำเลยบอกเลิกสัญญาประกันชีวิตอ้างว่า ผู้ตายมีประวัติพบแพทย์เพื่อรักษา และหรือ ปรึกษาปัญหาสุขภาพก่อนขอทำประกันชีวิต แต่ไม่แถลงข้อความจริงให้จำเลยทราบ สัญญาประกันชีวิตตกเป็น “ โมฆียะ” จำเลยบอกล้างสัญญาการประกันชีวิตแล้ว โจทก์ฏีกาว่า “ ผู้ตายไม่ทราบว่าตนเข้ารับการผ่าตัดรักษามะเร็งลำไส้ เนื่องจากญาติผู้ตายขอให้แพทย์ที่รักษาไม่เปิดเผยโรคที่แท้จริงให้จำเลยทราบ เพราะผู้ตายมีประวัติเป็นจิตเภทมีความวิตกกังวลเกินกว่าปกติ ผู้ตายไม่ได้ปกปิดข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้จำเลยยกเป็นข้ออ้างบอกล้างสัญญาประกันชีวิต นั้นจำเลยมีผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสินไหมมีหน้าที่พิจารณาการเรียกร้องค่าสินไหมจากผู้เอาประกันเบิกความว่า เมื่อผู้ตายเรียกค่าสินไหมทดแทนสุขภาพกรณีเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาล จำเลยตรวจสอบประวัติการรักษาตัวของจำเลยพบว่า ผู้ตายมีน้ำตาลสูงกว่าปกติเล็กน้อย มีไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ ตับทำหน้าที่ผิดปกติเล็กน้อย แพทย์แนะนำให้ควบคุมอาหารและออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตรวจการทำงานของตับทุก ๓ ถึง ๖ เดือน และตรวจสุขภาพปีละ ๑ ครั้ง ผู้ตายรับการผ่าตัดลำไส้ ต้องนอนพักที่โรงพยาบาล ละผู้ตายได้รับการรักษาอาการจิตเภทมาเป็นเวลา ๓ ปี ผู้ตายทราบอยู่แล้วตนเข้ารับการรักษาและปรึกษาปัญหาสุขภาพในระยะเวลา ๕ ปี ที่ผ่านมา ก่อนหน้ามาขอทำประกันชีวิตจากจำเลย แต่ละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อเท็จจริงเพราะอาจทำให้จำเลยบอกปัดไม่รับทำสัญญาประกันชีวิตให้ตน สัญญาจึงตกเป็นโมฆียะ จำเลยมีสิทธิ์บอกล้างประกันชีวิตได้ เมื่อจำเลยใช้สิทธิ์บอกล้างจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ส่วนที่โจทก์ฏีกาว่า จำเลยไม่มีสิทธิ์บอกล้างสัญญาประกันชีวิตและสุขภาพ เพราะผู้ตายให้แพทย์ที่จำเลยแต่งตั้งตรวจสุขภาพของผู้ตายก่อนทำสัญญา แพทย์ผู้ตรวจร่างกายผู้ตายก่อนทำสัญญา ตรวจพบและบันทึกรอยแผลบนร่างกายผู้ตายไว้ในรายงานการตรวจสุขภาพ ระบุว่า พบรอยบาดแผลผ่าตัดที่บริเวณอกด้านขวา นอกจากนี้การตรวจร่างกายผู้ตายก็ทำหลังผู้ตายได้รับการผ่าตัดลำไส้จากโรคมะเร็งบริเวณช่องท้องเพียง ๒๐ วัน รอยแผลผ่าตัดยังเป็นแผลสดไม่หายดี ดังนั้นแพทย์ของจำเลยย่อมรู้ข้อความจริงเรื่องประวัติ การที่ผู้ตายเคยพบแพทย์เพื่อการรักษาหรือควรจะรู้ได้เช่นนั้น สัญญาประกันชีวิตและสุขภาพของผู้ตาย จึงสมบรูณ์ไม่ตกเป็นโมฆียะ โจทก์ขอให้จำเลยรับผิดตามสัญญาประกันชีวิตและสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพที่ผู้ตายทำกับจำเลย ซึ่งจำเลยไม่มีสิทธิ์บอกล้างสัญญาได้ เพราะให้แพทย์จำเลยเป็นผู้ตรวจผู้ตายแล้วเห็นว่า ผู้ตายมีสุขภาพสมบรูณ์ ไม่มีปัญหาขัดข้องต่อการรับประกัน จึงรับประกันภัย โดยไม่ได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับประวัติการรักษาตามที่ฏีกามา ฏีกาในข้อนี้จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้กล่าวมาในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามไม่ให้ฏีกา ศาลฏีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยพิพากษายกฟ้องโจทก์ชอบแล้ว ฏีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน คำพิพากษาฏีกา ๒๒๑๖/๒๕๕๘
ข้อสังเกต ๑ การทำสัญญาประกันชีวิตต้องอาศัยข้อความจริงที่ผู้เอาประกันต้องเปิดเผยให้ผู้รับประกันทราบ หากละเว้นไม่เปิดเผยสัญญาตกเป็นโมฆียะ ผู้รับประกันบอกเลิกสัญญาได้ เว้นแต่ผู้รับประกันจะรู้ความจริงหรือควรจะได้รู้หากใช้ความระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้ สัญญาจึงเป็นอันสมบรูณ์
๒.บุคคลอันการใช้เงินอาศัยความมรณะของผู้เอาประกัน เมื่อรู้แล้วละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงอันจูงใจให้ผู้รับประกันเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญา หรือรู้อยู่แล้วแถลงข้อความอันเป็นเท็จ สัญญาตกเป็นโมฆียะ ตาม ปพพ มาตรา ๘๖๕ คือสมบรูณ์จนกว่าจะบอกล้าง โมฆียกรรมเมื่อบอกล้างแล้ว ปพพ มาตรา ๑๗๖ “ ให้ถือว่า “ เป็นโมฆะมาแต่แรก ทำให้คู่ความกลับคืนสู่สถานะเดิม เหมือนหนึ่งไม่มีการทำสัญญาประกันชีวิต ในการคืนสู่สถานะเดิมหากเป็นการพ้นวิสัยจะให้กลับคืนสู่สถานะเดิม ก็ให้ได้รับค่าเสียหายชดใช้ให้แทน การใช้สิทธิ์เรียกร้องอันเกิดแต่การกลับคืนสู่สถานะเดิม ต้องกระทำภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่บอกล้างโมฆียกรรม ปพพ มาตรา ๑๗๖ วรรคท้าย
๓.การบอกล้างสัญญาประกันชีวิตที่เป็นโมฆียกรรมให้บอกล้างภายใน ๑ เดือนนับแต่ที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ หรือหากไม่ได้ใช้สิทธิ์บอกล้างภายใน ๕ ปี นับแต่วันทำสัญญา สิทธิ์ในการบอกล้างเป็นอันระงับไป ปพพ มาตรา ๘๖๕วรรค สอง ซึ่งหลักการนี้แตกต่างจากการบอกล้างโมฆียกรรมอื่นๆตาม ปพพ มาตรา ๑๘๑ ซึ่งห้ามไม่ให้ใช้สิทธิ์บอกล้างเมื่อพ้น ๑ ปี นับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้หรือเมื่อพ้น ๑๐ ปี นับแต่ได้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ ปพพ มาตรา ๑๘๑
๔.หากผู้รับประกันภัยรู้ข้อความจริงที่จะจูงใจให้เรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาประกันชีวิต หรือรู้ว่าผู้เอาประกันแถลงข้อความอันเป็นเท็จซึ่งข้อความจริงอันนั้นจะจูงใจให้เรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ทำสัญญาประกันภัย หรือควรจะได้รู้หากใช้ความระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชน สัญญาประกันชีวิตย่อมสมบรูณ์ ตาม ปพพ มาตรา ๘๖๖
๔..ผู้ตายเสียชีวิตโดยจมน้ำ ไม่ได้เสียชีวิตจากโรคที่ตามกฎหมายต้องระบุในสัญญาประกันชีวิตซึ่งถือว่าเป็นโรคร้ายแรงหากปกปิด ผู้รับประกันสามารถบอกเลิกสัญญาประกันชีวิตและไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทนได้ แม้ผู้ตายจะตายด้วยอุบัติเหตุไม่ได้ตายด้วยโรคร้ายที่หากเปิดเผยแล้วผู้เอาประกันจะเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาประกันก็ตาม เพราะสัญญาตกเป็นมียะเมื่อมีการปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้ง เมื่อสัญญาเป็นโมฆียะเพราะปกปิดไม่เปิดเผยข้อความจริงที่ตนเป็นโรคร้ายแรงให้ผู้เอาประกันทราบเพื่อเป็นข้อพิจารณาว่าจะรับประกันโดยเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่รับประกันเลย การปกปิดข้อเท็จจริงนี้ทำให้สัญญาตกเป็นโมฆียะ ผู้เอาประกันบอกล้างได้ แม้ความตายของผู้เอาประกันจะไม่ได้เกิดจากโรคร้ายแรงที่ปกปิดก็ตาม ผู้เอาประกันก็สามารถบอกล้างการทำสัญญาประกันภัยได้
๕แม้.ผู้ตายเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุจมน้ำไม่ได้เสียชีวิตด้วยโรคร้ายแรงที่หากปกปิดไม่แจ้งแล้วทำให้สัญญาตกเป็นโมฆียะ เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญาประกันชีวิตอ้างว่า ผู้ตายมีประวัติพบแพทย์เพื่อรักษา และหรือ ปรึกษาปัญหาสุขภาพก่อนขอทำประกันชีวิต แต่ไม่แถลงข้อความจริงให้จำเลยทราบ เป็นการปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้งซึ่งหากจำเลยทราบข้อความจริงดังกล่าว จำเลยอาจปฏิเสธไม่ยอมทำสัญญาหรือเรียกเบี้ยประกันให้สูงขึ้น สัญญาประกันชีวิตตกเป็น “ โมฆียะ” เมื่อจำเลยบอกล้างสัญญาการประกันชีวิตแล้ว สัญญาตกเป็นโมฆะมาแต่แรกตาม ปพพ มาตรา ๑๗๖ คู่กรณีต้องกลับคืนสู่สถานะเดิม จำเลยต้องคืนเงินประกันให้ฝ่ายผู้เอาประกันหรือทายาทผู้เอาประกันชีวิต
๖.ส่วนที่โจทก์ฏีกาว่า “ ผู้ตายไม่ทราบว่าตนเข้ารับการผ่าตัดรักษามะเร็งลำไส้ เนื่องจากญาติผู้ตายขอให้แพทย์ที่รักษาไม่เปิดเผยโรคที่แท้จริงให้จำเลยทราบ เพราะผู้ตายมีประวัติเป็นจิตเภทมีความวิตกกังวลเกินกว่าปกติ ผู้ตายไม่ได้ปกปิดข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้จำเลยยกเป็นข้ออ้างบอกล้างสัญญาประกันชีวิต นั้นจำเลยมีผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสินไหมมีหน้าที่พิจารณาการเรียกร้องค่าสินไหมจากผู้เอาประกันเบิกความว่า เมื่อผู้ตายเรียกค่าสินไหมทดแทนสุขภาพกรณีเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาล จำเลยตรวจสอบประวัติการรักษาตัวของจำเลยพบว่า ผู้ตายมีน้ำตาลสูงกว่าปกติเล็กน้อย มีไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ ตับทำหน้าที่ผิดปกติเล็กน้อย แพทย์แนะนำให้ควบคุมอาหารและออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตรวจการทำงานของตับทุก ๓ ถึง ๖ เดือน และตรวจสุขภาพปีละ ๑ ครั้ง ผู้ตายรับการผ่าตัดลำไส้ ต้องนอนพักที่โรงพยาบาล ละผู้ตายได้รับการรักษาอาการจิตเภทมาเป็นเวลา ๓ ปี ผู้ตายทราบอยู่แล้วตนเข้ารับการรักษาและปรึกษาปัญหาสุขภาพในระยะเวลา ๕ ปี ที่ผ่านมา ก่อนหน้ามาขอทำประกันชีวิตจากจำเลย แต่ละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อเท็จจริงเพราะอาจทำให้จำเลยบอกปัดไม่รับทำสัญญาประกันชีวิตให้ตน สัญญาจึงตกเป็นโมฆียะ จำเลยมีสิทธิ์บอกล้างประกันชีวิตได้ เมื่อจำเลยใช้สิทธิ์บอกล้างจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
๗.ส่วนที่โจทก์ฏีกาว่า “ จำเลยไม่มีสิทธิ์บอกล้างสัญญาประกันชีวิตและสุขภาพ เพราะผู้ตายให้แพทย์ที่จำเลยแต่งตั้งตรวจสุขภาพของผู้ตายก่อนทำสัญญา แพทย์ผู้ตรวจร่างกายผู้ตายก่อนทำสัญญา ตรวจพบและบันทึกรอยแผลบนร่างกายผู้ตายไว้ในรายงานการตรวจสุขภาพ ระบุว่า พบรอยบาดแผลผ่าตัดที่บริเวณอกด้านขวา นอกจากนี้การตรวจร่างกายผู้ตายก็ทำหลังผู้ตายได้รับการผ่าตัดลำไส้จากโรคมะเร็งบริเวณช่องท้องเพียง ๒๐ วัน รอยแผลผ่าตัดยังเป็นแผลสดไม่หายดี “ดังนั้น”แพทย์ของจำเลยย่อมรู้ข้อความจริงเรื่องประวัติ การที่ผู้ตายเคยพบแพทย์เพื่อการรักษาหรือควรจะรู้ได้เช่นนั้น สัญญาประกันชีวิตและสุขภาพของผู้ตาย จึงสมบรูณ์ไม่ตกเป็นโมฆียะ ซึ่งจำเลยไม่มีสิทธิ์บอกล้างสัญญาได้ เพราะให้แพทย์จำเลยเป็นผู้ตรวจผู้ตายแล้วเห็นว่า ผู้ตายมีสุขภาพสมบรูณ์ ไม่มีปัญหาขัดข้องต่อการรับประกัน จึงรับประกันภัย เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับประวัติการรักษาตามที่ฏีกามา ไม่ได้ซักถามพยานในข้อความดังกล่าว ถือเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้น ตาม ปวพ มาตรา ๒๔๙ แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามไม่ให้ฏีกา ศาลฏีกาไม่รับวินิจฉัยให้
๘.แม้เป็นจริงตามที่อ้างก็แพ้คดี เป็นการแพ้ด้วยเทคนิคทางกฎหมายที่ไม่ได้ปฏิบัติตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้เพื่อกันการเอาเปรียบกัน เมื่อไม่บรรยายฟ้องมา จำเลยไม่อาจต่อสู้โต้แย้งหรือแสดงโดยแจ้งชัดในคำให้การว่า ยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธ เมื่อไม่มีการกล่าวอ้างในเรื่องนี้มา จำเลยก็ไม่สามารถปฏิเสธหรือยอมรับข้อความดังกล่าวนี้ได้ จึงไม่เกิดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องดังกล่าวตาม ปวพ มาตรา ๑๘๓ เมื่อไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกิดขึ้นก็ไม่มีการนำสืบในเรื่องดังกล่าว และจำเลยไม่มีโอกาสนำสืบแก้ข้อกล่าวหาดังกล่าว ไม่มีโอกาสถามค้านพยานโจทก์เพื่อทำลายน้ำหนักและกระจายข้อเท็จจริง เพื่อเป็นดุลพินิจในการที่ศาลจะวินิจฉัยว่าจะเชื่อพยานฝ่ายใด การที่เพิ่งมายกในชั้นฏีกา จำเลยไม่อาจต่อสู้ได้เต็มที่ ไม่อาจถามค้านพยานเพื่อทำลายน้ำหนักพยานหรือนำพยานเข้าสืบหักล้าง เพื่อกระจายข้อเท็จจริงให้ศาลวินิจฉัยว่าควรเชื่อตามที่โจทก์กล่าวอ้างหรือไม่อย่างไร การยกขึ้นมาอ้างในศาลสูงทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี เป็นข้อที่ไม่ได้ว่ามาแล้วในศาลล่าง ศาลสูงไม่รับวินิจฉัยให้
๙.หากมีการบรรยายมาในฟ้องมาแต่แรกมีการนำพยานเข้าสืบ ผลของคำพิพากษานี้อาจเปลี่ยนไปก็ได้
๑๐. การโฆษณาว่าประกันชีวิตโดยไม่ต้องตรวจสุขภาพแล้วรับประกันชีวิต ครั้นถึงแก่ความตายแล้วไม่ยอมจ่ายเงินให้นั้น จะเป็นการหลอกลวงประชาชนอันเป็นการฉ้อโกงตาม ปอ มาตรา ๓๔๑,๓๔๓ หรือไม่? เพราะการโฆษณาอย่างนี้คนที่ได้ยินย่อมเข้าใจว่าผู้เอาประกันภัยสละเงื่อนไขเรื่องการตรวจร่างกายและสละเงื่อนไขเรื่องการแถลงเรื่องโรคร้ายและประวัติการเจ็บไข้ได้ป่วย ทุกคนที่มาเอาประกันก็หวังว่าเมื่อตนเสียชีวิตแล้วผู้รับประโยชน์จะได้รับเงินตามที่ระบุไว้ในกรรมธรรม หากบริษัทผู้รับประกันภัยมีเจตนาที่จะจ่ายเงินตามสัญญาจริง ก็น่าที่จะระบุไว้ให้ชัดลงไปในโฆษณาว่า ไม่ต้องตรวจโรคไม่ต้องแถลงเรื่องโรคร้าย หากถึงแก่ความตายบริษัทผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินทุกกรณี ในเรื่องนี้ยังไม่มีคำพิพากษาว่า การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนหรือไม่อย่างไร ต้องรอดูคำพิพากษาต่อไปครับ ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่า การโฆษณาดังกล่าวทำให้คนทั่วไปหลงเข้าใจผิดโดยเฉพาะตนที่ไม่เรียนกฏหมายมาย่อมเข้าใจว่าทำประกันชีวิตเมื่อถึงแก่ความตายแล้วผู้รับประโยชน์จะได้เงิน การโฆษณาดังกล่าวจะเป็นเรื่องการแสดงเจตนาที่ในใจจริงผู้แสดงเจตนาไม่เจตนาให้ตนต้องผูกพันตามที่แสดงออกมา การแสดงเจตนาดังนี้ไม่เป็นเหตุให้สัญญาตกเป็นโมฆะ เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยจะได้รู้เจตนาที่ซ่อนอยู่ในใจผู้รับประกัน ตาม ปพพ มาตรา ๑๕๔ แต่เมื่อยังไม่มีคำพิพากษาในส่วนนี้คงต้องรอดูไปก่อนว่าจะมีคดีถึงศาลฏีกาหรือไม่อย่างไร และศาลจะตัดสินคดีนี้อย่างไร