ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

อยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่

๑.คำว่า บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร “กระทำผิดด้วยกัน” นั้น ไม่จำต้องเป็นเรื่องทหารและพลเรือน “ร่วมกัน” กระทำผิดตาม ปอ. มาตรา ๘๓เสมอไป แม้ทหารและพลเรือนกระทำผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้คนตาย ก็เป็นเรื่อง “ กระทำผิดด้วยกัน” จึงไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร คำพิพากษาฏีหกา๑๑๐๔/๒๕๑๓
๒.กระทำผิดร่วมกันตามมาตรา ๑๔(๑)พรบ.ธรรมนูญทหาร ฯ มีความหมายกว้างกว่าร่วมกันกระทำผิดตามมาตรา ๘๓ แห่งประมวลกฎหมายอาญา บุคคลที่กระทำผิด “ หาจำต้องมีเจตนาร่วมกันเสมอไปไม่ “ การที่ทหารและพลเรือนใช้อาวุธปืนและมีดทำร้ายร่างกายกันต่อกัน แม้ต่างคนต่างไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย แต่ก็ถือได้ว่าการทำร้ายร่างกายกันและกันกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเป็นส่วนรวม บ้านเมืองที่มีหน้าที่รักษาความสงบสุขในหมู่ประชาชนย่อมเป็นผู้เสียหาย ซึ่งเป้นความเสียหายที่เกิดจากการกระทำผิดของทหารและพลเรือนกระทำด้วยกัน กรณีต้องด้วยมาตรา ๑๔(๑) เป็นอำนาจศาลพลเรือนที่จะพิจารณา คำพิพากษาฏีกา ๑๖๘๔/๒๕๒๑
ข้อสังเกต ๑. คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
๑.๑ บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร “ กระทำผิดด้วยกัน”
๑.๒คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
๑.๓คดีที่ต้องดำเนินการในศาลเยาวชนและครอบครัว
๑.๔คดีที่ศาลทหารเห็นว่า ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
๒.ความผิดที่อยู่ในเขตอำนาจศาลทหารยามบ้านเมืองปกติ
๒.๑นายทหารสัญญาบัตรประจำการ
๒.๒ นายทหารสัญญาบัตรนอกประจำการ เฉพาะกระทำความผิดต่อคำสั่ง ข้อบังคับ ตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร
๒.๓นายทหารประทวนและพลทหารกองประจำการหรือประจำการ หรือบุคคลที่รับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
๒.๔นักเรียนทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด
๒.๕ทหารกองเกินที่ถูกเข้ากองประจำการซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้รับตัวไว้เพื่อให้เข่ารับราชการประจำอยู่ในหน่วยทหาร
๒.๖พลเรือนที่สังกัดในราชการทหาร เมื่อกระทำผิดในหน้าที่ราชการทหาร หรือกระทำผิดอย่างอื่นเฉพาะ ใน หรือ บริเวณ อาคาร ที่ตั้งหน่วยทหาร ที่พักร้อน พักแรม เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะใดๆในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
๒.๗บุคคลที่ต้องขังหรืออยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ทหารโดยชอบด้วยกฎหมาย หากเป็นการควบคุมหรือขังที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายของเจ้าหน้าที่ทหาร ย่อมไม่อยู่ในความหมายนี้
๒.๘เชลยศึก หรือชนชาติศัตรู ซึ่งอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
๓.คำว่า “กระทำผิดด้วยกัน” นั้น ไม่จำต้องเป็นเรื่องทหารและพลเรือนร่วมกันกระทำผิดตาม ปอ. มาตรา ๘๓เสมอไป คือไม่จำเป็นต้องเป็น “ ตัวการร่วมกัน” ในการกระทำผิด แม้ทหารและพลเรือนกระทำผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้คนตาย ก็เป็นเรื่อง “ กระทำผิดด้วยกัน” นั้นก็คือ แม้ทั้งทหารและพลเรือนต่างคนต่างประมาทด้วยกันทั้งสอง( ไม่ใช่ประมาทร่วม เพราะการกระทำโดยประมาทร่วมกันมีไม่ได้ คงมีได้แต่ต่างคนต่างกระทำโดยประมาท” เท่านั้น เมื่อทหารและพลเรือนต่างคนต่างประมาทและผลของความประมาทเป็นเหตุให้คนตาย ก็ถือว่า “ เป็น “การกระทำร่วมกัน” ของทหารและพลเรือนแล้ว จึงไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
๔.กระทำผิดร่วมกันตามมาตรา ๑๔(๑)พรบ.ธรรมนูญทหาร ฯ มีความหมายกว้างกว่าร่วมกันกระทำผิดตามมาตรา ๘๓ แห่งประมวลกฎหมายอาญา โดยในพระธรรมนูญศาลทหาร นั้น บุคคลที่ ”กระทำผิดร่วมกัน” “ หาจำต้องมีเจตนาร่วมกันในการกระทำผิดร่วมกันเสมอไปไม่ “ แม้แต่ละคนต่างมีเจตนากระทำความผิดเป็นของตัวเอง แต่เมื่อทั้งสองฝ่ายกระทำความผิดต่อกันและกัน ถือมีเจตนาร่วมกันในการกระทำความผิดแล้ว การที่ทหารและพลเรือนต่างคนต่างมีเจตนาทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน แม้ไม่ได้มีเจตนาร่วมกันในการไปทำร้ายคนอื่นก็ตาม แต่เมื่อมีเจตนาทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน ถือมีเจตนา “ร่วมกัน” ในการกระทำความผิด จึงเป็นกรณีที่ทหารและพลเรือนร่วมกันกระทำความผิดจึงอยู่ในอำนาจศาลพลเรือนที่จะพิจารณาพิพากษา
๕.การที่ทหารและพลเรือนต่างใช้อาวุธปืนและมีดทำร้ายร่างกายกันต่อกัน แม้ต่างคนต่างไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย เป็นเพียงผู้เสียหายโดยพฤตินัย เพราะมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าการทำร้ายร่างกายกันและกันกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเป็นส่วนรวม บ้านเมืองที่มีหน้าที่รักษาความสงบสุขในหมู่ประชาชนย่อมเป็นผู้เสียหาย ซึ่งเป็นความเสียหายที่เกิดจากการกระทำผิดของทหารและพลเรือนกระทำด้วยกัน กรณีต้องด้วยมาตรา ๑๔(๑) เป็นอำนาจศาลพลเรือนที่จะพิจารณา การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาว่าไม่ใช่ผู้เสียหายเพราะทั้งทหารและพลเรือน ไม่ได้กระทำต่อ “ ผู้อื่น หรือสิ่งอื่น” นั้นศาลฏีกาไม่เห็นด้วย โดยศาลฏีกาเห็นว่าการต่อสู้ทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ที่แผ่นดินมีหน้าที่รักษาความสงบสุขในบ้านเมือง การที่ปล่อยให้ทหารและพลเรือนใช้อาวุธทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันโดยต่างถือว่าทั้งคู่ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะดำเนินคดีแก่กันและกันหาได้ไม่มิเช่นนั้นแล้วจะเกิดความวุ่นวายในแผ่นดิน ซึ่งในกรณีนี้ถือว่าแผ่นดินเป็นผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีกับทั้งทหารและพลเรือนที่ศาลพลเรือน

ปืนหาย

๑.คำพิพากษาฏีกา๑๖๐๗๒/๒๕๓๑
๒.ทุนทรัพย์ในชั้นฏีกาไม่เกิน๒๐๐,๐๐๐บาท ต้องห้ามฏีกาในข้อเท็จจริง คดีนี้โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์รู้ตัวผู้ที่พึงใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อใดจึงเป็นฏีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามไม่ให้ฏีกา ศาลฏีกาไม่รับวินิจฉัยให้
๒.หลังเกิดเหตุ โจทก์ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งและคณะกรรมการดังกล่าวรายงานผลการสอบสวนเสนอโจทก์ว่า จำเลยทั้งสี่สิบสามคนต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายโดยเจ้าหน้าที่โจทก์ลงรับบันทึกดังกล่าวในวันเดียวกันก็ตาม ก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้รู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามบันทึกที่เสนอมาในวันนั้นดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เพราะมิใช่ว่าคณะกรรมการสืบหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งเสนอมาอย่างไรแล้วโจทก์ต้องถือตามนั้น โจทก์ต้องพิจารณาเสียก่อนว่าจะให้ความเห็นชอบตามที่เสนอมาหรือไม่ โดยเมื่อเจ้าหน้าที่รับบันทึกดังกล่าวแล้ว กองพระธรรมนูญซึ่งสังกัดกรมสารบรรณทหาร.......ต้องเป็นผู้พิจารณาในเบื้องต้นเสียก่อน แล้วเสนอให้กรมสารบรรณทหาร......พิจารณาให้ความเห็นชอบในผลการสอบสวนดังกล่าวแล้วสรุปเรื่องเสนอผู้บังคับบัญชาระดับสูงตามลำดับจนถึงเสนาธิการทหาร......เป็นคนสุดท้ายแล้วเสนาธิการทหาร....เสนอผู้บัญชาการทหาร......ลงนามให้ความเห็นชอบ ต่อมาผู้บัญชาการทหาร......ลงนามให้ความเห็นชอบจึงรับฟังได้ว่าโจทก์เพิ่งรู้ถึงตัวผู้พึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าว อายุความจึงต้องเริ่มนับแต่วันนี้เป็นต้นไปตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘ วรรคแรก เมื่อโจทก์ฟ้องคดียังไม่เกิน ๑ ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
๓.ที่จำเลยฏีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ศาลล่างทั้งสองยังไม่ได้วินิจฉัยมา เนื่องจากคู่ความได้สืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว เพื่อไม่ให้คดีล่าช้า ศาลฏีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
๔.ที่อ้างว่าฟ้องเคลือบคลุมเพราะฟ้องไม่ได้กล่าวอ้างว่าวันที่อาวุธปืนพกหายไปเป็นวันใด ตรงกับที่จำเลยคนใดอยู่เวร ปืนพกมีหมายเลขทะเบียนอะไร ราคาเท่าใด ทำให้จำเลยหลงต่อสู้นั้นเห็นว่า ฟ้องบรรยายข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบสวนของคณะกรรมการสืบหาตัวผู้รับผิดทางแพ่ง ซึ่งแต่ละช่วงเวลาที่อ้างว่าอาวุธปืนพกหายล้วนอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยแต่ละคนที่ปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละช่วงเวลา ตลอดทั้งราคาปืนพกที่สูญหายไปด้วย เป็นการบรรยายฟ้องตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและอยู่ในความรู้เห็นของจำเลยเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจฟ้องได้ถูกต้อง จึงเป็นฟ้องที่แสดงดดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นตาม ปวพ มาตรา ๑๗๒วรรคสองแล้ว จำเลยก็ให้การปฏิเสธมาตลอด แสดงว่าเข้าใจและต่อสู้คดีได้ แม้ฟ้องไม่ได้ระบุปืนหายวันใด ตรงกับที่จำเลยคนใดอยู่เวรและตรวจเวร ปืนพกมีหมายเลขปืนอะไร ก็เป็นลายละเอียดที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
๕.อาคารปืนและอาคารคลังสนามอยู่ในกำแพงชั้นในของกรม.....โดย.คลังชั้นในกั้นห้องด้วยตาข่ายเหล็ก มีประตูใส่กุญแจไว้เป็นที่เก็บปืนพกของโจทก์ คลังชั้นนอกมีสองประตู ชั้นแรกเป็นประตูไม้ใส่กุญแจ ชั้นสองเป็นประตูเหล็กใส่กุญแจ คลังชั้นนอกเป็นที่ทำงานของเจ้าหน้าที่ มีจำเลยที่ ๔ มีหน้าที่เป็นนายคลังปืนทำหน้าที่เก็บรักษาและรับจ่ายอาวุธปืนและเป็นผู้ถือกุญแจคลังชั้นในและชั้นนอก เมื่อเลิกงานต้องนำกุญแจไปให้นายทหารเวร วันรุ่งขึ้นต้องไปเอากุญแจมาเปิด จำเลยที่ ๕ เป็นผู้ช่วยนายคลังปืน แม้จะอ้างว่าเมื่อวันที่ ๒๒ เม.ย.๒๕๒๖ ได้ขออนุญาตปิดคลังปืนเกินเวลา แต่ก็ไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาต และขณะมีการขนย้ายของคือลวดหนาม กระสอบทรายขึ้นรถบรรทุกเอกชนที่มารอรับ ไม่ปรากฏว่าได้มีผู้มีอำนาจมาสั่งให้ปิดคลังปืนเกินเวลาได้ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ ๔ ไม่มาทำงาน จำเลยที่ ๕ ต้องทำงานแทน ทั้งไม่ได้มีการนำกุญแจมามอบให้นายคลังลูกปืนเพื่อนำไปฝากนายทหารเวรอีกที โดยมีคนบอกว่าคลังปืนยังทำงานไม่เสร็จ จึงบอกให้นำกุญแจไปมอบให้นายทหารเวรก่อนแล้วจะนำกุญแจไปมอบให้ทหารเวรเอง หลังเลิกงานจำเลยที่ ๕ ไม่ได้ปิดคลังปืนและไม่ได้นำกุญแจไปมอบให้ทหารเวร เมื่อวันดังกล่าวจำเลยที่ ๔ ไม่มาทำงานโดยไม่ได้ลา เมื่อมีการจ่ายของออกจากคลังปืนนอกเวลาทำการจำเลยที่ ๔ ต้องรับผิดชอบ เมื่อจำเลยที่ ๔ ไม่ได้เข้าไปสอบถามอาจเป็นช่องทางให้นำอาวุธปืนออกไป ข้ออ้างจำเลยที่ ๔ว่าป่วยจึงไม่ไปทำงาน แต่ตอนเย็นมาดูรายชื่อผู้เข้าเวรและนำเอกสารไปเก็บในคลังชั้นในใส่กุญแจทั้งคลังชั้นในและชั้นนอก แสดงว่าในวันดังกล่าวอาวุธยังอยู่ครบถ้วน เพราะเมื่อจำเลยที่ ๔ ตรวจดูแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติ แต่การที่จำเลยที่ ๔ มอบกุญแจให้เจ้าหน้าที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่ได้กลับไปทำงานในช่วงบ่าย โดยไม่สนใจว่าจะมีการนำกุญแจไปมอบให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ หรือมีการนำกุญแจไปใช้ในทางมิชอบหรือไม่ เมื่อเลิกงานแล้วจะมีใครมาปิดคลังหรือไม่ ถือเป็นความประมาทเลินเล่อและเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งภายหลังพบปืนหายไปได้ไปตรวจสถานที่เกิดเหตุพบว่าคลังภายนอกไม่มีร่องรอยการถูกงัด แต่คลังภายในสายยูที่คล้องกุญแจขาด ทำให้เชื่อว่าคนร้ายอาศัยโอกาสที่จำเลยที่ ๕ ไม่ได้ปิดคลังปืนเข้าไปในคลังชั้นนอกที่เปิดไว้และอาศัยกุญแจที่มอบให้เจ้าหน้าที่สรรพาวุธไขประตูคลังชั้นนอกเข้าไปตัดสายยูที่คล้องกุญแจคลังชั้นใน อาวุธปืนที่ถูกลักไปมีจำนวนมาก สถานที่เกิดเหตุมียามรักษาการณ์ เป็นการยากที่คนร้ายจะพกอาวุธปืนออกมาด้วยตนเองทั้งหมด ช่วงดังกล่าวมีรถบรรทุกมาจอดโดยไม่มีรถอื่นใด ความเสียหายที่เกิดเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ ๔ ที่ ๕
๖.เมื่อฟังว่าปืนหายในวันที่ ๒๒ เม.ย.๒๕๒๖ ส่วนจำเลยอื่นที่มีหน้าที่ตรวจเวรในวันที่ ๒๓,๒๔ เม.ย.๒๕๒๖ จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
๗.ต่อมาวันที่ ๑๖ ก.ค.๒๕๒๖ เจ้าหน้าที่กรม.........มาขอเบิกปืน แต่ไม่มีอาวุธปืนให้เบิกคงมีแต่กล่องอาวุธปืนเปล่า จากการตรวจสอบครั้งสุดท้ายพบว่าเมื่อวันที่ ๑๓ ก.ค.๒๕๒๖ยังอยู่ครบมาทราบปืนหายเมื่อวันที่ ๑๘ ก.ค.๒๕๒๖ แสดงอาวุธปืนหายไปช่วงเวลา ๑๓ กค. ถึง ๑๘ กค ๒๕๒๖ แม้โจทก์นำสืบไม่ได้ว่ามีการลักปืนไปในวันเดียวกันหรือทยอยลักปืนไป แต่ก็ได้ความว่าปืนพก ๘๖ กระบอกเก็บไว้ในคลังเช่นเดียวกับปืนพกที่ถูกลักไปเมื่อวันที่ ๒๒ เม.ย.๒๕๒๖โดยปืนวางไว้ในตู้และบนหลังตู้ไม่เป็นระเบียบ อยู่ในสภาพที่หยิบได้ง่าย ทั้งจำเลยที่ ๔ ก็ทราบดีว่าก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ ๒๒ เม.ย.๒๕๒๖ ปืนพกก็หายไป ๕๒ กระบอก จนมีคำสั่งให้กวดขันในเรื่องนี้ โดยให้ตรวจในชั้นในของกรมสรรพาวุธด้วยซึ่งเดิมไม้เคยตรวจมาก่อน การที่จำเลยที่๔ ไม่เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย ไม่ใส่ใจปล่อยให้คลังปืนอยู่ในสภาพทรุดโทรมจนปูนที่ฉาบหลุดออกเห็นก้อนอิฐเป็นวงกว้าง ตาข่ายเหล็กที่ใช้ก็มีลักษณะบอบบางเหล็กมีขนาดเล็กเกินไป จำเลยที่ ๔ ไม่ได้แก้ไขปรับปรุงอาคารให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรงไม่เอาใจใส่ในการเก็บอาวุธปืนเป็นเหตุให้คนมาตัดลวดตาข่ายชั้นนอกชั้นใน ความเสียหายจึงเป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ ๔ในฐานะนายคลังปืน
๘.จำเลยที่ ๘,๑๐,๑๒ถึง๑๕๑๗,๑๘,๒๐ถึง๓๕,๓๘,๓๙,๔๑ถึง๔๓ มีหน้าที่ตรวจเฉพาะกำแพงชั้นนอกไม่มีหน้าที่ตรวจกำแพงชั้นใน และขณะที่ตรวจก็ไม่พบเหตุการณ์ผิดปกติขณะที่เข้าเวรยาม จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ ๔
๙.ค่าเสียหายปืนที่หายไปจำเลยที่ ๔ สู้ว่าสูงเกินไปเพราะปืนบางรายไม่ได้ซื้อมาแต่ยึดมาจากผู้ลี้ภัย ส่วนจำเลยที่ ๕ ให้การว่า ไม่รู้โจทก์คิดราคาปืนอย่างไร เพราะปืนชนิดเดียวกันขนาดเดียวกันราคาแตกต่างกัน เมื่อจำเลยที่ ๔ที่ ๕ ไม่นำสืบก็ไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ แม้เป็นปืนชนิดเดียวกันขนาดเดียวกันแต่ซื้อมาคนละคราวราคาก็อาจแตกต่างไปได้ จึงรับฟังได้ว่าราคาอาวุธปืนเป็นไปตามที่โจทก์นำสืบ จำเลยที่ ๔ ที่ ๕ ต้องร่วมกันใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิด โดยถือผิดนัดนับแต่วันทำละเมิดแล้ว
๑๐.หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดถือผิดนัดนับแต่เวลาที่ทำละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิ์เรียกดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่ทำละเมิดซึ่งในฟ้องขอให้นับแต่วันที่ ๒๕ เม.ย.๒๕๒๖และ ๑๘ ก.ค.๒๕๒๖ มิใช่เป็นไปตามข้อต่อสู้จำเลยที่ว่าห้ามเรียกดอกเบี้ยเกิน ๕ ปี โดยโจทก์สามารถคิดดอกเบี้ยค้างส่งย้อนหลังนับแต่วันฟ้องไปได้เพียง ๕ ปี ส่วนที่เกินถือขาดอายุความตามปพพ มาตรา ๑๙๓/๓๓(๑)แต่อย่างใดไม่ เพราะเมื่อเป็นหนี้ละเมิดถือผิดนับนับแต่วันทำละเมิดจึงมีสิทธิ์เรียกดอกเบี้ยได้นับแต่วันผิดนัดหรือนับแต่วันทำละเมิด
ข้อสังเกต ๑. ปัญหาดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลว่าโจทก์รู้ตัวผู้ที่พึงใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อใด เป็นปัญหาข้อเท็จจริงจึงเป็นฏีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่ถึง ๒๐๐,๐๐๐บาท ต้องห้ามไม่ให้ฏีกา ศาลฏีกาไม่รับวินิจฉัยให้
๒.สิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่มูลละเมิดต้องฟ้องภายใน ๑ ปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้น ๑๐ ปีนับแต่วันทำละเมิด ปพพ มาตรา ๔๔๘ แต่ถ้าเรียกค่าเสียหายในมูลความผิดที่มีโทษตามกฎหมายอาญา และกำหนดอายุความตามกฎหมายอาญายาวกว่า ให้เอาอายุความที่ยาววกว่านั้นมาใช้บังคับ
๓.ในกรณีที่เป็นหน่วยราชการผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดคือผู้มีอำนาจสูงสุดในหน่วยงานนั้นๆ เช่น อธิบดี หรือผู้บัญชาการทหาร ต้องเป็นผู้รู้ถึงการทำละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน ลำพังเพียงผู้ใต้บังคับบัญชาทราบหรือคณะกรรมการหาตัวผู้ต้องรับผิดทางแพ่งทราบเรื่องยังถือว่าหน่วยราชการนั้นทราบไม่ได้ หรือแม้แต่หน้าห้องของผู้บังคับบัญชาสูงสุดในหน่วยงานนั้นทราบจะถือว่าผู้มีอำนาจสูงสุดในหน่วยงานนั้นทราบไม่ได้ ในคดีนี้เป็นกรณีปืนของทางราชการทหารหายไป แม้กองพระธรรมนูญซึ่งสังกัดกรมสารบรรณทหาร.......ทราบเรื่องแต่กองพระธรรมนูญเป็นเพียงผู้พิจารณาในเบื้องต้นเสียก่อน แล้วเสนอให้กรมสารบรรณทหาร......พิจารณาให้ความเห็นชอบในผลการสอบสวนดังกล่าวแล้วสรุปเรื่องเสนอผู้บังคับบัญชาระดับสูงตามลำดับจนถึงเสนาธิการทหาร......เป็นคนสุดท้ายแล้วเสนาธิการทหาร....เสนอผู้บัญชาการทหาร......ลงนามให้ความเห็นชอบ ต่อมาผู้บัญชาการทหาร......ลงนามให้ความเห็นชอบจึงรับฟังได้ว่าโจทก์เพิ่งรู้ถึงตัวผู้พึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าว อายุความจึงต้องเริ่มนับแต่วันนี้เป็นต้นไปตาม ปพพ มาตรา ๔๔๘ วรรคแรก เมื่อโจทก์ฟ้องคดียังไม่เกิน ๑ ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
๔.ต่อสู้ว่าฟ้องเคลือบคลุมเพราะฟ้องไม่ได้กล่าวอ้างว่าวันที่อาวุธปืนพกหายไปเป็นวันใด ตรงกับที่จำเลยคนใดอยู่เวร ปืนพกมีหมายเลขทะเบียนอะไร ราคาเท่าใด ทำให้จำเลยหลงต่อสู้นั้นเห็นว่า ฟ้องบรรยายข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบสวนของคณะกรรมการสืบหาตัวผู้รับผิดทางแพ่ง ซึ่งแต่ละช่วงเวลาที่อ้างว่าอาวุธปืนพกหายล้วนอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยแต่ละคนที่ปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละช่วงเวลา เป็นการบรรยายฟ้องตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและอยู่ในความรู้เห็นของจำเลยเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจฟ้องได้ถูกต้อง จึงเป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นตาม ปวพ มาตรา ๑๗๒วรรคสองแล้ว ทั้งจำเลยก็ให้การปฏิเสธมาตลอดว่าไม่ได้ประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และในฟ้องก็ระบุช่วงเวลาว่านับแต่วันที่เท่านี้ถึงวันที่เท่านี้ซึ่งตรวจพบว่าปืนหาย ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าปืนหายในช่วงเวลาดังกล่าวนับแต่ตรวจปืนครั้งสุดท้ายถึงวันที่พบว่าปืนหาย ไม่ทราบแน่นอนว่าหายวันใดแต่หายในช่วงเวลาดังกล่าว จำเลยสามารถเข้าใจสภาพแห่งข้อหาได้ดี ประเด็นในคดีคือ จำเลยต้องรับผิดในการที่ปืนหายหรือไม่อย่างไร หากรับผิดต้องรับผิดเท่าใด ส่วนปืนที่หายจะมีหมายเลขอะไรเป็นลายละเอียดปลีกย่อยที่สามารถนำสืบได้ ทั้งปืนที่หายก็อยู่ในหน้าที่ดูแลรักษาของจำเลย จำเลยย่อมเข้าใจได้ดีว่าปืนที่หายเป็นปืนแบบไหนอย่างไร การที่จำเลยให้การปฏิเสธโดยอ้างว่าได้ทำตามระเบียบแบบแผนทางราชการ แสดงว่าเข้าใจและต่อสู้คดีได้ แม้ฟ้องไม่ได้ระบุปืนหายวันใด ตรงกับที่จำเลยคนใดอยู่เวรและตรวจเวร ปืนพกมีหมายเลขปืนอะไร ก็เป็นลายละเอียดที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
๕.ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมที่จำเลยให้การตัดฟ้องมานั้น เมื่อศาลล่างทั้งสองยังไม่ได้วินิจฉัยมาจึง เป็นกระบวนการพิจารณาที่ผิดระเบียบในเรื่องการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มุ่งหมายจะยังการให้เป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการพิจารณาพิพากษาซึ่งศาลมีหน้าที่ต้องพิพากษาให้เต็มตามฟ้องตามคำให้การและประเด็นในคดีตาม ปวพ มาตรา ๒๗,๑๔๒,๒๔๖แต่ เนื่องจากคู่ความได้สืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว เพื่อไม่ให้คดีล่าช้า ศาลฏาเมื่อเห็นสมควรก็สามารถวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้เสียเวลา โดยไม่นำบทบัญญัติใน ปวพ. มาตรา๒๔๓(๑),๒๔๖มาใช้บังคับ
๖.การที่จำเลยที่ ๔ มีหน้าที่ แล้วไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ โดยไม่มาทำงานและไม่ยื่นใบลาซึ่งถือว่าจำเลยยังมีหน้าที่ต้องรับผิดในงานในหน้าที่ของตนอยู่ ถือการละเว้นของจำเลยเป็นการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหายเมื่อจำเลยที่ ๔ เป็นนายคลังปืนทำหน้าที่เก็บรักษาและรับจ่ายอาวุธปืนและเป็นผู้ถือกุญแจคลังชั้นในและชั้นนอก เมื่อเลิกงานแล้วไม่นำกุญแจไปให้นายทหารเวรและไม่มาทำงานโดยอ้างว่าป่วยและไม่ได้ลางาน เมื่อไม่ได้ลางานถือจำเลยที่ ๔ ยังมีหน้าที่ต้องดูแลอาวุธปืนด้วยเมื่อมีการจ่ายของออกจากคลังปืนนอกเวลาทำการจำเลยที่ ๔ ต้องรับผิดชอบ เมื่อจำเลยที่ ๔ ไม่ได้เข้าไปสอบถามอาจเป็นช่องทางให้นำอาวุธปืนออกไป ข้ออ้างจำเลยที่ ๔ว่าป่วยจึงไม่ไปทำงาน แต่ตอนเย็นมาดูรายชื่อผู้เข้าเวรและนำเอกสารไปเก็บในคลังชั้นในใส่กุญแจทั้งคลังชั้นในและชั้นนอก แสดงว่าในวันดังกล่าวอาวุธยังอยู่ครบถ้วน การที่จำเลยที่ ๔ มอบกุญแจให้เจ้าหน้าที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่ได้กลับไปทำงานในช่วงบ่าย โดยไม่สนใจว่าจะมีการนำกุญแจไปมอบให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ หรือมีการนำกุญแจไปใช้ในทางมิชอบหรือไม่ เมื่อเลิกงานแล้วจะมีใครมาปิดคลังหรือไม่ ถือเป็นความประมาทเลินเล่อและเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งภายหลังพบปืนหายไปได้ไปตรวจสถานที่เกิดเหตุพบว่าคลังภายนอกไม่มีร่องรอยการถูกงัด แต่คลังภายในสายยูที่คล้องกุญแจขาด ทำให้เชื่อว่าคนร้ายอาศัยโอกาสที่จำเลยที่ ๕ ไม่ได้ปิดคลังปืนเข้าไปในคลังชั้นนอกที่เปิดไว้และอาศัยกุญแจที่มอบให้เจ้าหน้าที่สรรพาวุธไขประตูคลังชั้นนอกเข้าไปตัดสายยูที่คล้องกุญแจคลังชั้นใน อาวุธปืนที่ถูกลักไปมีจำนวนมาก สถานที่เกิดเหตุมียามรักษาการณ์ เป็นการยากที่คนร้ายจะพกอาวุธปืนออกมาด้วยตนเองทั้งหมด ช่วงดังกล่าวมีรถบรรทุกมาจอดโดยไม่มีรถอื่นใด ความเสียหายที่เกิดเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ ๔
๗. ส่วนจำเลยที่ ๕ เป็นผู้ช่วยนายคลังปืนมีหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบทางราชการ การอ้างว่าได้ขออนุญาตปิดคลังปืนเกินเวลา แต่ก็ไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาต จึงเท่ากับว่า ไม่ได้รับอนุญาตนั้นเอง โดยในขณะนั้นมีการขนย้ายของคือลวดหนาม กระสอบทรายขึ้นรถบรรทุกเอกชนที่มารอรับ เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีผู้มีอำนาจมาสั่งให้ปิดคลังปืนเกินเวลาได้จึงต้องปิดคลังตามเวลาเพื่อป้องกันไม่ให้ทรัพย์สินในคลังถูกลัก เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ ๔ ไม่มาทำงาน จำเลยที่ ๕ ต้องทำงานแทน และมีหน้าที่ต้องปิดกุญแจและตรวจสอบอาวุธปืนในคลังอาวุธด้วย ทั้งเมื่อจำเลยที่๔ไม่ได้มีการนำกุญแจมามอบให้นายคลังลูกปืนเพื่อนำไปฝากนายทหารเวรอีกที จึงเป็นหน้าที่จำเลยที่ ๕ ต้องดำเนินการปิดคลังอาวุธและนำกุญแจไปมอบให้ทหารเวรแทนหลังเลิกงาน เมื่อจำเลยที่ ๕ ไม่ได้ปิดคลังปืนและไม่ได้นำกุญแจไปมอบให้ทหารเวร โดยยอมให้จำเลยที่ ๔ มอบกุญแจให้เจ้าหน้าที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่ได้กลับไปทำงานในช่วงบ่าย โดยไม่สนใจว่าจะมีการนำกุญแจไปมอบให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ หรือมีการนำกุญแจไปใช้ในทางมิชอบหรือไม่ เมื่อเลิกงานแล้วจะมีใครมาปิดคลังหรือไม่ ถือเป็นความประมาทเลินเล่อและเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งภายหลังพบปืนหายไปได้ไปตรวจสถานที่เกิดเหตุพบว่าคลังภายนอกไม่มีร่องรอยการถูกงัด แสดงว่าเป็นผลโดยตรงจากการที่ไม่ปิดคลังคนร้ายจึงสามารถผ่านเข้ามาจากรั่วชั้นนอกได้ แล้วมางัดสายยูที่คล้องกุญแจในคลังชั้นในขาด ทำให้เชื่อว่าคนร้ายอาศัยโอกาสที่จำเลยที่ ๕ ไม่ได้ปิดคลังปืนเข้าไปในคลังชั้นนอกที่เปิดไว้และอาศัยกุญแจที่มอบให้เจ้าหน้าที่สรรพาวุธไขประตูคลังชั้นนอกเข้าไปตัดสายยูที่คล้องกุญแจคลังชั้นใน อาวุธปืนที่ถูกลักไปมีจำนวนมาก สถานที่เกิดเหตุเป็นค่ายทหารมียามรักษาการณ์ เป็นการยากที่คนร้ายจะพกอาวุธปืนออกมาด้วยตนเองทั้งหมด ยิ่งในช่วงดังกล่าวช่วงดังกล่าวมีรถบรรทุกจากภายนอกมาจอดโดยไม่มีรถอื่นใดยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลย ที่ ๕ ด้วย
๘.เมื่อเชื่อว่าปืนหายในวันที่ ๒๒ เม.ย.๒๕๒๖ จำเลยอื่นที่มีหน้าที่ตรวจเวรในวันที่ ๒๓,๒๔ เม.ย.๒๕๒๖ จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย(บรรยายฟ้องปืนหายระหว่างวันที่ ๒๒ เม.ย.๒๕๒๖ถึง๒๕เม.ย.๒๕๒๖ซึ่งเป็นวันพบว่าปืนหาย)
๙.ต่อมาพบว่ามีอาวุธปืนหายอีกโดยวันที่ ๑๖ ก.ค.๒๕๒๖ เจ้าหน้าที่กรม.........มาขอเบิกปืน แต่ไม่มีอาวุธปืนให้เบิกคงมีแต่กล่องอาวุธปืนเปล่า จากการตรวจสอบครั้งสุดท้ายพบว่าเมื่อวันที่ ๑๓ ก.ค.๒๕๒๖ยังอยู่ครบมาทราบปืนหายเมื่อวันที่ ๑๘ ก.ค.๒๕๒๖ แสดงอาวุธปืนหายไปช่วงเวลา ๑๓ กค. ถึง ๑๘ กค ๒๕๒๖ ซึ่งปืนที่หายจะหายไปพร้อมกันในคราวเดียวกันหรือมีการทยอยลักไป ก็ไม่อาจทราบได้แน่ แม้จะนำสืบไม่ได้ว่ามีการลักปืนไปในวันเดียวกันหรือทยอยลักปืนไป แต่ก็ได้ความว่าปืนพก ๘๖ กระบอกเก็บไว้ในคลังเช่นเดียวกับปืนพกที่ถูกลักไปเมื่อวันที่ ๒๒ เม.ย.๒๕๒๖โดยปืนวางไว้ในตู้และบนหลังตู้ไม่เป็นระเบียบ อยู่ในสภาพที่หยิบได้ง่าย ทั้งจำเลยที่ ๔ ก็ทราบดีว่าก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ ๒๒ เม.ย.๒๕๒๖ ปืนพกก็หายไป ๕๒ กระบอก จนมีคำสั่งให้กวดขันในเรื่องนี้ โดยให้ตรวจในชั้นในของกรมสรรพาวุธด้วยซึ่งเดิมไม้เคยตรวจมาก่อน จำเลยที่ ๔ ควรมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อป้องกันไม่ให้ปืนหายในรอบที่สอง อีก การที่จำเลยที่๔ ไม่เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย ไม่ใส่ใจปล่อยให้คลังปืนอยู่ในสภาพทรุดโทรมจนปูนที่ฉาบหลุดออกเห็นก้อนอิฐเป็นวงกว้าง ตาข่ายเหล็กที่ใช้ก็มีลักษณะบอบบางเหล็กมีขนาดเล็กเกินไป จำเลยที่ ๔ ไม่ได้แก้ไขปรับปรุงอาคารให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง ไม่รายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อของบประมาณมาดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงขนาดของเหล็กตาข่ายให้มีลักษณะใหญ่ขึ้นยากแก่การตัด และของบประมาณซ่อมตัวอาคารเพื่อให้มีสภาพมั่นคง คนไม่สามารถทุบทำลายผ่านเข้าไปได้ง่าย แต่จำเลยที่ ๔ ก็หาได้กระทำไม่ ทั้งไม่เอาใจใส่ในการเก็บอาวุธปืนเป็นเหตุให้คนมาตัดลวดตาข่ายชั้นนอกชั้นใน ความเสียหายจึงเป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ ๔ในฐานะนายคลังปืน
๑๐.จำเลยที่ ๘,๑๐,๑๒ถึง๑๕๑๗,๑๘,๒๐ถึง๓๕,๓๘,๓๙,๔๑ถึง๔๓ มีหน้าที่ตรวจเฉพาะกำแพงชั้นนอกไม่มีหน้าที่ตรวจกำแพงชั้นใน และขณะที่ตรวจก็ไม่พบเหตุการณ์ผิดปกติขณะที่เข้าเวรยาม จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ ๔ .ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่า การที่จะผ่านกำแพงชั้นในได้ต้องผ่านกำแพงชั้นนอกมาก่อน การที่คนร้ายสามารถผ่านกำแพงชั้นนอกมาได้จึงต้องถือว่าจำเลยเหล่านี้ต้องร่วมรับผิดด้วย
๑๑.ค่าเสียหายปืนที่หายไปจำเลยที่ ๔ สู้ว่าสูงเกินไปเพราะปืนบางรายไม่ได้ซื้อมาแต่ยึดมาจากผู้ลี้ภัย ส่วนจำเลยที่ ๕ ให้การว่า ไม่รู้โจทก์คิดราคาปืนอย่างไร เพราะปืนชนิดเดียวกันขนาดเดียวกันราคาแตกต่างกัน เมื่อจำเลยที่ ๔ที่ ๕ ไม่นำสืบก็ไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ การไม่นำสืบถือเป็นการยอมรับตามที่อีกฝ่ายกล่าวอ้างมา เพราะเมื่อปฏิเสธต้องมีเหตุแห่งการปฏิเสธและนำสืบให้ได้ตามเหตุที่ตนปฏิเสธ เมื่อไม่นำสืบเท่ากับยอมรับ ปวพ มาตรา ๑๗๗วรรคสอง แม้เป็นปืนชนิดเดียวกันขนาดเดียวกันแต่ซื้อมาคนละคราวราคาก็อาจแตกต่างไปได้ จึงรับฟังได้ว่าราคาอาวุธปืนเป็นไปตามที่โจทก์นำสืบ จำเลยที่ ๔ ที่ ๕ ต้องร่วมกันใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิด โดยถือผิดนัดนับแต่วันทำละเมิดแล้ว
๑๒.หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดถือผิดนัดนับแต่เวลาที่ทำละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิ์เรียกดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่ทำละเมิดซึ่งในฟ้องขอให้นับแต่วันที่ ๒๕ เม.ย.๒๕๒๖และ ๑๘ ก.ค.๒๕๒๖ มิใช่เป็นไปตามข้อต่อสู้จำเลยที่ว่าห้ามเรียกดอกเบี้ยเกิน ๕ ปี โดยโจทก์สามารถคิดดอกเบี้ยค้างส่งย้อนหลังนับแต่วันฟ้องไปได้เพียง ๕ ปี ส่วนที่เกินถือขาดอายุความตามปพพ มาตรา ๑๙๓/๓๓(๑)หาได้ไม่ เพราะเมื่อเป็นหนี้ละเมิดถือผิดนับนับแต่วันทำละเมิดจึงมีสิทธิ์เรียกดอกเบี้ยได้นับแต่วันผิดนัดหรือนับแต่วันทำละเมิด ตาม ปพพ มาตรา ๒๐๖ เมื่อเป็นหนี้เงินที่ต้องเสียดอกเบี้ยแต่ไม่ได้กำหนดดอกเบี้ยเอาไว้จึงต้องคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ๊ดครึ่งต่อปีตาม ปพพ มาตรา ๗

ตัดทอนเพิ่มเติมแก้ไขเอกสารตัวเอง

๑.ขีดฆ่าจำนวนเงินที่สั่งจ่ายในเช็คทั้งที่เป็นตัวอักษรและตัวเลขและได้พิมพ์ตัวอักษรและตัวเลขขึ้นแทน แล้วปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเซ็นกำกับในเช็ค เพื่อให้สมุห์บัญชีหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง เช็คทั้งสามฉบับเป็นเช็คของจำเลยที่ ๒ ที่จำเลยที่ ๒ เป็นคนสั่งจ่าย แม้จะขีดฆ่าตัดทอนจำนวนเงินที่ลงในเช็คเดิมทั้งตัวเลขและตัวอักษรแล้วพิมพ์เติมตัวเลขและตัวอักษรขึ้นใหม่อันเป็นเท็จ แต่ก็ไม่ได้ปลอมเช็คของผู้อื่นหรือตั้งใจให้เป็นเช็คของคนอื่น เป็นเรื่องแก้ไขเพิ่มเติมเช็คของจำเลยที่ ๒ เอง การที่จำเลยที่ ๒ ลงลายมือชื่อกำกับในเช็ค จึงไม่ได้ปลอมลายมือชื่อผู้ใด การกระทำของจำเลยที่ ๒ ไม่ผิดฐานปลอมเอกสาร มีผลให้จำเลยที่ ๑ ไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสารไปด้วย เมื่อเช็คไม่ใช่เอกสารปลอม การที่จำเลยที่ ๑ นำไปเบิกเงินจึงไม่ใช่การใช้เอกสารปลอม คำพิพากษาฏีกา๒๘๗๐/๒๕๒๖
๒.โจทก์ขอออกโฉนด เจ้าพนักงานทำเสร็จและประกาศแจกโฉนดให้ราษฏร์ โจทก์มาเซ็นชื่อรับและเสียค่าธรรมเนียม แต่ยังไม่ได้รับมอบโฉนด มีผู้มาขออายัดการขอโฉนด จำเลยจึงไม่แจกโฉนดและลบวันเดือนปีและลายเซ็นของจำเลยออกไป เมื่อยังไม่ได้มีการมอบโฉนด ถือไม่ได้ว่าออกโฉนดแล้ว โฉนดยังอยู่ในความครอบครองของเขจ้าพนักงาน ยังอยู่ในการดำเนินการของเจ้าพนักงาน เมื่อมีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไข เจ้าพนักงานสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่เป็นการปลอมเอกสาร คำพิพากษาฏีกา ๑๙๗/๒๕๐๙
๓. ใบเสร็จรับเงินค่ารายศพของสมาคมฌาปนกิจวัดไก้เตี้ยที่มีใบแจ้งมรณะบัตรของศพนาย ช. และนาง ห. อยู่ในแผ่นเดียวกัน ซึ่งมีจำนวนเงินที่สมาคมฯจ่ายให้โดยระบุชื่อตามใบเสร็จเพื่อไปเรียกเก็บเงินจากสมาชิกรายละ ๘ บาท การที่ไปเรียกเก็บเงินมาแล้วไม่นำเงินมามอบให้ทายาท นาง ห. แต่ได้ฉีกหรือตัดทอนข้อความที่แสดงว่านาง ห. ถึงแก่กรรมและลายมือชื่อจำเลยที่ ๓ ซึ่งลงลายมือชื่อไว้ออกไปเสีย ศาลฏีกาเห็นว่า หนังสือที่บุคคลหนึ่งทำขึ้น บุคคลนั้นก็ชอบที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขอย่างใดก่อนที่จะส่งให้บุคคลอื่นไป แม้จะได้มีการตัดทอนข้อความและลายมือชื่อออกไป ก็ไม่เกิดความเสียหายต่อผู้หนึ่งผู้ใด ส่วนสมาคมต้องรับผิดชำระเงินแก่ทายาทหรือไม่เพียงใด ก็แล้วแต่สัญญาที่ทำกันขึ้น คำพิพากษาฏีกา ๑๒๓/๒๕๐๗
ข้อสังเกต ๑.เช็คเป็นตราสารที่ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษรตัวเลขหรือวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายว่า ผู้สั่งจ่ายสั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งตามที่ระบุไว้ในเช็ค เมื่อถูกทวงถามหรือให้ใช้เงินตามคำสั่งของบุคคลหนึ่งที่เรียกว่า ผู้รับเงิน หรือผู้ทรงเช็คตาม ปพพ มาตรา ๙๘๗ ดังนั้น เช็คจึงเป็นเอกสารตาม ปอ. มาตรา๑(๗) มีคำพิพากษาฏีกาที่ ๔๙๖/๒๕๔๒วินิจฉัยว่า ต้นฉบับชุดฝากเงินสดและเช็คมีข้อความแสดงว่า ได้รับเงินเพื่อฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของผู้เสียหาย ย่อมเป็นหลักฐานในการก่อตั้งสิทธิ์ของผู้เสียหายที่จะเรียกถอนเงินฝากคืนได้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารสิทธิ์
๒.การแก้ไขด้วยประการใดๆในเอกสารที่แท้จริงหรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร โดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร ปอ. มาตรา ๒๖๔
๓.การที่จำเลยที่ ๒ ขีดฆ่าจำนวนเงินที่สั่งจ่ายในเช็คทั้งที่เป็นตัวอักษรและตัวเลขและได้พิมพ์ตัวอักษรและตัวเลขขึ้นแทน แล้วปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเซ็นกำกับในเช็ค เพื่อให้สมุห์บัญชีหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ย่อมเป็นการแก้ไขด้วยประการใดๆในเช็คที่เป็นเอกสารที่แท้จริงแล้ว แต่เมื่อ เช็คทั้งสามฉบับเป็นเช็คของจำเลยที่ ๒ ที่จำเลยที่ ๒ เป็นคนสั่งจ่าย แม้จะขีดฆ่าตัดทอนจำนวนเงินที่ลงในเช็คเดิมทั้งตัวเลขและตัวอักษรแล้วพิมพ์เติมตัวเลขและตัวอักษรขึ้นใหม่อันเป็นเท็จ แต่ก็ไม่ได้ปลอมเช็คของผู้อื่นหรือตั้งใจให้เป็นเช็คของคนอื่น เป็นเรื่องแก้ไขเพิ่มเติมเช็คของจำเลยที่ ๒ เอง การที่จำเลยที่ ๒ ลงลายมือชื่อกำกับในเช็ค เมื่อไม่ได้ปลอมลายมือชื่อผู้ใด การกระทำของจำเลยที่ ๒ ไม่ผิดฐานปลอมเอกสาร นั้นก็คือ เมื่อเป็นเอกสารของจำเลยแล้วจำเลยทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้น แม้จะไม่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงแล้วจำเลยลงลายมือชื่อของจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อของบุคคลอื่น เอกสารดังกล่าวคงเป็นเพียงเอกสารที่มีข้อความอันเป็นเท็จแต่ไม่ใช่เอกสารปลอม จึงไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสาร แต่หากจำเลยแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารของจำเลยแต่ไปปลอมลายมือชื่อบุคคลอื่นเซ็นกำกับ เท่ากับว่า มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยบุคคลอื่นจึงได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้ หากเป็นดังนี้การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารแล้ว
๔.เมื่อการกระทำของจำเลยที่ ๒ ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร จำเลยที่ ๑ ที่ได้ร่วมกระทำการด้วยก็ไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสารด้วยเพราะเป็นเหตุในลักษณะแห่งคดี ไม่ใช่เหตุส่วนตัวตาม ปอ มาตรา ๘๙ แต่เป็นเหตุในลักษณะแห่งคดีตามปวอ มาตรา๒๑๓,๒๒๕ แม้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ฏีกา ศาลฏีกาก็มีคำพิพากษาไปถึงจำเลยที่ไม่ได้ฏีกาได้ด้วย เพราะเมื่อการกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิดตามกฎหมายแล้ว ปวอ มาตรา ๑๘๕,๒๑๕,๒๒๕ ให้ศาลพิพากษายกฟ้อง เมื่อเป็นเหตุในลักษณะแห่งคดีจึงมีผลถึงจำเลยทุกคนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดในคตราวเดียวกันด้วย
๕..เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสาร การที่จำเลยที่ ๑ นำเอกสารดังกล่าว(เช็ค)ไปขึ้นเงินกับธนาคารจึงไม่ใช่การใช้เอกสารปลอม
๖.โฉนดเป็นเอกสารที่ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษรตัวเลขและวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น โดยเป็นเอกสารที่แสดงความเป็นเจ้าของและการครอบครองที่ดินว่าที่ดินซึ่งมีพิกัดอยู่ที่นี้ ตำบล อำเภอจังหวัดนี้มีเนื้อที่เท่านี้มีใครเป็นเจ้าของผู้ครอบครองดูแลรักษา โฉนดจึงเป็นเอกสารที่ทำให้ปรากฏความหมายแสดงความเป็นเจ้าของและเป็นผู้มีสิทธิ์ครอบครองด้วยตัวอักษรตัวเลขและวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น จึงเป็นเอกสารตาม ปอ. มาตรา ๑(๗) เมื่อเป็นเอกสารที่ทางราชการทำขึ้นจึงเป็นเอกสารราชการ ตามปอ. มาตรา ๑(๘) และเมื่อโฉนดเป็นเอกสารหลักฐานที่ก่อตั้ง เปลี่ยนแปลง โอนสงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ์แล้วย่อมเป็นเอกสารสิทธิ์ที่เป็นเอกสารราชการตาม ปอ. มาตรา ๑(๗)(๘)(๙) เพราะตาม ปพพ. มาตรา ๑๓๗๓สันนิษฐานว่าที่ดินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดิน ผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิ์ครอบครอง เมื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ครอบครอง ปพพ. มาตรา ๑๓๗๐ สันนิษฐานว่าครอบครองโดยสงบเปิดเผย และเมื่อผู้ครอบครองใช้ทรัพย์สินที่ครอบครอง ปพพ มาตรา ๑๓๗๒ สันนิษฐานว่าเป็นสิทธิ์ที่ผู้ครอบครองมีตามกฎหมาย อีกทั้งประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา ๓(๑) บัญญัติว่าบุคคลย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการได้มาซึ่งโฉนดที่ดินตามที่ประมวลกฏหมายที่ดินบัญญัติไว้ โฉนดที่ดินจึงเป็นหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์และความเป็นเจ้าของที่ดินจึงเป็นเอกสารแห่งการก่อตั้งสิทธิ์ในการที่จะจำหน่ายใช้สอยและมีสิทธิ์ติดตามเอาคืนจากผู้ไม่มีสิทธิ์ยึดถือและมีสิทธิ์ขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นเข้ามาสอดเกี่ยวข้องโดยมิชอบตามปพพ มาตรา ๑๓๓๖ โฉนดที่ดิน จึงเป็นเอกสารสิทธิ์ ซึ่งมีคำพิพากษาศาลฏีกาที่ ๑๙๐๔/๒๕๕๔,๘๔๙๐/๒๕๒๑ วินิจฉัยว่า โฉนดที่ดินเป็นเอกสารสิทธิ์ อันเป็นเอกสารราชการด้วย
๗.การขอออกโฉนดแม้เจ้าพนักงานทำเสร็จและประกาศแจกโฉนดให้มารับไป แม้ผู้มีชื่อรับโฉนดจะมาเซ็นชื่อรับและเสียค่าธรรมเนียมแล้ว แต่ตราบใดยังไม่ได้รับมอบโฉนดจะถือว่ามีการออกโฉนดโดยสมบรูณ์แล้วไม่ได้ ต่อมาเมื่อ มีผู้มาขออายัดการขอโฉนด การที่เจ้าพนักงานไม่แจกโฉนดและลบวันเดือนปีและลายเซ็นของตนออกไป เมื่อโฉนดยังอยู่ในความครอบครองของเจ้าพนักงาน ยังอยู่ในการดำเนินการของเจ้าพนักงาน เจ้าพนักงานย่อมสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงได้ เมื่อมีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไข เจ้าพนักงานสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ แม้จะเป็นการแก้ไขข้อความในโฉนดที่แท้จริง แต่เมื่อผู้แก้ไขมีอำนาจแก้ไขได้ การแก้ไขดังกล่าวจึง ไม่เป็นการปลอมเอกสารสิทธิ์ที่เป็นเอกสารราชการ แต่หากได้ส่งมอบโฉนดให้ราษฏร์ไปแล้ว นำโฉนดที่มอบให้ไปนั้นมาทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขดังนี้ย่อมเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ์อันเป็นเอกสารราชการได้ เพราะเมื่อมอบโฉนดแล้ว โฉนดไม่ได้อยู่ในความครอบครองไม่ได้อยู่ในอำนาจที่เจ้าพนักงานจะทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
๘.หนังสือที่บุคคลหนึ่งทำขึ้น บุคคลนั้นก็ชอบที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขอย่างใดก่อนที่จะส่งให้บุคคลอื่นไป ตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบให้บุคคลภายนอก ผู้ทำหนังสือย่อมมีสิทธิ์ที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมตัดทอนข้อความออกไปได้ ดังนั้นหากยังไม่มีการส่งมอบหนังสือนั้นให้แก่บุคคลภายนอกผู้ทำหนังสือนั้นแม้จะได้มีการตัดทอนแก้ไขเพิ่มเติมข้อความและตัดลายมือชื่อของตนออกไป ก็ไม่เกิดความเสียหายต่อผู้หนึ่งผู้ใด ส่วนเมื่อตัดทอนข้อความและลายมือชื่อออกไปแล้วต้องรับผิดชำระเงินแก่ผู้เสียหายหรือไม่เพียงใด ก็แล้วแต่สัญญาที่ทำกันขึ้น ก็เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก
๘.ใบเสร็จรับเงินค่ารายศพของสมาคมฌาปนกิจวัดไก้เตี้ยที่มีใบแจ้งมรณะบัตรของศพนาย ช. และนาง ห. อยู่ในแผ่นเดียวกัน ซึ่งมีจำนวนเงินที่สมาคมฯจ่ายให้โดยระบุชื่อตามใบเสร็จเพื่อไปเรียกเก็บเงินจากสมาชิกรายละ ๘ บาท การที่ไปเรียกเก็บเงินมาแล้วไม่นำเงินมามอบให้ทายาท นาง ห. แต่ได้ฉีกหรือตัดทอนข้อความที่แสดงว่านาง ห. ถึงแก่กรรมและลายมือชื่อจำเลยที่ ๓ ซึ่งลงลายมือชื่อไว้ออกไปเสีย จึงเสมือนหนึ่งว่า นาง ห. ไม่ได้ถึงแก่ความตาย ยังไม่มีการเรียกเก็บเงินจากสมาชิกเพื่อนำไปมอบให้แก่ทายาทนาง ห. แม้ศาลฏีกาวินิจฉัยว่าไม่มีความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม จึงไม่ต้องมาพิจารณาว่าใบเสร็จดังกล่าวเป็นเอกสารสิทธิ์หรือไม่อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเอกสารสิทธิ์หรือไม่ก็ตามเมื่อศาลวินิจฉัยว่าไม่เป้นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมแล้ว ย่อมไม่อาจเป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ์ปลอมได้ แต่ การกระทำดังกล่าวจะเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์หรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากันเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างจากคดีนี้

แล้วแต่ดวง

“คำพิพากษาในแนวแรก
๑.หลอกลวงว่าสามารถวิ่งเต้นอัยการและศาลล้มคดีได้ จึงได้มอบเงินให้ ถือมีวัตถุประสงค์เป็นการร่วมกับจำเลยนำสินบนไปให้เจ้าพนักงาน ถือว่าใช้ให้จำเลยกระทำความผิด แม้จะไม่ทราบว่านำเงินไปวิ่งเต้นคดีหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกง คำพิพากษาฏีกา ๕๑๗๒/๒๕๕๔
๒.มอบเงินให้ไปวิ่งเต้นติดสินบนเจ้าพนักงานเพื่อนำไม้จากต่างประเทศเข้าประเทศไทย แม้จำเลยจะไม่ได้นำไปวิ่งเต้นติดสินบน แต่เมื่อมีวัตถุประสงค์เพื่อให้จำเลยไปวิ่งเต้นติดสินบนซึ่งเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ถือมีส่วนร่วมในการกระทำผิด ไม่ใช่ผู้เสียหาย คำพิพากษาฏีกา ๑๐๑๐๗/๒๕๒๕๓
๓.มอบเงินให้จำเลยเพื่อไปมอบให้คณะกรรมการสอบหรือบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งเสมียน เพื่อให้บุตรเข้ารับราชการโดยไม่ต้องสอบเป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบกฏหมาย ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฉ้อโกง แม้ร้องทุกข์ก็ไม่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง คำพิพากษาฏีกา ๑๙๖๐/๒๕๓๔
๔.มอบเงินให้จำเลยเพื่อเป็นการตอบแทนที่จำเลยเสนอเรื่องขอซื้อสินค้าของผู้เสียหายต่อผู้บังคับบัญชาจนเป็นผลสำเร็จ เป็นการมอบเงินเพื่อจูงใจให้กระทำการอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย คำพิพากษาฏีกา๒๙๒๕/๒๕๓๑
๕.สมัครใจนำเงินร่วมกับจำเลยทั้งสองเล่นการพนันเพื่อโกง ท. และแสดงการโกงการพนันให้ผู้เสียหายและสอนวิธีการโกง ขณะเล่นผู้เสียหายก็อยู่ในห้องด้วย ถือสมัครใจเล่นการพนันไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย คำพิพากษาฏีกา ๑๙๑๓/๒๕๔๖,๑๘๑๓/๒๕๓๑,๔๓๖/๒๕๓๐,๔๘๑/๒๕๒๔
คำพิพากษาแนวที่สอง
๑.ตกลงว่าหากมอบเงินให้ บุตรจะเข้าโรงเรียนนายสิบทหารบกได้ ต่อมาก็ไม่สามารถสอบเข้าได้ เพราะจำเลยไม่สามารถช่วยให้เข้าเรียนได้ ไม่ปรากฏว่ามอบเงินให้เพื่อนำไปมอบให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจเกี่ยวข้องในการสอบ เป็นเพียงหลอกลวงเพื่อให้ได้เงิน ไม่ถือร่วมกับจำเลยให้สินบนเจ้าพนักงาน จึงเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย คำพิพากษาฏีกา ๔๗๔๔/๒๕๓๗
๒.มอบเงินให้จำเลยเพื่อให้สามารถเข้าเป็นสารวัตรทหารโดยไม่ต้องสอบ ไม่ปรากฏว่าให้เงินไปเพื่อนำไปให้ข้าราชการทหารคนหนึ่งคนใดอันไม่ชอบด้วยหน้าที่ ถือไม่ได้ว่าใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด จึงเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายที่จะร้องทุกข์ได้ ส่วนที่ทำบันทึกกันว่า “ หากจำเลยนำเงินมาคืนภายในกำหนดจะไม่เอาเรื่องทั้งทางแพ่งและทางอาญา ไม่ใช่เป็นการยอมความโดยสิ้นเชิง เป็นการยอมความโดยมีเงื่อนไข สิทธิ์ในการนำคดีมาฟ้องระงับไปต่อเมื่อได้ชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายแล้วเท่านั้น คำพิพากษาฏีกา ๑๕๐๐/๒๕๓๖
๓.หลอกว่าสามารถช่วยให้เป็นเจ้าพนักงานการรถไฟโดยไม่ต้องสอบโดยต้องเสียเงินเพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายและค่าติดต่อกับผู้ใหญ่ ไม่ปรากฏว่าให้เงินไปเพื่อจูงใจเจ้าพนักงานให้กระทำการอันไม่ชอบด้วยหน้าที่ ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด เป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย คำพิพากษาฏีกา ๒๑๗๔/๒๕๓๐
๔.ถูกหลอกให้มาร่วมลงทุนเล่นการพนัน เป็นเพียงแผนการที่สร้างเพื่อหลอกเอาเงินจากผู้เสียหาย ทั้งผู้เสียหายก็ไม่มีเจตนาร่วมเล่นกับจำเลยมาแต่ต้น การมอบเงินให้จึงเป็นการตกหลุมพรางที่วางไว้โดยถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายเข้าร่วมเล่นการพนันกับจำเลยทั้งสอง เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย คำพิพากษาฏีกา ๕๖๑๒/๒๕๕๖
๕.หลอกให้ร่วมเล่นการพนันเพื่อให้ พ. ไม่ต้องเสียเงิน จึงได้ร่วมเล่นด้วย เป็นเหตุการณ์ที่จำเลยกับพวกสร้างขึ้นมาเพื่อเอาเงินโดยวิธีการอันแนบเนียน ไม่ได้เป็นผู้สร้างเรื่องให้มีการเล่นการพนัน ไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย คำพิพากษาฏีกา ๓๓๒๗/๒๕๓๒
ข้อสังเกต ๑. ผู้เสียหาย คือบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดอาญาฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย ซึ่งการที่จะเป็นผู้เสียหายนั้น ต้องได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดอาญาฐานใดฐานหนึ่ง และต้องไม่มีส่วนรู้เห็นหรือร่วมในการกระทำความผิดอาญาด้วย หากมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดอาญา ย่อมเป็นเพียงผู้เสียหายโดยพฤตินัย แต่ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย หากเป็นความผิดต่อส่วนตัวแม้จะมาร้องทุกข์ก็ไม่ทำให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจในการสอบ พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องคดี หากเป็นความผิดที่เป็นอาญาแผ่นดินแม้ไม่ใช่การร้องทุกข์โดยชอบเพราะไม่ใช่ผู้เสียหายเพราะมีส่วนร่วมในการกระทำ แต่ก็ถือว่าเป็นการกล่าวโทษโดยบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้เสียหายได้กล่าวโทษต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีบุคคลหนึ่งบุคคลใดได้กระทำความผิดอาญาขึ้น โดยผู้ที่จะเป็นโจทก์ฟ้องในกรณีนี้ได้คือ พนักงานอัยการ แต่ผู้เสียหายไม่สามารถฟ้องเองได้เพราะไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฏหมายเพราะมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด
๒.การมอบเงินเพื่อให้นำไปวิ่งเต้นคดีหรือนำไปติดสินบนเพื่อนำไม้จากต่างประเทศเข้ามาในประเทศ หรือการมอบเงินเพื่อให้นำไปมอบให้แก่คณะกรรมการสอบ หรือเพื่อเป็นการตอบแทนที่สามารถวิ่งเต้นให้สินค้าของตนสามารถขายในหน่วยงานของทางราชการได้ ในกรณีเหล่านี้แม้จำเลยจะไม่ได้นำเงินดังกล่าวไปมอบให้เจ้าพนักงานหรือนำเงินไปมอบก็ตาม ถือผู้เสียหายมีส่วนในการกระทำความผิดฐานให้ ขอให้ รับว่าจะให้ เงินหรือทรัพย์สินอื่นแก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจเจ้าพนักงานให้กระทำการหรือไม่กระทำการตามหน้าที่ ถือเป็นการใช้ให้เจ้าพนักงานกระทำความผิดแล้วจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะดำเนินคดีฐานฉ้อโกงกับจำเลยได้ แม้ว่าจำเลยรับเงินแล้วจะไปวิ่งเต้นหรือไม่ได้ไปวิ่งเต้นเจ้าพนักงานก็ตาม
๓.แต่อย่างไรก็ตามมีคำพิพากษากลุ่มที่สองที่วินิจฉัยว่า การมอบเงินให้จำเลยไป ไม่ปรากฏว่ามอบเงินเพื่อให้จำเลยนำไปจูงใจเจ้าพนักงานให้กระทำการอันไม่ชอบด้วยหน้าที่ เป็นผู้เสียหายที่สามารถดำเนินคดีได้ ด้วยความเครารพในคำพิพากษาแนวที่สอง ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่า เมื่อมีการวิ่งเต้นให้มีการสอบเข้ารับราชการได้หรือสามารถเข้าทำงานได้ เมื่อตัวผู้ที่มาวิ่งเต้นไม่มีอำนาจในการจัดสอบ หรือแม้ว่ามีอำนาจในการจัดสอบก็ตาม การมอบเงินให้ก็เท่ากับเป็นการให้ ขอให้ รับว่าจะให้ เงินและทรัพย์สินอื่นใดแก่เจ้าพนักงานในการกระทำการที่ไม่ชอบด้วยหน้าที่แล้ว การมอบเงินให้จะอ้างว่าไม่ปรากฏว่ามอบเงินให้จำเลยเพื่อให้จำเลยไปวิ่งเต้นให้เจ้าพนักงานกระทำการอันไม่ชอบด้วยหน้าที่นั้นน่าจะไม่ถูกต้อง เพราะรู้ทั้งรู้ว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงานที่มีอำนาจให้สอบเข้าได้ หรือแม้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจในการจัดสอบ แต่การช่วยเหลือให้สอบเข้าได้ย่อมเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยระเบียบแบบแผนและกฎหมาย ซึ่งก็หมายความว่า ให้เงินแก่จำเลยซึ่งเป็นตัวกลางที่จะนำเงินไปให้เจ้าพนักงานอีกที การมอบเงินให้ก็มีเจตนาชั่วร้ายอยู่ในตัวที่ต้องการเอาเปรียบผู้สอบแข่งขันรายอื่นเพื่อให้ตนสามารถเข้าไปเรียนหรือเข้าไปทำงานได้ และหากเรียนจบมาก็คงต้องวิ่งเต้นให้ตนเองสามารถเข้าทำงานได้ เมื่อเข้าทำการได้ก็จะต้องถอนทุนคืนที่เสียเงินวิ่งเต้นให้เข้าเรียนหรือเข้าทำงานได้ การกระทำดังกล่าวมีเจตนาชั่วร้ายอยู่ในตัวแล้ว และรู้ทั้งรู้ว่าการมอบเงินให้เพื่อไปวิ่งเต้นเจ้าพนักงาน ไม่ว่าจะมีการไปวิ่งเต้นหรือไม่ก็ตาม ก็ถือมีเจตนาชั่วร้ายอยู่ในตัวจึงไม่น่าใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะดำเนินคดีได้
๔.ส่วนการที่ศาลฏีกาวินิจฉัยว่า ถูกหลอกให้มาร่วมลงทุนเล่นการพนัน เป็นเพียงแผนการที่สร้างเพื่อหลอกเอาเงินจากผู้เสียหาย ทั้งผู้เสียหายก็ไม่มีเจตนาร่วมเล่นกับจำเลยมาแต่ต้น การมอบเงินให้จึงเป็นการตกหลุมพรางที่วางไว้โดยถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายเข้าร่วมเล่นการพนันกับจำเลยทั้งสอง หรือการถูกหลอกให้เล่นการพนัน เพื่อให้ พ. ไม่ต้องเสียเงิน จึงได้ร่วมเล่นด้วย เป็นเหตุการณ์ที่จำเลยกับพวกสร้างขึ้นมาเพื่อเอาเงินโดยวิธีการอันแนบเนียน นั้นด้วยความเครารพในคำพิพากษาศาลฏีกา การเล่นการพนันเป็นสิ่งผิดกฎหมาย การพนันขันต่อหาก่อให้เกิดหนี้ สิ่งที่ได้ให้กันไปในการพนันทวงคืนไม่ได้เพราะหามูลหนี้ไม่ได้ ปพพ มาตรา ๘๕๓ การที่มอบเงินให้ไปเพื่อให้นำไปเล่นการพนัน ถือมีส่วนร่วมในการเล่นการพนันด้วย หรือใช้ให้ผู้อื่นเล่นการพนัน ดังนั้นจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย หาใช่เป็นเพียงหลุมพรางที่จำเลยขุดขึ้นมาหรือเป็นวิธีการอันแนบเนียนในการหลอกเพื่อให้ได้เงินแต่อย่างใดไม่ เป็นความเห็นส่วนตัวครับ
๕.นำเงินเพื่อเข้าร่วมเล่นการพนันโดยจำเลยสอนวิธีการเล่นและวิธีการโกงและขณะเล่นการพนันก็อยู่ในที่เกิดเหตุ แสดงให้เห็นว่ามีเจตนาร่วมเล่นการพนัน ทั้งตามพรบ.การพนันฯ มาตรา ๖ ก็สันนิษฐานว่าอยู่ในวงการพนันให้สันนิษฐานว่าเล่นการพนัน เมื่อฟังได้ว่ามีเจตนาร่วมเล่นการพนันอันเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมาย ถือมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ซึ่งในกรณีนี้มีคำพิพากษาฏีกาที่ ๒๙๐๕/๒๕๔๓ วินิจฉัยว่า จำเลยทำทีขอเช่าที่ดินจากผู้เสียหายเพื่อสร้างความสนิทสนม แล้วพาไปที่บ้านให้ดื่มน้ำผสมของมึนเมา แล้วพาผู้เสียหายไปถอนเงินและยืมเงินไปเล่นการพนัน โดยไม่เคยปริปากพูดถึงเรื่องการเช่าที่ดิน เป็นแผนการที่หากไม่มีการนัดแนะกันมาก่อนย่อมจะเกิดสอดคล้องกันได้ยาก ตามคำพิพากษานี้เห็นว่ามีแผนการหลอกผู้เสียหายโดยทำทีเป็นจะมาขอเช่าที่ดินเพื่อสร้างความคุ้นเคย มีการพาไปที่บ้านให้ดื่มของมึนเมา พาไปถอนเงินที่ธนาคารแล้ว “ ยืมเงิน” ไปเล่นการพนันแล้วเสียการพนันทั้งหมด เป็นแผนการที่จำเลยกับกระทำขึ้น หาใช่ผู้เสียหายมีเจตนาที่จะเข้าร่วมเล่นการพนันแต่อย่างใดไม่ ทั้งเงินที่มอบให้ไปจำเลยก็อ้างว่า “ขอยืม” ไม่ได้ขอหรือผู้เสียหายมอบให้เพื่อเล่นการพนัน จึงเป็นผู้เสียหายตามกฏหมาย
๕.เมื่อมีคำพิพากษาออกเป็นสองแนวแบบนี้ก็แล้วแต่ครับว่าจะเจอผู้พิพากษาที่ยึดแนวใดเป็นเกณท์

มีส่วนกระทำความผิดด้วย

๑.ผู้ว่าจ้างให้ผู้รับจ้างสร้างอาคารก่อนได้รับอนุญาต เทศบาลอนุญาตให้ก่อสร้างได้โดยต้องแก้ไขแบบแปลนใหม่ ต่างต้องเฉลี่ยความเสียหายด้วยกัน คำพิพากษาฏีกา ๒๑๔๕/๒๕๒๓
๒.ปล่อยให้ผู้โดยสารห้อยที่บันไดรถ ถือมีส่วนประมาทด้วย คำพิพากษาฏีกา ๖๒๓/๒๕๒๕
๓.ปล่อยปละละเลยจนสัตว์เข้าไปในที่ของคนอื่น บ่อยๆ จนถูกเจ้าของที่ฆ่าสัตว์ถือว่าเจ้าของสัตว์ต้องร่วมรับผิดด้วย คำพิพากษาฏีกา ๑๔๔/๒๔๙๒
๔.ขับเรือโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนท่าเรือ โจทก์ก็มีมีส่วนผิดที่ไม่จุดไฟที่สะพานเทียบเรือ คำพิพากษาฏีกา ๔๔๐/๒๕๐๙
๕.เอาเครื่องกั้นทางรถไฟไปซ่อมไม่มีเจ้าหน้าที่คอยดูแลป้องกันถือประมาท ส่วนคนขับรถที่ฝ่าสัญญาณไปก็ถือว่าประมาทด้วย ต่างฝ่ายต่างต้องรับผิด คำพิพากษาฏีกา ๒๗๕๕/๒๕๒๓
๖.ต่างฝ่ายต่างประมาทขับรถชนกัน ต่างฝ่ายต่างต้องรับผิด คำพิพากษาฏีกา ๑๖๔๐/๒๕๒๐ , ๑๖๔๐/๒๕๒๐ ,๓๔ ๒๕๒๔,๙๙๘๑๑ และ๕๘๐/๒๕๒๕,
๗.ธนาคารเก็บเงินตามเช็คให้ลูกค้าไม่ได้ก็ไม่ได้แจ้งให้ลูกค้าทราบ ทำให้ลูกค้าเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ ธนาคารต้องรับผิด แต่อย่างไรก็ตามลูกหนี้ของลูกค้าสามารถชำระหนี้ได้เพียง ๕๐ %เท่านั้น ลูกค้าไม่ยอมรับชำระหนี้จำนวนนี้จากลูกหนี้ ถือลูกค้าไม่พยายามบำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหายมีส่วนผิดด้วย ธนาคารจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้ คำพิพากษาฏีกา ๑๗๒๕/๒๕๐๖
ข้อสังเกต ๑.หากผู้เสียหายมีส่วนทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น ค่าสินไหมทดแทนที่จะพึงใช้ให้แก่ผู้เสียหายมากน้อยประการใดต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญคือความเสียหายที่ก่อนั้นใครก่อให้เกิดมากน้อยหยิ่งหย่อนกว่ากัน รวมทั้งความผิดที่ผู้เสียหายละเลยไม่เตือนลูกหนี้ให้รู้ถึงความเสียหายอันเป็นการร้ายแรงผิดปกติ ซึ่งลูกหนี้ไม่รู้หรือไม่อาจรู้ได้ หรือละเลยไม่บำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหาย ปพพ มาตรา ๒๒๓
๒. ในกากรก่อสร้างอาคารต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนโดยต้องนำแบบแปลนให้ทางเจ้าหน้าที่ตรวจสอบก่อนว่าสามารถก่อสร้างได้หรือไม่อย่างไร มีความมั่นคงแข็งแรงปลอดภัยขนาดไหนเพียงไรซึ่งทางพนักงานเจ้าหน้าที่ จะตรวจสอบในแบบแปลนถึงประเภท ลักษณะ แบบ รูปทรงสัดส่วน ขนาด เนื้อที่ และที่ตั้งอาคาร ตลอดทั้งการรับน้ำหนักความทนทาน คุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและระบบไฟฟ้า ประปา พื้นที่ดินที่รองรับตัวอาคารเป็นต้น เพื่อป้องกันอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้ก่อสร้างหรือบุคคลอื่น ดังนั้นผู้ใดจะก่อสร้างอาคารต้องขออนุญาตก่อนจากเจ้าหน้าที่ก่อนทำการก่อสร้างและเมื่อได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างได้จึงจะทำการก่อสร้างได้ไม่ใช่ว่าทำการก่อสร้างไปพลางก่อนระหว่างที่รอคำสั่งอนุญาต การที่ ผู้ว่าจ้างให้ผู้รับจ้างสร้างอาคารก่อนได้รับอนุญาต เท่ากับใช้ให้ผู้ก่อสร้างกระทำความผิดตามกฎหมาย และหากไม่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง จะต้องรื้อถอนสิ่งก่อสร้างดังกล่าว และต้องยอมรับว่าหากเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตหรือให้เปลี่ยนแปลงรูปทรงของอาคารอย่างไร อาจต้องทำการทุบหรือรื้อถอนอาคารได้ ดังนั้นเมื่อทำการก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากแล้ว เทศบาลอนุญาตให้ก่อสร้างได้แต่ต้องแก้ไขแบบแปลนใหม่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นถือผู้เสียหายมีส่วนผิดด้วย และในขนาดเดียวกันผู้ก่อสร้างก็มีส่วนผิดด้วยที่ยอมทำการก่อสร้างไปตามคำสั่งผู้ว่าจ้างทั้งที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจากเจ้าพนักงาน ดังนั้นจึงต่างต้องเฉลี่ยความเสียหายด้วยกัน
๒.คนขับรถประจำทางมีหน้าที่ต้องตรวจตราสอดส่องดูแลความปลอดภัยของผู้โดยสารในรถที่ตนขับ หากเห็นว่ามีการยืนหรือการห้อยแขนขาหรือศรีษะออกนอกตัวรถหรือยืนบนบันไดรถทั้งที่สามารถขึ้นไปยืนข้างบนได้ หรือมีผู้โดยสารจำนวนมากการมายืนบนบันไดอาจเป็นอันตรายแก่ผู้โดยสารก็ต้องบอกกล่าวให้ผู้โดยสารขึ้นไปยืนข้างบนภายในตัวรถหรือให้โดยสารไปกับรถประจำทางคันหลังที่กำลังตามมา การที่คนขับขี่ยังคงปล่อยให้ผู้โดยสารยืนห้อยรถเมล์ที่ตรงประตูย่อมเล็งเห็นได้ว่าอาจเกิดอันตรายต่อผู้โดยสารได้ ถือเป็นความประมาทของคนขับ และในขณะเดียวกันก็ต้องถือว่าผู้โดยสารที่ยืนบนบันไดมีส่วนประมาทด้วยเพราะการยืนบนบันไดรถอาจพลัดตกลงไปได้ จึงต้องถือว่าต่างคนต่างประมาท แต่ไม่ใช่การประมาทร่วมกัน เพราะความประมาทไม่อาจร่วมกันประมาทได้เพราะการกระทำโดยประมาทไม่ใช่เรื่องตั้งใจที่จะให้เกิดขึ้นแต่เป็นเรื่องของความไม่รอบคอบขาดความระมัดระวัง จึงไม่อาจมีการกระทำโดยประมาทร่วมกันได้ ไม่เหมือนเรื่องเจตนาที่สามารถมีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดได้ แต่การกระทำโดยประมาทไม่สามารถร่วมกันกระทำโดยประมาทได้ แต่เป็นเรื่องที่ต่างคนต่างกระทำ ในกรณีนี้ถือผู้โดยสารมีส่วนประมาทด้วย ดังนั้นสินไหมทดแทนที่ผู้เสียหายพลักตกจากรถจะมากน้อยประการใด พฤติการณ์อยู่ที่ฝ่ายใดประมาทยิ่งหย่อนกว่ากัน
๓.การที่ปล่อยปละละเลยจนสัตว์เข้าไปในที่ของคนอื่นเป็นความผิดตาม ปอ. มาตรา ๓๙๕ การที่ปล่อยปละละเลยจนสัตว์เลี้ยงของตนเข้าไปในที่ของคนอื่นบ่อยๆ แม้จะเป็นความผิดตามกฎหมาย แต่ก็เป็นความผิดที่บุคคลคือ “เจ้าของสัตว์” ต้องรับผิด แต่ “ตัวสัตว์” ที่เข้าไปในที่ของคนอื่นไม่ได้กระทำการละเมิดต่อกฎหมายอาญาแต่อย่างใด เพราะ “สัตว์” ไม่สามารถกระทำความผิดกฎหมายได้ แต่เป็นเรื่องเจ้าของสัตว์ต้องรับผิดฐานปล่อยปละละเลยฯ การที่สัตว์เข้าไปในที่คนอื่น ไม่ถือว่าสัตว์ได้กระทำความผิดกฎหมายอาญาที่เจ้าของที่ดินจะใช้สิทธิ์ในการป้องกันตามปอ. มาตรา ๖๘ได้ เพราะการป้องกันตาม ปอ. มาตรา ๖๘ เป็นเรื่องการป้องกันภยันตรายที่เกิดจากการ “ประทุษร้ายอันละเมิดกฎหมาย” แต่สัตว์ไม่สามารถละเมิดกฎหมายได้จึงไม่อาจอ้างเรื่องป้องกันได้ แต่อาจอ้างว่าเป็นการกระทำด้วยความจำเป็น เพื่อให้ตนเองพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยวิธีอื่นใด จึงจำเป็นต้องกระทำการบางอย่างเพื่อหยุดยั้งภยันตรายนั้นเสีย แต่ก็ต้องกระทำพอสมควรแก่เหตุ แต่เจ้าของที่ดินจึงไม่มีสิทธิ์ที่จะทำการฆ่าสัตว์ได้ แต่ต้องดำเนินการอย่างอื่นเพื่อกันไม่ให้สัตว์เข้าไปในที่ของตนเองหรือทำการไล่สัตว์นั้นเสีย หรือบอกให้เจ้าของสัตว์นำสัตว์ออกไป หากสัตว์เข้ามาแล้วมาทำความเสียหายอย่างไรจะเรียกค่าเสียหายอย่างไรก็เป็นเรื่องที่ต้องมาว่ากันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง การที่เจ้าของที่ดินทำการฆ่าสัตว์ แม้จะเป็นการกระทำละเมิดต่อเจ้าของสัตว์ที่เจ้าของที่ดินไม่อาจอ้างเรื่องกระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฏหมายหรือกระทำการด้วยความจำเป็นที่จะอ้างบทนิรโทษกรรมตาม ปพพ มาตรา๔๔๙มายกเว้นไม่ให้ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายได้ เจ้าของที่ดินจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายที่ฆ่าสัตว์ แต่เจ้าของสัตว์ก็มีส่วนผิดด้วยในการปล่อยปละละเลยจนสัตว์เข้าไปในที่ดินคนอื่น เจ้าของสัตว์ต้องร่วมรับผิดด้วย
๔.ขับเรือโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนท่าเรือ โจทก์ก็มีมีส่วนผิดที่ไม่จุดไฟที่สะพานเทียบเรือเพื่อให้เรือที่ผ่านไปมาสามารถเห็นได้ว่ามีท่าเรืออยู่บริเวณนี้เพื่อป้องกันการเฉี่ยวกันและป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ ถือได้ว่าต่างฝ่ายต่างประมาทด้วยกันทั้งคู่ จึงต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณว่าฝ่ายใดก่อให้เกิดความเสียหายหยิ่งหย่อนกว่ากัน
๕.เอาเครื่องกั้นทางรถไฟไปซ่อมไม่มีเจ้าหน้าที่คอยดูแลป้องกันย่อมเล็งเห็นหรือคาดเห็นได้ว่าเมื่อไม่มีเครื่องกั้นทางรถไฟและไม่มีเจ้าหน้าที่มาคอยให้สัญญาณเตือนว่ารถไฟกำลังมาอาจทำให้รถไฟเฉี่ยวชนกับรถยนต์หรือคนที่เดินข้ามทางรถไฟได้ถือเป็นความประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในสภาวะเช่นการรถไฟโดยทั่วไปจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และอาจใช้ความระมัดระวังให้มากกว่านี้ได้ด้วยการทำสัญญาณไฟชั่วคราวหรือมีคนมาคอยเตือนและห้ามไม่ให้รถแล่นผ่านในขณะที่รถไฟกำลังจะมา ส่วนคนขับรถที่ฝ่าสัญญาณไปก็ถือว่าประมาทด้วยเพราะเมื่อไม่มีเครื่องกั้นทางรถไฟเมื่อจะขับรถผ่านทางรถไฟต้องชะลอความเร็วของรถและหยุดรถเพื่อตรวจสอบว่ามีรถไฟกำลังมาหรือไม่อย่างไร เมื่อเห็นว่าปลอดภัยจึงค่อยขับรถผ่านทางรถไฟ หรือหากมีคนมาให้สัญญาณแต่ไม่ปฏิบัติตามแต่ขับผ่านไปโดยไม่ปฏิบัติตามสัญญาณที่ให้ เมื่อไม่ได้กระทำการดังนี้ก็ถือว่ามีส่วนในการทำให้เกิดความเสียหายด้วยความประมาทของตนเองด้วย เมื่อต่างฝ่ายต่างประมาท ต่างฝ่ายต่างต้องรับผิด
๖.ต่างฝ่ายต่างประมาทขับรถชนกัน ต่างฝ่ายต่างต้องรับผิด เช่นฝ่ายหนึ่งขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด อีกฝ่ายขับรถย้อนศร แล้วรถชนกันถือประมาททั้งคู่ ต่างต้องรับผิดแล้วแต่ว่าความเสียหายฝ่ายใดเป็นผู้ก่อให้เกิดหยิ่งหย่อนมากกว่ากัน
๗.ธนาคารเก็บเงินตามเช็คให้ลูกค้าไม่ได้ก็ไม่ได้แจ้งให้ลูกค้าทราบ ทำให้ลูกค้าเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ ธนาคารต้องรับผิด แต่อย่างไรก็ตามลูกหนี้ของลูกค้าสามารถชำระหนี้ได้เพียง ๕๐ %เท่านั้น ลูกค้าไม่ยอมรับชำระหนี้จำนวนนี้จากลูกหนี้ ถือลูกค้าไม่พยายามบำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหายมีส่วนผิดด้วย ธนาคารจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้ ด้วยความเครารพในคำพิพากษาศาลฏีกา จริงอยู่การที่เจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้บางส่วนจะเป็นการไม่พยายามบำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นก็จริง แต่การที่ ธนาคารเก็บเงินตามเช็คให้ลูกค้าไม่ได้ก็ไม่ได้แจ้งให้ลูกค้าทราบ ทำให้ลูกค้าเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ แม้เจ้าหนี้มีส่วนผิดด้วยที่จะไม่รับชำระหนี้บางส่วน แต่การไม่ยอมรับชำระหนี้บางส่วนหาใช่เป็นเหตุให้ธนาคารต้องพ้นความรับผิดไปไม่ เพราะตามปพพ. มาตรา ๒๑๔ เจ้าหนี้มีสิทธิ์ที่จะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้โดยสิ้นเชิง มิใช่รับชำระหนี้เพียงบางส่วน เว้นเสียแต่เจ้าหนี้จะยอมรับชำระหนี้เพียงบางส่วน การที่เจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้บางส่วนก็เป็นการใช้สิทธิ์ตาม ปพพ มาตรา ๒๑๔ แม้ว่าจะเป็นการ ไม่พยายามบำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหายก็ตามแต่ก็เป็นการใช้สิทธิ์ตามที่กฎหมายให้ไว้ มิเช่นนั้นแล้ว ปพพ มาตรา ๒๑๔ จะไม่มีผลบังคับเพราะเมื่อลูกหนี้ขอชำระหนี้บางส่วนซึ่งอาจเป็นเพียง ๕ เปอร์เซ็นต์ ๑๐ เปอร์เซ็นต์เจ้าหนี้ต้องรับชำระหนี้ทั้งหมด การที่เจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้บางส่วนแต่ต้องการรับชำระหนี้ทั้งหมดหรือรับชำระหนี้โดยสิ้นเชิงเพราะเจ้าหนี้เองก็อาจต้องการเงินก้อนนี้เพื่อนำไปทำอย่างอื่นก็ได้ การที่ได้รับชำระหนี้ไม่เต็มอาจไม่สามารถนำไปทำธุรกิจอย่างอื่นได้ แต่การที่ศาลฏีกาวินิจฉัยว่าแม้ธนาคารจะผิดแต่ก็ไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพราะเจ้าหนี้ ไม่พยายามบำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหายนั้น เท่ากับศาลฏีกามองว่าบทบัญญัติใน ปพพ มาตรา๔๔๒,๒๒๓ใหญ่กว่าบทบัญญัติในปพพ มาตรา ๒๑๔ เป็นความเห็นส่วนตัวครับ

สลากกินแบ่งรัฐบาล-สินสมรส

ซื้อสลากกินแบ่งก่อนสมรส สลากกินแบ่งออกรางวัลหลังสมรสและถูกรางวัล เงินรางวัลเป็นสินสมรส เมื่อไม่ปรากฏก่อนสมรสได้ทำสัญญาก่อนสมรสไว้ว่าให้ใครเป็นผู้จัดการทรัพย์สินโดยเฉพาะ ดังนั้นเงินรางวัลที่เหลือที่ฝากในธนาคาร คู่สมรสทั้งคู่ย่อมมีอำนาจในการจัดการร่วมกันอยู่แล้ว ไม่มีเหตุผลใดที่จะให้โจทก์จัดการแต่เพียงฝ่ายเดียว คำพิพากษาฏีกา ๑๐๕๓/๒๕๓๗
ข้อสังเกต ๑.สินสมรสได้แก่
๑.๑ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสคือจดทะเบียนตามกฎหมาย(ปพพ. มาตรา ๑๔๕๗,๑๔๗๔(๑)
๑.๒.ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุเป็นสินสมรส ปพพ มาตรา ๑๔๗๔(๒)
๑.๓ดอกผลสินส่วนตัว (ปพพ มาตรา ๑๔๗๔(๓))
๑.๔กรณีมีข้อสงสัยว่าทรัพย์สินใดเป็นสินส่วนตัวหรือเป็นสินสมรสให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส
๒.คู่สมรสอาจร้องขอต่อศาลให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสโดยเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือร่วมกันจัดการ หากการกระทำนั้นจะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า ปพพ มาตรา๑๔๘๕
๓.ซื้อสลากกินแบ่งก่อนทำการสมรส คือก่อนมีการจดทะเบียนสมรส ต่อมาสลากกินแบ่งออกรางวัลหลังจดทะเบียนสมรสและถูกรางวัล เงินรางวัลเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสโดยไม่ต้องคำนึงว่าคู่สมรสฝ่ายใดจะใช้เงินส่วนตัว(สินส่วนตัว)ซื้อก็ตาม เมื่อซื้อแล้วรางวัลออกหลังจดทะเบียนสมรสแล้วถูกรางวัล โดยถูกรางวัลในระหว่างสมรสคือภายหลังจดทะเบียนสมรส เงินรางวัลย่อมเป็นสินสมรส คู่สมรสมีสิทธิ์ในเงินรางวัลคนละกึ่งหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏก่อนสมรสได้ทำสัญญาก่อนสมรสไว้ว่าให้ใครเป็นผู้จัดการทรัพย์สินโดยเฉพาะ ดังนั้นเงินรางวัลที่เหลือที่ฝากในธนาคาร คู่สมรสทั้งคู่ย่อมมีอำนาจในการจัดการร่วมกันอยู่แล้ว ไม่มีเหตุผลใดที่จะให้โจทก์จัดการแต่เพียงฝ่ายเดียว จะอ้าง ปพพ มาตรา ๑๗๘๕ เพื่อให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสเพียงผู้เดียวโดยอ้างว่าเป็นประโยชน์ยิ่งกว่าหาได้ไม่ อำนาจในการจัดการสินสมรสร่วมกันนี้ คู่สมรสฝ่ายใดจะกระทำการโดยปราศจากความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ หากกระทำไปโดยปราศจากความยินยอมของอีกฝ่าย สามารถสามารถฟ้องศาลให้เพิกถอนนิติกรรมที่กระทำไปได้ แต่หากคู่สมรสอีกฝ่ายใช้จ่ายเงินสุรุยสุร่าย ติดการพนัน ติดยาเสพติด การให้จัดการร่วมกันอาจมีปัญหาก็อาจร้องขอต่อศาลเพื่อให้ตนจัดการเพียงฝ่ายเดียวซึ่งจะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่าการจัดการร่วมกัน
๔.แม้มีชื่อคู่สมรสฝ่ายเดียวในบัญชีธนาคาร เงินที่ได้มาภายหลังจดทะเบียนสมรสเป็นสินสมรส เมื่อไม่มีสัญญาก่อนสมรสกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นต้องถือว่าคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีอำนาจจัดการร่วมกัน เมื่อถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลแล้วนำเงินเข้าบัญชีธนาคารแม้มีชื่อของตัวเองเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้นก็ตาม เมื่อได้มาระหว่างสมรสคือได้มาภายหลังจดทะเบียนสมรสเป็นสินสมรส หากคู่สมรสที่มีชื่อในบัญชีเงินฝากธนาคารถอนเงินที่ถูกรางวัลไปทั้งหมดย่อมเป็นการครอบครองสินสมรสที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิ์ในเงินรางวัลดังกล่าวแล้วเบียดบังเอาสินสมรสของอีกฝ่ายหนึ่งไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยเจตนาทุจริต เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตาม ปพพ มาตรา ๓๕๒ แต่เมื่อเป็นการกระทำระหว่างสามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกัน จึงไม่ต้องรับโทษตาม ปอ. มาตรา ๗๑ คู่สมรสอีกฝ่ายมีสิทธิ์ติดตามเอาคืนซึ่งเงินรางวัลกึ่งหนึ่งที่ได้มาระหว่างสมรสและเป็นสินสมรสได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๖
๕.หากคู่สมรสที่ถูกรางวัลสลากกินแบ่งพยายามถอนเงินที่ถูกรางวัลไปใช้เพียงคนเดียว เมื่อเงินรางวัลที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรสที่ทั้งสองฝ่ายต้องจัดการร่วมกัน การที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งถอนเงินออกจากบัญชีเพื่อนำไปใช้เป็นการส่วนตัวย่อมเป็นการจัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด และเป็นพฤติการณ์ที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสินสมรสและยังเป็นการจัดการสินสมรสของอีกฝ่ายโดยไม่มีเหตุอันควรตาม ปพพ มาตรา ๑๔๘๔(๑)(๔)(๕) คู่สมรสอีกฝ่ายสามารถร้องขอต่อศาลสั่งให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่เพียงผู้เดียวหรือแยกสินสมรสได้
๖.เงินรางวัลที่ถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลเมื่อได้มาภายหลังจดทะเบียนสมรสตกเป็นสินสมรส เป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีสิทธิ์ได้รับคนละกึ่งหนึ่ง หรือหากหย่าขาดจากกันก็ให้แบ่งสินสมรสให้ชายหญิงได้ส่วนเท่ากันตาม ปพพ มาตรา ๑๕๓๓ ดังนั้นเงินรางวัลดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่สามีภรรยาเป็น “เจ้าของร่วมกัน” จึงมีส่วนในเงินรางวัลดังกล่าวคนละครึ่ง ปพพ มาตรา ๑๓๕๖,๑๓๕๗ ซึ่งต้องร่วมกันในการจัดการเงินดังกล่าวตาม ปพพ มาตรา ๑๓๕๘และไม่อาจจำหน่ายหรือก่อให้เกิดภาระผูกพันตามลำพังได้เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่าย ปพพ มาตรา ๑๓๖๑ วรรคสอง คู่สมรสอีกฝ่ายสามารถร้องขอให้แบ่งเงินรางวัลดังกล่าวได้ ปพพ มาตรา ๑๓๖๒
๗.ในการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลโดยซื้อก่อนจดทะเบียนสมรสแม้ว่าจะยืมเงินจากอีกฝ่ายไปซื้อหรือใช้เงินของตนเองซื้อก็ตาม แต่เมื่อรางวัลออกและถูกรางวัลภายหลังจดทะเบียนสมรสแล้วเงินรางวัลย่อมเป็นสินสมรส แต่หากว่าชายหญิงไม่ได้จดทะเบียนสมรสเพียงแต่แต่งงานและอยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาแล้ว เงินรางวัลที่ได้นั้นไม่ใช่สินสมรส แต่ฝ่ายใดซื้อก็เป็นสิทธิ์ของฝ่ายนั้นเพียงผู้เดียว อีกฝ่ายไม่มีสิทธิ์ในเงินรางวัลดังกล่าว

ถอนคำร้องทุกข์

ถอนคำร้องทุกข์ในสิทธิ์ในทางทรัพย์สิน
๑.สิทธิ์ถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกง เป็นสิทธิ์เกี่ยวกับทรัพย์สิน เมื่อผู้ร้องทุกข์ตามย่อมตกแก่ทายาท ผู้ร้องเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เมื่อผู้ร้องทุกข์ตาย สิทธิ์ในการถอนคำร้องทุกข์จึงตกแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาท ผู้ร้องมีสิทธิ์ถอนคำร้องทุกข์ได้ เมื่อผู้ร้องขอถอนคำร้องทุกข์เพราะได้รับเงินชดใช้ สิทธิ์นำคดีมาฟ้องระงับไป คำพิพากษาฏีกา ๗๕๑/๒๕๔๑
๒.ความผิดฐานยักยอกเป็นสิทธิ์เกี่ยวกับทางทรัพย์สินซึ่งตกทอดไปยังทายาทได้เมื่อผู้ทรงสิทธิ์ตาย คำพิพากษาฏีกา ๒๐๖/๒๔๘๘
๓.มารดาแทนคำร้องทุกข์แทนบุตรที่ตายได้ คำพิพากษาฏีกา ๑๑/๒๕๑๘
๔.ถอนคำร้องทุกข์เพราะได้ฟ้องคดีแล้ว ไม่ใช่ถอนคำร้องทุกข์โดยไม่มีเจตนาไม่เอาผิดกับจำเลย ไม่ทำให้สิทธิ์นำคดีมาฟ้องระงับไป คำพิพากษาฏีกา ๑๗๙๒/๒๕๒๒
ข้อสังเกต ๑.สิทธิ์ในการนำคดีอาญามาฟ้องในความผิดต่อส่วนตัวระงับไปเมื่อผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความโดยชอบด้วยกฏหมาย ปวอ มาตรา ๓๙(๒)
๒.ผู้เสียหายคือบุคคลที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดรวมทั้งผู้ที่มีอำนาจในการจัดการแทนผู้เสียหาย รวมทั้งบุคคลดังต่อไปนี้ด้วยคือ
๒.๑สามีโดยชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิ์ฟ้องคดีอาญาแทนภริยาได้เมื่อได้รับอนุญาตชัดแจ้งจากภรรยา
๒.๒ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลในความผิดที่ได้กระทำต่อผู้เยาว์หรือคนไร้ความสามารถที่อยู่ในความดูแล
๒.๓ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามี ภริยา ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายหรือตายจนบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการแทนได้
๒.๔ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นๆของนิติบุคคลเฉพาะความผิดที่กระทำลงแก่นิติบุคคลนั้น
๒.๕ผู้แทนเฉพาะคดีในกรณีที่ผู้เยาว์ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือคนวิกลจริตหรือคนไร้ความสามารถไม่มีผู้อนุบาล หรือผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลมีผลประโยชน์ขัดกับผู้เยาว์หรือคนไร้ความสามารถ เมื่อญาติหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องร้องขอให้ศาลตั้งผู้แทนเฉพาะคดี ปวอ มาตรา ๖
๓.คดีลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอก รับของโจร ที่ผู้เสียหายมีสิทธิ์เรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาแทนทรัพย์ที่สูญเสียไป เมื่ออัยการยื่นฟ้องให้เรียกทรัพย์หรือราคาแทนผู้เสียหาย ปวอ มาตรา ๔๓
๔.กองมรดกผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินของผู้ตายรวมทั้งสิทธิ์ หน้าที่ ความรับผิด เว้นแต่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ ปพพ มาตรา ๑๖๐๐
๕.ความผิดฐานฉ้อโกงเป็นความผิดต่อส่วนตัวตาม ปอ มาตรา ๓๔๘ ที่สามารถถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความได้ตาม ปวอ มาตรา ๓๙(๒) และเมื่อผู้เสียหายถูกผู้ต้องหาฉ้อโกงทรัพย์ ย่อมมีสิทธิ์เรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาแทนทรัพย์ที่สูญเสียไปตาม ปวอ มาตรา ๔๓ จึงเป็นสิทธิ์เรียกร้องในทางทรัพย์สินที่ทายาทผู้ตายซึ่งเป็นผู้เสียหายสามารถเข้ารับมรดกในทรัพย์สินหรือราคาแทนทรัพย์ที่เสียหายเพราะถูกฉ้อโกงได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๐๐ เมื่อผู้ตายซึ่งเป็นผู้เสียหายมีสิทธิ์ถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่ง เป็นความผิดต่อส่วนตัวและเป็นความผิดเกี่ยวสิทธิ์ทางทรัพย์สิน เมื่อผู้ร้องทุกข์ตายทั้งสิทธิ์หน้าที่ความรับผิดย่อมตกแก่ทายาท ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๐๐ ผู้ร้องเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เมื่อผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ร้องทุกข์ตาย สิทธิ์ในการถอนคำร้องทุกข์จึงตกแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๙วรรคท้าย ผู้ร้องมีสิทธิ์ถอนคำร้องทุกข์ได้ เมื่อผู้ร้องขอถอนคำร้องทุกข์เพราะได้รับเงินชดใช้ สิทธิ์นำคดีมาฟ้องระงับไป
๒.การถอนคำร้องทุกข์ในความผิดต่อส่วนตัวเพราะได้รับการชดใช้ ไม่ใช่การทำนิติกรรมสัญญาที่กระทำไปเพื่อระงับคดีอาญา โดยขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีงามของประชาชนอันจะทำให้การถอนคำร้องทุกข์ตกเป็นโมฆะตาม ปพพ มาตรา ๑๕๐ แต่อย่างใดไม่ อีกทั้งการถอนคำร้องทุกข์ในความผิดต่อส่วนตัวไม่ใช่การก่อเปลี่ยนแปลง โอนสงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ์อันจะถือว่าเป็นการทำนิติกรรมตาม ปพพ มาตรา ๑๔๙แต่อย่างใดไม่ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในปพพ มาตรา ๑๕๐ มาใช้บังคับได้ แต่การถอนคำร้องทุกข์ในความผิดต่อส่วนตัวเป็นวิธีการหนึ่งตามที่กฏหมายบัญญํติไว้ในประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่ให้อำนาจผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวได้
๓.ตามข้อสังเกตที่๒ ให้เทียบกับกรณีที่มีข้อตกลงให้ถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน โดยให้ทรัพย์สินตอบแทน ข้อตกลงนี้ขัดความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีงามของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะ คำพิพากษาฏีกา ๑๑๕๔/๒๔๗๗,๑๑๘๑/๒๔๙๑,๑๒๓๗/๒๔๙๖ ดังนั้นหากจำเลยไม่ยอมชำระเงินตามข้อตกลงโจทก์จะนำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมาฟ้องเรียกร้องเงินหาได้ไม่ หรือในทางกลับกันหากโจทก์รับเงินจากจำเลยมาแล้วแต่ไม่ยอมถอนฟ้องในความผิดอาญาต่อแผ่นดินให้ จำเลยจะมาเรียกร้องเอาเงินดังกล่าวคืนไม่ได้ เพราะข้อตกลงยอมให้เงินเพื่อตอบแทนในการถอนฟ้องในความผิดอาญาต่อแผ่นดินขัดกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตกเป็นโมฆะจึงไม่เกิดสิทธิ์ในการเรียกร้องเงินดังกล่าวคืน
๔.ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่าหากผู้เสียหายยอมถอนฟ้องไปแล้วจำเลยไม่ยอมชำระเงินตามข้อตกลงผู้เสียหายจะมายื่นฟ้องใหม่ไม่น่าจะได้เพราะการถอนฟ้องของผู้เสียหายเป็นไปโดยสมัครใจไม่ได้ถูกบังคับขมขู่หรือกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฏหมายแต่อย่างใด เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายหลงเชื่อคำหลอกลวงของจำเลยเองว่าจะจ่ายเงินให้เมื่อผู้เสียหายถอนฟ้อง ทั้งที่เป็นความผิดอาญาแผ่นดินไม่สามารถทำข้อตกลงจะชำระเงินให้แทนการดำเนินคดีอาญาแผ่นดินซึ่งการตกลงดังกล่าวขัดกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงามของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะ ผู้เสียหายจะอ้างไม่รู้กฎหมายไม่ได้ เมื่อกฏหมายประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเป็น “หลักกฎหมายปิดปาก” ว่าทุกคนต้องรู้กฏหมายว่าไม่สามารถทำข้อตกลงจะชำระเงินให้เพื่อเป็นค่าตอบแทนในการระงับการดำเนินคดีอาญาแผ่นดินได้
๕.และในกรณีนี้ผู้เสียหายจะไปแจ้งความดำเนินคดีกับจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงที่หลอกให้ผู้เสียหายถอนฟ้องในความผิดอาญาแผ่นดินเพื่อตอบแทนที่จะได้รับชำระเงิน แต่เมื่อผู้เสียหายถอนฟ้องแล้วจำเลยกลับไม่ยอมจ่ายเงิน ผู้เสียหายจะดำเนินคดีกับจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงไม่ได้เพราะเมื่อเป็นคดีอาญาแผ่นดินข้อตกลงที่จะถอนฟ้องเพื่อแลกเปลี่ยนกับการได้รับเงินจากจำเลยย่อมเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะ การที่ผู้เสียหายยอมทำข้อตกลงดังกล่าวถือมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วยจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง(ผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือผู้เสียหายตามกฎหมาย)ที่จะมาดำเนินคดีกับจำเลยฐานฉ้อโกงได้ เป็นความเห็นส่วนตัวครับ
๖.มารดาถอนคำร้องทุกข์แทนบุตรที่ตายในความผิดต่อส่วนตัวได้ เพราะความผิดต่อส่วนตัวในความผิดฐานยักยอกเป็นความผิดที่เมื่อผู้เสียหายถูกผู้ต้องหายักยอกทรัพย์ไป ย่อมมีสิทธิ์เรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาแทนทรัพย์ที่สูญเสียไปตาม ปวอ มาตรา ๔๓ จึงเป็นสิทธิ์เรียกร้องในทางทรัพย์สินที่ทายาทผู้ตายซึ่งเป็นผู้เสียหายสามารถเข้ารับมรดกในทรัพย์สินหรือราคาแทนทรัพย์ที่เสียหายเพราะถูกยักยอกได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๐๐ เมื่อผู้ตายซึ่งเป็นผู้เสียหายมีสิทธิ์ถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานยักยอกซึ่ง เป็นความผิดต่อส่วนตัวและเป็นความผิดเกี่ยวสิทธิ์ทางทรัพย์สิน เมื่อผู้ร้องทุกข์ตายทั้งสิทธิ์หน้าที่ความรับผิดย่อมตกแก่ทายาท ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๐๐ ผู้ร้องเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เมื่อผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ร้องทุกข์ตาย สิทธิ์ในการถอนคำร้องทุกข์จึงตกแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๙(๒) ผู้ร้องมีสิทธิ์ถอนคำร้องทุกข์ได้
๗.ถอนคำร้องทุกข์เพราะได้ฟ้องคดีแล้ว ไม่ใช่ถอนคำร้องทุกข์โดยไม่มีเจตนาไม่เอาผิดกับจำเลยคือไม่ใช่การถอนคำร้องทุกข์โดยเด็ดขาดที่จะมีผลทำให้สิทธิ์ในการนำคดีมาฟ้องระงับไป แต่เป็นการถอนคำร้องทุกข์เพื่อประสงค์จะดำเนินคดีเองโดยอาจต้องการความรวดเร็วหรือไม่เชื่อหรือแน่ใจว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐจะให้ความเป็นธรรมกับตนเองได้หรือไม่หรือไม่ประสงค์ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการดำเนินคดีให้เพราะตนมีพยานหลักฐานอยู่ในมือแน่นหนา การถอนคำร้องทุกข์แบบนี้ ไม่ทำให้สิทธิ์นำคดีมาฟ้องระงับไป เพราะไม่ใช่ถอนคำร้องทุกข์เพราะไม่ประสงค์ดำเนินคดีกับจำเลย

เอกสารเท็จเอกสารปลอม

ปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสในหน้าที่
๑.ตำรวจที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเสมียนเปรียบเทียบ แก้หรือลงจำนวนเงินในใบเสร็จให้น้อยกว่าต้นฉบับ คำพิพากษาฏีกา ๓๕/๒๕๒๑
๒.ผู้ช่วยนายทะเบียนจดลงในทะเบียนบ้านและลงลายมือชื่อรับรองว่า ด. ย้ายเข้าบ้านนั้น อันเป็นความเท็จ คำพิพากษากีกา ๑๖๕๕/๒๕๒๐
๓.พัสดีและผู้คุมปลอมใบสุทธิ์ที่เรือนจำออกให้แก่ผู้พ้นโทษ โดยพิมพ์ลายมือปลอมเป็นผู้พ้นโทษ คำพิพากษาฏีกา ๗๕๓/๒๕๒๐
๔.ปลัดอำเภอมีหน้าที่ทำตั๋วรูปพรรณสัตว์ ลงลายมือชื่อในตั๋วรูปพรรณที่รู้ว่าปลอมลายพิมพ์นิ้วมือเจ้าของสัตว์ คำพิพากษาฏีกา ๕๗๒/๒๕๕๙
๕.จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ในการพิสูจน์การครอบครองที่ดินแล้วกรอกข้อความลงในแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิ์และพิสูจน์การทำประโยชน์เพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เอกสารดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของจำเลยก่อนส่งไปยังศนูย์หรือผู้ควบคุมสาย เมื่อเอกสารนี้ถูกปลอมลายมือชื่อของ จ ผู้มีหน้าที่ปกครองท้องที่และระวังแนวเขต โดยจำเลยมีโอกาสกระทำเองหรือร่วมกับจำเลยอื่นกระทำขึ้น จึงเป็นการปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่ ตาม ปอ มาตรา ๑๖๑ พรบที่ดินฯมาตรา ๕๘ บัญญัติให้นายอำเภอมีหน้าที่แต่งตั้งให้ผู้เข้ารับการอบรมเป็นเจ้าหน้าที่ออกไปพิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์แทนตนในการเดินสำรวจเพื่ออออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ให้เจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงาน จำเลยเป็นผู้รับแต่งตั้งจากนายอำเภอให้เป็นพนักงานพิสูจน์จึงเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา คำพิพากษาฏีกา ๓๓๒/๒๕๒๗
๖.จำเลยเป็นปลัดอำเภอได้รับมอบหมายจากนายอำเภอให้มีหน้าที่แผนกทะเบียนอาวุธปืน มีหน้าที่รับคำขอและสอบสวนเรื่องราวเกี่ยวกับการขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน แล้วเสนอนายอำเภอซึ่งเป็นนายทะเบียนลงลายมือชื่อออกใบอนุญาต จำเลยไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในตำแหน่งนายอำเภอได้ จำเลยกลับลงลายมือชื่อตนเองเป็นนายทะเบียนเป็นนายทะเบียนผู้ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นคำขอไป แม้จำเลยลงลายมือชื่อเองในเอกสารโดยปลอมว่าตนเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจลงนามในเอกสารนั้นในฐานะนายทะเบียนผู้ออกใบอนุญาตแล้วประทับตราลงไป เอกสารนี้จึงไม่ใช่เอกสารที่แท้จริงเพราะไม่ได้ลงนามเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจออกใบอนุญาต เป็นการปลอมเอกสาร คำพิพากษาฏีกา ๖๓๕/๒๕๑๗
ข้อสังเกต๑. เอกสารคือ กระดาษหรือวัตถุอื่นใดที่ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น เป็นโดยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพ หรือวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น
๒.ผู้กระทำความผิดต้องเป็น “ เจ้าพนักงาน” และต้องเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่
- ทำเอกสาร(ไม่ว่าจะทำทั้งฉบับหรือแต่บางส่วน)
- กรอกข้อความลงในเอกสาร เช่น กรอกข้อความลงในแบบพิมพ์ของทางราชการเช่น ใบเสร็จรับเงิน ทะเบียนบ้าน ทะเบียนที่ดิน
-หรือมีหน้าที่ดูแลรักษาเอกสารนั้น
แล้วอาศัยโอกาสในหน้าที่ดังกล่าวอย่างหนึ่งอย่างใดในสามประการนั้นปลอมเอกสารที่อยู่ในหน้าที่ของตนดังกล่าว หากเป็นบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่เจ้าพนักงานหรือเป็นเจ้าพนักงานนั้นแต่ไม่มีหน้าที่ทำเอกสาร กรอกข้อความลงในเอกสาร หรือดูแลรักษาเอกสารแล้วไปทำเอกสาร กรอกข้อความลงในเอกสารหรือเข้าไปดูแลเอกสารแล้วทำการปลอมเอกสารดังกล่าว ก็ไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่ตาม ปอ มาตรา ๑๖๑ แต่อาจเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตาม ปอ มาตรา ๒๖๔หรืออาจเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดได้หากได้ร่วมกับเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่
๓.การที่เสมียนเปรียบเทียบของตำรวจ แก้หรือลงจำนวนเงินในใบเสร็จให้น้อยกว่าต้นฉบับเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ทำผิดตามพรบ.จราจรทางบกที่ได้กำหนดค่าปรับไว้แล้วว่าในข้อหานี้จะเปรียบเทียบปรับเท่าใด ได้ทำการแก้โดยลดจำนวนเงินที่ต้องเสียค่าปรับลงเพื่อช่วยให้พรรคพวกของตนเสียค่าปรับน้อยกว่าที่กำหนดไว้ย่อมเป็นการเติมตัดทอนเปลี่ยนแปลงแก้ไขในใบเสร็จบันทึกเปรียบเทียบปรับอันเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือกระทำด้วยประการใดๆในใบเสร็จเปรียบเทียบปรับ โดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อ สนง.ตำรวจแห่งชาติ พนักงานสอบสวน และเสียหายต่อแผ่นดิน การกระทำดังกล่าวย่อมเป็นการปลอมเอกสารราชการแล้ว เมื่อเป็นการปลอมเอกสารราชการโดยอาศัยโอกาสที่ตนได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นเสมียนเปรียบเทียบปรับ จึงเป็นเจ้าพนักงานปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้น อันเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๖๑ แล้ว
๒.ความผิดตามพรบ.จราจรมักมีอัตราโทษไม่สูงเกินไปกว่าอัตราโทษในความผิดลหุโทษดังนั้นการที่การที่เสมียนเปรียบเทียบของตำรวจ แก้หรือลงจำนวนเงินในใบเสร็จให้น้อยกว่าต้นฉบับเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ทำผิด จึงไม่ใช่การช่วยเหลือผู้กระทำความผิด หรือเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิด อันไม่ใช่ความผิดลหุโทษตาม เพื่อไม่ให้ต้องรับโทษแต่อย่างใด ตามปอ มาตรา ๑๘๙ แต่อย่างใด
๓..ผู้ช่วยนายทะเบียนจดลงในทะเบียนบ้านและลงลายมือชื่อรับรองว่า ด. ย้ายเข้าบ้านนั้น อันเป็นความเท็จ เพื่อให้เกิดสิทธิ์ให้นาย ด.มีสิทธิ์ในการเข้ารับเลือกตั้งหรือสามารถใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งได้ หรือเพื่อผลประโยชน์ในการสวมสิทธิ์เข้าแทนคนตายหรือเพื่อให้คนต่างด้าวเข้ามามีชื่อในทะเบียนบ้านก็ตาม ย่อมเป็นการปลอมเอกสารราชการโดยอาศัยโอกาสที่ตนได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นเสมียน จึงเป็นเจ้าพนักงานปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้น อันเป็นความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๖๑ แล้ว
๔. พัศดีและผู้คุมเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำหรือออกใบสุทธิ์ให้แก่ผู้ต้องขังที่พ้นโทษ การที่พัสดีและผู้คุมทำเอกสารใบสุทธิ์ปลอมที่เรือนจำออกให้แก่ผู้พ้นโทษ โดยพิมพ์ลายมือปลอมเป็นผู้พ้นโทษ ย่อมเป็นการลงลายมือปลอมของตนในเอกสารใบสุทธิ์ปลอมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลายมือชื่อก่อนและไม่มีบทบัญญัติในกฏหมายใดให้มีการลงลายมือชื่อแทนกันได้แม้เจ้าของลายมือชื่อยินยอมก็ตาม ซึ่งตาม ปอ มาตรา ๑(๑๐) ลายมือชื่อหมายความรวมถึงลายพิมพ์นิ้วมือและเครื่องหมายซึ่งบุคคลลงไว้แทนลายมือชื่อตน ดังนั้น การที่พิมพ์ลายมือชื่อปลอมลงไปในใบสุทธิ์ที่แสดงว่าผู้ต้องขังพ้นโทษย่อมเป็นการลงลายมือชื่อปลอมลงในเอกสารโดยไม่ได้รับความยินยอมหรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งผู้อื่น ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลายมือชื่อ เรือนจำ กรมราชทัณท์ได้ อีกทั้งการทำใบสุทธิ์ปลอมว่ามีผู้ต้องขังพ้นโทษโดยลงลายมือปลอมผู้ต้องขัง ย่อมเป็นการปลอมเอกสารทั้งฉบับในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อกรมราชทัณท์ และผู้ต้องขังที่ถูกปลอมลายมือชื่อได้ จึงเป็นการปลอมเอกสาร เมื่อทำการปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตนเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ทำเอกสาร กรอกข้อความลงในเอกสารโดยเป็นการปลอมโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้นย่อมเป็นความผิดตามปอ มาตรา ๑๖๑ แล้ว
๕. การที่ปลัดอำเภอลงลายมือชื่อในการออกตั๋วรูปพรรณสัตว์ทั้งที่รู้ว่าในตั๋วรูปพรรณมีการปลอมลายพิมพ์นิ้วมือปลอม แทนที่ปลัดอำเภอจะดำเนินคดีกับบุคคลที่ทำการปลอมลายมือชื่อเจ้าของสัตว์ แต่ปลัดอำเภอกลับยอมทำตั๋วรูปพรรณสัตว์ทั้งที่รู้ว่าเป็นลายพิมพ์นิ้วมือปลอม การที่มีบุคคลอื่นแอบอ้างว่าเป็นเจ้าของสัตว์แล้วลงลายพิมพ์นิ้วมือปลอมโดยไม่ได้รับอนุญาตและโดยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าของลายมือชื่อที่แท้จริง ทั้ง ตามกฎหมายแล้วไม่สามารถลงลายมือชื่อแทนกันได้แม้เจ้าของยินยอมก็ตาม การที่พิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือลงไปเท่ากับการลงลายมือชื่อแล้ว เมื่อไม่ใช่ลายมือชื่อ(ลายพิมพ์นิ้วมือ)ที่แท้จริงของเจ้าของลายมือชื่อ(เจ้าของลายพิพม์นิ้วมือ) อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของลายมือชื่อที่แท้จริงได้ จึงเป็นการปลอมเอกสาร เมื่อปลัดอำเภอมีหน้าที่ทำตั๋วรูปพรรณสัตว์รู้ว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงเป็นเอกสารปลอมเพราะมีการลงลายมือชื่อของบุคคลอื่นซึ่งก็คือการลงลายมือชื่อปลอมลงในเอกสารที่ตนมีหน้าที่ทำแล้วตนยังยินยอม ลงลายมือชื่อในตั๋วรูปพรรณที่รู้ว่าปลอมลายพิมพ์นิ้วมือเจ้าของสัตว์ ย่อมเป็นการปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่ตามปอ มาตรา ๑๖๑ แล้ว
๖.พรบที่ดินฯมาตรา ๕๘ บัญญัติให้นายอำเภอมีหน้าที่แต่งตั้งให้ผู้เข้ารับการอบรมเป็นเจ้าหน้าที่ออกไปพิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์แทนตนในการเดินสำรวจเพื่ออออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ให้เจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงาน จำเลยเป็นผู้รับแต่งตั้งจากนายอำเภอให้เป็นพนักงานพิสูจน์จึงเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา การที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ในการพิสูจน์การครอบครองที่ดินแล้วกรอกข้อความลงในแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิ์และพิสูจน์การทำประโยชน์เพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เอกสารดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของจำเลยก่อนส่งไปยังศนูย์หรือผู้ควบคุมสาย เมื่อเอกสารนี้ถูกปลอมลายมือชื่อของ จ ผู้มีหน้าที่ปกครองท้องที่และระวังแนวเขต จึงเป็นกรณีลงลายมือชื่อปลอมลงในเอกสารที่แท้จริงโดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อกรมที่ดิน นาย จ เจ้าของลายมือชื่อ และนายอำเภอได้ จึงเป็นการปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่ โดยจำเลยมีโอกาสกระทำเองหรือร่วมกับจำเลยอื่นกระทำขึ้น จึงเป็นการปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่ ตาม ปอ มาตรา ๑๖๑แล้ว
๗.หากแม้เป็นเจ้าพนักงานแต่หากไม่มีอำนาจหน้าที่ในการ ทำเอกสาร กรอกข้อความลงในเอกสาร หรือดูแลรักษาเอกสารแล้ว แม้มีการปลอมเอกสารของทางราชการขึ้นก็ไม่มีความผิดตาม ปอ มาตรา ๑๖๑ แต่อาจเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามปอ มาตรา ๒๖๔,๒๖๕หรืออาจเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ์อันเป็นเอกสารราชการตาม ปอ มาตรา ๒๖๖(๑)ได้ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวได้มีคำพิพากษาฏีกา ๑๓๒/๒๕๐๐วินิจฉัยไว้
๘.การที่เจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสารได้ แต่ลงข้อความไม่ตรงตามความเป็นจริง เช่น นายทะเบียนตำบลออกใบมรณะบัตรแสดงว่า ท ถึงแก่ความตายซึ่งเป็นความเท็จ (คำพิพากษาฏีกา ๒๒๔๕/๒๕๑๕) หรือปลัดอำเภอผู้มีหน้าที่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ออกใบต่างด้าวให้แก่คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวโดยผิดระเบียบ คำพิพากษาฏีกา ๗๕๑/๒๕๐๐ เมื่อเจ้าพนักงานมีหน้าที่ในการทำเอกสารจึงไม่ใช่การปลอมเอกสารตาม ปอ มาตรา ๑๖๑ แต่เป็นเอกสารเท็จตามปอ มาตรา ๑๖๒
๙.แม้ลงลายมือชื่อตัวเองไม่ได้ปลอมลายมือชื่อใครก็เป็นผิดตามปอ มาตรา ๑๖๑ได้ คำพิพากษาฏีกา ๗๔๔/๒๕๐๖
๑๐.การที่จำเลยเป็นปลัดอำเภอได้รับมอบหมายจากนายอำเภอให้มีหน้าที่แผนกทะเบียนอาวุธปืน มีหน้าที่รับคำขอและสอบสวนเรื่องราวเกี่ยวกับการขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน แล้วเสนอนายอำเภอซึ่งเป็นนายทะเบียนลงลายมือชื่อออกใบอนุญาต จำเลยย่อมเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ทำเอกสารหรือกรอกข้อความลงในเอกสารแล้ว การที่จำเลยไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในตำแหน่งนายอำเภอได้ จำเลยกลับลงลายมือชื่อตนเองเป็นนายทะเบียนเป็นนายทะเบียนผู้ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นคำขอไป แม้จำเลยลงลายมือชื่อเองในเอกสารโดยไม่ได้ปลอมลายมือชื่อผู้หนึ่งผู้ใดก็ตาม แต่ก็เป็นการแอบอ้างปลอมว่าตนเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจลงนามในเอกสารนั้นในฐานะนายทะเบียนผู้ออกใบอนุญาตแล้วประทับตราลงไปแม้ไม่ได้ปลอมลายมือชื่อของนายอำเภอก็ตาม เมื่อจำเลยไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวได้ เอกสารนี้จึงไม่ใช่เอกสารที่แท้จริงเพราะไม่ได้ลงนามเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจออกใบอนุญาต เป็นการปลอมเอกสารที่อาศัยโอกาสที่จำเลยมีหน้าที่นั้นแล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พยายามกระทำผิดที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ (มาตรา 81 วรรคหนึ่ง)

คำพิพากษาฎีกาที่ 2249/2554
จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย 2 นัด ในระยะห่างเพียงประมาณ 1 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่ใกล้ แต่ตามใบรับรองแพทย์ แพทย์ผู้ตรวจรักษาผู้เสียหายวินิจฉัยว่า ผู้เสียหายมีบาดแผลถูกยิงและถูกทำร้ายร่างกายบริเวณคอ ศีรษะ และใบหน้า แต่ไม่ปรากฏว่าบาดแผลดังกล่าวมีขนาดและความลึกเท่าใด หรือแพทย์มีความเห็นว่า ถ้าผู้เสียหายไม่ได้รับการรักษาบาดแผลทันท่วงทีผู้เสียหายจะถึงแก่ความตายหรือไม่ ทั้งแพทย์มีความเห็นว่า ผู้เสียหายควรหยุดงานเพียง 8 วัน แม้จะได้ความจากผู้เสียหายว่า แพทย์ต้องผ่าเอาหัวกระสุนปืนออกจากบริเวณท้ายทอยของผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายก็พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลประมาณ 6 วันเท่านั้น เชื่อได้ว่าบาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับไม่รุนแรงนัก การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายในระยะใกล้ แต่ผู้เสียหายไม่ได้รับอันตรายร้ายแรง แสดงว่าอาวุธปืนที่จำเลยใช้ยิงไม่มีประสิทธิภาพไม่สามารถทำให้ถึงแก่ความตายได้ ถือว่าการกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นของจำเลยไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำตาม ป.อ. มาตรา 81 วรรคหนึ่ง