ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558

THE BEE GEES GREATEST HITS

รวมscorpions

เตรียมสอบ 2

ถาม = นาย ก. เป็นเจ้าหนี้เงินกู้นาย ข. ถึงเวลากำหนด ข. ไม่ชำระหนี้ นาย ค. บุตรนาย ก.ไปทวงหนี้โดยบอกว่าหากนาย ข. ไม่ชำระหนี้จะพาพวกมารุมทำร้ายและฆ่าให้ตาย นาย ข. ตอบตกลงแต่กลับไปแจ้งความตำรวจให้ไปจับนาย ค. นาย ค.ทราบว่านาย ข.ไปแจ้งความจึงไปพูดขู่นาย ข. ว่าหากไม่ไปถอนแจ้งความจะนำความลับที่นาย ข. เคยเป็นชู้กับ น.ส.ว. ไปเปิดเผยให้บุคคลอื่นทราบและให้นาย ข. จ่ายเงินให้จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท นาย ข. ยอมถอนแจ้งความและจ่ายเงินให้นาย ค. ข้อเท็จจริงเรื่องนาย ข. เป็นชู้กับ น.ส.ว. นั้นมีนาย a กับนาย b รู้เรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น กรณีนี้นาย ข. จะมีความรับผิดทางอาญาหรือไม่ อย่างไร
หลัก = เจ้าหนี้ใช้อำนาจบังคับชำระหนี้ แม้ว่าจำนวนที่เรียกร้องจะเกินจำนวนหนี้ก็ตาม ถือว่าเจ้าหนีไม่มีเจตนาทุจริต ไม่มีความผืิดฐานลักทรัพย์ ( ฎ.๓๑๕๐/๒๕๔๙ )
ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยคือ การกระทำของนาย ค.ผิดฐานกรรโชกทรััพย์หรือไม่
โดยหลัก การขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกติไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ จึงไม่อาจเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ได้ เช่นขู่ว่าให้ชำระหนี้มิฉะนั้นจะนำคดีไปฟ้องศาล, ขู่ว่าให้ชำระหนี้มิฉะนั้นจะไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน ( ฎ.๒๖๘๘/๒๕๓๐ )
ประเด็นใช้สิทธิริบเอาทรัพย์คืนตาม ปพพ.ม.๑๓๓๖ จะผิดฐานกรรโชกทรัพย์หรือไม่
ตัวอย่าง นาย ก.ทำนาฬิกาตกหาย ด.ญ.ข. เก็บได้แล้วนำไปส่งให้นาย ค. ผู้เป็นบิดา หนึ่งวันผ่านไปนาย ก. รู่้ว่านาฬิกาอยู่กับนาย ค. จึงไปขอคืน นาย ค.ไม่คืนและปฏิเสธบุตรเก็บนาฬิกาเรือนที่ไม่ใช่ของนาย ก. ด้วยความโมโหนาย ก. ใช้อาวุธปืนขู่นาย ค.ให้คืนนาฬิกา นาย ค. ยอมคืนนาฬิกา นาย ก. นำนาฬิกาไปขายให้นาย A ดังนี้นาย ก. นาย ค. และนาย A มีความผิดอาญาฐานใด

คำตอบ = ประเด็นนาย ค. โดยหลักการลักทรัพย์ การยักยอกทรัพย์สินหาย มีหลักในการพิจารณาดังนี้ ถ้าจำเลยรู้หรือควรรู้ว่าเจ้าของกำลังติดตามเอาทรัพย์คืน จำเลยย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์๋ ไม่ใชยักยอกทรัพย์สินหาย (ฎ.๑๗๕๔/๒๕๑๔ ป.) แต่ถ้าจำเลยไม่รู้ว่าเจ้าของกำลังติดตามเอาทรัพย์คืน กรณีเช่นนี้จำเลยย่อมมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์สินหายตาม มาตรา ๓๕๒ วรรคสอง ซึ่งการรู้หรือไม่รู้โดยปกติให้ดูในขณะที่จำเลยได้ทรัพย์ ว่าจำเลยทราบหรือไม่ว่าเจ้าของทรัพย์กำลังมีพฤติการณ์ที่กำลังติดตามทรัพย์สินคืน เช่น ถ้าจำเลยเก็บทรัพย์ได้แล้วเดินออกหรือหลบออกจากที่เก็บได้ในทันทีทันใด ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ต้องถือว่าจำเลยหวาดเกรงว่าเจ้าทรัพย์กำลังติดตามเอาทรัพย์คืนเพราะฉนั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ยักยอกทรัพย์สินหายตามมาตรา ๓๕๒ วรรคสอง
ตามปัญหา บุคคลที่เก็บได้คือ ด.ช.ข. และได้นำไปมอบให้นาย ค. ซึ่งเป็นบิดา เพราะฉนั้นขณะที่นาย ค. รับทรัพย์ไว้ นาย ค. จึงไม่อาจรู้ได้ว่าเจ้าทรัพย์กำลังติดตามเอาทรัพย์คืน การกระทำของนาย ค. จึงไม่ผิดฐานลักทรัพย์ แต่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามมาตรา ๓๕๒ วรรคหนึ่ง ไม่ใช่มาตรา ๓๕๒ วรรคสอง ( ฎ.๗๗๕/๒๕๐๖ (ป) ) เนื่องจากการครอบครองทรัพย์ตามมาตรา ๓๕๓ วรรคหนึ่ง อาจจะเป็นกรณที่เจ้าของส่งมอบการครอบครองให้จำเลยด้วยความสมัครใจแล้วจำเลยเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตน หรืออาจจะเป็นกรณีมอบการครอบครองให้โดยปริยายก็ได้ กล่าวคือ ถ้าเจ้าของทรัพย์ไม่ได้เต็มใจส่งมอบทรัพย์ให้กับจำเลย แต่จำเลยมีการครอบครองโดยปริยาย เมื่อเบียดบังเอาไปจึงเป็นการยักยอกทรัพย์ตามมาตรา ๓๕๒ วรรคหนึ่ง และเมื่อนาย ค.ไม่ใช่ผู้เก็บทรัพย์สินได้เอง จึงไม่อาจจะผิดมาตรา ๓๕๒ วรรคสอง ได้ คงผิดยักยอกทรัพย์ตามมาตรา ๓๕๒ วรรคหนึ่ง เท่านั้น เพราะต้องถือว่านาย ค. ครอบครองทรัพย์โดยปริยาย แม้ว่าการครอบครองจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อพึงระวัง
กรณีจะเป็นการยักยอกทรัพย์ตามมาตรา ๓๕๒ ไม่ว่าจะเป็นวรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง การได้มาซึ่งการครอบครองจะต้องเป็นกรณีที่เจ้าของเต็มใจส่งมอบทรัพย์ให้หรือส่งมอบให้้โดยสำคัญผิด หรือเป็นเรื่องมอบการครอบครองโดยปริยาย เพราะฉะนั้น หากบุคคลใดก็ตามได้ทรัพย์มาครอบครองโดยการหลอกลวง กรณีเช่นนี้ย่อมเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
* กรณีของบุคลลที่สาม แม้จะไม่ใช่ผู้เก็บทรัพย์ได้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นความผิดฐานยักยอกตามมาตรา ๓๕๒ วรรคหนึ่ง เสมอไป อาจจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้ กรณีเช่นนี้จะต้องพิจารณาจากเจตนาของจำเลยเป็นสำคัญ กล่าวคือ ถ้าบุคคลที่สามรู้หรือควรรู้ว่าเจ้าของกำลังติดตามเอาทรัพย์คืน กรณีเช่นนี้ก็เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แม้ตนจะไม่ใช่ผู้เก็บทรัพย์ได้ก็ตาม แต่ถ้าบุคคลที่สามไม่รู้ กรณีเช่นนี้ย่อมมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามมาตรา ๓๕๓ วรรคหนึ่ง ( ฎ.๑๗๕๔/๒๕๑๔ (ป) )
ในกรณีของนาย ก.การที่นาย ก. เอาปืนขู่นาย ค. ให้คืนนาฬิกา นาย ก. ย่อมมีความผิดต่อเสรีภาพตามมาตร ๓๐๙ โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เมื่อกระทำโดยมีอาวุธปืน จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา ๓๐๙ วรรคสอง ประเด็นต่อมาคือนาย ก. มีความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ การจะมีความผิดฐานชิงทรัพย์ได้จะต้องเป็นทรัพย์ของผู้อื่นเท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้าเป็นทรัพย์ของตนเองย่อมไม่อาจเป็นลักทรัพย์ได้ แม้มีการขู่เข็ญว่าทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายก็ไม่อาจจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เนื่องจากเป็นกรณีของการขาดองค์ประกอบความผิดทางอาญา เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการขาดองค์ประกอบความผิดทางอาอญา แม้พยายามตามมาตรา ๙๑ ก็ไม่เป็นความผิดเช่นกัน ( ฎ.๗๔๑๑/๒๕๔๕ )
*ข้อสังเกต* การกระทำของจำเลยที่จะเป็นพยายามตามมาตรา ๘๑ ได้ จะต้องอาจครบองค์ประกอบได้ เพราะฉนั้นถ้าไม่อาจครบองค์ประกอบได้แล้ว แม้เป็นพยายามตามาตรา ๘๑ ก็ไม่มีความผิดเช่นกัน
*ตามปัญหา* การที่นาย ก. เอาปืนขู่นาย ค. ให้ส่งมอบทรัพย์ให้ย่อมไม่อาจมีความผิดฐานลักทรัพย์เพราะว่าเป็นทรัพย์ของนาย ก.เอง จึงขาดองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ เมื่อเป็นลักทรัพย์ไม่ได้ ก็เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๙ ไม่ได่เช่นเดียวกัน ดังนั้นการกระทำของนาย ก. จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ ** ประเด็นต่อมานาย ก. มีความผิดฐานกรรโชกทรัพย์หรือไม่ โดยหลักประโยชน์ลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน จะต้องเป็นของผู้อื่นไม่ใช่ของตนเอง ถ้เป็นการติดตามเอาทรัพย์คืนเพราะทรัพย์นั้นเป็นสิทธิของตนเอง กรณีเช่นนี้ย่อมไม่เป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ ดังนั้น ถ้าเป็นการติดตามติดตามเอาทรัพย์สินตาม ป.พ.พ.มารตรา ๑๓๓๖ ย่อมไม่เปความผิดฐานกรรโชก เพราะฉนั้นเมื่อการกระทำของนาย ก. ไม่่เป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ แม้ต่อมานาย ก. จะเอาทรัพย์นั้นไปขายให้นาย ว. นาย ว. ก็ไม่มีความผิดฐานรับของโจรตามาตรา ๓๕๗
***ย้อนกลับไปตามคำถามเดิม*** นาย ค. ไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ เนื่องจากเป็นการขู่ว่าจะทำอันตรายในภายหน้า ประเด็นต่อมานาย ค.ผิดฐานกรรโชกทรัพย์หรือไม่ ฎีกาที่ ๕๘๘๙/๒๕๕๐ ผู้เสียหาย (ข) เป็นหนี้มารดาจำเลย ดังนั้นการที่ผู้เสียหายไม่ชำระหนี้ให้กับมารดาจำเลย จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๕ ซึ่งมารดาจำเลยอาจใช้สิทธิทางศาลได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๒๑๓ แต่ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะข่มขืนใจให้ผู้อื่นยอมให้หรือยอมชำระหนี้ให้มารดาจำเลย ดังนั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๗ การที่มีมูลหนี้กันอยู่ หาทำให้ไม่เป็นความผิดทางอาญาไม่ ดังนั้นตามปัญหา การที่นาย ค. เอาปืนไปขู่นาย ข. ชำระหนี้ให้ให้มารดาตนเองเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๗ และการที่นาย ง. ยอมตามที่นาย ค. ข่มขู่ ย่อมเป็นความผิดสำเร็จทันทีตามมาตรา ๓๓๗ ทันที แม้ยังจะไม่มีการส่งมอบทรัพย์ให้ก็ตาม เพราะฉะนั้น เมื่อการกระทำของนาย ค. เป็นความผิดสำเร็จไปแล้ว แม่นาย ข. จะไม่กลัวโดยไปแจ้งความกับตำรวจในภายหลังก็ตาม ก็หาทำให้ความผิดสำเร็จกลับกลายเป็นพยายามไม่ และเมื่อการกรรโชกกระทำโดยขู่ว่าจะฆ่า จำเลยจึงต้องรับโทษฉกรรจ์หนักขึ้นตามมาตรา ๓๓๗ วรรคสอง นอกจากนี้จำเลยยังมีความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพตาม ๓๐๙ เมื่อการกระทำดังกล่าวกระทำโดยมีอาวุธปืนจึงต้องรับโทษฉกรรจ์หนักขึ้นตามมาตรา ๓๐๙ วรรคสอง
มาตรา ๓๓๗ กับมาตรา ๓๐๙ เป็ความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ( ฎ.๙๕๑/๒๔๗๔ ) เพราะฉนั้นเมื่อผิดกรรโชกทรัพย์ย่อมเป็นความผิดตามมาตรา ๓๐๙ ด้วยเสมอเช่นกัน แต่มีข้อพึงระวังคือ ความผิดมาตรา ๓๐๙ ไม่จำต้องผิดเกี่ยวกับทรัพย์เสมอไป ประเด็นต่อมาคือ จำเลยมีความผิดฐานทำให้ผู้อื่นตกใจกลัว ผิดพกพาอาวุธปืนตามมาตรา ๓๗๔ แต่จำเลยไม่ผิดฐานพยายามฆ่าตามมาตรา ๒๘๘, ๘๐ เนื่องจากการกระทำของจำเลยเป็นการขู่ว่าจะฆ่าเฉย ๆ แต่ยังไม่เข้าขั้นกระทำความผิด เนื่องจากเป็นการตระเตรียมการเพื่อกระทำความผิดเท่านั้น จึงยังไม่ผิดมาตรา ๒๘๘, ๘๐ นอกจากนี้จำเลยยังไม่ต้องรับโทษฉกรรจ์หนักขึ้นตามมาตร ๓๔๐ ตรี เพราะแม้จำเลยจะมีอาวุธมาขู่เข็ญก็ตาม แต่มาตรา ๓๔๐ ตรี หรือมาตรา ๓๓๖ ทวิ ก็ดี ใช้กับความผิดฐานลักทรััพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ เท่านั้น ไม่รวมถึงความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
****ประเด็นต่อมาคือ นาย ค. มีความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๘ หรือไม่*** คำตอบเอาไว้วันใหม่