ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เรื่องยุ่ง ๆ ของผัวเมีย

๑.ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสกับ ร เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๑๖ ในระหว่างสมรสผู้ร้องมาจดทะเบียนสมรสซ้อนกับจำเลยที่ ๑ เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑ ผู้ร้องซื้อและจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทจาก จ.เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๓ ต่อมาวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๒๖ ผู้ร้องกับจำเลยจดทะเบียนหย่าขาดกัน กรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติบรรพ ๕ ใหม่ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๙ แม้ผู้ร้องจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้วอันจะทำให้การสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ ๑ตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่เมื่อในระหว่างที่ผู้ร้องจดทะเบียนที่ดินพิพาทมายังไม่มีผู้มีส่วนได้เสียคนใดร้องขอต่อศาลให้การสมรสเป็นโมฆะตาม ปพพ มาตรา ๑๔๙๕(เดิม) ต้องถือว่าการสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ ๑มีผลสมบรูณ์ยู่ ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์ที่ผู้ร้องได้มาระหว่างสมรสกับ ร และ จำเลยที่ ๑ จึงเป็นสินสมรสของผู้ร้องกับจำเลยที่ ๑ ด้วย โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ ๑มีส่วนเกี่ยวข้องรู้เห็นหรือออกเงินช่วยผู้ร้องชำระราคาที่ดินพิพาทหรือไม่ แม้ภายหลังผู้ร้องกับจำเลยที่ ๑จะจดทะเบียนหย่าขาดกันก็ต้องจัดการแบ่งที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องตามสิทธิ์ที่ผู้ร้องมีอยู่ตาม ปพพ มาตรา ๑๕๓๒,๑๕๓๓ เจ้าพนักงานพิทักษ์ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิ์ยึดที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาดำเนินการตามที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดได้ คำพิพากษาฏีกา ๕๔๕/๒๕๔๕
๒.บทบัญญัติแห่ง ปพพ มาตรา ๑๕๒๒กำหนดให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้ เป็นกรณีเฉพาะศาลมีคำพิพากษาให้หย่าหรือในกรณีที่สัญญาหย่าไม่ได้กำหนดเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูไว้ แม้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสอง ศาลชั้นต้นก็กำหนดให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองเป็นรายเดือนจนกว่าบุตรทั้งสองจะบรรลุนิติภาวะได้ ปัญหาการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรดังกล่าว แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อย ศาลเห็นสมควรยกมาพิพากษาเป็นประโยชน์แก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองของโจทก์จำเลย ในการเช่าซื้อรถยนต์พิพาท บิดาโจทก์เป็นผู้วางเงินจองให้ ๑๐,๐๐๐ บาท และบิดามารดาโจทก์ดาวน์ให้อีกส่วนหนึ่ง รถยนต์คันดังกล่าวโจทก์จำเลยได้ออกเงินบางส่วนเป็นค่ารถยนต์ ทั้งเงินที่บิดามารดาโจทก์ช่วยออกเป็นค่ารถยนต์ภายหลัง ก็ไม่ปรากฏว่าบิดามารดาโจทก์ บิดามารดาโจทก์ได้ทวงถามให้โจทก์จำเลยชำระหนี้ส่วนนี้แต่อย่างใด แสดงว่าบิดามารดามีเจตนาที่จะออกเงินค่ารถยนต์ส่วนนี้ให้แก่โจทก์จำเลย รถยนต์คันดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์จำเลยได้มาระหว่างสมรส ตาม ปพพ มาตรา ๑๔๗๔(๑) สิทธิ์ตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จึงเป็นสินสมรส การที่โจทก์โอนสิทธิ์การเช่าซื้อรถยนต์คันนี้ให้ ว.ในระหว่างที่โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภรรยากัน โดยจำเลยไม่ทราบเรื่อง จึงเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนสิทธิ์การเช่าซื้อรถยนต์อันเป็นสินสมรสไปโดยมีเจตนาทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ซึ่ง ปพพ มาตรา ๑๕๓๔ ให้ถือเสมือนหนึ่งว่า ทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสดังกล่าวให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่ง แม้การกู้เงินของจำเลยทั้งสองครั้ง จะเป็นการกู้หลังจากจำเลยแยกมาอยู่กับบิดามารดาจำเลยแล้ว แต่จำเลยนำบุตรไปเลี้ยงดูด้วย จึงต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ โจทก์เป็นบิดาต้องมีส่วนอุปการะเลี้ยงดูบุตรเช่นกัน จำเลยนำสืบว่าการกู้เงินในปี๒๕๔๓ จำเลยได้ระบุในการประสงค์ขอกู้ว่าซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และมีหลักฐานใบสั่งซื้อสินค้า ส่วนการกู้เงินใน ปี ๒๕๔๖ เป็นการกู้เงินเพื่อเหตุฉุกเฉิน ฟังได้ว่าจำเลยกู้เงินสองครั้งดังกล่าวเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของบุตรอันเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็นในครอบครัวและเป็นหนี้ที่จำเลยก่อขึ้นในระหว่างสมรส จึงเป็นหนี้ที่โจทก์จำเลยต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตาม ปพพ มาตรา ๑๔๙๐ คำพิพากษาฎีกา๖๒๔๔/๒๕๕๐ 
๓. ทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์มรดก ๖ รายการเป็นทรัพย์สินที่เจข้ามรดกได้มาขณะที่ ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์บรรพ ๕ เดิม การพิจารณาว่าเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาประเภทใดต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้ขณะได้มา เมื่อเจ้ามรดกได้รับมรดกและได้รับการยกให้ในระหว่างสมรสโดยไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว ทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับ ร.ตาม ปพพ มาตรา ๑๔๖๖ แม้ต่อมาจะมีบทบัญญัติแห่งบรรพ ๕ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่พ.ศ. ๒๕๑๙ใช้บังคับมีมาตรา ๑๔๗๑ บัญญัติให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส โดยการรับมรดกหรือการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัว และมาตรา ๑๔๗๔ บัญญัติให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการยกให้เป็นหนังสือ และพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ได้ระบุว่าเป็น สินสมรส จึงเป็นสินสมรส อันแตกต่างจากบทบัญญัติในบรรพ ๕เดิมก็ตาม ก็ไม่ทำให้ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสอยู่แต่เดิมเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวของเจ้ามรดก เพราะกฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่ได้บัญญัติให้เปลี่ยนแปลงไปดังกรณีสินเดิม จึงจะนำบทบัญญัติแห่ง ปพพ บรรพ ๕ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๙ ทาตรา ๑๔๗๑ มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้ เมื่อทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรส เจ้ามรดกคงมีส่วนอยู่เพียงครึ่งเดียวที่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ที่ศาลชั้นต้นฟังว่าทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์มรดกรวม ๔ รายการเป็นสินสมรสนั้น ไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็นสินสมรสเพราะเหตุว่าเป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกได้มาระหว่างสมรสโดยได้รับมรดกซึ่งไม่มีการระบุให้เป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัวจึงเป็นสินสมรส ตาม ปพพ มาตรา ๑๔๖๖ ดังที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวโต้แย้ง ในอุทธรณ์แต่อย่างใดไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ที่เกี่ยวทรัพย์สิน๔ รายการจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ปวพ มาตรา ๒๒๕ วรรคหนึ่ง แม้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฏีกา ตาม ปวพ มาตรา ๒๒๓ ทวิ ศาลฏีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้ คำพิพากษาฏีกา ๖๖๕๒/๒๕๓๘
๔.ที่ดินของชายถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับมารดาก่อนเป็นสามีภรรยากับโจทก์ เป็นสินส่วนตัวของชาย ต่อมาชายทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับมารดา เมื่อโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ก็เป็นการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมระหว่างจำเลยกับมารดา ที่ดินไม่เป็นสินสมรส ชายหญิงอยู่กินเป็นสามีภรรยากันมาก่อนแล้วจดทะเบียนสมรสภายหลัง ทรัพย์ที่ได้มาร่วมกันก่อนจดทะเบียนสมรส เป็นกรรมสิทธ์ร่วมแบ่งกันคนละครึ่ง คำพิพากษาฏีกา ๑๕๖๗/๒๕๒๔
ข้อสังเกต ๑.ชายหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้ ปพพ มาตรา ๑๔๕๒ หากฝ่าฝืนการสมรสตกเป็นโมฆะ ปพพ มาตรา ๑๔๙๕ บุคคลผู้มีส่วนได้เสียจะยกขึ้นกล่าวอ้างหรือร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้ ปพพ มาตรา ๑๓๔๙๗ การสมรสที่เป็นโมฆะนี้ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดได้มาไม่ว่าก่อนหรือหลังสมรสซ้อน รวมทั้งดอกผลของฝ่ายนั้นให้คงเป็นของฝ่ายนั้น ส่วนทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันให้แบ่งคนละครึ่ง เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นประการอื่น ปพพ มาตรา ๑๔๙๘
การสมรสที่เป็นโมฆะนี้ไม่ทำให้คู่สมรสที่ทำการสมรสโดยสุจริตเสื่อมสิทธิ์ที่ได้มา แต่ไม่ก่อให้เกิดสิทธิ์รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมของคู่สมรสอีกฝ่าย ปพพ มาตรา ๑๔๙๙ วรรคสอง หากคู่สมรสที่สมรสโดยสุจริตต้องยากจนลง ไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สิน หรือการงานที่เคยทำอยู่ก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดหรือก่อนรู้ว่าการสมรสเป็นโมฆะเพราะทำการสมรสซ้อน ฝ่ายนั้นมีสิทธิ์เรียกค่าเลี้ยงชีพ ซึ่งค่าเลี้ยงชีพนี้ศาลจะให้หรือไม่อย่างไรก็ได้ โดยคำนึงความสามารถผู้ให้และฐานะผู้รับ ปพพ มาตรา ๑๕๒๖ประกอบมาตรา ๑๔๙๙ วรรคสาม ค่าอุปการะเลี้ยงดูให้จ่ายเป็นเงินโดยชำระเป็นครั้งคราวตามที่กำหนด เว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่นหรือตกลงให้ชำระโดยวิธีอื่น ปพพ มาตรา ๑๕๙๘/๔๐ ฝ่ายที่ได้รับค่าเลี้ยงชีพ หากทำการสมรสใหม่ ค่าเลี้ยงชีพย่อมหมดไป ปพพ มาตรา ๑๕๒๘
การสมรสตาม ปพพ จะมีขึ้นได้เฉพาะเมื่อมีการจดทะเบียนสมรสแล้วเท่านั้น ปพพ มาตรา ๑๔๕๗
๒. เมื่อมีการจดทะเบียนสมรสซ้อน ภรรยาคนแรกย่อมเป็นผู้เสียหายและเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้การสมรสดังกล่าวตกเป็นโมฆะได้ เพราะเมื่อมีการจดทะเบียนสมรสซ้อน ตราบใดยังไม่มีคำพิพากษาว่าการสมรสตกเป็นโมฆะ ต้องถือการการสมรสยังคงสมบรูณ์อยู่ ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้มาหลังจดทะเบียนสมรสซ้อนต้องถือเป็นสินสมรสของภรรยาเดิม และภรรยาใหม่ เพราะเป็นทรัพย์ที่ได้มาระหว่างสมรสคือภายหลังจดทะเบียนสมรส ปพพ มาตรา ๑๔๗๔(๑) และหากมีข้อสงสัยว่าทรัพย์ใดเป็นสินสมรสหรือไม่ ปพพ มาตรา ๑๔๗๔วรรคท้ายบัญญัติให้ “ สันนิษฐาน” ไว้ก่อนว่า เป็นสินสมรส ปัญหาที่เกิดขึ้นคือเมื่อเป็นสินสมรสของทั้งฝ่ายชาย ฝ่ายหญิง และฝ่ายหญิงที่จดทะเบียนสมรสซ้อน อำนาจในการจำหน่ายทรัพย์ดังกล่าวย่อมต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายตาม ปพพ มาตรา๑๔๗๖หากคู่สมรสฝ่ายใดทำนิติกรรมไปฝ่ายเดียวโดยปราศจากความยินยอมของอีกฝ่าย คู่สมรสอีกฝ่ายขอให้เพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ตาม ปพพ มาตรา๑๔๘๐. เมื่อทรัพย์สินได้มาหลังจดทะเบียนสมรสซ้อนโดยที่การจดทะเบียนกับภรรยาคนแรกยังสมบรูณ์อยู่ ทรัพย์ที่ฝ่ายชายได้มาหลังจากจดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นสินสมรสของภรรยาคนแรก และเป็นสินสมรสของภรรยาคนที่สอง(คนที่จดทะเบียนสมรสซ้อน)ตราบเท่าที่ยังไม่มีคำพิพากษาให้การสมรสตกเป็นโมฆะ ดังนั้นการจำหน่ายจ่ายโอนหรือกระทำนิติกรรมตามที่ระบุไว้ใน ปพพ มาตรา ๑๔๗๖ ซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายนั้น หากฝ่ายชายจะจำหน่ายจ่ายโอนหรือกระทำนิติกรรมดังกล่าว ฝ่ายชายต้องได้รับความยินยอมจากภรรยาทั้งสองคนนั้นหรือ หากภรรยาคนใดไม่ให้ความยินยอมทำอย่างไร?.อำนาจในการจัดการสินสมรสทำอย่างไร? จะนำ ปพพ มาตรา ๑๔๘๔ มาใช้ได้หรือไม่อย่างไร? ทรัพย์ที่ได้มาหลังจดทะเบียนสมรสซ้อนโดยยังไม่มีคำพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสซ้อนนั้น หากมีหนี้ที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องทรัพย์ดังกล่าว หรือเกี่ยวเนื่องกับการจัดการบ้านเรือน หรือจัดหาสิ่งที่จำเป็นสำหรับครอบครัว ตาม ปพพ มาตรา ๑๔๙๐ซึ่งถือว่าเป็นลูกหนี้ร่วมแล้วจะดำเนินการอย่างไร? ทั้งการไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่าย ตาม ปพพ มาตรา ๑๔๘๔(๒)อำนาจในการจัดการสินสมรสที่ได้มาหลังจดทะเบียนสมรสซ้อนทำอย่างไร? 
๓. ในอดีตก่อนที่จะมีการจดทะเบียนสมรส นายทะเบียนจะถามว่าเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อนหรือไม่ หากเคยจดทะเบียนสมรสแต่บอกนายทะเบียนว่าไม่เคยจดทะเบียนสมรส จนนายทะเบียนหลงเชื่อยอมให้จดทะเบียนสมรส ก็จะเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ และแจ้งให้เจ้าพนักงานที่มีหน้าที่จดข้อความ จดข้อความอันเป็นเท็จลงไปในเอกสารราชการอันเป็นเอกสารมหาชนโดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อนายทะเบียน กรมการปกครอง ภรรยาคนแรกและภรรยาคนที่สองซึ่งจดทะเบียนสมรสซ้อนได้ ตาม ปอ มาตรา ๑๓๗,๒๖๗ เมื่อมีการจดทะเบียนสมรสซ้อน ภรรยาคนแรกเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานที่มีหน้าที่จดข้อความ จดข้อความอันเป็นเท็จลงไปในเอกสารราชการอันเป็นเอกสารมหาชนโดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อนายทะเบียน กรมการปกครอง ภรรยาคนแรกและภรรยาคนที่สองซึ่งจดทะเบียนสมรสซ้อนได้ ตาม ปอ มาตรา ๑๓๗,๒๖๗ และภรรยาคนที่สองก็เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานตาม.แจ้งให้เจ้าพนักงานที่มีหน้าที่จดข้อความ จดข้อความอันเป็นเท็จลงไปในเอกสารราชการอันเป็นเอกสารมหาชนโดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อนายทะเบียน กรมการปกครอง ภรรยาคนแรกและภรรยาคนที่สองซึ่งจดทะเบียนสมรสซ้อนได้ ตาม ปอ มาตรา ๑๓๗,๒๖๗.เช่นกัน นายทะเบียนและกรมการปกครองก็เป็นผู้เสียหายในความผิดนี้ด้วย.
๔. จดทะเบียนสมรสซ้อนกับหญิงอื่นเป็นการสมรสที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายตกเป็นโมฆะ ซึ่งต้องมีผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งยกขึ้นกล่าวอ้าง เช่น ตัวหญิงที่จดทะเบียนสมรสซ้อน หญิงที่เป็นภรรยาคนแรก หรือเจ้าหน้าที่ทางทะเบียน หากยังไม่มีผู้มีส่วนได้เสียคนใดกล่าวอ้างขึ้น การสมรสซ้อนยังไม่เป็นโมฆะตามกฎหมาย
๕.ชายจดทะเบียนสมรสซ้อนกับหญิงอื่น ต่อมาฝ่ายชายซื้อและจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทจาก จ.เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๓ ตราบใดยังไม่มีคำพิพากษาเพิกถอนการสมรสครั้งหลังต้องถือว่าการสมรสครั้งหลังยังมีผลสมบรูณ์ตามกฎหมาย ทรัพย์ที่เกิดขึ้นจากการซื้อที่ดินนี้เป็นสินสมรสของฝ่ายชายกับฝ่ายหญิง(คนแรก) และเป็นสินสมรสของฝ่ายหญิงคนที่สอง(คนที่จดทะเบียนสมรสซ้อน)ด้วย เพราะเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส ต่อมาฝ่ายหญิงได้จดทะเบียนหย่ากับฝ่ายชายเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๒๖ เมื่อทำการหย่าภายหลัง ปพพ ว่าครอบครัวฉบับใหม่ใช้บังคับ การจดทะเบียนหย่าจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติบรรพ ๕ ใหม่ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๙ แม้ฝ่ายชายจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้วอันจะทำให้การสมรสระหว่างฝ่ายชายกับฝ่ายหญิงคนที่สองตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่เมื่อในระหว่างที่ฝ่ายชายจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทมายังไม่มีผู้มีส่วนได้เสียคนใดร้องขอต่อศาลให้การสมรสเป็นโมฆะตาม ปพพ มาตรา ๑๔๙๕(เดิม) ต้องถือว่าการสมรสระหว่างฝ่ายชายกับฝ่ายหญิง(คนที่สอง)มีผลสมบรูณ์อยู่ ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์ที่ฝ่ายชายได้มาระหว่างสมรสกับ ฝ่ายหญิง(ภรรยาคนแรก) และในขณะเดียวกันก็เป็นทรัพย์ที่ได้มาระหว่างการสมรสของฝ่ายชายกับ ฝ่ายหญิงคนที่สองด้วยจึงเป็นสินสมรสของฝ่ายชายกับฝ่ายหญิงคนที่สอง ด้วย โดยไม่ต้องคำนึงว่าฝ่ายหญิงคนที่สองมีส่วนเกี่ยวข้องรู้เห็นหรือออกเงินช่วยผู้ร้องชำระราคาที่ดินพิพาทหรือไม่ แม้ภายหลังฝ่ายชายกับฝ่ายหญิงคนที่สองจะจดทะเบียนหย่าขาดกันก็ต้องจัดการแบ่งที่ดินพิพาทแก่ฝ่ายชายตามสิทธิ์ที่ฝ่ายชายมีอยู่ตาม ปพพ มาตรา ๑๕๓๒,๑๕๓๓ เจ้าพนักงานพิทักษ์ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิ์ยึดที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาดำเนินการตามที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของฝ่ายหญิงคนที่สองเด็ดขาดได้ 
๖.บทบัญญัติแห่ง ปพพ มาตรา ๑๕๒๒กำหนดให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้ เป็นกรณีเฉพาะศาลมีคำพิพากษาให้หย่าหรือในกรณีที่สัญญาหย่าไม่ได้กำหนดเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูไว้ แม้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสอง ศาลชั้นต้นก็กำหนดให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองเป็นรายเดือนจนกว่าบุตรทั้งสองจะบรรลุนิติภาวะได้ ปัญหาการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรดังกล่าว แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อย ศาลเห็นสมควรยกมาพิพากษาเป็นประโยชน์แก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองของโจทก์จำเลย กรณีนี้ไม่ถือเป็นการพิพากษาหรือมีคำสั่งเกินคำขอหรือที่ไม่ได้กล่าวมาในฟ้องตาม ปวพ มาตรา ๑๔๒วรรคแรก เพราะถือเป็นปัญหาเกี่ยวความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน
๗..ในการเช่าซื้อรถยนต์พิพาท บิดาโจทก์เป็นผู้วางเงินจองให้ ๑๐,๐๐๐ บาท และบิดามารดาโจทก์ดาวน์ให้อีกส่วนหนึ่ง รถยนต์คันดังกล่าวโจทก์จำเลยได้ออกเงินบางส่วนเป็นค่ารถยนต์ ทั้งเงินที่บิดามารดาโจทก์ช่วยออกเป็นค่ารถยนต์ภายหลัง ก็ไม่ปรากฏว่าบิดามารดาโจทก์ บิดามารดาโจทก์ได้ทวงถามให้โจทก์จำเลยชำระหนี้ส่วนนี้แต่อย่างใด แสดงว่าบิดามารดามีเจตนาที่จะออกเงินค่ารถยนต์ส่วนนี้ให้แก่โจทก์จำเลย รถยนต์คันดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์จำเลยได้มาระหว่างสมรส ตาม ปพพ มาตรา ๑๔๗๔(๑) จึงเป็นสินสมรส สิทธิ์ตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จึงเป็นสินสมรส 
๘.เมื่อเป็นสินสมรสการที่โจทก์โอนสิทธิ์การเช่าซื้อรถยนต์คันนี้ให้ ว.ในระหว่างที่โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภรรยากัน โดยจำเลยไม่ทราบเรื่อง จึงเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนสิทธิ์การเช่าซื้อรถยนต์อันเป็นสินสมรสไปโดยมีเจตนาทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย หรือจำหน่ายโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่ง ปพพ มาตรา ๑๕๓๔ ให้ “ถือเสมือนหนึ่ง” ว่า ทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสดังกล่าวให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่ง ซึ่งหากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้รับส่วนแบ่งสินสมรสไม่ครบตามจำนวนที่ควรได้ คู่สมรสที่ได้จำหน่ายต้องชดใช้จากสินสมรสในส่วนของตนเองหรือจากสินส่วนตัวของตนเอง ปพพ มาตรา ๑๕๓๔ตอนท้าย
๙.ดังนั้น แม้การกู้เงินของจำเลยทั้งสองครั้ง จะเป็นการกู้หลังจากจำเลยแยกมาอยู่กับบิดามารดาจำเลยแล้ว แต่จำเลยนำบุตรไปเลี้ยงดูด้วย จึงต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ถือได้ว่าเป็น “หนี้ร่วม” ที่สามีภรรยาก่อให้เกิดขึ้นระหว่างสมรส จึงต้องร่วมกันรับผิดอย่าง “ ลูกหนี้ร่วม “ ตาม ปพพ มาตรา ๑๔๙๐(๑) โจทก์เป็นบิดาต้องมีส่วนอุปการะเลี้ยงดูบุตรเช่นกันตาม ปพพ มาตรา ๑๕๖๓ การที่ จำเลยกู้เงินในปี๒๕๔๓ โดยมีวัตถุประสงค์ขอกู้ว่าซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และมีหลักฐานใบสั่งซื้อสินค้า และการกู้เงินใน ปี ๒๕๔๖ เป็นการกู้เงินเพื่อเหตุฉุกเฉิน รับฟังได้ว่าจำเลยกู้เงินสองครั้งดังกล่าวเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของบุตรอันเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็นในครอบครัวและเป็นหนี้ที่จำเลยก่อขึ้นในระหว่างสมรส จึงเป็นหนี้ที่โจทก์จำเลยต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตาม ปพพ มาตรา ๑๔๙๐ 
๑๐... ทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์มรดก ๖ รายการเป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกได้มาขณะที่ ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์บรรพ ๕ เดิม การพิจารณาว่าเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาประเภทใดต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้ขณะได้มา เมื่อเจ้ามรดกได้รับมรดกและได้รับการยกให้ในระหว่างสมรสโดยไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว ทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับ ร.ตาม ปพพ มาตรา ๑๔๖๖ (กฎหมายเดิม) กรณีนี้น่าจะ “เทียบเคียง” กับ ปพพ มาตรา๑๔๗๔วรรคท้าย(กฎหมายปัจจุบัน)ในกรณีที่เป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินใดเป็นสินสมรสหรือไม่กฎหมายให้สันนิษฐานว่าเป็นสินสมรส
๑๑.แม้ต่อมาจะมีบทบัญญัติแห่งบรรพ ๕ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่พ.ศ. ๒๕๑๙ใช้บังคับมีมาตรา ๑๔๗๑ บัญญัติให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส โดยการรับมรดกหรือการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัว และมาตรา ๑๔๗๔(๒) บัญญัติให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการยกให้เป็นหนังสือ และพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ได้ระบุว่าเป็น สินสมรส จึงเป็นสินสมรส อันแตกต่างจากบทบัญญัติในบรรพ ๕เดิมก็ตาม ก็ไม่ทำให้ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสอยู่แต่เดิมเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวของเจ้ามรดก เพราะกฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่ได้บัญญัติให้เปลี่ยนแปลงไป จึงจะนำบทบัญญัติแห่ง ปพพ บรรพ ๕ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๙ มาตรา ๑๔๗๑ มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้ นั้นก็คือ เมื่อกฎหมายใหม่ไม่ได้บัญญัติให้ในกรณีดังกล่าวที่คู่สมรสที่ได้รับมรดกและได้รับการยกให้ในระหว่างสมรสโดยไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว ซึ่งกฎหมายเก่าบัญญัติให้ทรัพย์สินดังกล่าวเป็นสินสมรส เมื่อกฎหมายไม่ไม่ได้บัญญัติว่าในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าทรัพย์ดังกล่าวที่เป็นสินสมรสให้เปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวแล้ว ก็ต้องยังคงถือว่าทรัพย์ดังกล่าวยังเป็นสินสมรสอยู่ตามเดิม
๑๒. เมื่อทรัพย์สินที่เป็นมรดกนั้นเป็นสินสมรสของเจ้ามรดกเพียงครึ่งเดียวที่จะตกทอดเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ที่ศาลชั้นต้นฟังว่าทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์มรดกรวม ๔ รายการเป็นสินสมรสนั้น ไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็นสินสมรสเพราะเหตุว่าเป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกได้มาระหว่างสมรสโดยได้รับมรดกซึ่งไม่มีการระบุให้เป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัวจึงเป็นสินสมรส ตาม ปพพ มาตรา ๑๔๖๖(กฎหมายเก่า) ดังที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวโต้แย้ง ในอุทธรณ์แต่อย่างใดไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ที่เกี่ยวทรัพย์สิน๔ รายการจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งเพราะไม่ได้ยกขึ้นมาซึ่งข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายให้ชัดแจ้งในอุทธรณ์จึง ไม่ชอบด้วย ปวพ มาตรา ๒๒๕ วรรคหนึ่ง,๒๔๙ แม้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฏีกา ตาม ปวพ มาตรา ๒๒๓ ทวิ ศาลฏีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้ 
๑๓..ที่ดินของชายถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับมารดาก่อนเป็นสามีภรรยากับโจทก์ ปพพ มาตรา ๑๓๕๘ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าของร่วมมีสิทธิ์จัดการทรัพย์สินร่วมกัน และ ปพพ มาตรา ๑๓๕๗ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้เป็นเจ้าของร่วมมีส่วนเท่ากัน เมื่อเป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายมีก่อนสมรส(ก่อนจดทะเบียนสมรส) ที่ดินดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของชายตาม ปพพ มาตรา ๑๔๗๑(๑) ต่อมาชายทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับมารดา เมื่อโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ก็เป็นการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมระหว่างจำเลยกับมารดาตาม ปพพ มาตรา ๑๓๖๓,๑๓๖๔ เมื่อที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมในส่วนของฝ่ายชายก่อนมีการแบ่งแยกออกจากเจ้าของร่วมคนอื่นเป็นสินส่วนตัว เมื่อแบ่งแยกมาแล้วก็ยังเป็นสินส่วนตัวอยู่ตามเดิม เป็นเรื่องเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมคนหนึ่งใช้สิทธิ์ในการแบ่งแยกทรัพย์สินตาม ปพพ มาตรา ๑๓๖๓ เท่านั้น ที่ดินดังกล่าวไม่เป็นสินสมรส ส่วนกรณีที่ชายหญิงอยู่กินเป็นสามีภรรยากันมาก่อนแล้วจดทะเบียนสมรสภายหลัง ทรัพย์ที่ได้มาร่วมกันก่อนจดทะเบียนสมรส เป็นกรรมสิทธ์ร่วมที่จะต้องแบ่งกันคนละครึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น: