๑.ผู้รับบุตรบุญธรรมยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้ง บ. บุตรเขยเป็นผู้ปกครองบุตรบุญธรรมซึ่งเป็นผู้เยาว์ เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ญาติหรือพนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้อง เมื่อผู้รับบุตรบุญธรรมยังไม่ได้จดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมหรือถูกถอนอำนาจปกครอง ทั้งมารดาผู้เยาว์ยังมีแฟนอยู่แม้ไม่ทราบที่อยู่ ไม่อาจติดต่อได้ ก็ไม่ใช่กรณีที่จะจัดให้มีผู้ปกครองผู้เยาว์ตาม ปพพ มาตรา ๑๕๕๕(น่าจะเป็นมาตรา ๑๕๘๕มากกว่า) เมื่อไม่อาจตั้งผู้ปกครองได้ การตั้งผู้ปกครองหลายคนตาม ปพพ มาตรา ๑๕๕๙(น่าจะเป็นมาตรา ๑๕๙๐ มากกว่า) จึงไม่อาจทำได้ บ.ยังไม่ได้รับความยินยอมจากมารดาผู้เยาว์ย่อมรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมไม่ได้ คำพิพากษาฏีกา ๘๗๕/๒๕๑๘
๒. การยื่นคำร้องขอเป็นคำฟ้อง ผู้ร้องบรรลุนิติภาวะเมื่อ ๒๖ พ.ย.๒๕๔๕ แต่มายื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ บ.เมื่อ ๑๖ มกราคม ๒๕๔๙ เกิน ๑ ปี นับแต่วันบรรลุนิติภาวะต้องห้ามตาม ปพพ มาตรา ๑๕๕๖ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง(ยื่นคำร้องขอ) ปัญหาว่าผู้ร้องเป็นบุตรของ ป. หรือไม่ ไม่จำต้องวินิจฉัย หากผู้ร้องเห็นว่าเป็นการโต้แย้งสิทธ์ของผู้ร้องในการรับมรดกของ ป. อย่างไร ผู้ร้องชอบไปใช้สิทธิ์ทางศาลอย่างคดีมีข้อพิพาทต่อไป คำพิพากษาฏีกา ๙๕๗๔/๒๕๕๑
๓.ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร เมื่อตามสูติบัตรและทะเบียนบ้านระบุว่า ผู้ร้องเกิดวันที่ ๒๔ พ.ค.๒๕๑๒ ผู้ร้องยื่นคดีนี้เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ขณะที่ผู้ร้องมีอายุ ๓๔ ปี เป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนด ๑ ปี นับแต่วันบรรลุนิติภาวะ คดีขาดอายุความ แม้จะอ้างว่าผู้ตายไม่เคยปฏิเสธว่าผู้ร้องไม่ใช่บุตร ไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิ์หรือหน้าที่ตามกฎหมาย จนเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว ผู้ร้องไปติดต่อขอรับเงินสงเคราะห์ครอบครัวสมาชิกครุสภา(ช.พ.ค.) เจ้าหน้าที่ไม่ดำเนินการให้ อ้างไม่มีหลักฐานแสดงว่าผู้ร้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย นับเป็นเหตุขัดข้อง โดยเพิ่งเกิดการโต้แย้งสิทธิ์ของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงต้องใช้สิทธิ์ทางศาลขอให้มีคำสั่งว่า ผู้ร้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ตาม แต่การใช้สิทธิ์ทางศาลก็ยังตกอยู่ภายใต้บทบัญญัติว่าด้วยอายุความ ผู้ร้องจะอ้างว่าเพิ่งถูกโต้แย้งสิทธิ์ คดีไม่ขาดอายุความหาได้ไม่คำพิพากษาฏีกา ๔๗๘๖/๒๕๔๙
๔.เด็กหญิง อ. เป็นบุตรของโจทก์ที่ ๑ กับจำเลย แม้ไมได้จดทะเบียนสมรสกัน เด็กหญิง อ. ก็เป็นบุตรชอบกฎหมายของโจทก์ที่ ๑ซึ่งเป็นมารดา แม้จะอยู่ในความปกครองของ น. กับ ป.ซึ่งเป็นบิดามารดาโจทก์ที่ ๑ หรือต่อมาหลังจากฟ้องคดีนี้แล้ว น กับ ป จะไปจดทะเบียนรับเด็กหญิง อ. เป็นบุตรบุญธรรม ก็หากระทบสิทธิ์ของเด็กหญิง อ. โจทก์ที่ ๒ โดยโจทก์ที่ ๑ ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม ในการนำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนรับรองเด็กหญิง อ. เป็นบุตร การฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตร ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องแทน ผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อ่าจกระทำการในฐานะส่วนตัวได้แต่กระทำในฐานะผู้ฟ้องแทนได้ โจทก์ที่ ๒ จึงมีอำนาจฟ้องคำพิพากษาฏีกาที่ ๓๒๙๐/๒๕๔๕
๕. โจทก์มีอายุ ๑๖ ปีเศษฟ้องขอให้จำเลยที่เป็นบิดาเป็นผู้รับรองโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิ์เรียกค่าเลี้ยงดูจากจำเลยในคดีเดียวกันได้เพราะตาม ปพพ มาตรา ๑๕๕๖วรรคสองให้เด็กที่มีอายุ ๑๕ ปีบริบรูณ์ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรได้เอง ทั้งขณะยื่นฟ้องโจทก์ก็ยังไม่ได้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยคดีโจทก์จึงไม่เป็นอุทลุม การฟ้องของโจทก์ในเรื่องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นผลหลังจากที่มีการรับรองความเป็นบุตรของโจทก์แล้ว เป็นเรื่องต่อเนื่องการรับรองเด็กดังกล่าว จึงไม่ต้องห้ามไม่ให้ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลียงดู การที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยไปจดทะเบียนรับรองบุตรภายใน ๓๐ วัน หากไม่ปฏิบัติตามถือเอาคำพิพากษาแสดงเจนาของจำเลย นั้นไม่ชอบเพราะพรบ.จดทะเบียนครอบครัว มาตรา ๒๐บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียเพียงยื่นสำเนาคำพิพากษาถึงที่สุดที่รับรองแล้วเพื่อให้บันทึกในทะเบียน ทั้งโจทก์ไม่ได้มีคำขอบังคับดังกล่าวมาในฟ้อง จึงเป็นการพิพากษาเกินกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำร้องต้องห้ามตามกฎหมาย คำพิพากษาฏีกา ๒๒๖๘/๒๕๓๓
ข้อสังเกต ๑.เด็กที่เกิดจากชายหญิงไม่ได้มีการสมรสกัน คือไม่ได้จดทะเบียนสมรสตาม ปพพ มาตรา ๑๔๕๗ เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของหญิง แต่ไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของชาย ปพพ มาตรา ๑๕๔๖ เด็กจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายต่อเมื่อ บิดามารดาได้จดทะเบียนสมรสกันภายหลัง หรือบิดาจดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตร ปพพ มาตรา ๑๕๔๗ ซึ่งการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวทั้งสามประการนี้ ปพพ มาตรา ๑๕๕๗ ให้มีผลตั้งแต่วันที่เด็กเกิด แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิ์ของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตในระหว่างเวลาที่เด็กเกิดจนถึงเวลาที่บิดามารดาจดทะเบียนสมรส หรือบิดาจดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรไมได้
๒.ข้อสันนิษฐานว่าเด็กเป็นบุตรของชาย
๒.๑มีการข่มขืนกระทำชำเรา ฉุดคร่า หน่วงเหนียวกักขังหญิงมารดาโดยไม่ชอบในระยะเวลาที่หญิงอาจตั้งครรถ์ได้คือระยะเวลา ๑๘๐ วันถึง ๓๑๐ วัน ซึ่งระยะเวลา ๓๑๐ วันคือระยะเวลาที่ปพพ มาตรา ๑๔๕๓ บัญญัติให้หญิงที่สามีตายหรือการสมรสสิ้นสุดด้วยประการอื่น เช่นหย่าขาดจากกัน หากจะทำการสมรสใหม่ต้องให้ระยะเวลาที่การสมรสสิ้นสุดลงผ่านไปไม่น้อยกว่า ๓๑๐ วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่หญิงอาจตั้งครรถ์ได้ประกอบ ปพพ มาตรา ๑๕๓๙ วรรคแรก การปฏิเสธไม่รับเด็กเป็นบุตร หากพิสูจน์ได้ว่าตนไม่ได้อยู่ร่วมกับมารดาเด็กในระยะเวลาตั้งครรถ์ คือระหว่าง ๑๘๐ถึง ๓๑๐ วันก่อนเด็กเกิด นั้นก็คือกฎหมายถือระยะเวลาที่หญิงอาจตั้งครรถ์ได้คือระยะเวลา ๑๘๐ ถึง ๓๑๐ วันก่อนเด็กเกิด
๒.๒ลักพามารดาไปในทางชู้สาว หรือล่อลวงมาร่วมประเวณีหญิงมารดาในระยะเวลาที่หญิงอาจตั้งครรถ์ได้คือระยะเวลา ๑๘๐ วันถึง ๓๑๐ วัน
๒.๓มีเอกสารของบิดาว่าเด็กเป็นบุตร เช่น บิดามาขอจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรตามมาตรา ๑๙ พรบ จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. ๒๔๗๘ หรือบิดาเป็นคนตั้งชื่อบุตรแล้วมาแจ้งชื่อต่อนายทะเบียนเพื่อให้บันทึกลงในสูติบัตรว่าเด็กชื่อว่าอะไร
๒.๔ปรากฏในทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรโดยมีหลักฐานว่าบิดาเป็นผู้แจ้งเกิดหรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งนั้น
๒.๕บิดามารดาอยู่ร่วมกันอย่างเปิดเผยในระยะเวลาที่หญิงอาจตั้งครรถ์ได้
๒.๖มีการร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาที่หญิงอาจตั้งครรถ์ และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเด็กนั้นไม่ได้เป็นบุตรของชายอื่น
๒.๗มีพฤติการณ์ที่รู้มาโดยตลอดว่าเด็กเป็นบุตร เช่น ให้ใช้นามสกุลบิดา ส่งเสียเล่าเรียน อุปการะเลี้ยงดู บอกกับคนทั่วไปว่าเด็กเป็นบุตร
๓.การฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตร หากเด็กอายุยังไม่ครบ ๑๕ ปีบริบรูณ์ ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นคนฟ้องแทน หากไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือมีแต่ทำหน้าที่ไม่ได้ ญาติสนิทหรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีฟ้องแทนเด็ก
๔.หากเด็กอายุครบ ๑๕ ปีบริบรูณ์เด็กต้องฟ้องเองโดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม หากเด็กบรรลุนิติภาวะต้องฟ้องภายใน ๑ ปีนับแต่วันบรรลุนิติภาวะ ซึ่งการบรรลุนิติภาวะอาจเป็นเพราะมีอายุครบ ๒๐ ปีบริบรูณ์(ปพพ มาตรา ๑๙) หรือเมื่อทำการสมรส ปพพ มาตรา ๒๐,๑๔๔๘
๕.การร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครองตาม ปพพ มาตรา ๑๕๘๖ ผู้ร้องขอต้องเป็นญาติหรือพนักงานอัยการเท่านั้น ไม่รวมถึงผู้รับบุตรบุญธรรมด้วยเพราะไม่ใช่ญาติตามสายโลหิตและไม่ได้เป็นพนักงานอัยการ การที่.ผู้รับบุตรบุญธรรมยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้ง บ. บุตรเขยเป็นผู้ปกครองบุตรบุญธรรมซึ่งเป็นผู้เยาว์โดยที่ผู้ร้องไม่ใช่ญาติหรือพนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้อง เมื่อผู้รับบุตรบุญธรรมยังไม่ได้จดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมหรือถูกถอนอำนาจปกครองอำนาจปกครองยังมีอยู่ เมื่อมารดาผู้เยาว์ยังมีชีวิตอยู่แม้ไม่ทราบที่อยู่ ไม่อาจติดต่อได้ ก็ไม่ใช่กรณีที่จะจัดให้มีผู้ปกครองผู้เยาว์ตาม ปพพ มาตรา ๑๕๘๕ เมื่อไม่อาจตั้งผู้ปกครองได้ การตั้งผู้ปกครองหลายคนตาม ปพพ มาตรา ๑๕๙๐ จึงไม่อาจทำได้ เมื่อ บ.ยังไม่ได้รับความยินยอมจากมารดาผู้เยาว์ตาม ปพพ มาตรา ๑๕๙๘/๒๑จึงไม่สามารถรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมได้ บ. จึงรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมไม่ได้
๖. การยื่นคำร้องขอเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆที่ได้กระทำต่อศาลจึงเป็น “คำฟ้อง” ตามวิเคราะห์ศัพท์ใน ปวพ มาตรา ๑(๓) การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายนั้นต้องกระทำภายใน ๑ ปีนับแต่วันที่บรรลุนิติภาวะ เมื่อปรากฏว่า ผู้ร้องบรรลุนิติภาวะเมื่อ ๒๖ พ.ย.๒๕๔๕ แต่มายื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ บ.เมื่อ ๑๖ มกราคม ๒๕๔๙ จึงเกิน ๑ ปี นับแต่วันบรรลุนิติภาวะต้องห้ามตาม ปพพ มาตรา ๑๕๕๖ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง(ยื่นคำร้องขอ) ส่วนปัญหาว่าผู้ร้องเป็นบุตรของ ป. หรือไม่ ไม่จำต้องวินิจฉัย เพราะเมื่อไม่ได้ฟ้องหรือร้องภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นอันขาดอายุความแล้ว แต่หากผู้ร้องเห็นว่าเป็นการโต้แย้งสิทธ์ของผู้ร้องในการรับมรดกของ ป. อย่างไร ผู้ร้องชอบไปใช้สิทธิ์ทางศาลอย่างคดีมีข้อพิพาทในอีกคดีต่อไป
๗.การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายนั้นต้องกระทำภายใน ๑ ปีนับแต่วันที่บรรลุนิติภาวะ เมื่อตามสูติบัตรและทะเบียนบ้านระบุว่า ผู้ร้องเกิดวันที่ ๒๔ พ.ค.๒๕๑๒ ผู้ร้องยื่นคดีนี้เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ขณะที่ผู้ร้องมีอายุ ๓๔ ปี เป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนด ๑ ปี นับแต่วันบรรลุนิติภาวะ คดีขาดอายุความ แม้จะอ้างว่าผู้ตายไม่เคยปฏิเสธว่าผู้ร้องไม่ใช่บุตร ไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิ์หรือหน้าที่ตามกฎหมายก็ตาม หากต้องการให้กฏหมายรับรองคุ้มครองว่าตนเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฏหมายต้องฟ้องหรือร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายภายใน ๑ ปีนับแต่วันที่บรรลุนิติภาวะ เมื่อไม่ได้กระทำภายในเวลาที่กฎหมายบัญญัติไว้ จะมาอ้างว่าไม่มีปัญหา และมีปัญหาตอนบิดาถึงแก่ความตายแล้ว ไปติดต่อขอรับเงินสงเคราะห์ครอบครัวสมาชิกครุสภา(ช.พ.ค.) เจ้าหน้าที่ไม่ดำเนินการให้ อ้างไม่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย นับเป็นเหตุขัดข้อง โดยเพิ่งเกิดการโต้แย้งสิทธิ์ แม้จะเกิดมีข้อต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิ์หรือหน้าที่ตามกฎหมายหรือจำต้องใช้สิทธิ์ทางศาลตาม ปวพ มาตรา ๕๕ ก็ตาม แต่การใช้สิทธิ์ทางศาลดังกล่าวก็ยังตกอยู่ภายใต้บทบัญญัติว่าด้วยอายุความ จึงจะอ้างว่าเพิ่งถูกโต้แย้งสิทธิ์ คดีไม่ขาดอายุความหาได้ไม่
๘.ชายหญิงไม่จดทะเบียนสมรส เด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายหญิง แต่ไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายชาย แม้เด็กจะอยู่ในความปกครองของ ปู่กับย่าที่เป็นบิดามารดาของฝ่ายชายก็ตามหรือต่อมาหลังจากฟ้องคดีนี้แล้ว ปู่กับย่าจะไปจดทะเบียนรับเด็ก เป็นบุตรบุญธรรม ก็หากระทบสิทธิ์ของเด็กที่จะฟ้องขอให้บิดารับตนเป็นบุตรได้. การที่เด็กยื่นฟ้องโดยมารดา ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมทำการฟ้องแทน เพื่อให้บิดาจดทะเบียนรับรองเด็กเป็นบุตร การฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรโดย ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องแทนแม้ว่าในฐานะส่วนตัว ผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจฟ้องในฐานะส่วนตัวได้เพราะกฏหมายให้เด็กเท่านั้นที่ต้องเป็นคนฟ้อง แต่เมื่อมารดาในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องกระทำการในฐานะผู้ฟ้องแทน จึงมีอำนาจฟ้องแทนเด็กได้
๙. การฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรสามารถฟ้องรวมไปกับการเรียกค่าเลี้ยงดูจากบิดาได้ เมื่อได้ความว่าโจทก์มีอายุ ๑๖ ปีเศษฟ้องขอให้จำเลยที่เป็นบิดาเป็นผู้รับรองโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิ์เรียกค่าเลี้ยงดูจากจำเลยในคดีเดียวกันได้เพราะตาม ปพพ มาตรา ๑๕๕๖วรรคสองให้เด็กที่มีอายุ ๑๕ ปีบริบรูณ์ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรได้เอง ทั้งขณะยื่นฟ้องโจทก์ก็ยังไม่ได้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยคดีโจทก์จึงไม่เป็นอุทลุมที่จะห้ามผู้สืบสันดานฟ้องผู้บุพการีไม่ว่าทางแพ่งและทางอาญา หากมีความจำเป็นต้องฟ้องให้กระทำโดยพนักงานอัยการนั้น หมายถึงบุพการีที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อคดีนี้ศาลยังไม่ได้มีคำพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรหรือยังไม่ได้พิพากษาให้รับเด็กเป็นบุตรแล้ว เด็กยังไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายจึงสามารถฟ้องบิดาได้ไม่เป็นอุทลุมตาม ปพพ มาตรา ๑๕๖๒ ทั้งการฟ้องในเรื่องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นผลหลังจากที่มีการรับรองความเป็นบุตรของโจทก์แล้ว เป็นเรื่องต่อเนื่องการรับรองเด็กดังกล่าว จึงไม่ต้องห้ามไม่ให้ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู การที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยไปจดทะเบียนรับรองบุตรภายใน ๓๐ วัน หากไม่ปฏิบัติตามถือเอาคำพิพากษาแสดงเจนาของจำเลย นั้นไม่ชอบเพราะพรบ.จดทะเบียนครอบครัว มาตรา ๒๐บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียเพียงยื่นสำเนาคำพิพากษาถึงที่สุดที่รับรองแล้วเพื่อให้บันทึกในทะเบียน ทั้งโจทก์ไม่ได้มีคำขอบังคับดังกล่าวมาในฟ้อง จึงเป็นการพิพากษาเกินกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำร้องต้องห้ามตามกฎหมาย ปวพ มาตรา ๑๔๒ที่ห้ามพิพากษาหรือทำคำสั่งในสิ่งใดๆเกินไปกว่าหรือที่ปรากฏในคำฟ้อง
ค้นหาบล็อกนี้
วันเสาร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
“ซื้อที่ไม่ได้สิทธิ” กับ “ ซื้อที่มีสิทธิ”
๑.ซื้อที่วัดที่ธรณีสงฆ์โดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ผู้ซื้อไม่ได้กรรมสิทธิ์ คำพิพากษาฏีกา ๘๕๑/๒๔๙๙
๒.ซื้อที่พิพาทโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล เมื่อเป็นที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดินโอนแก่กันไม่ได้ จึงไม่ได้สิทธิ์ คำพิพากษาฏีกา ๒๖๒๒/๒๕๒๒
๓.พรบ.เช่าที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมฯ บัญญัติว่า เช่านาไม่ระงับเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ในที่นาที่เช่า โจทก์รับโอนที่พิพาทมาโดยการซื้อจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าไม่ต้องรับภาระผูกพันธ์ที่มีเหนือทรัพย์นั้น โจทก์ต้องรับไปทั้งสิทธิ์หน้าที่ของผู้โอนคือเจ้าของเดิมที่มีต่อจำเลยที่เป็นผู้เช่า โจทก์ไม่มีสิทธิ์ฟ้องขับไล่จำเลย คำพิพากษาฏีกา ๗๒๗๕/๒๕๓๔
๔.เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินมีโฉนดของโจทก์มาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ในคดีที่โจทก์ร่วม(สามีโจทก์)ถูกฟ้องเรียกหนี้เงินกู้ แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะยึดอย่างที่ดินมือเปล่า โดยนำ สค ๑ สำหรับที่ดินแปลงอื่นของโจทก์ร่วมมา และประกาศขายทอดตลาดว่าเป็นที่ดินมี สค ๑ โดยระบุเลข เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีกระทำโดยสุจริต จำเลยซื้อที่ดินตามคำสั่งศาลโดยสุจริตย่อมได้สิทธิ์ แต่หากซื้อโดยไม่สุจริตตามคำสั่งศาลหรือตามคำสั่งเจ้าพนักง่านรักษาทรัพย์ในคดีล้มละลายก็ไม่ได้สิทธิ์ คำพิพากษาฏีกา ๑๓๐๓/๒๕๑๒
๕.ซื้อที่ดินที่ศาลขายทอดตลาด รับโอนมาทั้งแปลงทั้งๆที่รู้ว่า เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น โจทก์ไม่อาจอ้าง ปพพ มาตรา ๑๓๓๐ มาใช้ยันจำเลยได้ คำพิพากษาฎีกา ๕๔๒/๒๕๒๓
๖.โจทก์นำยึดที่ดินสองแปลง ไม่มีผู้ร้องขัดทรัพย์หรือโต้แย้งอย่างใด จนเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศและขายทอดตลาดไปตามคำสั่งศาล โจทก์ให้ราคาสูงสุดและศาลสั่งขายให้โจทก์ โจทก์อยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิ์เป็นของตนได้ แม้หลักฐานทางทะเบียนปรากฏว่าไม่ใช่เป็นของจำเลยก็ตาม โจทก์ไม่จำต้องฟ้องร้องหรือดำเนินคดีเรียกบุคคลภายนอกที่มีชื่อทางทะเบียนมาเป็นคู่ความ คำพิพากษาฏีกา ๑๕๗๑/๒๕๐๘
๗.ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริต แม้ไม่ได้ทำนิติกรรมโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที ผู้ซื้อย่อมมีสิทธิ์และมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ที่อาศัยในที่ดินนั้นให้ออกไปได้ คำพิพากษาฏีกา ๕๐๘/๒๕๐๖
๘. ปพพ มาตรา ๑๓๓๐ บัญญัติรับรองสิทธิ์ผู้ซื้อโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลว่าไม่เสียไปแม้ภายหลังพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับเรื่องขอจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมอันต้องนำบทบัญญัติแห่งพรบ.ให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗และ ป.ที่ดินมาใช้ คำพิพากษาฏีกา ๑๒๗๐/๒๕๐๙
๙.ซื้อที่ดินมือเปล่าจากการขายทอดตลาด แม้ซื้อโดยสุจริตไม่ทราบว่ามีจำนองติดอยู่ จำนองก็ติดไปกับที่ดิน ผู้รับจำนองบังคับจำนองจากที่ดินนั้นได้ คำพิพากษาฏีกา ๑๕๓๖/๒๕๐๐
๑”๐. ปพพ มาตรา ๑๓๓๐ เรื่องการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลหรือคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นกรณีพิเศษ ไม่อยู่ในบังคับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทั่วไปตาม ปพพ มาตรา ๔๕๖ เมื่อห้างหุ่นส่วน อ. ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนโอนขายที่ดินและตึกให้จำเลย กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกยังเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. อยู่ โจทก์ได้ที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริต สิทธิ์ของโจทก์ไม่เสียไปแม้พิสูจน์ได้ว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๐ แม้ยังไมได้ชำระราคาครบถ้วนหรือยังไม่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ โจทก์มีสิทธิ์ฟ้องขับไล่ผู้อยู่อาศัยในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อได้ คำพิพากษาฏีกา ๕๑๓๗/๒๕๓๗
๑๑.ยกที่พิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่มีนส ๓ ระหว่าง ช. กับจำเลย ไม่ได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่สมบรูณ์ตามกฎหมาย แม้จะครอบครองที่พิพาทมาตลอด ก็เป็นการครอบครองแทน ไม่ใช่การยึดถือครอบครองในฐานะเจ้าของ จึงไม่มีสิทธิ์ครอบครองนี่พิพาท เมื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินดังกล่าวจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล จึงมีสิทธิ์ครอบครองที่พิพาทโดยชอบ แม้จะปล่อยให้จำเลยอยู่ในที่พิพาทนับแต่วันที่โจทก์ซื้อที่พิพาทถึงวันฟ้องเกิน ๑ ปี แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกกล่าวเจตนาเปลี่ยนแปลงลักษณะการครอบครองที่พิพาท จำเลยไม่ได้สิทธิ์ครอบครอง คำพิพากษาฏีกา ๖๒๖๗/๒๕๓๗
๑๒. นาย ป. ประมูลซื้อตึกและที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำพิพากษาศาล จำเลยขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาคดี ป.ได้ โอนขายให้ผู้ร้องโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน จดทะเบียนสิทธิ์โดยสุจริต ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ต้องถือเสมือนไม่มีการขายทอดตลาด และไม่มีการจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ให้ ป.และผู้ร้อง กรณีไม่ต้องตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๐ ป.ไม่ได้รับการคุ้มครอง ผู้ร้องไม่อาจอ้างได้ว่า เป็นบุคคลภายนอกซื้อที่พิพาทโดยสุจริตเสียค่าตอบแทนจดทะเบียนสิทธิ์โดยสุจริต คำพิพากษาที่เพิกถอนการขาทอดตลาดไม่ผูกพันผู้ร้อง เมื่อ ป. ผู้โอนไม่มีสิทธิ์ในที่พิพาท ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนไม่มีสิทธิ์ดีกว่าผู้โอน ทั้งการโอนขายก็เป็นการขายตาม ปอ มาตรา ๔๕๖ แต่การเพิกถอนการขายทอดตลาดเป็นการเพิกถอนตาม ปวพ มาตรา ๒๙๖วรรคสอง ซึ่งเป็นคนละกรณีไม่เกี่ยวข้องกัน ผู้ร้องไม่ได้รับความคุ้มครอง คำพิพากษาฏีกา ๕๒๕๖/๒๕๓๗
๑๓.โจทก์เคยเป็นทนายแก่ต่างให้ น ในคดีที่จำเลยฟ้อง น. กับพวก ขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำเลยถอนฟ้อง น. ไปแล้ว ไม่ปรากฏจำเลยได้ฟ้อง น.ในภายหลังเกี่ยวกับเรื่องนี้อีก แสดงจำเลยไม่ติดใจโต้แย้งสิทธิ์ครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของ น. ต่อไป โจทก์ซื้อที่ดินตามคำสั่งศาลในการขายทอดตลาด ยังฟังไม่ได้ว่าซื้อโดยไม่สุจริต ย่อมได้รับการคุ้มครอง คำพิพากษาฏีกา ๖๙๙/๒๕๔๑
๑๔.ว.จัดสรรที่ดินในซอยออกขายให้บุคคลทั่วไปโดยกันพื้นที่ในซอยรัฐขจรเป็นทางสาธารณะ แม้เป็นซอยตัน แต่ประชาชนที่อาศัยในซอยดังกล่าวใช้สัญจรเพื่อผ่านซอยหัสดิเสวีเพื่อไปออกถนนสุทธิสาร ถือว่าอุทิศทั้งซอยรวมที่พิพาทเป็นทางสาธารณะโดยปริยาย เมื่อที่พิพาทตกเป็นที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน แม้ซื้อมาจากกากรขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ คำพิพากษาฏีกา ๒๗๗๕/๒๕๔๑
๑๕..พรบ.ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรฯ มาตรา ๓๙ บัญญัติ ให้ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิ์โดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นไม่ได้ เว้นโอนทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรมหรือโอนไปสถาบันเกษตกร และในมาตรา ๒๘ บัญญัติให้ภายในเวลา ๓ ปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฏีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินบังคับใช้ ห้ามจำหน่ายด้วยประการใดๆ หรือก่อให้เกิดภาระติดพันซึ่งที่ดินในเขตปฏิรูปเว้นได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการหรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมาย ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าการขายทอดตลาดได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการหรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมาย การขายทอดตลาดย่อมเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมายตกเป็นโมฆะ แม้โจทก์ซื้อบ้านและที่ดินโดยสุจริตจรากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล โจทก์ย่อมไมได้สิทธิ์ในที่ดิน จำเลยครอบครองบ้านและที่ดินย่อมมีสิทธิ์ดีกว่าโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ คำพิพากษาฏีกา ๒๘๒๘/๒๕๔๑๒
๑๖.ยื่นคำร้องอ้างว่าได้ที่ดินจากการครอบครองปรปักษ์อันเป็นการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แต่สิทธิ์อันยังไม่ได้จดทะเบียนไม่ให้ยกเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิ์มาโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน จดทะเบียนสิทธิ์โดยสุจริต แม้จะมีผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ผู้ร้องประมูลซื้อได้จากการขายทอดตลาดโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม สิทธิ์ดังกล่าวไม่อาจใช้ยันเจ้าหนี้ผู้รับจำนองซึ่งได้รับการคุ้มครองทีค่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินลูกหนี้ คำพิพากษาฏีกา ๖๔๓๕/๒๕๔๙
๑๗.พรบ.การเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ฯ มาตรา ๒๘ การเช่าไม่ระงับเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์นาที่เช่า โจทก์รับโอนที่พิพาทมาจากากรขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติไว้ว่า ไม่ต้องรับภาระผูกพันที่มีเหนือทรัพย์นั้น โจทก์จึงต้องรับไปทั้งสิทธิ์ละหน้าที่ของผู้โอนคือ เจ้าของเดิมที่มีอยู่ต่อจำเลยที่เป็นผู้เช่า จึงไม่มีสิทธิ์ฟ้องขับไล่จำเลย คำพิพากษาฏีกา ๖๒๗๕/๒๕๓๔
๑๘.โจทก์ซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริต สิทธิ์ของโจทก์ไม่เสียไปแม้ภายหลังพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา แม้จะยังไม่ได้ชำระราคาครบถ้วนหรือยังไม่ได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ โจทก์มีสิทธิ์ฟ้องขับไล่ผู้อยู่อาศัยในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อนั้นได้ คำพิพากษาฏีกา ๒๔๔๔/๒๕๓๗
ข้อสังเกต ๑.ซื้อทรัพย์โดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล คำสั่งเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ในคดีล้มละลาย ย่อมไม่เสียไป แม้ภายหลังพิสูจน์ได้ว่า ทรัพย์นั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือผู้ล้มละลาย ปพพ มาตรา ๑๓๓๐
๒.การเช่าที่นาเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ย่อมไม่ระงับไปเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ในนาที่เช่า ผู้รับโอนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่านา ผู้เช่าที่ดินเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตาม พรบ.การเช่าที่นาเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ฯ มาตรา ๒๘ ซึ่งหลักการนี้เหมือนการเช่าอสังหาริมทรัพย์โดยทั่วไปตาม ปพพ มาตรา ๕๖๙ ที่การเช่าอสังหาริมทรัพย์ไม่ระงับไปเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ให้เช่า ผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิ์และหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่า
๓.การเช่าที่นาเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ นี้หมายความรวมถึงการเช่าช่วงโดยได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรม การทำนา ทำสวน ทำไร่ ทำนาเกลือ เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำและกิจการอื่นตามที่ปรากฏในกฎกระทรวง ไม่ว่าการเช่าหรือเช่าช่วงนั้นจะมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งการยินยอมให้ใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมโดยได้รับค่าเช่าซึ่งอาจเป็นผลผลิตเกษตรกรรม เงิน หรือ ทรัพย์สินอื่นใด ซึ่งให้เป็นค่าตอบแทนการเช่า รวมทั้งประโยชน์อื่นใดที่คำนวณเป็นเงินที่ผู้ให้เช่าหรือบุคคลอื่นได้รับเพื่อตอบแทนการให้เช่าทั้งทางตรงทางอ้อมและทำนิติกรรมอื่นใดเป็นการอำพรางการเช่านั้นด้วย พรบ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ๒๔๒๔ มาตรา ๕ ซึ่งแตกต่างจากการเช่าทรัพย์สินตาม ปพพ มาตรา ๕๔๔ โดยทรัพย์สินที่เช่านั้น ผู้เช่าจะให้เช่าช่วงหรือโอนสิทธิ์ของตนอันมีในทรัพย์สินไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนให้แก่บุคคลภายนอกหาอาจกระทำได้ไม่ เว้นแต่จะตกลงเป็นอย่างอื่นในสัญญาเช่า หากฝ่าฝืนผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาได้ จึงเห็นได้ว่าการเช่าช่วงที่นาเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ต้องได้รับคำยินยอมจากผู้ให้เช่าที่ดิน ส่วนการเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อาจได้รับความยินยอมหรือไม่ยินยอมจากผู้ให้เช่าก็ได้แล้วแต่ตกลงกันไว้ในสัญญา
๔.มาตรา ๒๘แห่งพรบ.ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรฯ บัญญัติให้ภายในเวลา ๓ ปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฏีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินบังคับใช้ ห้ามจำหน่ายด้วยประการใดๆ หรือก่อให้เกิดภาระติดพันซึ่งที่ดินในเขตปฏิรูปเว้นได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการหรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมาย.และใน มาตรา ๓๙ บัญญัติ ให้ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิ์โดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นไม่ได้ เว้นโอนทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรมหรือโอนไปสถาบันเกษตรกร แต่การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ให้เช่าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไปยังผู้อื่นนั้นไม่ได้มีบทบัญญัติห้ามโอน เพียงแต่ในมาตรา ๕๖๙ ผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิ์ละหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่า
.๕.ซื้อที่วัดที่ธรณีสงฆ์หรือที่ดินที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินโอนแก่กันไม่ได้เว้นแต่มีกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฏีกา ปพพ มาตรา ๑๓๐๕ แม้ซื้อโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ ไม่ได้รับการคุ้มครองตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๐
๖..การ เช่านาเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ย่อมไม่ระงับไปเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ในที่นาที่เช่า ผู้ที่รับโอนที่พิพาทมาโดยการซื้อจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ต้องรับไปทั้งสิทธิ์หน้าที่ของผู้โอนคือเจ้าของเดิมที่มีต่อผู้เช่า จึงไม่มีสิทธิ์ฟ้องขับไล่ผู้เช่า เพราะ ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าไม่ต้องรับภาระผูกพันธ์ที่มีเหนือทรัพย์ที่เช่านั้น
๗.เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินมีโฉนดของโจทก์มาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ในคดีที่โจทก์ร่วม(สามีโจทก์)ถูกฟ้องเรียกหนี้เงินกู้ แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะยึดอย่างที่ดินมือเปล่า โดยนำ สค ๑ สำหรับที่ดินแปลงอื่นของโจทก์ร่วมมา และประกาศขายทอดตลาดว่าเป็นที่ดินมี สค ๑ โดยระบุเลข เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีกระทำโดยสุจริต จำเลยซื้อที่ดินตามคำสั่งศาลโดยสุจริตย่อมได้สิทธิ์ แต่หากซื้อโดยไม่สุจริตตามคำสั่งศาลหรือตามคำสั่งเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ในคดีล้มละลายก็ไม่ได้สิทธิ์
๘.ซื้อที่ดินที่ศาลขายทอดตลาด รับโอนมาทั้งแปลงทั้งๆที่รู้ว่า เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น เป็นการรับโอนโดยไม่สุจริตตาม ปพพ มาตรา ๕,๖ไม่อาจอ้างว่า ซื้อทรัพย์โดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล คำสั่งเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ในคดีล้มละลาย ย่อมไม่เสียไป แม้ภายหลังพิสูจน์ได้ว่า ทรัพย์นั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือผู้ล้มละลาย เมื่อรับโอนโดยไม่สุจริตจึงหาอาจนำมาใช้ยันจำเลยได้
๙.โจทก์นำยึดที่ดินสองแปลง ไม่มีผู้ร้องขัดทรัพย์หรือโต้แย้งอย่างใด จนเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศและขายทอดตลาดไปตามคำสั่งศาล โจทก์ให้ราคาสูงสุดและศาลสั่งขายให้โจทก์ เป็นการซื้อทรัพย์โดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล คำสั่งเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ในคดีล้มละลาย ย่อมไม่เสียไป แม้ภายหลังพิสูจน์ได้ว่า ทรัพย์นั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือผู้ล้มละลาย กรณีเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางนิติกรรมตาม ปพพ มาตรา ๑๒๙๙วรรคแรก โจทก์อยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิ์เป็นของตนได้ก่อน แม้หลักฐานทางทะเบียนปรากฏว่าไม่ใช่เป็นของจำเลยก็ตาม ก็ไม่จำต้องฟ้องร้องหรือดำเนินคดีเรียกบุคคลภายนอกที่มีชื่อทางทะเบียนมาเป็นคู่ความเพราะในการนำยึดเพื่อขายทอดตลาดไม่มีผู้โต้แย้งหรือร้องขัดทรัพย์ว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นทรัพย์ของตนแต่อย่างใด
๑๐.ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริตย่อมไม่เสียไป แม้ภายหลังพิสูจน์ได้ว่า ทรัพย์นั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือผู้ล้มละลาย แต่ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดก็อยู่ในฐานะที่สามารถจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมได้ก่อน แม้ไม่ได้ทำนิติกรรมโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที ก็ยังมีสิทธิ์และมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ที่อาศัยในที่ดินนั้นให้ออกไปได้
๑๑.. ปพพ มาตรา ๑๓๓๐ บัญญัติรับรองสิทธิ์ผู้ซื้อโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลว่าไม่เสียไปแม้ภายหลังพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับเรื่องขอจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมอันต้องนำบทบัญญัติแห่งพรบ.ให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗และ ป.ที่ดินมาใช้ นั้นก็คือซื้อโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลว่าไม่เสียไปแม้ภายหลังพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา ส่วนการที่จะต้องจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมอย่างไรก็เป็นไปตามที่พรบ.ให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗และ ป.ที่ดินมาใช้บัญญัติไว้
๑๒.ซื้อที่ดินมือเปล่าจากการขายทอดตลาด แม้ซื้อโดยสุจริตไม่ทราบว่ามีจำนองติดอยู่ จำนองก็ติดไปกับที่ดิน ผู้รับจำนองบังคับจำนองจากที่ดินนั้นได้ เพราะจำนองเป็นทรัพย์สิทธิ์ไม่ใช่บุคคลสิทธิ์ที่บังคับกันระหว่างบุคคลที่เป็นคู่สัญญา แต่จำนองเป็นทรัพย์สิทธิ์ย่อมตกติดไปกับตัวทรัพย์สามารถตรวจสอบได้ง่ายเพียงดูด้านหลังหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินก็จะทราบว่าที่ดินดังกล่าวติดจำนองหรือไม่อย่างไร ดังนั้นแม้จะได้จำหน่ายจ่ายโอนให้แก่บุคคลอื่น จำนองก็ยังติดไป
๑๓. ปพพ มาตรา ๑๓๓๐ เรื่องการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลหรือคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นกรณีพิเศษ ไม่อยู่ในบังคับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทั่วไปตาม ปพพ มาตรา ๔๕๖ เมื่อห้างหุ่นส่วน อ. ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนโอนขายที่ดินและตึกให้จำเลย กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกยังเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. อยู่ โจทก์ได้ที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริต สิทธิ์ของโจทก์ไม่เสียไปแม้พิสูจน์ได้ว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๐ แม้ยังไมได้ชำระราคาครบถ้วนหรือยังไม่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ โจทก์มีสิทธิ์ฟ้องขับไล่ผู้อยู่อาศัยในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อได้
๑๔.การให้ทรัพย์สินที่หากจะซื้อขายต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมสมบรูณ์เมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีนี้การให้ย่อมสมบรูณ์โดยมิพักต้องส่งมอบ ตาม ปพพ มาตรา ๕๒๕และปพพ มาตรา ๔๕๖ การซื้อขายที่ดินมีนส๓ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้นการยกที่พิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่มีนส ๓ ระหว่าง ช. กับจำเลยต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่สมบรูณ์ตามกฎหมาย แม้จะครอบครองที่พิพาทมาตลอด ก็เป็นการครอบครองแทน ไม่ใช่การยึดถือครอบครองในฐานะเจ้าของตาม ปพพ มาตรา ๑๓๖๗,๑๓๖๙,๑๓๗๐,๑๓๗๒ จึงไม่มีสิทธิ์ครอบครองนี่พิพาท เมื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินดังกล่าวจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล จึงมีสิทธิ์ครอบครองที่พิพาทโดยชอบตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๐ แม้จะปล่อยให้จำเลยอยู่ในที่พิพาทนับแต่วันที่โจทก์ซื้อที่พิพาทถึงวันฟ้องเกิน ๑ ปี แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกกล่าวเจตนาเปลี่ยนแปลงลักษณะการครอบครองที่พิพาทคือไม่มีการแสดงเจตนาว่าจะแย่งการครอบครองโดยตนไม่ได้ครอบครองแทนแต่อ้างอำนาจใหม่ว่าตนเป็นเจ้าของ โดยครอบครองโดยสงบเปิดเผยมีเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า ๑ ปีสำหรับที่ดินมีนส ๓ตาม ปพพ มาตรา ๑๓๗๕ เมื่อจำเลยไม่ได้บอกกล่าวเจตนาเปลี่ยนแปลงลักษณะการครอบครองที่พิพาท จำเลยไม่ได้สิทธิ์ครอบครอง
๑๕. ประมูลซื้อตึกและที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำพิพากษาศาล ต่อมามีการขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีได้มีการโอนขายที่ดินและตึกดังกล่าวให้ผู้ร้อง แม้ผู้ร้องซื้อโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน จดทะเบียนสิทธิ์โดยสุจริต แต่เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ต้องถือเสมือนไม่มีการขายทอดตลาด และไม่มีการจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ให้ กรณีไม่ต้องตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๐ ซึ่งเป็นกรณีซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดโดยสุจริต โดยไม่มีการเพิกถอนการขายทอดตลาด ดังนั้นผู้ซื้อ.ไม่ได้รับการคุ้มครอง ไม่อาจอ้างได้ว่า เป็นบุคคลภายนอกซื้อที่พิพาทโดยสุจริตเสียค่าตอบแทนจดทะเบียนสิทธิ์โดยสุจริต คำพิพากษาที่เพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ผูกพัน ดังนั้นเมื่อผู้โอนไม่มีสิทธิ์ในที่พิพาท ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนไม่มีสิทธิ์ดีกว่าผู้โอน ทั้งการโอนขายก็เป็นการขายตาม ปอ มาตรา ๔๕๖ แต่การเพิกถอนการขายทอดตลาดเป็นการเพิกถอนตาม ปวพ มาตรา ๒๙๖วรรคสอง ซึ่งเป็นคนละกรณีไม่เกี่ยวข้องกัน ผู้ร้องไม่ได้รับความคุ้มครอง ส่วนกรณีเสียเงินแล้วไม่ได้ที่พิพาทจะเป็นกรณีเรียกเงินค่าซื้อคืนจากผู้ขายฐานลาภมิควรได้หรือไม่เป็นอีกกรณีหนึ่ง
๑๖.โจทก์เคยเป็นทนายแก่ต่างให้ น ในคดีที่จำเลยฟ้อง น. กับพวก ขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำเลยถอนฟ้อง น. ไปแล้ว ไม่ปรากฏจำเลยได้ฟ้อง น.ในภายหลังเกี่ยวกับเรื่องนี้อีก แสดงจำเลยไม่ติดใจโต้แย้งสิทธิ์ครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของ น. ต่อไป เพราะการถอนฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นฟ้อง และกระบวนพิจารณาอื่นๆอันมีภายหลังยื่นฟ้อง และทำให้คู่ความกลับคืนสู่สถานะเดิมเสมือนหนึ่งว่าไม่มีการยื่นฟ้อง ถอนฟ้องแล้วสามารถฟ้องใหม่ได้ภายในอายุความ เมื่อไม่ฟ้องใหม่ภายในอายุความแสดงไม่ติดใจในเรื่องการขอเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ดังนั้นเมื่อโจทก์ซื้อที่ดินตามคำสั่งศาลในการขายทอดตลาด ยังฟังไม่ได้ว่าซื้อโดยไม่สุจริต ย่อมได้รับการคุ้มครองตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๐
๑๗.การกันพื้นที่ในซอยให้เป็นทางสาธารณะ แม้เป็นซอยตัน แต่ประชาชนที่อาศัยในซอยดังกล่าวใช้สัญจรเพื่อผ่านซอยดังกล่าวเพื่อไปออกถนนสาธารณะ ถือว่าอุทิศทั้งซอยรวมที่พิพาทเป็นทางสาธารณะโดยปริยาย เมื่อที่พิพาทตกเป็นที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ปพพ มาตรา ๑๓๐๔(๒) แม้ซื้อมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ เพราะสาธารณะสมบัติของแผ่นดินโอนแก่กันไม่ได้เว้นอาศัยอำนาจกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฏีกา เมื่อไม่มีกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฏีกาให้โอนได้ย่อมไม่สามารถนำมาขายทอดตลาดได้
๑๘.เมื่อไม่ปรากฏว่าการขายทอดตลาดได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการหรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมาย การขายทอดตลาดย่อมเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมายตกเป็นโมฆะตาม ปพพ มาตรา ๑๕๐ เพราะที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิ์โดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรและสหกรณ์จะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นไม่ได้ เว้นโอนทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรมหรือโอนไปสถาบันเกษตรกรตามพรบ.ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรฯ มาตรา ๓๙ อีกทั้งในมาตรา ๒๘ บัญญัติให้ภายในเวลา ๓ ปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฏีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินบังคับใช้ ห้ามจำหน่ายด้วยประการใดๆ หรือก่อให้เกิดภาระติดพันซึ่งที่ดินในเขตปฏิรูปเว้นได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการหรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมาย ดังนั้นการขายทอดตลาดโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการหรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมาย การขายทอดตลาดย่อมเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมายตกเป็นโมฆะ แม้โจทก์ซื้อบ้านและที่ดินโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล โจทก์ย่อมไมได้สิทธิ์ในที่ดิน จำเลยครอบครองบ้านและที่ดินย่อมมีสิทธิ์ดีกว่าโจทก์ตาม ปพพ มาตรา ๑๓๖๗,๑๓๖๙๑๓๗๐,๑๓๗๒โดยเป็นผู้ยึดถือทรัพย์สินไว้ กฎหมายสันนิษฐานว่ายึดถือเพื่อตนตาม ปพพ มาตรา ๑๓๖๙ จึงเป็นผู้ครอบครองตาม ปพพ มาตรา ๑๓๖๗ และเป็นผู้ครอบครองโดยสุจริตสงบเปิดเผย ตาม ปพพ มาตรา ๑๓๗๐ และปพพมาตรา ๑๓๗๒สันนิษฐานว่าเป็นสิทธิ์ครอบครองที่มีอยู่ตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่
๑๙.การครอบครองปรปักษ์ที่ดินเป็นการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แต่สิทธิ์อันยังไม่ได้จดทะเบียนไม่ให้ยกเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิ์มาโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน จดทะเบียนสิทธิ์โดยสุจริต แม้จะมีผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ผู้ร้องประมูลซื้อได้จากการขายทอดตลาดโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม สิทธิ์ดังกล่าวไม่อาจใช้ยันเจ้าหนี้ผู้รับจำนองซึ่งได้รับการคุ้มครองที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินลูกหนี้
๒๐. การเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ทำนา ทำสวน ทำไร่ ทำนาเกลือ เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำและกิจการอื่นตามทีปรากฏในกฎกระทรวงไม่ระงับเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์นาที่เช่าตาม พรบ.การเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ฯ มาตรา ๒๘ เมื่อไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติไว้ว่า การ รับโอนที่พิพาทมาจาการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่ต้องรับภาระผูกพันที่มีเหนือทรัพย์นั้น ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดจึงต้องรับภาระผูกพันธ์ที่มีต่อทรัพย์นั้นโดยรับไปทั้งสิทธิ์และหน้าที่ของ เจ้าของเดิมซึ่งเป็นผู้โอนที่มีอยู่ต่อจำเลยที่เป็นผู้เช่า เมื่อการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่า เพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ทำนา ทำสวน ทำไร่ ทำนาเกลือ เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำและกิจการอื่นตามทีปรากฏในกฎกระทรวงไม่ระงับเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์นาที่เช่า ผู้รับโอนที่ดินจากการขายทอดตลาดจึงไม่มีสิทธิ์ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่า
๒๑.โจทก์ซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริต สิทธิ์ของโจทก์ไม่เสียไปแม้ภายหลังพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา แม้จะยังไม่ได้ชำระราคาครบถ้วนหรือยังไม่ได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ เพราะการขายทอดตลาดย่อมบริบรูณ์ เมื่อผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงเคาะไม้ หรือด้วยกริยาอย่างหนึ่งอย่างใดตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาด ตาม ปพพ มาตรา ๕๐๙ เมื่อการขายทอดตลาดบริบรูณ์แล้ว สิทธิ์ของผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดย่อมไม่เสียไป แม้จะยังยังไม่ได้ชำระราคาครบถ้วนหรือยังไม่ได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ก็ตาม อีกทั้งกรรมสิทธิ์ในการซื้อขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่เมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกัน โจทก์ผู้ได้ทรัพย์มาจากการขายทอดตลาดย่อมมีสิทธิ์ฟ้องขับไล่ผู้อยู่อาศัยในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อนั้นได้
๒.ซื้อที่พิพาทโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล เมื่อเป็นที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดินโอนแก่กันไม่ได้ จึงไม่ได้สิทธิ์ คำพิพากษาฏีกา ๒๖๒๒/๒๕๒๒
๓.พรบ.เช่าที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมฯ บัญญัติว่า เช่านาไม่ระงับเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ในที่นาที่เช่า โจทก์รับโอนที่พิพาทมาโดยการซื้อจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าไม่ต้องรับภาระผูกพันธ์ที่มีเหนือทรัพย์นั้น โจทก์ต้องรับไปทั้งสิทธิ์หน้าที่ของผู้โอนคือเจ้าของเดิมที่มีต่อจำเลยที่เป็นผู้เช่า โจทก์ไม่มีสิทธิ์ฟ้องขับไล่จำเลย คำพิพากษาฏีกา ๗๒๗๕/๒๕๓๔
๔.เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินมีโฉนดของโจทก์มาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ในคดีที่โจทก์ร่วม(สามีโจทก์)ถูกฟ้องเรียกหนี้เงินกู้ แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะยึดอย่างที่ดินมือเปล่า โดยนำ สค ๑ สำหรับที่ดินแปลงอื่นของโจทก์ร่วมมา และประกาศขายทอดตลาดว่าเป็นที่ดินมี สค ๑ โดยระบุเลข เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีกระทำโดยสุจริต จำเลยซื้อที่ดินตามคำสั่งศาลโดยสุจริตย่อมได้สิทธิ์ แต่หากซื้อโดยไม่สุจริตตามคำสั่งศาลหรือตามคำสั่งเจ้าพนักง่านรักษาทรัพย์ในคดีล้มละลายก็ไม่ได้สิทธิ์ คำพิพากษาฏีกา ๑๓๐๓/๒๕๑๒
๕.ซื้อที่ดินที่ศาลขายทอดตลาด รับโอนมาทั้งแปลงทั้งๆที่รู้ว่า เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น โจทก์ไม่อาจอ้าง ปพพ มาตรา ๑๓๓๐ มาใช้ยันจำเลยได้ คำพิพากษาฎีกา ๕๔๒/๒๕๒๓
๖.โจทก์นำยึดที่ดินสองแปลง ไม่มีผู้ร้องขัดทรัพย์หรือโต้แย้งอย่างใด จนเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศและขายทอดตลาดไปตามคำสั่งศาล โจทก์ให้ราคาสูงสุดและศาลสั่งขายให้โจทก์ โจทก์อยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิ์เป็นของตนได้ แม้หลักฐานทางทะเบียนปรากฏว่าไม่ใช่เป็นของจำเลยก็ตาม โจทก์ไม่จำต้องฟ้องร้องหรือดำเนินคดีเรียกบุคคลภายนอกที่มีชื่อทางทะเบียนมาเป็นคู่ความ คำพิพากษาฏีกา ๑๕๗๑/๒๕๐๘
๗.ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริต แม้ไม่ได้ทำนิติกรรมโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที ผู้ซื้อย่อมมีสิทธิ์และมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ที่อาศัยในที่ดินนั้นให้ออกไปได้ คำพิพากษาฏีกา ๕๐๘/๒๕๐๖
๘. ปพพ มาตรา ๑๓๓๐ บัญญัติรับรองสิทธิ์ผู้ซื้อโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลว่าไม่เสียไปแม้ภายหลังพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับเรื่องขอจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมอันต้องนำบทบัญญัติแห่งพรบ.ให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗และ ป.ที่ดินมาใช้ คำพิพากษาฏีกา ๑๒๗๐/๒๕๐๙
๙.ซื้อที่ดินมือเปล่าจากการขายทอดตลาด แม้ซื้อโดยสุจริตไม่ทราบว่ามีจำนองติดอยู่ จำนองก็ติดไปกับที่ดิน ผู้รับจำนองบังคับจำนองจากที่ดินนั้นได้ คำพิพากษาฏีกา ๑๕๓๖/๒๕๐๐
๑”๐. ปพพ มาตรา ๑๓๓๐ เรื่องการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลหรือคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นกรณีพิเศษ ไม่อยู่ในบังคับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทั่วไปตาม ปพพ มาตรา ๔๕๖ เมื่อห้างหุ่นส่วน อ. ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนโอนขายที่ดินและตึกให้จำเลย กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกยังเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. อยู่ โจทก์ได้ที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริต สิทธิ์ของโจทก์ไม่เสียไปแม้พิสูจน์ได้ว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๐ แม้ยังไมได้ชำระราคาครบถ้วนหรือยังไม่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ โจทก์มีสิทธิ์ฟ้องขับไล่ผู้อยู่อาศัยในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อได้ คำพิพากษาฏีกา ๕๑๓๗/๒๕๓๗
๑๑.ยกที่พิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่มีนส ๓ ระหว่าง ช. กับจำเลย ไม่ได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่สมบรูณ์ตามกฎหมาย แม้จะครอบครองที่พิพาทมาตลอด ก็เป็นการครอบครองแทน ไม่ใช่การยึดถือครอบครองในฐานะเจ้าของ จึงไม่มีสิทธิ์ครอบครองนี่พิพาท เมื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินดังกล่าวจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล จึงมีสิทธิ์ครอบครองที่พิพาทโดยชอบ แม้จะปล่อยให้จำเลยอยู่ในที่พิพาทนับแต่วันที่โจทก์ซื้อที่พิพาทถึงวันฟ้องเกิน ๑ ปี แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกกล่าวเจตนาเปลี่ยนแปลงลักษณะการครอบครองที่พิพาท จำเลยไม่ได้สิทธิ์ครอบครอง คำพิพากษาฏีกา ๖๒๖๗/๒๕๓๗
๑๒. นาย ป. ประมูลซื้อตึกและที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำพิพากษาศาล จำเลยขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาคดี ป.ได้ โอนขายให้ผู้ร้องโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน จดทะเบียนสิทธิ์โดยสุจริต ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ต้องถือเสมือนไม่มีการขายทอดตลาด และไม่มีการจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ให้ ป.และผู้ร้อง กรณีไม่ต้องตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๐ ป.ไม่ได้รับการคุ้มครอง ผู้ร้องไม่อาจอ้างได้ว่า เป็นบุคคลภายนอกซื้อที่พิพาทโดยสุจริตเสียค่าตอบแทนจดทะเบียนสิทธิ์โดยสุจริต คำพิพากษาที่เพิกถอนการขาทอดตลาดไม่ผูกพันผู้ร้อง เมื่อ ป. ผู้โอนไม่มีสิทธิ์ในที่พิพาท ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนไม่มีสิทธิ์ดีกว่าผู้โอน ทั้งการโอนขายก็เป็นการขายตาม ปอ มาตรา ๔๕๖ แต่การเพิกถอนการขายทอดตลาดเป็นการเพิกถอนตาม ปวพ มาตรา ๒๙๖วรรคสอง ซึ่งเป็นคนละกรณีไม่เกี่ยวข้องกัน ผู้ร้องไม่ได้รับความคุ้มครอง คำพิพากษาฏีกา ๕๒๕๖/๒๕๓๗
๑๓.โจทก์เคยเป็นทนายแก่ต่างให้ น ในคดีที่จำเลยฟ้อง น. กับพวก ขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำเลยถอนฟ้อง น. ไปแล้ว ไม่ปรากฏจำเลยได้ฟ้อง น.ในภายหลังเกี่ยวกับเรื่องนี้อีก แสดงจำเลยไม่ติดใจโต้แย้งสิทธิ์ครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของ น. ต่อไป โจทก์ซื้อที่ดินตามคำสั่งศาลในการขายทอดตลาด ยังฟังไม่ได้ว่าซื้อโดยไม่สุจริต ย่อมได้รับการคุ้มครอง คำพิพากษาฏีกา ๖๙๙/๒๕๔๑
๑๔.ว.จัดสรรที่ดินในซอยออกขายให้บุคคลทั่วไปโดยกันพื้นที่ในซอยรัฐขจรเป็นทางสาธารณะ แม้เป็นซอยตัน แต่ประชาชนที่อาศัยในซอยดังกล่าวใช้สัญจรเพื่อผ่านซอยหัสดิเสวีเพื่อไปออกถนนสุทธิสาร ถือว่าอุทิศทั้งซอยรวมที่พิพาทเป็นทางสาธารณะโดยปริยาย เมื่อที่พิพาทตกเป็นที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน แม้ซื้อมาจากกากรขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ คำพิพากษาฏีกา ๒๗๗๕/๒๕๔๑
๑๕..พรบ.ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรฯ มาตรา ๓๙ บัญญัติ ให้ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิ์โดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นไม่ได้ เว้นโอนทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรมหรือโอนไปสถาบันเกษตกร และในมาตรา ๒๘ บัญญัติให้ภายในเวลา ๓ ปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฏีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินบังคับใช้ ห้ามจำหน่ายด้วยประการใดๆ หรือก่อให้เกิดภาระติดพันซึ่งที่ดินในเขตปฏิรูปเว้นได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการหรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมาย ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าการขายทอดตลาดได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการหรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมาย การขายทอดตลาดย่อมเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมายตกเป็นโมฆะ แม้โจทก์ซื้อบ้านและที่ดินโดยสุจริตจรากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล โจทก์ย่อมไมได้สิทธิ์ในที่ดิน จำเลยครอบครองบ้านและที่ดินย่อมมีสิทธิ์ดีกว่าโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ คำพิพากษาฏีกา ๒๘๒๘/๒๕๔๑๒
๑๖.ยื่นคำร้องอ้างว่าได้ที่ดินจากการครอบครองปรปักษ์อันเป็นการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แต่สิทธิ์อันยังไม่ได้จดทะเบียนไม่ให้ยกเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิ์มาโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน จดทะเบียนสิทธิ์โดยสุจริต แม้จะมีผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ผู้ร้องประมูลซื้อได้จากการขายทอดตลาดโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม สิทธิ์ดังกล่าวไม่อาจใช้ยันเจ้าหนี้ผู้รับจำนองซึ่งได้รับการคุ้มครองทีค่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินลูกหนี้ คำพิพากษาฏีกา ๖๔๓๕/๒๕๔๙
๑๗.พรบ.การเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ฯ มาตรา ๒๘ การเช่าไม่ระงับเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์นาที่เช่า โจทก์รับโอนที่พิพาทมาจากากรขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติไว้ว่า ไม่ต้องรับภาระผูกพันที่มีเหนือทรัพย์นั้น โจทก์จึงต้องรับไปทั้งสิทธิ์ละหน้าที่ของผู้โอนคือ เจ้าของเดิมที่มีอยู่ต่อจำเลยที่เป็นผู้เช่า จึงไม่มีสิทธิ์ฟ้องขับไล่จำเลย คำพิพากษาฏีกา ๖๒๗๕/๒๕๓๔
๑๘.โจทก์ซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริต สิทธิ์ของโจทก์ไม่เสียไปแม้ภายหลังพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา แม้จะยังไม่ได้ชำระราคาครบถ้วนหรือยังไม่ได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ โจทก์มีสิทธิ์ฟ้องขับไล่ผู้อยู่อาศัยในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อนั้นได้ คำพิพากษาฏีกา ๒๔๔๔/๒๕๓๗
ข้อสังเกต ๑.ซื้อทรัพย์โดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล คำสั่งเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ในคดีล้มละลาย ย่อมไม่เสียไป แม้ภายหลังพิสูจน์ได้ว่า ทรัพย์นั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือผู้ล้มละลาย ปพพ มาตรา ๑๓๓๐
๒.การเช่าที่นาเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ย่อมไม่ระงับไปเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ในนาที่เช่า ผู้รับโอนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่านา ผู้เช่าที่ดินเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตาม พรบ.การเช่าที่นาเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ฯ มาตรา ๒๘ ซึ่งหลักการนี้เหมือนการเช่าอสังหาริมทรัพย์โดยทั่วไปตาม ปพพ มาตรา ๕๖๙ ที่การเช่าอสังหาริมทรัพย์ไม่ระงับไปเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ให้เช่า ผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิ์และหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่า
๓.การเช่าที่นาเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ นี้หมายความรวมถึงการเช่าช่วงโดยได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรม การทำนา ทำสวน ทำไร่ ทำนาเกลือ เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำและกิจการอื่นตามที่ปรากฏในกฎกระทรวง ไม่ว่าการเช่าหรือเช่าช่วงนั้นจะมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งการยินยอมให้ใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมโดยได้รับค่าเช่าซึ่งอาจเป็นผลผลิตเกษตรกรรม เงิน หรือ ทรัพย์สินอื่นใด ซึ่งให้เป็นค่าตอบแทนการเช่า รวมทั้งประโยชน์อื่นใดที่คำนวณเป็นเงินที่ผู้ให้เช่าหรือบุคคลอื่นได้รับเพื่อตอบแทนการให้เช่าทั้งทางตรงทางอ้อมและทำนิติกรรมอื่นใดเป็นการอำพรางการเช่านั้นด้วย พรบ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ๒๔๒๔ มาตรา ๕ ซึ่งแตกต่างจากการเช่าทรัพย์สินตาม ปพพ มาตรา ๕๔๔ โดยทรัพย์สินที่เช่านั้น ผู้เช่าจะให้เช่าช่วงหรือโอนสิทธิ์ของตนอันมีในทรัพย์สินไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนให้แก่บุคคลภายนอกหาอาจกระทำได้ไม่ เว้นแต่จะตกลงเป็นอย่างอื่นในสัญญาเช่า หากฝ่าฝืนผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาได้ จึงเห็นได้ว่าการเช่าช่วงที่นาเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ต้องได้รับคำยินยอมจากผู้ให้เช่าที่ดิน ส่วนการเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อาจได้รับความยินยอมหรือไม่ยินยอมจากผู้ให้เช่าก็ได้แล้วแต่ตกลงกันไว้ในสัญญา
๔.มาตรา ๒๘แห่งพรบ.ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรฯ บัญญัติให้ภายในเวลา ๓ ปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฏีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินบังคับใช้ ห้ามจำหน่ายด้วยประการใดๆ หรือก่อให้เกิดภาระติดพันซึ่งที่ดินในเขตปฏิรูปเว้นได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการหรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมาย.และใน มาตรา ๓๙ บัญญัติ ให้ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิ์โดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นไม่ได้ เว้นโอนทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรมหรือโอนไปสถาบันเกษตรกร แต่การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ให้เช่าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไปยังผู้อื่นนั้นไม่ได้มีบทบัญญัติห้ามโอน เพียงแต่ในมาตรา ๕๖๙ ผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิ์ละหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่า
.๕.ซื้อที่วัดที่ธรณีสงฆ์หรือที่ดินที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินโอนแก่กันไม่ได้เว้นแต่มีกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฏีกา ปพพ มาตรา ๑๓๐๕ แม้ซื้อโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ ไม่ได้รับการคุ้มครองตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๐
๖..การ เช่านาเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ย่อมไม่ระงับไปเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ในที่นาที่เช่า ผู้ที่รับโอนที่พิพาทมาโดยการซื้อจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ต้องรับไปทั้งสิทธิ์หน้าที่ของผู้โอนคือเจ้าของเดิมที่มีต่อผู้เช่า จึงไม่มีสิทธิ์ฟ้องขับไล่ผู้เช่า เพราะ ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าไม่ต้องรับภาระผูกพันธ์ที่มีเหนือทรัพย์ที่เช่านั้น
๗.เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินมีโฉนดของโจทก์มาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ในคดีที่โจทก์ร่วม(สามีโจทก์)ถูกฟ้องเรียกหนี้เงินกู้ แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะยึดอย่างที่ดินมือเปล่า โดยนำ สค ๑ สำหรับที่ดินแปลงอื่นของโจทก์ร่วมมา และประกาศขายทอดตลาดว่าเป็นที่ดินมี สค ๑ โดยระบุเลข เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีกระทำโดยสุจริต จำเลยซื้อที่ดินตามคำสั่งศาลโดยสุจริตย่อมได้สิทธิ์ แต่หากซื้อโดยไม่สุจริตตามคำสั่งศาลหรือตามคำสั่งเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ในคดีล้มละลายก็ไม่ได้สิทธิ์
๘.ซื้อที่ดินที่ศาลขายทอดตลาด รับโอนมาทั้งแปลงทั้งๆที่รู้ว่า เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น เป็นการรับโอนโดยไม่สุจริตตาม ปพพ มาตรา ๕,๖ไม่อาจอ้างว่า ซื้อทรัพย์โดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล คำสั่งเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ในคดีล้มละลาย ย่อมไม่เสียไป แม้ภายหลังพิสูจน์ได้ว่า ทรัพย์นั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือผู้ล้มละลาย เมื่อรับโอนโดยไม่สุจริตจึงหาอาจนำมาใช้ยันจำเลยได้
๙.โจทก์นำยึดที่ดินสองแปลง ไม่มีผู้ร้องขัดทรัพย์หรือโต้แย้งอย่างใด จนเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศและขายทอดตลาดไปตามคำสั่งศาล โจทก์ให้ราคาสูงสุดและศาลสั่งขายให้โจทก์ เป็นการซื้อทรัพย์โดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล คำสั่งเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ในคดีล้มละลาย ย่อมไม่เสียไป แม้ภายหลังพิสูจน์ได้ว่า ทรัพย์นั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือผู้ล้มละลาย กรณีเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางนิติกรรมตาม ปพพ มาตรา ๑๒๙๙วรรคแรก โจทก์อยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิ์เป็นของตนได้ก่อน แม้หลักฐานทางทะเบียนปรากฏว่าไม่ใช่เป็นของจำเลยก็ตาม ก็ไม่จำต้องฟ้องร้องหรือดำเนินคดีเรียกบุคคลภายนอกที่มีชื่อทางทะเบียนมาเป็นคู่ความเพราะในการนำยึดเพื่อขายทอดตลาดไม่มีผู้โต้แย้งหรือร้องขัดทรัพย์ว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นทรัพย์ของตนแต่อย่างใด
๑๐.ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริตย่อมไม่เสียไป แม้ภายหลังพิสูจน์ได้ว่า ทรัพย์นั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือผู้ล้มละลาย แต่ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดก็อยู่ในฐานะที่สามารถจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมได้ก่อน แม้ไม่ได้ทำนิติกรรมโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที ก็ยังมีสิทธิ์และมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ที่อาศัยในที่ดินนั้นให้ออกไปได้
๑๑.. ปพพ มาตรา ๑๓๓๐ บัญญัติรับรองสิทธิ์ผู้ซื้อโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลว่าไม่เสียไปแม้ภายหลังพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับเรื่องขอจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมอันต้องนำบทบัญญัติแห่งพรบ.ให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗และ ป.ที่ดินมาใช้ นั้นก็คือซื้อโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลว่าไม่เสียไปแม้ภายหลังพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา ส่วนการที่จะต้องจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมอย่างไรก็เป็นไปตามที่พรบ.ให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗และ ป.ที่ดินมาใช้บัญญัติไว้
๑๒.ซื้อที่ดินมือเปล่าจากการขายทอดตลาด แม้ซื้อโดยสุจริตไม่ทราบว่ามีจำนองติดอยู่ จำนองก็ติดไปกับที่ดิน ผู้รับจำนองบังคับจำนองจากที่ดินนั้นได้ เพราะจำนองเป็นทรัพย์สิทธิ์ไม่ใช่บุคคลสิทธิ์ที่บังคับกันระหว่างบุคคลที่เป็นคู่สัญญา แต่จำนองเป็นทรัพย์สิทธิ์ย่อมตกติดไปกับตัวทรัพย์สามารถตรวจสอบได้ง่ายเพียงดูด้านหลังหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินก็จะทราบว่าที่ดินดังกล่าวติดจำนองหรือไม่อย่างไร ดังนั้นแม้จะได้จำหน่ายจ่ายโอนให้แก่บุคคลอื่น จำนองก็ยังติดไป
๑๓. ปพพ มาตรา ๑๓๓๐ เรื่องการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลหรือคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นกรณีพิเศษ ไม่อยู่ในบังคับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทั่วไปตาม ปพพ มาตรา ๔๕๖ เมื่อห้างหุ่นส่วน อ. ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนโอนขายที่ดินและตึกให้จำเลย กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกยังเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. อยู่ โจทก์ได้ที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริต สิทธิ์ของโจทก์ไม่เสียไปแม้พิสูจน์ได้ว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๐ แม้ยังไมได้ชำระราคาครบถ้วนหรือยังไม่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ โจทก์มีสิทธิ์ฟ้องขับไล่ผู้อยู่อาศัยในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อได้
๑๔.การให้ทรัพย์สินที่หากจะซื้อขายต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมสมบรูณ์เมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีนี้การให้ย่อมสมบรูณ์โดยมิพักต้องส่งมอบ ตาม ปพพ มาตรา ๕๒๕และปพพ มาตรา ๔๕๖ การซื้อขายที่ดินมีนส๓ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้นการยกที่พิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่มีนส ๓ ระหว่าง ช. กับจำเลยต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่สมบรูณ์ตามกฎหมาย แม้จะครอบครองที่พิพาทมาตลอด ก็เป็นการครอบครองแทน ไม่ใช่การยึดถือครอบครองในฐานะเจ้าของตาม ปพพ มาตรา ๑๓๖๗,๑๓๖๙,๑๓๗๐,๑๓๗๒ จึงไม่มีสิทธิ์ครอบครองนี่พิพาท เมื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินดังกล่าวจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล จึงมีสิทธิ์ครอบครองที่พิพาทโดยชอบตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๐ แม้จะปล่อยให้จำเลยอยู่ในที่พิพาทนับแต่วันที่โจทก์ซื้อที่พิพาทถึงวันฟ้องเกิน ๑ ปี แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกกล่าวเจตนาเปลี่ยนแปลงลักษณะการครอบครองที่พิพาทคือไม่มีการแสดงเจตนาว่าจะแย่งการครอบครองโดยตนไม่ได้ครอบครองแทนแต่อ้างอำนาจใหม่ว่าตนเป็นเจ้าของ โดยครอบครองโดยสงบเปิดเผยมีเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า ๑ ปีสำหรับที่ดินมีนส ๓ตาม ปพพ มาตรา ๑๓๗๕ เมื่อจำเลยไม่ได้บอกกล่าวเจตนาเปลี่ยนแปลงลักษณะการครอบครองที่พิพาท จำเลยไม่ได้สิทธิ์ครอบครอง
๑๕. ประมูลซื้อตึกและที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำพิพากษาศาล ต่อมามีการขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีได้มีการโอนขายที่ดินและตึกดังกล่าวให้ผู้ร้อง แม้ผู้ร้องซื้อโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน จดทะเบียนสิทธิ์โดยสุจริต แต่เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ต้องถือเสมือนไม่มีการขายทอดตลาด และไม่มีการจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ให้ กรณีไม่ต้องตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๐ ซึ่งเป็นกรณีซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดโดยสุจริต โดยไม่มีการเพิกถอนการขายทอดตลาด ดังนั้นผู้ซื้อ.ไม่ได้รับการคุ้มครอง ไม่อาจอ้างได้ว่า เป็นบุคคลภายนอกซื้อที่พิพาทโดยสุจริตเสียค่าตอบแทนจดทะเบียนสิทธิ์โดยสุจริต คำพิพากษาที่เพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ผูกพัน ดังนั้นเมื่อผู้โอนไม่มีสิทธิ์ในที่พิพาท ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนไม่มีสิทธิ์ดีกว่าผู้โอน ทั้งการโอนขายก็เป็นการขายตาม ปอ มาตรา ๔๕๖ แต่การเพิกถอนการขายทอดตลาดเป็นการเพิกถอนตาม ปวพ มาตรา ๒๙๖วรรคสอง ซึ่งเป็นคนละกรณีไม่เกี่ยวข้องกัน ผู้ร้องไม่ได้รับความคุ้มครอง ส่วนกรณีเสียเงินแล้วไม่ได้ที่พิพาทจะเป็นกรณีเรียกเงินค่าซื้อคืนจากผู้ขายฐานลาภมิควรได้หรือไม่เป็นอีกกรณีหนึ่ง
๑๖.โจทก์เคยเป็นทนายแก่ต่างให้ น ในคดีที่จำเลยฟ้อง น. กับพวก ขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำเลยถอนฟ้อง น. ไปแล้ว ไม่ปรากฏจำเลยได้ฟ้อง น.ในภายหลังเกี่ยวกับเรื่องนี้อีก แสดงจำเลยไม่ติดใจโต้แย้งสิทธิ์ครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของ น. ต่อไป เพราะการถอนฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นฟ้อง และกระบวนพิจารณาอื่นๆอันมีภายหลังยื่นฟ้อง และทำให้คู่ความกลับคืนสู่สถานะเดิมเสมือนหนึ่งว่าไม่มีการยื่นฟ้อง ถอนฟ้องแล้วสามารถฟ้องใหม่ได้ภายในอายุความ เมื่อไม่ฟ้องใหม่ภายในอายุความแสดงไม่ติดใจในเรื่องการขอเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ดังนั้นเมื่อโจทก์ซื้อที่ดินตามคำสั่งศาลในการขายทอดตลาด ยังฟังไม่ได้ว่าซื้อโดยไม่สุจริต ย่อมได้รับการคุ้มครองตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๐
๑๗.การกันพื้นที่ในซอยให้เป็นทางสาธารณะ แม้เป็นซอยตัน แต่ประชาชนที่อาศัยในซอยดังกล่าวใช้สัญจรเพื่อผ่านซอยดังกล่าวเพื่อไปออกถนนสาธารณะ ถือว่าอุทิศทั้งซอยรวมที่พิพาทเป็นทางสาธารณะโดยปริยาย เมื่อที่พิพาทตกเป็นที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ปพพ มาตรา ๑๓๐๔(๒) แม้ซื้อมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ เพราะสาธารณะสมบัติของแผ่นดินโอนแก่กันไม่ได้เว้นอาศัยอำนาจกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฏีกา เมื่อไม่มีกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฏีกาให้โอนได้ย่อมไม่สามารถนำมาขายทอดตลาดได้
๑๘.เมื่อไม่ปรากฏว่าการขายทอดตลาดได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการหรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมาย การขายทอดตลาดย่อมเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมายตกเป็นโมฆะตาม ปพพ มาตรา ๑๕๐ เพราะที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิ์โดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรและสหกรณ์จะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นไม่ได้ เว้นโอนทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรมหรือโอนไปสถาบันเกษตรกรตามพรบ.ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรฯ มาตรา ๓๙ อีกทั้งในมาตรา ๒๘ บัญญัติให้ภายในเวลา ๓ ปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฏีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินบังคับใช้ ห้ามจำหน่ายด้วยประการใดๆ หรือก่อให้เกิดภาระติดพันซึ่งที่ดินในเขตปฏิรูปเว้นได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการหรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมาย ดังนั้นการขายทอดตลาดโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการหรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมาย การขายทอดตลาดย่อมเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมายตกเป็นโมฆะ แม้โจทก์ซื้อบ้านและที่ดินโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล โจทก์ย่อมไมได้สิทธิ์ในที่ดิน จำเลยครอบครองบ้านและที่ดินย่อมมีสิทธิ์ดีกว่าโจทก์ตาม ปพพ มาตรา ๑๓๖๗,๑๓๖๙๑๓๗๐,๑๓๗๒โดยเป็นผู้ยึดถือทรัพย์สินไว้ กฎหมายสันนิษฐานว่ายึดถือเพื่อตนตาม ปพพ มาตรา ๑๓๖๙ จึงเป็นผู้ครอบครองตาม ปพพ มาตรา ๑๓๖๗ และเป็นผู้ครอบครองโดยสุจริตสงบเปิดเผย ตาม ปพพ มาตรา ๑๓๗๐ และปพพมาตรา ๑๓๗๒สันนิษฐานว่าเป็นสิทธิ์ครอบครองที่มีอยู่ตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่
๑๙.การครอบครองปรปักษ์ที่ดินเป็นการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แต่สิทธิ์อันยังไม่ได้จดทะเบียนไม่ให้ยกเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิ์มาโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน จดทะเบียนสิทธิ์โดยสุจริต แม้จะมีผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ผู้ร้องประมูลซื้อได้จากการขายทอดตลาดโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม สิทธิ์ดังกล่าวไม่อาจใช้ยันเจ้าหนี้ผู้รับจำนองซึ่งได้รับการคุ้มครองที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินลูกหนี้
๒๐. การเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ทำนา ทำสวน ทำไร่ ทำนาเกลือ เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำและกิจการอื่นตามทีปรากฏในกฎกระทรวงไม่ระงับเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์นาที่เช่าตาม พรบ.การเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ฯ มาตรา ๒๘ เมื่อไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติไว้ว่า การ รับโอนที่พิพาทมาจาการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่ต้องรับภาระผูกพันที่มีเหนือทรัพย์นั้น ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดจึงต้องรับภาระผูกพันธ์ที่มีต่อทรัพย์นั้นโดยรับไปทั้งสิทธิ์และหน้าที่ของ เจ้าของเดิมซึ่งเป็นผู้โอนที่มีอยู่ต่อจำเลยที่เป็นผู้เช่า เมื่อการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่า เพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ทำนา ทำสวน ทำไร่ ทำนาเกลือ เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำและกิจการอื่นตามทีปรากฏในกฎกระทรวงไม่ระงับเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์นาที่เช่า ผู้รับโอนที่ดินจากการขายทอดตลาดจึงไม่มีสิทธิ์ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่า
๒๑.โจทก์ซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริต สิทธิ์ของโจทก์ไม่เสียไปแม้ภายหลังพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา แม้จะยังไม่ได้ชำระราคาครบถ้วนหรือยังไม่ได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ เพราะการขายทอดตลาดย่อมบริบรูณ์ เมื่อผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงเคาะไม้ หรือด้วยกริยาอย่างหนึ่งอย่างใดตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาด ตาม ปพพ มาตรา ๕๐๙ เมื่อการขายทอดตลาดบริบรูณ์แล้ว สิทธิ์ของผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดย่อมไม่เสียไป แม้จะยังยังไม่ได้ชำระราคาครบถ้วนหรือยังไม่ได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ก็ตาม อีกทั้งกรรมสิทธิ์ในการซื้อขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่เมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกัน โจทก์ผู้ได้ทรัพย์มาจากการขายทอดตลาดย่อมมีสิทธิ์ฟ้องขับไล่ผู้อยู่อาศัยในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อนั้นได้
วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
“ทางจำเป็น”
๑.ที่ดินจดคลองตื้นเขินประชาชนไม่สามารถใช้เป็นทางสัญจรได้มานานแล้ว ทางอื่นออกไม่ได้ จึงใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินที่ล้อม คำพิพากษาฏีกา ๒๐๗๓/๒๕๒๐
๒.ที่ดินที่ถูกล้อมชอบที่จะเปิดทางผ่านที่ดินที่ล้อมไปสู่ทางสาธารณะโดยเลือกเอาทางที่จะก่อความเสียหายน้อยที่สุดแก่ที่ดินที่ถูกล้อม คำพิพากษาฏีกา ๒๙๓๙/๒๕๑๙
๓.ทางจำเป็นต้องเลือกทำพอสมควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิ์ผ่าน โดยสียหายน้อยที่สุดแก่ที่ดินที่ล้อม เปิดทาง ๕ เมตรเหมาะสมแล้ว จะนำประกาศคณะปฏิวัติฉบับ ๒๘๖ให้เปิดทางกว้าง ๘ เมตรไม่ได้ คำพิพากษาฏีกา ๑๓๗๐/๒๕๒๐
๔.ที่ดินโจทก์ถูกที่ดินของจำเลยทั้งสองและของผู้มีชื่อปิดล้อมไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แม้ทางตะวันออกจะติดลำรางสาธารณะแต่สภาพปัจจุบันตื้นเขินไม่สามารถใช้สัญจรมาได้ ๑๐ ปี ถือไม่ได้ที่ดินโจทก์ติดทางสาธารณะ เมื่อวัดจากที่ดินของโจทก์ผ่านที่ดินจำเลยทั้งสองออกสู่ทางสาธารณะ เป็นระยะใกล้ที่สุด โจทก์ย่อมใช้สิทธิ์ทางจำเป็นเหนือที่ดินจำเลยทั้งสอง คำพิพากษาฏีกา ๘๓๗/๒๕๓๘
๕.ตามปพพ มาตรา ๑๓๔๙วรรคแรกไม่ได้บัญญัติว่าทางจำเป็นต้องเชื่อมกับทางสาธารณะโดยตรง ความมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดคือให้ที่ดินที่ถูกล้อมอยู่นั้นมีทางสาธารณะได้เท่านั้น ได้ความว่าหากโจทก์ผ่านที่ดินจำเลย โจทก์สามารถไปตามทางจนในที่สุดภุงทางสาธารณะได้ เช่นนี้ ที่ดินจำเลยย่อมเป็นทางจำเป็น แม้จะฟังว่าเมื่อเดินผ่านที่ดินจำเลยแล้วต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นอีก แม้เจ้าของที่ดินอื่นจะไม่ได้ร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อโต้แย้งสิทธิ์โจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า เจ้าของที่ดินแปลงอื่นยินยอมให้โจทก์ผ่านหรือไม่ เมื่อที่ดินโจทก์ที่ดินจำเลยเป็นที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินเดียวกัน และที่ดินโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์มีสิทธิ์เรียกร้องเอาทางเดินในที่ดินที่แบ่งแยกได้ คำพิพากษาฏีกา๖๙๓๐/๒๕๔๐
๖.ที่ดินจำเลยเป็นถนนซอยเชื่อมถนนสายอื่นในหมู่บ้าน รถยนต์สามารถแล่นเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ย่อมขอผ่านเป็นทางจำเป็นซึ่งเป็นที่ใกล้ทางสาธารณะที่สุดและเกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด เพราะที่ดินจำเลยมีสภาพเป็นถนนเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยภายในหมู่บ้านผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว ส่วนความจำเป็นของโจทก์ผู้มีสิทธิ์ผ่านนั้น แต่ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องทางจำเป็น ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิ์สามารถสร้างถนนเป็นทางผ่านได้ มิได้จำกัดให้ใช้เฉพาะทางเดินเท้าเท่านั้น ทั้งตามสภาพความจำเป็นของคนที่อยู่อาศัยในหมู่บ้าน ย่อมต้องมีรถยนต์เป็นพาหนะ ฉะนัน้ที่ศาลล่างกำหนดให้จำเลยรื้อรั่วในที่ดินจำเลยเพื่อเปิดเป็นทางเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินโจทก์กว้างแปลงละ ๓.๕ เมตรจึงเหมาะสมแล้ว
๗.ที่ดินตกอยู่ที่ล้อม โจทก์ย่อมได้รับการคุ้มครองถึงการใช้ยานพาหนะผ่านทางในสภาพที่เป็นถนน มิได้จำกัดเฉพาะให้ใช้ทางเดินด้วยเท้าเท่านั้น และตามสภาพความเจริญของบ้านเมืองในปัจจุบันรถยนต์เป็นพาหนะที่จำเป็น ที่พิพาทอยู่ห่างถนน ๒๐๐ เมตร เป็นพื้นที่มีความเจริญมีอาคารสูงหลายหลังอยู่ห่างย่านการค้า ๕๐๐ เมตร หากมีการพัฒนาที่ดินเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดและเป็นการพัฒนาบ้านเมืองไปสู่ความเจริญแล้ว สมควรเปิดทางเพื่อให้รถเข้าออกได้ คำพิพากษาฏีกา ๓๗๕๘/๒๕๔๓
๘.ผู้ใช้ที่ดินผ่านทางที่ดินที่ล้อมอยู่ต้องใช้ค่าทดแทน เมื่อเจ้าของที่ดินที่ผ่านทางยังไม่เรียกร้อง ผู้ใช้ทางก็ฟ้องขอให้เปิดทางโดยไม่ต้องเสนอค่าทดแทนก่อน คำพิพากษาฏีกา ๘๘๑/๒๕๑๘
๙.ผู้มีสิทธิ์ใช้ทางจำเป็นต้องใช้ค่าทดแทนแก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ ศาลไม่พิพากษาให้ค่าทดแทนในคดีที่ฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็นเพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องแย้ง ประเด็นจึงต่างกับคดีนี้ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าทดแทนการใช้ทางผ่านที่ดินโจทก์ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ คำพิพากษาฏีกา ๒๑๙๖/๒๕๒๒
๑๐.แม้ปพพ มาตรา ๑๓๔๙ กำหนดให้ผู้มีสิทธิ์ใช้ทางจำเป็นมีหน้าที่ต้องให้ค่าทดแทนแก่ผู้เปิดทางก็ตาม แต่ก็ไม่ได้บังคับให้ใช้ค่าทดแทนก่อนจึงจะใช้สิทธิ์ได้ ในทางตรงกันข้ามเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่มีหน้าที่ต้องเปิดทางให้ผ่านและถมีสิทธิ์เรียกค่าทดแทน เมื่อโจทก์ไม่เสนอค่าทดแทนแก่จำเลย และจำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าทดแทน จำเลยชอบที่จะว่ากล่าวเอากับโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก คำพิพากษาฏีกา ๗๔/๒๕๔๐
ข้อสังเกต ๑. ที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจนไม่มีทางออกถึงสาธารณะได้ เจ้าของที่ดินจะผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ไปออกทางสาธารณะได้ ปพพ มาตรา ๑๓๔๙
๒.ที่ดินที่ปิดล้อมทำให้ไม่สามารถออกทางสาธารณะได้นั้นไม่จำเป็นต้องถูกปิดล้อมด้วยที่ดินทั้งสี่ด้าน อาจถูกปิดล้อมด้วยที่ดินบ้างหรือบางด้านอาจถูกปิดล้อมด้วยสระ บึง ทะเลหรือมีที่ชันอันระดับที่ดินกับทางสาธารณะสูงกว่ากันมาก” เช่น เป็นภูเขา หรือที่ดินสูงการเดินทางไม่สะดวก ก็อาจเดินผ่านที่ดินแปลงอื่นที่อยู่อีกทิศเพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้ ปพพ มาตรา ๑๓๔๙วรรคสอง
๓.วิธีผ่านที่ดินที่ปิดล้อมนั้นต้องเลือกพอแก่ความจำเป็นโดยคำนึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ และหากจำเป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกปิดล้อมจะสร้างถนนเป็นทางผ่านได้ ปพพ มาตรา ๑๓๔๙วรรคสาม โดยเจ้าของที่ดินที่ถูกปิดล้อมต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการที่ต้องผ่านทาง ค่าเสียหายนอกจากการสร้างถนนสามารถกำหนดเป็นเงินรายปีได้ ปพพ มาตรา ๑๓๔๙วรรคท้าย ทางจำเป็นที่จะใช้เป็นทางผ่านออกสู่ทางสาธารณะได้ต้องใช้พอควรแก่ความจำเป็นและก่อความเสียหายน้อยที่สุดแก่ที่ดินที่ขอผ่านทาง เจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการคุ้มครองเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ให้มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ซึ่งประเด็นนี้เป็นประเด็นหลัก ส่วนประเด็นเรื่องค่าทดแทนเป็นประเด็นรองและเป็นหน้าที่ของเจ้าของที่ดินที่ถูกผ่านทางต้องฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทน หรือไปฟ้องเป็นคดีใหม่เรียกค่าทดแทน หากในคดีนี้ไม่ได้ฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนก็จะไม่มีประเด็นเรื่องค่าทดแทนความเสียหายคงมีเฉพาะประเด็นที่ดินถูกล้อมจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะหรือไม่ และเส้นทางที่ผ่านนี้ก่อความเสียหายให้เจ้าของที่ดินที่ถูกผ่านทางน้อยที่สุดหรือไม่อย่างไรเท่านั้น
๔.ที่ดินที่ถูกล้อมอยู่หากปรากฏว่าสามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ แต่ต้องข้ามสะพานหรือเดินบนสะพานไม้ลำบาก เป็นทางคดเคี้ยวมีระยะทางไกลกว่าจึงจะสามารถออกสู่ทางสาธารณะได้เมื่อมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้แม้การออกไปทางสาธารณะไม่สะดวกก็จะถือว่าเป็นกรณีที่ดินถูกปิดล้อมไม่มีท่างออกสู่ทางสาธารณะไม่ได้ จึงไม่อาจขอใช้ทางจำเป็นตามกฎหมายได้ กฎหมายคำนึงถึงสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินที่จะถูกผ่านทางที่อาจได้รับความเสียหาย เมื่อมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้แม้ไม่สะดวกก็จะมาฟ้องขอเปิดทางจำเป็นไม่ได้
๕.บทบัญญัตินี้เป็นบทกฏหมายที่ทำให้การกระทำของเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมออกจนไม่มีทางสู่ทางสาธารณะสามารถผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้โดยไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุกในทางอาญา และไม่ถือเป็นการกระทำละเมิดในทางแพ่ง
๖.ค่าทดแทนที่จ่ายนี้เป็นการทดแทนชดเชยความเสียหายที่เจ้าของที่ดินจำต้องยอมให้เจ้าของที่ดินที่ถูกปิดล้อมผ่านทาง แต่ค่าทดแทนนี้ไม่ใช่ค่าซื้อที่ดิน เพราะที่ดินยังเป็นของเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ มิใช่เป็นของเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อม
๗.การผ่านทางหาก เจ้าของที่ดินที่ถูกปิดล้อมไม่มีความจำเป็นต้องใช้รถ ก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องทำถนนเพื่อให้รถเข้าออกได้เพื่อผ่านทาง คงผ่านทางได้เฉพาะการเดินเท้าเท่านั้น เป็นเรื่องความจำเป็นและความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเจ้าของที่ดินที่ถูกผ่านทาง หากเป็นการทำทางเดินความเสียหายย่อมน้อยกว่าการทำถนนเพื่อให้รถวิ่งเพื่อผ่านทาง ทั้งการทำถนนอาจต้องมีการตัดต้นไม้ซึ่งก็จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของที่ดินได้ แต่หากเป็นที่รกร้างว่างเปล่าความเสียหายก็เกิดน้อยกว่าที่ดินที่เป็นสวนผลไม้แล้วต้องตัดต้นไม้เพื่อทำทาง ค่าทดแทนในการใช้ประโยชน์ในที่ดินที่จำต้องยอมให้เขาผ่านทางก็คล้ายกับสัญญาเช่าที่ดินในส่วนนั้นเพราะกรรมสิทธิ์ในทางที่ผ่านยังเป็นของเจ้าของที่ดินที่ปิดล้อมอยู่ เมื่อค่าทดแทนมีลักษณะคล้ายการเช่าที่ดินจึงอาจจ่ายค่าทดแทนเป็นงวดๆหรือเหมาจ่ายก็ได้แล้วแต่จะตกลงกัน
๘.ที่ดินจดคลองตื้นเขินประชาชนไม่สามารถใช้เป็นทางสัญจรได้มานานแล้ว เมื่อคลองตื่นเขินไม่สามารถใช้สัญจรไปมาได้ แม้ยังคงเป็นที่สาธารณะอยู่แต่ก็ไม่ใช่ทางสาธารณะที่ใช้สัญจรไปมาได้ เมื่อไม่มี ทางอื่นให้ออกได้ จึงใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินที่ล้อม
๙.ที่ดินที่ถูกล้อมชอบที่จะเปิดทางผ่านที่ดินที่ล้อมไปสู่ทางสาธารณะโดยเลือกเอาทางที่จะก่อความเสียหายน้อยที่สุดแก่ที่ดินที่ถูกล้อม
๑๐.ทางจำเป็นต้องเลือกทำพอสมควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิ์ผ่าน โดยเสียหายน้อยที่สุดแก่ที่ดินที่ล้อมเมื่อมีความจำเป็นเพียง ๕ เมตรที่จะทำทางได้แล้วการ เปิดทาง ๕ เมตรก็เหมาะสมแล้ว จะนำประกาศคณะปฏิวัติฉบับ ๒๘๖ให้เปิดทางกว้าง ๘ เมตรไม่ได้เพราะไม่ใช่ความจำเป็นที่พอสมควรแก่การผ่านทาง ทั้งการเปิดกว้าง ๘ เมตรย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของที่ดินเพิ่มขึ้น
๑๑.ที่ดินโจทก์ถูกที่ดินของจำเลยทั้งสองและของผู้มีชื่อปิดล้อมไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แม้ทางตะวันออกจะติดลำรางสาธารณะแต่สภาพปัจจุบันตื้นเขินไม่สามารถใช้สัญจรมาได้ ๑๐ ปี ถือไม่ได้ที่ดินโจทก์ติดทางสาธารณะเพราะเมื่อตื้นเขินไม่สามารถใช้เป็นทางสัญจรไปมาได้จึงไม่ใช่ทางสาธารณะ แต่ต้องถือว่าที่ดินถูกปิดล้อมไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ เมื่อวัดจากที่ดินของโจทก์ผ่านที่ดินจำเลยทั้งสองออกสู่ทางสาธารณะ เป็นระยะใกล้ที่สุด โจทก์ย่อมใช้สิทธิ์ทางจำเป็นเหนือที่ดินจำเลยทั้งสองมากกว่าใช้สิทธิ์เอาแก่การผ่านทางของผู้มีชื่อ เป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของที่ดินข้างเคียงน้อยที่สุด
๑๒.ตามปพพ มาตรา ๑๓๔๙วรรคแรกไม่ได้บัญญัติว่าทางจำเป็นต้องเชื่อมกับทางสาธารณะโดยตรง ความมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดคือให้ที่ดินที่ถูกล้อมอยู่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะนั้นมีทางที่จะออกสู่ทางสาธารณะได้ เมื่อได้ความว่าหากโจทก์ผ่านที่ดินจำเลย โจทก์สามารถไปตามทางจนในที่สุดถึงทางสาธารณะได้ เช่นนี้ ที่ดินจำเลยย่อมเป็นทางจำเป็น แม้จะฟังว่าเมื่อเดินผ่านที่ดินจำเลยแล้วต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นอีกก็ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ กฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าการผ่านที่ดินคนอื่นไปสู่ทางสาธารณะนั้นให้ผ่านได้เฉพาะที่ดินแปลงเดียวเจ้าของเดียว แม้จะเป็นที่ดินที่ต้องผ่านหลายแปลงหากผ่านแล้วสามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ก็ถือเป็นไปตามเจตนารมย์ของกฎหมายแล้ว ดังนั้นเมื่อที่ดินถูกปิดล้อมแล้วได้ผ่านที่ดินที่ปิดล้อมไปแล้วยังต้องผ่านที่ดินคนอื่นอีกเพื่อไปสู่ทางสาธารณะก็ไม่เป็นข้อขัดข้องประการใด แม้เจ้าของที่ดินอื่นจะไม่ได้ร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อโต้แย้งสิทธิ์โจทก์ ก็เป็นเพียงคดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า “เจ้าของที่ดินแปลงอื่นยินยอมให้โจทก์ผ่านหรือไม่” หากยินยอมก็เป็นเรื่องความสมัครใจ โดยความยินยอมไม่ก่อให้การผ่านทางเป็นละเมิดหรือเป็นความผิดฐานบุกรุก อีกทั้งเมื่อที่ดินโจทก์ที่ดินจำเลยเป็นที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินเดียวกัน เมื่อแบ่งแยกแล้วทำให้โจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์จึงมีสิทธิ์เรียกร้องเอาทางเดินในที่ดินที่แบ่งแยกเพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้
๑๓.ที่ดินจำเลยเป็นถนนซอยเชื่อมถนนสายอื่นในหมู่บ้าน รถยนต์สามารถแล่นเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ย่อมขอผ่านเป็นทางจำเป็นซึ่งเป็นที่ใกล้ทางสาธารณะที่สุดและเกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด เพราะที่ดินจำเลยมีสภาพเป็นถนนเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยภายในหมู่บ้านผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้วไม่จำต้องตัดถนนผ่าน ไม่จำต้องตัดฟันต้นไม้เพื่อทำถนนแต่อย่างใด ในเรื่องความจำเป็นของโจทก์ผู้มีสิทธิ์ผ่านนั้นเมื่อดูตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องทางจำเป็น ถ้าจำเป็นต้องสร้างถนน ผู้มีสิทธิ์ผ่านทางสามารถสร้างถนนเป็นทางผ่านได้ มิได้จำกัดให้ใช้เฉพาะทางเดินเท้าเท่านั้น ทั้งตามสภาพความจำเป็นของคนที่อยู่อาศัยในหมู่บ้าน ย่อมต้องมีรถยนต์เป็นพาหนะ ฉะนั้นที่ศาลล่างกำหนดให้จำเลยรื้อรั่วในที่ดินจำเลยเพื่อเปิดเป็นทางเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินโจทก์กว้างแปลงละ ๓.๕ เมตรจึงเหมาะสมแล้ว
๑๔.ที่ดินตกอยู่ที่ล้อม โจทก์ย่อมได้รับการคุ้มครองถึงการใช้ยานพาหนะผ่านทางในสภาพที่เป็นถนน มิได้จำกัดเฉพาะให้ใช้ทางเดินด้วยเท้าเท่านั้น โดยตามสภาพความเจริญของบ้านเมืองในปัจจุบันรถยนต์เป็นพาหนะที่จำเป็น ที่พิพาทอยู่ห่างถนน ๒๐๐ เมตร เป็นพื้นที่มีความเจริญมีอาคารสูงหลายหลังอยู่ห่างย่านการค้า ๕๐๐ เมตร หากมีการพัฒนาที่ดินเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดและเป็นการพัฒนาบ้านเมืองไปสู่ความเจริญแล้ว สมควรเปิดทางเพื่อให้รถเข้าออกได้
๑๕.ผู้ใช้ที่ดินผ่านทางที่ดินที่ล้อมอยู่ต้องใช้ค่าทดแทน เมื่อเจ้าของที่ดินที่ผ่านทางยังไม่เรียกร้อง ผู้ใช้ทางก็ฟ้องขอให้เปิดทางโดยไม่ต้องเสนอค่าทดแทนก่อน นั้นก็คือสิทธิ์ในการฟ้องเรียกค่าทดแทนที่ผ่านที่ดินของตนไปทางสาธารณะนั้นเจ้าของที่ดินที่ถูกผ่านทางต้องฟ้องร้องเรียกเอาค่าทดแทนจากผู้ผ่านทาง หากไม่เรียกร้อง ไม่มีการฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนเข้ามาในคดีหรือไม่มีการฟ้องเป็นคดีใหม่เพื่อเรียกค่าทดแทนแล้ว ย่อมไม่มีประเด็นที่ศาลจะให้ค่าทดแทนได้เพราะ ปวพ มาตรา ๑๔๒ ห้ามไม่ให้พิพากษาหรือมีคำสั่งเกินกว่าที่กล่าวมาในคำฟ้อง
๑๖.ผู้มีสิทธิ์ใช้ทางจำเป็นต้องใช้ค่าทดแทนแก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ เมื่อจำเลยไมได้ฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนแล้วศาลไม่พิพากษาให้ค่าทดแทนในคดีที่ฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็นเพราะเมื่อไม่ได้ฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าทดแทนว่าต้องจ่ายเท่าไหร่ในการผ่านทาง เมื่อนำมาฟ้องเรียกค่าทดแทนเป็นอีกคดีหนึ่ง ประเด็นในคดีนี้จึงต่างกับคดีก่อนที่มีประเด็นเพียงควรให้ผ่านที่ดินแปลงที่ล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะหรือไม่ เมื่อคดีนี้ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าทดแทนการใช้ทางผ่านที่ดินโจทก์ ส่วนคดีก่อนเป็นเรื่องการฟ้องเพื่อขอให้ผ่านทาง ประเด็นแห่งคดีจึงต่างกัน แม้จะมีคู่ความเดียวกันก็ตามแต่ก็ไม่ได้มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับในคดีก่อนแต่อย่างใดไม่ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ตาม ปวพ มาตรา๑๔๘
๑๗.แม้ปพพ มาตรา ๑๓๔๙ กำหนดให้ผู้มีสิทธิ์ใช้ทางจำเป็นมีหน้าที่ต้องให้ค่าทดแทนแก่ผู้เปิดทางก็ตาม แต่ก็ไม่ได้บังคับให้ใช้ค่าทดแทนก่อนจึงจะใช้สิทธิ์ขอให้เปิดทางได้ ในทางตรงกันข้ามเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่มีหน้าที่ต้องเปิดทางให้ผ่านและมีสิทธิ์เรียกค่าทดแทน เมื่อโจทก์ไม่เสนอค่าทดแทนแก่จำเลย เป็นหน้าที่จำเลยต้องฟ้องแย้งเข้ามาเพื่อขอค่าทดแทนในการที่ผ่านที่ดินของตน หรือไม่ก็ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่เพื่อเรียกค่าทดแทน เมื่อจำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าทดแทนที่ศาลจะวินิจฉัย จึงเป็นเรื่องที่ จำเลยชอบที่จะว่ากล่าวเอากับโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหากจากคดีนี้
๒.ที่ดินที่ถูกล้อมชอบที่จะเปิดทางผ่านที่ดินที่ล้อมไปสู่ทางสาธารณะโดยเลือกเอาทางที่จะก่อความเสียหายน้อยที่สุดแก่ที่ดินที่ถูกล้อม คำพิพากษาฏีกา ๒๙๓๙/๒๕๑๙
๓.ทางจำเป็นต้องเลือกทำพอสมควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิ์ผ่าน โดยสียหายน้อยที่สุดแก่ที่ดินที่ล้อม เปิดทาง ๕ เมตรเหมาะสมแล้ว จะนำประกาศคณะปฏิวัติฉบับ ๒๘๖ให้เปิดทางกว้าง ๘ เมตรไม่ได้ คำพิพากษาฏีกา ๑๓๗๐/๒๕๒๐
๔.ที่ดินโจทก์ถูกที่ดินของจำเลยทั้งสองและของผู้มีชื่อปิดล้อมไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แม้ทางตะวันออกจะติดลำรางสาธารณะแต่สภาพปัจจุบันตื้นเขินไม่สามารถใช้สัญจรมาได้ ๑๐ ปี ถือไม่ได้ที่ดินโจทก์ติดทางสาธารณะ เมื่อวัดจากที่ดินของโจทก์ผ่านที่ดินจำเลยทั้งสองออกสู่ทางสาธารณะ เป็นระยะใกล้ที่สุด โจทก์ย่อมใช้สิทธิ์ทางจำเป็นเหนือที่ดินจำเลยทั้งสอง คำพิพากษาฏีกา ๘๓๗/๒๕๓๘
๕.ตามปพพ มาตรา ๑๓๔๙วรรคแรกไม่ได้บัญญัติว่าทางจำเป็นต้องเชื่อมกับทางสาธารณะโดยตรง ความมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดคือให้ที่ดินที่ถูกล้อมอยู่นั้นมีทางสาธารณะได้เท่านั้น ได้ความว่าหากโจทก์ผ่านที่ดินจำเลย โจทก์สามารถไปตามทางจนในที่สุดภุงทางสาธารณะได้ เช่นนี้ ที่ดินจำเลยย่อมเป็นทางจำเป็น แม้จะฟังว่าเมื่อเดินผ่านที่ดินจำเลยแล้วต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นอีก แม้เจ้าของที่ดินอื่นจะไม่ได้ร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อโต้แย้งสิทธิ์โจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า เจ้าของที่ดินแปลงอื่นยินยอมให้โจทก์ผ่านหรือไม่ เมื่อที่ดินโจทก์ที่ดินจำเลยเป็นที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินเดียวกัน และที่ดินโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์มีสิทธิ์เรียกร้องเอาทางเดินในที่ดินที่แบ่งแยกได้ คำพิพากษาฏีกา๖๙๓๐/๒๕๔๐
๖.ที่ดินจำเลยเป็นถนนซอยเชื่อมถนนสายอื่นในหมู่บ้าน รถยนต์สามารถแล่นเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ย่อมขอผ่านเป็นทางจำเป็นซึ่งเป็นที่ใกล้ทางสาธารณะที่สุดและเกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด เพราะที่ดินจำเลยมีสภาพเป็นถนนเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยภายในหมู่บ้านผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว ส่วนความจำเป็นของโจทก์ผู้มีสิทธิ์ผ่านนั้น แต่ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องทางจำเป็น ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิ์สามารถสร้างถนนเป็นทางผ่านได้ มิได้จำกัดให้ใช้เฉพาะทางเดินเท้าเท่านั้น ทั้งตามสภาพความจำเป็นของคนที่อยู่อาศัยในหมู่บ้าน ย่อมต้องมีรถยนต์เป็นพาหนะ ฉะนัน้ที่ศาลล่างกำหนดให้จำเลยรื้อรั่วในที่ดินจำเลยเพื่อเปิดเป็นทางเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินโจทก์กว้างแปลงละ ๓.๕ เมตรจึงเหมาะสมแล้ว
๗.ที่ดินตกอยู่ที่ล้อม โจทก์ย่อมได้รับการคุ้มครองถึงการใช้ยานพาหนะผ่านทางในสภาพที่เป็นถนน มิได้จำกัดเฉพาะให้ใช้ทางเดินด้วยเท้าเท่านั้น และตามสภาพความเจริญของบ้านเมืองในปัจจุบันรถยนต์เป็นพาหนะที่จำเป็น ที่พิพาทอยู่ห่างถนน ๒๐๐ เมตร เป็นพื้นที่มีความเจริญมีอาคารสูงหลายหลังอยู่ห่างย่านการค้า ๕๐๐ เมตร หากมีการพัฒนาที่ดินเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดและเป็นการพัฒนาบ้านเมืองไปสู่ความเจริญแล้ว สมควรเปิดทางเพื่อให้รถเข้าออกได้ คำพิพากษาฏีกา ๓๗๕๘/๒๕๔๓
๘.ผู้ใช้ที่ดินผ่านทางที่ดินที่ล้อมอยู่ต้องใช้ค่าทดแทน เมื่อเจ้าของที่ดินที่ผ่านทางยังไม่เรียกร้อง ผู้ใช้ทางก็ฟ้องขอให้เปิดทางโดยไม่ต้องเสนอค่าทดแทนก่อน คำพิพากษาฏีกา ๘๘๑/๒๕๑๘
๙.ผู้มีสิทธิ์ใช้ทางจำเป็นต้องใช้ค่าทดแทนแก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ ศาลไม่พิพากษาให้ค่าทดแทนในคดีที่ฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็นเพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องแย้ง ประเด็นจึงต่างกับคดีนี้ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าทดแทนการใช้ทางผ่านที่ดินโจทก์ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ คำพิพากษาฏีกา ๒๑๙๖/๒๕๒๒
๑๐.แม้ปพพ มาตรา ๑๓๔๙ กำหนดให้ผู้มีสิทธิ์ใช้ทางจำเป็นมีหน้าที่ต้องให้ค่าทดแทนแก่ผู้เปิดทางก็ตาม แต่ก็ไม่ได้บังคับให้ใช้ค่าทดแทนก่อนจึงจะใช้สิทธิ์ได้ ในทางตรงกันข้ามเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่มีหน้าที่ต้องเปิดทางให้ผ่านและถมีสิทธิ์เรียกค่าทดแทน เมื่อโจทก์ไม่เสนอค่าทดแทนแก่จำเลย และจำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าทดแทน จำเลยชอบที่จะว่ากล่าวเอากับโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก คำพิพากษาฏีกา ๗๔/๒๕๔๐
ข้อสังเกต ๑. ที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจนไม่มีทางออกถึงสาธารณะได้ เจ้าของที่ดินจะผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ไปออกทางสาธารณะได้ ปพพ มาตรา ๑๓๔๙
๒.ที่ดินที่ปิดล้อมทำให้ไม่สามารถออกทางสาธารณะได้นั้นไม่จำเป็นต้องถูกปิดล้อมด้วยที่ดินทั้งสี่ด้าน อาจถูกปิดล้อมด้วยที่ดินบ้างหรือบางด้านอาจถูกปิดล้อมด้วยสระ บึง ทะเลหรือมีที่ชันอันระดับที่ดินกับทางสาธารณะสูงกว่ากันมาก” เช่น เป็นภูเขา หรือที่ดินสูงการเดินทางไม่สะดวก ก็อาจเดินผ่านที่ดินแปลงอื่นที่อยู่อีกทิศเพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้ ปพพ มาตรา ๑๓๔๙วรรคสอง
๓.วิธีผ่านที่ดินที่ปิดล้อมนั้นต้องเลือกพอแก่ความจำเป็นโดยคำนึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ และหากจำเป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกปิดล้อมจะสร้างถนนเป็นทางผ่านได้ ปพพ มาตรา ๑๓๔๙วรรคสาม โดยเจ้าของที่ดินที่ถูกปิดล้อมต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการที่ต้องผ่านทาง ค่าเสียหายนอกจากการสร้างถนนสามารถกำหนดเป็นเงินรายปีได้ ปพพ มาตรา ๑๓๔๙วรรคท้าย ทางจำเป็นที่จะใช้เป็นทางผ่านออกสู่ทางสาธารณะได้ต้องใช้พอควรแก่ความจำเป็นและก่อความเสียหายน้อยที่สุดแก่ที่ดินที่ขอผ่านทาง เจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการคุ้มครองเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ให้มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ซึ่งประเด็นนี้เป็นประเด็นหลัก ส่วนประเด็นเรื่องค่าทดแทนเป็นประเด็นรองและเป็นหน้าที่ของเจ้าของที่ดินที่ถูกผ่านทางต้องฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทน หรือไปฟ้องเป็นคดีใหม่เรียกค่าทดแทน หากในคดีนี้ไม่ได้ฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนก็จะไม่มีประเด็นเรื่องค่าทดแทนความเสียหายคงมีเฉพาะประเด็นที่ดินถูกล้อมจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะหรือไม่ และเส้นทางที่ผ่านนี้ก่อความเสียหายให้เจ้าของที่ดินที่ถูกผ่านทางน้อยที่สุดหรือไม่อย่างไรเท่านั้น
๔.ที่ดินที่ถูกล้อมอยู่หากปรากฏว่าสามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ แต่ต้องข้ามสะพานหรือเดินบนสะพานไม้ลำบาก เป็นทางคดเคี้ยวมีระยะทางไกลกว่าจึงจะสามารถออกสู่ทางสาธารณะได้เมื่อมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้แม้การออกไปทางสาธารณะไม่สะดวกก็จะถือว่าเป็นกรณีที่ดินถูกปิดล้อมไม่มีท่างออกสู่ทางสาธารณะไม่ได้ จึงไม่อาจขอใช้ทางจำเป็นตามกฎหมายได้ กฎหมายคำนึงถึงสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินที่จะถูกผ่านทางที่อาจได้รับความเสียหาย เมื่อมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้แม้ไม่สะดวกก็จะมาฟ้องขอเปิดทางจำเป็นไม่ได้
๕.บทบัญญัตินี้เป็นบทกฏหมายที่ทำให้การกระทำของเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมออกจนไม่มีทางสู่ทางสาธารณะสามารถผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้โดยไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุกในทางอาญา และไม่ถือเป็นการกระทำละเมิดในทางแพ่ง
๖.ค่าทดแทนที่จ่ายนี้เป็นการทดแทนชดเชยความเสียหายที่เจ้าของที่ดินจำต้องยอมให้เจ้าของที่ดินที่ถูกปิดล้อมผ่านทาง แต่ค่าทดแทนนี้ไม่ใช่ค่าซื้อที่ดิน เพราะที่ดินยังเป็นของเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ มิใช่เป็นของเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อม
๗.การผ่านทางหาก เจ้าของที่ดินที่ถูกปิดล้อมไม่มีความจำเป็นต้องใช้รถ ก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องทำถนนเพื่อให้รถเข้าออกได้เพื่อผ่านทาง คงผ่านทางได้เฉพาะการเดินเท้าเท่านั้น เป็นเรื่องความจำเป็นและความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเจ้าของที่ดินที่ถูกผ่านทาง หากเป็นการทำทางเดินความเสียหายย่อมน้อยกว่าการทำถนนเพื่อให้รถวิ่งเพื่อผ่านทาง ทั้งการทำถนนอาจต้องมีการตัดต้นไม้ซึ่งก็จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของที่ดินได้ แต่หากเป็นที่รกร้างว่างเปล่าความเสียหายก็เกิดน้อยกว่าที่ดินที่เป็นสวนผลไม้แล้วต้องตัดต้นไม้เพื่อทำทาง ค่าทดแทนในการใช้ประโยชน์ในที่ดินที่จำต้องยอมให้เขาผ่านทางก็คล้ายกับสัญญาเช่าที่ดินในส่วนนั้นเพราะกรรมสิทธิ์ในทางที่ผ่านยังเป็นของเจ้าของที่ดินที่ปิดล้อมอยู่ เมื่อค่าทดแทนมีลักษณะคล้ายการเช่าที่ดินจึงอาจจ่ายค่าทดแทนเป็นงวดๆหรือเหมาจ่ายก็ได้แล้วแต่จะตกลงกัน
๘.ที่ดินจดคลองตื้นเขินประชาชนไม่สามารถใช้เป็นทางสัญจรได้มานานแล้ว เมื่อคลองตื่นเขินไม่สามารถใช้สัญจรไปมาได้ แม้ยังคงเป็นที่สาธารณะอยู่แต่ก็ไม่ใช่ทางสาธารณะที่ใช้สัญจรไปมาได้ เมื่อไม่มี ทางอื่นให้ออกได้ จึงใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินที่ล้อม
๙.ที่ดินที่ถูกล้อมชอบที่จะเปิดทางผ่านที่ดินที่ล้อมไปสู่ทางสาธารณะโดยเลือกเอาทางที่จะก่อความเสียหายน้อยที่สุดแก่ที่ดินที่ถูกล้อม
๑๐.ทางจำเป็นต้องเลือกทำพอสมควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิ์ผ่าน โดยเสียหายน้อยที่สุดแก่ที่ดินที่ล้อมเมื่อมีความจำเป็นเพียง ๕ เมตรที่จะทำทางได้แล้วการ เปิดทาง ๕ เมตรก็เหมาะสมแล้ว จะนำประกาศคณะปฏิวัติฉบับ ๒๘๖ให้เปิดทางกว้าง ๘ เมตรไม่ได้เพราะไม่ใช่ความจำเป็นที่พอสมควรแก่การผ่านทาง ทั้งการเปิดกว้าง ๘ เมตรย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของที่ดินเพิ่มขึ้น
๑๑.ที่ดินโจทก์ถูกที่ดินของจำเลยทั้งสองและของผู้มีชื่อปิดล้อมไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แม้ทางตะวันออกจะติดลำรางสาธารณะแต่สภาพปัจจุบันตื้นเขินไม่สามารถใช้สัญจรมาได้ ๑๐ ปี ถือไม่ได้ที่ดินโจทก์ติดทางสาธารณะเพราะเมื่อตื้นเขินไม่สามารถใช้เป็นทางสัญจรไปมาได้จึงไม่ใช่ทางสาธารณะ แต่ต้องถือว่าที่ดินถูกปิดล้อมไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ เมื่อวัดจากที่ดินของโจทก์ผ่านที่ดินจำเลยทั้งสองออกสู่ทางสาธารณะ เป็นระยะใกล้ที่สุด โจทก์ย่อมใช้สิทธิ์ทางจำเป็นเหนือที่ดินจำเลยทั้งสองมากกว่าใช้สิทธิ์เอาแก่การผ่านทางของผู้มีชื่อ เป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของที่ดินข้างเคียงน้อยที่สุด
๑๒.ตามปพพ มาตรา ๑๓๔๙วรรคแรกไม่ได้บัญญัติว่าทางจำเป็นต้องเชื่อมกับทางสาธารณะโดยตรง ความมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดคือให้ที่ดินที่ถูกล้อมอยู่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะนั้นมีทางที่จะออกสู่ทางสาธารณะได้ เมื่อได้ความว่าหากโจทก์ผ่านที่ดินจำเลย โจทก์สามารถไปตามทางจนในที่สุดถึงทางสาธารณะได้ เช่นนี้ ที่ดินจำเลยย่อมเป็นทางจำเป็น แม้จะฟังว่าเมื่อเดินผ่านที่ดินจำเลยแล้วต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นอีกก็ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ กฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าการผ่านที่ดินคนอื่นไปสู่ทางสาธารณะนั้นให้ผ่านได้เฉพาะที่ดินแปลงเดียวเจ้าของเดียว แม้จะเป็นที่ดินที่ต้องผ่านหลายแปลงหากผ่านแล้วสามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ก็ถือเป็นไปตามเจตนารมย์ของกฎหมายแล้ว ดังนั้นเมื่อที่ดินถูกปิดล้อมแล้วได้ผ่านที่ดินที่ปิดล้อมไปแล้วยังต้องผ่านที่ดินคนอื่นอีกเพื่อไปสู่ทางสาธารณะก็ไม่เป็นข้อขัดข้องประการใด แม้เจ้าของที่ดินอื่นจะไม่ได้ร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อโต้แย้งสิทธิ์โจทก์ ก็เป็นเพียงคดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า “เจ้าของที่ดินแปลงอื่นยินยอมให้โจทก์ผ่านหรือไม่” หากยินยอมก็เป็นเรื่องความสมัครใจ โดยความยินยอมไม่ก่อให้การผ่านทางเป็นละเมิดหรือเป็นความผิดฐานบุกรุก อีกทั้งเมื่อที่ดินโจทก์ที่ดินจำเลยเป็นที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินเดียวกัน เมื่อแบ่งแยกแล้วทำให้โจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์จึงมีสิทธิ์เรียกร้องเอาทางเดินในที่ดินที่แบ่งแยกเพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้
๑๓.ที่ดินจำเลยเป็นถนนซอยเชื่อมถนนสายอื่นในหมู่บ้าน รถยนต์สามารถแล่นเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ย่อมขอผ่านเป็นทางจำเป็นซึ่งเป็นที่ใกล้ทางสาธารณะที่สุดและเกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด เพราะที่ดินจำเลยมีสภาพเป็นถนนเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยภายในหมู่บ้านผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้วไม่จำต้องตัดถนนผ่าน ไม่จำต้องตัดฟันต้นไม้เพื่อทำถนนแต่อย่างใด ในเรื่องความจำเป็นของโจทก์ผู้มีสิทธิ์ผ่านนั้นเมื่อดูตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องทางจำเป็น ถ้าจำเป็นต้องสร้างถนน ผู้มีสิทธิ์ผ่านทางสามารถสร้างถนนเป็นทางผ่านได้ มิได้จำกัดให้ใช้เฉพาะทางเดินเท้าเท่านั้น ทั้งตามสภาพความจำเป็นของคนที่อยู่อาศัยในหมู่บ้าน ย่อมต้องมีรถยนต์เป็นพาหนะ ฉะนั้นที่ศาลล่างกำหนดให้จำเลยรื้อรั่วในที่ดินจำเลยเพื่อเปิดเป็นทางเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินโจทก์กว้างแปลงละ ๓.๕ เมตรจึงเหมาะสมแล้ว
๑๔.ที่ดินตกอยู่ที่ล้อม โจทก์ย่อมได้รับการคุ้มครองถึงการใช้ยานพาหนะผ่านทางในสภาพที่เป็นถนน มิได้จำกัดเฉพาะให้ใช้ทางเดินด้วยเท้าเท่านั้น โดยตามสภาพความเจริญของบ้านเมืองในปัจจุบันรถยนต์เป็นพาหนะที่จำเป็น ที่พิพาทอยู่ห่างถนน ๒๐๐ เมตร เป็นพื้นที่มีความเจริญมีอาคารสูงหลายหลังอยู่ห่างย่านการค้า ๕๐๐ เมตร หากมีการพัฒนาที่ดินเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดและเป็นการพัฒนาบ้านเมืองไปสู่ความเจริญแล้ว สมควรเปิดทางเพื่อให้รถเข้าออกได้
๑๕.ผู้ใช้ที่ดินผ่านทางที่ดินที่ล้อมอยู่ต้องใช้ค่าทดแทน เมื่อเจ้าของที่ดินที่ผ่านทางยังไม่เรียกร้อง ผู้ใช้ทางก็ฟ้องขอให้เปิดทางโดยไม่ต้องเสนอค่าทดแทนก่อน นั้นก็คือสิทธิ์ในการฟ้องเรียกค่าทดแทนที่ผ่านที่ดินของตนไปทางสาธารณะนั้นเจ้าของที่ดินที่ถูกผ่านทางต้องฟ้องร้องเรียกเอาค่าทดแทนจากผู้ผ่านทาง หากไม่เรียกร้อง ไม่มีการฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนเข้ามาในคดีหรือไม่มีการฟ้องเป็นคดีใหม่เพื่อเรียกค่าทดแทนแล้ว ย่อมไม่มีประเด็นที่ศาลจะให้ค่าทดแทนได้เพราะ ปวพ มาตรา ๑๔๒ ห้ามไม่ให้พิพากษาหรือมีคำสั่งเกินกว่าที่กล่าวมาในคำฟ้อง
๑๖.ผู้มีสิทธิ์ใช้ทางจำเป็นต้องใช้ค่าทดแทนแก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ เมื่อจำเลยไมได้ฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนแล้วศาลไม่พิพากษาให้ค่าทดแทนในคดีที่ฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็นเพราะเมื่อไม่ได้ฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าทดแทนว่าต้องจ่ายเท่าไหร่ในการผ่านทาง เมื่อนำมาฟ้องเรียกค่าทดแทนเป็นอีกคดีหนึ่ง ประเด็นในคดีนี้จึงต่างกับคดีก่อนที่มีประเด็นเพียงควรให้ผ่านที่ดินแปลงที่ล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะหรือไม่ เมื่อคดีนี้ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าทดแทนการใช้ทางผ่านที่ดินโจทก์ ส่วนคดีก่อนเป็นเรื่องการฟ้องเพื่อขอให้ผ่านทาง ประเด็นแห่งคดีจึงต่างกัน แม้จะมีคู่ความเดียวกันก็ตามแต่ก็ไม่ได้มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับในคดีก่อนแต่อย่างใดไม่ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ตาม ปวพ มาตรา๑๔๘
๑๗.แม้ปพพ มาตรา ๑๓๔๙ กำหนดให้ผู้มีสิทธิ์ใช้ทางจำเป็นมีหน้าที่ต้องให้ค่าทดแทนแก่ผู้เปิดทางก็ตาม แต่ก็ไม่ได้บังคับให้ใช้ค่าทดแทนก่อนจึงจะใช้สิทธิ์ขอให้เปิดทางได้ ในทางตรงกันข้ามเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่มีหน้าที่ต้องเปิดทางให้ผ่านและมีสิทธิ์เรียกค่าทดแทน เมื่อโจทก์ไม่เสนอค่าทดแทนแก่จำเลย เป็นหน้าที่จำเลยต้องฟ้องแย้งเข้ามาเพื่อขอค่าทดแทนในการที่ผ่านที่ดินของตน หรือไม่ก็ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่เพื่อเรียกค่าทดแทน เมื่อจำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าทดแทนที่ศาลจะวินิจฉัย จึงเป็นเรื่องที่ จำเลยชอบที่จะว่ากล่าวเอากับโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหากจากคดีนี้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)