ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

“สำคัญในวิธีพิจารณาความอาญา”

๑.วิเคราะห์ศัพท์ ปวอ มาตรา ๒
๒.ผู้เสียหาย ปวอ มาตรา ๒(๔),๔,๕,๖
๓.สิทธิ์และอำนาจของผู้เสียหายและผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย
-มีสิทธิ์ให้จัดหาล่ามหรือล่ามภาษามือตามปวอ มาตรา ๓,๑๓วรรคสอง วรรคสาม
-,มีสิทธิ์ฟ้องคดีเองดดยไม่จำต้องร้องทุกข์
-มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานฝ่ายปกครอง ตาม ปวอ มาตรร๑๒๓,๑๒๔,๑๒๔/๑,
-มีอำนาจแก้คำร้องทุกข์หรือถอนคำร้องทุกข์ ปวอ มาตรา๑๒๖,
-ปฏิเสธไม่ยอมให้ตรวจเนื้อตัวร่างกาย ปวอ มาตรา ๑๓๒(๑)มีข้อยกเว้นตาม ปวอ มาตรา ๑๓๑/๑,
-มีสิทธิ์โต้แย้งพนักงานสอบสวนที่ตักเตือน พูดให้ท้อใจ ใช้กลอุบาย เพื่อไม่ให้ผู้เสียหายไม่ให้ปากคำทั้งที่ผู้เสียหายต้องการให้ปากคำ ปวอ มาตรา ๑๓๓ วรรคสาม
-,มีสิทธิ์ชี้ตัวยืนยันหรือชี้ตัวผู้ต้องหาหรือผู้กระทำผิดทางอาญา ปวอ มาตรา ๑๓๓วรรคท้ายและ ๑๓๓ตรี,
-มีสิทธิ์ให้พนักงานสอบสวนที่เป็นหญิงเป็นผู้ทำการสอบสวน ปวอ มาตรา ๑๓๓วรรคสี่,
-มีสิทธิ์ร้องขอต่อพนักงานสอบสวนให้แยกการสอบสวนเป็นสัดส่วนในสถานที่เหมาะสม ทั้งให้มีนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอให้อยู่ร่วมขณะทำการสอบสวน ปวอ มาตรา๑๓๓ทวิวรรคแรก
-,มีสิทธิ์ให้พนักงานสอบสวนสอบปากคำพยานที่เป็นเด็กผ่านนักสังคมสงเคราะห์หรือนักจิตวิทยา ปวอ มาตรา ๑๓๓ทวิวรรคแรก,
-มีสิทธิ์ตั้งข้อรังเกียจนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์และพนักงานอัยการที่เข้าร่วมสอบปากคำกรณีผู้เสียหายเป็นเด็ก ปวอ มาตรา ๑๓๓ทวิวรรค๓
-ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมพนักงานอัยการ ปวอ มาตรา ๓๐
-ฟ้องคดีเองกรณีพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ปวอ มาตรา ๓๔
-ในความผิดอาญาแผ่นดินที่พนักงานอัยการถอนฟ้อง ไม่ตัดสิทธิ์ผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีใหม่ ปวอ มาตรา ๓๖(๑)
-ในความผิดต่อส่วนตัวที่พนักงานอัยการถอนฟ้องโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้เสียหาย การถอนฟ้องนั้นไม่ตัดสิทธิ์ผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีใหม่ ปวอ มาตรา ๓๕(๒)
-ในความผิดลหุโทษหรือความผิดไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษหรือคดีที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือคดีที่เปรียบเทียบปรับได้ตามกฎหมายอื่น ผู้เสียหายมีสิทธิ์ยินยอมให้พนักงานสอบสวนทำการเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้ตาม ปวอ มาตรา ๓๘(๑) และมีสิทธิ์ได้ค่าทดแทนตามจำนวนที่เจ้าหน้าที่กะตามที่เห็นสมควรหรือตามที่ผู้เสียหายและผู้ต้องหายินยอม ปวอ มาตรา ๓๘(๒)
-มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่ต้องสูญเสียไปเพราะการกระทำความผิด ปวอ มาตรา ๔๓โดยพนักงานอัยการจะมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายในคำขอท้ายฟ้อง
-มีสิทธิ์ยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์เพื่อขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุที่ได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ ได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ได้รับความเสียหายทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำผิดของจำเลย ปวอ มาตรา ๔๔/๑ โดยถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็น “ คำฟ้อง” ปวอ มาตรา ๔๔/๑วรรคสอง
-มีสิทธิ์ขอให้ศาลตั้งทนายในการยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ปวอ มาตรา ๔๔/๑,๔๔/๒วรรคท้าย
-มีสิทธิ์นำพยานเข้าสืบถึงค่าสินไหมทดแทนที่ขอให้จำเลยชดใช้ตามปวอ มาตรา ๔๔/๑หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว ปวอ มาตรา ๔๔/๒
-มีอำนาสจฟ้องคดีแพ่งได้แม้จะมีการฟ้องคดีอาญาไปแล้ว ปวอ มาตรา ๔๕
-เป็น “เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา” ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการร้องขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหาย ปวอ มาตรา ๕๐
-ได้รับประโยชน์ในอายุความคดีแพ่งที่สะดุดหยุดลงตาม ปอ มาตรา ๙๕ กรณีที่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาได้มีการฟ้องคดีอาญาแล้ว แต่คดียังไม่เสร็จเด็ดขาด ปวอ มาตรา ๕๑วรรคสอง
๔.สิทธิ์ผู้ต้องหา
-มีสิทธิ์ตาม ปวอ มาตรา ๒(๒),๗,๗/๑, ๑๓
-มีสิทธิ์ให้จัดหาล่ามหรือล่ามภาษามือตามปวอ มาตรา ๓,๑๓วรรคสอง วรรคสาม
-มีสิทธิ์โต้แย้งพนักงานสอบสวนที่ตักเตือน พูดให้ท้อใจ ใช้กลอุบาย เพื่อไม่ให้ผู้ต้องหาไม่ให้ปากคำทั้งที่ผู้ต้องหาต้องการให้ปากคำ ปวอ มาตรา ๑๓๓ วรรคสาม
วรรคสอง วรรคสาม,๑๔,
-ปฏิเสธไม่ยอมให้ตรวจเนื้อตัวร่างกาย ปวอ มาตรา ๑๓๒(๑)มีข้อยกเว้นตาม ปวอ มาตรา ๑๓๑/๑,
-มีสิทธิ์ได้รับการสอบสวนโดยเร็ว ต่อเนื่องเป็นธรรม ปวอ มาตรา ๑๓๔วรนรคสาม
-,มีสิทธิ์ได้รับการแจ้งจากพนักงานสอบสวนถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดที่ถูกกล่าวหาโดยข้อเท็จจริงนั้นต้องมีหลักฐานตามสมควรว่าผู้ต้องหาน่าจะได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ปวอ มาตรา ๑๓๔วรรคแรก,วรรคสอง,
-มีสิทธิ์ได้รับการสอบสวนโดยเร็ว ปวอ มาตรา ๑๓๔วรรคสาม,
-มีสิทธิ์ได้รับโอกาสที่จะแก้ข้อกล่าวหาและแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์ต่อตัวเอง ปวอ มาตรา ๑๓๔วรรคสี่ นั้นก็คือสามารถร้องขอให้พนักงานสอบสวนสอบพยานฝ่ายผู้ต้องหาได้,
-ก่อนเริ่มถามคำให้การในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิตหรือผู้ต้องหามีอายุไม่เกิน ๑๘ ปี มีอำนาจให้พนักงานสอบสวนถามเรื่องทนายความ หากผู้ต้องหาไม่มี รัฐหรือพนักงานสอบสวนต้องจัดหาทนายให้ ปวอ มาตรา ๑๓๔/๑วรรคแรก,
-ในคดีมีอัตราโทษจำคุก ผู้ต้องหามีสิทธิ์ให้พนักงานสอบสวนถามเรื่องทนายความได้ หากผู้ต้องหาไม่มีและต้องการ รัฐหรือพนักงานสอบสวนต้องจัดหาทนายความให้
-ให้มีนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่ผู้ต้องหาที่อายุไม่ถึง๑๘ปีร้องขอให้อยู่ร่วมขณะทำการสอบสวน ปวอ มาตรา๑๓๓ทวิวรรคแรก,๑๓๔/๒
-,มีสิทธิ์ให้พนักงานสอบสวนสอบปากคำพยานที่เป็นเด็กผ่านนักสังคมสงเคราะห์หรือนักจิตวิทยา ปวอ มาตรา ๑๓๓ทวิวรรคแรก,๑๓๔/๒
-มีสิทธิ์ตั้งข้อรังเกียจนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์และพนักงานอัยการที่เข้าร่วมสอบปากคำกรณีผู้ต้องหาเป็นเด็ก ปวอ มาตรา ๑๓๓ทวิวรรค๓,๑๓๔/๒
-มีสิทธิ์ให้ทนายหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำผู้ต้องหาได้ ปวอ มาตรา ๑๓๔/๓
-มีสิทธิ์ที่จะได้รับการแจ้งจากพนักงานสอบสวนว่า ตนมีสิทธิ์จะให้การหรือไม่ให้การก็ได้ ถ้อยคำที่ตนให้การสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ และมีสิทธิ์ให้ทนายหรือคนที่ตนไว้วางใจนั่งฟังการสอบปากคำตนได้ ปวอ มาตรา ๑๓๔/๔(๑)(๒)
-มีสิทธิ์โต้แย้งศาลกรณีที่ศาลรับฟังคำพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนที่ทำการสอบปากคำโดยไม่มีการแจ้งสิทธิ์แก่ผู้ต้องหาตามปวอ มาตรา ๑๓๔/๑,๑๓๔/๒และ๑๓๔/๓ ว่าเป็นพยานที่รับฟังไม่ได้ ปวอ มาตรา ๑๓๔/๔วรรคท้าย
-มีสิทธิ์ที่จะไม่ถูกพนักงานสอบสวน ทำ จัดให้ทำการใดๆ ซึ่งเป็นการให้คำมั่นสัญญา ขู่เข็ญหลอกลวง ทรมาน ใช้กำลังบังคับ หรือกระทำการใดๆเพื่อจูงใจให้ผู้ต้องหาให้การ ปวอ มาตรา ๑๓๕
-ผู้ต้องหาที่มีอายุไม่เกิน ๑๘ ปีบริบรูณ์ก่อนเริ่มถามคำให้การหรือในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิตผู้ต้องหามีสิทธิ์ ให้พนักงานสอบสวนถามเรื่องทนายความ หากผู้ต้องหาไม่มี รัฐหรือพนักงานสอบสวนต้องจัดหาทนายให้ ปวอ มาตรา ๑๓๔/๑วรรคแรก,
-ในคดีมีอัตราโทษจำคุก ผู้ต้องหามีสิทธิ์ให้พนักงานสอบสวนถามเรื่องทนายความได้ หากผู้ต้องหาไม่มีและต้องการ รัฐหรือพนักงานสอบสวนต้องจัดหาทนายความให้
-ในความผิดลหุโทษหรือความผิดไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษหรือคดีที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือคดีที่เปรียบเทียบปรับได้ตามกฎหมายอื่น ผู้ต้องหาและผู้เสียหายมีสิทธิ์ยินยอมให้พนักงานสอบสวนทำการเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้ตาม ปวอ มาตรา ๓๘(๑) และผู้ต้องหาต้องจ่ายค่าทดแทนในกรณีที่ผู้เสียหายมีสิทธิ์ได้รับค่าทดแทนตามจำนวนที่เจ้าหน้าที่กะตามที่เห็นสมควรหรือตามที่ผู้เสียหายและผู้ต้องหายินยอม ปวอ มาตรา ๓๘(๒)
-กรณีผู้ต้องหามีครรถ์หรือเพิ่งคลอดบุตรมาไม่ถึง ๓ เดือน หรือเจ็บป่วย หากต้องขังจะต้องถึงแก่ชีวิต มีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนหมายขังหรือขอให้ปล่อยตัว ปวอ มาตรา ๗๑
-มีสิทธิ์ที่จะไม่ถูกจับกุมหากการจับกุมนั้นไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าและไม่มีหมายจับ หรือจับตามคำสั่งศาล ปวอ มาตรา ๗๘
-มีสิทธิ์ที่จะไม่ถูกจับกุมในที่รโหฐาน ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม หากไม่มีหมายค้นหรือเข้าข้อยกเว้นที่ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมาย ปวอ มาตรา ๘๑
-มีสิทธิ์ไม่ถูกจับกุมในพระบรมราชวัง พระราชวัง วังของพระรัชทายาทหรือของพระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป พระนิเวศน์ พระตำหนัก หรือในที่พระมหากษัตริย์ พระราชชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าหรือผู้สำเร็จราชการประทับหรือพำนักอยู่เว้นเข้าข้อยกเว้นตาม ปวอ มาตรา ๘๑/๑(๑)(๒)
-มีสิทธิ์ได้รับการแจ้งข้อหา และตรวจดูหมายจับ พร้อมทั้งมีสิทธิ์ที่จะได้ทราบว่า ตนมีสิทธิ์ให้การหรือไม่ให้การก็ได้ ถ้อยคำนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดี มีสิทธิ์พบและปรึกษาทนายหรือผู้ที่จะเป็นทนายและมีสิทธิ์ให้ญาตหรือบุคคลที่ตนไว้ใจทราบถึงการที่ตนถูกจับกุม ปวอ มาตรา ๘๓วรรคสอง
-มีสิทธิ์ได้รับการปฐมพยาบาล จาม ปวอ มาตรา ๘๔วรรคสาม
- มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์จาก ถ้อยคำรับสารภาพในบันทึกการจับกุม ที่กฎหมายห้ามไม่ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน และมีสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองที่ถ้อยคำอื่นในบันทึกการจับกุมที่ไม่ใช่การรับสารภาพหากไม่มีการแจ้งสิทธิ์ตามกฎหมาย ปวอ มาตรา ๘๓วรรคสองและ๘๔วรรคแรก ที่กฎหมายห้ามไม่ให้รับฟัง ปวอ มาตรา ๘๔วรรค ท้าย
-หากผู้ต้องหาเป็นหญิงมีสิทธิ์ได้รับการค้นตัวโดยผู้หญิงด้วยกัน ปวอ มาตรนา๘๕
-สามารถร้องขอต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อขอรับสิ่งของที่เจ้าพนักงานยึดไว้โดยไม่ใช่ทรัพย์ที่กฏหมายบัญญัติไว้ว่าทำหรือมีไว้เป็นความผิด คืนเพื่อนำไปดูแลรักษา ปวอ มาตรา ๘๕/๑วรรคแรก หากพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนไม่อนุญาตสามารถยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น ปวอ มาตรา ๘๕/๑
-มีสิทธิ์ที่จะไม่ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมเกินกว่าความจำเป็นเพื่อกันไม่ให้หลบหนี หรือเกินพฤติการณ์แห่งคดี ปวอ มาตรา ๘๖,๘๗
-ร้องขอในชั้นสอบสวน ชั้นพิจารณามีสิทธิ์เรียกร้องให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ผู้บัญชาการเรือนจำยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ขังตนไว้ในสถานที่อื่นที่ไม่ใช่เรือนจำ ปวอ มาตรา ๘๙/๑,๘๙/๒
-มีสิทธิ์ปฏิเสธที่จะไม่ให้เจ้าหน้าที่เข้าทำการตรวจค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งศาลและไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะค้นโดยไม่มีหมาย ปวอ มาตรา ๙๒
-เมื่อถูกค้นในขณะที่อยู่ในที่รโหฐาน
ก. ผู้ต้องหามีสิทธิ์ ให้เจ้าหน้าที่แสดงหมายค้น หมายไม่มีหมายค้นกรณีเข้าข้อยกเว้นที่ไม่ต้องมีหมาย มีสิทธิ์ให้เจ้าพนักงานแสดงตนพร้อมแจ้งชื่อและสังกัด ปวอ มาตรา ๙๔
ข.มีสิทธิ์ปฏิเสธที่จะไม่ให้ตรวจค้นหากค้นในเวลาที่พระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น หากไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ปวอ มาตรา ๙๖(๑)(๒)
ค.ทั้งมีสิทธิ์ปฏิเสธกรณีที่ผู้มีชื่อในหมายค้น ไม่ใช่พนักงานฝ่ายปกครองตั้งแต่ระดับสามหรือตำรวจที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ง.ก่อนทำการตรวจค้นมีสิทธิ์ให้เจ้าพนักงานผู้ตรวจค้นแสดงความบริสุทธิ์ก่อน และให้ทำการค้นต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่ หรือบุคคลอย่างน้อยสองคนที่เจ้าพนักงานร้องขอให้มาเป็นพยานหรือต่อหน้าบุคคลในครอบครัว เมื่อทำการยึดสิ่งใดต้องให้บุคคลในครอบครัว ผู้ต้องหา หรือพยาน ดู เพื่อรับรองความถูกต้อง เมื่อรับรองความถูกต้องหรือไม่รับรองความถูกต้องให้เจ้าพนักงานบันทึกไว้ ปวอ มาตรา ๑๐๒
จ.มีสิทธิ์ที่จะได้รับฟังการอ่านบันทึกการตรวจค้นและบัญชีสิ่งของที่ทำการตรวจยึด ปวอ มาตรา ๑๐๓
-มีสิทธิ์ปฏิเสธที่จะไม่ให้พนักงานสอบสวนขอให้ศาลมีคำสั่งถึงเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ส่งจดหมาย ไปรษณียบัตร โทรเลข สิ่งพิมพ์หรือเอกสารอื่นใดที่เป็นเอกสารโต้ตอบระหว่างผู้ต้องหากับทนายความที่ยังไม่มีการส่ง ปวอ มาตรา ๑๐๕
-มีสิทธิ์ร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาคดีของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ ปวอ มาตรา ๑๐๖
- -ร้องขอความเป็นธรรมมายังพนักงานอัยการกรณีอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากพนักงานสอบสวน ตามระเบียบการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการฯ
-๕.สิทธิ์จำเลย
-มีสิทธิ์ตาม ปวอ มาตรา ๒(๓),๘,.๑๓วรรคสอง วรรคสาม,๑๔
-มีสิทธิ์ให้จัดหาล่ามหรือล่ามภาษามือตามปวอ มาตรา ๓,๑๓วรรคสอง วรรคสาม
-คัดค้านการถอนฟ้อง ปวอ มาตรา ๓๕
-มีอำนาจยื่นคำให้การเป็นหนังสือกรณีที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอต่อศาลให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ปวอ มาตรา ๔๔/๑,,๔๔/๒
-สามารถต่อสู้คดีว่าความผิดระงับไปตามกำหนดเวลาในอายุความฟ้องคดีอาญาในกรณีไม่มีผู้ใดฟ้องคดีอาญา ปวอ มาตรา ๕๑
-สามารถต้อสู้ผู้เสียหายที่จะฟ้องแพ่งที่ไม่ได้ฟ้องภายในอายุความทางแพ่งกรณีคดีอาญาศาลยกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว ปวอ มาตรา ๕๑ วรรคท้าย
-สามารถต่อสู้คดีได้ว่าสิทธิ์เรียกร้องทางแพ่งของผู้เสียหายมีกำหนดอายุความตามปพพ มาตรา ๑๙๓/๓๒ เพราะได้มีการฟ้องคดีอาญาจนศาลลงโทษจำเลยคดีเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว ปวอ มาตรา ๕๑วรรคสาม
-กรณีจำเลยมีครรถ์หรือเพิ่งคลอดบุตรมาไม่ถึง ๓ เดือน หรือเจ็บป่วย หากต้องขังจะต้องถึงแก่ชีวิต มีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนหมายขังหรือขอให้ปล่อยตัว ปวอ มาตรา ๗๑
-หลังศาลพิพากษาลงโทษจำคุกมีสิทธิ์เรียกร้องให้ พนักงานอัยการ ผู้บัญชาการเรือนจำขอให้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ขังตนไว้ในสถานที่อื่นที่ไม่ใช่เรือนจำ ปวอ มาตรา ๘๙/๑,๘๙/๒
-จำเลยผู้ถูกคุมขังในคดีอาญาโดยไม่ชอบหรือสามีภรรยาหรือญาติหรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ผู้ถูกคุมขังสามารถร้องต่อศาลขอให้ปล่อย ปวอ มาตรา ๙๐
-มีสิทธิ์ปฏิเสธที่จะไม่ให้พนักงานสอบสวนขอให้ศาลมีคำสั่งถึงเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ส่งจดหมาย ไปรษณียบัตร โทรเลข สิ่งพิมพ์หรือเอกสารอื่นใดที่เป็นเอกสารโต้ตอบระหว่างจำเลยกับทนายความที่ยังไม่มีการส่ง ปวอ มาตรา ๑๐๕
-มีสิทธิ์ร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ปวอ มาตรา ๑๐๖
๖.สืบสวน ปวอ มาตรา ๒(๑๐),(๑๖),๑๗,๑๒๕
๗.สอบสวน ปวอ มาตรา ๒(๑๑),(๑๗),๑๘,๑๙,๒๐,๒๑,๗๘,๑๒๑,๑๒๒,๑๒๔/๑,๑๒๕,๑๒๗,๑๒๘,๑๒๙๑๓๐ถึง๑๔๒
๘.อัยการกับการสอบสวน ปวอ มาตรา ๒๐,๑๒๐,๑๒๙
๙.อำนาจพนักงานสอบสวน
-มีอำนาจสอบสวนคดีอาญา ปอ มาตรา ๑๒๑
-มีสิทธิ์ไม่ทำการสอบสวนหากเข้าตาม ปวอ มาตรา ๑๒๒,๑๒๗
-มีอำนาจจัดให้มีการร้องทุกข์ ปวอ มาตรา ๑๒๕
-มีอำนาจรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆเกี่ยวความผิดที่กล่าวหา ปวอ มาตรา ๑๓๑
-มีอำนาจตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุ เอกสารใดๆ ปวอ มาตรา ๑๓๓/๑
-มีสิทธิ์ตรวจตัวผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาเมื้อผู้เสียหายและผู้ต้องหายินยอมเว้นเข้าเงื่อนไขตาม ปวอ มาตรา ๑๓๑/๑วรรคสอง
-มีอำนาจค้นเพื่อพบสิ่งของ หมายเรียกผู้ครอบครองสิ่งของ และยึดสิ่งของ ปวอ มาตรา ๑๓๒
-มีอำนาจเรียกผู้เสียหายหรือบุคคลใดที่อาจให้ถ้อยคำ ปวอ มาตรา ๑๓๓
-สามารถสอบปากคำหญิงในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศได้หากหญิงนั้นยินยอมไม่ใช้พนักงานสอบสวนที่เป็นหญิง ปวอ มาตรา ๑๓๓สี่
-มีอำนาจให้มีการชี้ตัวผู้กระทำผิด ปวอ มาตรา ๑๓๓ วรรคห้า
-ความผิดตามที่ระบุไว้ในปวอ มาตรา ๑๓๓ทวิ หากผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กร้องขอ ให้สหวิชาชีพ(อัยการ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์)มาร่วมในการสอบสวน พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวนลำพัง
- มีสิทธิ์สั่งให้ผู้ต้องหาที่ไม่ใช่ผู้ถูกจับและยังไม่มีการออกหมายจับสั่งให้ผู้ต้องห่าไปศาลเพื่อขอออกหมายขัง หากผู้ต้องหาไม่ปฏิบัติตาม พนักงานสอบสวนมีอำนาจจับกุมได้ ปวอ มาตรา ๑๓๔วรรคท้าย,
-ในกรณีเร่งด่วนทนายความไม่มาพบผู้ต้องหาตามที่รัฐหรือพนักงานสอบสวนจัดหาโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง หรือแจ้งแต่ไม่มาพบผู้ต้องหาในเวลาอันควร พนักงานสอบสวนสามารถสอบปากคำผู้ต้องหาได้โดยไม่ต้องรอทนายความ ปวอ มาตรา๑๓๔/๑วรรคท้าย
-มีอำนาจสั่งให้บุคคลใดในบ้านเรือนหรือในสถานที่อื่นๆที่พนักงานสอบสวนทำการอยู่ในสถานที่นั้นให้ออกไปจากสถานที่นั้นๆชั่วเวลาที่จำเป็น ปวอ มาตรา ๑๓๗ ดูประกอบ ปอ มาตรา ๓๖๘
-มีอำนาจสอบสวนเองหรือส่งประเด็นไปให้พนักงานสอบสวนอื่นทำการสอบสวนแทน ปวอ มาตรา ๑๓๘
-มีอำนาจบันทึกรายชื่อบุคคลพร้อมที่อยู่ถสถานที่ติดต่อ เบอร์โทรศัพท์ และช่องทางอื่นเพื่อให้ได้มาเป็นพยาน ปวอ มาตครา ๑๓๙วรรคท้าย
-มีอำนาจ “งดการสอบสวน” ส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการพิจารณากรณีไม่ทราบผู้ใดเป็นคนกระทำผิดในคดีมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี ปวอ มาตรา ๑๔๐
-มีอำนาจ “ เห็นควร” งดการสอบสวน” ส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการพิจารณากรณีไม่ทราบผู้ใดเป็นคนกระทำผิดในคดีมีอัตราโทษจำคุกเกิน ๓ ปี ปวอ มาตรา ๑๔๐(๑)วรรคสอง
-กรณีรู้ตัวผู้กระทำผิด แต่ยังเรียกหรือจับตัวไม่ได้ พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องส่งไปยังพนักงานอัยการเพื่อพิจารณา ปวอ มาตรา ๑๔๑
-หากผู้ต้องหาถูกคุมขังหรือถูกควบคุมตัวหรือได้รับอนุญาตให้ประกันตัว เมื่อพนักงานสอบสวนมีความเห็น “ควร” สั่งฟ้องให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมตัวผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการเพื่อพิจารณา เว้นแต่ผู้ต้องหาถูกขังอยู่ ปวอ มาตรา๑๔๒วรรคสาม
๑๐.อำนาจพนักงานอัยการตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา
-มีอำนาจโต้แย้งว่าการที่ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมจะทำให้คดีของพนักงานอัยการเสียหายโดยขอให้ศาลสั่งให้ผู้เสียหายกระทำหรืองดเว้นกระทำการใดๆก็ได้ ปวอ มาตรา ๓๒
-มีอำนาจฟ้องคดีในความผิดอาญาแผ่นดินที่ผู้เสียหายฟ้องคดีไว้แล้วได้ถอนฟ้อง ปวอ มาตรา ๓๖(๓)
-มีอำนาจโต้แย้งผู้เสียหายที่ร้องขอเข้ามาในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ว่าคำขอของผู้เสียหายไม่ใช่คำขอให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยในคดีอาญา หรือคำร้องดังกล่าวขัดหรือแย้งคำฟ้องของพนักงานอัยการ ปวอ มาตรา ๔๔/๑ วรรคสาม
-มีอำนาจร้องขอให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาโดยเห็นว่าไม่จำเป็นต้องขังไว้ระหว่างสอบสวน หรือยุติการสอบสวนแล้วโดยสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ปวอ มาตรา ๗๒(๒)(๓)
-ในระหว่างสอบสวนหรือระหว่างพิจารณามีอำนาจร้องขอให้ขังผู้ต้องหาหรือจำเลยในสถานที่อื่นตามที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยร้องขอหรือตามที่ศาลเห็นสมควรนอกจากเรือนจำ ปวอ มาตรา ๘๙/๑
-เมื่อศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกแล้ว พนักงานอัยการร้องขอให้จำคุกในสถานที่อื่นที่ไม่ใช่เรือนจำหรือตามที่ศาลเห็นควรที่ไม่ใช่เรือนจำ ปวอ มาตรา ๘๙/๒
-ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังหรือบุคคลอื่นที่ถูกคุมขังในคดีอาญาโดยไม่ชอบ ปวอ มาตรา ๙๐
-มีอำนาจ “งดการสอบสวน” หรือ “ ให้สอบสวนต่อไป” ในคดีที่พนักงานสอบสวนงดการสอบสวนทั้งคดีที่มีอัตราโทษจำคุดเกินกว่า ๓ ปี หรือต่ำกว่า ๓ ปี ที่พนักงานสอบสวนส่งสำนวนงดการสอบสวนเพราะไม่ปรากฏตัวผู้กระทำผิด ปวอ มาตรา ๑๔๐(๑)วรรคสาม
-กรณีรู้ตัวผู้กระทำผิด แต่ยังเรียกหรือจับตัวไม่ได้ที่ พนักงานสอบสวนมีความเห็น ควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องส่งไปยังพนักงานอัยการเพื่อพิจารณา ปวอ มาตรา ๑๔๑ นั้น พนักงานอัยการหากเห็นว่าการสั่งไม่ฟ้องชอบแล้วก็จะ “ สั่ง”ไม่ฟ้อง แต่หากเห็นว่า ควรสอบสวนต่อไป ก็จะ “ สั่งให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนต่อไป” ปวอ มาตรา ๑๔๑
-พนักงานอัยการมีอำนาจสั่งฟ้องผู้ต้องหา เมื่อมีคำสั่งฟ้อง ก็เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้ตัวผู้ต้องหาเพื่อนำมาส่งพนักงานอัยการเพื่อยื่นฟ้องต่อศาลตาม ปวอ มาตรา ๑๔๑วรรคท้าย ,ภายในกำหนดอายุความคดีอาญา
-หากผู้ต้องหาถูกคุมขังหรือถูกควบคุมตัวหรือได้รับอนุญาตให้ประกันตัว เมื่อพนักงานสอบสวนมีความเห็น “ควร” สั่งฟ้องให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมตัวผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการเพื่อพิจารณา เว้นแต่ผู้ต้องหาถูกขังอยู่ ปวอ มาตรา๑๔๒วรรคสาม เมื่อพนักงานอัยการได้รับสำนวนมีอำนาจ “ สั่งฟ้อง” หรือ “ สั่งไม่ฟ้อง” ผู้ต้องหา แยกได้ดังนี้คือ
ก.กรณีไม่เห็นด้วยกับพนักงานสอบสวนที่สั่งไม่ฟ้องมา ก็ให้ “ สั่งฟ้อง” และแจ้งให้พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้ต้องหามาเพื่อทำการฟ้องคดี ปวอ มาตรา ๑๔๓(๑)
ข. กรณีเห็นด้วยกับพนักงานสอบสวนที่สั่งไม่ฟ้องก็ให้ออกคำสั่ง “ ไม่ฟ้อง” แล้วส่งสำนวนไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ตาม ปวอ มาตรา ๑๔๕ หรือผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดตามปวอ มาตรา ๑๔๕/๑แล้วแต่กรณี
ค.กรณีพนักงานสอบสวนมีความเห็น “ ควร” สั่งฟ้อง หากพนักงานอัยการเห็นด้วยก็จะออกคำสั่ง “ ฟ้อง” ผู้ต้องหา ปวอ มาตรา ๑๔๓(๒)
ง.กรณีพนักงานสอบสวนมีความเห็น “ ควร” สั่งฟ้อง มา หากพนักงานอัยการไม่เห็นด้วย อาจสั่ง “ สอบสวนเพิ่มเติม” ตาม ปวอ มาตรา ๑๔๓(ก) โดยให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเองหรือส่งพยานมาให้พนักงานอัยการทำการสอบสวน ทางปฏิบัติเพื่อกันปัญหาที่เกิดขึ้น พนักงานอัยการจะสอบพยานโดยให้พนักงานสอบสวนนั่งฟังด้วยแล้วให้พนักงานสอบสวนลงลายมือชื่อในบันทึกที่พนักงานอัยการทำการสอบปากคำพยาน เมื่อทำการสอบสวนเพิ่มเติมแล้วพนักงานอัยการ อาจมีคำสั่ง “ ฟ้อง” หรือ “ ไม่ฟ้อง” ผู้ต้องหา ตามปวอ มาตรา ๑๔๓(๒)
-สั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบปรับในคดีที่สามารถเปรียบเทียบปรับได้แทนการส่งสำนวนมายังพนักงานอัยการ ปวอ มาตรา ๑๔๔(๑)
-คดีที่เปรียบเทียบปรับได้ตาม ปวอ มาตรา ๓๗(๑)(๒)(๓)(๔) หากพนักงานสอบสวนส่งสำนวนมายังพนักงานอัยการ พนักงานอัยการมีอำนาจสั่งให้ส่งผู้ต้องหาพร้อมสำนวนการสอบสวนส่งกลับคืนไปยังพนักงานสอบสวนเพื่อพยายามเปรียบเทียบปรับ ปวอ มาตรา ๑๔๔(๒)
-อัยการสูงสุดมีอำนาจฟ้องหรือไม่ฟ้องตามความเห็นแย้งของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้บังคับการตำรวจจังหวัดหรือผู้ว่าราชการจังหวัดกรณีที่มีความเห็นแย้งความเห็นของพนักงานอัยการที่สั่งไม่ฟ้อง ความเห็นของอัยการสูงสุดเป็นที่สุด
--อำนาจในการสั่งฟ้อง สั่งไม่ฟ้องหรือสอบสวนเพิ่มเติมเป็นอำนาจของพนักงานอัยการ พนักงานสอบสวนมีอำนาจเพียงแค่สั่งว่า “ เห็นควรสั่งฟ้อง” หรือ “เห็นควรสั่งไม่ฟ้อง” เท่านั้น ไม่สามารถใช้คำว่า “ สั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง” คนที่มีอำนาจในการ “ สั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง” คือพนักงานอัยการ ดังนั้นการที่พนักงานสอบสวนให้สัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์หรือสื่อทางโทรทัศน์ว่าส่งสำนวนให้อัยการฟ้องศาล จึงเป็นการกล่าวที่ผิดและเป็นการกล่าวล่วงอำนาจของพนักงานอัยการ สำนวนที่ตำรวจส่งมา อัยการฟ้องกี่เรื่อง ไม่ฟ้องกี่เรื่อง สั่งสอบสวนเพิ่มเติมกี่เรื่อง จึงไม่ใช่เป็นไปตามที่พนักงานสอบสวนให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างๆว่า “ ส่งสำนวนให้อัยการฟ้องศาล” ข้อความนี้เป็นข้อความที่กรรมการผู้สอบสัมภาษณ์ผมในการสอบปากเปล่าตอนสอบอัยการผู้ช่วยได้ถามผมเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐
-มีอำนาจในการเข้าร่วมชันสูตรพลิกศพปวอ มาตรา ๑๕๐และให้คำแนะนำพนักงานสอบสวนตาม ปวอ มาตรา ๑๕๕/๑วรรคสอง
-มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อไต่สวนและทำคำสั่งว่าผุ้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด เหตุและพฤติการณ์ที่ทำให้ตาย ปวอ มาตรา ๑๕๐

ไม่มีความคิดเห็น: