ค้นหาบล็อกนี้
วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2562
วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2562
“บันดาลโทสะ”
๑.จำเลยกับผู้ตายมีปากเสียงกัน เนื่องจากผู้ตายสาดสุราลดขาจำเลยเพราะไม่พอใจจำเลยที่ไม่ยอมดื่มสุราที่ผู้ตายรินและคะยันคะยอให้ดื่ม จำเลยออกจากวงสุราเข้าไปในหมู่บ้านห่างประมาณ ๒ กิโลเมตร ต่อมา ๑ ชั่วโมงจึงหวนมาผลักอกและใช้ปืนยิงผู้ตาย ไม่ใช่จำเลยยิงผู้ตายเพราะเกิดโทสะพลุ่งขึ้นเฉพาะหน้าขณะถูกผู้ตายกระทำการเหยียดหยาม หากเป็นแต่กรณีเกิดโทสะและออกจากที่เกิดเหตุแล้ว จึงเกิดความคิดไปเอาอาวุธปืนมายิงทำร้ายผู้ตายในภายหลัง เชื่อว่าระหว่างเดินทางไปกลับที่เกิดเหตุกับหมู่บ้านเป็นเวลา ๑ ชั่วโมง ระยะทางไม่ต่ำกว่า ๔ กิโลเมตร จำเลยต้องคิดไตร่ตรองตัดสินใจอย่างหนักแน่นในการตกลงใจกระทำความผิด จึงเป็นการฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน คำพิพากษาฏีกา ๑๗๑/๒๕๓๖
๒.จำเลยทราบว่าภรรยาจำเลยถูกผู้เสียหายปลุกปล้ำกระทำชำเรา จำเลยไม่ได้แสดงอาการโกรธหรือทำร้ายผู้เสียหาย แต่ได้ออกไปหาปลาร่วมกับผู้เสียหายเป็นเวลานาน ๓ ชั่วโมง นับแต่ทราบเหตุดังกล่าวแล้วจำเลยจึงได้ใช้มีดฟันทำร้ายผู้เสียหาย ไม่ใช่การกระทำต่อผู้ถูกข่มเหงในขณะนั้นตาม ปอ มาตรา ๗๒ คำพิพากษาฏีกา ๑๒๐๓/๒๕๓๗
๓.ขณะจำเลยกับพวกและผู้ตายดูภาพยนตร์ในงานศพ ผู้ตายกับพวกใช้ขวดสุราปาจอภาพยนตร์และล้มจอ ระหว่างผู้ตายกับพวกเดินกลับบ้านได้ร่วมกันทำร้ายน้องชายจำเลยจนตกลงไปในคูน้ำ เมื่อมาพบจำเลยกับเด็กเดินสวนทางก็ได้ร่วมกันทำร้ายจำเลยฝ่ายเดียวจนตกลงไปในคูน้ำ จำเลยวิ่งกลับบ้านห่างไปประมาณ ๓๐๐ เมตร เอามีดมาต่อสู้ผู้ตาย แม้ไม่ได้ทำลงในขณะนั้น หรือ ณ ที่ถูกข่มเหงแต่อยู่ในระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิด ถือว่าจำเลยกระทำผิดด้วยเหตุบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม แม้จำเลยไม่ได้ยกเรื่องนี้ขึ้นต่อสู้ ศาลฏีกาก็มีอำนายหยิบขึ้นมาวินิจฉัยเองได้ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย คำพิพากษาฎีกา ๑๗๕๖/๒๕๓๙
๔.ผู้ตายเมาสุรามากกลับมาบ้าน ผู้ตายเอะอะหาเรื่องจำเลยหลายเรื่องและกล่าวหาจำเลยเอามีดของผู้ตายไปซ่อน ผู้ตายบอกให้จำเลยออกจากบ้านมิเช่นนั้นจะสับให้เป็นชิ้น แล้วใช้มีดดังกล่าวไล่ฟันจำเลยก่อน จำเลยวิ่งไปบ้านน้องผู้ตายซึ่งอยู่ใกล้กัน ผู้ตายถือมีดวิ่งตามไป จำเลยหลบหนีออกไปซ่อนตัวข้างต้นมะขามในทุ่งนา ผู้ตายหาจำเลยไม่พบจึงกลับไปบ้านปิดบ้านล็อคกุญแจนอน จำเลยกลับบ้านแอบมองทางรอยแตก เห็นผู้ตายหลบอยู่จึงใช้ลูกกุญแจไขเปิดประตูหน้าบ้านเข้าไป แล้วใช้มีดฟันผู้ตายด้วยความโมโหที่ถูกผู้ตายวิ่งไล่ทำร้ายอยู่เป็นประจำ การที่ผู้ตายใช้มีดไล่ฟันจำเลยนับเป็นการข่มเหงร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม แม้จำเลยจะเป็นภรรยาผู้ตาย ผู้ตายก็หามีสิทธิ์ที่จะกระทำแก่จำเลยเช่นนั้นไม่ เมื่อจำเลยเกิดความโกรธคือบันดาลโทสะ และจำเลยกระทำแก่ผู้ตายในทันทีที่กลับถึงบ้านและพบผู้ตายอันเป็นระยะเวลาห่างจากถูกข่มเหงเพียง ๒ ชั่วโมงหรือสองชั่วโมงเศษ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จำเลยต้องหลบหนีจากการที่ถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงจนต้องถึงกลับไปแอบซ่อนตัวในป่าละเมาะ ถือได้ว่าการข่มเหงยังอยู่ในช่วงเวลาที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันอยู่ จึงตกอยู่ในเกณฑ์ที่ว่า จำเลยกระทำผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น การกระทำต้องด้วย ปอ มาตรา ๗๒ คำพิพากษาฎีกา ๑๘๒๑/๒๕๔๓
๕.เพื่อนผู้ตายกับเพื่อนของจำเลยจะต่อยกัน จำเลยเข้าไปถีบเพื่อนผู้ตายเพื่อช่วยเหลือเพื่อนจำเลย ผู้ตายเตะจำเลยเพื่อช่วยเหลือเพื่อนผู้ตาย จะถือว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรมจากผู้ตายไม่ได้ เพราะจำเลยทำร้ายเพื่อนผู้ตายก่อน ความผิดของจำเลยจึงไม่ใช่การกระทำผิดโดยการบันดาลโทสะ จำเลยมอบตัวต่อเจ้าพนักงานอันเป็นการลุแก่โทษ ชั้นสอบสวนให้การรับสารภาพอย่างเดียวกับข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบในชั้นศาลจำเลยให้การสู้คดีชั้นศาลว่าป้องกันตัว จำเลยไม่ได้บิดเบื่อข้อเท็จจริงและในที่สุดก็รับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้อง แม้รับสารภาพเมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วก็ยังเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ที่ศาลวางบทกำหนดโทษและลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งเป็นการสมควรแก่เหตุพฤติการณ์คดี. คำพิพากษาฎีกา ๔๒๕/๒๕๑๒
๖.จำเลยกับผู้ตายเป็นสามีภรรยากันนาน ๗ ปี มีบุตรด้วยกัน ๓ คน มีปากเสียงทะเลาะกันเสมอๆ ก่อนเกิดเหตุผู้ตายและจำเลยมีปากเสียงกัน ผู้ตายกล่าวหาจำเลยพาชายชู้มานอนที่เตียงนอนและไล่จำเลยออกจากบ้าน และขู่ว่า หากจำเลยไม่ไปจะฆ่าจำเลย เป็นเรื่องสามีภรรยาเป็นปากเสียงกันตามปกติที่เคยเป็นมา จะถือว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ จำเลยใช้ปืนยิงผู้ตาย ไม่ใช่การกระทำโดยบันดาลโทสะ คำพิพากษาฏีกา๓๘๗๔/๒๕๒๙
๗. ผู้ตายสั่งลงโทษจำเลยผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเพราะจำเลยละทิ้งหน้าที่ จำเลยไม่พอใจพูดต่อว่าและท้าทายผู้ตายให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน ผู้ตายตอบว่า “ตั้งก็ตั้ง” แล้วหยิบกระดาษกับปากกาขึ้นมา จำเลยไม่พอใจชักปืนยิงผู้ตาย ผู้ตายไม่ได้แสดงกริยากระทำการใดๆในลักษณะข่มเหงจำเลย ที่ผู้ตายสั่งลงโทษจำเลยเป็นการกระทำตามหน้าที่โดยชอบและโทษที่ลงก็เป็นโทษสถานเบาที่สุดแล้ว จำเลยกระทำการโดยบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ เหตุเกิดในสถานที่ราชการมีพยานรู้เห็นขณะเกิดเหตุ แม้จำเลยให้การรับสารภาพ พยานหลักฐานโจทก์มั่นคงลงโทษจำเลยได้ตามฟ้อง จำเลยรับสารภาพเพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน จึงไม่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา จำเลยกระทำการอุกอาจไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง ทั้งๆที่จำเลยมีหน้าที่รักษากฎหมายและเป็นการกระทำต่อผู้บังคับบัญชาด้วยสาเหตุเพียงเล็กน้อย แสดงให้เห็นจิตใจเหี้ยมอัมหิตของจำเลย พฤติการณ์ไม่มีเหตุควรลดโทษคำพิพากษาฏีกา ๑๗๒๐/๒๕๓๐
๘. จำเลยทวงเงินค่าจ้างที่ค้างจากผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างที่ผัดชำระอยู่หลายครั้ง โดยไม่ปรากฏผู้เสียหายได้กระทำการอื่นใดต่อจำเลยอีก ถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม จะอ้างเหตุบันดาลโทสะแก่ตนหาได้ไม่ คำพิพากษาฎีกา ๓๘๘๗/๒๕๔๒
๙.จำเลยไปหาผู้ตายที่ทำงานของผู้ตายและถามผู้ตายว่า “ มึงเล่นชู้กับเมียกูทำไม” ผู้ตายพูดว่า “ มึงไม่มีน้ำยากูเลยเล่น” เป็นการพูดตอบโต้จำเลย แม้จะพูดทำนองยั่วยุ แต่ไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม ทั้งไม่ได้พูดต่อหน้าผู้อื่นที่จะทำให้จำเลยอับอายขายหน้าผู้อื่น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม คำพิพากษาฎีกา ๕๗๑๔/๒๕๔๘
๒.จำเลยทราบว่าภรรยาจำเลยถูกผู้เสียหายปลุกปล้ำกระทำชำเรา จำเลยไม่ได้แสดงอาการโกรธหรือทำร้ายผู้เสียหาย แต่ได้ออกไปหาปลาร่วมกับผู้เสียหายเป็นเวลานาน ๓ ชั่วโมง นับแต่ทราบเหตุดังกล่าวแล้วจำเลยจึงได้ใช้มีดฟันทำร้ายผู้เสียหาย ไม่ใช่การกระทำต่อผู้ถูกข่มเหงในขณะนั้นตาม ปอ มาตรา ๗๒ คำพิพากษาฏีกา ๑๒๐๓/๒๕๓๗
๓.ขณะจำเลยกับพวกและผู้ตายดูภาพยนตร์ในงานศพ ผู้ตายกับพวกใช้ขวดสุราปาจอภาพยนตร์และล้มจอ ระหว่างผู้ตายกับพวกเดินกลับบ้านได้ร่วมกันทำร้ายน้องชายจำเลยจนตกลงไปในคูน้ำ เมื่อมาพบจำเลยกับเด็กเดินสวนทางก็ได้ร่วมกันทำร้ายจำเลยฝ่ายเดียวจนตกลงไปในคูน้ำ จำเลยวิ่งกลับบ้านห่างไปประมาณ ๓๐๐ เมตร เอามีดมาต่อสู้ผู้ตาย แม้ไม่ได้ทำลงในขณะนั้น หรือ ณ ที่ถูกข่มเหงแต่อยู่ในระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิด ถือว่าจำเลยกระทำผิดด้วยเหตุบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม แม้จำเลยไม่ได้ยกเรื่องนี้ขึ้นต่อสู้ ศาลฏีกาก็มีอำนายหยิบขึ้นมาวินิจฉัยเองได้ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย คำพิพากษาฎีกา ๑๗๕๖/๒๕๓๙
๔.ผู้ตายเมาสุรามากกลับมาบ้าน ผู้ตายเอะอะหาเรื่องจำเลยหลายเรื่องและกล่าวหาจำเลยเอามีดของผู้ตายไปซ่อน ผู้ตายบอกให้จำเลยออกจากบ้านมิเช่นนั้นจะสับให้เป็นชิ้น แล้วใช้มีดดังกล่าวไล่ฟันจำเลยก่อน จำเลยวิ่งไปบ้านน้องผู้ตายซึ่งอยู่ใกล้กัน ผู้ตายถือมีดวิ่งตามไป จำเลยหลบหนีออกไปซ่อนตัวข้างต้นมะขามในทุ่งนา ผู้ตายหาจำเลยไม่พบจึงกลับไปบ้านปิดบ้านล็อคกุญแจนอน จำเลยกลับบ้านแอบมองทางรอยแตก เห็นผู้ตายหลบอยู่จึงใช้ลูกกุญแจไขเปิดประตูหน้าบ้านเข้าไป แล้วใช้มีดฟันผู้ตายด้วยความโมโหที่ถูกผู้ตายวิ่งไล่ทำร้ายอยู่เป็นประจำ การที่ผู้ตายใช้มีดไล่ฟันจำเลยนับเป็นการข่มเหงร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม แม้จำเลยจะเป็นภรรยาผู้ตาย ผู้ตายก็หามีสิทธิ์ที่จะกระทำแก่จำเลยเช่นนั้นไม่ เมื่อจำเลยเกิดความโกรธคือบันดาลโทสะ และจำเลยกระทำแก่ผู้ตายในทันทีที่กลับถึงบ้านและพบผู้ตายอันเป็นระยะเวลาห่างจากถูกข่มเหงเพียง ๒ ชั่วโมงหรือสองชั่วโมงเศษ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จำเลยต้องหลบหนีจากการที่ถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงจนต้องถึงกลับไปแอบซ่อนตัวในป่าละเมาะ ถือได้ว่าการข่มเหงยังอยู่ในช่วงเวลาที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันอยู่ จึงตกอยู่ในเกณฑ์ที่ว่า จำเลยกระทำผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น การกระทำต้องด้วย ปอ มาตรา ๗๒ คำพิพากษาฎีกา ๑๘๒๑/๒๕๔๓
๕.เพื่อนผู้ตายกับเพื่อนของจำเลยจะต่อยกัน จำเลยเข้าไปถีบเพื่อนผู้ตายเพื่อช่วยเหลือเพื่อนจำเลย ผู้ตายเตะจำเลยเพื่อช่วยเหลือเพื่อนผู้ตาย จะถือว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรมจากผู้ตายไม่ได้ เพราะจำเลยทำร้ายเพื่อนผู้ตายก่อน ความผิดของจำเลยจึงไม่ใช่การกระทำผิดโดยการบันดาลโทสะ จำเลยมอบตัวต่อเจ้าพนักงานอันเป็นการลุแก่โทษ ชั้นสอบสวนให้การรับสารภาพอย่างเดียวกับข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบในชั้นศาลจำเลยให้การสู้คดีชั้นศาลว่าป้องกันตัว จำเลยไม่ได้บิดเบื่อข้อเท็จจริงและในที่สุดก็รับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้อง แม้รับสารภาพเมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วก็ยังเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ที่ศาลวางบทกำหนดโทษและลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งเป็นการสมควรแก่เหตุพฤติการณ์คดี. คำพิพากษาฎีกา ๔๒๕/๒๕๑๒
๖.จำเลยกับผู้ตายเป็นสามีภรรยากันนาน ๗ ปี มีบุตรด้วยกัน ๓ คน มีปากเสียงทะเลาะกันเสมอๆ ก่อนเกิดเหตุผู้ตายและจำเลยมีปากเสียงกัน ผู้ตายกล่าวหาจำเลยพาชายชู้มานอนที่เตียงนอนและไล่จำเลยออกจากบ้าน และขู่ว่า หากจำเลยไม่ไปจะฆ่าจำเลย เป็นเรื่องสามีภรรยาเป็นปากเสียงกันตามปกติที่เคยเป็นมา จะถือว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ จำเลยใช้ปืนยิงผู้ตาย ไม่ใช่การกระทำโดยบันดาลโทสะ คำพิพากษาฏีกา๓๘๗๔/๒๕๒๙
๗. ผู้ตายสั่งลงโทษจำเลยผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเพราะจำเลยละทิ้งหน้าที่ จำเลยไม่พอใจพูดต่อว่าและท้าทายผู้ตายให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน ผู้ตายตอบว่า “ตั้งก็ตั้ง” แล้วหยิบกระดาษกับปากกาขึ้นมา จำเลยไม่พอใจชักปืนยิงผู้ตาย ผู้ตายไม่ได้แสดงกริยากระทำการใดๆในลักษณะข่มเหงจำเลย ที่ผู้ตายสั่งลงโทษจำเลยเป็นการกระทำตามหน้าที่โดยชอบและโทษที่ลงก็เป็นโทษสถานเบาที่สุดแล้ว จำเลยกระทำการโดยบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ เหตุเกิดในสถานที่ราชการมีพยานรู้เห็นขณะเกิดเหตุ แม้จำเลยให้การรับสารภาพ พยานหลักฐานโจทก์มั่นคงลงโทษจำเลยได้ตามฟ้อง จำเลยรับสารภาพเพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน จึงไม่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา จำเลยกระทำการอุกอาจไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง ทั้งๆที่จำเลยมีหน้าที่รักษากฎหมายและเป็นการกระทำต่อผู้บังคับบัญชาด้วยสาเหตุเพียงเล็กน้อย แสดงให้เห็นจิตใจเหี้ยมอัมหิตของจำเลย พฤติการณ์ไม่มีเหตุควรลดโทษคำพิพากษาฏีกา ๑๗๒๐/๒๕๓๐
๘. จำเลยทวงเงินค่าจ้างที่ค้างจากผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างที่ผัดชำระอยู่หลายครั้ง โดยไม่ปรากฏผู้เสียหายได้กระทำการอื่นใดต่อจำเลยอีก ถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม จะอ้างเหตุบันดาลโทสะแก่ตนหาได้ไม่ คำพิพากษาฎีกา ๓๘๘๗/๒๕๔๒
๙.จำเลยไปหาผู้ตายที่ทำงานของผู้ตายและถามผู้ตายว่า “ มึงเล่นชู้กับเมียกูทำไม” ผู้ตายพูดว่า “ มึงไม่มีน้ำยากูเลยเล่น” เป็นการพูดตอบโต้จำเลย แม้จะพูดทำนองยั่วยุ แต่ไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม ทั้งไม่ได้พูดต่อหน้าผู้อื่นที่จะทำให้จำเลยอับอายขายหน้าผู้อื่น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม คำพิพากษาฎีกา ๕๗๑๔/๒๕๔๘
ข้อสังเกต ๑. ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม จึงกระทำต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น เป็นการกระทำความผิดโดยการบันดาลโทสะ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ ตาม ปอ มาตรา ๗๒
๒.การที่ผู้ตายสาดสุราลดขาจำเลยเพราะไม่พอใจจำเลยที่ไม่ยอมดื่มสุราที่ผู้ตายรินและคะยันคะยอให้ดื่ม เป็นการทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายและจิตใจ ตาม ปอ มาตรา ๓๙๑ เป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม และเป็นภยันตรายที่เกิดจากการละเมิดต่อบทบัญญัติของกฎหมายอาญา จำเลยมีสิทธิ์ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดกฎหมายได้ แต่การกระทำนั้นต้องพอสมควรและได้สัดส่วนกับการกระทำ
๓.เมื่อจำเลยออกจากวงสุราเข้าไปในหมู่บ้านห่างประมาณ ๒ กิโลเมตร ต่อมา ๑ ชั่วโมงจึงหวนมาผลักอกและใช้ปืนยิงผู้ตาย จึงไม่ใช่การกระทำ จึงไม่ใช่การกระทำต่อผู้ข่มเหง “ในขณะนั้น” แม้การถูกสุราสาดที่ขาจะเป็นการข่มเหงทั้งด้านร่างกายและจิตใจก็ตาม แต่การนำปืนมายิงหลังจากเดินกลับบ้านจนเวลาผ่านไป ๑ ชั่วโมงซึ่งถือว่ามีระยะเวลานานพอสมควร มีการไตร่ตรองที่จะไปพบผู้ตายพร้อมอาวุธ จึงไม่ใช่การยิงผู้ตายเพราะเกิดโทสะพลุ่งขึ้นเฉพาะหน้าขณะถูกผู้ตายกระทำการเหยียดหยาม หากเป็นแต่กรณีเกิดโทสะและออกจากที่เกิดเหตุแล้ว จึงเกิดความคิดไปเอาอาวุธปืนมายิงทำร้ายผู้ตายในภายหลัง
๔.เมื่อเดินทางไปกลับที่เกิดเหตุกับหมู่บ้านเป็นเวลา ๑ ชั่วโมง ระยะทางไม่ต่ำกว่า ๔ กิโลเมตร การนำอาวุธปืนมายิงจึงเป็นการคิดไตร่ตรองตัดสินใจอย่างหนักแน่นในการตกลงใจกระทำความผิด จึงเป็นการฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตาม ปอ มาตรา ๒๘๙(๔)
๕.การที่ผู้เสียหายข่มขืนกระทำชำเราภรรยา เป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ตาม ปอ มาตรา ๒๗๖ อันเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม แต่เมื่อจำเลยทราบว่าภรรยาจำเลยถูกผู้เสียหายปลุกปล้ำกระทำชำเรา จำเลยไม่ได้แสดงอาการโกรธหรือทำร้ายผู้เสียหาย เสมือนหนึ่งว่ายอมรับได้หรือให้อภัยแก่ผู้เสียหาย ทั้งยังได้ออกไปหาปลาร่วมกับผู้เสียหายเป็นเวลานาน ๓ ชั่วโมง นับแต่ทราบเหตุดังกล่าวแล้วจำเลยจึงได้ใช้มีดฟันทำร้ายผู้เสียหาย จึงไม่ใช่การกระทำต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ข่มเหงจำเลยด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม “ในขณะนั้น “ตาม ปอ มาตรา ๗๒ อ้างบันดาลโทสะไม่ได้
๖.ข้อควรพิจารณาคือ ต้องพิจารณาว่า ภรรยาของจำเลยเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยหรือไม่ คือมีการจดทะเบียนสมรสตาม ปพพ มาตรา ๑๔๕๗ หรือไม่ หรืออยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาคือไม่มีการจดทะเบียนสมรส แม้จะมีการแต่งงานตามประเพณีก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อทราบว่าเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ก็จะบอกให้ทราบว่าหากกระทำต่อผู้ข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม ไม่ว่าการกระทำนั้นหรือเหตุนั้นจะละเมิดกฎหมายหรือไม่ก็ตาม โดยกระทำตอบโต้ต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น การเป็นการกระทำโดยป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายที่สามีมีสิทธิ์ป้องกันสิทธิ์ในชื่อเสียงและเกียรติยศของตนเองและของภรรยาตนเองซึ่งได้จดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายให้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดกฎหมายอันจะเป็นการกระทำโดยป้องกัน อาจพอสมควรแก่เหตุ หรือเกินสมควรแก่เหตุ หรือเกินกว่ากรณีแห่งการป้องกันซึ่งแล้วแต่ว่า การกระทำการเพื่อป้องกันนั้นได้กระทำพอสมควรแก่เหตุหรือไม่? การกระทำตอบโต้ได้สัดส่วนกับการกระทำที่ละเมิดกฎหมายหรือไม่อย่างไร เป็นวิถีทางน้อยที่สุดที่จะกระทำหรือไม่อย่างไร หรือการกระทำนั้นจะเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะเพราะตนไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับภรรยา หญิงจึงไม่ได้อยู่ในฐานะภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายชาย แต่อยู่ในฐานะนางบำเรอ ซึ่งชายไม่มีสิทธิ์ที่จะป้องกันชื่อเสียงและเกียรติ์คุณของตนเอง การกระทำนั้นอาจเป็นการกระทำความผิดด้วยความจำเป็น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพิจารณาว่าภรรยาของจำเลยเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อย่างไร?
๗. การที่ผู้ตายกับพวกร่วมกันทำร้ายน้องชายจำเลยจนตกลงไปในคูน้ำ เมื่อมาพบจำเลยกับเด็กเดินสวนทางก็ได้ร่วมกันทำร้ายจำเลยฝ่ายเดียวจนตกลงไปในคูน้ำ เป็นการทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจตาม ปอ มาตรา ๒๙๕ อันเป็นการประทุษร้ายอันละเมิดกฎหมายทั้งยังเป็นการข่มเหงจำเลยด้วยเหตุไม่เป็นธรรม แม้
จำเลยวิ่งกลับบ้านห่างไปประมาณ ๓๐๐ เมตร เอามีดมาต่อสู้ผู้ตาย แม้ไม่ได้ทำลงในขณะนั้น หรือ ณ ที่ถูกข่มเหงแต่อยู่ในระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิด ก็ถือว่า เป็นการกระทำที่ “ต่อเนื่อง” จากการถูกข่มเหงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม เพราะระยะทางเพียง ๓๐๐ เมตร เป็นระยะทางใกล้ ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ใกล้ชิดกับเหตุที่เกิดขึ้น ถือได้ว่า เป็นการกระทำต่อผู้ข่มเหง “ ในขณะนั้น” ถือว่าจำเลยกระทำผิดด้วยเหตุบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม
๘.แม้จำเลยไม่ได้ยกเรื่องนี้ขึ้นต่อสู้ ศาลฏีกาก็มีอำนายหยิบขึ้นมาวินิจฉัยเองได้ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตาม ปวอ มาตรา๑๙๕,๒๒๕ ที่แม้ไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ก็ตาม
๙.พฤติการณ์ที่ ผู้ตายหาเรื่องจำเลยหลายเรื่องและกล่าวหาจำเลยเอามีดของผู้ตายไปซ่อน ผู้ตายบอกให้จำเลยออกจากบ้านมิเช่นนั้นจะสับให้เป็นชิ้น แล้วใช้มีดดังกล่าวไล่ฟันจำเลยก่อนจนจำเลยวิ่งไปบ้านน้องผู้ตายซึ่งอยู่ใกล้กัน ผู้ตายถือมีดวิ่งตามไป จำเลยหลบหนีออกไปซ่อนตัวข้างต้นมะขามในทุ่งนา หากจำเลยไม่หลบหรือไม่วิ่งหนีก็อาจถูกทำร้ายเป็นอันตรายต่อร่างกายและอาจเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บสาหัสได้ การกระทำของผู้ตายถือได้ว่าเป็นการประทุษร้ายจำเลยด้วยการละเมิดกฎหมายในความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกาย อันเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงหรือถึงแล้วซึ่งจำเลยสามารถป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมายได้ แต่จำเลยก็หาได้กระทำการอันใดอันเป็นการป้องกันตัวตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ โดยจำเลยเพียงหลบซ่อนตัวไม่ให้ต้องถูกทำร้ายร่างกายเท่านั้น
๑๐.เมื่อผู้ตายหาจำเลยไม่พบจึงกลับไปบ้านปิดบ้านล็อคกุญแจนอน เมื่อจำเลยใช้มีดฟันผู้ตายด้วยความโมโหที่ถูกผู้ตายวิ่งไล่ทำร้ายอยู่เป็นประจำ แม้จะไม่ได้ฟันทำร้ายผู้ตายในทันทีในขณะถูกข่มเหงด้วยเหตุไม่เป็นธรรมก็ตาม แต่ก็เห็นได้ว่า การที่ผู้ตายใช้มีดไล่ฟันจำเลยอยู่ “เป็นประจำ” และก็ไล่ฟันจำเลยในวันเกิดเหตุอีก และยังไม่เป็นการแน่นอนว่าในอนาคตจำเลยจะถูกผู้ตายใช้มีดไล่ฟันอีกหรือไม่อย่างไร ย่อมเป็นการเก็บกดในฐานะภรรยาที่ถูกสามีทำร้ายร่างกายอยู่เป็นประจำ จนถึงวันเกิดเหตุ นับว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการข่มเหงร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม แม้จำเลยจะเป็นภรรยาผู้ตาย ผู้ตายก็หามีสิทธิ์ที่จะกระทำแก่จำเลยเช่นนั้นไม่
๑๑.แม้จำเลยจะกระทำตอบกับผู้เสียหายหลังเกิดเหตุ สองชั่วโมงเศษ แต่ก็ได้กระทำทันทีที่ได้พบผู้ตาย ความเกิดหรือบันดาลโทสะยังคงคลุกกรุ่นอยู่ในความคิดของจำเลย เมื่อได้กระทำแก่ผู้ตายในทันทีที่กลับถึงบ้านแม้จะเป็นระยะเวลาห่างจากถูกข่มเหงเพียง ๒ ชั่วโมงหรือสองชั่วโมงเศษก็ตาม แต่ช่วงระยะเวลาดังกล่าวก็เป็นช่วงเวลาที่จำเลยต้องหลบหนีจากการที่ถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงจนต้องถึงกลับไปแอบซ่อนตัวในป่าละเมาะ ถือได้ว่าการข่มเหงยังอยู่ในช่วงเวลาที่ “ต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน”อยู่ การกระทำของจำเลยจึงอยู่ในเกณฑ์ว่า จำเลยกระทำผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น อ้างเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตาม ปอ มาตรา ๗๒ ได้
๑๒.การที่เพื่อนผู้ตายกับเพื่อนของจำเลยจะต่อยกัน จำเลยเข้าไปทำร้ายเพื่อนผู้ตายเพื่อช่วยเหลือเพื่อนจำเลย ผู้ตายจึงทำร้ายจำเลยเพื่อช่วยเหลือเพื่อนผู้ตาย ถือได้ว่า จำเลยมี “ ส่วนร่วม” ในการกระทำความผิดด้วย เพราะได้เข้าร่วมในการทะเลาะวิวาท จำเลยจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ปวอ มาตรา ๒ (๔)และ จะถือว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรมจากผู้ตายไม่ได้ การที่จำเลยทำร้ายผู้ตายจึงอ้างว่าเป็นการกระทำผิดโดยการบันดาลโทสะตาม ปอ มาตรา ๗๒ ไม่ได้
๑๓.การที่ จำเลยมอบตัวต่อเจ้าพนักงานเป็นการลุแก่โทษ ชั้นสอบสวนให้การรับสารภาพอย่างเดียวกับข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบ อันเป็นการ “ รู้สึกความผิดและลุแก้โทษต่อเจ้าพนักงาน” อันเป็นเหตุบรรเทาโทษ ตาม ปอ มาตรา ๗๘วรรคสอง แม้ในชั้นศาลจำเลยให้การสู้คดีชั้นศาลว่าป้องกันตัว แต่จำเลยไม่ได้บิดเบื่อข้อเท็จจริงหรือเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงใหม่เพื่อต่อสู้คดีแต่อย่างใด ทั้งในที่สุดก็รับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้อง อันถือได้ว่าเป็นการ “ ลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานและให้ความรู้ต่อศาลอันเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา” ตาม ปอ มาตรา ๗๘ วรรคสอง แม้รับสารภาพเมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วก็ยังเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ที่ศาลวางบทกำหนดโทษและลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งเป็นการสมควรแก่เหตุพฤติการณ์คดี
๑๔.. การที่จำเลยกับผู้ตายซึ่งเป็นสามีภรรยากันมานานและ มีปากเสียงทะเลาะกันเสมอๆ ย่อมเป็นเรื่องปกติที่คนอยู่ด้วยกันเป็นเวลานานย่อมกระทบกระทั้งกันเป็นธรรมดา แม้ก่อนเกิดเหตุผู้ตายและจำเลยมีปากเสียงกันโดย ผู้ตายกล่าวหาจำเลยพาชายชู้มานอนที่เตียงนอนและไล่จำเลยออกจากบ้าน และขู่ว่า หากจำเลยไม่ไปจะฆ่าจำเลย เป็นเรื่องสามีภรรยาเป็นปากเสียงกันตามปกติที่เคยเป็นมา การไล่ออกจากบ้านยังไม่เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดภยันตรายอันละเมิดกฎหมายแต่อย่างใด ส่วนการขู่ว่าจะฆ่า ก็ไม่ปรากฎว่าผู้ตายได้กระทำการใดอันจะชี้บ่งว่าจะฆ่าจำเลย การขู่ว่าจะฆ่าอาจเป็นความผิดฐานทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือตกใจโดยการขู่เข็ญ ตาม ปอ มาตรา ๓๙๒ซึ่งเป็นเพียงความผิดลหุโทษมีโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน ปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเป็นความผิดเล็กน้อย และเป็นความผิดที่สามารถทำการเปรียบเทียบปรับได้ตาม ปวอ มาตรา ๓๗,๓๙(๓)ลำพังเหตุเพียงเท่านี้จะถือว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ ทั้งการที่จำเลยใช้ปืนยิงผู้ตายนั้น ปืนเป็นอาวุธร้ายแรงเมื่อยิงออกไปต้องถือมีเจตนาฆ่า การกระทำของจำเลยกับคำขู่ผู้เสียหายที่ขู่นั้นไม่ได้สัดส่วนกัน ไม่พอควรแก่พฤติการณ์แห่งคดี การที่จำเลยใช้ปืนยิงผู้ตายจึงไม่ใช่การกระทำโดยบันดาลโทสะ
๑๕.การถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมนั้น หากผู้ที่กระทำการนั้นมีอำนาจหน้าที่ที่สามารถกระทำการดังกล่าวได้ เช่น ผู้บังคับบัญชาลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาเพราะกระทำผิดระเบียบ จะถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรมหาได้ไม่
๑๖.ดังนั้นการผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาที่กระทำผิดวินัยเพราะละทิ้งหน้าที่ จะถือว่าเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ จึงไม่อาจอ้างการกระทำโดยบันดาลโทสะได้
๑๗.การผิดนัดไม่ชำระค่าจ้างและขอผัดผ่อนการชำระ อาจเป็นการกระทำที่เป็นความรับผิดทางแพ่งหรือทางแรงงานซึ่งต้องไปว่ากันเป็นอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งหากทวงถามแล้วไม่ยอมชำระก็อาจต้องมีการฟ้องร้องกัน แต่การผัดผ่อนไม่ชำระค่าจ้าง ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม อันจะอ้างเหตุบันดาลโทสะมาเป็นประโยชน์แก่ตนหาได้ไม่
๑๘. คำพูดจำเลยที่ถามว่า “ มึงเล่นชู้กับเมียกูทำไม” ผู้ตายพูดว่า “ มึงไม่มีน้ำยากูเลยเล่น” คำพูดนี้ยังไม่ถึงขนาดเป็นการกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายหรือเป็นภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดกฎหมาย แม้คำพูดดังกล่าวเป็นการพูดตอบโต้ทำนองยั่วยุ แต่ไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม ยิ่งคำพูดดังกล่าวไม่ได้พูดต่อหน้าผู้อื่นที่จะทำให้จำเลยอับอายขายหน้าผู้อื่น การที่จำเลยไปหาผู้ตายถึงที่ทำงานพร้อมพาอาวุธไปด้วย แสดงให้เห็นความพร้อมในการใช้อาวุธในการทำร้ายผู้ตาย มีการคิดตระเตรียมการและไตร่ตรองไว้ก่อนแล้วก่อนที่จะไปพบผู้ตายว่าการไปพบต้องนำอาวุธไปด้วย ลำพังคำพูดเพียงเท่านี้ยังไม่รุนแรงเพียงพอที่จะถือว่าเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม จึงอ้างบันดาลโทสะไม่ได้
๒.การที่ผู้ตายสาดสุราลดขาจำเลยเพราะไม่พอใจจำเลยที่ไม่ยอมดื่มสุราที่ผู้ตายรินและคะยันคะยอให้ดื่ม เป็นการทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายและจิตใจ ตาม ปอ มาตรา ๓๙๑ เป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม และเป็นภยันตรายที่เกิดจากการละเมิดต่อบทบัญญัติของกฎหมายอาญา จำเลยมีสิทธิ์ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดกฎหมายได้ แต่การกระทำนั้นต้องพอสมควรและได้สัดส่วนกับการกระทำ
๓.เมื่อจำเลยออกจากวงสุราเข้าไปในหมู่บ้านห่างประมาณ ๒ กิโลเมตร ต่อมา ๑ ชั่วโมงจึงหวนมาผลักอกและใช้ปืนยิงผู้ตาย จึงไม่ใช่การกระทำ จึงไม่ใช่การกระทำต่อผู้ข่มเหง “ในขณะนั้น” แม้การถูกสุราสาดที่ขาจะเป็นการข่มเหงทั้งด้านร่างกายและจิตใจก็ตาม แต่การนำปืนมายิงหลังจากเดินกลับบ้านจนเวลาผ่านไป ๑ ชั่วโมงซึ่งถือว่ามีระยะเวลานานพอสมควร มีการไตร่ตรองที่จะไปพบผู้ตายพร้อมอาวุธ จึงไม่ใช่การยิงผู้ตายเพราะเกิดโทสะพลุ่งขึ้นเฉพาะหน้าขณะถูกผู้ตายกระทำการเหยียดหยาม หากเป็นแต่กรณีเกิดโทสะและออกจากที่เกิดเหตุแล้ว จึงเกิดความคิดไปเอาอาวุธปืนมายิงทำร้ายผู้ตายในภายหลัง
๔.เมื่อเดินทางไปกลับที่เกิดเหตุกับหมู่บ้านเป็นเวลา ๑ ชั่วโมง ระยะทางไม่ต่ำกว่า ๔ กิโลเมตร การนำอาวุธปืนมายิงจึงเป็นการคิดไตร่ตรองตัดสินใจอย่างหนักแน่นในการตกลงใจกระทำความผิด จึงเป็นการฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตาม ปอ มาตรา ๒๘๙(๔)
๕.การที่ผู้เสียหายข่มขืนกระทำชำเราภรรยา เป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ตาม ปอ มาตรา ๒๗๖ อันเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม แต่เมื่อจำเลยทราบว่าภรรยาจำเลยถูกผู้เสียหายปลุกปล้ำกระทำชำเรา จำเลยไม่ได้แสดงอาการโกรธหรือทำร้ายผู้เสียหาย เสมือนหนึ่งว่ายอมรับได้หรือให้อภัยแก่ผู้เสียหาย ทั้งยังได้ออกไปหาปลาร่วมกับผู้เสียหายเป็นเวลานาน ๓ ชั่วโมง นับแต่ทราบเหตุดังกล่าวแล้วจำเลยจึงได้ใช้มีดฟันทำร้ายผู้เสียหาย จึงไม่ใช่การกระทำต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ข่มเหงจำเลยด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม “ในขณะนั้น “ตาม ปอ มาตรา ๗๒ อ้างบันดาลโทสะไม่ได้
๖.ข้อควรพิจารณาคือ ต้องพิจารณาว่า ภรรยาของจำเลยเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยหรือไม่ คือมีการจดทะเบียนสมรสตาม ปพพ มาตรา ๑๔๕๗ หรือไม่ หรืออยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาคือไม่มีการจดทะเบียนสมรส แม้จะมีการแต่งงานตามประเพณีก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อทราบว่าเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ก็จะบอกให้ทราบว่าหากกระทำต่อผู้ข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม ไม่ว่าการกระทำนั้นหรือเหตุนั้นจะละเมิดกฎหมายหรือไม่ก็ตาม โดยกระทำตอบโต้ต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น การเป็นการกระทำโดยป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายที่สามีมีสิทธิ์ป้องกันสิทธิ์ในชื่อเสียงและเกียรติยศของตนเองและของภรรยาตนเองซึ่งได้จดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายให้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดกฎหมายอันจะเป็นการกระทำโดยป้องกัน อาจพอสมควรแก่เหตุ หรือเกินสมควรแก่เหตุ หรือเกินกว่ากรณีแห่งการป้องกันซึ่งแล้วแต่ว่า การกระทำการเพื่อป้องกันนั้นได้กระทำพอสมควรแก่เหตุหรือไม่? การกระทำตอบโต้ได้สัดส่วนกับการกระทำที่ละเมิดกฎหมายหรือไม่อย่างไร เป็นวิถีทางน้อยที่สุดที่จะกระทำหรือไม่อย่างไร หรือการกระทำนั้นจะเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะเพราะตนไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับภรรยา หญิงจึงไม่ได้อยู่ในฐานะภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายชาย แต่อยู่ในฐานะนางบำเรอ ซึ่งชายไม่มีสิทธิ์ที่จะป้องกันชื่อเสียงและเกียรติ์คุณของตนเอง การกระทำนั้นอาจเป็นการกระทำความผิดด้วยความจำเป็น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพิจารณาว่าภรรยาของจำเลยเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อย่างไร?
๗. การที่ผู้ตายกับพวกร่วมกันทำร้ายน้องชายจำเลยจนตกลงไปในคูน้ำ เมื่อมาพบจำเลยกับเด็กเดินสวนทางก็ได้ร่วมกันทำร้ายจำเลยฝ่ายเดียวจนตกลงไปในคูน้ำ เป็นการทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจตาม ปอ มาตรา ๒๙๕ อันเป็นการประทุษร้ายอันละเมิดกฎหมายทั้งยังเป็นการข่มเหงจำเลยด้วยเหตุไม่เป็นธรรม แม้
จำเลยวิ่งกลับบ้านห่างไปประมาณ ๓๐๐ เมตร เอามีดมาต่อสู้ผู้ตาย แม้ไม่ได้ทำลงในขณะนั้น หรือ ณ ที่ถูกข่มเหงแต่อยู่ในระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิด ก็ถือว่า เป็นการกระทำที่ “ต่อเนื่อง” จากการถูกข่มเหงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม เพราะระยะทางเพียง ๓๐๐ เมตร เป็นระยะทางใกล้ ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ใกล้ชิดกับเหตุที่เกิดขึ้น ถือได้ว่า เป็นการกระทำต่อผู้ข่มเหง “ ในขณะนั้น” ถือว่าจำเลยกระทำผิดด้วยเหตุบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม
๘.แม้จำเลยไม่ได้ยกเรื่องนี้ขึ้นต่อสู้ ศาลฏีกาก็มีอำนายหยิบขึ้นมาวินิจฉัยเองได้ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตาม ปวอ มาตรา๑๙๕,๒๒๕ ที่แม้ไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ก็ตาม
๙.พฤติการณ์ที่ ผู้ตายหาเรื่องจำเลยหลายเรื่องและกล่าวหาจำเลยเอามีดของผู้ตายไปซ่อน ผู้ตายบอกให้จำเลยออกจากบ้านมิเช่นนั้นจะสับให้เป็นชิ้น แล้วใช้มีดดังกล่าวไล่ฟันจำเลยก่อนจนจำเลยวิ่งไปบ้านน้องผู้ตายซึ่งอยู่ใกล้กัน ผู้ตายถือมีดวิ่งตามไป จำเลยหลบหนีออกไปซ่อนตัวข้างต้นมะขามในทุ่งนา หากจำเลยไม่หลบหรือไม่วิ่งหนีก็อาจถูกทำร้ายเป็นอันตรายต่อร่างกายและอาจเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บสาหัสได้ การกระทำของผู้ตายถือได้ว่าเป็นการประทุษร้ายจำเลยด้วยการละเมิดกฎหมายในความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกาย อันเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงหรือถึงแล้วซึ่งจำเลยสามารถป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมายได้ แต่จำเลยก็หาได้กระทำการอันใดอันเป็นการป้องกันตัวตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ โดยจำเลยเพียงหลบซ่อนตัวไม่ให้ต้องถูกทำร้ายร่างกายเท่านั้น
๑๐.เมื่อผู้ตายหาจำเลยไม่พบจึงกลับไปบ้านปิดบ้านล็อคกุญแจนอน เมื่อจำเลยใช้มีดฟันผู้ตายด้วยความโมโหที่ถูกผู้ตายวิ่งไล่ทำร้ายอยู่เป็นประจำ แม้จะไม่ได้ฟันทำร้ายผู้ตายในทันทีในขณะถูกข่มเหงด้วยเหตุไม่เป็นธรรมก็ตาม แต่ก็เห็นได้ว่า การที่ผู้ตายใช้มีดไล่ฟันจำเลยอยู่ “เป็นประจำ” และก็ไล่ฟันจำเลยในวันเกิดเหตุอีก และยังไม่เป็นการแน่นอนว่าในอนาคตจำเลยจะถูกผู้ตายใช้มีดไล่ฟันอีกหรือไม่อย่างไร ย่อมเป็นการเก็บกดในฐานะภรรยาที่ถูกสามีทำร้ายร่างกายอยู่เป็นประจำ จนถึงวันเกิดเหตุ นับว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการข่มเหงร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม แม้จำเลยจะเป็นภรรยาผู้ตาย ผู้ตายก็หามีสิทธิ์ที่จะกระทำแก่จำเลยเช่นนั้นไม่
๑๑.แม้จำเลยจะกระทำตอบกับผู้เสียหายหลังเกิดเหตุ สองชั่วโมงเศษ แต่ก็ได้กระทำทันทีที่ได้พบผู้ตาย ความเกิดหรือบันดาลโทสะยังคงคลุกกรุ่นอยู่ในความคิดของจำเลย เมื่อได้กระทำแก่ผู้ตายในทันทีที่กลับถึงบ้านแม้จะเป็นระยะเวลาห่างจากถูกข่มเหงเพียง ๒ ชั่วโมงหรือสองชั่วโมงเศษก็ตาม แต่ช่วงระยะเวลาดังกล่าวก็เป็นช่วงเวลาที่จำเลยต้องหลบหนีจากการที่ถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงจนต้องถึงกลับไปแอบซ่อนตัวในป่าละเมาะ ถือได้ว่าการข่มเหงยังอยู่ในช่วงเวลาที่ “ต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน”อยู่ การกระทำของจำเลยจึงอยู่ในเกณฑ์ว่า จำเลยกระทำผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น อ้างเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตาม ปอ มาตรา ๗๒ ได้
๑๒.การที่เพื่อนผู้ตายกับเพื่อนของจำเลยจะต่อยกัน จำเลยเข้าไปทำร้ายเพื่อนผู้ตายเพื่อช่วยเหลือเพื่อนจำเลย ผู้ตายจึงทำร้ายจำเลยเพื่อช่วยเหลือเพื่อนผู้ตาย ถือได้ว่า จำเลยมี “ ส่วนร่วม” ในการกระทำความผิดด้วย เพราะได้เข้าร่วมในการทะเลาะวิวาท จำเลยจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ปวอ มาตรา ๒ (๔)และ จะถือว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรมจากผู้ตายไม่ได้ การที่จำเลยทำร้ายผู้ตายจึงอ้างว่าเป็นการกระทำผิดโดยการบันดาลโทสะตาม ปอ มาตรา ๗๒ ไม่ได้
๑๓.การที่ จำเลยมอบตัวต่อเจ้าพนักงานเป็นการลุแก่โทษ ชั้นสอบสวนให้การรับสารภาพอย่างเดียวกับข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบ อันเป็นการ “ รู้สึกความผิดและลุแก้โทษต่อเจ้าพนักงาน” อันเป็นเหตุบรรเทาโทษ ตาม ปอ มาตรา ๗๘วรรคสอง แม้ในชั้นศาลจำเลยให้การสู้คดีชั้นศาลว่าป้องกันตัว แต่จำเลยไม่ได้บิดเบื่อข้อเท็จจริงหรือเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงใหม่เพื่อต่อสู้คดีแต่อย่างใด ทั้งในที่สุดก็รับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้อง อันถือได้ว่าเป็นการ “ ลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานและให้ความรู้ต่อศาลอันเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา” ตาม ปอ มาตรา ๗๘ วรรคสอง แม้รับสารภาพเมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วก็ยังเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ที่ศาลวางบทกำหนดโทษและลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งเป็นการสมควรแก่เหตุพฤติการณ์คดี
๑๔.. การที่จำเลยกับผู้ตายซึ่งเป็นสามีภรรยากันมานานและ มีปากเสียงทะเลาะกันเสมอๆ ย่อมเป็นเรื่องปกติที่คนอยู่ด้วยกันเป็นเวลานานย่อมกระทบกระทั้งกันเป็นธรรมดา แม้ก่อนเกิดเหตุผู้ตายและจำเลยมีปากเสียงกันโดย ผู้ตายกล่าวหาจำเลยพาชายชู้มานอนที่เตียงนอนและไล่จำเลยออกจากบ้าน และขู่ว่า หากจำเลยไม่ไปจะฆ่าจำเลย เป็นเรื่องสามีภรรยาเป็นปากเสียงกันตามปกติที่เคยเป็นมา การไล่ออกจากบ้านยังไม่เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดภยันตรายอันละเมิดกฎหมายแต่อย่างใด ส่วนการขู่ว่าจะฆ่า ก็ไม่ปรากฎว่าผู้ตายได้กระทำการใดอันจะชี้บ่งว่าจะฆ่าจำเลย การขู่ว่าจะฆ่าอาจเป็นความผิดฐานทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือตกใจโดยการขู่เข็ญ ตาม ปอ มาตรา ๓๙๒ซึ่งเป็นเพียงความผิดลหุโทษมีโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน ปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเป็นความผิดเล็กน้อย และเป็นความผิดที่สามารถทำการเปรียบเทียบปรับได้ตาม ปวอ มาตรา ๓๗,๓๙(๓)ลำพังเหตุเพียงเท่านี้จะถือว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ ทั้งการที่จำเลยใช้ปืนยิงผู้ตายนั้น ปืนเป็นอาวุธร้ายแรงเมื่อยิงออกไปต้องถือมีเจตนาฆ่า การกระทำของจำเลยกับคำขู่ผู้เสียหายที่ขู่นั้นไม่ได้สัดส่วนกัน ไม่พอควรแก่พฤติการณ์แห่งคดี การที่จำเลยใช้ปืนยิงผู้ตายจึงไม่ใช่การกระทำโดยบันดาลโทสะ
๑๕.การถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมนั้น หากผู้ที่กระทำการนั้นมีอำนาจหน้าที่ที่สามารถกระทำการดังกล่าวได้ เช่น ผู้บังคับบัญชาลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาเพราะกระทำผิดระเบียบ จะถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรมหาได้ไม่
๑๖.ดังนั้นการผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาที่กระทำผิดวินัยเพราะละทิ้งหน้าที่ จะถือว่าเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ จึงไม่อาจอ้างการกระทำโดยบันดาลโทสะได้
๑๗.การผิดนัดไม่ชำระค่าจ้างและขอผัดผ่อนการชำระ อาจเป็นการกระทำที่เป็นความรับผิดทางแพ่งหรือทางแรงงานซึ่งต้องไปว่ากันเป็นอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งหากทวงถามแล้วไม่ยอมชำระก็อาจต้องมีการฟ้องร้องกัน แต่การผัดผ่อนไม่ชำระค่าจ้าง ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม อันจะอ้างเหตุบันดาลโทสะมาเป็นประโยชน์แก่ตนหาได้ไม่
๑๘. คำพูดจำเลยที่ถามว่า “ มึงเล่นชู้กับเมียกูทำไม” ผู้ตายพูดว่า “ มึงไม่มีน้ำยากูเลยเล่น” คำพูดนี้ยังไม่ถึงขนาดเป็นการกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายหรือเป็นภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดกฎหมาย แม้คำพูดดังกล่าวเป็นการพูดตอบโต้ทำนองยั่วยุ แต่ไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม ยิ่งคำพูดดังกล่าวไม่ได้พูดต่อหน้าผู้อื่นที่จะทำให้จำเลยอับอายขายหน้าผู้อื่น การที่จำเลยไปหาผู้ตายถึงที่ทำงานพร้อมพาอาวุธไปด้วย แสดงให้เห็นความพร้อมในการใช้อาวุธในการทำร้ายผู้ตาย มีการคิดตระเตรียมการและไตร่ตรองไว้ก่อนแล้วก่อนที่จะไปพบผู้ตายว่าการไปพบต้องนำอาวุธไปด้วย ลำพังคำพูดเพียงเท่านี้ยังไม่รุนแรงเพียงพอที่จะถือว่าเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม จึงอ้างบันดาลโทสะไม่ได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)